Atukkit Sawangsuk

วันก่อนที่โพสต์ข่าว "เลขาฯ กสทช.เซ็นตั้ง “ลูกสาว” เป็นพนักงาน หลังได้ทุนองค์กรไปเรียนจบ ม.แห่งชาติออสเตรเลีย" ซึ่งผมก็ให้ความเห็นว่า ดูพี่ดูน้องก็เรียนเก่ง น่าเชื่อว่าสอบชิงทุนได้เอง เพียงแต่สงสัยอยู่ว่า ทำไมดันมาสอบทุนของ กสทช.ที่พ่อเป็นใหญ่อยู่

มีคนให้ข้อมูลเรื่องนี้ และไปค้นข่าวย้อนหลังดูแล้ว พบว่ามีรายละเอียดที่ต้องกลับมาอธิบายเพื่อให้ความเป็นธรรมกับเด็ก

เรื่องนี้เป็นข่าวตั้งแต่ปี 2558 นายประเสริฐ อภิปัญญา อดีตรองเลขาซึ่งเป็นคู่แข่งกับฐากร ต่อมาไปเป็นซูเปอร์บอร์ด กสทช. แล้วโดน ม.44 ออกมาโวยหลายเรื่องรวมทั้งเรื่องลูกสาวฐากรได้ทุน (ซึ่งได้มาตั้งแต่ปี 53) สำนักข่าวอิศราก็พยายามจับผิดฐากรเรื่องนี้ แต่ทำอะไรไม่ได้

ปรากฏว่าการให้ทุนของ กสทช. รับต่อมาจากเด็กที่สอบทุนเล่าเรียนหลวง (King's Scholarship) ซึ่งให้ปีละ 9 คน แต่ประกาศชื่อเข้าสอบสัมภาษณ์ 18 คน (ปกติก็เอาคนที่ 1-9 นั่นแหละ) ที่เหลืออีก 9 คน จะมีหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ ธปท. กสทช. ปตท. วิทยุการบิน มารับไปให้ทุนต่อ

ซึ่งการสอบทุนคิงฯ ที่จัดโดย ก.พ.รับประกันได้ว่าโปร่งใสไม่มีเส้น ใครมันจะกล้ายัดไส้ ทุนที่ในหลวงพระราชทาน (ตอนหลังๆ สมเด็จพระเทพฯ พระราชทานแทน)

ลูกสาวฐากรสอบได้ที่ 10-18 พลาดทุนคิงฯ แต่มีสิทธิเข้าสอบสัมภาษณ์ทุนของหน่วยงานอื่น ซึ่งในนั้นก็มีทุนของ กสทช. 3 ทุน เธอเลือกทุนเรียนกฎหมายของ กสทช. ซึ่งตอนนั้นพ่อเป็นรองเลขาฯรักษาการแทนเลขา

ก็เลยเกิดการโวยกันขึ้นมา ว่าช่วยลูกหรือเปล่า แต่มันชัดเจนไงครับว่า ลูกจะมีสิทธิได้ต่อเมื่อไปสอบทุนคิงฯ ติดที่ 10-18 เสียก่อน แล้วผู้มีสิทธิก็มีเพียง 9 คน ซึ่งแล้วแต่ 9 คนนี้จะไปเลือกทุนหน่วยงานไหน ตามที่ตัวเองอยากเรียน ถ้าอยากเรียนเศรษฐศาสตร์ก็ไป ธปท. ถ้าอยากเรียนวิศวโทรคมนาคม หรือกฎหมาย ก็มาที่ กสทช. ซึ่งปีนั้น กฎหมายมี กสทช.เปิดให้แห่งเดียว แล้วก็ไม่มีคนอื่นสมัครแข่ง (เท่าที่ทราบ เด็ก 9 คนหลังที่พลาดทุนคิง บางคนบางปี ไม่เอาทุนอะไรเลยก็มี เพราะพวกนี้เก่ง บางคนก็สอบได้แพทย์ จุฬาฯ ไม่เอาทุนดีกว่าต้องกลับมาใช้ทุน)

อิศรายังเอาไปตั้งแง่ ว่า กสทช.ไม่ยักกำหนดข้อห้ามเหมือน ธปท.ว่าห้ามให้บุตรพนักงาน แต่ที่ ธปท.กำหนดอย่างนั้นเพราะเขามีทุนป๋วย อึ๊งภากรณ์ ให้ทุนเรียนนอกเฉพาะบุตรพนักงานแยกไปต่างหาก

(อ้อ ลูกฐากรคนโต ก็ได้ทุน ธปท.ดูเหมือนจะแบบเดียวกันคือสอบทุนคิงฯ แต่ได้ที่ 10-18 รับทุน ธปท.ไปเรียนเศรษฐศาสตร์แล้วกลับมาทำงาน ธปท. ลูกคนเล็กก็ได้ทุน กพ.ไม่แน่ใจว่าของหน่วยงานไหน ไปเรียนทางรัฐศาสตร์)

เลขาฯ กสทช.เซ็นตั้ง “ลูกสาว” เป็นพนักงาน หลังได้ทุนองค์กรไปเรียนจบ ม.แห่งชาติออสเตรเลีย
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx…

อลหม่าน "กตป.ประเสริฐ" หอบหลักฐานแฉเลขาธิการ กสทช. หลังโดน ม.44
https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1432114274

เปิด มติ ประกาศ หลักเกณฑ์สมัครทุน กทช. ฉบับ 'ฐากร' กรณี 'ลูกสาว' เรียนนอก
https://www.isranews.org/isranews-s…/…/38818-nbtc_38818.html


Atukkit Sawangsuk

วันก่อนที่โพสต์เรื่องสรยุทธ์ ไร่ส้ม มีประเด็นต้องแก้ไข และต้องขออภัยจริงๆ ไม่งั้นจะกลายเป็นซ้ำเติมคนติดคุก คือผมฟังไม่ได้ศัพท์จับมากระเดียดว่า ไร่ส้มให้ % ค่าโฆษณาพนักงาน อสมท. แบบถ้ามีใครทะเร่อทะร่าโทรศัพท์มาขอลงโฆษณา ให้ส่งมาให้ไร่ส้ม แล้วจะได้ %

คนที่รู้เรื่องนี้ทักท้วงว่า เขาไม่ได้ทำอย่างนั้น น่าเกลียด ผิดหลักการร่วมงานกันอย่างแรง ไปแอบชิงโฆษณาคู่สัญญาได้อย่างไร แล้วพนักงาน อสมท.คนนั้นก็ไม่ใช่มีหน้าที่รับโฆษณา แต่มีหน้าที่จัดคิวโฆษณา คือแต่ละวัน ทางไร่ส้มก็จะแจ้งเข้าไปว่ามีโฆษณาอะไรบ้าง กี่วินาที รวมกับโฆษณาของ อสมท. กี่วินาที ซึ่งบางครั้งอาจมีปัญหามีความไม่พร้อมบางอย่าง เธอก็ช่วยประสานงานแก้ไขให้ ทางไร่ส้มโดยฝ่ายการตลาด จึงให้ค่าตอบแทน 2% บ้าง 3% บ้าง จ่ายอย่างเปิดเผยผ่านระบบบริษัท เป็นเช็คหักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ใช่ค่าโฆษณาซึ่งจะได้ % สูงกว่านั้น แต่เคยมีครั้งหนึ่ง ที่เธอหาโฆษณามาได้เองแล้วเอามาลง ไร่ส้มก็จ่ายไป ปรากฏว่าเช็คใบนี้ ปปช.กลับไม่ติดใจ แต่ไปติดใจอีก 6 ใบ ว่าเป็น "สินบนหักภาษี ณ ที่จ่าย" ช่วยปกปิดค่าโฆษณาเกินเวลา

ซึ่งว่าที่จริง เธอเป็นพนักงานระดับล่างมาก แค่พนักงานธุรการคนเดียวจะช่วยปกปิดได้อย่างไร เวลาโฆษณาเกินไม่เกิน ก็เห็นในจอคาตา ผู้บริหาร อสมท.เต็มไปหมด ไม่เห็นหรือว่าเกิน

แต่เธอสารภาพไง ไม่ทราบเหมือนกันว่าเพราะอะไร ถูกซักใน อสมท.แล้วรับว่าไร่ส้มให้ปกปิด ซัดทอดฝ่ายการตลาดไร่ส้มแล้วต่อมาก็ซัดทอดสรยุทธ์

เรื่องค่าโฆษณาเกินเวลา ผมก็ฟังมาเพี้ยนเช่นกัน อธิบายใหม่ว่า ตามข้อตกลงระหว่างไร่ส้มกับ อสมท.มันเป็นสัญญาไทม์แชริง แปลว่าได้ค่าโฆษณาเท่าไหร่แบ่งครึ้งกัน โดยใช้วิธีแบ่งเวลาไปหาโฆษณาคนละครึ่ง เช่น รายการครึ่ง ชม.โฆษณาได้ 5 นาที ก็แบ่งกันคนละ 2 นาทีครึ่ง รายการเสาร๋อาทิตย์ 1 ชม. โฆษณาได้ 10 นาทีก็แบ่งกันคนละ 5 นาที

ปรากฏว่าทำไปทำมา อสมท.นั่นแหละ โฆษณาเกินเวลาก่อน ไร่ส้มก็ถามไป อ้าวทำงี้ได้เรอะ เขาห้ามเกิน ชม.ละ 10 นาทีไม่ใช่เรอะ ฝ่ายบริหาร อสมท.ก็บอกว่าได้สิ คิดแบบเอามาเฉลี่ยทั้งวันไง ตอนดึกไม่ค่อยมีโฆษณาอยู่แล้ว ช่วงไพรม์ไทม์ก็ต้องเกินได้ ไร่ส้มก็เลยโฆษณาเกินบ้าง ก็เกิน 5 นาทีกันมาทั้งสองฝ่าย จนจู่ๆ เกิดความเปลี่ยนแปลงใน อสมท. ฝ่ายบริหารใหม่มาตั้งแง่ ว่าไร่ส้มโฆษณาเกิน 5 นาทีได้อย่างไร ส่วนที่เกินต้องเอามาให้ อสมท.

ทางไร่ส้มแย้งว่าก็เกินกันมาทั้งสองฝ่าย ถ้าถือหลักไทม์แชริง คือได้เท่าไหร่แบ่งกันคนละครึ่ง ไร่ส้มก็ไม่ผิด แต่พอไปดูสัญญา เป็นไงรู้ไหมครับ คือตอนเจรจากัน บอกว่าไทม์แชริง แต่ตอนทำสัญญา ทำแบบรัฐวิสาหกิจ เขียนล็อกมาว่าไร่ส้มหาโฆษณาได้ 5 นาที ในทางแพ่ง ไร่ส้มซึ่งไม่ได้ดูรายละเอียดข้อสัญญาให้ดี ก็เลยแพ้ ต้องจ่าย 138 ล้าน ซึ่งไร่ส้มเห็นว่าไม่แฟร์ อสมท.โฆษณาเกินเท่าไหร่ก็ได้ แต่ไร่ส้มเกินไม่ได้ เลยบอกเลิกสัญญา ประเด็นนี้ที่ศาลปกครองเห็นว่า เวลาที่เกินไปเท่าไหร่ก็เป็นของ อสมท. เพราะเป็นเจ้าของเวลาอยู่แล้ว พูดตามสัญญาก็ใช่ แต่ถ้าว่าตามหลักธุรกิจ เวลาของช่อง 9 ไม่มีค่าอะไรเลย ถ้าไม่ใช่สรยุทธ์ไปทำรายการ เขาจึงใช้หลักไทม์แชริง ได้เท่าไหร่ก็แบ่งกัน ถ้าไม่ใช้หลักแบ่งครึ่ง ก็คงไม่มีใครอยากร่วมงานกับ อสมท. ส่วน 138 ล้านที่ไร่ส้มจ่ายไป แล้วไม่ยอมให้หักส่วนลด ในทางธุรกิจทุกคนก็รู้ว่าขายโฆษณามีส่วนลดทั้งนั้น ขายลดกัน 30-40% เป็นปกติ (ทีวีดิจิตอลสมัยนี้ ลดแหลกแจกแถมยิ่งกว่าอีก) ฉะนั้น อสมท.ได้เกินไปเยอะด้วยซ้ำ


Sirote Klampaiboon (ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์)

ทวิตเตอร์คุณทักษิณไม่ควรเป็นประเด็น แต่พอมีชื่อนี้ อะไรก็เป็นประเด็นได้หมด อดีตนายกพูดเรื่องความยุติธรรมไม่มีในระบบที่รวบอำนาจ จริงๆ ถ้าตัดเรื่องใครพูดออกไป เรื่องนี้ก็ถูกอยู่แล้ว เพราะหากคนคนเดียวคุมกฎหมาย/ คุมรัฐบาล /คุมศาล หน่วยงานทั้งหมดก็ถูกใช้ตามใจ ประชาชนต้องอยู่อย่างหวาดกลัวการข่มเหง และในที่สุดก็ไม่มีอิสระและเสรีภาพต่อไป

คุณทักษิณอ้างมองเตสกิเยอก็เข้าท่าดี เพราะนี่คือนักปรัชญาการเมืองที่เชื่อเรื่องเหตุผล เชื่อเรื่องความเสมอภาค ต่อต้านระบบฐานันดร สนับสนุนการเลิกทาส วางหลักแบ่งแยกอำนาจ และมีอิทธิพลต่อการสร้างรัฐธรรมนูญอเมริกาครับ หมอวรงค์จึงอวดรู้ไปหน่อยที่บอกว่ามองเตสกิเยอแนวคิดโบราณ แต่จะว่าแกก็ไม่ได้ เพราะแกไม่ได้เรียนปรัชญาหรือทฤษฏีการเมือง ความเห็นก็คงเน้นต่อปากต่อคำกับคุณทักษิณอย่างเดียว

เรื่องมองเตสกิเยอเรื่องนึงที่คนไม่ค่อยรู้คือเขาพูดเรื่องระบอบการเมืองกับพลเมืองครับ เขาบอกว่าระบอบโบราณเน้นเชิดชูผู้ปกครองเป็นวีรบุรุษ ระบอบเผด็จการเน้นคุมประชาชนด้วยความกลัว แต่ระบบสมัยใหม่เน้นเชื่อว่าประชาชนมีกลักการหรือ "คุณค่า" ครับ การปกครองจึงควรเป็นเรื่องของการใช้เหตุผล การปรึกษาหารือ ไม่ใช่เอาทั้งประเทศไปสนองอารมณ์ผู้ปกครอง

ทัังหมดนี้คุยเรื่องนักปรัชญาที่คุณทักษิณอ้าง ไม่ใช่เรื่องคุณทักษิณหรือประเทศไทย


Sirote Klampaiboon (ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์)

สวัสดีครับ วันนี้คุยกันเรื่องปริศนาธรรมของคุณทักษิณครับ ทำไมอยู่ดีๆ อดีตนายกคนนี้พูดเรื่องความยุติธรรม แถมยังอ้างนักปรัชญาฝรั่งเศสด้วย คุณทักษิณต้องการสื่ออะไรและถึงใคร ถัดไปคุยเรื่อง BTS ขึ้นราคา ทำแบบนี้เหมาะมั้ยในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ ขึ้นเพื่ออะไร คนไทยได้ประโยชน์อะไรบ้าง ปิดท้ายด้วยเรื่องสงครามพม่า-โรฮิงญา ตอนนี้พม่าไล่ล่าอีกฝ่ายจนโรฮิงญาตั้งกองกำลังตอบโต้แล้ว คนตายเยอะ คนอพยพเยอะ แต่ไทยและอาเซียนไม่พูดอะไร ขณะที่พระสันตะปาปาและผู้นำโลกขยับเรื่องนี้แล้วครับ




Screenshot of the suspected ransomware message on a NHS's computer

รายงานหลายชิ้นชี้ว่า การโจมตีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัทและหน่วยงานรัฐบาลทั่วโลก มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมากในปีนี้

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าสาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะประชากรโลกพึ่งพาคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตมากขึ้น

สำนักงานสืบสวนกลางของสหรัฐฯ หรือ FBI ชี้ว่า ผู้ที่ลอบเจาะล้วงข้อมูลทางคอมพิวเตอร์นั้น มีตั้งแต่อาชญากรที่ต้องการข้อมูลทางการเงิน ไปจนถึงแฮกเกอร์ที่มีแรงจูงใจทางการเมืองเป็นหลัก ซึ่งผู้ทำผิดกฎหมายเหล่านี้ต่างมีเครื่องมือในการลอบเจาะล้วงข้อมูลต่างๆ เพิ่มขึ้นเช่นกัน

FBI แนะนำว่า องค์กรหรือบริษัทต่างๆ ควรตรวจสอบและปรับปรุงระบบป้องกันการลอบเจาะล้วงข้อมูลของตน เพื่อให้สามารถปกป้องความเสียหายในวงกว้าง

เพราะในที่สุดแล้ว ทุกองค์กรล้วนมีความเสี่ยงที่จะถูกลอบโจมตีทางไซเบอร์ส ขึ้นอยู่ว่าจะเกิดขึ้นเมือไรเท่านั้น

source; - http://rferl.c.goolara.net/Click.aspx?id=166095053201315277


FILE - A model sits on a motor bike at a China-based Zongshen's booth during the Vietnam Auto Expo.

