คดี “อุ้มฆ่าสุภัคสรณ์” เป็น Hate Crime หรือไม่?
Posted: 29 Jan 2017 04:35 PM PST  (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)  


ถ้าGenderเป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจกันได้ง่าย ๆ และเป็นเรื่องที่สังคมยอมรับและมีพื้นที่ให้ในเรื่องตัวบทกฎหมายสำหรับปกป้องรักษาสิทธิของความแตกต่างในความเป็นเพศ ป่านนี้เราคงไม่ต้องมาเรียกร้องหาความเท่าเทียมเสมอภาคทางเพศ ไม่ต้องมารวมกลุ่มกันสร้างองค์กร LGBTเพื่อเรียกร้องสิทธิของความหลากหลายทางเพศ ไม่ต้องเรียกร้องกฎหมายแต่งงานของเพศเดียวกัน ไม่ต้องเรียกร้องการบวชภิกษุณี ไม่ต้องมีองค์กรผู้หญิงต่าง ๆ นานามากมายเพื่อรักษาสิทธิของความเป็นพลเมืองเพศหญิง
แต่บังเอิญGenderไม่ได้เป็นเรื่องที่จะเข้าใจกันได้ง่าย ๆ เช่นอ่านเขียน ก.ไก่ ถึง ฮ.นกฮูกและประเด็น Gender ก็มิได้มีสอนกันในโรงเรียน แต่ Gender เป็นประเด็นที่ซับซ้อนและเข้าใจได้ยากเพราะเต็มไปด้วยเรื่องของอำนาจการกดขี่และอคติทางเพศจึงเป็นเรื่องยากที่จะมองเห็นว่า “คดีสุภัคสรณ์” เป็น Hate Crimeหรือไม่ ?

Hate Crime คืออะไร ?

Hate Crimeคือ อาชญากรรมที่มาจากความเกลียดชัง หมายถึงการกระทำผิดทางอาญาที่ผู้กระทำมีมูลเหตุจูงใจมาจากอคติหรือความเกลียดชังต่อคนกลุ่มหนึ่งที่มีเอกลักษณ์บางอย่างแตกต่างไปจากตนทางด้านศาสนา เชื้อชาติ ภาษา ผิวสี และรสนิยมทางเพศ (นัทธี จิตสว่าง, ความแตกต่างของการก่อการร้ายกับอาชญากรรมจากความเกลียดชัง, Go to Know, เข้าดู 21 มกราคม 2560)
ข่าว “อุ้มฆ่าทอม” ที่ปรากฏเมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมาเป็นเรื่องของ “สุภัคสรณ์ พลไธสง” หญิงบุคลิกทอม ผมซอยสั้น มีรอยสัก ถูกลักพาตัวหายไปและพบว่ากลายเป็นศพในเวลาต่อมา
เนื้อหาของข่าวถูกรายงานวันต่อวันนำไปสู่การสืบสาวที่มาที่ไปว่า “สุภัคสรณ์” คบหาอยู่กับหญิงซึ่งเป็นคนรักของนายตำรวจชั้นสูงท่านหนึ่ง มีการค้นพบการจีบกันระหว่าง “สุภัคสรณ์” กับหญิงคนดังกล่าวในสังคมออนไลน์  เนื้อหาข่าวรายงานว่านายตำรวจผู้ต้องหาได้จ้างวานให้ชาย 5 คนกระทำการลักพาตัว “สุภัคสรณ์” ด้วยจำนวนเงิน 200,000 บาท โดยนายตำรวจให้การว่าแค่ต้องการ “สั่งสอน” ไม่มีเจตนาฆ่า สภาพศพมีการสันนิษฐานว่าผู้ตายเสียชีวิตจากการถูกทรมาน สภาพศพถูกถอดเสื้อผ้าออกแล้วฝังลึกใต้พื้นดินประมาณ 2 ฟุตในรีสอร์ทร้างแห่งหนึ่งใน จ.กาญจนบุรี
วิเคราะห์จากวันที่ “สุภัคสรณ์” ถูกลักพาตัวคือกลางเดือนธันวาคม 2559 ไปจนถึงวันพบศพคือต้นเดือนมกราคม 2560 ซึ่งน่าจะกินเวลามากกว่า 2 สัปดาห์  จึงอาจสันนิษฐานได้ว่า “สุภัคสรณ์” ไม่ได้ถูก “อุ้ม” เพื่อฆ่าในทันทีแต่มีการกักขังหน่วงเหนี่ยวและ “ทรมานร่างกาย” จนกระทั่ง “สุภัคสรณ์” เสียชีวิตในที่สุด จากนั้นจึงมีการนำร่างไร้วิญญาณของเธอไปฝัง


เหตุใดจึงต้องทำกันขนาดนี้ ?

เป็นเรื่องชวนสงสัยและชวนตั้งคำถามว่าเหตุใดจึงต้องลงทุนจ้างวานลักพาตัว “สุภัคสรณ์” ด้วยจำนวนเงินถึง 200,000 บาท ถึงแม้จะมีประเด็นที่ “สุภัคสรณ์” ยืมเงินจากฝ่ายหญิงเป็นประเด็นถัดมาก็ยังดูเป็นชนวนที่มีน้ำหนักน้อยเพียงการยืมเงินก็สามารถทำกันได้ขนาดนี้เชียวหรือหากมิใช่ประเด็นเรื่องชู้สาวตามที่ข่าวนำเสนอ
ประเด็นที่น่าสนใจถัดมาในเนื้อหาของข่าวคือผู้ต้องหารู้สึกโกรธแค้นเมื่อพบว่า “สุภัคสรณ์” โพสต์ข้อความเหยียดหยามในสังคมออนไลน์เรื่องขนาดอวัยวะเพศของผู้ต้องหาว่ามีขนาดเล็ก เป็นไปได้หรือไม่ว่านี่เป็นอีกชนวนหนึ่งที่ทำให้เกิดการฆาตกรรม “สุภัคสรณ์” อย่างที่สื่อนำเสนอ
สิ่งที่เป็นความมั่นใจของชายจำนวนหนึ่งก็คือขนาดของอวัยวะเพศ  ผู้ชายหลายคนพยายามสรรหาวิธีทำอวัยวะเพศของตนเองให้ใหญ่เพราะคิดว่าเมื่ออวัยวะเพศของตนเองมีขนาดใหญ่นั่นคือ ความแข็งแรง  ความแมน  ความอึดความทนในการมีเพศสัมพันธ์  ผู้ชายจำนวนไม่น้อยเชื่อว่าการมีอวัยวะเพศใหญ่เป็นสิ่งที่จะทำให้ผู้หญิงหลงใหล พวกเขาจึงพากันไปใช้บริการฉีดอวัยวะเพศของตนให้ใหญ่ตามที่มีการโฆษณากัน
ดังนั้นหากมีใครมากล่าวหาว่าอวัยวะเพศของตนเล็กก็เหมือนกับเป็นการเหยียดหยามความเป็นชายซึ่ง ๆ หน้าอันเป็นสิ่งที่ผู้ชายจำนวนหนึ่งรับไม่ได้ ยิ่งบุคคลผู้กล่าวหาเป็น “ทอมบอย” ยิ่งเพิ่มความโกรธให้กับชายคนนั้นมากยิ่งขึ้น  เป็นไปได้หรือไม่ว่านี่เป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการฆาตกรรม “สุภัคสรณ์” สอดรับกับคำให้การว่า “แค่ต้องการสั่งสอน”

วาทกรรม “สั่งสอนทอม” สั่งสอนแบบไหน ?

มีบางคนตั้งคำถามว่า “แค่ต้องการสั่งสอน” เป็นการสั่งสอนแบบไหนกันแน่ ?
สังคมไทยมีคำพูดที่กระจัดกระจายล่องลอยไปทุกหนแห่งเกี่ยวกับ “คำสั่งสอนทอม” ที่มักจะพูดให้ได้ยินอยู่เสมอว่า “เดี๋ยวโดนผู้ชายมันก็หายเป็นทอม” ซึ่งนั่นหมายถึงวาจาล่วงละเมิดทางเพศที่มีต่อทอม และเรายังพบว่ามีการล่วงละเมิดทางเพศกับทอมอยู่ทั่วไปที่ไม่เป็นข่าว อย่างนี้มันแปลว่าอะไร ?
“แม่บางคน” ก็ยังให้ผู้ชายมาล่วงละเมิดทางเพศลูกทอมของตนเพื่อหวังให้ลูกหายจากการเป็นทอม นี่เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น การสั่งสอนทอมจึงมีตั้งแต่ทำร้ายร่างกาย ล่วงละเมิดทางเพศ ไปจนถึงการทำให้หายสาบสูญไปจากโลกนี้ คำให้การของผู้ต้องหาว่า “แค่ต้องการสั่งสอน” จึงเป็นปริศนาว่าเป็นการสั่งสอนแบบไหน แค่ทำให้เจ็บตัวทรมานหรือทำให้หายไปจากโลกนี้ และอะไรเป็นมูลเหตุสำคัญให้ต้องสั่งสอนถึงขนาดทำให้ “สุภัคสรณ์” เสียชีวิต ?
หากรูปลักษณ์ของ “สุภัคสรณ์” ไม่ได้เป็นทอม แต่เป็น “หญิงรักหญิง” ผมยาว แล้วมาติดพันชอบพอกับหญิงคนรักของผู้ต้องหา  คิดว่าเหตุการณ์จะเป็นอย่างไร เธอจะถูกทำร้ายถึงขนาดจับตัวมาทรมานจนสิ้นใจหรือไม่ หรือเพียงแค่ถูกซ้อมสั่งสอนหรืออาจจะถูกล่วงละเมิดทางเพศ นี่เป็นอีกคำถามที่ควรกลับมาคิดกันหรือเราอาจจะค้นพบว่าในที่สุดไม่ว่า “สุภัคสรณ์” จะมีเพศสภาพแบบใดก็ต้องลงเอยด้วยการถูกกระทำรุนแรงอยู่ดี
คนเรามีแนวโน้มที่จะรังเกียจคนที่ไม่เหมือนเราอยู่แล้ว นั่นคือรังเกียจความแตกต่างและเป็นอื่น (Alienation, Otherness) เรายังคงมีพ่อแม่ที่ยอมรับลูกที่เป็นทอมไม่ได้  ในโรงเรียนชั้นประถมและมัธยมเด็กผู้หญิงยังคงถูกห้ามไม่ให้ไว้ผมรองทรง การห้ามผู้หญิงไว้ผมรองทรงก็คือห้ามมิให้ผู้หญิงทำตัว “ข้ามเพศ” เรายังคงมีหลายบริษัทไม่รับกะเทย-ทอม-ทรานแมนเข้าทำงานแม้แต่งานข้าราชการก็อย่าได้หวังว่าบุคคลเหล่านี้ (กะเทย ทอม ทราน) จะสามารถเข้าไปยื่นใบสมัครแล้วได้รับตำแหน่งหน้าที่การงานในแวดวงราชการอย่างง่ายดาย

