การล่าสัตว์ป่าเพื่อนำอวัยวะมาปรุงยารักษาโรคตามการแพทย์จีนโบราณ นำไปสู่การลักลอบล่าสัตว์หลายประเภท โดยเฉพาะลาในแอฟริกาใต้ จนบรรดานักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสัตว์ประเมินว่าลาในแอฟริกาใต้ตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ในอีก 2 ปีข้างหน้า

ลาทั้ง 8 ตัว ของ 'โพ มาเชลลี' คือ ของล้ำค่า เพราะพวกมันคือพาหนะขนส่งสินค้าของครอบครัวที่อาศัยในหมู่บ้านเล็กๆ ทางตอนเหนือของเมืองหลวงแอฟริกาใต้ และเป็นแหล่งรายได้เดียวที่พวกเขามี

แต่วันนี้ลาของโพ กำลังตกอยู่ในความเสี่ยง เมื่อลา 4 ตัวของเธอถูกฆ่าเมื่อต้นปีนี้ กลายเป็นเหยื่อของธุรกิจล่าหนังลาที่ทำรายได้หลายล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

โพบอกว่า เธอและสามีพบเพียงชิ้นส่วนของลา และที่จำได้ว่าเป็นลาของเธอก็เพราะส่วนหนังสีขาวบนหน้าผากของลาตัวหนึ่งของครอบครัว และสภาพที่พบคือ พวกมันถูกถลกหนังจนไม่เหลือเค้าเดิม

ลาแอฟริกาใต้เสี่ยงสูญพันธุ์จากการลักลอบล่าเพื่อทำยาจีน

โพ โมโคเอนา หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบของหน่วยงานการป้องกันการทารุณสัตว์ในแอฟริกาใต้ บอกว่า เมื่อปีที่แล้วเจ้าหน้าที่เข้ายึดหนังลากว่า 1 พันตัวที่เตรียมส่งออกไปยังประเทศจีน ลาที่ถูกล่าจะถูกทุบด้วยค้อนให้ตายหรือถูกถลกหนังทั้งเป็น หนังลาที่ได้มาก็จะถูกต้มและทำเป็นเจลาติน ที่เชื่อกันว่ามีสรรพคุณทางยา ส่วนเนื้อและส่วนอื่นๆ ของลาจะถูกทิ้งไว้ให้เปื่อยเน่าไป

หากปล่อยให้ขบวนการลักลอบล่าลาเกิดขึ้นมากเช่นนี้ ประชากรลาในแอฟริกาใต้อาจจะสูญพันธุ์ในอีก 2 ปีข้างหน้า

นักเคลื่อนไหวเพื่อสวัสดิภาพสัตว์ พยายามทุกวิถีทางเพื่อปกป้องลาที่เสี่ยงสูญพันธุ์เหล่านี้ โดยมีองค์กรพิทักษ์สัตว์ Highveld Horse Care Unit คอยช่วยเหลือและดูแลลาที่เสี่ยงถูกฆ่าในประเทศ


Inspector Ashley Ness of the Highveld Horse Care Unit says the skin of a donkey could fetch more than $500 (up to R7,000) in China.


แอชลีย์ เนสส์ หนึ่งในทีมงานของ Highveld Horse Care Unit บอกว่า หนังของลาเพียง 1 ตัว อาจนำไปขายในราคา 500 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1 หมื่น 6 พันบาทที่ประเทศจีน ความต้องการนี้จูงใจให้เกิดการประมูลลาที่ยังมีชีวิตด้วยราคาที่สูง

อย่างไรก็ตาม หากลาเหล่านี้ไม่ถูกฆ่าและถลกหนัง พวกมันก็มีประโยชน์มากมาย ทั้งเป็นพาหนะขนส่ง เป็นสัตว์สำหรับการบำบัดโรค ผลิตนมให้มนุษย์บริโภค และยังเป็นเพื่อนที่แสนดีของมนุษย์ จากลักษณะเฉพาะตัวที่สามารถเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวได้

คุณแอชลีย์ เรียกร้องให้แอฟริกาใต้ทำตามประเทศเพื่อนบ้าน ในการออกมาตรการห้ามการค้าชิ้นส่วนของลา เหมือนกับประเทศบูร์กินาฟาโซ และไนเจอร์

แต่สิ่งที่ต้องประเมินต่อมาก็คือ มาตรการเหล่านี้จะออกมาเพื่อยับยั้งการสูญพันธุ์ของลาในแอฟริกาใต้ได้ทันท่วงทีหรือไม่?


source ;- http://rferl.c.goolara.net/Click.aspx?id=066991658502910774


แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.