ชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้คำประนามสื่อมวลชนของผู้นำคนใหม่ของสหรัฐฯ ว่า “Fake News” หรือข่าวปลอมเป็นเครื่องมือควบคุมเสรีภาพสื่อมวลชนในประเทศ

รัฐบาลต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังเอาอย่างผู้นำสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ที่เรียกสื่อมวลชนในสหรัฐฯว่าเป็น “Fake News” หรือข่าวที่ไม่เป็นความจริง

อย่างในกัมพูชา รัฐมนตรีคนหนึ่งออกมากล่าวว่าสำนักข่าวต่างประเทศในกัมพูชาควรนำเสนอข่าวที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ หรือไม่ก็ควรออกจากกัมพูชา

ส่วนโฆษกของประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ร็อดริโก ดูเตอร์เต ได้ประณามหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ส ว่าเป็น “Fake News” โดยกล่าวหาว่ารายงานของนิวยอร์กไทม์สเกี่ยวกับกองทัพอินโดนีเซียที่ตีพิมพ์ใน The Intercept เป็นข่าวไม่จริง

ปีนี้ องค์การ UNESCO ได้จัดงานฉลองวันเสรีภาพของสื่อมวลชนแห่งโลก (World Press Freedom Day) ขึ้นที่กรุงจาการ์ต้า เมืองที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อประเมินเสรีภาพของสื่อมวลชนทั่วโลก และเเสดงความรำลึกถึงผู้สื่อข่าวที่เสียชีวิตในหน้าที่

ด้านหน่วยงาน Human Rights Watch ได้ยกย่องการขยายตัวของสื่อมวลชนในอินโดนีเซียหลังยุคจอมเผด็จการ Suharto แต่ประนามความรุนแรงต่อผู้สื่อข่าวที่เพิ่มขึ้น

Andreas Harsono นักวิจัยแห่ง Human Rights Watch คนปัจจุบัน เเละอดีตผู้สื่อข่าวกล่าวว่า คำเรียกสื่อมวลชนว่า “Fake News” ของผู้นำคนใหม่ของสหรัฐฯ ได้กลายเป็นเครื่องมือที่คนที่มีอำนาจในรัฐบาลต่างๆ ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้โจมตีสื่อมวลชน

เเม้เเต่อินโดนีเซีย ชาติประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การควบคุมสื่อมวลชนโดยรัฐบาลเผด็จการยังไม่จางหายไป ยังมีบรรยากาศของความกลัวและมีการเซ็นเซอร์ตัวเองโดยสื่อมวลชน เนื่องจากเห็นว่าทางการไม่เคยสอบสวนหรือลงโทษผู้ที่คุกคามหรือข่มขู่สื่อมวลชน โดยเฉพาะหากเป็นการข่มขู่โดยกองทัพและโดยทางการท้องถิ่น

ในชาติสมาชิกอาเซียนหลายชาติ เริ่มมีความพยายามในการแฉข่าวปลอม โดยรัฐบาลตั้งเว็บไซท์เพื่อตรวจสอบความเท็จจริงของรายงานข่าวในมาเลเซียและในสิงคโปร์ และทั้งสองประเทศนี้ไม่ได้มีประวัติสนับสนุนเสรีภาพสื่อมวลชนเเต่อย่างใด

มาเลเซียเองได้ประกาศเชิงข่มขู่ว่าจะจับกุมและลงโทษด้วยการจำคุกคนที่นำเสนอข่าวปลอมทาง WhatsApp

ส่วนอินโดนีเซีย ซึ่งมีความเป็นประชาธิปไตยที่ค่อนข้างมั่นคง และถือว่าทำได้ดีกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ในด้านการส่งเสริมเสรีภาพสื่อมวลชน ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา รัฐบาลอินโดนีเซียประกาศแผนงานของหน่วยงานรัฐบาลในการจัดการกับข่าวปลอม

Arfi Bambani เลขาธิการของพันธมิตรเพื่อสื่อมวลชนเสรีเเห่งอินโดนีเซีย กล่าวว่า คนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจความเเตกต่างระหว่างรายงานข่าวกับสื่อสังคมออนไลน์ ผู้คนคิดว่ารายงานที่ตีนำไปเผยเเพร่กันทางสื่อสังคมออนไลน์เป็นรายงานข่าวเสมอ

Andreas Harsono นักวิจัยแห่ง Human Rights Watch กล่าวว่า คำว่า Fake News ไม่ควรถูกนำไปใช้เป็นข้ออ้างบังคับให้สื่อมวลชนทำการเซ็นเซอร์ตัวเอง เขากล่าวว่าสำนักงานตำรวจเเห่งชาติควรสอบสวนนิติบุคคลที่เผยแพร่ความคิดเห็นที่ส่งเสริมความเกลียดชังและไม่เป็นจริงในอินโดนีเซีย ไม่ควรริดรอนเสรีภาพสื่อมวลชนด้วยการเรียกร้องให้สื่อควบคุมเนื้อหาข่าว

Arfi Bambani เลขาธิการของพันธมิตรเพื่อสื่อมวลชนเสรีเเห่งอินโดนีเซีย เห็นด้วยกับประเด็นนี้ เขาชี้ว่าสื่อมวลชนจะแก้ปัญหาข่าวปลอมได้ ด้วยการรายงานข่าวที่เป็นจริงและการเซ็นเซอร์ตัวเองเป็นอุปสรรคต่อการรายงานข่าวที่เป็นจริง


source :- http://rferl.c.goolara.net/Click.aspx?id=066991654205314079

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.