Posted: 10 Aug 2017 11:47 AM PDT  (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)

อธิบดีกรมป่าไม้ประชุมร่วมประชาชนที่เดือดร้อนจากนโยบายทวงคืนผืนป่า เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา เผยประยุทธ์กำชับมาว่าการแก้ไขปัญหาต้องคำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชนเป็นหลัก


เมื่อวันที่ 8 ก.ค.ที่ผ่านมา เวลาประมาณ 10.30 – 15.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 7 (ขอนแก่น) ชลธิศ สุรัสวดี อธิบดีกรมป่าไม้ ในฐานะตัวแทนรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมประชุมหารือเพื่อรับทราบข้อมูลและหาแนวทางแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนของประชาชนในพื้นที่พิพาทที่ดินในเขตป่าภาคอีสาน โดยมีตัวแทนเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน(คปอ.) ตัวแทนเครือข่ายไทบ้านผู้ไร้สิทธิ์สกลนคร รวมกว่า 150 คน และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมหารือแนวทางแก้ไขปัญหา

อธิบดีกรมป่าไม้ประธานการประชุมฯ กล่าวเปิดเวทีว่า สาระสำคัญในการลงมาร่วมประชุมครั้งนี้ ได้มีการเรียกร้องจากชาวบ้านผ่านสื่อ สืบเนื่องมาจากผลกระทบคำสั่งนโยบายทวงคืนผืนป่า กรณีที่เจ้าหน้าที่ป่าไม้ปฏิบัติหน้าที่ซึ่งอาจเป็นข้อผิดพลาดส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน อีกทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้มีคำสั่งให้กรมป่าไม้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง

“จึงเป็นที่มาของการประชุมเมื่อวันที่ 23 ก.ค.2560 ที่ได้ร่วมประชุมหารือเพื่อรับทราบข้อมูล และหาแนวทางแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนของประชาชนในพื้นที่พิพาทที่ดินในเขตป่าภาคอีสาน และยอมรับว่าปัญหาทั้ง 10 กรณี เกิดขึ้นก่อนคำสั่ง คสช.ซึ่งที่ผ่านมามีแนวทางแก้ไขปัญหามาก่อนหน้านี้เช่นกัน วันนี้จึงลงมาร่วมประชุมอีกครั้งเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาตามที่ประชาชนได้นำเสนอมาให้อย่างถูดต้อง อีกทั้งนายกรัฐมนตรี กำชับมาว่าการแก้ไขปัญหาต้องคำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชนเป็นหลัก” อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าว


สรุปประเด็นการแก้ปัญหา ในการประชุมร่วมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายการทวงคืนผืนป่า โดย ชลธิศ สุรัสวดี อธิบดีกรมป่าไม้ประธานการประชุมฯ

ประเด็นที่ 1 (กรมป่าไม้,กรมอุทยานฯ) อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น , เลย , ป่า

สงวนแห่งชาติป่าน้ำหนาว อ.น้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์

สภาพปัญหา 1. การผนวกพื้นที่เพิ่มเติมของอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน จากพื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำหนาว


2. แนวเขตอุทยานแห่งชาติและป่าสงวนแห่งชาติทับซ้อนที่ท้ากินของชาวบ้าน

แนวทางการแก้ปัญหา

1. ให้ใช้แผนการบริหารจัดการทรัพยากรตามโครงการจอมป่าฯ ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

2. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ของกรมอุทยานแห่งชาติฯ และกรมป่าไม้กันพื้นที่ท้ากิน และพื้นที่อยู่อาศัยของชุมชน ออกจากพื้นที่ที่จะดำเนินการผนวกเพิ่มเติมตามแผนของอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน

ประเด็นที่ 2 (กรมอุทยานฯ) อุทยานแห่งชาติไทรทอง อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ

สภาพปัญหา


1 จากการทวงคืนฯ มีการจับกุมดำเนินคดีเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2558 (จำนวน 19 คดี)

2. ชาวบ้านเกิดความวิตกกังวลต่อ การสู้คดี

3. ชาวบ้านประสบปัญหาการเข้าใช้พื้นที่ทำกินเดิมเพราะถูกทางอุทยานฯปลูกป่าทับพื้นที่ท้ากิน

4. อุทยานฯให้ชาวบ้านยินยอมคืนพื้นที่โดยที่ชาวบ้านไม่สมัครใจ

ข้อเสนอ

1. ให้ประสานช่วยเหลือด้านคดี ถ้าพิสูจน์ว่าเป็นผู้ยากไร้จริง ตามลำดับความเร่งด่วน

2. ให้ชะลอการดำเนินการปลูกป่าทับพื้นที่ทำกิน เพื่อให้ชาวบ้านได้ทำกินต่อไปก่อนเพื่อลดผลกระทบ

