ที่มาภาพ: waymagazine.org

โฉมหน้าที่แท้จริงเนติวิทย์


Posted: 12 Apr 2017 02:59 AM PDT  (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)

ในบทความชิ้นนี้ ผู้เขียนต้องการชี้ให้เห็นถึงภาพกว้างของระบบการศึกษาไทยรวมถึงความหวังกับความพยายามของชายหนุ่มที่ชื่อว่า “เนติวิทย์ โชติภัตรไพศาล ในการต่อต้านการเกณฑ์ทหาร

ในทัศนคติของกระผมนั้น เนติวิทย์ คือ นักกิจกรรมทางการเมืองและการศึกษา เขาเริ่มมีชื่อเสียงจากการลุกขึ้นมาพูดต่อต้านเรื่องกฎระเบียบการแต่งตัวและตัดผมของโรงเรียนมัธยมศึกษา รวมถึงการปัญหาของเกณฑ์ทหารโดยอ้างถึงกฏบัตรของสหประชาชาติ (UN ปัจจุบัน เป็นนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในคณะรัฐศาสตร์ สิงห์ดำแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในช่วงเวลามัธยมนั้น เนติวิทย์ได้เริ่มทำจุลสารปรีดี [U1] [PK2] [PK3] ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการในจุลสารดังกล่าวได้พูดถึงเหตุการณ์หรือช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ที่สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองที่เขาได้รับ โดยเขาคิดว่า การศึกษาไทยนั้นควรสนับสนุนให้เราได้ไปค้นหาความจริงลสารปรีดีนำเสนอประเด็นปัญหาในโรงเรียนและสังคมการเมืองไทย ยกตัวอย่างเช่น ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในถูกสอนในวิชาสังคมศาสตร์เป็นเพียงข้อเท็จจริงที่ถูกเลือก แต่ยังมีข้อเท็จจริงอีกหลายเรื่องที่ถูกมองข้ามอย่างจงใจ ดังนั้นเนติวิทย์จึงมองเห็นว่า การเรียนในแบบดังกล่าวงจะเป็นเครื่องมือในการที่จะสร้างอิทธิพลทางความคิดเพื่อไม่ให้ตั้งข้อสงสัยต่อระบบด้วยนักเรียนที่ถูกการครอบงำของการศึกษาในระบบ

อย่างไรก็ตาม เนติวิทย์เองนั้นยังมีความหวังที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง รวมถึงแลกเปลี่ยนความรู้ของคุณครู แต่วิธีการนี้ที่เนติวิทย์ได้กระทำการแบบที่ได้กล่าวมาก็[U4] ไม่สามารถทำให้เขาเสนอแนวคิดที่ยืนยาวได้นานนัก จะเห็นได้จาก เมื่อเขาเริ่มมีการวิพากษ์วิจารณ์ครู โรงเรียนรวมไปถึงระบบการศึกษาของผู้มีอำนาจในโรงเรียน เนติวิทย์ก็กลายเป็นปีศาจและบุคคลอันตรายของสังคมในโรงเรียนทันที ในทางกลับกัน สิ่งนี้บังคับให้เขาจำเป็นต้องท้าทายระบบในวิธีการต่าง ๆ ที่เขาต้องเผชิญกับความเป็นจริงในระบบของการศึกษาในกะลาแลนด์แห่งนี้มากขึ้น (?)

แต่ปัญหาและอุปสรรคของการเปลี่ยนแปลงอยู่บนกรอบพื้นฐานของระบบอำนาจแบบอำนาจนิยมในสังคมไทย ซึ่งให้สิทธิอำนาจของผู้สอนและนักการศึกษาในสามประการ ดังนี้

1.สิทธิในทางกฎหมาย ในแง่นี้ ครูมีหน้าที่ผูกขาดอำนาจในการใช้กฎที่ถูกก่อตั้งแบบไม่เป็นประชาธิปไตย หรือพูดแบบนักกฎหมายคือเป็นกฎที่ไม่มีอำนาจสถาปนา(Pouvoir Constituant) ในความคิดของอันโตนิโอ เนกรี (Antonio Negri)