ทุกครั้งที่ Ha Tran ชาวนครโฮจิมินห์ซิตี้ ออกไปซื้ออาหาร เสื้อผ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้า เธอจะมองออกว่าสินค้าชิ้นใดมาจากจีน ประเทศยักษ์ใหญ่เพื่อนบ้าน เธอจะหลีกเลี่ยงไม่ซื้อสินค้าชิ้นนั้น โดยบอกว่าเป็นสินค้าไม่มีคุณภาพและจีนไม่เป็นเพื่อนกับเวียดนาม

Ha อายุ 24 ทำงานในบริษัทออกแบบในนครโฮจิมินห์ซิตี้ เมืองหลักทางเศรษฐกิจของเวียดนาม ชาวเวียดนามนิยมซื้อสินค้าที่มาจากญี่ปุ่นหรือจากชาติตะวันตก

เธอกล่าวว่าจีนส่งออกสินค้าคุณภาพต่ำหลายประเภทมายังเวียดนาม แต่คนเวียดนามรู้ดีว่าจีนไม่ส่งออกสินค้าคุณภาพต่ำเหล่านี้ไปขายในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งถือว่าเเย่มาก ดังนั้นคนเวียดนามจึงพยายามหลีกเลี่ยงสินค้าจากจีนเหล่านี้

Ha บอกว่าเคยซื้อสินค้านำเข้าจากจีนไปใช้ เเต่พบว่าสินค้าใช้ได้ไม่นานเพราะเสียง่าย เเละเธอยังกล่าวอีกด้วยว่าความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างจีนกับเวียดนาม เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชาวเวียดนามไม่นิยมซื้อสินค้านำเข้าจากจีน

ทัศนคติของชาวนครโฮจิมินห์ซิตี้คนนี้ไม่ได้เเตกต่างจากชาวเวียดนามคนอื่นๆ ผู้บริโภคทั่วเวียดนามโดยทั่วไปหลีกเลี่ยงบริโภคสินค้าที่ผลิตในจีน เพื่อประท้วงสินค้าคุณภาพต่ำจากประเทศที่มีความขัดเเย้งกับเวียดนามมาตลอด ตั้งเเต่ความขัดเเย้งทางดินแดนในทะเลจีนใต้

ความขัดเเย้งนี้ทำให้สองชาติสู้รบกับทางเรือในปี ค.ศ. 1974 กับปี ค.ศ. 1988 นอกจากนี้ สองชาติยังสู้รบกันทางชายเเดนอีกด้วยในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1970s

เวียดนามมองว่าจีนถือไพ่เหนือกว่าอย่างขาดความยุติธรรมในความขัดเเย้งทางดินแดนในทะเล โดยจีนมีกองทัพที่มีเเสนยานุภาพสูงกว่าในการควบคุมหมู่เกาะพาราเซลที่อยู่ในความขัดเเย้ง

บริษัท Boston Consulting Group ชี้ว่าผู้บริโภคในเวียดนามมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น และพยากรณ์ว่าจะมีกว่า 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมดเกือบ 93 ล้านคนจะกลายเป็นคนชนชั้นกลางหรือสูง ภายในปี ค.ศ. 2020

และการเติบโตอย่างรวดเร็วทางด้านการผลิตสินค้าเพื่อส่งออก จะยิ่งช่วยกระตุ้นให้เวียดนามมีรายได้เพิ่มขึ้นสูงที่สุดตั้งเเต่ปี ค.ศ. 2012 ด้วยการสร้างงานเพิ่มขึ้น

Oscar Mussons เจ้าหน้าที่อาวุโสเเห่งบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจ Dezan Shira & Associates ในนครโฮจิมินห์ซิตี้ กล่าวว่า หากผู้บริโภคชาวเวียดนามรู้ว่ามีสินค้าชนิดหนึ่งที่ผลิตในจีนและในประเทศอื่น เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น หรือที่อื่นๆ เเต่ขายในราคาเดียวกัน พวกเขาจะไม่ซื้อสินค้าจีน และชาวเวียดนามมองจีนว่าเป็นศัครู

Mussons กล่าวว่า สาเหตุยังเกิดจากการพิพาทกับจีนต่อกรรมสิทธิ์หมู่เกาะพาราเซล เขากล่าวว่าสำหรับคนเวียดนามเเล้ว พวกเขายอมรับข้ออ้างของจีนไม่ได้ แม้ว่ารัฐบาลเวียดนามอาจจะไม่พยายามป่าวประกาศเรื่องนี้ก็ตาม

เจ้าหน้าที่เวียดนามได้พยายามกลบเกลื่อนความขัดเเย้งทางการเมืองกับจีนตั้งเเต่เกิดเหตุจลาจลต่อต้านชาวจีนในเวียดนามในปี ค.ศ. 2014 ที่ทำให้คนจีนเสียชีวิตมากกว่า 20 คน และเสี่ยงที่จะทำให้นักลงทุนต่างชาติหวาดกลัวไม่กล้าลงทุนในเวียดนาม

แต่เวียดนามยังถือว่าจีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของตน สื่อมวลชนเวียดนามรายงานว่าตัวเลขการส่งออกเเละนำเข้าระหว่างสองชาติอยู่ที่ 25,500 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ในช่วงไตรมาสเเรกของปีนี้ ขณะที่บรรดาผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในเวียดนามยังต้องพึ่งจีนด้านวัตถุดิบอีกด้วย

Jason Moy แห่งบริษัท Boston Consulting Group ในสิงคโปร์ กล่าวว่า คนเวียดนามโดยทั่วไปมองว่าสินค้าจีนต่ำคุณภาพ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะข้อเท็จจริง และส่วนหนึ่งเกิดจากข้อมูลที่ได้รับผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เขากล่าวว่าผู้บริโภคที่รายได้น้อยเเละด้อยการศึกษามักจะหลงเชื่อข้อมูลเหล่านี้ ซึ่งมีผลให้พวกเขาซื้อสินค้าจีนก็ต่อเมื่อเป็นข้อเลือกสุดท้าย หรือหากไม่มีทางเลือก

Moy กล่าวว่า ผู้บริโภคในเวียดนามที่มีรายได้มากกว่า นิยมซื้อสินค้าจากญี่ปุ่นเพราะมีคุณภาพสูง โดยเฉพาะสินค้ายอดนิยม อาทิ รถสกู๊ตเตอร์เครื่องยนต์ และสินค้าอิเลคทรอนิคส์

Le Hong Hiep นักวิจัยทุนเเห่งศูนย์เอเชียอาคเนย์ศึกษา สถาบันยูซุฟ อีชัค (ISEAS Yusof Ishak Institute) ในสิงคโปร์ กล่าวว่า การค้าขายรองเท้า ของเล่นและสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวันตามเเนวชายเเดน เป็นสาเหตุหลักให้มีสินค้าคุณภาพต่ำราคาถูกทะลักเข้ามาจากจีนสู่เวียดนาม เพราะผู้บริโภครายได้น้อยซื้อสินค้าเหล่านี้เพราะราคาถูก ซึ่งสินค้าจีนที่บรรทุกข้ามมาทางชายเเดน ในบางครั้งทำให้เจ้าของธุรกิจค้าปลีกชาวเวียดนามสูญเสียธุรกิจ

Le นักวิจัยทุนเเห่งศูนย์ศึกษาเอเชียอาคเนย์ สถาบันยูซุฟ อีชัค ในสิงคโปร์กล่าวว่า ผู้บริโภครู้ดีถึงมาตรฐานที่ต่ำและคุณภาพที่เเย่ของสินค้าที่ผลิตในจีนซึ่งน่าจะเป็นเพราะว่าสินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าอุปโภคบริโภค มีขนาดเล็กและนำเข้าจากจีนผ่านชายเเดน โดยไม่ผ่านช่องทางที่ถูกต้องของทางการ ซึ่งมีกฏระเบียบและการตรวจสอบที่เข้มงวดมากกว่าเพื่อรับประกันคุณภาพสินค้า

(เรียบเรียงโดย ทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

source ;- http://rferl.c.goolara.net/Click.aspx?id=166095053201315278


FILE - Republican presidential candidate Donald Trump is joined by Maricopa County, Ariz., Sheriff Joe Arpaio at a campaign event in Marshalltown, Iowa, Jan. 26, 2016.

นายโจ อาร์เพโอ หรือ นายอำเภอโจ เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนนโยบายปราบปรามคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย เขาถูกศาลตัดสินว่ามีความผิดฐานหมิ่นอำนาจศาล หลังจากไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งศาลรัฐแอริโซน่าเมื่อปี ค.ศ. 2011 ที่ให้ยุติการลาดตระเวนตรวจตราที่มีเป้าหมายตามล่าหรือระบุตัวคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย

เมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว ปธน. ทรัมป์ มีคำสั่งอภัยโทษให้กับนายอาร์เพโอ ที่บรรดาผู้สนับสนุน ปธน.ทรัมป์ ต่างเรียกว่า “นายอำเภอที่แข็งแกร่งที่สุดในอเมริกา”

ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ พอล ไรอัน จากพรรครีพับลิกัน กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของ ปธน. โดนัลด์ ทรัมป์ ที่ให้อภัยโทษแก่นายโจ อาร์เพโอ อดีตเจ้าหน้าที่เชอรีฟ ของเขตปกครองมาริโคปา รัฐแอริโซน่า หลังจากที่นายอำเภอผู้นี้ถูกตัดสินเมื่อต้นเดือนว่ามีความผิดในข้อหาหมิ่นอำนาจศาล ซึ่งเกี่ยวโยงกับนโยบายเลือกปฏิบัติด้านเชื้อชาติหรือสีผิว

โดยก่อนหน้านี้ ส.ว. จอห์น แมคเคน และ ส.ว. เจฟฟ์ เฟลค สังกัดพรรครีพับลิกัน ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์การตัดสินใจของ ปธน. ทรัมป์ ในเรื่องนี้เช่นกัน

แต่ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงในประเทศของทำเนียบขาว นายโธมัส บอสเสิร์ท กล่าวว่า การอภัยโทษครั้งนี้เป็นไปอย่างง่ายๆ ไม่อ้อมค้อม และประธานาธิบดีแทบทุกคนในยุคหลังๆ ก็เคยใช้อำนาจอภัยโทษที่ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์มาแล้วทั้งนั้น

In this Dec. 18, 2013, file photo, Maricopa County Sheriff Joe Arpaio speaks at a news conference at Maricopa County Sheriff's Office Headquarters in Phoenix.

ประวัติสุดโชกโชนด้านการเหยียดผิวและละเมิดสิทธิมนุษยชน

นายโจ อาร์เพโอ ซึ่งปัจจุบันอายุ 85 ปี เคยทำหน้าที่เจ้าหน้าที่เชอรีฟรัฐแอริโซน่ามานานกว่า 50 ปี เขาชนะเลือกตั้งเป็นนายอำเภอของเขตปกครองมาริโคปา เมื่อปี ค.ศ. 1992 ซึ่งมีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี และได้รับเลือกเข้ามาอีกหลายครั้งจนถึงปี ค.ศ. 2016 หรือปีที่แล้ว ซึ่งเขาแพ้เลือกตั้งให้แก่นายพอล เพนโซน

รายงานข่าวระบุว่าที่ผ่านมา นายอาร์เพโอ หรือที่คนแถวนั้นเรียกว่า “เชอรีฟโจ หรือนายอำเภอโจ” มักจะใช้วิธีลงโทษผู้กระทำผิดแบบที่คนอื่นไม่ใช้กัน เช่น นำตัวนักโทษไปไว้ที่ค่ายพักแรมกลางทะเลทรายที่บรรจุคนได้ราว 1,000 คน ท่ามกลางอุณหภูมิที่ร้อนระอุกว่า 100 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 37 องศาเซลเซียส

ต่อมา องค์การนิรโทษกรรมสากลได้ออกมาเรียกร้องให้มีการตรวจสอบเรื่องนี้ โดยบอกว่าเป็นการทารุณกรรมนักโทษเหล่านั้น ก่อนที่จะมีการสั่งปิดค่ายกลางทะเลทรายดังกล่าวอย่างเป็นทางการเมื่อต้นปีนี้

FILE - In this Feb. 4, 2009, file photo, Maricopa County Sheriff Joe Arpaio, left, orders approximately 200 convicted illegal immigrants handcuffed together and moved into a separate area of Tent City, for incarceration until their sentences are served an

นายอาร์เพโอยังมีชื่อเสียงขึ้นมาจากการให้นักโทษสวมใส่กางเกงในสีชมพูเพื่อลดปัญหาการขโมยชุดในหมู่นักโทษ และยังได้ผลิตกางเกงในแบบบ็อกเซอร์สีชมพูออกขายเพื่อระดมทุนด้วย

เขาเคยถูกฟ้องร้องในข้อหาทารุณกรรมผู้ที่ถูกควบคุมตัวไว้ก่อนการตัดสินคดี ด้วยการให้ทานอาหารเน่าบูด ไม่ให้การดูแลทางการแพทย์ และให้อยู่อย่างแออัดภายในห้องขังที่ร้อนจัด ซึ่งเชอรีฟโจแก้ต่างว่าห้องขังควรจะเป็นสถานที่สำหรับลงโทษผู้กระทำผิด ไม่ใช่ที่ที่สะดวกสบาย

ในปี ค.ศ. 2011 กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เปิดเผยผลการสอบสวนเรื่องนโยบายเลือกปฏิบัติด้านเชื้อชาติ หรือเหยียดผิว ที่สำนักงานเชอรีฟของเขตปกครองมาริโคปา รัฐแอริโซน่า โดยระบุว่าภายใต้นายอำเภออาร์เพโอ ระดับการเลือกปฏิบัติและอคติต่อชาวละตินอเมริกันนั้น อยู่ในระดับสูงสุดอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และต่อมาศาลยังตัดสินว่าว่าการกระทำของนายอำเภอโจนั้นขัดกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ซึ่งอาจทำให้เขาต้องโทษจำคุก 6 เดือน โดยการตัดสินคดีจะมีขึ้นในเดือนตุลาคมนี้

Inmates sit next to their bunks in the courtyard of Maricopa County Sheriff Joe Arpaio's jail in Phoenix, Arizona, Jan. 31, 2008.

เสียงวิจารณ์ขององค์กรสิทธิมนุษยชน

หลังจากที่ ปธน.ทรัมป์ อภัยโทษให้กับนายอาร์เพโอ องค์กรสิทธิมนุษยชนหลายแห่งได้ออกมาแสดงความผิดหวัง

คุณเซซิลเลีย หวัง จาก American Civil Liberties Union กล่าวว่า ปธน.ทรัมป์ กำลังช่วยเหลือผู้กระทำผิดกฎหมายและผู้ที่สนับสนุนการเหยียดผิว การกระทำของประธานาธิบดีสหรัฐฯ จึงเข้าข่ายเป็นการสนับสนุนการเหยียดผิวเช่นกัน

ขณะที่เครือข่ายด้านกฎหมาย American Bar Association กล่าวว่า ปธน.ทรัมป์ กำลังทำลายความเชื่อใจของประชาชนที่มีต่อระบบกฎหมายของอเมริกา



source;- http://rferl.c.goolara.net/Click.aspx?id=166095053201315279


คลังสหรัฐฯ มั่นใจไม่ผิดนัดชำระหนี้ / Fed ชี้ระบบการเงินสหรัฐฯ มีเสถียรภาพกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์

Fed ชี้ระบบการเงินสหรัฐฯ มีเสถียรภาพกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์

ประธานคณะผู้ว่าการระบบธนาคารกลางสหรัฐฯ แจเน็ท เยลเล่น กล่าวเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้วว่า ปัจจุบันระบบการเงินของสหรัฐฯ มีเสถียรภาพมากกว่าช่วงก่อนเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย พร้อมขอให้รัฐบาลและรัฐสภาอเมริกันใช้วิธีปรับปรุงกฎเกณฑ์ด้านการเงินต่างๆ ที่เริ่มใช้มาในสมัยประธานาธิบดีโอบาม่า แทนการยกเลิกกฎเกณฑ์เหล่านั้น

ประธานคณะผู้ว่าการระบบธนาคารกลางสหรัฐฯ กล่าวว่า แม้การควบคุมทางการเงินมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อการกู้ยืมที่เป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ก็มีรายงานหลายชิ้นที่ชี้ว่ากฎเกณฑ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ช่วยป้องกันความเสี่ยงทางการเงินได้ไม่น้อยเช่นกัน

ตัวอย่างเช่น กฎเกณฑ์ที่กำหนดให้สถาบันการเงินใหญ่ๆ ต้องกันเงินสดสำรองมากขึ้นนั้น ถือว่าเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมหากสถาบันการเงินเหล่านั้นมีปัญหาเหมือนที่เคยเปิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2008 ซึ่งรัฐบาลต้องใช้มาตรการเข้าช่วยเหลือสถาบันการเงินขนาดใหญ่เหล่านั้น

คลังสหรัฐฯ มั่นใจไม่ผิดนัดชำระหนี้

รมต.การคลังสหรัฐฯ สตีเว่น มนูชิน แสดงความมั่นใจว่ารัฐสภาสหรัฐฯ จะเพิ่มระดับเพดานการกู้ยืมเงินของรัฐบาลสหรัฐฯ ในเดือนกันยายนนี้ ก่อนที่รัฐบาลสหรัฐฯ จะผิดนัดชำระหนี้

รมต. มนูชิน กล่าวกับผู้สื่อข่าวเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้วว่า ตนได้พูดคุยกับผู้นำในทั้งสองสภาแล้ว และบอกว่าทุกคนต่างมีความเห็นไปในแนวทางเดียวกัน คือการเพิ่มเพดานการกู้ยืมเงินเพื่อให้รัฐบาลชำระหนี้ได้ทันตามกำหนด และว่าสำหรับตนแล้ว ร่างกฎหมายเพิ่มเพดานการกู้ยืมเงินนี้ควรผ่านความเห็นชอบโดยไม่มีวาระอื่นพ่วงไปด้วย

หากรัฐสภาสหรัฐฯ ไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องนี้ภายในวันที่ 30 ก.ย. รัฐบาลสหรัฐฯ จะผิดนัดชำระหนี้ซึ่งส่งผลต่อความน่าเชื่อถือทางการเงินของรัฐบาลสหรัฐฯ

อเมริกาเผชิญปัญหา “ช่องว่างของทักษะฝีมือการทำงาน”

นักวิเคราะห์ชี้ว่า ปัจจุบันแรงงานอเมริกันกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่เรียกว่า “ช่องว่างของทักษะฝีมือการทำงาน” คือการที่แรงงานจำนวนมากยังตกงาน ขณะที่บริษัทต่างๆ ไม่สามารถหาพนักงานที่มีทักษะฝีมือที่เหมาะสมมาเติมในตำแหน่งงานที่ขาดแคลนได้

อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการสนับสนุนให้บริษัทต่างๆ เพิ่มโปรแกรมฝึกฝนทักษะการทำงานให้แก่พนักงาน เหมือนที่หลายประเทศ เช่น เดนมาร์ก ทำสำเร็จมาแล้ว

รายงานสำรวจระบุว่า เมื่อปีที่แล้วมีการเปิดตำแหน่งงานใหม่ในสหรัฐฯ ทั้งหมด 146 ล้านตำแหน่ง ในจำนวนนี้มีเพียง 500,000 ตำแหน่งที่จ้างพนักงานที่ผ่านการฝึกฝนทักษะการทำงานแบบใหม่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตลาดงานในส่วนนี้ยังมีศักยภาพอยู่มาก

เวลานี้โรงงานหลายแห่งในสหรัฐฯ ต่างเสนอโปรแกรมการฝึกทักษะให้กับพนักงานเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าการที่จะขยายแนวคิดนี้ไปทั่วประเทศจำเป็นต้องอาศัยเงินทุนช่วยเหลือจากรัฐบาลด้วย

source; - http://rferl.c.goolara.net/Click.aspx?id=166095053201316270


Mavis Wanczyk, of Chicopee, Mass., stands by a poster of her winnings during a news conference where she claimed the $758.7 million Powerball prize at Massachusetts State Lottery headquarters, Aug. 24, 2017, in Braintree, Mass.

