The MATTER

BRIEF: ประธานสภาคอมมิวนิสต์จีนระบุ ‘ประชาธิปไตยแบบจีน’ ดีที่สุด และขอให้ทุกคนช่วยกันป้องกันอิทธิพลจากตะวันตก

.
คุณอาจจะเคยได้ยินประโยค ‘ประชาธิปไตยแบบไทยๆ’ อย่างไรก็ดี จีนก็มี ‘ประชาธิปไตยแบบจีนๆ’ เหมือนกันนะ เพราะในที่ประชุมสภาคอมมิวนิสต์จีนนั้น ประธานสภาของพวกเขาเพิ่งออกมาระบุว่า ประชาธิปไตยแบบจีนดีที่สุด และขอให้สมาชิกพรรคช่วยกันป้องกันอิทธิพลจากตะวันตกด้วย
.
ประโยคนี้เกิดขึ้น หลังจากที่ หลี่ จานชู ประธานสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีน กล่าวในที่ประชุมว่า “เราควรเสริมความแข็งแกร่งในด้านการวิจัยเชิงทฤษฎี และการตีความด้านโฆษณาชวนเชื่อ ของประชาธิปไตยแบบสังคมนิยม ที่มาควบคู่กับเอกลักษณ์แบบจีน และระบบสภาของประชาชน และบอกเล่าเรื่องราวดีๆ ที่เกี่ยวกับประชาธิปไตยแบบจีน”
.
นักวิเคราะห์ระบุว่า นี่ถือได้ว่าเป็นครั้งแรก ที่สมาชิกพรรคคอมมนิวต์จีนระดับสูง พยายามใช้โวหาร “บอกเล่าเรื่องราวดีๆ ที่เกี่ยวกับประชาธิปไตยแบบจีน” ไปยังทั่วโลก เพื่อเสริมความมั่นใจว่า พวกเขาจะสามารถเผชิญหน้ากับสหรัฐฯ ในด้านอุดมการณ์ทางการเมือง เมื่อประชาคมโลกกำลังพูดถึงความเป็นประชาธิปไตย ในฐานะวิธีการและเป้าหมายในการดำเนินนโยบายต่างๆ
.
หลี่ระบุอีกว่า จีนจะได้ประโยชน์จากการเรียนรู้นโยบายต่างประเทศของอารยธรรมอื่นๆ แต่ต้องไม่ทิ้งพื้นฐานของระบอบการเมืองจีนเอง นอกจากนี้ หลี่ยังระบุอีกว่า “เรา(จีน)ควรต่อสู้ ต่อต้าน และป้องกัน อิทธิพลที่จะเข้ามากัดกร่อน ซึ่งถูกเรียกว่า ‘ระบบรัฐธรรมนูญ’ การเลือกตั้งแบบหลายพรรค การแบ่งอำนาจสามฝ่าย ระบบสองสภา และความเป็นอิสระของระบบตุลาการแบบตะวันตก”
.
หลี่เป็นผู้อำนาจมากที่สุดอันดับสามในจีน รองจากประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ทั้งนี้ ตั้งแต่การระบาดของ COVID-19 เป็นต้นมา จีนเริ่มมีความมั่นใจว่าตัวเองมีระบอบการเมืองการปกครอง ที่เป็น “ประชาธิปไตย” ในแบบของพวกเขาเอง ซึ่งจะช่วยรับมือการระบาดใหญ่ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ และขจัดความยากจนในประเทศลงได้ ทั้งนี้ สื่อของรัฐบาลจีนพยายามกล่าวย้ำอยู่บ่อยๆ ว่า ณ ตอนนี้ “ตะวันออกกำลังรุ่งเรือง และตะวันตกกำลังเสื่อมถอย”
.
เซี่ย เหมาซง นักรัฐศาสตร์ชาวจีนระบุว่า ปรากฏการณ์เหล่านี้จากทางผู้นำระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ช่วยยืนยันว่า รัฐบาลจีนเริ่มมั่นใจว่า ระบบการเมืองของเขามีประสิทธิภาพ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ รัฐบาลจีนพยายามนำเสนอชุดความคิด “ประชาธิปไตยแบบจีนๆ” มาบ้างแบบอ้อมๆ แต่การพูดในครั้งนี้ของหลี่ว่าพรรคควร “บอกเล่าเรื่องราวดีๆ ที่เกี่ยวกับประชาธิปไตยแบบจีน” คือ การพูดโดยตรงจากผู้มีอำนาจระดับต้นๆ ของประเทศ และช่วยยืนยันว่าผู้นำประเทศเชื่อว่า ประชาธิปไตยแบบจีนๆ คือประชาธิปไตยที่แท้จริง
.
“มันไม่ใช่ประชาธิปไตยแบบปลอมๆ ที่นักการเมืองฝั่งตะวันตก พยายามให้คำสัญญาที่ดูน่าเชื่อถือระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง และพวกเขาก็ไม่สามารถทำได้จริงหลังจากนั้น จีนในตอนนี้มีความมั่นใจว่า ประชาธิปไตยแบบแท้จริง สามารถทัดเทียมกับประชาธิปไตยจอมปลอมแบบตะวันตกได้” เซี่ยระบุ ทั้งนี้ พรรคคอมมิวนิสต์จีนจะมีการประชุมใหญ่เกิดขึ้นในเดือนหน้า ซึ่งจะเป็นการประชุมในวาระครบรอบ 100 ปี การก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนพอดี
.
จีนเริ่มเจอแรงเสียดทานมากขึ้นจากตะวันตก หลังจากความขัดแย้งระหว่างช่องแคบไต้หวัน กำลังทวีความร้อนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะในขณะที่จีนพยายามอ้างสิทธิเหนือดินแดนของเกาะไต้หวัน แต่ชาติตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐฯ กลับแล่นเรือรบของพวกเขาผ่านช่องแคบไต้หวันที่ต้องเป็นอิสระจากจีน รวมถึงวาทะของ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ยืนยันว่า สหรัฐฯ พร้อมให้ความช่วยเหลือไต้หวัน หากจีนคอมมิวนิสต์แผ่นดินใหญ่เริ่มโจมตีเกาะไต้หวัน
.
.
อ้างอิงจาก
https://www.scmp.com/.../communist-party-number-3-hails...
https://www.bbc.com/news/world-asia-59005300
https://news.cgtn.com/.../A-glimpse-of-China-s.../index.html