ทั้งหมดนี้เราน่าจะจับชีพจรแห่งความรังเกียจ “การข้ามเพศ” ที่กระจัดกระจายอยู่ในสังคมไทยได้ไม่ยาก


พฤติกรรมเดียวกันแต่เพศสภาพต่างกันมีความรังเกียจต่างกัน

สมมติว่ามีผู้ชายมานั่งสูบบุหรี่ใกล้ ๆ คุณแล้วคุณรู้สึกเหม็นและไม่ชอบ คุณอาจจะแค่รังเกียจการสูบบุหรี่ของเขาแต่คุณไม่ได้รังเกียจความเป็นชายของเขา  แต่ถ้าเป็นทอมมานั่งสูบบุหรี่ใกล้ ๆ คุณอาจจะไม่ได้แค่หงุดหงิดกับการสูบบุหรี่ของทอมเท่านั้นแต่คุณอาจพาลเกลียด “ความเป็นทอม” ของเขาไปด้วย
เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น  เพราะความเป็นชายเป็นเพศสภาพที่ได้รับการยอมรับในสังคมอยู่แล้วเราจึงไม่รู้สึกรังเกียจความเป็นชายแต่รังเกียจที่พฤติกรรมของเขา  ในขณะที่ “ความเป็นทอม” เป็นเพศสภาพที่นอกกรอบจากบรรทัดฐานของสังคม ดังนั้นไม่ว่าทอมจะทำอะไรจึงเป็นเรื่องผิดหูผิดตาคนอื่นไปเสียหมด
หรือกะเทยที่วี๊ดว๊าดกระตู้วู้ส่งเสียงดังคุณอาจจะไม่ได้แค่รังเกียจบุคลิกจัดจ้านของกะเทยเท่านั้นแต่คุณอาจรังเกียจ “ความเป็นกะเทย” ของเธอ หรือเกลียด “ภาวะข้ามเพศ” ของเธอไปด้วย กะเทยบางคนมีบุคลิกเรียบร้อยจึงมักจะโดนรังเกียจตั้งแต่ยังไม่ได้ทำอะไรเลย
นับประสาอะไรกับคดีฆาตกรรมทอมคนหนึ่งที่กระบวนการฆาตกรรมจะไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับความเป็นทอมเลยเชียวหรือ?  นี่อาจเป็นคำถามที่ชวนให้ผู้คนหันมาตระหนักรู้ในเรื่อง “อาการรังเกียจทอม” ที่กระจัดกระจายอยู่ในสังคมไทยมากยิ่งขึ้น

 
แล้วผู้หญิงที่เคยรักทอมจะหันมา “เกลียดทอม” จนฆ่าทอมได้หรือไม่

เป็นสิ่งที่เป็นไปได้  “ดี้” บางคนเคยเป็นแฟนกับทอม ต่อมาเลิกกันเพราะทอมหันไปมีคนอื่น จึงปักใจโกรธเกลียดทอม  ซึ่งภาวะ “เกลียดทอม” นี้ไม่ได้เกลียดเฉพาะทอมที่เคยเป็นคนรักเก่าเท่านั้น  แต่พาลเกลียดทอมทุกคนที่เห็นหรือเกลียดทอมทุกคนบนโลกก็มีเหมือนกัน
 จึงมีความเป็นไปได้ที่ฝ่ายหญิงอาจเป็นฝ่ายบงการอุ้ม “สุภัคสรณ์” เสียเองตามที่กระแสข่าวส่วนหนึ่งนำเสนอว่าอาจจะเป็นเช่นนั้น ซึ่งก็คงต้องคอยเฝ้าดูการสรุปผลรูปคดีของตำรวจกันต่อไปว่าจะลงเอยในแบบใด


ผู้รับจ้างฆ่ามักเป็น “เพศชาย”

เราเคยตั้งข้อสังเกตกันบ้างหรือไม่ว่าเหตุใดผู้รับจ้างฆ่าหรือมือปืนจึงมักเป็นเพศชาย  ไม่ค่อยมีเพศหญิงหรือเพศสภาพอื่น ๆ เข้ามารับงานลักษณะนี้
การที่เพศชายเป็นเพศที่รับจ้างฆ่าไม่ว่าจะเป็นคดีฆาตกรรมใด ๆ ก็ตามโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ “คดีสุภัคสรณ์” ทำให้คดีนี้กลายเป็นคดีฆาตกรรมที่รุนแรงระหว่าง “เพศชาย” กระทำกับ “ทอม” ไปโดยปริยาย ไม่ว่าผู้ว่าจ้างหรือผู้บงการจะเป็นเพศใดก็ตาม
ตั้งแต่กระบวนการ “อุ้ม” จนถึงขั้นตอน “ทรมาน” นำไปสู่การ “ฆาตกรรม” ประกอบไปด้วยผู้รับจ้างชาย 5 คน เป็นไปได้หรือไม่ว่าขณะรับงาน ผู้รับจ้างทั้งหมดเมื่อทราบข้อมูลและรูปถ่ายว่าพวกตนต้องลักพาตัว “ทอม” ไปสั่งสอน  ในจังหวะที่รับรู้นั้น “ความรังเกียจทอม” ที่มีอยู่ในใจแต่เดิมก็เริ่มก่อตัวขึ้น  ในขณะ “อุ้ม” เมื่อ “สุภัคสรณ์” ปกป้องขัดขืนก็เริ่มมีโทสะผสมผสานกับความรังเกียจทอมที่มีอยู่แล้วก็ยิ่งทวีความโกรธแค้นมากยิ่งขึ้นก็ยิ่งลงไม้ลงมือหนักขึ้น  ทั้งขณะ “ทรมานร่างกาย” ก็รู้สึกสะใจที่ได้กระทำรุนแรงกับบุคคลที่เป็นทอมจนกระทั่ง “สุภัคสรณ์” สิ้นใจไปในที่สุด
นี่เป็นสิ่งที่เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเกิดขึ้นกับขณะจิตของผู้กระทำการฆาตกรรมทั้ง 5 คนซึ่งเป็นเพศชายทั้งหมดกระทำกับทอมคนหนึ่ง นี่เป็นสิ่งที่น่าคิด


ไม่เคยมีการเปลือยศพทอมลักษณะนี้มาก่อน

เรามักจะพบข่าวเปลือยศพตามหน้าข่าวอยู่บ้าง แต่สำหรับข่าวเปลือยศพนี้เป็นข่าวแรกที่กระทำกับหญิงผู้มีอัตลักษณ์ทอม มันแปลว่าอะไร ? เหตุใดจึงต้องเปลือยศพทอม ?
นี่คือ Hate Crimeหรือเปล่า ?
นี่คือความรังเกียจทอม ไม่ต้องการให้ทอมมีตัวตนอยู่บนโลกนี้ใช่หรือไม่?
คล้าย ๆ กับเป็นการอนาจารศพ เหมือนกับว่าในเมื่อเป็นทอมเวลาตายก็ไม่จำเป็นต้องให้เกียรติผู้ตาย ให้ตายแบบเปลือย ๆ  ดูคล้ายกับเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่ง
เป็นไปได้ยากที่จะคิดว่าผู้ตายเป็นเพียง “ผู้หญิง” คนหนึ่ง  จึงเป็นประเด็นที่สามารถตั้งคำถามได้ว่า  “เพราะเป็นทอมใช่ไหมจึงต้องลงทุนทำร้ายกันขนาดนี้”


เราไม่มีกฎหมาย “อาชญากรรมแห่งความรังเกียจ” เราจึงไม่มีแว่นที่จะใช้ส่องเพื่อเฝ้ามองเรื่อง Gender