แนวทางแก้ไขปัญหา

1. พิจารณาดูแลให้ความเป็นธรรมตามขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม และยึดแนวทางของค้าสั่ง คสช.ที่ 66/2557

2. ให้ราษฎรที่เดือดร้อนเรื่องที่ท้ากินแจ้งความประสงค์ที่จะขอรับการจัดสรรแปลงที่ดินท้ากินจากศูนย์ดำรงธรรมของจังหวัดท้องที่นั้น ๆ

3. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามค้าสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 216/2557 เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ตามแผนการจัดการที่ดินทรัพยากรโดยชุมชน เพื่อพิจารณาช่วยเหลือด้านกระบวนการยุติธรรมและการแก้ปัญหาที่ดินทำกิน

4. การดำเนินการตามมาตรา 22 ตาม พรบ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 ให้รอดำเนินการจนกว่ากระบวนการยุติธรรมจะสิ้นสุด ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการท้ากินของราษฎร แผนการปลูกป่าเปลี่ยนไปทำที่อื่นก่อน

5. นำเรื่องส่งเข้า คปป.จังหวัด และคณะกรรมการจังหวัด

6.เสนอให้ตัวแทนประชาชนเข้าไปเป็นคณะกรรมการ PAC ร่วมกับ อุทยานแห่งชาติไทรทอง

ประเด็นที่ 3 (กรมอุทยานฯ)เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าผาผึ้ง อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ

สภาพปัญหา

1. การประกาศทับซ้อนที่ทำกินชาวบ้าน

ข้อเสนอ

1. ให้ดำเนินการใช้แนวเขตการผ่อนปรนที่ได้รับการตรวจสอบรังวัดแล้วระหว่างเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ ที่ร่วมกับประชาชนตรวจสอบมาเป็นเขตผ่อนปรน ในการแก้ปัญหาการทับซ้อน

แนวทางแก้ไขปัญหา

1. แนวทางทางในการดำเนินการของภาครัฐต้องไม่กระทบต่อวิถีชีวิตปกติของประชาชน ในระหว่างการแก้ไขปัญหาให้ยุติ ขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องชะลอการดำเนินการใดๆ ที่เป็นมูลเหตุให้เกิดความขัดแย้ง หรืออาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนในการดำเนินชีวิตตามปกติสุข และให้สามารถใช้ประโยชน์ ในที่ดินของรัฐตามวิถีไปพลางก่อน จนกว่ากระบวนการพิจารณาของส่วนราชการหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่ตามแต่กรณีจะมีผลเป็นที่ยุติต่อไป

2. ให้ราษฎรที่เดือดร้อนเรื่องที่ท้ากินแจ้งความประสงค์ที่จะขอรับการจัดสรรแปลงที่ดินทำกินจากศูนย์ดำรงธรรมของจังหวัดท้องที่นั้น ๆ

ประเด็นที่ 4 (กรมอุทยานฯ)อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก จ.สกลนคร จ.กาฬสินธุ์ และอุดรธานี

สภาพปัญหา


1. การประกาศเขตอุทยานทับซ้อนที่ทำกินชาวบ้าน

2. เมื่อปี 2553 มีการตรวจยึดแปลงยางพารา ของนางจันทา บังหอม และดำเนินคดีนายสาโรจน์(บุตรชาย) และภายหลังศาลมีคำสั่งยกฟ้องจากการที่นายสาโรจน์ ได้มีการแจ้งครอบครองที่ดินตามมติครม.ปี 41 จำนวน 2 ไร่ และเมื่อปี2559 เจ้าหน้าที่ได้เข้าตัดฟันแปลงยางพาราจ้านวน 18 ไร่

3. มีการตรวจยึดและเตรียมตัดฟันแปลงยางพารา บ้านสมสวัสดิ์ ต.ผาสุก อ.วังสามหมอ จ.อุดรธานี

ข้อเสนอ

1. ให้ดำเนินการแก้ปัญหาและเยียวยาความเสียหายจากการตัดฟันยางพาราและการดำเนินคดีแปลงยางพารานางจันทาฯ และบุตรชาย

