FILE - People walk in the water as they leave the flooded area of Santa Fe, some 390 kilometers, (250 miles) northwest of Buenos Aires, Argentina, April 30, 2003.

ผลการศึกษาชิ้นใหม่เตือนว่าภายในปี ค.ศ. 2100 จะมีคนทั่วโลกสองพันล้านคนที่ต้องอพยพและพลัดถิ่นเพราะภาวะโลกร้อน

อุณหภูมิบนโลกที่อุ่นขึ้นทำให้แผ่นน้ำเเข็งบนภูเขาและในขั้วโลกละลาย ในขณะเดียวกัน อุณหภูมิที่อุ่นขึ้นยังทำให้มหาสมุทรร้อนขึ้น ทำให้เกิดการขยายตัวเเละระดับน้ำทะเลสูงขึ้น

ผลการศึกษาชิ้นหนึ่งของมหาวิทยาลัย Cornell พบว่า นี่เป็นข่าวร้ายสำหรับคนที่อาศัยตามชายฝั่งทะเลในช่วง 80 ปีข้างหน้า และถือได้ว่าเป็นข่าวร้ายสำหรับทุกคน ผลการศึกษานี้ชี้ว่าประชาชนที่อาศัยตามเเนวชายฝั่งจะต้องพลัดถิ่นเเละยากที่จะหาที่อยู่อาศัยใหม่

ศาสตราจารย์ Charles Geisler หัวหน้าผู้ร่างรายงานผลการศึกษานี้ กล่าวว่าน้ำทะเลจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จะเกิดพายุเป็นประจำ ทั้งพายุไต้ฝุ่น ทอร์นาโด พายุเฮอร์ริเคน เเนวชายฝั่งจะได้รับผลกระทบหนักขึ้น นอกจากนี้ภาวะคลื่นทะเลสูงจะยิ่งทำให้เเนวชายฝั่งได้รับผลกระทบรุนแรงขึ้น

ศาสตราจารย์ Geisler กล่าวว่า น้ำทะเลที่ไหลขึ้นสู่ฝั่งจะนำเกลือไปสู่ชั้นหินอุ้มน้ำ ทำให้ดินในบริเวณลุ่มน้ำและที่ลุ่มเเนวชายฝั่ง ซึ่งเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์กลายเป็นดินเค็ม และยังจะสร้างความเสียหายแก่บ้านเรือนและสิ่งก่อสร้าง ระบบสาธารณูปโภค ซึ่งตั้งอยู่อย่างหนาเเน่นบริเวณเเนวชายฝั่งในสหรัฐฯ

ศาสตราจารย์ Geisler กล่าวว่าจะมีที่ดินเหลือน้อยลงอย่างมาก ขณะที่ประชากรโลกเพิ่มจำนวนขึ้น คาดว่าภายในปี 2050 จะมีประชากรโลกอย่างน้อย 9 พันล้านคน นอกจากนี้ ชายทะเลที่เป็นที่นิยมและพื้นที่สันทนาการจะถูกน้ำทะเลท่วม

ศาสตราจารย์ Geisler ได้ร่างรายชื่อพื้นที่อื่นๆ ที่ไม่อยู่ในสหรัฐฯ ที่เสี่ยงต่อระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น เขากล่าวว่าบังคลาเทศเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น เพราะตั้งอยู่บนที่ลุ่มน้ำทั้งประเทศ และลุ่มน้ำนี้กำลังสูญเสียไปอย่างรวดเร็ว

เช่นเดียวกับบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงที่กินบริเวณสามส่วนทางใต้ของเวียดนาม มีประชากร 18 ล้านคนอาศัยในลุ่มเเม่น้ำโขง และพวกเขาจะต้องย้ายถิ่นลึกเข้าไปในแผ่นดินตลอดช่วงอีก 80 ปีข้างหน้า

แนวชายฝั่งของประเทศจีนก็เสี่ยงมากเช่นกัน ไม่เฉพาะเเค่ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นแต่ยังจากดินยุบตัวเพราะมีการสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้มากเกินไป

ตลอดเเนวชายฝั่งจีน มีเมืองใหญ่ตั้งอยู่หลายเเห่ง มีการสูบน้ำใต้ดินมาใช้ ทำให้พื้นดินยุบตัวลึก 18 – 20 ฟุต กลายเป็นปัญหาสำคัญเพิ่มอีกปัญหาหนึ่ง ปัญหาเดียวกันนี้เกิดขึ้นในอีกหลายส่วนของโลก แต่เอเชียจะได้รับผลกระทบเป็นจุดเเรกและรุนแรงที่สุด

เขากล่าวว่า ในแอฟริกาก็จะประสบกับภัยน้ำทะเลสูงเช่นกัน ลุ่มเเม่น้ำไนล์จะได้รับผลกระทบรุนแรงมาก


source :- http://rferl.c.goolara.net/Click.aspx?id=066992759705910177

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.