ในประเทศที่ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองความแตกต่างในเรื่องเพศ สีผิว เชื้อชาติ ภาษาและศาสนา จะเป็นไปได้หรือที่คดีฆาตกรรมที่มีความเกี่ยวพันกับเรื่องเพศสภาพจะสามารถสืบสวนไปสู่มูลเหตุจูงใจแห่งการฆ่า “เพราะเหตุว่าเธอเป็นทอม”
จุดมุ่งหมายของกฎหมาย Hate Crime เกิดขึ้นมาก็เพื่อปกป้องสิทธิของคนที่แตกต่างมิให้ถูกทำร้าย สถานการณ์จะดีขึ้นเมื่อกฎหมายตัวนี้กระทำไปพร้อม ๆ กับให้การศึกษาแก่สังคมได้ตระหนักรู้ถึงความแตกต่างไม่ว่าใครจะมีความแตกต่างแค่ไหนพวกเขาก็ไม่ควรถูกทำร้ายอันเนื่องมาจากความแตกต่างที่พวกเขาเป็น อย่างน้อยการทำร้ายกันด้วยความรังเกียจก็จะไม่เกิดซ้ำ และสังคมควรเรียนรู้ว่าทุกเพศมีสิทธิ์เติบโตและดำรงอยู่บนโลกอย่างเท่าเทียมกัน
และถึงแม้จะมิได้มีอะไรแตกต่างไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตาม จะเป็นผู้ชาย จะเป็นผู้หญิง ก็มิควรถูกทำร้าย
ไม่ว่าผลของรูปคดีนี้จะสรุปออกมาเป็นอย่างไร ปฏิเสธไม่ได้ว่านี่เป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงคนหนึ่งที่มีอัตลักษณ์ทอม  หากจะพูดว่ามันเป็น Hate Crimeก็ถือว่าเป็น Hate Crime ที่แนบเนียนเสียจนคนทั่วไปมองไม่ออกว่ามันเป็น Hate Crime ตรงไหน
Hate Crime ที่มีต่อทอมนั้นมีมาระยะหนึ่งแล้วแต่เราไม่เคยมีการนำมาพูดคุยกัน บทความนี้ต้องการตั้งข้อสังเกตและตั้งคำถามต่าง ๆ นานากับ “คดีสุภัคสรณ์” ในบรรยากาศที่สังคมไทยยังคงมีความรังเกียจทอมตลบอบอวลอยู่ทั่วไป  เป็นไปได้หรือที่คดี “สุภัคสรณ์” จะไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับความเป็นทอมเลย ?


หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกใน .teenpath.net

ผู้เสนอเก็บภาษีหุ่นยนต์-ได้เป็นตัวแทนพรรคสังคมนิยมชิงเลือกตั้ง ปธน.ฝรั่งเศส
Posted: 29 Jan 2017 05:32 PM PST   (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)  
ผลการเลือกตั้งขั้นต้นในพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศส ‘เบอนัว อามง’ ผู้สมัครปีกซ้ายเอาชนะคู่แข่งสายกลางได้ โดย ‘อามง’ ชูนโยบายเก็บภาษีหุ่นยนต์ จ่ายเงินเดือนพื้นฐานสำหรับทุกคน และทำให้กัญชาถูกกฎหมาย อย่างไรก็ตามคู่แข่งของเขาคือผู้นำขวาจัดอย่าง ‘มารีน เลอ แปน’ ที่กำลังมาแรง และยังมี ‘เอมมานูเอล มาครอง’ อดีตแกนนำพรรครัฐบาลที่ผันตัวเป็นผู้สมัครอิสระ
ขณะที่ ‘ฟ​ร็องซัว ฟียง’ จากพรรคขวากลาง เดิมมีเส้นทางสดใส ตอนนี้กำลังลำบากเพราะถูกแฉว่ายักยอกเบี้ยเลี้ยงสภา ส่วนภรรยาได้รับเงิน 5 แสนยูโรจากการจ้างงานปลอม

(ซ้าย) เบอนัว อามง ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศส จากพรรคสังคมนิยม (ที่มา: Ulysse Bellier/Wikipedia) (ขวา) หุ่นยนต์ TOPIO ในงานนิทรรศการหุ่นยนต์นานาชาติที่กรุงโตเกียวเมื่อปี 2009 (ที่มา: Humanrobo/Wikipedia)

30 ม.ค. 2060 ที่ฝรั่งเศส ซึ่งจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส รอบแรกในวันที่ 23 เมษายน และรอบสองในวันที่ 7 พฤษภาคมนี้ โดยความคืบหน้าล่าสุด พรรคสังคมนิยมฝรั่งเศส (PS) ได้ผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีตัวทนพรรคแล้ว หลังผ่านการเลือกตั้งขั้นต้นภายในพรรครอบที่สอง เมื่อวันที่ 29 มกราคม
ผลปรากฏว่า เบอนัว อามง (Benoit Hamon) ผู้สมัครปีกซ้ายของพรรค ซึ่งเสนอนโยบายจ่ายเงินเดือนพื้นฐาน (basic income) เก็บภาษีหุ่นยนต์ และให้กัญชาถูกกฎหมาย มีคะแนนนำและกำลังจะได้เป็นว่าที่ผู้สมัครประธานาธิบดีจากพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศส
ทั้งนี้เขาได้คะแนนถึงร้อยละ 58 ขณะที่คู่แข่งคืออดีตนายกรัฐมนตรีสายกลางซ้ายคือ มานูเอล วาลส์ (Manuel Valls) ได้คะแนนร้อยละ 42 ทั้งนี้จากรายงานของ The Guardian
เมื่อเปรียบเทียบกับผลการเลือกตั้งขั้นตอนรอบแรก ซึ่งอามงได้ร้อยละ 36 และวาลส์ได้ 31 ก็สะท้อนว่าเป็นชัยชนะของฝ่ายซ้ายกบฎในพรรคที่ต่อต้านการสนับสนุนกลไกตลาด และนโยบายสายกลางของรัฐบาลฟร็องซัว ออลล็องด์ ซึ่งผู้สนับสนุนฝ่ายซ้ายเองก็มองว่าเป็นประธานาธิบดีจากพรรคสังคมนิยมที่ดำเนินนโยบายล้มเหลว
ทั้งนี้การเลือกตั้งขั้นต้นหรือ "ไพรมารีโหวต" เป็นการแข่งขันกันระหว่างสองปีกภายในพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศส ปีกหนึ่งเป็นพรรคสังคมนิยมสายเด็ดเดี่ยวของพรรคที่ต่อต้านการอุดหนุนธุรกิจ อีกปีกหนึ่งเป็นพรรคสังคมนิยมสายของพรรครัฐบาลฝรั่งเศสปัจจุบัน ที่ต้องการเห็นพรรคไปในแนวทางของพรรคแนวพรรคแรงงาน
อามง ปราศรัยกับผู้สนับสนุนว่าพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศสยังคงรู้สึกภาคภูมิได้อีกครั้ง และกล่าวด้วยว่าเขาต้องการเป็นตัวแทนของฝ่ายซ้ายในการนำพาไปสู่อนาคต และต้องการได้รับชัยชนะ
"ผมเชื่อว่าจะต้องเผชิญหน้ากับคู่แข่งที่เป็นพวกอนุรักษ์นิยมฝ่ายขวา ที่เป็นตัวแทนของอภิสิทธิ์ และพวกฝ่ายขวาจัดทำลายล้าง แต่ประเทศของเราต้องการฝ่ายซ้ายที่มองโลกอย่างที่โลกเป็น ไม่ใช่มองโลกอย่างที่โลกเคยเป็น ฝ่ายซ้ายจะนำพาไปสู่อนาคตที่ประชาชนต้องการ"
ด้านวาลส์ได้ประกาศยอมรับความพ่ายแพ้ ทั้งยังระบุว่ามีความจำเป็นที่พรรคจะต้องกลับมาร่วมกันอีกครั้ง พร้อมอวยพรให้อามง "โชคดี"

 