ล็อตเตอรี่แค่งวดเดียว ทำให้คุณ Mavis​ Wanczyk ขึ้นแท่นเศรษฐินีคนใหม่ ที่รวยกว่า Katy Perry, Taylor Swift, Brad Pitt, Mel Gibson, Victoria Beckham, Micheal Bay รวมทั้งรวยกว่า Ivanka Trump และ Jared Kushner ลูกสาวและลูกเขยของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และรวยกว่าอดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามาด้วย

ตำรวจในรัฐแมสซาชูเซตส์ เพิ่มเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยรอบเคหะสถานของคุณ Mavis Wanczyk วัย 53 ปี เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลในเมือง Chicopee ที่ถูกแจ๊กพอตล็อตเตอรี่ Powerball เมื่อวันพุธที่ผ่านมา คว้าเงินรางวัลคนเดียว 758 ล้าน 7 แสนดอลลาร์ หรือราว 2 หมื่น 6 พันล้านบาท หลังจากที่คุณ Wanczyk ต้องเจอกับกองทัพสื่อที่รอสัมภาษณ์แน่นขนัดแล้ว ยังต้องรับมือกับคนแปลกหน้า ที่พยายามมาถามไถ่ และไปเคาะประตูบ้านเธอเอาดื้อๆ

คุณ Wanczyk ลาออกจากงานที่ทำมาร่วม 30 ปีหลังพบว่าถูกลอตโต้ Powerball ซึ่งเธอเลือกรับเงินทั้งก้อน แบ่งจ่ายเงินรายปี ทำให้เงินที่เธอจะได้จะอยู่ที่ 480 ล้าน 5 แสนดอลลาร์ หรือราว 1 หมื่น 7 พันล้านบาท หักภาษีรัฐบาลกลาง 25% และภาษีของรัฐอีก 5% จะเหลือเข้ากระเป๋า 336 ล้านดอลลาร์ หรือราว 1 หมื่น 1 พัน 4 ร้อยล้านบาท

แล้วถ้าเราถูกล็อตโต้ได้ถึง 700 ล้านดอลลาร์เช่นนี้ จะเอาเงินไปทำอะไรได้บ้าง?

อย่างแรก คือ รถหรูอย่าง Ferrari 250 GTO รุ่นปี 1962 ที่ขายในการประมูลสูงที่สุดในโลก 38 ล้านดอลลาร์ หรือถ้าไม่อยากได้รถ แนะนำเป็นเครื่องบินส่วนตัว 65 ล้านดอลลาร์ หรืออยากนั่งสบายกว่าก็อัพเกรดเป็น Airbus A380 สนนราคา 400 ล้านดอลลาร์

ferrari

ถ้าอยากได้บ้านทำเลดีๆ แนะนำบ้านที่แพงที่สุดในตลาดสหรัฐฯ บนเนื้อที่ 2 หมื่นตารางฟุต ในย่าน Bel Air ที่จะได้เป็นเพื่อนบ้านกับ Beyoncé และ Jay-Z รวมทั้ง Elon Musk สนนราคา 350 ล้านดอลลาร์

bel air house

ถ้าเบื่อโลกแล้ว อยากท่องอวกาศ แนะนำทริปของ Virgin Galactic สัมผัสชีวิตไร้น้ำหนัก เที่ยวไปกลับครั้งละ 2 แสน 5 หมื่นดอลลาร์

หรือถ้าอยากมีทรัพย์สินสมฐานะ แนะนำนาฬิกา Hallucination Watch จาก Graff’s Diamond 55 ล้านดอลลาร์ หรือสนใจเป็นเพชรสีชมพู 59.6 กะรัต สนนราคา 71.2 ล้านดอลลาร์

ภาพงานศิลป์ Les Femmes d'Alger ไว้ติดผนังบ้านของ Picasso ในชุดภาพ Version O ที่วาดไว้เมื่อปี 1995 สนนราคา 179 ล้านดอลลาร์

หรือหากอยากพักผ่อนหย่อนใจ แนะนำให้ปิดเกาะปาร์ตี้กันที่ Necker Island ที่มี Sir Richard Branson ผู้บริหาร Virgin Group เป็นเจ้าของ ค่าเข้าพักก็อยู่ที่ 8 หมื่นดอลลาร์ต่อคืน ซึ่งเงิน 700 ล้านดอลลาร์นี้ สามารถพาเพื่อนไปปาร์ตี้ได้อีก 34 คนทีเดียว

thai island

​แต่ถ้าไม่อยากแค่พักผ่อนที่เกาะชั่วครั้งชั่วคราว แนะนำมาซื้อเกาะรังใหญ่ ในประเทศไทย ตอนนี้เคาะราคาขายในตลาด 160 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 5 พัน 4 ร้อยล้านบาท

source ;- http://rferl.c.goolara.net/Click.aspx?id=166095053201316271



Twistron

ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติได้พัฒนาเส้นใยที่ยืดหยุ่นได้ โดยทำขึ้นจากเส้นใยนาโนคาร์บอนจิ๋วที่มีอะตอมคาร์บอนที่เล็กกว่าเส้นผมถึง 10,000 เท่าตัว ซึ่งสามารถผลิตกระเเสไฟฟ้าได้จากเเหล่งหลังงานตามธรรมชาติ

Carter Haines หัวหน้าผู้ร่างรายงานผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science กล่าวว่า เส้นใย twistron จะผลิตกระเเสไฟฟ้าได้ทันทีหากถูกดึง หรือถูกบิด และมีศักยภาพที่จะนำไปใช้ได้หลายรูปแบบ

การทดสอบหลายครั้งในห้องทดลอง เเสดงผลว่าเส้นใยนาโนคาร์บอนซึ่งมีน้ำหนักเบากว่าเเมลงวันหนึ่งตัว สามารถสร้างกระเเสไฟฟ้าเพียงพอเเก่การเปิดหลอดไฟแอลอีดี (LED) ขนาดเล็กได้หนึ่งหลอด

Ray Baughman ผู้ร่างรายงานอาวุโส เเละศาสตราจารย์เเห่งมหาวิทยาลัย Texas - Dallas กล่าวว่า หากนำเส้นใยนาโนคาร์บอนไปทอเป็นเสื้อยืด จะสามารถผลิตพลังงานที่เพียงพอเเก่การทำงานของตัวเซ็นเซอร์ตรวจสอบการหายใจ อย่างที่ใช้ในเครื่องมอนิเตอร์ทารก โดยเกิดจากการยืดตัวทุกครั้งที่ผู้สวมเสื้อหายใจเข้า

นวัตกรรมชิ้นนี้สามารถนำไปใช้เป็นเเหล่งพลังงานให้กับอุปกรณ์ที่เชื่อมโยงกับอินเตอร์เน็ท

Baughman กล่าวว่า เสื้อผ้าเครื่องนุ่งหุ่มเป็นสินค้าทางเศรษฐกิจสำคัญ เเต่เราจะพัฒนาให้กลายเป็นเเหล่งผลิตพลังงานได้อย่างไร เขาชี้ว่าการผลิตกระเเสไฟฟ้าจากการเคลื่อนไหวของมนุษย์เป็นยุทธวิธีหนึ่งในการลดความจำเป็นของการใช้แบตเตอรี่

ความสามารถพิเศษของเส้นใยนาโนคาร์บอนที่เรียกว่า twistron ที่น่าทึ่งมากที่สุด คือสามารถทำงานได้ในน้ำทะเล และมีศักยภาพในการผลิตพลังงานปริมาณมหาศาลจากทะเล

Baughman กล่าวกับ Reuters ว่า ความฝันที่ใหญ่กว่านั้นคือการพัฒนาความสามารถในการผลิตพลังงานแก่ประเทศ และในการทดลองในเกาหลีใต้ ทีมนักวิจัยพบว่าเส้นใย twistron ที่ใช้ผูกทุ่นลอยติดกับทุ่นหยุดที่ทิ้งลงไปก้นทะเล สามารถผลิตกระเเสไฟฟ้าได้ทุกครั้งที่คลื่นทะเลมากระทบและเป็นเเรงดึงที่เส้นใย

Baughman กล่าวว่า สามารถเพิ่มระดับการใช้งานของเทคนิคนี้ให้ใหญ่ขึ้นในอนาคต เพื่อสร้างสถานีผลิตพลังงานในทะเล ที่สามารถสร้างกระเเสไฟฟ้าได้เพียงพอเเก่เมืองทั้งเมือง แต่ราคาอาจจะยังสูงอยู่

(เรียบเรียงโดย ทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทย กรุงวอชิงตัน)

source;- http://rferl.c.goolara.net/Click.aspx?id=166095053201316272


Taylor Swift performs at DIRECTV NOW Super Saturday Night Concert at Club Nomadic on Feb. 4, 2017 in Houston, Texas.

บริษัทผู้ให้บริการสตรีมเพลงออนไลน์ Spotify เปิดเผยว่า เพลงใหม่ของ เทย์เลอร์ สวิฟท์ “Look What You Made Me Do” ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อคืนวันพฤหัสบดี ตามเวลาในสหรัฐฯ สร้างสถิติใหม่เป็นเพลงที่ที่มียอดจำนวนผู้ดาวน์โหลดเพลงนี้ทาง Spotify มากที่สุด คือกว่า 8 ล้านครั้งภายในวันแรกที่เปิดตัว

นอกจากนี้ยังสร้างสถิติใหม่ทาง YouTube ด้วยการเป็นเพลงที่มีผู้ชมวิดีโอเนื้อเพลงมากที่สุดภายใน 1 วัน คือกว่า 19 ล้านครั้ง

เทย์เลอร์ สวิฟท์ นักร้องสาวชาวอเมริกันวัย 27 ปี เป็นผู้ร่วมเขียนเพลงนี้ ซึ่งเป็นเพลงแรกในอัลบั้มชุดที่ 6 ของเธอ ที่ใช้ชื่อว่า Reputation ที่จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายนนี้




source ;- http://rferl.c.goolara.net/Click.aspx?id=166095053201316273



The Hitman's Bodyguard

ไม่ว่าจะยุคสมัยไหน ภาพยนตร์คู่หูหายนะยังคงเป็นที่ต้องการของผู้ชมในจอเงินเสมอ เช่นเดียวกับภาพยนตร์ปิดท้ายช่วงฤดูร้อนของสหรัฐฯ อย่าง The Hitman’s Bodyguard ที่ได้ดาราระดับแม่เหล็กมาโลดแล่นกันคับจอ


เล่นแรง! โปสเตอร์ภาพยนตร์ The Hitman's Bodyguard ล้อเลียนโปสเตอร์ภาพยนตร์เรื่อง The Bodyguard ที่โด่งดังในอดีต

เรื่องนี้เป็นการโคจรมาเจอกันของ Ryan Reynolds รับบท Michael Bryce บอดี้การ์ดตกอับ ที่ต้องจำใจเป็นผู้คุ้มครองนักฆ่าไม่มีวันตาย Darius Kincaid ซึ่งรับบทโดย Samuel L. Jackson ไปส่งที่ศาลในเนเธอร์แลนด์ เพื่อเป็นพยานปากสำคัญ ภายในเวลา 24 ชั่วโมง แต่ภารกิจนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องฝ่าดงกระสุนของนักฆ่าที่ Vladislav Dukhovich นำแสดงโดย Gary Oldman ส่งตัวมาปลิดชีพเขา เพื่อไม่ให้ไปศาลได้ทันเวลา


ถ้าไม่ติดใจเรื่องคำสบถตลอดเรื่อง ถือว่าเต็มอิ่มทั้งแอคชั่นและความสนุกสนาน การเป็นคู่กัดที่กลายเป็นคู่หูจำเป็นของ Ryan Reynolds และ Samuel L. Jackson ทำได้ลื่นไหล ส่วน Selma Hayek ที่รับบทเป็น Sonia Kincaid ภรรยาจอมโหดของ Darius โผล่มาทีไรก็ขโมยซีนไปได้ทุกครั้ง

ประทับใจที่สุดในภาพยนตร์ คือ การใส่ใจทุกรายละเอียด ที่ทำให้หนังแอคชั่นคอเมดี้เรื่องนี้โดดเด่น ทั้งการเดินภาพที่เชื่อมจากฉากไปอีกฉาก และเพลงประกอบที่ตราตรึงใจทุกฉาก ติดหูที่สุดเห็นจะเป็นเพลง Hello ของ Lionel Richie และเพลง Nobody Gets Out Alive ที่ร้องโดย Samuel L. Jackson

The Hitman’s Bodyguard จะน่าติดตามแค่ไหน เชิญรับฟังในรายการ "สุดสัปดาห์ กับวีโอเอ" ทุกวันเสาร์ รวมทั้งติดตามบทวิเคราะห์ภาพยนตร์ ทางเว็บไซต์ และ Facebook ของ VOA Thai ได้ทุกสัปดาห์

source ;- http://rferl.c.goolara.net/Click.aspx?id=166095053201316274

Posted: 28 Aug 2017 06:31 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)

เครือข่ายนักวิชาการ-ศิลปิน ศิษย์เก่าศิษย์ปัจจุบัน และผู้อำนวยการศูนย์ไทยศึกษาจุฬาฯ กังวลกรณีกองกำลังรักษาความสงบฯ/ตำรวจเชียงใหม่- ดำเนินคดีพลเมือง-นักวิชาการ 5 รายข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558 เรียกร้องให้ยุติการดำเนินคดีและข่มขู่คุกคามนักวิชาการทุกรูปแบบ

29 ส.ค. 2560 เมื่อวานนี้ (28 ส.ค.) คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และเครือข่ายนักวิชาการและศิลปินเพื่อนไทยศึกษา ตลอดจนนิสิตปัจจุบันและศิษย์เก่าของศูนย์ไทยศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 42 ราย ได้ออกแถลงการณ์สนับสนุนพลเมือง-นักวิชาการที่ร่วมงานไทยศึกษาครั้งที่ 13 (ICTS13) ที่ถูกกองกำลังรักษาความสงบฯ เชียงใหม่ ดำเนินคดีข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558 โดยเรียกร้องให้ยุติการดำเนินคดีและข่มขู่นักวิชาการทุกรูปแบบ

"ถ้าแม้นว่าประเทศแห่งนี้ไม่อาจแม้แต่จะจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติในศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องประเทศตัวเองได้โดยที่ไม่ต้องเกิดเหตุจับกุมตั้งข้อหาและข่มขู่คุกคามคณะผู้จัดงานได้แล้ว จะยังมีเสรีภาพทางวิชาการใดๆ เหลืออยู่ให้ชาวต่างชาติเชื่อมั่นได้หรือไม่หากแม้ว่าเขายังคิดจะมาแลกเปลี่ยนทางวิชาการในศาสตร์ใดๆ ในประเทศไทยอีกในอนาคต?" แถลงการณ์ตอนหนึ่งระบุ

โดยรายละเอียดแถลงการณ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งรายชื่อแนบท้ายแถลงการณ์มีดังนี้

00000

คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และเครือข่ายนักวิชาการและศิลปินเพื่อนไทยศึกษา ตลอดจนนิสิตปัจจุบันและศิษย์เก่าของศูนย์ไทยศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พวกเรารู้สึกกังวลเป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับการแจ้งความดำเนินคดีกับนักวิชาการ นักศึกษา และนักวิชาการอิสระทั้งห้าคน อันสืบเนื่องมาจากงานประชุมวิชาการนานาชาติด้านไทยศึกษาครั้งที่ 13 การที่ ดร. ชยันต์ วรรธนะภูติ (อาจารย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่), นายชัยพงษ์ สำเนียง (นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) นายธีรมล บัวงาม (นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) นายนลธวัช มะชัย (นักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) และนางภัควดี วีระภาสพงษ์ (นักแปลและนักวิชาการอิสระ) ถูกแจ้งข้อหาชุมนุมทางการเมืองนั้นไม่เพียงแต่จะเป็นการละเมิดเสรีภาพทางวิชาการอย่างร้ายแรง ยังนับเป็นการส่งสัญญาณอันตรายจากรัฐบาลไทยไปสู่วงวิชาการนานาชาติอีกด้วย

ในนามผู้อำนวยการศูนย์ คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และเครือข่ายนักวิชาการและศิลปินเพื่อนไทยศึกษา ตลอดจนนิสิตปัจจุบันและศิษย์เก่าของศูนย์ไทยศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พวกเรารู้สึกกังวลเป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับการแจ้งความดำเนินคดีกับนักวิชาการ นักศึกษา และนักวิชาการอิสระทั้งห้าคน อันสืบเนื่องมาจากงานประชุมวิชาการนานาชาติด้านไทยศึกษาครั้งที่ 13 การที่ ดร. ชยันต์ วรรธนะภูติ (อาจารย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่), นายชัยพงษ์ สำเนียง (นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) นายธีรมล บัวงาม (นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) นายนลธวัช มะชัย (นักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) และนางภัควดี วีระภาสพงษ์ (นักแปลและนักวิชาการอิสระ) ถูกแจ้งข้อหาชุมนุมทางการเมืองนั้นไม่เพียงแต่จะเป็นการละเมิดเสรีภาพทางวิชาการอย่างร้ายแรง ยังนับเป็นการส่งสัญญาณอันตรายจากรัฐบาลไทยไปสู่วงวิชาการนานาชาติอีกด้วย

