The Arleigh Burke-class guided-missile destroyer USS Kidd arrives off the coast of India in preparation for Malabar 2017, a series of exercises between the Indian Navy, Japan Maritime Self Defense Force and U.S. Navy.

จีนกล่าวว่าปักกิ่งไม่ได้ขัดขวางความร่วมมือตามปกติของประเทศต่างๆ แต่ต้องไม่เป็นการมุ่งเป้าไปที่ประเทศที่สาม

ขณะนี้อินเดีย สหรัฐฯ และญี่ปุ่น กำลังร่วมซ้อมรบทางทะเลประจำปีในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งมีการนำเรือรบและเรือดำน้ำขนาดใหญ่มาใช้ในปฏิบัติการครั้งนี้

การซ้อมรบครั้งนี้ถูกยกระดับในช่วงสองปีที่ผ่านมา ท่ามกลางท่าทีที่แข็งขันในการขยายอิทธิพลของจีนในทะเลจีนใต้และในมหาสมุทรอินเดีย

การซ้อมรบในปีนี้ซึ่งมีชื่อปฏิบัติการว่า “มาลาบา” เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นเด่นชัดที่สุดว่า รัฐบาลอินเดียกำลังกระชับความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ หลังจากผู้นำของทั้งสองประเทศพบกันเมื่อเดือนที่แล้ว

ในปฏิบัติการ “มาลาบา” ที่เริ่มต้นในวันจันทร์ มีเรือรบ 15 ลำ รวมถึงเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐฯ ที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ ส่วนอินเดียส่งเรือบรรทุกเครื่องบิน INS Vikramaditya และญี่ปุ่นส่งเรือรบลำใหญ่ที่สุดที่ชื่อ JS Izumo เข้าซ้อมรบ

ความสำคัญหลักของการซ้อมรบครั้งนี้ คือการฝึกในสงครามจำลองเพื่อต่อต้านการถูกโจมตีด้วยเรือดำน้ำ

ทางการสหรัฐฯ กล่าวในแถลงการณ์ว่า ปฏิบัติการร่วมได้ขยายกรอบด้านกิจกกรมและระดับความซับซ้อน เพื่อที่จะสะท้อนถึงภัยคุกคามทางทะเลในน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิกที่ต่อเนื่องไปในมหาสมุทรอินเดีย

ทั้งนี้ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เรือของกองทัพประเทศจีนเดินทางเข้ามาในมหาสมุทรอินเดียบ่อยครั้งมากกว่าปกติที่เคยเป็นมา และตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 จีนส่งเรือดำน้ำเข้ามาในน่านน้ำดังกล่าว อย่างน้อย 7 ลำ

นักวิเคราะห์กล่าวว่าจีนอาจกำลังแสดงพลังในเขตอำนาจของอินเดีย

Vijay Sakhuja ผู้อำนวยการของมูลนิธิการเดินเรือแห่งชาติของอินเดีย กล่าวว่า ตามความเข้าใจของผู้สังเกตการณ์ ขณะนี้มีเรือ 13 ลำในหลายรูปแบบ เช่น เรือปราบโจรสลัด หรือเรือสอดแนม ในมหาสมุทรอินเดีย เหมือนกับว่ากองทัพเรือจีนวนเวียนอยู่ที่หลังบ้านของอินเดียและเรื่องนี้ทำให้เกิดความกังวล

สิ่งที่เพิ่มความกังวลในปัจจุบันคือ การที่จีนให้ความช่วยเหลือทางการเงินต่อเพื่อนบ้านของอินเดีย คือ ปากีสถานและศรีลังกา ในการสร้างท่าเรือ

ก่อนหน้าการซ้อมรบ “มาลาบา” ในมหาสมุทรอินเดีย กระทรวงต่างประเทศของจีน กล่าวว่า ในขณะที่จีนไม่ได้ต่อต้านความร่วมมือตามปกติของประเทศต่างๆ แต่ทางการปักกิ่งหวังว่าความร่วมมือที่ว่านั้นจะไม่มุ่งเป้าต่อต้านประเทศที่สาม และว่าร่วมมือนั้นควรส่งเสริมความมั่นคงและสันติภาพในภูมิภาค

Vijay Sakhujaนักวิเคราะห์ที่กรุงนิวเดลี กล่าวว่า อินเดีย สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ใช้แนวทางที่ไม่ได้ท้าทายหรือบั่นทอนอำนาจของจีน เพียงแต่ปฏิบัติการในมหาสมุทรอินเดีย และคอยจับตาจีนว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไรเท่านั้นในอนาคต

อย่างไรก็ตาม การซ้อมรบนี้เกิดขึ้นขณะที่จีนและอินเดียเผชิญหน้ากันอย่างตึงเครียดที่แนวเทือกเขาหิมาลัยมาตั้งแต่เดือนที่แล้ว หลังจากที่ทหารอินเดียขัดขวางการก่อสร้างถนนของจีน ในเขตที่จีนและภูฏานมีข้อขัดแย้งเรื่องดินแดน โดยที่ภูฏานเป็นพันธมิตรของอินเดีย

จีนเรียกร้องให้อินเดียถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ แต่ ณ ปัจจุบันยังไม่มีฝ่ายใดยอมอ่อนข้อ


source :- http://rferl.c.goolara.net/Click.aspx?id=066993750906115075


แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.