กบฏในพรรครัฐบาล ก่อนสามารถเอาชนะเป็นตัวแทนพรรคสังคมนิยมได้อีกครั้ง

ทั้งนี้การหาเสียงที่ผ่านมาของเบอนัว อามง คือการฟื้นฟูแรงสนับสนุนพรรคสังคมนิยมอีกครั้ง หลังจากที่ผู้ลงคะแนนให้พรรคสังคมนิยมฝรั่งเศสจำนวนรู้สึกว่าช่วงที่ฟร็องซัว ออลล็องด์เป็นรัฐบาลนั้นทั้งยุ่งเหยิงและหายนะ โดยออลล็องด์ถูกกล่าวหาว่าดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบซิกแซ็กและทรยศอุดมการณ์สังคมนิยม โดยออลล็องด์เป็นผู้นำที่ได้รับความนิยมน้อยที่สุดนับตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยผลสำรวจความนิยมเขาได้รับคะแนนเพียงร้อยละ 4 และออลล็องด์ได้ประกาศเมื่อเดือนก่อนว่าจะไม่ลงสมัครเลือกตั้งชิงประธานาธิบดีอีก
ความท้าทายต่อไปของอามงคือ พยายามหยุดยั้งการแตกแยกภายในพรรคสังคมนิยมระหว่างปีกซ้ายและสายกลางในพรรค หลังจากนั้นเขาจำเป็นต้องพิสูจน์ว่าเขาจะมีที่ทางในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส ซึ่งก่อนหน้านี้คาดหมายว่าพรรคสังคมนิยมมีโอกาสน้อยมากที่จะได้คะแนนนิยมในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสรอบแรกในวันที่ 23 เมษายนนี้ เพื่อที่จะได้ชิงชัยในการเลือกตั้งรอบสอง ในวันที่ 7 พฤษภาคมต่อไป
ในรายงานของ The Guardian เสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในฝรั่งเศสเทไปทางพรรคฝ่ายขวา ในขณะที่พรรคสังคมนิยมมีความเป็นไปได้ที่จะคะแนนเป็นอันดับ 5 ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสรอบแรก
โดยผลสำรวจความนิยมในขณะนี้ ผู้นำขวาจัดอย่าง มารีน เลอ แปน (Marine Le Pen) จากพรรคแนวร่วมชาตินิยม (FN) ยังคงมีคะแนนนำอยู่เหนือผู้สมัครจากพรรคขวากลาง อดีตนายกรัฐมนตรีอย่าง ฟร็องซัว ฟียง (François Fillon) เป็นผู้สมัครตัวแทนจากพรรคสาธารณรัฐฝรั่งเศส (Les Républicains) ซึ่งกำลังประสบความยากลำบากจากเรื่องอื้อฉาว โดยในรายงานของอัลจาซีราเปิดเผยว่า เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (25 ม.ค.) มีหนังสือพิมพ์รายงานว่าภรรยาของเขาได้รับเงินราว 500,00 ยูโรเป็นเวลา 8 ปี โดยเป็นการจ้างงานปลอมในตำแหน่ง “ผู้ช่วยในรัฐสภา” นอกจากนี้เมื่อวันอาทิตย์มีรายงานเชิงสืบสวนสอบสวนลงสื่อ กล่าวหาว่าในช่วงที่เขาเป็นวุฒิสมาชิกได้ยักยอกเงินเบี้ยเลี้ยงของรัฐสภาไปกว่า 25,000 ยูโร
ส่วนเอมมานูเอล มาครอง (Emmanuel Macron) อดีตรัฐมนตรีเศรษฐกิจในรัฐบาลออลล็องด์ ก็แยกตัวจากพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศส และลงสมัครในนามผู้สมัครอิสระ และถือแนวทางสายกลาง ซึ่งกำลังได้รับคะแนนนิยมเพิ่มขึ้นและมีความเป็นไปได้ที่จะทะลุไปถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสรอบสอง นอกจากนี้มีแนวโน้มว่านักการเมืองในพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศสอาจกระโดดเข้าร่วมกับมาครอง ภายหลังจากที่อามงชนะการเลือกตั้งภายในพรรค
นอกจากนี้ฝ่ายซ้ายจัดอย่าง ฌอง ลุค เมลองชง ที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคซ้าย (PG) ก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในการสำรวจความนิยมและดึงคะแนนเสียงมาจากผู้สนับสนุนพรรคสังคมนิยมอีกด้วย

ชูนโยบายลดชั่วโมงทำงาน เก็บภาษีหุ่นยนต์ เงินเดือนพื้นฐาน กัญชาถูกกฎหมาย

สำหรับเบอนัว อามง อายุ 49 ปี เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ และเป็นหัวหอกของ ส.ส.ปีกซ้ายภายในพรรครัฐบาลที่ไม่เห็นด้วยกับประธานาธิบดีออลล็องด์ที่หันมาใช้นโยบายสนับสนุนภาคธุรกิจ โดยอามงถูกปลดออกจากตำแหน่งในรัฐบาลในปี 2014 หลังจากที่เขาต่อต้านนโยบายสนับสนุนเศรษฐกิจแบบตลาดของประธานาธิบดีออลล็องด์ และอดีตนายกรัฐมนตรีวาลส์ และหลังจากนั้นอามงก็เป็นผู้นำ ส.ส. คัดค้านการผลักดันของประธานาธิบดีออลล็องด์ที่ต้องการแก้ไขกฎหมายแรงงานฝรั่งเศส
ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งภายในพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศส อามงเป็นผู้สมัครที่อายุน้อยที่สุด และมีข้อเสนอซ้ายกว่าบรรดาผู้สมัครคนอื่น นอกจากนี้เขาเชิญชวนให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้ามามีส่วนร่วมด้วยการจ่ายเงินสนับสนุน 1 ยูโรและกรอกแบบฟอร์มว่าจะยึดมั่นคุณค่าของฝ่ายซ้ายด้วย
ทั้งนี้อามงชูนโยบายหาเสียงว่า ต้องการลดเวลาทำงานลงจาก 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เป็น 32 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เก็บภาษีหุ่นยนต์ที่ถูกนำมาใช้ทำงาน และจ่ายเงินเดือนขั้นพื้นฐาน (basic income) เริ่มต้นกับผู้มีอายุระหว่าง 18 ถึง 25 ปี ก่อนขยายไปยังประชาชนฝรั่งเศสทุกคน เขาเชื่อว่านโยบายเงินเดือนพื้นฐานจะช่วยชดเชยโอกาสการจ้างงานที่หดน้อยลง อันเนื่องมาจากการเข้าสู่ยุคอัตโนมัติ (age of automation) ที่หุ่นยนต์เริ่มเข้ามาทำงานแทนมนุษย์
ทั้งนี้อามงเสนอว่าจะต้องจ่ายเงินเดือนพื้นฐานให้กับทุกคน โดยไม่คำนึงว่าจะมีรายได้มากน้อยเท่าไหร่ โดยคาดว่าเงินเดือนพื้นฐานจะอยู่ที่ 750 ยูโรต่อราย ทั้งนี้เขายังกล่าวหานักการเมืองทั้งฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาที่บิดเบือนความเป็นรัฐฆราวาสของฝรั่งเศสนำไปใช้เล่นงานชาวมุสลิมฝรั่งเศส
โดยในช่วงการเลือกตั้งขั้นต้นภายในพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศส มีการเปรียบเทียบอามง กับเยเรมี คอร์บิน ( Jeremy Corbyn) ผู้นำพรรคแรงงานของอังกฤษด้วย อย่างไรก็ตาม อามงซึ่งเคยกล่าวยกย่องคอร์บิน ก็มีความแตกต่างจากผู้นำพรรคแรงงานอังกฤษอย่างมาก โดยอามงซึ่งสนับสนุนการอยู่ร่วมกับสหภาพยุโรปอายุน้อยกว่าคอร์บินถึง 20 ปี เคยเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลฝรั่งเศส เป็นสมาชิกรัฐสภายุโรป และเคยเป็นโฆษกพรรคสังคมนิยมอีกด้วย
ทั้งนี้งานเร่งด่วนของอามง ก็คือการหาเสียงเลือกตั้งโดยที่เน้นให้พรรคมีบทบาทรองจากเขาให้มากที่สุด โดยภายหลังจากที่โน้มน้าวให้สายฮาร์ดไลน์ในพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศสให้สนับสนุนเขาในเรื่องนโยบายสิ่งแวดล้อมและมาตรการต่อเรื่องภาวะโลกร้อนแล้ว เขายังต้องโน้มน้าวผู้สมัครจากพรรคกรีน ยานนิก ยาโดต์ (Yannick Jadot) ให้เลิกชิงตำแหน่งประธานาธิบดีและหันมาเข้าร่วมกับเขาด้วย
แต่สิ่งที่ชวนปวดหัวสำหรับพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศสก็คือ นักการเมืองภายในพรรคปีกที่สนับสนุนมานูเอล วาลส์ จะหันไปสนับสนุนเอมมานูเอล มาครอง อดีตแกนนำพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศสที่ลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในนามผู้สมัครอิสระ โดยพวกเขาเห็นว่าเป็นเพียงโอกาสเดียวที่พรรคสังคมนิยมสายกลางจะชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส
ทั้งนี้คู่แข่งของอามง คือวาลส์มักจะเอ่ยถึงขั้วที่ “เข้ากันไม่ได้” ภายในพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศส โดยในช่วงชิงชัยกันเป็นผู้แทนของพรรค วาลส์กล่าวหาอามงว่าเป็นพวกอุดมคติ ความคิดอย่างวาดวิมานในอากาศไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้จริง และเตือนว่าอามงจะพาพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศสไปสู่ความล้มเหลวและนำไปสู่ยุคแห่งความว่างเปล่านับสิบปี
วาลส์กล่าวกับผู้สื่อข่าวเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า เขาไม่อาจช่วยปกป้องแนวทางของอามงได้ และกล่าวว่าถ้าอามงชนะเขาจะไม่ไปช่วยสนับสนุนในการเลือกตั้งประธานาธิบดี แต่เขาจะถอนตัวจากการลงสมัครประธานาธิบดีแทน

แปลและเรียบเรียงจาก
French Socialists choose leftwing rebel Benoît Hamon for Élysée fight, Angelique Chrisafis, The Guardian, Sunday 29 January 2017 20.23 GMT

ความเสื่อมถอยของระบบนิติรัฐและการละเมิดสิทธิ ไผ่ ดาวดิน จม.ถึงผู้พิพากษา
Posted: 30 Jan 2017 12:33 AM PST  (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)

 
จดหมายเปิดผนึกเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.)
ถึง ประธานศาลฎีกาและผู้พิพากษาทั่วประเทศ
เรื่อง ความเสื่อมถอยของระบบนิติรัฐและการละเมิดสิทธินายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา

เรียน ประธานศาลฎีกาและผู้พิพากษาทั่วประเทศ

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) และผู้มีรายชื่อแนบท้ายใคร่เสนอความเห็นและข้อเรียกร้องต่อท่าน ในฐานะที่ท่านเป็นผู้มีหน้าที่อำนวยความยุติธรรมและนิติรัฐ ดังต่อไปนี้
ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมาหนึ่งในวิกฤติการณ์ที่สังคมกำลังเผชิญอยู่คือวิกฤติศรัทธาที่ประชาชนมีต่อกระบวนการยุติธรรมของไทย วลี “สองมาตรฐาน” มักถูกใช้เพื่อหมายถึงการบังคับใช้และตีความกฎหมายต่อบุคคลและกลุ่มบุคคลอย่างไม่เสมอภาคเท่าเทียมกัน การไม่เคารพต่อหลักนิติรัฐและสิทธิเสรีภาพของประชาชน และองค์กรตุลาการถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองบ่อยครั้ง
ปัญหาดังกล่าวรุนแรงยิ่งขึ้นหลังการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อกฎหมายถูกใช้ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่แสดงความเห็นแตกต่างจากผู้มีอำนาจ ศาลทหารถูกใช้ดำเนินคดีประชาชนที่ต่อต้านรัฐบาลทหาร โดยไม่มีเสียงคัดค้านจากบุคคลในองค์กรตุลาการปกติแต่อย่างใด
หากบุคคลในวงการยุติธรรมเปิดใจรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้น ย่อมตระหนักถึงความรู้สึกข้อนี้ของประชาชนได้ไม่มากก็น้อย เพราะปรากฏว่าในปัจจุบัน แม้แต่ประชาชนทั่วไปก็กล้าวิจารณ์การทำงานของศาลอย่างตรงไปตรงมาในสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ จนกล่าวได้ว่าไม่มียุคใดที่ประชาชนไทยจะเสื่อมศรัทธาต่อกระบวนการยุติธรรมเท่ายุคนี้
ล่าสุดกรณีนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา (ไผ่ ดาวดิน) นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ตอกย้ำประเด็นปัญหาข้างต้นของกระบวนการยุติธรรมไทย เป็นกรณีที่ทำให้ประชาชนกลุ่มต่างๆ ตลอดจนองค์กรสิทธิมนุษยชนทั้งภายในและระหว่างประเทศรู้สึกกังวลและออกมาเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานให้กับนายจตุภัทร์
นายจตุภัทร์ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 จากการแชร์ข่าวพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากเฟซบุ๊กของสำนักข่าวบีบีซีไทยในเฟซบุ๊กของตน ต่อมาศาลจังหวัดขอนแก่นได้มีคำสั่งเพิกถอนการประกันตัวของนายจตุภัทร์เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2559 โดยให้เหตุผลว่านายจตุภัทร์ไม่ลบข้อความที่ถูกกล่าวหา อีกทั้งยังมีการแสดงภาพถ่ายที่ศาลเห็นว่าเป็นการเย้ยหยันอำนาจรัฐ ซึ่งจนถึงบัดนี้ ทนายความได้ยื่นอุทธรณ์และฎีกาตามลำดับ แต่ศาลสูงได้ยืนตามคำสั่งของศาลจังหวัดขอนแก่น อีกทั้งทนายความได้ยื่นขอประกันตัวใหม่แล้วถึงห้าครั้ง แต่ศาลก็ยังไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวนายจตุภัทร์เป็นการชั่วคราว
ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 มกราคม ที่ผ่านมา อันเป็นวันที่ศาลนัดไต่สวนคำร้องของตำรวจที่ขอฝากขังนายจตุภัทร์อีก 12 วัน ปรากฏว่าผู้พิพากษาได้ประกาศว่าจะพิจารณาคดีแบบลับ โดยห้ามบุคคลอื่นเข้าฟังการพิจารณาคดี อนุญาตให้มีเพียงนายจตุภัทร์ บิดามารดา และทนายความอยู่ในห้องพิจารณาคดีเท่านั้น แม้ว่าทนายความและนายจตุภัทร์จะโต้แย้งว่าในวันนั้นทางทนายความเพียงต้องการคัดค้านการขอฝากขังของเจ้าหน้าที่ตำรวจเท่านั้น ยังไม่ได้เข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาคดี ประการสำคัญเป็นสิทธิของประชาชนที่จะเข้ารับฟังการพิจารณาโดยเปิดเผย แต่ศาลก็ยังยืนยันคำสั่งเดิมด้วยเหตุผลว่าเป็นคดีความมั่นคง เหตุการณ์นี้ทำให้นายจตุภัทร์ประกาศว่าในเมื่อเขาไม่เคยได้รับสิทธิใดๆ จากศาล เขาก็ขอสละสิทธิการมีทนายความ โดยจะว่าความต่อสู้คดีด้วยตนเอง
นักเรียนกฎหมายทุกคนย่อมรู้ดีว่า ตามหลักนิติรัฐ ตราบเท่าที่ยังไม่มีการพิพากษาว่ามีความผิด ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลนั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ อีกทั้งยังไม่มีหลักฐานหรือเหตุผลน่าเชื่อถือว่านายจตุภัทร์สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐานในการดำเนินคดี หรือพยายามหลบหนีแต่ประการใด
ประการสำคัญ นายจตุภัทร์ยังไม่ได้แสดงหรือกระทำการฝ่าฝืนเงื่อนไขที่ศาลได้กำหนดในคำสั่งอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว  ศาลไม่ได้กำหนดให้การลบข้อความที่ถูกกล่าวหาเป็นเงื่อนไขของการให้ประกันตัว อีกทั้งหากกำหนดให้ต้องลบข้อความดังกล่าวก็อาจทำให้เข้าใจได้ว่าศาลได้วินิจฉัยไปแล้วว่าการกระทำที่กล่าวหาเป็นความผิดโดยที่ยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการพิจารณา ยิ่งกว่านั้น นายจตุภัทร์ได้แจ้งต่อศาลอย่างชัดเจนว่าเหตุผลที่ไม่ลบข้อความที่ถูกกล่าวหาก็เพราะต้องการจะเก็บไว้เป็นพยานหลักฐานต่อสู้คดีในชั้นพิจารณา การไม่ลบข้อความที่ถูกกล่าวหาจึงเป็นการปฏิบัติตามเงื่อนไขการให้ประกันตัวของศาลที่ห้ามเกี่ยวข้องกับพยานหลักฐานในคดี และเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าผู้ต้องหาจะไม่ไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน
นอกจากนี้ นายจตุภัทร์จะต้องสอบรายวิชาสุดท้ายที่ได้ลงทะเบียนไว้ในวันที่ 17-18 มกราคม 2560 เพื่อสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี แต่ศาลกลับไม่อนุญาตให้นายจตุภัทร์ได้ประกันตัวเพื่อออกไปสอบ ซึ่งอาจส่งผลต่อการสำเร็จการศึกษาและอนาคตของเยาวชนคนหนึ่ง นี่เป็นเหตุผลด้านมนุษยธรรมพื้นฐานที่ขาดหายไปในการพิจารณาของศาล
ส่วนการที่นายจตุภัทร์แสดงออกในสื่อสังคมออนไลน์โดยการโพสต์รูปภาพหรือส่งข้อความบนเฟซบุ๊คภายหลังการปล่อยชั่วคราว และศาลเห็นว่าเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เย้ยหยันอำนาจรัฐโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมืองนั้น คนส. เห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการแสดงออกซึ่งสิทธิเสรีภาพที่สามารถทำได้ตามกฎหมาย เนื่องจากมิได้มีกฎหมายกำหนดให้การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด และการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวต้องมีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติเท่านั้น ซึ่งการเย้ยหยันอำนาจรัฐหรือการไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมืองไม่อาจใช้เป็นเหตุในการสั่งไม่อนุญาตประกันตัว อีกทั้งศาลก็ไม่ได้กำหนดให้เป็นเงื่อนไขในการประกันตัวด้วย  
การไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวเป็นข้อยกเว้นในทางกฎหมาย ซึ่งในทางนิติวิธีนั้นการบังคับใช้กฎหมายในกรณีข้อยกเว้นจะต้องกระทำอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นบทบัญญัติซึ่งจำกัดสิทธิเสรีภาพด้วยแล้ว ศาลไม่อาจที่จะวินิจฉัยนอกเหนือจากที่บทบัญญัติกฎหมายกำหนดเอาไว้ได้
การที่ศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำสั่งเพิกถอนการปล่อยชั่วคราวและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งถอนประกันจึงสร้างความเคลือบแคลงสงสัยแก่สังคม และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในกลุ่มนักกฎหมายว่าการพิจารณาดังกล่าวอาจไม่มีฐานทางกฎหมายรองรับ
จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น คนส. และผู้มีรายชื่อแนบท้ายจำนวน 352 รายชื่อ จึงขอเรียกร้องต่อท่านดังต่อไปนี้
1. ในระยะยาว ถึงเวลาที่บุคลากรในองค์กรตุลาการจะต้องพิจารณาอย่างจริงจังถึงภาวะวิกฤติศรัทธาที่ประชาชนมีต่อพวกท่าน และพึงหาแนวทางแก้ไขหรือปฏิรูประบบยุติธรรมของไทย ทั้งนี้ องค์กรตุลาการพึงปฏิบัติหน้าที่ปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในฐานะคุณค่าที่ได้รับการรับรองโดยกติการะหว่างประเทศที่ผูกพันประเทศไทย ต้องตระหนักและแสดงบทบาทของตนในการตรวจสอบการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามหลักนิติรัฐและความยุติธรรม มิใช่ประพฤติตนเสมือนเป็นผู้พิทักษ์อำนาจรัฐอันไม่ชอบธรรมนั้นเสียเอง
2. ในระยะเฉพาะหน้า ขอให้ศาลทบทวนการพิจารณาเพิกถอนการปล่อยชั่วคราวนายจตุภัทร์เมื่อมีการยื่นคำร้องตามกระบวนการของกฎหมาย เพื่อคืนสิทธิอันพึงมีให้กับนายจตุภัทร์ และฟื้นฟูความปกติให้กระบวนการยุติธรรมและหลักการพื้นฐานของนิติรัฐ