ศูนย์ไทยศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนับเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำที่ผลิตและส่งเสริมงานวิจัยด้านไทยศึกษาในประเทศไทยอันเป็นจุดกำเนิดดั้งเดิมของศาสตร์แขนงนี้ ศูนย์ของเราได้เปิดทำการเรียนการสอนหลักสูตรปริญญาโทด้านไทยศึกษาที่ประสบความสำเร็จมาอย่างยาวนานมากที่สุดหลักสูตรหนึ่ง และยังเป็นสถาบันเดียวในโลกที่เปิดการเรียนการสอนด้านไทยศึกษาในระดับปริญญาเอก เราได้มีส่วนร่วมสนับสนุนการจัดการประชุมวิชาการนานาชาติด้านไทยศึกษามานานหลายปีและได้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวมาหลายต่อหลายครั้ง ในการประชุมนานาชาติด้านไทยศึกษาครั้งที่ 13 ที่เชียงใหม่ครั้งล่าสุดนี้ก็ได้มีสมาชิกเครือข่ายของศูนย์ไทยศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหลายคนเข้าร่วมการประชุมทั้งในฐานะผู้นำเสนอบทความ ผู้วิจารณ์บทความ และผู้สังเกตการณ์ที่ลงทะเบียนเข้าฟัง เรามีความเชื่ออย่างแรงกล้าว่าการประชุมดังกล่าวนี้เป็นประเพณีปฏิบัติทางวิชาการที่สำคัญ ซึ่งช่วยส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยด้านไทยศึกษา อีกทั้งยังช่วยพัฒนาเครือข่ายความมือและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างวงวิชาการไทยกับนักวิชาการนานาชาติทั่วโลกที่ยังมีความสนใจในประเทศเล็กๆ ที่มีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาอันน่าทึ่งของเราอีกด้วย

การจะดำเนินการวิจัยที่มีคุณค่าทางวิชาการหรือจัดงานประชุมวิชาการที่จะเป็นที่ยอมรับเชื่อถือในศาสตร์ภูมิภาคศึกษาใดๆ โดยไม่ข้องเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลยโดยสิ้นเชิง ในวงวิชาการไทยศึกษาก็เช่นเดียวกัน เราไม่อาจคงอยู่ต่อไปได้ในฐานะสถาบันการศึกษาที่ให้บริการทั้งด้านงานวิจัยและเปิดสอนหลักสูตรบัณฑิตศึกษาด้านไทยศึกษาที่ได้รับการยอมรับนับถือในระดับนานาชาติถ้าแม้นว่าเราจะต้องถูกจำกัดไม่ให้ข้องเกี่ยวกับประเด็นด้านการเมืองใดๆ ในการดำเนินการด้านวิชาการทุกรูปแบบของเรา การแจ้งความดำเนินคดีกับเพื่อนนักวิชาการของเราทั้งห้าคนอันสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการนานาชาติด้านไทยศึกษาครั้ง 13 ที่จังหวัดเชียงใหม่นั้นนับเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่ออนาคตการคงอยู่ของศาสตร์ไทยศึกษา การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตำรวจดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดความคลางแคลงสงสัยในวงวิชาการนานาชาติว่าการจัดประชุมวิชาการนานาชาติในประเทศไทยนั้นยังเป็นสิ่งที่เป็นไปได้อีกหรือไม่ในอนาคต ถ้าแม้นว่าประเทศแห่งนี้ไม่อาจแม้แต่จะจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติในศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องประเทศตัวเองได้โดยที่ไม่ต้องเกิดเหตุจับกุมตั้งข้อหาและข่มขู่คุกคามคณะผู้จัดงานได้แล้ว จะยังมีเสรีภาพทางวิชาการใดๆ เหลืออยู่ให้ชาวต่างชาติเชื่อมั่นได้หรือไม่หากแม้ว่าเขายังคิดจะมาแลกเปลี่ยนทางวิชาการในศาสตร์ใดๆ ในประเทศไทยอีกในอนาคต?

ในนามแห่งอนาคตอันมืดมนของไทยศึกษาซึ่งเราห่วงกังวลกันหนักหนา ณ เวลานี้ เราขอประนามการกล่าวหาและดำเนินคดีกับ ดร. ชยันต์ วรรธนะภูติ, นายชัยพงษ์ สำเนียง, นายธีรมล บัวงาม, นายนลธวัช มะชัย, และนางภัควดี วีระภาสพงษ์ ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภอ.ช้างเผือก จังหวัดเชียงใหม่ และขอเรียกร้องให้ยุติการดำเนินคดีและการข่มขู่คุกคามกลุ่มนักวิชาการดังกล่าวในทุกรูปแบบทันที ศูนย์ไทยศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอแสดงจุดยืนสนับสนุนเพื่อนนักวิชาการผู้ร่วมในงานประชุมวิชาการนานาชาติด้านไทยศึกษาครั้งที่ 13 เราขอเป็นอีกเสียงหนึ่งที่เรียกร้องเสรีภาพทางวิชาการในสังคมไทย

000

Statement in support of Dr. Chayan Vaddhanaphuti & colleagues (ICTS13)
Thai Studies Center, Chulalongkorn University

As director, faculty, staff members and affiliates of the Thai Studies Center, as well as students, both current and graduates, from the MA and PhD programs in Thai Studies of Chulalongkorn University, we are deeply concerned by the charges brought upon our colleagues involved in the organization of the 13th International Conference on Thai Studies (ICTS13) by the Royal Thai Police. The charges of illegal political assembly filed against the five academics—Dr. Chayan Vaddhanaphuti, Chiang Mai University Lecturer, Chaipong Samnieng, PhD candidate, Teeramon Bua-ngam, graduate student, Nontawat Machai, undergraduate student, and Pakavadi Veerapaspong, independent writer and translator—are not only a gross infringement of academic freedom, but also send a seriously damaging message from the Thai government to the international academic community.

The Thai Studies Center, Chulalongkorn University, is a leading academic institution providing and promoting research in Thai Studies in the very home-base of this field of inquiry—Thailand. Our center operates one of the longest standing MA programs in Thai Studies and the one and only PhD program in Thai Studies in the world. We have continuously contributed to the International Conference on Thai Studies for many years and many conferences prior to the most recent one in Chiang Mai. Many members and former members of the Thai Studies Center, Chulalongkorn University, have also contributed to ICTS13, as paper presenters, discussants, and registered observers. We strongly believe that this conference is a crucial intellectual tradition that not only encourages and improves research in Thai Studies, but also enhances much needed connections and exchanges between the academic community in Thailand and the wider circle of academics around the world who remain interested in this relatively small yet greatly important and intriguing country and culture of ours.

It is impossible to conduct serious research or hold a respectable conference on a certain area studies without touching—however lightly—on matters relating to politics. Thai Studies is no exception. We cannot continue as an internationally recognized provider of research and graduate programs in Thai Studies if all aspects of Thai politics are to be omitted from all our academic endeavors. The persecution of our five colleagues in Chiang Mai related to ICTS13 endangers the very existence of the academic field of Thai Studies. It also casts foreboding doubts among the international academic community of any possible future international academic conferences in Thailand. If this country cannot even host a conference on its own area studies without its organizers being harassed and persecuted, what sort of academic freedom could foreigners expect should they even consider coming to Thailand for academic exchanges in any other field?

In the name of the dim future of Thai Studies that we are apprehensive of, we condemn the persecution of Dr. Chayan Vaddhanaphuti, Chaipong Samnieng, Teeramon Bua-ngam, Nontawat Machai, and Pakavadi Veerapaspong by the Royal Thai Police and demand that the intimidation and charges put forth against them be dropped immediately. The Thai Studies Center, Chulalongkorn University, unreservedly supports the stance of our colleagues at ICTS13. We, too, stand for academic freedom.

Chalermsiripinyorat, Rungrawee (Alumna, Thai Studies Program, Chulalongkorn University)
Chotirawe, Carina PhD (Assistant Professor, English, Chulalongkorn University)
Cummings, Robert PhD (Alumnus, Thai Studies Program, Chulalongkorn University)
Dania Maya (Lecturer, English, Mae Fah Luang University)
Dort, Lois Ann (Alumna, Thai Studies Program, Chulalongkorn University)
Farmer, Brett PhD (Lecturer, School of Communication and Creative Arts, Deakin University)
Fuhrmann, Arnika PhD (Assistant Professor, Asian Studies, Cornell University)
Han, Enze PhD (Professor, International Relations, Hong Kong University)
Hanwong, Lalita PhD (Lecturer, History, Kasetsart University)
Harrison, Rachel PhD (Professor, Southeast Asian Studies, SOAS University of London)

Hongladarom, Soraj PhD (Professor, Philosophy, Chulalongkorn University)
Kang, Dredge PhD (Assistant Professor, Anthropology, UC San Diego)
Kencana, Linda (PhD candidate, Thai Studies Program, Chulalongkorn University)
Kesboonchoo-Mead, Kullada PhD (Associate Professor, Political Science, Chulalongkorn U)
Khangpiboon, Kath (Independent scholar)
McDaniel, Justin PhD (Professor, Religious Studies, University of Pennsylvania)
Meedet, Aphirada (Openworlds Publishing House)
Nguyen, Tan Hoang PhD (Associate Professor, Literature, UC San Diego)
Nopsuwanchai, Tossapol (Alumnus, Thai Studies Program, Chulalongkorn University)
Pananond, Pavida PhD (Associate Professor, Thammasat Business School, Thammasat U)

Pansittivorakul, Thunska (Film Director, Silpathorn Award Winner 2007)
Pathmanand, Ukrist (Researcher, Asian Studies, Chulalongkorn University)
Pinthongvijayakul, Visisya PhD (Lecturer, Faculty of Humanities and Social Sciences, Chandrakasem Rajabhat University)
Ramirez, Pablo PhD (Alumnus, Thai Studies Program, Chulalongkorn University)
Ratanawaraha, Apiwat PhD (Assistant Professor, Urban&Regional Planning, Chulalongkorn U)
Reader, Matt (PhD candidate, Asian Studies, Cornell University)
Sinnott, Megan PhD (Associate Professor, Asian Studies, Georgia State University)
Siriyuvasak, Ubonrat PhD (Associate Professor, Communication Arts, Chulalongkorn U)
Thapchumpon, Naruemon PhD (Assistant Professor, Political Science, Chulalongkorn U)
Thien-orn, Panisara (Staff, Thai Studies Center, Chulalongkorn University)

Treerat, Nualnoi PhD (Associate Professor, Asian Studies, Chulalongkorn University)
Uabumrungjit, Chalida (Film Archivist)
Wangaeo, Surichai (Professor, Political Science, Chulalongkorn University)
Wantanasombat, Akkanut (Doctoral student, Thai Studies, Chulalongkorn University)
Waradhammo, Ven. Shine (Wat Khean Khet, Pathumthani)
Warning, Christina (Doctoral Student, Thai Studies Program, Chulalongkorn University)
Wongsurawat, Wasana PhD (Assistant Professor, History, Chulalongkorn University)
Worachaiyut, Siriwan PhD (Assistant Professor, Chinese, Thammasat University)
Yodhong, Chanan (PhD candidate, History, Thammasat University)
Yunyasit, Suphatmet PhD (Lecturer, Human Rights&Peace Studies, Mahidol University)


Posted: 28 Aug 2017 10:28 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)

เดอะการ์เดียนนำเสนอบทวิเคราะห์การเลือกตั้งในเยอรมนี ที่จะมีขึ้นในเดือน ก.ย. นี้ ชี้แม้พรรคขวากลางของ “ขุ่นแม่” แองเกลา แมร์เคิล จะยังได้รับความนิยมสูง แต่ระบบการเลือกตั้ง และการจัดตั้งพรรคแนวร่วมอาจให้พรรคฝ่ายซ้ายมีโอกาสจัดตั้งแนวร่วมในสภา ขณะที่พรรคขวาจัดไม่มีใครอยากเป็นแนวร่วมรัฐบาลด้วยเลย

29 ส.ค. 2560 เยอรมนีกำลังจะมีการเลือกตั้งในวันที่ 24 ก.ย. ที่จะถึงนี้ การเลือกตั้งครั้งนี้นอกจากจะได้รัฐสภาเยอรมนีที่เรียกว่า "บุนเดสถาก" ใหม่แล้วยังจะเป็นการตัดสินว่า แองเกลา แมร์เคิล ผู้นำหญิงที่ได้รับฉายาว่า "ขุ่นแม่" หรือ "มุตติ" (Mutti) แห่งเยอรมนีจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยที่ 4 หรือไม่

แองเกลา แมร์เคิล ถูกมองว่าเป็นผู้นำประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของยุโรปนับตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา อีกทั้งยังถูกมองว่าเป็นศูนย์กลางพลังอำนาจแห่งเสถียรภาพของภูมิภาคยุโรป ท่ามกลางยุคสมัยที่การเมืองเต็มไปด้วยข้อถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์

เดอะการ์เดียนนำเสนอบทวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ระบุว่า ความนิยมของแมร์เคิลกลับมาดีขึ้นหลังจากที่เคยลดลงในช่วงวิกฤตผู้ลี้ภัยยุโรปปี 2558 จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และประเด็นน่าตื่นตัวในต่างประเทศอย่างการโหวตออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักรและการที่โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งในสหรัฐฯ โดยมีผู้หวังว่าถ้าหากแมร์เคิลจากพรรคคริสเตียนเดโมแครตยูเนียนหรือซีดียู (CDU) ชนะการเลือกตั้งก็อาจจะเป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่ดีหลังจากที่เอ็มมานูเอล มาครง นักปฏิรูปชนะการเลือกตั้งฝรั่งเศส อาจจะเปิดโอกาสให้มีการปฏิรูปสหภาพยุโรปซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นได้

ในแง่นี้แมร์เคิลยังดูมีแต้มต่อหลังจากการสำรวจโพลล์ล่าสุดพบว่า พรรคซีดียู มีคะแนนนิยมถึงร้อยละ 40 พรรคนี้ และพรรคคริสเตียนโซเชียลยูเนียนหรือซีเอสยู (CSU) ซึ่งเป็นพรรคส่วนย่อยในรัฐบาวาเรียได้รับความนิยมในหมู่คนสูงอายุ อยู่ในชนบท เป็นชาวคริสต์ และอนุรักษ์นิยม จุดยืนของพรรคซีดียูถูกมองว่าเป็นพรรคการเมืองที่มีแนวคิดแบบขวากลาง

อีกหนึ่งพรรคใหญ่ในเยอรมนีคือโซเชียลเดโมเครติคหรือเอสพีดี (SPD) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายซ้ายกลางที่มักจะกลายเป็นพรรคร่วมรัฐบาลกับซีดียูด้วย พรรคนี้มีฐานที่เหนียวแน่นในเยอรมนีตะวันตกที่เป็นแหล่งอุตสาหกรรม พรรคนี้ในปัจจุบันนำโดยมาร์ติน ชูลซ์ ที่เคยเป็นประธานสภายุโรปมาก่อนในปี 2555-2560 และเพิ่งได้มาเป็นหัวหน้าพรรคเอสพีดีในปีนี้

อย่างไรก็ตามความนิยมของชูลส์หลังช่วงที่ออกจากสภายุโรปใหม่ๆ ก็เริ่มจางลงแล้ว พรรคเอสพีดีเสียฐานที่มั่นคะแนนเสียงสำคัญไปในการเลือกตั้งท้องถิ่นเมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา โดยมีการประเมินว่าพวกเขาจะได้รับคะแนนเสียงในการเลือกตั้งทั่วไปร้อยละ 23-25

พรรคเล็กๆ ล่ะ

ในะบบการเลือกตั้งของเยอรมนียังมีการกำหนดให้พรรคการเมืองต้องมีคะแนนเสียงอย่างน้อยร้อยละ 5 ถึงจะมีโอกาสได้ที่นั่งในสภาถ้าหากชนะการเลือกตั้งระดับเขตได้ ซึ่งมีพรรคเล็ก 4 พรรคที่ถูกประเมินว่ามีโอกาสจะได้รับคะแนนเสียเกินร้อยละ 5 รวมถึงพรรคฝ่ายซ้ายจัดที่ตั้งขึ้นในปี 2550 มีฐานเสียงหลักๆ อยู่เยอรมนีตะวันออก เป็นพรรคที่ไม่เคยเข้าเป็นพรรคร่วมรัฐบาล และเป็นพรรคฝ่ายค้านมาโดยตลอด มีการประเมินว่าพรรคฝ่ายซ้ายจัดจะได้คะแนนเสียงในครั้งนี้ร้อยละ 9-10

อีก 3 พรรคคือพรรคฟรีเดโมแครตหรือเอฟดีพี (FDP) ที่เป็นสายสนับสนุนธุรกิจก็กำลังเติบโตขึ้นภายใต้ผู้นำพรรคคนใหม่คือคริสเตียน ลินด์เนอร์ มีการประเมินว่าน่าจะได้รับคะแนนเสียงร้อยละ 8-9 พรรคกรีนส์ของเยอรมนีก็มีฐานเสียงจากเมืองมหาวิทยาลัยทางฝั่งตะวันตก มีการประเมินว่าจะได้รับคะแนนเสียงร้อยละ 7-8 ซึ่งอ่อนกำลังลงมากเมื่อเทียบกับช่วงคริสตทศวรรษที่ 2000s ที่พวกเขาทำงานบริหารร่วมกับเอสดีพี ส่วนพรรคสายชาตินิยมกังขาต่ออียูอย่างเอเอฟดี (AfD) ที่มีแนวคิดต่อต้านผู้อพยพต่อต้านอิสลามก็ขยายตัวมากขึ้นและมีโอกาสได้เข้าสู่สภาเป็นครั้งแรก แต่มีการทะเลาะกันภายในพรรคและความนิยมลดลงจากร้อยละ 15 ตั้งแต่ช่วงวิกฤตผู้ลี้ภัยมาเป็นร้อยละ 8-9

ระบบเลือกตั้งของเยอรมนีเป็นอย่างไร

เยอรมนีเพิ่มปรับระบบการเลือกตั้งใหม่เมื่อไม่นานมานี้ซึ่งการ์เดียนระบุว่า "มีความซับซ้อนอย่างมหันต์" โดยการผสมกันระหว่างตัวแทนโดยตรงและตัวแทนแบบสัดส่วน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องกาสองช่องในบัตรลงคะแนนเดียว กาแรกกาให้กับผู้สมัครในท้องถิ่น และกาที่สองให้กับพรรคการเมืองที่พวกเขาจะเลือก

คะแนนในการกาช่องแรกที่เรียกว่า "เอียสชติมเม" (Erststimme) จะนำไปใช้เลือกผู้แทนสภา 299 ที่นั่งจากแต่ละเขตเลือกตั้งคิดเป็นราวครึ่งหนึ่งของที่นั่งในสภาทั้งหมด