2.สิทธิอำนาจในเชิงศีลธรรม สังคมไทยเองมองว่าครูเป็นคนดีมีคุณค่า แต่คำถามคือที่ต้องตามมาคือดีแบบตรวจสอบได้ไหม ถ้าไม่ได้ก็ดีแบบจอมปลอม

3. สิทธิอำนาจในเชิงบุญบารมี อำนาจดังกล่าวส่งเสริมให้ผู้ที่กุมอำจได้ความยอมรับนับถือว่าเป็นผู้มีบุญบารมีและเก่งกาจและนับถือจากสังคม

ทั้งหมดนี้ถือเป็นกระบวนการสร้างคุณค่าของบุคคลในระบบโดยเฉพาะผู้สอน นี่ชี้ให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมของระบบการศึกษา ผู้เขียนอยากเรียกระบบการศึกษาแบบนี้ว่า “การเมือง-การศึกษาที่มีลักษณะเคล่งคัดในกฎเรื่องการแต่งกายและรูปลักษณ์ภายนอก ทั้งหมดนี่กฎระเบียบและกรอบการคิดของการศึกษาไทยอยู่บนฐานของชาตินิยมและราชาชาตินิยม จึงมีความต้องการที่อยากจะชี้ให้เห็นว่า “ในระบบของการศึกษาเองก็มีความเป็นการเมืองและหน้าที่ ที่จะแบกรับและโอบอุ้มอุดมการณ์ดังกล่าวในการสร้างชาติแบบที่ชนชั้นนำให้มีความต้องการในแบบของตนเอง[U5] เราอาจจะเห็นจากการที่บังคับให้เราแต่งตัวชุดนักเรียนและร้องเพลงชาติและในการเรียนก็เรียนคล้ายกันมีการผูกประวัติศาสตร์ในฉบับโรงเรียนที่เราเห็นได้ทั่วไป ที่ไม่ได้กล่าวถึงประวัติศาสตร์แบบคณะราษฏรซึ่งตัวอย่างนี้ถือเป็นการสะท้อนรูปแบบความคิดของการเมืองในการศึกษา

ที่มาภาพ: waymagazine.org

เนติวิทย์ต้องต่อสู้กับการเมือง-การศึกษาในลักษณะดังกล่าวหลังจากที่เขาต้องพบปัญหาในการทำจุลสารปรีดี เนติวิทย์ได้เริ่มกระบวนการก่อตั้งชมรมเพื่อทำกิจกรรมในโรงเรียนเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้นอกห้องเรียนและเรียนรู้ทักษะการคิดวิเคราะห์

ในระบบการศึกษาไทยเราไม่ได้สนับสนุนวิธีการคิดดังกล่าว เพราะสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและห้องเรียนที่สร้างความไม่เท่าเทียมกันในเชิงอำนาจระหว่างนักเรียนและคุณครู นี่บุคคลคนสองกลุ่มนั้นต่างก็ต้องพึ่งพากัน แต่ ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่เหลื่อมล้ำกันระหว่างครูกับนักเรียนกลับแข็งแกร่งด้วยพื้นฐานของแนวคิดการศึกษาไทยในเชิงปฏิบัติ [U6] จึงทำให้คงอยู่แบบเดิมๆที่เป็นการกดขี่ เหตุผลดังกล่าวนี้ ได้ส่งผลทำให้กระแสการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษานั้นเกิดยากด้วยสภาวะแห่งการกดขี่และผู้บริหารและครูเองก็ยังยอมรับกับสภาวะเช่นนี้ ผู้บริหารโรงเรียนมีความเป็นอำนาจนิยมแบบเข้มข้นที่ผสมผสานอุดมการณ์ชาตินิยม และราชาชาตินิยม [U7] ที่เน้นการเอาตัวพระมหากษัตริย์เป็นตัวพัฒนาและดำเนินเรื่องทางประวัติศาสตร์