[full-post]


สุรพศ ทวีศักดิ์

ยันตระกับอาชีพนักบวชเอกชน

ปรากฏการณ์ยันตระแสดงให้เห็นความจริงว่า "นักบวชคืออาชีพเอกชนในตลาดศรัทธา" ไม่ว่าคุณจะเป็นนักบวชประเภทไหน แต่งเครื่องแบบอย่างไร มีความเชื่อ แนวปฏิบัติอย่างไร คุณก็คือผู้ประกอบอาชีพเอกชนในตลาดศรัทธาและดำรงชีพด้วยปัจจัยสี่, ห้า ฯลฯ และมีรายได้มากหรือน้อยในตลาดศรัทธา
แน่นอนว่า ในตลาดศรัทธามันมี "การทำการตลาด" สร้างความแตกต่าง สร้างจุดขาย นักบวชบางคนบางกลุ่มขายความบริสุทธิ์ถูกต้องตามธรรมวินัย ขายความเป็นพุทธแท้ บางคนขายมุกตลก บางคนขายการปฏิบัติวิปัสสนา ขายการฝึกสมาธิ บางคนบางกลุ่มก็มียศศักดิ์ฐานันดรเป็นจุดขาย ฯลฯ และแต่ละคนแต่ละกลุ่มก็มีกลุ่มลูกค้าของตนเอง
ถ้ายอมรับความจริงว่าเรื่องศาสนา/ศรัทธาเป็นเรื่องความเชื่อส่วนตัว เป็นเสรีภาพส่วนบุคคล มันก็ไม่มีความเชื่ออะไรสูงส่งกว่าอะไร ขึ้นอยู่กับการตัดสินตามรสนิยมของบรรดาผู้เชื่อ ทุกความเชื่อจึงมีสิทธิดำรงอยู่ตราบที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ดังนั้น รัฐต้องไม่ยกให้ความเชื่อใดความเชื่อหนึ่งสูงส่งหรือมีอภิสิทธิ์เหนือความเชื่ออื่นๆ จึงต้อง #แยกศาสนาจากรัฐ ต้องไม่มีศาสนจักรของรัฐที่มีอำนาจทางกฎหมายปกป้องความเชื่อของกลุ่มตนเองและเอาผิดความเชื่อกลุ่มอื่นๆ ที่แตกต่าง
และอาชีพนักบวชต้องเป็น #อาชีพเอกชน ในตลาดศรัทธาภาคเอกชน หรือตลาดความเชื่อส่วนบุคคลของประชาชน นักบวชต้องไม่มียศ ตำแหน่ง อำนาจทางกฎหมาย และเงินเดือนหรือเงินตอบแทนใดๆ จากภาษีประชาชน
ที่มาภาพ https://www.springnews.co.th/feature/817378



เผด็จการคลั่ง เนรเทศทูตรวดเดียว 10 ประเทศ!