ที่เหลือจะมีการจัดสรรจากคะแนนโหวตทั้งประเทศจากทุกพรรคที่ได้คะแนนร้อยละ 5 ขึ้นไปในการกาโหวตช่องที่สองที่เรียกว่า "ชไวต์ชติมเม" (Zweitstimme) นอกจากนี้การโหวตช่องที่สองยังจะนำมาคำนวนหาสัดส่วนที่นั่งในสภาที่พวกเขาควรได้รับ เช่น ถ้าพรรคหนึ่งได้รับคะแนนโหวตร้อยละ 25 พวกเขาก็ควรได้ที่นั่งในสภาร้อยละ 25

แต่ถ้าหากว่าเกิดกรณีที่การโหวตช่องที่ 1 ทำให้บางพรรคได้ ส.ส. มากเกินกว่าสัดส่วนในการโหวตช่องที่ 2 ก็จะมีการชดเชยด้วยการให้พรรคอื่นๆ ได้ที่นั่งในสภาเพิ่มเติม ทำให้รัฐสภาบุนเดสถากของเยอรมนี ซึ่งอาจจะทำให้ที่นั่งในสภาขยายจาก 598 ที่นั่งออกไปมากสุดถึง 800 ที่นั่ง (ในปัจจุบันมีผู้แทนอยู่ 631 ที่นั่ง)

หลังจากเลือกตั้งและนับผลเสร็จแล้วหลังจากนั้นก็จะมีการจัดตั้งพรรคแนวร่วมรัฐบาล ต่อด้วยการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีโดยประธานาธิบดี ซึ่งตำแหน่งประธานาธิบดีในเยอรมนีส่วนใหญ่จะมีบทบาทแค่ในเชิงพิธีการเท่านั้น ส่วนใหญ่ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งมักจะเป็นหัวหน้าพรรคที่ใหญ่ที่สุดในสภาซึ่งจะได้รับการโหวตลงคะแนนลับผ่านสภาเมื่อยืนยันผู้เป็นนายกอีกครั้ง

แต่ละพรรคมีจุดยืนอย่างไร

เดอะการ์เดียนระบุว่า แองเกลา แมร์เคิล มีภาพลักษณ์เป็นที่เคารพและน่าเชื่อถือในความเป็นผู้นำโลกและผู้นำทางเศรษฐกิจ ก่อนหน้านี้เธอมีนโยบายแบบที่ไม่คิดว่าเธอจะทำคือการรับผู้ลี้ภัยและผู้อพยพเข้าประเทศราว 900,000 คนในปี 2558 ทำให้เธอเสียการสนับสนุนจากฐานเสียงไปบางส่วน แต่ก็อาจจะได้รับคะแนนเสียงมากขึ้นจากคนหนุ่มสาวบางกลุ่ม ในเรื่องความมั่นคงแม้จะเคยมีเหตุโจมตีด้วยการขับรถพุ่งชนคนในกรุงเบอร์ลินเมื่อต้นปีที่ผ่านมาแต่ในตอนนี้แมร์เคิลก็กลับมาได้รับความนิยมแล้ว

ในด้านเศรษฐกิจนั้นแมร์เคิลสัญญาว่าจะให้มีการปรับลดภาษีและทำให้การจ้างงานอย่างเต็มที่ภายในปี 2568 ส่วนพรรคซ้ายกลางเอสพีดีเน้นที่การกระจายความมั่งคั่งและประเด็นความเป็นธรรมในสังคม นอกจากนี้ยังต่อต้านการเพิ่มงบระมาณกลาโหมให้นาโตจากร้อยละ 2 ของจีดีพี ขณะที่ซ๊ดียูสนับสนุนการเพิ่มงบประมาณดังกล่าว

พรรคฝ่ายซ้ายจัดของเยอรมนีต้องการให้มีการกำกับดูแลตลาดมากขึ้นและปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ พรรคสนับสนุนกลุ่มธุรกิจอย่างเอฟดีพีมุ่งจะปรับลดภาษีและเพิ่มบูรณภาพกับอียูมากขึ้น ส่วนพรรคฝ่ายขวาจัดอย่างเอเอฟดีเน้นแต่ที่เรื่องอนุรักษ์ "ประเพณี" แบบเยอรมนี และมีมาตรการต่อต้านผู้อพยพ

แนวโน้มการจัดตั้งพรรครัฐบาล

เดอะการ์เดียนประเมินว่าในทางการเมืองแล้วพรรคซีดียูอยากได้แนวร่วมเป็นพรรคเอฟดีพีที่เป็นสายปรับลดภาษีเหมือนกัน ซึ่งพรรคแนวร่วมเช่นนี้เคยปกครองเยอรมนีมานาน 16 ปีในสมัย เฮลมุท โคห์ล แต่จากโพลแล้วการตั้งแนวร่วมรัฐบาลสองพรรคนี้อาจจะทำให้ไม่ได้เสียงข้างมากในสภา

ฝ่ายพรรคซ้ายกลางเอสพีดีก็มีโอกาสเป็นแนวร่วมกับพรรคกรีนส์แต่ก็มีโอกาสน้อยที่จะได้ที่นั่งรวมกันเกิดครึ่งหนึ่ง และถ้าหากจะรวมเอาพรรคเอฟดีพีไปด้วยก็อาจจะต้องแสวงหาการยอมรับจากพรรคกรีนส์ด้วย ขณะเดียวกันถ้าหากซีดียูได้คะแนนเสียงน้อยกว่าที่คาดไว้ก็มีโอกาสที่ซ้ายกลางจะจัดตั้งพรรคแนวร่วมกับซ้ายจัดและพรรคกรีนส์ได้ซึ่งในตอนนี้เป็นกลุ่มพรรคแนวร่วมสภาปกครองกรุงเบอร์ลิน

ถึงแม้ทั้งสองพรรคอยากจะจับมือกับพรรคเล็กอื่นๆ ที่มีแนวทางใกล้เคียงกันมากเพียงใด แต่ประชาชนผู้เลือกตั้งในเยอรมนีคงเลือกผู้แทนออกมาในแบบที่เอื้อให้เกิด "พรรคแนวร่วมใหญ่" คือขวากลางซีดียูกับซ้ายกลางเอสพีดีจับมือเป็นพรรคแนวร่วมกันอีกครั้ง แม้จะขัดใจแต่ก็จะกลายเป็นแนวร่วมทางการเมืองด้วยความจำเป็น

แต่ที่เหมือนกันอย่างหนึ่งคือ ไม่มีพรรคใดเลยที่อยากเป็นแนวร่วมกับขวาจัดอย่างเอเอฟดี



เรียบเรียงจาก

Germany's general election: all you need to know, The Guardian, 24-08-2017

https://www.theguardian.com/world/2017/aug/24/germanys-general-election-all-you-need-to-know

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก

https://en.wikipedia.org/wiki/Electoral_system_of_Germany

Posted: 28 Aug 2017 11:58 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)

ความรุนแรงในรัฐยะไข่จากเหตุจู่โจมโดยกลุ่มมุสลิมโรฮิงญาหัวรุนแรงทวีความระอุหลังรัฐบาลตอบโต้ด้วยกำลังทหาร อัลจาซีราระบุ ประชาชนเสียชีวิตนับร้อย พลัดถิ่นอีกนับหมื่น ล่าสุดสภาผู้แทนราษฎรปัดข้อเสนอเร่งด่วนในกรณีการจู่โจม ผู้แทนจากพรรคแห่งชาติอารากันหนุนประกาศภาวะฉุกเฉินบนหนึ่งในพื้นที่ปะทะ อัดรัฐบาลพรรค NLD ไม่จริงจัง หนุนทหารขึ้นปกครองแทนพลเรือน


บังคลาเทศผลักดันผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญากลับ แม้จะถูกกระทำรุนแรงในเมียนมาร์ (ที่มา: แฟ้มภาพ)

สืบเนื่องจากคืนวันที่ 24 และเช้าวันที่ 25 ส.ค. ที่ผ่านมาในประเทศเมียนมาร์ เกิดเหตุกลุ่มกองกำลังติดอาวุธชาวมุสลิมโจมตีจุดตรวจบริเวณชายแดน สถานีตำรวจและฐานทัพในเขตชุมชน Maungdaw, Buthidaung และ Rathedaung บริเวณภาคเหนือของรัฐยะไข่ตามการรายงานของ พล.อ.อาวุโสและผู้บัญชาการทหารสูงสุด มินอ่องเหลง มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิตอย่างน้อย 10 นาย ผู้ที่คาดว่าเป็นกลุ่มติดอาวุธเสียชีวิต 15 ราย และมีอาวุธปืน 5 กระบอกถูกผู้ก่อเหตุขโมยไป

เมื่อวานนี้ (28 ส.ค.) สำนักข่าว อิระวดี ของเมียนมาร์ รายงานว่า ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือสภาล่าง อูวินมิน ปัดข้อเสนอเร่งด่วนจากพรรคฝ่ายค้าน USDP (Union Solidarity and Development Party) ในประเด็นรัฐยะไข่

อูลาธายวิน สมาชิกสภานิติบัญญัติของพรรคยูเอสดีพี ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งกองเสนาธิการทหารบก เรือ อากาศแห่งกองทัพเมียนมาร์พยายามผลักดันข้อเสนอให้ทางสภาล่างมีมาตรการประณาม “การกระทำอย่างทารุณเยี่ยงผู้ก่อการร้ายในเมือง Maungdaw ที่เป็นภัยกับอธิปไตยแห่งรัฐ หลักนิติธรรมและความมั่นคงในภูมิภาค” อูอองทองซเว สมาชิกสภานิติบัญญัติจากพรรคแห่งชาติอารากัน หรือเอเอ็นพี ที่เป็นตัวแทนของเขตชุมชน Buthidaung หนึ่งในพื้นที่เกิดเหตุกล่าวกับอิระวดีว่าตนมีแผนที่จะสนับสนุนข้อเสนอดังกล่าว แต่ว่าประธานรัฐสภาไม่อนุญาตให้ข้อเสนอดังกล่าวเข้ารับการพิจารณา

อูอองทองซเว แนะนำให้รัฐสภาประกาศภาวะฉุกเฉินบนพื้นที่เขตชุมชน Maungdaw ทั้งยังระบุเพิ่มว่าควรให้มีการปกครองโดยทหารแทนการปกครองโดยพลเรือน และรัฐบาลพรรค NLD หรือ National League for Democracy ไม่ได้จัดการกับความไร้เสถียรภาพในเมือง Maungdaw ได้ดีพอ “มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ภาวะฉุกเฉินและการปกครองโดยทหาร ไม่มีการปกครองโดยพลเรือนในตอนนี้เพราะว่ามันได้พังทลายลงไปพร้อมกับหลักนิติธรรม” อูอองทองซเว กล่าว 

กองกำลังอารากันโรฮิงญาออกมาแสดงความรับผิดชอบ ทหารตอบโต้เข้าจู่โจมชุมชน ยอดตายนับร้อย พลัดถิ่นนับหมื่น 

การโจมตีครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นถือเป็นการโจมตีจากกลุ่มมุสลิมชาวโรฮิงญาครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่การโจมตีจุดตรวจชายแดนเมื่อเดือน ต.ค. ปี 2559 หลังการโจมตี กลุ่มกองกำลัง Arakan Rohingya Salvation Army (ARSA) ออกมาแสดงความรับผิดชอบการโจมตีดังกล่าวโดยระบุว่า การโจมตีเป็นผลจากการปิดล้อมเส้นทางขนส่งอาหารและความรุนแรงจากทหารที่มีต่อชาวโรฮิงญาอย่างต่อเนื่อง และจะสู่ต่อไปจนกว่าข้อตกลงด้านสิทธิพลเมืองที่ชาวโรฮิงญาเรียกร้องกับรัฐบาลเมียนมาจะได้รับการตอบรับ

การโจมตีเกิดขึ้นภายหลังคณะกรรมการที่ปรึกษารัฐยะไข่ที่นำโดยอดีตเลขาธิการสหประชาชาติ โคฟี อันนัน ส่งรายงานเสนอแนวทางแก้ไขความขัดแย้งในรัฐยะไข่ที่ให้คำแนะนำแก่ทางการเมียนมาร์ให้ทหารออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อข้อกล่าวหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนและเร่งให้เกิดแผนการสร้างพลเมืองโดยเร็ว

จากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในคืนวันพฤหัสบดีและเช้าวันศุกร์ที่ผ่านมา ส่งผลให้รัฐบาลเมียนมาระบุให้กลุ่มกองกำลัง ARSA เป็นองค์กรผู้ก่อการร้ายไปแล้ว สำนักข่าวอัลจาซีราของกาตาร์ รายงานว่าทหารได้ประกาศสงครามกับการก่อการร้ายโดยปิดล้อมเมือง Maungdaw Buthidaung และ Rathedaung ที่มีประชากรอาศัยอยู่รวมกันราว 8 แสนคนและประกาศเคอร์ฟิวตั้งแต่ 18.00 - 6.00 น. ทางการเมียนมาระบุว่ามีผู้เสียชีวิตหลังเหตุการณ์ความรุนแรงเมื่อเช้าวันศุกร์กว่า 100 คนแล้ว ทั้งนี้ ผู้สนับสนุนชาวโรฮิงญากลับบอกกับอัลจาซีราว่ามีชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมเสียชีวิตกว่า 800 คน ในจำนวนนี้ได้รวมไปถึงสตรีและเด็กด้วย

อาซิซ ข่าน ผู้พำนักอยู่ในเขตชุมชน Maungdaw กล่าวว่าทหารเข้าจู่โจมหมู่บ้านในเช้าวันศุกร์และเริ่ม “ยิงบ้านและรถของผู้คนอย่างไม่เจาะจง”

“กองกำลังของรัฐบาลและตำรวจชายแดนฆ่าคนในหมู่บ้านไปอย่างน้อย 11 คน พวกเขามาถึงแล้วก็ยิงทุกอย่างที่เคลื่อนไหว ทหารบางคนได้ทำการวางเพลิงด้วย”

“ในหมู่คนที่ตายมีผู้หญิงและเด็ก” เขากล่าว “แม้แต่เด็กก็ไม่ได้รับการละเว้น”


ในขณะที่โรเนซาน-ลวิน นักกิจกรรมและบล็กเกอร์ชาวโรฮิงญาในยุโรปได้ข้อมูลจากเครือข่ายในพื้นที่ว่า การโจมตีดังกล่าวทำให้ประชาชนกว่า 5,000 - 10,000 คน ต้องพลัดถิ่นที่อยู่ มัสยิดและมาดราซาส หรือสถาบันศาสนาอิสลามถูกเผาทำลาย และมีชาวมุสลิมหลายหมื่นคนขาดแคลนอาหารและที่อยู่

เหตุการณ์ความรุนแรงเมื่อปี 2559 กลุ่ม “การเคลื่อนไหวแห่งศรัทธา” หรือ Harakah al-Yaqin ซึ่งเป็นชื่อเดิมของกลุ่ม ARSA ออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อการโจมตีจุดตรวจชายแดนและสังหารเจ้าหน้าที่ตำรวจไป 9 นาย หลังเหตุการณ์ดังกล่าว ตำรวจและทหารตอบโต้ด้วยปฏิบัติการกวาดล้างในพื้นที่ตอนเหนือของรัฐยะไข่ เป็นผลให้ชาวโรฮิงญาถึง 7 หมื่นคนต้องอพยพไปประเทศบังคลาเทศ ปฏิบัติการกวาดล้างดังกล่าวได้รับการกล่าวหาจากองค์กรสิทธิมนุษยชนจากต่างประเทศว่าเกิดการสังหารนอกกระบวนการยุติธรรม การทรมานและการข่มขืน และท่ามกลางความรุนแรง รัฐบาลเมียนมายังคงปฏิเสธให้วีซาเจ้าหน้าที่ค้นหาข้อเท็จจริงจากสหประชาชาติ

แปลและเรียบเรียงจาก

The Irrawady, Urgent Rakhine Proposal Blocked in Lower House, August 28, 2017
Al Jazeera, Rohingya: 'Even a baby was not spared by the army', August 27, 2017
The Irrawady, Muslim Militants Stage Major Attack in Rakhine, August 25, 2017

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก

Asis Times, Rohingya insurgency declares ‘open war’ in Myanmar, August 28, 2017

Posted: 29 Aug 2017 01:06 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)


3 กันยายน 2560 เป็นวันครบรอบการเสียชีวิตครบ 16 ปี ของราชาโฟล์คซองคำเมือง คีตกวีล้านนา คีตกรของแผ่นดิน นกป่า นักรบวัฒนธรรม เพชรล้านนา ฯลฯ หลายต่อหลายคำเรียกขานเขาผู้นี้ “จรัล มโนเพ็ชร”

บทเพลงของเขาหลายต่อหลายเพลง ผลงานของเขาหลากหลายแขนง ถูกจารึกเป็นตำนานหน้าหนึ่งของวงการศิลปิน แม้ว่านักฟังเพลงทั้งหลายมักได้ยินเพลงของเขาที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องราวบนแผ่นดินล้านนา เป็นภาษาคำเมืองอันไพเราะ ละเมียดละไมในดนตรีที่หวานหู ชวนฟัง ทว่าเขาไม่เพียงแต่งเพลงที่เกี่ยวกับล้านนาเพียงอย่างเดียว แต่ยังได้สร้างสรรค์ผลงานเพลงที่เกี่ยวกับด้านอื่น ๆ ด้วย

เนื่องในวาระครบรอบ 16 ปีการจากไปของเขา ซึ่งเป็นศิลปินในดวงใจของผู้เขียน และคงเป็นศิลปินในดวงใจของใครต่อใครมากมาย ผู้เขียนจึงอยากจะกล่าวถึงบทเพลงของเขาในอีกแง่มุมที่เกี่ยวกับด้านอื่น ๆ ที่มิใช่เรื่องราวบนแผ่นดินล้านนา เพื่อเป็นการรำลึกถึงเขาผู้นี้ แม้กายจากไป แต่ฝากผลงานไว้เป็นที่ประจักษ์ ประทับใจ มิรู้ลืม

หากมองในแง่ของอาวุธทางปัญญานั้น บทเพลง บทกวี หนังสือ ถือเป็นเครื่องมือทางวัฒนธรรมที่อาจส่งผลต่อความคิด ความรู้สึกของผู้ฟังได้ไม่มากก็น้อย แม้ว่าอ้ายจรัล มโนเพ็ชร จะเขียนเพลงที่เกี่ยวกับเรื่องราวบนแผ่นดินล้านนาไว้มากมาย เป็นการติดอาวุธทางวัฒนธรรม ทางปัญญาให้ผู้ฟังได้มีความรู้เข้าใจในสังคม วัฒนธรรมล้านนามากขึ้น แต่อ้ายจรัล ก็หาได้ละเลยเรื่องราวทางสังคม การเมือง เพราะในฐานะที่เป็นศิลปิน ผู้ส่งผ่านความคิดเรื่องราว ผ่านเนื้อหาในบทเพลงนั้น อ้ายจรัลก็ได้สร้างสรรค์บทเพลงที่เกี่ยวกับการเมืองไว้ด้วย

หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ผลงานเพลงที่ชื่อว่า “ใบไม้ไหว” ได้ถูกประพันธ์ขึ้น ในอัลบั้มเพลงชุด “อื่อ...จา...จา” ประมาณปลายปี 2526 เนื้อเพลงบางส่วนว่าไว้ดังนี้
“...เพียงแค่มือไม่ยอมจับต้องปืน คงมีทางคืนดีกันได้เพียงแค่ยอมยับยั้ง ชั่งจิตใจ โดยไม่หลงใหลอำนาจตนแล้วจะโทษใคร แล้วสิ่งไหนคือเหตุผลตายไปทีละคน เพียงคนสองคนฆ่าหลายคน ฆ่ากันอีกแล้วหรือไม่ตกใจ ไม่หวั่นไหว ไม่ผวาควรหรือทำเฉยชา หรือคิดว่าเพียงแค่ใบไม้ไหว”

สิเหร่ นักเขียน นักวิจารณ์เพลง เคยสัมภาษณ์อ้ายจรัล เกี่ยวกับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นแรงบันดาลใจในการเขียนเพลงใบไม้ไหว บทสัมภาษณ์ดังกล่าวตีพิมพ์ครั้งแรก ในหนังสือ “อื่อ...จา...จา” (เพื่อนเดินทาง กันยายน 2527) และพิมพ์ครั้งที่สองในหนังสือ “คือรางวัลแด่ความฝัน: จรัล มโนเพ็ชร” (สำนักพิมพ์ใบไม้ป่า กันยายน 2551) ซึ่งอ้ายจรัลได้สะท้อนถึงบรรยากาศของเชียงใหม่ขณะนั้น บทบาทของศิลปินเพลง รวมถึงความรู้สึกต่อเหตุการณ์ดังกล่าวว่า

“สภาพทั่วไปที่เชียงใหม่ มีการชุมนุมที่สวนสาธารณะ ประตูท่าแพ มีการอธิบายโจมตีรัฐบาลชุดนั้น ประชาชนต่างก็สนับสนุนกันมาก...ผมอยู่ปี 5 พอดี เริ่มศึกษาด้านการเมืองเพราะอยู่ในกลุ่มนักศึกษาที่สนใจเรื่องนี้ ผมเองอยากจะรู้เรื่องราวของการเมืองว่าเป็นอย่างไร เริ่มอ่านหนังสือเกี่ยวกับลัทธิการปกครอง การเมือง พออ่านแล้วก็เกิดความเห็นด้วย คิดว่าควรจะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข อะไรต่อมิอะไรได้แล้ว แต่ที่ไม่เห็นด้วยก็เกี่ยวกับความรุนแรง ผมไม่ชอบความรุนแรงอย่างเด็ดขาด ทางด้านกิจกรรมที่ผมสามารถช่วยได้ ก็มีเพลง และเขียนรูป เขียนโปสเตอร์...เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (ช่วงเช้าวันที่ 14 ตุลาคม 2516) การประชาสัมพันธ์ที่ออกข่าว ไม่ตรงความเป็นจริง ผมรู้สึกเสียใจมาก โดยส่วนตัวแล้ว หากตัวเองสามารถทำอะไรได้มากกว่านี้ ก็จะร่วมทำทันที เพียงรู้สึกอย่างหนึ่งว่า ฝ่ายรัฐบาลเขาทำไม่ถูก...ส่วนตัวผมเสียใจมากกับการฆ่ากันครั้งนั้น ผมนอนร้องไห้กับเพื่อน ๆ เมื่อได้ข่าวร้ายนั้น...”

นี่คือ บทบาท และความรู้สึกส่วนหนึ่งของศิลปินเพลงล้านนา ราชาโฟล์คซองคำเมืองผู้ยิ่งใหญ่ต่อเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และทำให้หลายปีต่อมา ภายหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว เขาจึงเขียนเพลง “ใบไม้ไหว” ขึ้นมา ซึ่งจากบทสัมภาษณ์เดียวกันนี้ เขายังได้แสดงความคิดเกี่ยวกับการทำเพลงที่นอกเหนือไปจากเพลงคำเมืองว่า “... ผมมีความคิดมากขึ้น คิดว่าดนตรี ไม่ใช่ทำให้เรามีความสุขเพียงอย่างเดียว แต่เนื้อหาของบทเพลง ควรมีอิทธิพลต่อผู้ฟังด้วย...” ในแง่นี้จึงถือได้ว่าบทเพลงคืออาวุธทางปัญญา คืออาวุธทางวัฒนธรรม นักรบวัฒนธรรมล้านนาผู้นี้มิเพียงแต่ติดอาวุธทางปัญญา ในเรื่องราว เรื่องเล่าเกี่ยวกับแผ่นดิน ถิ่นเหนือ แต่ได้ติดอาวุธทางปัญญาในเรื่องความคิด สังคม การเมือง ผ่านมาทางบทเพลงของเขาด้วย

ก่อนที่จะจบบทความชิ้นนี้ ผู้เขียนขอนำบทกวีของราชาโฟล์คซองคำเมืองผู้นี้ ที่มีเนื้อหาแฝงความคิดทางการเมือง ที่เขาเคยแต่งไว้มานำเสนอ ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร “มติชน สุดสัปดาห์” ประจำอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม 2527 ปีที่ 7 ฉบับที่ 2339 (3/204) บทกวีนี้ชื่อว่า “เขา”
ครั้งหนึ่งเขาเคยสว่างไสวเขาปลูกดอกไม้ทุกหนแห่งครั้งหนึ่งเขาเคยแข็งแกร่งผาดแผลงไม่พรั่นหวั่นใคร
ดอกไม้ที่เขาปลูกฝังเปล่งปลั่งสุดสวยสดใสแต่เขาเล่าหายไปไหนให้ใครต่อใครอาวรณ์
บัดนี้แสงแดดแผดกล้าอสุราเผ่นผาดสลอนบดดินบังฟ้าเบียดบอนดัสกรกรีฑามากราย
ดอกไม้ที่เขาปลูกไว้กึ่งใบเสื่อมโทรมสลายรอวันดินถมล้มตายเขาหายไปไหนไม่มา
หรือเขาไม่เคยห่วงหวงหรือควงข้างใครอยู่หนาหรือลืมแล้วหรือสัญญาบุปผาร่วงโรยโหยครวญ
ทิ้งคนให้คอยชะเง้อทิ้งเกลอที่เคยปลอบขวัญทิ้งไฟไม่เหลือเถ้าควันสมควรแล้วฤา...วีรชน
จรัล มโนเพ็ชร

ปีนี้ ครบรอบ 16 ปี การจากไปของอ้าย แม้กายจากไปแต่ผลงานที่ฝากไว้มากมายเหลือคณา คิดถึงอ้ายจรัล มโนเพ็ชร เพชรล้านนา เสมอไป



เอกสารประกอบการเขียน

สิเหร่ (เรียบเรียง). (2551). คือรางวัลแด่ความฝัน: จรัล มโนเพ็ชร” (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ใบไม้ป่า.


เกี่ยวกับผู้เขียน: พงศธร นัทธีประทุม เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Posted: 29 Aug 2017 01:12 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)

เล่าประสบการณ์-จริยธรรมคนทำหนัง ชี้สารคดีคือความจริงที่ต้องถกเถียงต่อ เหตุไม่มีรูปแบบตายตัว จากเรื่องราวภายนอกจนเรื่องส่วนตัว ชี้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำทุกชนชั้นเล่าเรื่องตัวเองได้ เปิดมุมหลากหลาย ทำเส้นแบ่งระหว่าง เรื่องแต่ง และ เรื่องจริง พร่าเลือน


ภาพจากเพจ DOC Forum

เมื่อวันที่ 22 ส.ค. ที่ผ่านมา DOC Forum โดยคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดงานเสวนาแลกเปลี่ยนทัศนะกับผู้ผลิตสารคดีชาวไทยถึงพัฒนาการและเทรนด์ของการผลิตงานสารคดีในไทย ณ ห้องออดิทอเรียม ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ร่วมพูดคุยโดยภาณุ อารี ผู้อำนวยการฝ่ายจัดซื้อภาพยนตร์ต่างประเทศบริษัทสหมงคลฟิล์มอินเตอร์เนชั่นแนลและผู้กำกับสารคดีขนาดสั้นและยาวหลายเรื่อง และสมพจน์ ชิตเกษรพงศ์ ผู้กำกับภาพยนตร์สารคดี “หมอนรถไฟ” ดำเนินรายการโดย ญาณิน พงศ์สุวรรณ

สารคดีหมายถึงอะไร


ภาณุ: ถ้าจะให้สรุปเป็นเรื่องที่ยาก ในความคิดผมคือบทบันทึกความจริงที่ถูกถ่ายทอดออกมาด้วยวิธีการตรงไปตรงมาหรืออาศัยเทคนิคการเล่าเรื่องแบบหนัง นำเสนอหลายรูปแบบ แต่โดยพื้นฐานคือความจริง ซึ่งความจริงนี้บริสุทธิ์แค่ไหนต้องมาพูดอีกที

สมพจน์: ตอบยากมากๆ ทุกวันนี้ความเป็นไปได้มันเยอะมาก เรามองกว้างมาก จึงมองว่าอะไรก็เป็นสารคดีเป็นศิลปะได้หมด อ.ที่เคยสอนก็มองว่าหนัง fiction ก็เป็นสารคดี เพราะมันคือการบันทึกการแสดงเรื่องที่จำลองขึ้นมา

คำว่า “สารคดี” จำเป็นต้องมีสาระรึเปล่า

ภาณุ: ประเด็นคือตัวเนื้อหา วิธีการนำเสนอมันเปลี่ยนแปลงไปมาก สารคดีบางเรื่องเป็นการบันทึกความเป็นมาเป็นไปวัฒนธรรมของสังคม สารคดีเกี่ยวกับลิตเติ้ลโพนี่ (Bronies, 2012) เล่าว่าทำไมคนอเมริกันชอบตัวการ์ตูนตัวนี้ วิธีการนำเสนอมันแค่การมีกล้องไปบันทึกเฉยๆ เราอาจสนุกกับพฤติกรรมซับเจคในหนัง คำว่าสาระอาจแทนว่าเราได้เรียนรู้อะไร และมันเปิดโลกทัศน์กับเรา

สมพจน์: คำว่าสาระเอาไปตีความได้อีกว่าแค่ไหนคือสาระ documentary documentation มันต่างยังไง เช่น หมาวิ่งเฉยๆ เป็นอะไร เราไม่ได้มองว่าสารคดีต้องมีสาระ แค่การบันทึกก็เป็นสาระได้แล้ว อย่างย้อนไปหกสิบปีมีคนมาบันทึกภาพในเมืองไทย พอเราดูในตอนนี้ก็จะรู้สึกมีคุณค่าบางอย่าง อาจดูเหมือนไม่มีคุณค่าในตอนนั้นแต่ถึงจุดหนึ่งมันจะมีคุณค่าบางอย่าง

ภาณุ อารี (ภาพจากเพจ DOC Forum)

เพราะอะไรถึงสนใจทำสารคดี

ภาณุ: ผมอยู่ในยุคที่เป็นยุคปลายของการใช้ฟิล์ม ถ้าฟิล์มยังนิยมผมคงไม่มีโอกาสได้ถ่าย เพราะฟิล์ม 16 มม. ราคาแพง ขั้นตอนยุ่งยาก ผมอยู่ในยุคกล้องซุปเปอร์ 8 (กล้องฟิล์ม 8 มม. ซึ่งมีขนาดเล็ก พกพาสะดวก) และคนที่มีอิทธิพลมากคือ คุณเจ้ย (อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล) มีโอกาสได้ดูหนังที่พี่เจ้ยทำแล้วเปิดโลกเรามาก มันเปลี่ยนโลกทัศน์เราเลย เพราะเมื่อก่อนเราติดภาพสารคดีตามทีวี เราตีค่าสารคดีไว้สูงส่งมากๆ เราเคยดูแค่สารคดีเรื่องของธรรมชาติ โลก วัฒนธรรม แต่หนังของพี่เจ้ยเป็นเรื่องส่วนตัว พ่อแม่พี่น้อง ความทรงจำ เป็นเรื่องใกล้ตัวมากๆ เป็นงานที่ผสมระหว่างความเป็นหนังทดลองและสารคดี งานพี่เจ้ยพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นงานที่ใครก็ทำได้ เพียงแต่เราจะพลิกมุมไหน

เช่น หนังสั้นที่ชื่อเรื่องเป็นเบอร์โทรศัพท์ยาวๆ (0016643225059, 1994) พี่เจ้ยบันทึกบทสนทนาระหว่างเขากับแม่ช่วงที่เขาเรียนอยู่ที่อเมริกา คุยกันมีสาระบ้างไม่มีสาระบ้าง แต่วิธีที่เขานำเสนอมีความแหวกแนว เราจึงรู้สึกว่าสารคดีไม่ต้องยึดฟอร์ม ไม่ต้องเขียนเสียงบรรยายภาพไปพร้อมกับภาพแบบที่เคยเรียน

ตอนเด็กที่บ้านชอบถ่ายหนัง 8 มม. บังเอิญมีหนังชุดหนึ่งถ่ายตอนเป็นเด็กแล้วไปเที่ยวแดนเนรมิต ปี 2000 แดนเนรมิตปิดตัว เลยคุยกับพี่เจ้ย เขาบอกว่าทำไมไม่เอาภาพฟุตเทจนี้มาทำ แล้วลองไปสัมภาษณ์คนนู้นคนนี้ เพราะตอนนั้นเราอายุ 4-5 ขวบ เราจำอะไรไม่ได้เลย ก็เลยต้องไปตามหาความทรงจำ สัมภาษณ์ผู้คน ลองเอาภาพที่มีอยู่มาผสมกัน พอทำแล้วรู้สึกมาถูกทาง ไม่จำเป็นต้องไปค้นคว้าอะไรมากมาย สมัยนั้นกล้อง ที่อัดเสียงก็ดีขึ้น สะดวกแก่การพกพา รู้สึกค้นพบทาง ออกมาเป็นหนังสารคดีเรื่อง “แดนเนรมิต”


สมพจน์ ชิตเกษรพงศ์ (ภาพจากเพจ DOC Forum)

สมพจน์: ตอนปริญญาตรีไม่ได้เรียนด้านหนัง แม่กับพ่อเป็นคนพาเข้าไปดูหนังตั้งแต่เด็ก จริงๆ อยากเป็นอนิเมเตอร์ เรียนสถาปัตย์จบแล้วก็ไม่อยากทำด้านนี้ มีกล้องวิดีโอตัวหนึ่ง ไปดูตามเทศกาลมูลนิธิหนังไทย ก็มีเรื่องแปลกๆ เราเลยทำหนังโดยถ่ายเพื่อนคนหนึ่งบ่นๆไปเรื่อยๆ เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม เทรนด์ของคนสมัยนั้น ฯลฯ เขาบ่นไปสักพักเสียงเขาก็เฟดไป กลายเป็นเสียงเราวิจารณ์เขาอีกที ทำเสร็จตัดเสร็จในวันเดียว แล้วก็ส่งมูลนิธิฯ ซึ่งก็ไม่ได้เข้ารอบอะไรหรอก

จากนั้นก็ไปฝึกงานกับพี่เจ้ย ได้ดูหนังพี่เจ้ยก็รู้ว่าความเป็นไปได้มันอะไรอีกเยอะมาก เลยอยากทำหนังที่จริงจังมากขึ้น ตอนนั้นมูลนิธิฯ มีโครงการทำหนังสั้นเรื่อง “ลอยฟ้า” ตีโจทย์ยังไงก็ได้ เพื่อนในกองถ่ายยืมกล้องไปถ่ายงานบุญบั้งไฟที่บ้านของเขาจังหวัดสุรินทร์ เราจึงขอฟุตเทจของเขามาทำเป็นหนังเรา แลกกับว่าเราจะตัดหนังให้เขาอีกเรื่องหนึ่งโดยใช้ฟุตเทจเดียวกันที่มี มันจึงเป็นหนังเราที่เราไม่ได้ถ่ายเอง แบ่งเป็นสองท่อนคล้ายกับหนังพี่เจ้ยในยุคนั้นเลย ครึ่งแรกพูดเรื่องการเดินทางไปอวกาศ กับฟุตเทจภาพคนมองฟ้า เราตัดภาพบั้งไฟออกทั้งหมด ท่อนสองพูดเรื่องวิถีชาวบ้านไม่มีการบรรยายแต่เป็น text วิ่งบนจอ คล้ายรายงานข่าว เราพยายามเล่นฟอร์มของความเป็นหนัง มันมีความเป็นสารคดี และการรายงานข่าว ย้อนแย้งระหว่างอนาคต ความก้าวหน้า และ อดีต วัฒนธรรมดั้งเดิม จึงอาจเป็นสารคดีทดลองในแง่ที่มันบันทึกชีวิตจริง แต่ขณะเดียวกันก็มีฟอร์มอย่างอื่นที่ไม่เชิง fiction แต่ก็ไม่ใช่สารคดีทั่วไป ออกมามันก็ประสบความสำเร็จ ได้ไปเทศกาลต่างๆ หลังจากนั้นก็ทำสารคดีเชิงทดลองมาตลอด
การเกิดสารคดีที่ผสมเรื่องแต่ง งานสารคดีไม่จำเป็นต้องยึดติดกับการเล่าตรงไปตรงมา สามารถพลิกแพลงได้ การพลิกแพลงมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

สมพจน์: การมี fiction มาอยู่ในสารคดีจริงๆ เป็นขนบที่ทำมานานแล้ว อย่างการเป็นละครจำลองเหตุการณ์นั้นขึ้นมาเพราะไปถ่ายเหตุการณ์จริงไม่ได้ สารคดีเป็นภาพยนตร์อย่างหนึ่งเหมือนกัน มีศาสตร์การตัดต่อ ผสมเสียง มีการจัดวาง หนังเป็นความจริงล้วนๆ ไม่ได้อยู่แล้ว