การที่สังคมการศึกษาของไทยเข้มข้นด้วยการเมือง ทำให้ครูในโรงเรียนเล่นงานเขาทำให้เขาดูกลายเป็นตัวอันตรายต่อสังคม คำถามที่น่าสำคัญคืออะไรคือตัวอันตรายของสังคม เรามีตัววัดอย่างไรในการบอกใครอันตราย ไม่อันตราย

หลังจากการล้มเหลวและการถูกทำให้กลายเป็นปีศาจในสายตาของเพื่อนๆ และครู เนติวทย์เริ่มแผนการเปลี่ยนแปลงโรงเรียนผ่านการตั้งมูลนิธิเพื่อการจัดกิจกรรมสำหรับนักเรียน นอกห้องเรียนและส่งเสิมการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดเชิงวิพากษ์(Critical thinking) เพราะด้วยเหตุผลหลายประการอันเป็นปัจจัยที่ทำให้ห้องเรียนในระบบการศึกษาเป็นได้แค่สถานที่ให้เรียนตามกัน เนื่องด้วยสภาวะทางอำนาจและบรรยากาศแห่งห้องเรียนที่ไม่สมดุลในเชิงอำนาจและบรรยากาศแห่งการถูกกดขี่ผ่านวิธีการต่างๆเมื่อผู้ใดพยายามท้าทายก็จะถูกลงทันฑ์ทางระบบและสังคม [U8] การยกตัวอย่างง่ายอาจจะเห็นได้จาการที่ผู้เรียนพยายามตั้งคำถามว่าเรียนวิชานี้ไปทำไม แต่คำตอบในทางกลับกันกับเป็นการดูถูกและสกัดกั้นการคิดและท้าทาย หรือการที่ตัดผมไม่ตามกฏและตั้งคำถาม เราก็จะถูกการดูถูกจากคนเรียนด้วยกัน

ณ วันนี้เนติวิทย์ก็กลายเป็นภาพใหญ่หรือจุดใหญ่จุดหนึ่งในการพยายามสร้างพลังทางสังคม หลังจากที่เราอาจมองได้ว่ามันล้มเหลวในกระบวนการเปลี่ยนแปลงในสถานที่แสนดีแห่งหนึ่ง เพราะท้ายที่สุดกิจกรรมของเขาที่เขาพยายามหมายมั่นปั่นมือก็ถูกปิดด้วยผู้บริหาร แต่ได้ทิ้งบทเรียนและมรดกทางความคิดและการกระทำผ่านการจัดงานเสวนาที่ได้พูดถึงอาจารย์ป๋วย ผู้เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทยหน้าหนึ่ง หรือหากเรียกตามปัญญาชน หมายเลขสิบอาจเรียกได้ว่าเป็น”ผู้ใหญ่ที่ไม่กะล่อน”[1] ผู้เขียนมองเห็นว่าวิธีคิดของเนติวิทย์คือเราต้องพยายามสร้างองค์ความรู้ทางสังคมเพื่อกระทำการเปลี่ยนแปลง และเนติวิทย์พร้อมทิ้งมรดกทางธรรมชาติด้วยการปลูกต้นไม้ก่อนไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์