2. ให้ยึดแนวทางการแก้ปัญหาโดยใช้แนวทางของคณะท้างานแก้ไขปัญหา

เครือข่ายไทบ้าน ผู้ไร้สิทธิสกลนครของจังหวัดสกลนคร

แนวทางแก้ไขปัญหา


1. แนวทางทางในการดำเนินการของภาครัฐต้องไม้กระทบต่อวิถีชีวิตปกติของประชาชน ในระหว่างการแก้ไขปัญหาให้ยุติ ขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องชะลอการดำเนินการใดๆ ที่เป็นมูลเหตุให้เกิดความขัดแย้ง หรืออาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนในการดำเนินชีวิตตามปกติสุข และให้สามารถใช้ประโยชน์ ในที่ดินของรัฐตามวิถีไปพลางก่อน จนกว่ากระบวนการพิจารณาของส่วนราชการหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่ตามแต่กรณีจะมีผลเป็นที่ยุติต่อไป

2. ให้ราษฎรที่เดือดร้อนเรื่องที่ท้ากินแจ้งความประสงค์ที่จะขอรับการจัดสรรแปลงที่ดินท้ากินจากศูนย์ดำรงธรรมของจังวัดท้องที่นั้น ๆ

3. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตาค้าสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 216/2557 เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ตามแผนการจัดการที่ดินทรัพยากรโดยชุมชน เพื่อพิจารณาช่วยเหลือด้านกระบวนการยุติธรรมและการแก้ปัญหาที่ดินทำกิน

4. พิจารณาดูแลให้ความเป็นธรรมตามขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม และยึดแนวทางของคำสั่ง คสช.ที่ 66/2557

5.เสนอให้ตัวแทนประชาชนเข้าไปร่วมเป็นคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ( PAC)

6. ใช้แนวทางการแก้ไขปัญหาจากคณะกรรมการระดับต่างๆของจังหวัดที่มีอยู่

ประเด็นที่ 5 (กรมป่าไม้) ป่าสงวนแห่งชาติดงชมพูพาน - ดงกระเฌอ อ.ภูพาน จ.สกลนคร ประกาศเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2530 เนื้อที่ 202,063 ไร่ (บ้านจัดระเบียบ)

สภาพปัญหา


1. มีการตรวจยึดจับกุมดำเนินคดี และดำเนินการตัดฟันแปลงยางพารา ของชาวบ้าน

2. มีการปลูกป่าทับที่ดินท้ากินของชาวบ้าน (ไร่มันสำปะหลัง)

3. ชาวบ้านไม่สามารถเข้าไปทำกินในที่ทำกินเดิมได้ตามปกติสุข

ข้อเสนอ

1. ให้ประสานสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ถูกดำเนินคดีไปแล้ว และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพักโทษผู้ถูกคุมขังในคดี 7 ราย

2. ให้ประสานสำนักนายกรัฐมนตรีในการช่วยเหลือด้านกระบวนการยุติธรรมตามข้อเท็จจริงกรณีของนาย สิน เงินภักดี และนางสุรัตน์ ศรีสวัสดิ์

3. ให้ใช้แนวทางการแก้ปัญหาที่ดินทากินที่ได้เสนอผ่าน ทสจ.จังหวัดสกลนคร ถึง กรมป่าไม้

แนวทางแก้ไขปัญหา

1.พิจารณาดูแลให้ความเป็นธรรมตามขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม และยึดแนวทางของคำสั่ง คสช.ที่ 66/2557

2. ให้ราษฎรที่เดือดร้อนเรื่องที่ทำกินแจ้งความประสงค์ที่จะขอรับการจัดสรรแปลงที่ดินท้ากินจากศูนย์ดำรงธรรมของจังหวัดท้องที่นั้น ๆ

3. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 216/2557 เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ตามแผนการจัดการที่ดินทรัพยากรโดยชุมชน เพื่อพิจารณาช่วยเหลือด้านกระบวนการยุติธรรมและการแก้ปัญหาที่ดินทำกิน

4. ให้ใช้แนวทางการแก้ปัญหาที่ดินทำกินตามที่คณะทำงานได้เสนอผ่าน ทสจ. สกลนคร ถึงกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

5. ใช้แนวทางการแก้ไขปัญหาจากคณะกรรมการระดับต่าง ๆของจังหวัดที่มีอยู่

ประเด็นที่ 6 (กรมป่าไม้) ป่าสงวนแห่งชาติภูพาน อ.สามชัย จ.กาฬสินธุ์ ประกาศเมื่อ 2 พฤษภาคม

