Atukkit Sawangsuk

รัฐบาลทหารคงไม่ตั้งใครมานั่งเก้าอี้อธิการธรรมศาสตร์ จุฬา เกษตร ราม ศรีนครินทร์ มหาลัยใหญ่ๆ ทั้งหลาย เพราะสวามิภักดิ์หมดแล้ว แต่ขู่ไว้ อย่านอกคอก

เป้าหมายตอนนี้คือมหาวิทยาลัยรอบนอก ที่อาจยังมีผู้บริหารอิสระหรือไม่ได้เป็นฝักฝ่ายใคร แต่ก็จะมีพวกวิ่งเต้นเส้นสายทหารแกล้งป่วน แพ้การสรรหาแล้วให้ตั้งคนนอก

Pinkaew Laungaramsri

ตอนที่จอมพลถนอม กิติขจร รับตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปี 2503 ประธานสภามหาวิทยาลัยขณะนั้นคือ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สื่อมวลชนในขณะนั้นได้ลงข่าวว่า “ความจริง ท่านไม่ประสงค์ตำแหน่งนี้ แต่เมื่อทางสภามหาวิทยาลัยเห็นว่า ท่านเป็นผู้ที่มีความเหมาะสม ท่านก็จำเป็นต้องรับ”

อาจารย์ธำรงค์ศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ได้ให้ความเห็นว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้รัฐบาลเผด็จการเข้าแทรกแซงและควบคุมอุดมศึกษาในยุคนั้น เพราะต้องการควบคุมความสงบในหมู่นักศึกษาที่แอคทีฟทางการเมืองโดยเฉพาะจุฬาฯและธรรมศาสตร์ ภายใต้ยุค”ปฏิวัติ” และเพื่อกำกับทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มีกำเนิดและพัฒนาการต่างไปจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ ให้เข้าสู่กรอบการบริหารงานโดยรัฐภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี (โปรดดูประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์ภายใต้ยุคถนอมได้ที่ http://cwweb2.tu.ac.th/…/shel…/@tubookshelf3/pdf/4_tanom.pdf)

ส่วนเหตุผลที่รัฐบาลคสช.ให้ไว้ ในการใช้ม.44 ออกคำสั่งให้สามารถแต่งตั้งคนนอกเข้ามาบริหารอุดมศึกษาได้ตั้งแต่ระดับมหาวิทยาลัย ไปจนคณะ และภาควิชา คือข้ออ้างที่ว่า เพื่อขจัดอุปสรรคในการปฏิรูปการศึกษา 

ผู้บริหารมหาวิทยาลัยคนแรกที่ออกมาขานรับคำสั่งรัฐบาลทหารดังกล่าวคือ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่แต่งตั้งโดยหัวหน้าคสช. ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยที่เคยมีเผด็จการทหารนั่งเป็นอธิการบดี เมื่อ 57 ปีที่แล้ว

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.