ด้วยความห่วงใยต่อระบบนิติรัฐของไทย
เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง
30 มกราคม 2560


An Open letter from the Thai Academic Network for Civil Rights (TANC)

To:      President of the Supreme Court and judges across the nation
Re:      The Decline of the Rule of Law and the Violation of Mr. Jatupat
Bunpattararaksa’s Rights

Dear    President of the Supreme Court and judges across the nation
           
The Thai Academic Network for Civil Rights (TANC) and the undersigned wish to express our opinions and submit for your consideration our requests to you as upholders of justice and the rule of law as follows:
            In the past 10 years one of the crises with which our society has faced is the public’s loss of faith in the Thai judicial process. The phrase “double standards” is often used to refer to the enforcement and interpretation of laws applicable to individuals and groups of individuals in an unequal manner, the lack of respect to the rule of law and the people’s rights and freedoms, and the frequent exploitation of the judicial institution for political gains.
Such problems seemed progressively more serious after the NCPO staged the coup d’état, when laws were exploited to curb the freedom of civilians whose views differ from the power holders. Civilians have been tried in military courts with no objection by any personnel in the civilian judicial institution.
            With their hearts open to these problems, those working in the justice system must be, to varying degrees, aware of the people’s frustration. Today even ordinary people are not afraid to openly criticize on social media the performance of court personnel. It can be said that the gravity of the people’s loss of faith in the justice process is unprecedented.
The most recent case of Mr. Jatupat Boonpattararaksa (Pai Daodin), a student at the Faculty of Law, Khon Kaen University, has accentuated the problems with the Thai justice process. This case has raised concerns among different civil society groups and human rights organizations, domestic and international alike, which demanded that basic rights be given to Mr. Jatupat.
Mr. Jatupat was accused of violating Article 112 and the Computer Crime Act by sharing on his Facebook page a news article about King Rama X’s personal life written by the BBC Thai News. The Khon Kaen provincial court later ordered a revocation of his bail on December 22, 2016 citing that Mr. Jatupat did not delete the published material in question and that he has shown an image deemed by the court as an act of deriding state power. Since then his attorney has submitted appeals and, later, petitions, but the higher court has upheld the provincial court’s opinions. The attorney has also attempted to post bail five times, yet the court still refused to grant him temporary release.
            Recently on January 20 when the court held a hearing of the police’s petition for another 12-day detention, it turns out that the judge declared that the hearing be done in secret, barring third parties from attending the hearing and allowing only the presence of Mr. Jatupat, his parents, and attorney in the chamber. Although Mr. Jatupat himself and his attorney argued that the attorney merely sought to contest the police’s request, not already engaging in the trial process, and that more importantly it was the public’s right to attend the hearing, the court, however, insisted on the order citing that the matter of the case was concerned with security. This incident thus led Mr. Jatupat to announce that since he had never been granted any rights by the court, he therefore gave up his right to an attorney and would instead represent himself in court.
            Any student of law should be well aware that according to the rule of law, so long as the verdict is not reached, the suspect shall be presumed innocent. This is not to mention that there is no evidence or probable cause that Mr. Jatupat would be able to meddle with evidence used in the trial process or would try to flee at all.
            It is important to note that Mr. Jatupat has not displayed or conducted any act deemed a violation of the contents written in the court’s order of a temporary release. The court did not establish that a deletion of the written material in question was a condition for the release. Deleting such material may lead to an understanding that the court had already declared the alleged act was indeed a legal offense, even before the trial began. Moreover, Mr. Jatupat has clearly informed the court that his reason for not deleting the material was that he wished to use it as evidence to defend himself in court. Thus, that he did not delete the material not only was compliant with the condition imposed by the court, which stated that he shall not meddle with evidence, but also strongly indicated that he would not do so.
In addition to this, Mr. Jatupat was obliged to take an examination on January 17-18 for a course which he had registered, in order to graduate with a bachelor’s degree. The court, however, refused to grant him bail, which would have allowed him to take the examination. This has affected his graduation plans and future as a member of the youth—revealing an absence of basic humanitarian grounds in the court’s consideration.
The TANC considers the action a freedom of expression guaranteed by the law that Mr. Jatupat has expressed his views in social media by posting Facebook images or messages after the bail release, which the court deemed as a symbolic act of deriding state power with no regards to the law. No law exists that criminalizes such act. Coupled with this, the refusal to grant bail shall follow from a cause specified by the law. Deriding state power or expressing no fear of the law shall not be a base for the decision to deny bail. Additionally, the court did not specify these actions as bail conditions.
A refusal to grant bail is a legal exception. In the legal process, enforcing the law with a legal exception must be done with stringency, especially in cases involving laws restricting freedoms. The court cannot opine beyond what is written in the law.
            The Khon Kaen provincial court’s revocation of the bail and the Court of Appeal, Region 4’s denial of the petition to appeal the revocation order thus created suspicions in the society and were subjected to discussions among lawyers as to whether or not such decisions have any legal basis.

Given the reasons outlined above, the TANC and the undersigned submit for your consideration the following requests:
1.        In the long term, this is the time for the members of the judiciary to earnestly reflect on the public’s loss of confidence in your institution and seek solutions to the crisis or reform the Thai justice system. The judiciary shall perform the task of protecting the people’s freedoms, which are valued and endorsed by international agreements by which Thailand abides and shall recognize and display its role in overseeing the enforcement of the law in the spirit of the rule of law and justice, not acting as a guardian of illegitimate state power.
2.      Provisionally, we ask that the court consider a reversal of the order on Mr. Jatupat’s release once a petition is submitted in the legal process, in order to return him basic human rights and restore normalcy to the justice process and to the basic principles of the rule of law.


With concerns for Thailand’s rule of law
Thai Academic Network for Civil Rights
January 30, 2017