2511 พื้นที่ 214,843 ไร่

สภาพปัญหา


1. กรณีการตัดยางพาราของไพวัลย์ เทบำรุง บุตรชายนายสมหมาย เทบำรุง เป็นคดีเมื่อปี 2547 และคดีได้ยุติเมื่อปี 2549 ศาลพิพากษาจำคุกคนละ 1 ปี โทษจำคุกให้รอลงอาญา และให้จำเลยทั้งบริวาร ผู้รับจ้าง ออกจากป่าสงวนแห่งชาติ และเมื่อวันพุธที่ 29 ตุลาคม 2557 เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวของตามแผนยุทธการอาชาพิทักษ์ไพร ได้เข้ามาดำเนินการตัดยางพารา ของนายสมหมาย เทบำรุง พร้อมพวกรวม 4 คน จำนวน 37 ไร่ จำนวน 2,115 ต้น

2. มีการติดประกาศไม่ให้เข้าใช้ประโยชน์ในที่ดิน ตามมาตรา 25

3. มีการดำเนินคดีตั้งแต่ปี 2546 และคดีเป็นที่สิ้นสุดแล้วในปี พ.ศ.2549 และท้องถิ่นได้เก็บภาษี ภบท. 5มาโดยตลอด ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 มีการตัดฟันยางพารา 1 ราย และติดป้ายประกาศไม่ให้เข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินจ้านวน 4 ราย

4. ถูกทำลายทรัพย์สินและอาสิน 5 ราย

5. ไม่สามารถเข้าไปทำกินในที่ทำกินเดิมได้ตามปกติสุข

ข้อเสนอ

1. ช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ถูกตัดฟัน

2. ยุติการตัดฟันในแปลงยางพาราของราษฎรทั้ง 4 ราย

3. ให้ชาวบ้านได้ทำกินต่อไป

แนวทางแก้ไขปัญหา

1. แนวทางทางในการดำเนินการของภาครัฐต้องไม่กระทบต่อวิถีชีวิตปกติของประชาชน ในระหว่างการแก้ไขปัญหาให้ยุติ ขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องชะลอการดำเนินการใดๆ ที่เป็นมูลเหตุให้เกิดความขัดแย้ง หรืออาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนในการดำเนินชีวิตตามปกติสุข และให้สามารถใช้ประโยชน์ ในที่ดินของรัฐตามวิถีไปพลางก่อน จนกว่ากระบวนการพิจารณาของส่วนราชการหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่ตามแต่กรณีจะมีผลเป็นที่ยุติต่อไป

2.พิจารณาดูแลให้ความเป็นธรรมตามขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมและยึดแนวทางของคำสั่ง คสช.ที่ 66/2557

3. ให้ราษฎรที่เดือดร้อนเรื่องที่ท้ากินแจ้งความประสงค์ที่จะขอรับ

การจัดสรรแปลงที่ดินทำกินจากศูนย์ดำรงธรรมของจังหวัดท้องที่นั้น ๆ

4. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 216/2557 เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ตามแผนการจัดการที่ดินทรัพยากรโดยชุมชน เพื่อพิจารณาช่วยเหลือด้านกระบวนการยุติธรรมและการแก้ปัญหาที่ดินทำกิน

5. การดำเนินการตามมาตรา 25 ตาม พรบ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ให้รอดำเนินการจนกว่ากระบวนการยุติธรรมจะสิ้นสุด ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการท้ากินของราษฎร

ประเด็นที่ 7 (กรมป่าไม้) ป่าสงวนแห่งชาติภูซำผักหนาม ต.ห้วยยาง อ.คอน

สาร จ.ชัยภูมิ ประกาศเมื่อ 12 มิถุนายน 2516 เนื้อที่ 290,000 ไร่

สภาพปัญหา


1. มีการปลูกสร้างสวนป่าทับที่ดินทำกิน ตั้งแต่ปี 2528 จำนวน b394 ราย

ข้อเสนอ

1. ให้ช่วยเหลือเยียวยาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการปลูกสร้างสวนป่าและถูกผลักดันให้อพยพจาก

ที่ดินเดิม

2. ให้มีการคัดแยกราษฎรจากจำนวน 394 ราย ที่ได้รับความเดือดร้อนเพื่อดำเนินการช่วยเหลือเยียวยาเป็น

ลำดับแรก

3. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามค้าสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 216/2557 เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ตามแผนการจัดการที่ดิน

ทรัพยากรโดยชุมชน เพื่อพิจารณาช่วยเหลือด้านกระบวนการยุติธรรม และการแก้ปัญหาที่ดินทำกิน

ประเด็นที่ 8 (กรมป่าไม้) ป่าจำแนกตามมติคณะรัฐมนตรี ป่าเตรียมการฯหมายเลข 10 แปลง 10 ต.ถ้ำวัวแดง อ.หนองบัวแดง จ. ชัยภูมิ