เราไม่ได้เป็นนักข่าวที่ต้องนำเสนอความจริงทั้งหมด หลายคนก็พูดว่าความจริงมันมีหลายชุดอยู่แล้ว การทำสารคดีของเราจึงเป็นการถ่ายทอดความจริงในแบบของเรา แบบที่เราอยากสื่อสาร ดีหรือไม่ดีอาจเกี่ยวกับการเปิดพื้นที่ทางความคิด ความจริงไม่ได้มีชุดเดียว

แต่มันนำไปสู่คำถามว่าภาพข่าว เป็นสารคดีได้มั้ย แต่เราคงไม่นำภาพข่าวไปทำให้มัน abstract ถ้าเราเป็นนักข่าว แต่สารคดีเหมือนทำให้เราค้นหาตัวเองได้มากขึ้น

ภาณุ: อาจมีเส้นแบ่งระหว่าง fiction กับ non-fiction แต่ทุกวันนี้เส้นนี้มันบางลง แต่สุดท้ายตัวหนังจะบอกได้เองว่าน้ำหนักของมันไปอยู่ตรงไหน เช่น #BKKY (นนทวัฒน์ นำเบญจพล, 2016) การนำเรื่องสัมภาษณ์มาแต่งใหม่ มีนักแสดงมาแสดง ก็ยังอาจเป็นสารคดี แต่ก็มีหนังที่เห็นว่าการถ่ายแบบสารคดีอาจทำให้มีพลัง เช่น เปรตเดินดิน (Cannibal Holocaust, 1980) ตอนหนังเปิดตัวคนก็เชื่อว่าเป็นเรื่องจริง แต่สุดท้ายคือเทคนิคอย่างหนึ่ง

ตรงข้ามกับหนังปัจจุบันเช่น Cartel Land (2015) ที่เกี่ยวกับเรื่องค้ายา มันสนุกเหมือนเป็นหนังจริงๆ เลย คนทำอาจมองว่าวิธีเล่าแบบนี้มันอาจได้กลุ่มผู้ชมกว้างกว่า สนุกกว่า

ผมรู้สึกว่าถ้ามองในมุมหนึ่งมันคงมีเส้นแบ่ง แต่ในความคลุมเครือของเส้นแบ่งก็คงเป็นเรื่องความสนุกของคนดูและคนทำ คนดูหลอกคนทำสำเร็จ คนทำจับไต๋คนดูได้

สมพจน์: อยากเสริมว่าเทศกาลสารคดีเดี๋ยวนี้ไม่แบ่งอีกต่อไปแล้วว่าอันไหนคือสารคดีหรือเรื่องแต่ง อย่าง True/False Film Festival ชื่อเทศกาลก็บอกอยู่แล้วว่าอะไรจริงอะไรไม่จริงมันแยกยาก เช่น หนังที่เราชอบมากในเทศกาล เราพบว่ามันไม่ได้เป็นสารคดีเลย ยกตัวอย่างเช่น เรื่องหนึ่งตามถ่ายครอบครัวครอบครัวหนึ่งอยู่แต่ในบ้านแคบๆ เรื่องราวเข้มข้นดุเดือดมาก ลูกทะเลาะกัน แม่ร้องไห้ เรารู้สึกสุดยอดมาก ถ่ายได้ยังไง ตัวละครไม่ aware กล้องเลย แล้วพอมาคุยกับโปรแกรมเมอร์ เขาบอกว่าผู้กำกับ manipulate เหตุการณ์ทั้งหมดเลย เช่น ให้คุยเสียงดังขึ้น หรือบอกให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้สิ ไม่แน่ใจว่าดีกรีถึงตรงไหนแต่การมีผู้กำกับในบ้านหลังนั้นมีผลมากทำให้ตัวละครแสดงออกแบบนี้ เราไม่แน่ใจว่าเราชอบหนังน้อยลงไหม แต่เราได้ตั้งคำถามกับความเป็นสารคดีมากขึ้น

อีกเรื่องจิตแพทย์คุยกับแม่กับลูก ทุกคนเปิดใจ เข้มข้นมาก ตอนจบขึ้นว่าเนื่องจากเป็นเหตุผลทางศีลธรรม เราไม่สามารถถ่ายการบำบัดจริงๆ ได้ ทั้งหมดคือการแสดง แต่เราคิดว่าทุกอย่างมันจริงมาก จนเรามานั่งคิดว่าที่ขึ้นว่าเป็นการแสดงจริงๆ โกหกเรารึเปล่า เขาพยายามปิดบังเพื่อป้องกันซับเจคหรือเปล่า

สมัยก่อนอุปกรณ์มันใหญ่มาก ต้องมีอุปกรณ์บันทึกเสียงอีก แต่พอการมาถึงของกล้องฟิล์ม 16 มม. กล้องมันเล็ก เราเริ่มเข้าไปถ่ายที่ไหนก็ได้ ยุคนั้นก็มีคนที่เชื่อว่ากล้องนี่แหละทำให้ความจริงเปิดเผยขึ้น คนไม่เปิดเผยตัวตน แต่การมีอยู่ของกล้องทำให้คนเปิดเผย แสดงออกมากขึ้น แต่พอมายุคนี้คนรู้จักกล้องมากขึ้น เล่นกับกล้องได้มากขึ้น คนเริ่มรู้ว่ามีการเปิดเผยตัวตนผ่านกล้องเป็นอย่างไร รู้ว่าจะวางตำแหน่งตัวเองต่อหน้ากล้องอย่างไร เปิดเผยตรงไหนไม่เปิดเผยตรงไหน

อุปกรณ์การถ่ายทำมีผลต่อผลงานที่ทำหรือไม่ มีผลต่อแนวทางหนังหรือเปล่า

ภาณุ: อุปกรณ์มีผล แต่ที่สำคัญกว่าคือวิธีคิด เช่น เหตุการณ์พฤษภา 53 เราจะพบว่ามีฟุตเทจมากมายในเน็ต อาจจะไม่ต้องถ่ายเองก็ได้ เป็นยุคที่กล้องย่อขนาดเข้าไปอยู่ในมือถือ ทุกคนสามารถถ่ายได้หมด เราเห็นตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้ายของเหตุการณ์ ถ้าเราเล่าดีๆ อาจจะได้มุมมองที่น่าสนใจ อุปกรณ์กล้องอาจไม่ต้องดีที่สุดก็ได้

ขณะเดียวกันสารคดีบางประเภทกล้องดีก็อาจนำเป็น เช่น หนังของอุรุพงษ์ (อุรุพงษ์ รักษาสัตย์) ซึ่งต้องสวยงาม ขึ้นอยู่กับประเภทที่เราจะเล่า ที่สำคัญคือความคิดเราจะเล่าอะไร ช่องทางสารคดีมันไปได้ไกล การได้ดูเยอะๆ ช่วยสร้างความกระจ่างให้ความคิดเรา

สมพจน์: หมอนรถไฟถ่ายด้วยกล้อง Mini DV Canon XL2 เห็นได้ชัดว่าคุณภาพของภาพสู้ HD ไม่ได้ ตอนนั้นเราถอดใจว่ามันคงเป็นหนังโบราณๆ แต่ตอนนี้กลับชอบที่นอกจากบันทึกรถไฟโบราณๆ แล้วภาพก็ยังอยู่ในยุคสมัยนั้น

สมัยนี้เทคโนโลยีเข้าถึงมือคนได้มากขึ้น กล้องไม่แพงมากก็มีภาพและเสียงที่มีคุณภาพ ทำให้ชนชั้นไหนก็เล่าเรื่องของตัวเองได้ดีมากขึ้น สร้างวิสัยทัศน์ใหม่ๆ ได้มากขึ้น ยุคที่สารคดีไม่ได้อยู่ในรูปแบบหนังหรือรายการทีวี กลายเป็นทุกคนอยากถ่ายอะไรก็ถ่ายได้

โกโปร โดรน มันทำให้เราเห็นภาพในมุมมองใหม่ๆ เช่น มีการเอากล้องไปติดหัวเหยี่ยว ภาพที่ได้ก็จะแปลกตาเป็นมุมมองที่มนุษย์ไม่เคยเห็นถ้าไม่มีเทคโนโลยีแบบนี้

ภาณุ: แต่ผมยังคิดว่าการเล่า การนำเสนอ จะได้รับการยอมรับและพูดถึงหรือไม่ คนดูก็ตัดสินได้ บางทีไวรัลก็อาจดีก็ได้ แต่สุดท้ายคนดูจะบอกได้เองว่างานประเภทไหนที่ทรงพลัง หรืองานที่ดูจบตื่นเต้นแล้วสุดท้ายคนก็ลืมมันไป


ญาณิน พงศ์สุวรรณ (ภาพจากเพจ DOC Forum)

สุดท้ายคนดูจะแยกเรื่องจริงออกจากเรื่องไม่จริงอย่างไร เช่น ไวรัลต่างๆ

สมพจน์: สุดท้ายเราว่ามันก็ต้องแยก แต่ก็ยากที่จะบอกว่าอะไรจริงไม่จริง แต่อย่างเราไม่เคยเชื่อไวรัลพวกนี้เลย อาจเพราะเราเรียนภาพยนตร์มา เราจะมีเซ้นส์ว่า ทำไมเสียงดีกว่าปกติ อัดเสียงยังไง หรือการแสดงอันนี้ไม่เนียน แต่แน่นอนเราไม่สามารถเชื่อตัวเองได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เราห้ามเทรนด์นี้ไม่ได้ สุดท้ายเทคโนโลยีก็ดีขึ้นเรื่อยๆ คนดูก็จะถูกหลอกได้มากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นคนต้องตระหนักว่าไม่สามารถเชื่ออะไรได้ร้อยเปอร์เซ็นต์อีกแล้ว

อย่างสำนักข่าว CNN เขาเครียดมากเวลามีคนส่งคลิปข่าวมา เพราะเขาไม่สามารถยืนยันได้เลยว่าจริงไม่จริง เขาต้องพิสูจน์อย่างหนัก เขามีสำนักงานตรวจสอบคลิปพวกนี้ว่าจริงหรือไม่จริง แต่เขาก็บอกว่าตรวจจับได้ในระดับหนึ่ง อย่างเก่งก็ 30-40 เปอร์เซ็นต์ จึงอาจบอกได้ว่าเราอยู่ในยุคที่ไม่สามารถเชื่ออะไรแล้วว่าจริงหรือไม่จริง

หรือ Adobe เพิ่งออกโปรแกรมใหม่ ที่วิเคราะห์วิธีการเปล่งเสียง น้ำเสียง ยิ่งมีข้อมูลวิเคราะห์มากโปรแกรมก็ยิ่งแม่นยำ คุณสามารถพิมพ์ประโยคอะไรก็ได้ แล้วโปรแกรมก็จะพูดออกมาเป็นเสียงคนคนนั้น ประโยชน์ก็คือใช้งานในภาพยนตร์ คือการพากย์เสียงใหม่ ADR (Automated Dialogue Replace) โดยไม่ต้องเรียกนักแสดงตัวจริงซึ่งอาจค่าตัวแพงมาอัดเสียงใหม่ แต่ก็อาจมีความอันตรายที่จะเกิดขึ้น เช่น หากมีกรณีขึ้นโรงขึ้นศาลฟ้องร้องเรื่องการพูด คนอาจเคลมได้ว่า ไม่ได้พูด นี้เฟค ใช้โปรแกรม

ภาณุ: ผมมองว่าถ้าเรารู้แล้วว่านี่คือปัญหา มันอาจเป็นความสนุกที่จะค้นหาว่ามันคือความจริงหรือไม่จริง เช่น เราดูหนังเรื่องหนึ่งไม่แน่ใจว่าเรื่องจริงไหม เราก็ไปค้นคว้าดู เราก็ได้ความรู้

แต่ผมว่ามันก็เป็นความน่ากลัว เส้นระหว่างความจริงไม่จริงมันอาจกลายเป็นเส้นเสมือน สุดท้ายแล้วอาจไม่มี แต่เราก็ต้องหาแว่นขยายมาดูเพราะสุดท้ายผมเชื่อว่ามันก็มีความจริงไม่จริงอยู่ บางทีคนทำหนังก็อาจต้องมาเรียนรู้เรื่องจริยธรรม อันไหนควรทำไม่ทำ มันไม่ผิดแต่คนดูต้องตระหนัก ถ้าเขาไม่อยากเป็นเครื่องมือเขาก็ต้องมีการสืบค้น เรียนรู้ว่าความจริงคืออะไร

เรื่องจริยธรรม ทุกคนที่ถูกเราถ่ายต้องยินยอมไหม

ภาณุ: ต้องแบ่ง ถ้าเป็นซับเจคหลักก็ต้องมีการพูดคุยกับเขา ขึ้นอยู่กับว่าเราเข้าหาเขาอย่างไร หลอกเขามั้ย ถ้าเป็นส่วนเล็กๆ ที่กล้องแพนไปคงไม่จำเป็นต้องขออนุญาต

คนทำหนังต้องให้เกียรติให้ความเคารพต่อซับเจคด้วย เช่น เคยไปถ่ายหญิงมุสลิม มีอากัปกิริยาบางอย่างที่อาจไม่เหมาะกับความเป็นมุสลิม เราก็เอาไปให้เขาดู เขาโอเคให้ฉายได้ แต่พอฉายกลับโดนโจมตีจากกลุ่มมุสลิมที่เคร่ง เราจึงอาจต้องดูว่าฉายได้ที่ไหนบ้าง สุดท้ายต้องต่อรองกับตัวซับเจค เราเลือกทำสารคดีซับเจคก็เสี่ยงกับเราด้วย เช่น เรื่องการเมือง เราอาจได้หนังที่พูดแรงพูดตรง แต่ผลกระทบก็ต้องคำนึงด้วย

สมพจน์: ตอนถ่ายหมอนรถไฟ คำว่าจริยธรรมก็อยู่ในหัวตลอดเวลา หมอนรถไฟไม่ได้ตามตัวละครตัวไหนเป็นพิเศษ ทุกวันที่ไปถ่ายก็เจอคนแปลกหน้าตลอดเวลา เราต้องถามตัวเองตลอดตอนถ่าย ตอนตัด เราเลือกภาพที่รู้สึกโอเค ไม่ไปเสนอภาพที่เขาไม่ดีเกินไป แต่หนึ่งคือกล้องเราใหญ่ทุกคนรู้ เวลาหันหน้ากล้องไปทุกคนต้องรู้อยู่แล้ว เราจึงถือว่านั่นเป็นการขออนุญาตกลายๆ (หัวเราะ) สองคือเราพยายามไปขอชื่อทุกคนมาใส่ในเครดิต แต่สุดท้ายตัดต่อออกมาชื่อที่อยู่เครดิตก็อาจมีหรือไม่มีในหนัง

เราคิดว่าหนังเรื่องนี้ถ้าไปถ่ายในยุโรปคนยุโปต้องโวยวายแน่ๆ คนเอเชียเปิดกว้างในเรื่องนี้มากกว่า มีบางประเทศที่คุณอยู่ในพื้นที่สาธารณะคุณสามารถถูกถ่ายได้ไม่ผิดกฎหมาย หรือมันมีหนังบางเรื่องที่ไปถ่ายคนที่ชั่วร้ายมาก พอหนังฉายเขาฆ่าตัวตาย ไม่รู้เพราะแรงกดดันเกี่ยวกับหนังรึเปล่า หรือเรื่อง The Act of Killing (2012) ที่ตามถ่ายคนที่ฆ่าล้างคอมมิวนิสต์ในอินโดนิเซีย บางทีอาจเหมือนการไปถ่ายความชั่วร้ายของเขา บางครั้งมันอาจทำให้หนังกลายเป็นศาลเตี้ยรึเปล่า ซึ่งส่วนตัวเราดูหนังพวกนี้ได้ แต่ให้ทำคงทำไม่ได้

ข้อแนะนำ

ภาณุ: เมื่อก่อนเคยเชื่อว่าสารคดีไม่ต้องวางแผน แต่ถึงเวลาจริงๆ ยิ่งเราไม่วางแผนปัญหาจะมาอยู่ในตอนท้าย ยิ่งเรามีตัวเลือกเยอะความปวดหัวก็ยิ่งเยอะ ทำให้ยิ่งเกิดความขัดแย้ง การวางแผนคือเราอยากเห็นอะไรอยู่ในสารคดีนั้นบ้าง แล้วเราค่อยเดินไปถ่าย เช่น รู้ว่าวันนี้ต้องไปถ่ายอะไร เราก็ต้องนั่งลิสต์ว่าอยากเห็นภาพไหนบ้าง แต่พอไปถ่ายในสถานการณ์จริงมันอาจไม่เป็นอย่างที่เราคิด แต่เรากำหนดได้คร่าวๆ ว่าจะโฟกัสที่ไหน ข้อดีคือไม่ต้องถ่ายเยอะ แต่รู้ว่าจะถ่ายอะไร ประหยัดงบมากขึ้น รู้ว่าเราจะเริ่มต้นและจบอย่างไร เขียนบทไว้ก่อนอาจไม่ใช่เรื่องผิด สมมติฐานอาจต้องตั้งไว้ก่อน การถ่ายไปก่อนแล้วค่อยไปตัดทีหลัง ถึงตอนนี้ผมว่าไม่ใช่ความคิดที่ถูกต้อง

สมพจน์: การวางแผนสำคัญมาก แต่ขึ้นอยู่กับว่าเราจะถ่ายทอดอะไร อย่างไรด้วย เช่น ทำสารคดีขอทุน ทุนบอกให้เขียนบทมาให้ดู สิ่งที่นักทำสารคดีจะทำคือจินตนาการเอาว่าซับเจคจะทำอะไรบ้าง เหมือนแต่ง fiction ขึ้นมา สำหรับเรามันประหลาดมาก

อย่างหมอนรถไฟมันทำอย่างนั้นไม่ได้ เราไม่ได้ตามตัวละครไหนเป็นพิเศษ สิ่งที่เกิดขึ้นคือสิ่งเล็กๆ น้อยๆ มาประกอบกัน เราเดาไม่ได้ว่าเขาจะทำอะไรเมื่อไหร่ อาจใช้แค่สิบวินาทีจากที่ถ่ายเขา 10-20 นาที สิ่งที่ทำได้คือ ดูว่าหนังขาดอะไร แล้วเราก็รู้สึกหนังยังขาดนักเรียน นักท่องเที่ยว เด็ก อยู่นะ เราไม่รู้ว่าเขาจะทำอะไรน่าสนใจตอนไหน เลยต้องถ่ายทิ้งไปเรื่อยๆ จึงเป็นปัญหา ใช้เวลามากในการตัดต่อ