1.       เก่งกิจ กิติเรียงลาภ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2.       เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร
3.       เกษม เพ็ญภินันท์
4.       เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
5.       กนกรัตน์ สถิตินิรามัย รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
6.       กนกวรรณ ผ่องแผ้ว นักวิชาการอิสระ 
7.       กนกวรรณ มะโนรมย์ มหาวิทยาลัยราชธานี
8.       กฤช เหลือลมัย
9.       กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช
10.    กฤตยา อาชวนิชกุล มหาวิทยาลัยมหิดล
11.    กฤติธี ศรีเกตุ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ .มหาวิทยาลัยศิลปากร
12.     กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล
13.    กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
14.    กษมาพร แสงสุระธรรม
15.    กันต์ฌพัชญ์ อยู่อำไพ
16.    กานต์ ทัศนภักดิ์ 
17.    กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา
18.    กิ่งกาญจน์ สำนวนเย็น
19.    กิตติ วิสารกาญจน สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
20.    กิตติกาญจน์ หาญกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
21.    กิตติพล เอี่ยมกมล นักศึกษาปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
22.    กิตติพล สรัคคานนท์ บรรณาธิการ/นักเขียน
23.    กิติภูมิ จุฑาสมิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ
24.    กุลธีร์ บรรจุแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
25.    กุลลดา เกษบุญชู มี้ด
26.    ขวัญชนก กิตติวาณิชย์
27.    ขวัญชัย กุลสันติธำรงค์
28.    ขวัญชีวัน บัวแดง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
29.    เคท ครั้งพิบูลย์
30.    เดชรัต สุขกำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
31.    เดือนฉาย อรุณกิจ
32.    เครือมาศ บำรุงสุข
33.    เควินทร์ ลัดดาพงศ์ นักศึกษาปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
34.    คงกฤช ไตรยวงค์
35.    คณา คณะเกษม
36.    คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
37.    คมลักษณ์ ไชยยะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
38.    ครุศักดิ์ สุขช่วย
39.    คอลิด มิดำ
40.    คารินา โชติรวี
41.    คำแหง วิสุทธางกูร สาขาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
42.    ฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร
43.    งามศุกร์ รัตนเสถียร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
44.    ใจสิริ วรธรรมเนียม
45.    เจนจิรา บัวขาว
46.    เจนวิทย์ เชื้อสาวะถี
47.    จณิษฐ์ เฟื่องฟู มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
48.    จอน อึ๊งภากรณ์
49.    จักเรศ อิฐรัตน์
50.    จักรกริช สังขมณี
51.    จันจิรา สมบัติพูนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
52.     จารุนันท์ พันธชาติ
53.    จิตติมา พลิคามิน
54.    จิรธร สกุลวัฒนะ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
55.     จิรภัทร อังศุมาลี
56.    จิราพร เหล่าเจริญวงศ์
57.    จิราภรณ์ สมิธ
58.    จีรนุช เปรมชัยพร
59.    จีรพล เกตุจุมพล
60.    จุฑามาศ ตั้งสันติกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
61.    เชษฐา พวงหัตถ์
62.    เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
63.    เฉลิมพล โตสารเดช
64.    ฉลอง สุนทราวาณิชย์
65.    ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
66.    ไชยันต์ รัชชกูล คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
67.    แชมุน ลี นักศึกษาปริญญาเอกสาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
68.    ชญานิษฐ์ พูลยรัตน์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
69.    ชมพูนุท เฉลียวบุญ
70.    ชลธิชา แจ้งเร็ว
71.    ชลนภา อนุกูล เครือข่ายวิชาการเพื่อสังคมเป็นธรรม
72.    ชลัท ศานติวรางคณา มหาวิทยาลัยมหิดล
73.    ชลิตา บัณฑุวงศ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาเกษตรศาสตร์
74.    ชัชชล อัตนากิตติ นักศึกษาปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
75.    ชัชวาล ปุญปัน ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
76.    ชัยพงษ์ สำเนียง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
77.    ชัยพร สิงห์ดี
78.    ชัยภวิศร์ ธวัชชัยนันท์
79.    ชาญณรงค์ บุญหนุน ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
80.    ชาตรี ประกิตนนทการ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 
81.    ชานันท์ ยอดหงษ์
82.    ชำนาญ จันทร์เรือง
83.    ซัมซู สาอุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
84.    ซาฮารี เจ๊ะหลง จ. ปัตตานี
85.    ญาดา เกรียงไกรวุฒิกุล
86.    ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
87.    ณภัค เสรีรักษ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
88.    ณรรธราวุธ เมืองสุข
89.    ณรุจน์ วศินปิยมงคล รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
90.    ณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์
91.    ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
92.    ดวงมน จิตร์จำนงค์
93.    ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
94.    ดวงหทัย บูรณเจริญกิจ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
95.    ดาราณี ทองศิริ ห้องเรียนเพศวิถีและสิทธิมนุษยชน ร้านหนังสือบูคู
96.    ดารารัตน์ คำเป็ง
97.    ดำนาย ประทานัง
98.    ตะวัน วรรณรัตน์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
99.    ถนอม ชาภักดี
100.เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
101.ทนุวงศ์ จักษุพา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน
102.ทวีศักดิ์ เผือกสม
103.ทวีศักดิ์ ปิ นักศึกษาปริญญาโท สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
104.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
105.ทอแสง เชาว์ชุติ
106.ทัศนัย เศรษฐเสรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
107.ทายาท เดชเสถียร นักทำหนังอิสระ
108.ทิชา ณ นคร
109.ธเนศ อาภรณ์​สุวรรณ
110.ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล Graduate School of Asia-Pacific Studies, Waseda University
111.ธนศักดิ์ สายจำปา สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
112.ธนาพล ลิ่มอภิชาต
113.ธนาวิ โชติประดิษฐ
114.ธร ปีติดล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
115.ธรรมศาสตร์ โสตถิพันธุ์
116.ธาริตา อินทะนาม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
117.ธิกานต์ ศรีนารา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
118.ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
119.ธีระพล อันมัย
120.เนตรนภิส วรศิริ
121.นงเยาว์ เนาวรัตน์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
122.นที สรวารี
123.นภาพร อติวานิชยพงศ์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
124.นภิสา ไวฑูรเกียรติ มหาวิทยาลัยนเรศวร
125.นราสิทธิ์ เสนาจันทร์
126.นรุตม์ เจริญศรี คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
127.นฤมล กล้าทุกวัน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
128.นฤมล ทับจุมพล
129.นวพล ลีนิน
130.นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
131.นันฑกรณ์ อนุพันธ์
132.นาตยา อยู่คง ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
133.นิติ ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
134.นิธิ เอียวศรีวงศ์ 
135.นิรภัย สายธิไชย
136.นิอับดุลฆอร์ฟาร โตะมิง
137.นีลชา เฟื่องฟูเกียรติ
138.เบญจมาศ บุญฤทธิ์
139.เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
140.บดินทร์ สายแสง สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
141. บัณฑิต ไกรวิจิตร 
142.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
143.บารมี ชัยรัตน์
144.บาหยัน อิ่มสำราญ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
145.บุญเลิศ วิเศษปรีชา สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
146.บุญยืน สุขใหม่
147.บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
148.บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล
149.ปฐม ตาคะนานันท์
150.ปฐมพร แก้วหนู
151.ปฐวี โชติอนันต์
152.ประไพ นุ้ยสุวรรณ
153.ประกายดาว คันธะวงศ์
154.ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
155.ประภาพรรณ อุ่นอบ คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
156.ประภาส ปิ่นตบแต่ง สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
157.ปรัชญเกียรติ ว่าโร๊ะ
158.ปรัชญา โต๊ะอิแต
159.ปรัชญากรณ์ ลครพล นักศึกษาปริญญาโท สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
160.ปราโมทย์ ระวิน
161.ปราการ กลิ่นฟุ้ง
162.ปราชญ์ ปัญจคุณาธร, นักศึกษาปริญญาเอก University of Toronto
163.ปรารถนา เณรแย้ม
164.ปริวัตร สมบัติ
165.ปรีดา ทองชุมนุม นักกฎหมาย
166.ปฤณ เทพนรินทร์
167.ปวลักขิ์ สุรัสวดี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
168.ปาริชาติ วลัยเสถียร ข้าราชการบำนาญ
169.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
170.ปุรินทร์ นาคสิงห์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
171. แพร จิตติพลังศรี
172.ไพรินทร์ กะทิพรมราช คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
173.พกุล แองเกอร์
174.พงศธร ขยัน
175.พงษ์ศักดิ์ รัตนวงศ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
176.พชรวรรณ บุญพร้อมกุล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
177.พนมกร โยทะสอน
178.พนิดา อนันตนาคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
179.พรเพ็ญ เจริญสมจิตร์
180.พรชัย นาคสีทอง มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา
181.พรณี เจริญสมจิตร์
182. พรพรรณ วรรณา
183.พรรณราย โอสถาภิรัตน์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
184.พรสุข เกิดสว่าง
185.พฤหัส พหลกุลบุตร
186.พวงทอง ภวัครพันธุ์ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
187.พสิษฐ์ วงษ์งามดี
188.พัชราภรณ์ หนังสือ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
189.พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์
190.พิเชฐ แสงทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
191.พิกุล อิทธิหิรัญวงศ์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
192.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
193.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
194.พิพัฒน์ พสุธารชาติ
195.พิพัฒน์ สุยะ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
196.พิศาล แสงจันทร์ นักทำหนังอิสระ
197.พุทธ​พล มงคลวรวรรณ
198.พุทธณี กางกั้น
199. ฟารีดา จิราพันธุ์
200.ฟิตรา เจ๊ะโวะ
201.ภักดิ์กมล ศิริวัฒน์
202.ภัคจิรา กีรติวิบูลย์วงศ์
203.ภัควดี วีระภาสพงษ์
204.ภัทรพล ฉัตรชลาวิไล
205.ภัทรภร ภู่ทอง โครงการจดหมายเหตุคอมฟอร์ทวูเมน ศูนย์สิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล
206.ภัสสรา บุญญฤทธิ์
207.ภาสกร อินทุมาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
208. ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์
209.ภู กระดาษ นักเขียน
210.เมธาวี โหละสุต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
211.มนตรา พงษ์นิล
212.มูนีเราะฮ์ ยีดำ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
213. มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
214.เยาวนิจ กิตติธรกุล สถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
215.ยศ สันตสมบัติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
216.ยุกติ มุกดาวิจิตร สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
217. เริงวิชญ์ นิลโคตร คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
218.รจเรข วัฒนพาณิชย์ บุ๊ครีพับลิก
219.รจนา คำดีเกิด 
220.รชฎ สาตราวุธ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
221.รชฏ นุเสน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
222.รพีพรรณ เจริญวงศ์
223.รวิวรรณ รักถิ่นกำเนิด นักศึกษาปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
224.รัฏฐกานต์ ดีพุ่ม
225.รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ อาจารย์พิเศษ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
226.รัตนา โตสกุล ข้าราชการบำนาญ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
227. ราม ประสานศักดิ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
228.รามิล กาญจันดา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
229.รุ่งทิพย์ จันทร์ธนะกุล สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ ม.ศิลปากร
230.ลลิตา หาญวงษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
231.ลลิล ก่อวุฒิกุลรังษี
232.ลักขณา ปันวิชัย
233.ลิดาพรรณ จันทร์พิมานสุข
234.เวียง-วชิระ บัวสนธ์
235.วรพจน์ พันธุ์พงศ์ นักเขียน สื่อมวลชน
236.วรรณภา ลีระศิริ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
237. วราภรณ์ เรืองศรี
238.วริตตา ศรีรัตนา
239.วสันต์ ปัญญาแก้ว คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
240.วัชรพล พุทธรักษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
241. วัฒนชัย วินิจจะกูล
242.วัฒนา สุกัณศีล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
243. วิจักขณ์ พานิช
244.วิทยา อาภรณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
245.วินัย ผลเจริญ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
246.วิภาวี พงษ์ปิ่น คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
247.วิมลสิริ เหมทานนท์ มหาวิทยาลัยมหิดล
248.วิริยะ สว่างโชติ
249.วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา
251.วีรบูรณ์ วิสารทสกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
252.ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
253.ศรัญญา ชินวรรธนวงศ์
254.ศรันย์ สมันตรัฐ ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
255.ศักดิ์ชัย ลุนลาพร 
256.ศาสวัต บุญศรี เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
257.ศิริจิต สุนันต๊ะ, สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
258.ศิริพร เพ็งจันทร์
259.ศิวพล ชมภูพันธุ์
260.ศิววงศ์ สุขทวี
261.ศุภกาญจน์ พงศ์ยี่หล้า ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
262.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
263.เสฎฐวุฒิ ยุทธาวรกูล นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
264.เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์
265.สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
266.สถิตย์ ลีลาถาวรชัย นักศึกษาปริญญาเอก University of Florida
267.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
268.สมฤทธิ์ ลือชัย
269.สมัคร์ กอเซ็ม
270.สมิทธิรักษ์ จันทรักษ์ นักวิชาการอิสระ
271.สร้อยมาศ รุ่งมณี
272.สรัช สินธุประมา  นักศึกษาปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
273.สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระ
274.สามชาย ศรีสันต์
275.สายทิพย์ วรรณาการ
276.สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย
277.สิริกร ทองมาตร นักศึกษาปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
278.สุชาดา จักรพิสุทธิ์
279.สุชาดา ทวีสิทธิ์ มหาวิทยาลัยมหิดล
280.สุชาติ เศรษฐมาลินี มหาวิทยาลัยพายัพ
281.สุชาติ สวัสดิ์ศรี
282.สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
283.สุดคนึง บูรณรัชดา
284.สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
285.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
286.สุธิดา วิมุตติโกศล ศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์
287.สุปรียา หวังพัชรพล คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
288.สุภัทรา น. วรรณพิณ ข้าราชการบำนาญ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
289.สุมนมาลย์ สิงหะ  มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนานโยบาย
290.สุรชาติ บำรุงสุข
291.สุรพศ ทวีศักดิ์
292.สุรวัฒน์ ชลอสันติสกุล, นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
293.สุรัช คมพจน์ หลักสูตรรัฐศาสตร์ สาขาการเมืองการปกครอง สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
294.สุรินทร์ อ้นพรม คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
295.สุวัฒน์ ลิ้มสุวรรณ นักวิจัยอิสระ
296. สุวิมล รุ่งเจริญ
297.หทยา อนันต์สุชาติกุล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
298. เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
299. เอกราช ซาบูร์
300.เอกฤทัย ฉัตรชัยเดช
301.เอกสิทธิ์ หนุนภักดี
302.อโนชา สุวิชากรพงศ์
303.อดิศร เกิดมงคล
304.อนุชา วินทะไชย สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
305.อนุพงษ์ จันทะแจ่ม (ประชาชน)
306.อนุสรณ์ ติปยานนท์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
307.อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
308.อภิชาต สถิตนิรามัย เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
309.อภิชาติ จันทร์แดง สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
310.อภิญญา เวชยชัย ข้าราชการบำนาญ
311.อมต จันทรังษี ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
312.อรดี อินทร์คง
313.อรทัย อาจอ่ำ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
314.อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ)
315.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
316.อรรถพล อนันตวรสกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
317.อรศรี งามวิทยาพงศ์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
318.อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
319.อรอนงค์ หัตถโกศล
320.อรัญญา ศิริผล
321.อรุณี สัณฐิติวณิชย์
322.อสมา มังกรชัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
323.อังกูร หงษ์คณานุเคราะห์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
324.อัจฉริยา ชูวงศ์เลิศ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
325.อัญชนา สุวรรณานนท์
326.อันธิฌา แสงชัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
327.อับดุรเราะฮหมาน มูเก็ม PhD. Political science, Aligarh Muslim University, India
328.อัมพร หมาดเด็น สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
329.อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์
330.อาจินต์​ ทองอยู่คง คณะสังคมวิทยา​และมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
331.อาทิตย์ ชูสกุลธนะชัย
332.อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล
333.อานันท์ กาญจนพันธุ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
334.อิสราภรณ์ พิศสะอาด
335.อุเชนทร์ เชียงเสน  หลักสูตรรัฐศาสตร์ สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
336.อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล ม.สุโขทัยธรรมาธิราช
337.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์