สภาพปัญหา

1. มีความไม่ชัดเจนในการจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน

2. ชาวบ้านไม่สามารถเข้าทำกินในที่ดินได้ตามปกติสุข

ข้อเสนอ

1. ให้จำแนกและสอบสวนสิทธิผู้มีคุณสมบัติให้สามารถทำกินในพื้นที่ทำกินเดิมได้

แนวทางแก้ไขปัญหา


1. กรมป่าไม้อยู่ระหว่างดำเนินการสำรวจเพื่อจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน

ประเด็นที่ 9 (กรมป่าไม้) สวนป่าโคกยาว ต.ทุ่งลุยลาย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ – ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูซำผักหนาม ประกาศเมื่อ 12 มิ.ย. 2516 เนื้อที่ 290,000 ไร่

สภาพปัญหา

หน่วยงานรัฐเข้ามาดำเนินการโครงการหมู่บ้านรักษ์ป่าประชารักษ์สัตว์ เมื่อปี 2528 ปลูกสร้างสวนป่าทับที่ทำกินของราษฎร (จำนวน 36 ราย 850 ไร่)

ข้อเสนอ

1. ให้ชาวบ้านสามารถใช้ประโยชน์ทำกินในพื้นที่ 850 ไร่ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 216/2557 เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ตามแผนการจัดการที่ดินและทรัพยากรโดยชุมชน ซึ่งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายทวงคืนผืนป่า ได้มีมติรับรองแล้ว เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2560

แนวทางแก้ไขปัญหา

1. ให้ราษฎรที่เดือดร้อนเรื่องที่ทำกินแจ้งความประสงค์ที่จะขอรับการจัดสรรแปลงที่ดินท้ากินจากศูนย์ดำรงธรรมของจังหวัดท้องที่นั้น ๆ

2. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตาคำสั่งส้ำนักนายกรัฐมนตรีที่ 216/2557 เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ตามแผนการจัดการที่ดินทรัพยากรโดยชุมชน เพื่อพิจารณาช่วยเหลือด้านกระบวนการยุติธรรม และการแก้ปัญหาที่ดินทำกิน

3. ให้ยึดแนวทางตามแผนการจัดการที่ดินฯ

ประเด็นที่ 10 (อ.อ.ป.) ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูซำผักหนาม ประกาศเมื่อ 12

มิ.ย. 2516 เนื้อที่ 290,000 ไร่ - สวนป่าคอนสาร ต.ทุ่งพระ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ

สภาพปัญหา


1. มีการปลูกสร้างสวนป่าทับที่ดินทำกินของราษฎร เมื่อ พ.ศ. 2521

2. ราษฎรที่กลับเข้าไปทำกินในที่ดินทำกินเดิมเมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2552 ถูกดำเนินคดี (31 ราย) คดีแพ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา

ข้อเสนอ

1. ให้ชาวบ้านสามารถใช้ประโยชน์ทำกินในพื้นที่เดิม ตามแนวทางคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 216/2557

เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม และแผนการจัดการที่ดินและทรัพยากรโดยชุมชน ซึ่งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายทวงคืนผืนป่า ได้มีมติรับรองแล้วเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2560

2. ในกรณีผู้ถูกดำเนินคดี ให้ยึดแนวทางตามข้อตกลงเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2554 ที่ระบุว่า

1) จะไม่เร่งรัดบังคับคดี

2) เห็นชอบในการจัดหาที่ทำกิน 1500 ไร่ ให้ราษฎรผู้เดือดร้อน

3) แก้ไขข้อกำหนดในการใช้ประโยชน์สวนป่าของ อ.อ.ป. ให้เป็นที่ยอมรับด้วยกัน

แนวทางแก้ไขปัญหา

1. พิจารณาดูแลให้ความเป็นธรรมตามขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม และยึดแนวทางของคำสั่ง คสช. ที่ 66/2557

2. ให้ราษฎรที่เดือดร้อนเรื่องที่ท้ากินแจ้งความประสงค์ที่จะขอรับการจัดสรรแปลงที่ดินท้ากินจากศูนย์ดำรงธรรมของจังหวัดท้องที่นั้น ๆ

3. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตาค้าสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 216/2557 เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ตามแผนการจัดการที่ดินทรัพยากรโดยชุมชน เพื่อพิจารณาช่วยเหลือด้านกระบวนการยุติธรรม และการแก้ปัญหาที่ดินทำกิน

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.