หากเรามองการศึกษาไทยผ่านเส้นทางของเนติวิทย์ การศึกษาไทยคงเป็นการศึกษาในแบบคนดีในระบบสังคมแบบไทยๆ นั้น ก็คือการศึกษาที่สยบยอมต่อกรอบสังคมที่อยู่ภายใต้ระบบทุนนิยมบริโภคนิยม เราสามารถจะยกแนวคิดของนักการศึกษาชื่อดังอย่าง Ken Robinson ที่ชื่อ “The Element: How Finding Your Passion Changes Everything” เขาได้พยายามเสนอแนวคิดว่าด้วยพรสวรรค์ของคนนั้นเสมือนกับการขุดเจาะน้ำมันหรือทรัพยากรทางธรรมชาติ เค็นบอกว่า เมื่อผู้ใดคนผมสิ่งที่มันใช่สำหรับตนผู้นั้นก็จะหมกหมุ่นอยู่กับการทำสิ่งนั้นไม่เบื่อเพราะนั้นเป็นชีวิตของเขาและการจะมีสิ่งนี้ได้เค็นเสนอว่าเราต้องมีการศึกษาแบบเกษตรกรรมที่พายามCultivateพรสวรรค์และความสามารถของเขาในลักษณะของปัจเจกบุคคล เนื่องด้วยการศึกษาปัจจุบันอยู่ภายใต้การศึกษาอุตสาหกรรม เพราะการศึกษาที่ดีต้องเป็นระบบที่ค้นหาความสนใจหรือความสามารถที่เหมาะกับปัจเจกบุคคลผู้นั้น[2] หากนำชุดความคิดนี้มาเปรียบเทียบกับการศึกษาไทย การศึกษาไทยก็เป็นได้แค่การศึกษาที่ไม่สามารถนำให้มนุษย์นั้นไปได้ไกล ถ้าหากยังไม่สามารถที่จะให้ความสำเร็จในการค้นพบพรสวรรค์ แก่นักเรียนที่ได้เห็นข้อดีของเขา และสนับสนุนนักเรียนเหล่านั้นไปในทางที่ตนถนัดตามสิ่งที่ตนชอบ ในเคสนี้เราอาจจะมองได้ถึงการศึกษาในประเทศแบบนิวซีแลนด์ที่ผูเรียนสามารถเลือกวิชเรียนและเลือกตารางสอนเองได้ นั้นหมายความว่าผู้เรียนมีสิทธิในการค้นหาตัวเองตามสายวิชาที่ต้องการ

หากถ้าหากเรามองลึกไปอีกในระบบการศึกษาไทยนั้นมีสภาพสอดคล้องกับสภาวะแห่งสังคมการเมืองที่ไม่ชอบให้ผู้น้อยหรือผู้ที่ต้อยต่ำกว่า ที่อยู่บนกรอบสังคมแบบโครงสร้างและหน้าที่ ที่ทำให้สร้างสภาวะนึกคิดและจำกัดทางสังคมที่พยายามบีบให้คนต้องทำหน้าที่ของตน ในเรื่องนี้อาจสืบย้อนกับเรื่องที่เนติวิทย์ได้แสดงท่าทีในการต่อต้านการเกณฑ์ทหาร ในเรื่องนี้ประเด็นการเกณฑ์ทหารเป็นประเด็นที่เกิดขึ้นมายาวนาน พยายามนำเสนอไอเดียแนวคิดของการสร้างความคิดสร้างสรรค์มากกว่าความคิดที่เลือกที่จะตาม ๆ กันของวิถีแห่งการตาม ๆ กัน เขาพยายามเสนอการรักชาติในทางอื่น ๆ ที่เป็นแนวแบบกว้างที่สามารถเดินตามหนทางของตนได้ ในทางนี้แนวทางของเขาได้ขัดกับหนทางของสังคมด้วยการเรียกร้องให้เกณฑ์ทหาร เพื่อการรักชาติและทำเพื่อชาติแนวทางนี้มันเป็นหนทางของกระบวนการเดินตามวิถีทางแห่งสังคมที่ถูกสร้างและปรุงแต่งผ่านกระบวนการต่างๆ ของสังคมกระแสหลักที่ได้เป็นผลผลิตของรัฐราชการที่มีความสัมพันธ์เชิงอำนาจแบบนายและบ่าว ในท้ายที่สุดกระบวนการของเนติวิทย์ย่อมจะต้องถูกท้าทายผ่านทางสังคมและรัฐ นี้จะเป็นอีกหนทางของเนติวิทย์ที่จะฝ่าฝันกระบวนการทางสังคมและเปลี่ยนแปลงทางสังคมให้ไปในทางที่ดีกว่าในโลกแห่งปัจจุบันนี้ได้หรือไม่? หรืออาจจะเหมือนดังที่เขาได้กระทำต่อสิ่งที่เกิดขึ้น กับปัญหาทางสังคมที่ผ่านมาในสังคม





เชิงอรรถ


[1] นายป๋วย อึ้งภากรณ์ ผู้ใหญ่ที่ไม่กะล่อน (1979 ) ส.ศิวรักษ์


[2] The Element: How Finding Your Passion Changes Everything ( 2009 ) Ken Robinson


แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.