Sirote Klampaiboon (ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์) 

24 ต.ค. - เผด็จการตุรกีคลั่งจัด ประธานาธิบดี "เออร์โดกาน" ประกาศสิบเอกอัครราชทูตเป็นบุคคลไม่พึงประสงค์ (persona non-grata) เนรเทศทูตสหรัฐ, แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, ฟินแลนด์, นอร์เวย์, เนเธอร์แลนด์, เดนมาร์ก และสวีเดน โดย 7 ใน 10 คือสหภาพยุโรป
คำประกาศของเออร์โดกานมีขึ้นหลังสถานทูตทั้ง 10 ประเทศลงชื่อให้รัฐบาลตุรกีเร่งดำเนินคดีและให้ประกัน "ออสมัน คาวาลา" นักโทษการเมืองและนักกิจกรรมภาคประชาสังคมที่ถูกขังเป็นปีที่สี่
ตอนนี้เออร์โดกันปกครองประเทศแล้ว 19 ปี
หมายเหตุเพิ่มเติม
ประเด็นเรื่องเออร์โดกานเป็นเผด็จการถูกพูดมานานแล้ว ไม่เกี่ยวกับสื่อชอบหรือไม่ชอบครับ
การกวาดล้างคนเห็นต่าง-การจับคนยัดคุกโดยไม่พิจารณาคดี-การใช้ทหารจับฝ่ายวิจารณ์รัฐบาล ทั้งหมดนี้เป็นพฤติกรรมเผด็จการแน่ๆ ต่อให้จะไม่ได้มาจากการรัฐประหารก็ตาม
เออร์โดกานหลังชนะฝ่ายรัฐประหารปี
2559 มีการจับคนไปประมาณ 50,000 , ไล่เจ้าหน้าที่รัฐออกมากกว่าหนึ่งแสนคน, ยกเลิกการเลือกตั้งในมหาวิทยาลัย เปลี่ยนเป็นเออร์โดกานตั้งผู้บริหารทั้งหมด https://www.aljazeera.com/.../turkeys-failed-coup-attempt...
ประธานาธิบดีมาร์กอสของฟิลิปปินส์ก็ถูกถือว่าเป็นเผด็จการ ต่อให้เขามาจากการเลือกตั้ง
ผมพูดเรื่องเผด็จการ ไม่ได้พูดเรื่องเขาเหมือนประยุทธ์ และเผด็จการไม่จำเป็นต้องเหมือนประยุทธ์ครับ
ในแง่วิชาการ เราอาจเรียกคนแบบนี้ว่า Constitutional Authoritarianism ก็ได้ครับ
มาร์กอสของฟิลิปปินส์ก็มาจากการเลือกตั้งครับ แต่เป็นเผด็จการ ปกครองประเทศพร้อมกฎอัยการศึกกว่าสิบปี
เรื่องเออร์โดกานผมไม่อยากพูดเยอะ เพราะจะกลายเป็นเรื่องศาสนา คนศาสนาหนึ่งก็จะเข้ามาหาเรื่องด่าศาสนาของเออร์โดกาน แล้วคนอีกศาสนาก็จะปกป้องเพราะรู้สึกว่าเออร์โดกานศาสนาเดียวกัน
พอเป็นแบบนี้ คุยกันเรื่องรัฐบาลเผด็จการก็จะกลายเป็นเรื่องทะเลาะระหว่างศาสนาไปหมด ทั้งที่เรื่องผู้นำไม่เกี่ยวกับศาสนาเลย ทุกศาสนาไหนก็มีผู้นำห่วยได้เหมือนกัน
ในฐานะที่ผมทำเรื่องคนอิสลามถูกฆ่าที่สามจังหวัดเรื่องตากใบ, กรือเซ๊ะ, ตันหยงลิมอร์ ฯลฯ มาตั้งแต่เรียนหนังสือ ทำจนถูกคนพุทธสุดโต่งด่าตั้งแต่ 20 ปีที่แล้ว ผมไม่ชอบครับที่มีคนหาเรื่องกระแนะกระแหนอิสลามหรือมุสลิม จะพูดอะไรผมถึงระวัง
ผู้นำห่วยไม่เกี่ยวกับศาสนาครับ ผู้นำห่วยเป็นเรื่องคนเฮงซวย คนเฮงซวยนับถือศาสนาไหนก็เป็นคนเฮงซวย และทุกศาสนามีคนเฮงซวยครับ จึงไม่ควรปกป้องคนเฮงซวยเพียงเพราะเขานับถือศาสนาเดียวกับเรา
สำหรับคนที่บอกว่าให้ไปอ่านสื่อตุรกีก่อนวิจารณ์เออร์โดกาน ตุรกีคือประเทศที่เสรีภาพสื่อต่ำกว่าไทย อันดับอยู่ที่ 150 กว่าๆ ใกล้เคียงจีน, เกาหลีเหนือ, ซูดาน และรวันดานะครับ https://rsf.org/en/ranking
คุณคิดว่าสื่อตุรกีพูดเรื่องตุรกีได้ตรงๆ เท่าไรเชียว


