Atukkit Sawangsuk

ย้ำอย่างที่โพสต์เมื่อคืน ปีนรั้วรัฐสภาคัดค้านกฎหมายเผด็จการ จะบอกว่าไม่ผิดเลย ก็ไม่ใช่ แต่ที่ศาลฎีกาเขียนบรรยายความผิดราวกับบุกคฤหาสน์ส่วนตัว ก็ไม่ใช่อีก รัฐสภาเป็นพื้นที่การเมืองสาธารณะ ปีนรั้วเข้าไปให้ยับยั้งการประชุม เป็นการแสดงออกทางการเมืองแม้ผิดกฎหมาย แต่แบบนี้ละครับ ที่เรียกว่า "อารยะขัดขืน"

"อารยะขัดขืน" ไม่ใช่ไม่ผิดกฎหมายนะ ผิด แต่อยู่ในกรอบประชาธิปไตย เป็นความผิดที่ควรมีโทษเบา (รอลงอาญา 2 ปีนี่ผมว่าโทษหนักเกินด้วยซ้ำ ที่จริงควรแค่ปรับ)

ถ้าเอากรอบเหตุการณ์นี้มากำหนด อะไรที่เกินเลยยิ่งกว่าอารยะขัดขืน

ยึดทำเนียบ แหงน่อ มันไม่ใช่แล้ว เป็นความจงใจจะทำให้รัฐบาลบริหารประเทศไม่ได้ (กบฎ) ปิดสนามบิน นี่มันต้องการก่อวินาศกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อไล่รัฐบาล (กดดันศาล รธน.) ปิดเมือง ขัดขวางเลือกตั้ง ยึดสถานที่ราชการ นี่ยิ่งหนัก ต้องการทำให้เกิดรัฐล้มเหลว ทำลายการปกครองระบอบประชาธิปไตย

อ้าว แล้ว นปช.ถูกหมดไหม ที่จริงผมไม่เห็นด้วยกับการยึดราชประสงค์ (ตอนนั้นก็เขียนลงประชาไท) ซึ่งเป็นศูนย์กลางธุรกิจ เพื่อกดดันรัฐบาล นี่เกินกรอบอารยะขัดขืน (แต่มัน copycat ไง ที่พวกเมริงปิดสนามบินยังได้) ขณะที่ตอนอยู่ราชดำเนิน-หน้าทำเนียบ ผมเห็นว่ายังอยู่ในกรอบ ซึ่งก็ไม่ต่างกะพันธมิตรปี 49 ตอนไล่ทักษิณ คือม็อบประท้วงรัฐบาลจะให้พับเพียบเรียบร้อยไม่ได้หรอก มันต้องลงถนนบ้าง ปีนป่ายบ้าง ออกกำลังกายเล็กๆ น้อยๆ กันบ้าง (แต่ต่อไปไม่มีแล้วละ มี พรบ.ชุมนุมสาธารณะ จะไล่รัฐบาลต้องขออนุญาตรัฐบาล)

วรรคทอง: ยืนยันว่าผมเห็นด้วยกับม็อบปีนรัฐสภา แม้ส่วนใหญ่เป็น พธม. เพราะเป็นการคัดค้านในหลักการประชาธิปไตย

เป็นครั้งหนึ่งในชีวิต ที่คุณสารี (อ๋องสมหวัง) ทำถูก


แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.