รายชื่อนักวิชาการต่างประเทศ
1.        Carlo Bonura, Department of Politics and International Studies
SOAS, University of London
2.       Charles F. Keyes Professor Emeritus of Anthropology and International Studies. University of Washington
3.       Claudio Sopranzetti, Oxford University
4.       Kathleen Nicoletti. Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla University. ฝากมาค่ะ
5.       May Adadol Ingawanij, University of Westminster
6.       Michael J Montesano. ISEAS-Yusof Ishak Institue. Singapore
7.        Peter Vandergeest, Department of Geography, York University
8.        Rachel Harrison, SOAS, University of London
9.       Tyrell Haberkorn, Australian National University
10.    Lars Laamann, Department of History, SOAS Professor Nadje Al-Ali, Centre for Gender Studies, SOAS
11.    David Lunn, Department of South Asia, SOAS  Dr Monik Charette, Department of Linguistics, SOAS
12.     Mulaika Hijjas, Department of South East Asia, SOAS Dr Matthew Phillips, Aberystwyth University
13.    Monik Charette, Department of Linguistics, SOAS 
14.    Matthew Phillips, Aberystwyth University

องค์กรระหว่างประเทศ
1.       Focus on the Global South


T4A ประกาศล่ารายชื่อร่วมฟ้อง กทม.-BTS หลังสร้างลิฟต์ไม่เสร็จตามกำหนดเวลา
Posted: 30 Jan 2017 04:36 AM PST  (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)

ประธานภาคีเครือข่ายขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้เปิดแบบฟอร์มลงชื่อร่วมฟ้อง กทม.-บีทีเอส หลังสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดล้าช้ากว่าปี เพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย-สร้างมาตรฐานการเข้าถึงสำหรับทุกคน


30 ม.ค. 2560 ธีรยุทธ สุคนธวิท ประธานภาคีเครือข่ายขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้ (T4A)
เปิดเผยว่า มติคณะทำงานภาคีเครือข่ายฯ เห็นควรที่จะเปิดและขอให้ประชาชนร่วมลงชื่อร่วมฟ้อง กทม.และบีทีเอส จากกรณีการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกบนบีทีเอสล้าช้าเกินกำหนดเวลากว่าปี ทั้งนี้บุคคลที่ได้รับผลกระทบโดยตรง อย่าง คนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมาย ผู้สูงอายุ คนป่วย คนท้อง รวมไปถึงบุคคลทั่วไปที่ต้องการลงชื่อสนับสนุนเพื่อแสดงความเห็นด้วยสามารถลงชื่อเพื่อร่วมฟ้องได้ทั้งสิ้นที่เพจ “ขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้"

สนธิพงศ์ มงคลสวัสดิ์ ทนายความและวรกร ไหลหรั่ง ที่ปรึกษาด้านกฎหมายภาคีเครือข่ายฯ กล่าวว่า การลงชื่อในครั้งนี้เป็นการเตรียมข้อมูลบุคคลร่วมฟ้อง หลังศาลนัดทำการไต่สวนพยานหลักฐานอีกครั้งในวันที่ 30 มี.ค. 2560 สืบเนื่องจากการอ่านแถลงการณ์และเดินทางเข้ายื่นหนังสือฟ้อง กทม.เมื่อวันที่ 20 ม.ค. ที่ผ่านมา (อ่านที่นี่)
ย้อนไปเมื่อวันที่ 21 ม.ค.2558 ศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษาให้ กทม.และบีทีเอสสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกคนพิการตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2542) ซึ่งรวมถึงลิฟต์และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นในทั้ง 23 สถานีให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับตั้งแต่มีการพิพากษา จนปัจจุบันผ่านมากว่า 2 ปีแล้ว แต่การก่อสร้างก็ยังไม่มีความคืบหน้า
แม้จะมีการทดลองใช้ และขอยืดเวลาอยู่หลายครั้งจากทางฝั่ง กทม. รวมทั้งมีการเน้นย้ำจากผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนงาน สำนักการจราจรและขนส่งและรองผู้ว่าฯ กทม. ถึงระยะเวลาการสร้างและเปิดใช้งาน แต่ก็ยังไม่มีวี่แววว่า ลิฟต์ที่สร้างอยู่นั้น จะสามารถใช้งานได้เมื่อไหร่
ธีรยุทธกล่าวเพิ่มเติมว่า  หากสามารถหารายชื่อร่วมฟ้องเพิ่มเติมจากเดิมและศาลพิจารณาพิพากษาให้ชนะคดี สมาชิกกลุ่มคนพิการที่ร่วมฟ้องก็จะได้รับเงินค่าเสียหายโดยตรง เบื้องต้นคำนวณอย่างคร่าวตั้งแต่วันที่ 22 ม.ค. 2559 ถึงปัจจุบัน รวมเป็นเงินกว่า 361,000 บาท
“ขอฝากทุกท่านส่งข่าวให้มากที่สุด เพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสเข้าร่วมกันลงชื่อ ทั้งร่วมฟ้องและร่วมแสดงความเห็นด้วย ประเทศไทยมีคนพิการ 2ล้านคน อย่างน้อยเราควรจะได้ชื่อซัก 1แสนคน ยิ่งมากยิ่งดี สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ฏหมายที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนมานานแล้ว ประชาชนคนไทยต้องร่วมกันสร้างมาตรฐานของประเทศเราใหม่ เพื่อให้เข้าถึงได้สำหรับทุกคน​และที่สำคัญเราต้องร่วมกันเรียกร้องเพื่อให้สิทธิตามกฎหมายเกิดขึ้นจริง ณ วันนี้ครับ” ธีรยุทธกล่าว

 

ขับเคลื่อนโดย Blogger.