เสมือนอ่านประกาศอิสรภาพและสิทธิมนุษยชน

แถลงการณ์ของ อบจ. นิสิตจุฬา ด้วยมติเอกฉันท์ 29 : 0 ความหมายสำคัญคือ ไม่ใช่ว่าจะมีนิสิตใครคนใดคนหนึ่งสามารถผลักดันให้เรื่องนี้ออกเป็นแถลงการณ์นโยบายที่จะนำไปสู่การปฏิบัติได้ แต่มันเน้นให้เห็นว่า มันเป็นประเด็นที่ตกผลึกแห่งยุคสมัยของคนรุ่นนี้
นอกจากนี้ ยังน่าจะหมายรวมได้ว่า นิสิตจุฬาส่วนใหญ่ซึ่งเลือกตัวแทนของพวกเขาไปบริหาร ก็มีทัศนคติไปในทิศทางเดียวกัน คือ สังคมไทยที่มีความศิวิไลยมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เพราะนี้คือระบอบประชาธิปไตยสากล คนเท่ากัน
สามย่อหน้าแถลงการณ์ ย่อหน้าแรกสรุปสถานการณ์เรื่องขบวนแบกอัญเชิญพระเกี้ยว ย่อหน้าที่สอง อธิบายปัญหาของสภาพการณ์ที่สำคัญ ส่วนย่อหน้าสุดท้าย คือบทสรุปที่ควรเลิกกิจกรรมนี้
คำสำคัญที่ใช้ สะท้อนถึงปรัชญาแห่งสิทธิมนุษยชน เช่น ระบอบอำนาจนิยม คนไม่เท่ากัน วัฒนธรรมแบบศักดินา สัญลักษณ์ของศักดินา ความโปร่งใส อภิสิทธิ์ชน อำนาจในการบังคับ กิจกรรมที่ล้าหลัง การผลิตซ้ำธรรมเนียมปฏิบัติ
ดังนั้น รัฐบาลของนิสิตจุฬา จึงมุ่งที่จะสร้าง คุณค่าสากล ประชาธิปไตย ความเท่าเทียม สิทธิมนุษยชน จึงประกาศยกเลิกกิจกรรมดังกล่าว
กิจกรรมแบกอัญเชิญพระเกี้ยวเข้าสู่สนามฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ ก็เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นในยุคการเพิ่มพูนรื้อฟื้นวัฒนธรรมศักดินาที่เริ่มเพิ่มกระแสสูงในทศวรรษ 2500 (อ่านเพิ่ม ทักษ์ เฉลิมเตีรยณ, การเมืองไทยระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ.)
และก็เช่นกัน ฝ่ายนักศึกษาธรรมศาสตร์เองก็เลียนแบบนิสิตจุฬา โดยประดิษฐ "ธรรมจักร" หล่อให้เป็นวัตถุ ดังที่ตั้งอยู่ที่ชั้นล่าง ตึกโดม ท่าพระจันทร์ เพื่อสร้างขบวนแบกตราธรรมจักรเข้าสู่สนามฟุตบอลในต้นทศวรรษ 2510 เพื่อให้เหมือนฝ่ายนิสิตจุฬา (อ่านเพิ่ม ธรรมศาสตร์ การเมืองไทย)
ประกาศอิสรภาพและสิทธิมนุษยชนฉบับนี้ เป็นผลจากปัจจัยสภาพยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ยุคโลกาภิวัตน์ ยุคดิจิตอล ยุคประสบการณ์นิยม ยุคคุณค่าความเป็นคนที่เท่าเทียม ยุคประชาธิปไตยอำนาจเป็นของประชาชน ยุคคนรุ่นใหม่กับคำถามมากมาย เป็นพลังที่กัดกร่อนอำนาจนำที่มีมากว่าครึ่งศตวรรษลงไป ภายใต้สภาพการณ์ของรัฐประหารสองครั้งที่รักษาอำนาจผลประโยชน์ควบคุมอำนาจรัฐไว้ได้ แต่ไม่อาจรักษาความเชื่อศรัทธาทัศนคติแบบเก่าไว้ได้
นี่คือ ปรากฏการณ์ที่สำคัญยิ่งในรอบหนึ่งศตวรรษของไทยทีเดียว นอกเหนือจากเป็นข่าวที่สำคัญที่สุดของวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม 2564 เวลายามค่ำ


[full-post]
ขับเคลื่อนโดย Blogger.