The atmosphere of the distant “warm Neptune” HAT-P-26b, illustrated here, is unexpectedly primitive, composed primarily of hydrogen and helium. By combining observations from NASA’s Hubble and Spitzer space telescopes, researchers determined that, unlike

นักดาราศาสตร์เรียกดาวเคราะห์ HAT-P-26b ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงนี้ว่า "Warm Neptune" มีขนาดเท่ากับดาวเคราะห์เนปจูน กับดาวเคราะห์ยูเรนัส

ดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้ีมีชั้นบรรยากาศระยะเริ่มต้นที่ประกอบด้วยแก๊สไฮโดรเจนกับเเก๊สฮีเลี่ยมเกือบทั้งหมด นักดาราศาสตร์ชี้ว่าชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะไม่มีเมฆ และมีสัญญาณว่ามีน้ำ

นักดาราศาสตร์พบดาวเคราะห์ดวงนี้ในปี ค.ศ. 2011 เเม้ว่าจะมีขนาดเท่ากับดาวเนปจูน เเละดาวยูเรนัส ดาวเคราะห์ดวงนี้ก่อกำเนิดขึ้นใกล้กับดาวฤกษ์ที่มันโคจรรอบๆ หรืออาจจะเกิดขึ้นในช่วงหลังจากที่ระบบดวงดาวระบบนี้กำเนิดขึ้น หรืออาจจะเป็นทั้งสองกรณี

Hannah Wakeford นักวิจัยที่ Goddard Space Flight Center ที่เมือง Greenbelt รัฐ Maryland ขององค์การสำรวจอวกาศเเห่งสหรัฐฯ หรือนาซ่า กล่าวว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้เริ่มต้นการศึกษาชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบนี้เเล้ว และได้พบว่ามีข้อมูลที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อเกี่ยวกับการกำเนิดขึ้นของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

Wakeford เป็นผู้ร่างรายงานผลการวิจัยเกี่ยวกับดาวเคราะห์ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science ไปเมื่อเร็วๆ นี้

บทวิเคราะห์เกี่ยวกับชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ HAT-P-26b นี้ทำได้ด้วยการใช้กล้องส่องดูดาวในอวกาศ Spitzer กับ Hubble เพื่อสังเกตุดูดาวเคราะห์ดวงนี้ขณะโคจรรอบๆ ดวงฤกษ์

การสังเกตุด้วยวิธีนี้ช่วยให้นักดาราศาสตร์ได้ค้นคว้าชั้นบรรายากาศของดาวเคราะห์เเละวิเคราะห์ความยาวของคลื่นเเสงที่เดินทางผ่านชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้

ทีมนักดาราศาสตร์ยังใช้ข้อมูลที่ได้ วิเคราะห์ค่าความเป็นโลหะของดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้อีกด้วย โดยความเป็นโลหะใช้ในการระบุได้ว่าดาวเคราะห์ก่อกำเนิดขึ้นอย่างไร

ยกตัวอย่าง ดาวพฤหัสมีค่าความเป็นโลหะราว 2 ใน 5 ของค่าความเป็นโลหะของดวงอาทิตย์ ส่วนดาวเสาร์มีค่าความเป็นโลหะมากกว่า 10 เท่าตัว

นักดาราศาสตร์กล่าวว่า ดาวเคราะห์เหล่านี้ซึ่งมักเรียกว่าดาวเคราะห์แก๊สยักษ์มีส่วนประกอบเกือบทั้งหมดเป็นเเก๊สไฮโดรเจนและฮีเลี่ยม ส่วนดาวเคราะห์อีกสองดวงคือ เนปจูน กับ ยูเรนัส ซึ่งได้ชื่อว่าดาวเคราะห์น้ำเเข็งยักษ์ มีความเป็นโลหะราว 100 เท่าเมื่อเทียบกับดวงอาทิตย์

บรรดานักดาราศาสตร์กล่าวว่า นั่นเป็นเพราะว่า เนปจูน กับ ยูเรนัส กำเนิดขึ้นในส่วนที่หนาวเย็นของจานฝุ่นละอองที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ทั้งสองถูกชนด้วยฝุ่นละอองที่เย็นเป็นน้ำเเข็งและมีค่าความเป็นโลหะสูง

ส่วนดาวพฤหัส กับ ดาวเสาร์ ก่อตัวขึ้นในจานฝุ่นละอองที่อุ่นกว่า หมายความว่าดาวเคราะห์ทั้งสองถูกวัสดุที่มีค่าความเป็นโลหะสูงเเละเย็นเป็นน้ำเเข็งพุ่งชนน้อยกว่า

ลักษณะการกำเนิดของดาวเคราะห์ดังกล่าวนี้พบในดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะอีกสองดวงคือดาวเคราะห์ HAT-P-11b กับดาวเคราะห์ WASP-43b เเต่ดาวเคราะห์นอกระบบ HAT-P-26b ดวงล่าสุดนี้กลับมีลักษณะที่เเตกต่างออกไป เพราะทั้งๆ ที่ตั้งอยู่ในระยะวงโคจรที่ใกล้กับดาวฤกษ์ของมัน เเต่กลับมีค่าความเป็นโลหะต่ำคล้ายๆ กับดาวพฤหัส

David Sing นักดาราศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย Exeter และผู้ร่วมร่างผลการศึกษาดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้ กล่าวว่า "ผลการวิเคราะห์นี้เเสดงให้เห็นว่าดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะมีความหลากหลายมากกว่าที่เราคาดคิดเอาไว้ ซึ่งช่วยให้เราเข้าใจมากขึ้นว่าดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะก่อตัวขึ้นแตกต่างจากการก่อตัวของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอย่างไร"


source ;- http://rferl.c.goolara.net/Click.aspx?id=066991653002811379

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.