จริงๆ ไม่แนะนำในการทำอย่างนี้ เพราะมันเหนื่อย การวางแผนมันช่วยได้เยอะ แต่บางครั้งก็ต้องอิมโพรไวซ์ แต่การมีอะไรให้เกาะเราก็จะไม่หลง ถ้ายึดการทำหนังสารคดีเป็นอาชีพมันจะมาล่องลอยแบบเราไม่ได้

แนวสารคดีไทยเพิ่มเติมที่อยากเห็น

ภาณุ: สารคดีที่พูดถึงประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ไม่ไกลมาก มีวัตถุดิบมากพอที่จะเอามาเล่า และยังไม่ถูกแต่งเติม น่าสนใจที่เอามาเล่าในมุมคนรุ่นใหม่ อีกประเภทคือสารคดีที่สามารถเชื่อมโยงโลกได้ ในเชิงพาณิชย์มันอาจขายได้ สารคดีอาจอยู่ได้นานกว่าหนัง fiction อีก ยุค Netflix หนังขนาดกลางหายไป แต่สารคดียังมีที่ทางของมัน เช่น สารคดีอาหารที่ดูแล้วสนุก เช่น Jiro Dreams of Sushi (2011) Tsukiji Wonderland (2016) หรือสารคดีดนตรี สารคดีที่พูดถึงวัฒนธรรมร่วมสมัย ไม่อยู่ในกรอบเดิม ถ้าบ้านเรามีอาจทำให้วงการมันคึกคัก รวมถึงตลาดโลก

สมพจน์: วงการหนังไทยมันมีแบบตลาดไปเลย กับศิลปะไปเลย อาจขาดสิ่งที่อยู่กึ่งกลาง สารคดีที่สนุกเข้าถึงแมสแต่ก็มีคุณค่าทางศิลปะ เรายังไม่มีคนทำสารคดีที่มาในเชิงวิชาการ เจอนัลลิสต์ สารคดีเมืองนอกมีเชิง investigate หรือเชิงวิชาการอย่างหนัง essay film คนทำหนังไทยสนใจศิลปะมากกว่าวิชาการลึกๆ แต่ส่วนหนึ่งประเทศไทยก็อาจมีข้อจำกัดเยอะ เจอตอที่อาจไปต่อไม่ได้แล้ว เป็นเรื่องน่าเสียดาย แต่อยากเห็น

หมอนรถไฟ (Railway Sleepers)

คือ ภาพยนตร์สารคดีขนาดยาวเรื่องแรกของ สมพจน์ ชิตเกษรพงศ์ ใช้เวลาทำอยู่นานถึง 8 ปี ได้ฉายรอบเวิลด์ พรีเมียร์ที่ เทศกาลภาพยนตร์ปูซาน เมื่อปลายปี 2016 ตามมาด้วยการถูกคัดเลือกเข้าฉายในสายฟอรัม ของเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน 2017

เกี่ยวกับการทำเสียงในเรื่องหมอนรถไฟ

หมอนรถไฟถือเป็นหนังสารคดีที่ทำเรื่องเสียงค่อนข้างดีมาก สมพจน์เล่าว่าใช้ไมค์ช็อตกัน หรือบางทีให้ผู้ช่วยช่วยถือไมค์บูมที่ต่อกับหัวกล้องบ้าง เสียงที่ลมตีก็มีเยอะ เสียงที่โอเคก็มี แต่ขั้นโพสต์ใช้เวลาตัดต่อและปรับแต่งเรื่องเสียงนานมาก

ทำไมเลือกรถไฟ

สมพจน์เล่าว่า เกิดจากตอนไปเรียนอเมริกาต้องขึ้นรถไฟไปเรียน เราเห็นเด็กถามพ่อ เราฟังไม่รู้เรื่องแต่เข้าใจว่าเขาถามอะไร เด็กมีความซื่อในการถาม ส่วนรถไฟมันพาเราไปทุกที่ในประเทศไทย ไอเดียตอนแรกของหนังจะถ่ายสิบครอบครัว สลับกับภาพวิว พอมาถ่ายจริงก็รู้สึกมีอย่างอื่นน่าสนใจไม่ใช่แค่เด็ก และอาจารย์เราเคยบอกว่านักศึกษาข้อเสียคือไม่มีเงิน แต่ข้อดีคือมีเวลา

ซีนทดลองตอนท้าย

สมพจน์กล่าวว่า พยายามหาวิธีเล่าประวัติศาสตร์รถไฟไทย รู้สึกมันสำคัญแต่ไม่แน่ใจว่าจะเอาไปอยู่ในหนังอย่างไร เราไม่อยากให้เป็นสารคดีประเภทการรถไฟไทยเกิดขึ้นเมื่อไหร่แบบมีเสียงบรรยาย

ไปเจอหนังสือเล่มหนึ่งที่เขียนโดยวิศวกรอังกฤษที่ทำงานการรถไฟไทยมาตั้งแต่เริ่มต้น เล่าด้วยคนจริงๆ เราอยากเอาคนๆนี้เข้าไปอยู่ในรถไฟ วิธีการคือเราก็สร้างเขาขึ้นมา แต่เราเอาเขาไปรวมกับผู้โดยสารทั้งหมด และให้เขาพูดสิ่งที่เรารีเสิร์ชขึ้นมา อยากเล่นกับฟอร์มของความเป็นสารคดีเป็นความสนใจส่วนตัว การที่มันเป็นความฝันๆ หลอนมันเป็นประวัติศาตร์ในแง่มุมของเรา

Posted: 29 Aug 2017 03:06 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)

อนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขต กทม. ถกแนวทางรองรับการให้บริการประชาชน หลัง รพ.เอกชนถอนจากระบบบัตรทอง ประธาน อปสข.เผย ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจาก รพ.ในแต่ละสังกัดทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเข้ามาดูแลประชาชน ขอวางใจว่าจะได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานเดิม


29 ส.ค. 2560 รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ (29 ส.ค.60) ที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถ.แจ้งวัฒนะ สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ประธานอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร (อปสข.เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมว่า การประชุมในวันนี้ คณะอนุกรรมการฯ ได้หารือแนวทางการดูแลประชาชนเพื่อรองรับหลังจาก รพ.มเหสักข์ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้ลาออกจากการเป็นหน่วยบริการภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) และ รพ.แพทย์ปัญญา, รพ.บางนา 1, รพ.กล้วยน้ำไท และ รพ.วิภารามปากเกร็ด ซึ่งเป็นหน่วยบริการในระบบไม่ขอเป็นหน่วยรับส่งต่อให้คลินิกชุมชนอบอุ่นบางแห่ง ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้ เป็นต้นไป

สมศรี กล่าวต่อว่า การหารือครั้งนี้ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อร่วมให้บริการสุขภาพประชาชนอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงกลาโหม, กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักการแพทย์ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร และโรงพยาบาลเอกชน รวมถึงหน่วยบริการเอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครในการเข้ามาดูแลประชาชน จึงขอให้ประชาชนวางใจว่าจะได้รับบริการสุขภาพตามมาตรฐานเหมือนเดิม โดยมี รพ.แต่ละสังกัดได้ตอบรับการให้บริการประชาชนอย่างต่อเนื่องดังนี้

1. รพ.ในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ได้แก่ รพ.กลาง, รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ และ รพ.สิรินธร

2. รพ.ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ รพ.เลิดสิน, รพ.นพรัตนราชธานี และ รพ.ราชวิถี

3. รพ.ในสังกัดกระทรวงกลาโหม ได้แก่ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช, รพ.พระมงกุฎเกล้า

4. สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่

5. โรงเรียนแพทย์ ได้แก่ รพ.วชิรพยาบาล และ รพ.จุฬาลงกรณ์

6. รพ.เอกชน ได้แก่ รพ.มงกุฎวัฒนะ และ รพ.อนันต์พัฒนา 2

7. หน่วยบริการรับส่งต่อ และคลินิกอบอุ่นในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่เกี่ยวข้อง

“ประชาชนผู้มีสิทธิบัตรทองที่ รพ.มเหสักข์ และเครือข่ายของ รพ.มเหสักข์ สามารถเข้ารับบริการได้ถึงวันที่ 30 กันยายน 2560 หลังจากนั้น สปสช.เขต 13 กทม.จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงหน่วยบริการประจำให้ใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 เป็นต้นไป แต่หากประชาชนไม่สะดวก ก็สามารถขอเปลี่ยนแปลงหน่วยบริประจำได้ตามสถานที่ต่างๆ ได้ ในส่วนคลินิกชุมชนอบอึ่นที่ได้รับผลกระทบจากหน่วยบริการรับส่งต่อนั้น อปสข.เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้ประสานงานกับ รพ.ต่างๆ ได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยประชาชนไม่ต้องวิตกกังวล” สมศรี กล่าว

ทั้งนี้ สถานที่ที่สามารถขอเปลี่ยนแปลงหน่วยบริการประจำ ดังต่อไปนี้

1) จุดรับลงทะเบียนบัตรทองที่สำนักงานเขต 19 เขต ที่เปิดให้บริการ ให้บริการในวันจันทร์– วันศุกร์ เวลา 08.00 –16.00 น. (สอบถามเขตที่เปิดให้บริการ โทร.1330 หรือตรวจสอบข้อมูลได้ที่http://bkk.nhso.go.th คลิ๊กเลือก สำหรับประชาชน เลือกแผนที่จุดรับลงทะเบียน 27 เขต)

2) จุดรับลงทะเบียนบัตรทอง ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง ชั้น 1 ด้านข้างประชาสัมพันธ์ ให้บริการทุกวันเวลา 08.00 – 19.00 น.

เอกสารประกอบการลงทะเบียน ได้แก่ สำเนาบัตรประชาชนเพียงใบเดียว กรณีที่เป็นเด็กใช้สูติบัตรเด็กและสำเนาบัตรประชาชนของผู้ปกครอง


Posted: 29 Aug 2017 05:07 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)

นักวิจัยเผยกฎหมายควบคุมของเสียอุตสาหกรรมไทยมีครบถ้วน แต่บังคับใช้ย่อหย่อน โทษปรับต่ำ ผู้ทำผิดไม่เกรงกลัว ซ้ำสั่งปิดโรงงานหรือเพิกถอนใบอนุญาตยาก แม้กระทำผิดซ้ำซาก แนะปรับปรุงกฎหมายให้มีประสิทธิภาพ ชะลอตั้งโรงงานกำจัดกากจนกว่าจะจัดการปัญหาได้

ปัญหาการจัดการของเสียจากอุตสาหกรรมเป็นประเด็นสิ่งแวดล้อมที่เรื้อรังและสร้างผลกระทบต่อชุมชนในหลายพื้นที่ มีบทเรียนให้เห็นต่อเนื่องนับแต่อดีตถึงปัจจุบัน การจะแก้ไขปัญหานี้ให้ลุล่วง แนวทางด้านกฎหมายและนโยบายเป็นปัจจัยสำคัญ มูลนิธิบูรณะนิเวศได้จัดสัมมนาในหัวข้อ ‘การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการบริหารจัดการของเสียอย่างยั่งยืน’ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2560 ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ

กอบกุล รายะนาคร หัวหน้าโครงการวิจัยและการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการบริหารจัดการของเสียอย่างยั่งยืน กล่าวสรุปสถานการณ์ว่า ณ สิ้นปี 2559 ประเทศไทยมีโรงงานทั้งสิ้น 138,083 โรง เป็นโรงงานจำพวกที่ 3 หรือโรงงานได้รับการพิจารณาว่าก่อมลพิษและต้องขออนุญาตก่อนเริ่มประกอบกิจการ 77,738 โรง ในจำนวนนี้เป็นโรงงานบำบัดและกำจัดของเสีย 1,962 โรง จากการประเมินของกรมโรงงานอุตสาหกรรมคาดว่าจะมีปริมาณกากอุตสาหกรรมอันตราย 3.35 ล้านตันต่อปี และกากอุตสาหกรรมไม่อันตราย 50.3 ล้านตันต่อปี โดยปัญหาที่พบคือกากอุตสาหกรรมจำนวนมากยังไม่เข้าสู่ระบบการรายงานข้อมูล มีการลักล้อบทิ้งขยะอุตสาหกรรม และการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายของผู้ก่อกำเนินกากอุตสาหกรรม ผู้ขนส่ง และผู้รับบำบัดและกำจัดกากอุตสาหกรรม

“เมื่อ 20 ปีที่แล้ว เรามีโรงงานรับกำจัดของเสียเพียงแห่งเดียวคือเจนโก้ แต่ต่อมารัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมโรงงานรับกำจัดของเสียเป็นจำนวนมาก ทำให้จำนวนเพิ่มขึ้นมาเกือบ 2,000 โรงอย่างที่เห็น อย่างในส่วนผู้รับกำจัดและบำบัดก็พยายามให้ได้กากมากที่สุดเพื่อให้ได้รายได้ บำบัดได้หรือไม่ได้ก็รับไว้ก่อน โรงงานรับกำจัดกากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่บางแห่งรับกากอุตสาหกรรมาแล้วก็นำไปทิ้งในบ่อขยะชุมชน เป็นกรณีที่เกิดขึ้นและมีเอกสารราชการยืนยัน” กอบกุล กล่าว

กอบกุลกล่าวอีกว่า กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการกากของเสียอุตสาหกรรมของไทยถือว่ามีความครบถ้วนมาก ทั้งในด้านการกำกับควบคุม วิธีการกำจัด การกำหนดสถานที่ตั้งโรงงาน เป็นต้น แต่กลับมีปัญหาการบังคับใช้ กอบกุลได้ยกตัวอย่างมาตรา 37 ใน พ.ร.บ.โรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ.2535 ที่ระบุเนื้อหาว่า

‘เมื่อมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือการประกอบกิจการโรงงานมีสภาพที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ความเสียหาย หรือความเดือดร้อนแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งให้ระงับการกระทำหรือแก้ไขปรับปรุงภายในระยะเวลาที่กำหนด’

“ถ้าประชาชนร้องเรียนโรงงาน ในกฎหมายก็กำหนดวิธีการแก้ปัญหาไว้ในมาตรา 37 บางกรณีเราพบว่าบางโรงงานถูกร้องเรียน กรมโรงงานฯ ก็เข้าไปตรวจ บางโรงงานถูกร้องเรียนตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบันถึง 20 ครั้ง แต่ละครั้งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่จะออกคำสั่งตามมาตรา 37 คือออกคำสั่งให้ระงับการกระทำหรือแก้ไขปรับปรุงภายในระยะเวลาที่กำหนด โรงงานส่วนใหญ่ก็จะดำเนินการแก้ไขตามระยะเวลาที่กำหนด แล้วก็กลับมาประกอบกิจการเหมือนเดิม เราก็จะพบเหตุการณ์แบบนี้ซ้ำซาก ไม่ว่าจะทำกี่ครั้งๆ ก็ออกคำสั่งตามมาตรา 37 คำถามที่เราได้รับบ่อยครั้งคือทำไมไม่ปิด ทำไมไม่เพิกถอนใบอนุญาต แต่เนื่องจากกฎหมายกำหนดไว้ ถ้าโรงงานแก้ไขตามระยะเวลาที่กำหนดก็ปิดไม่ได้ เราจึงต้องพิจารณาว่าควรมีมาตรการทางกฎหมายที่เข้มงวดกว่านี้หรือไม่ ถ้าเป็นโรงงานขนาดใหญ่ ควรมีอะไรมากกว่ามาตรา 37 หรือไม่”

อีกประเด็นหนึ่งที่กอบกุลเห็นว่าเป็นปัญหาสำคัญคือการมีบทลงโทษที่ต่ำและกฎหมายอนุญาตให้เปรียบเทียบปรับได้ ซึ่งปัจจุบันโทษปรับสูงสุดคือ 2 แสนบาท หมายความว่าหากโรงงานยอมรับข้อกล่าวหาก็จะทำการเปรียบเทียบปรับ ซึ่งส่วนใหญ่จะปรับเพียงหลักหมื่นเท่านั้น มักไม่ค่อยมีการปรับถึง 2 แสนบาทแต่อย่างใด กอบกุลตั้งข้อสังเกตว่า ความผิดอย่างการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม ควรหรือไม่ที่จะอนุญาตให้เปรียบเทียบปรับได้

“ดิฉันคิดว่าถ้าวนเวียนอยู่อย่างนี้ ชำระค่าปรับแค่หลักหมื่นทุกๆ ครั้ง มันก็คุ้มค่าที่จะฝ่าฝืนกฎหมาย เพราะผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมากมาย ค่าปรับพวกนี้เล็กน้อยมาก”

จากงานศึกษาดังกล่าวทำให้มีข้อค้นพบดังนี้

1.แม้จะมีกฎหมายกำกับดูแลค่อนข้างครบถ้วน แต่กลับมีความย่อหย่อนในการบังคับใช้กฎหมาย

2.กฎหมายกำหนดบทลงโทษต่ำมาก ทำให้ผู้ฝ่าฝืนไม่เกรงกลัว

3.กลไกและมาตรการกฎหมายขาดประสิทธิภาพ การสั่งปิดหรือเพิกถอนใบอนุญาตทำได้ยาก

4.มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับและหน่วยงานที่ดูแลหลายหน่วย ไม่เกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกัน

5.ข้อกำหนดการควบคุมสถานที่ตั้งโรงงานขาดความรัดกุม เปิดช่องให้ตั้งโรงงานในสถานที่ไม่เหมาะสม เช่น ใกล้แหล่งน้ำสาธารณะหรือพื้นที่เกษตรกรรม เป็นต้น

6.เอกชนสามารถใช้ใบอนุญาตเก็บขนขยะมูลฝอยที่ได้รับจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เข้าไปเก็บขยะอุตสาหกรรมไม่อันตรายในเขตโรงงานได้ เป็นช่องทางให้เก็บขยะปนเปื้อนออกมาด้วย

7.หน่วยงานอนุญาตและกำกับดูแลเป็นหน่วยงานเดียวกัน ทำให้การป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเป็นไปได้ยาก

8.อปท. ไม่สามารถกำกับดูแลบ่อขยะชุมชนและกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

9.มีการนำเข้าของเสียอันตรายอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการยกเว้นอากรขาเข้าจากข้อตกลงการค้าเสรี

กอบกุลเสนอว่าให้แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.โรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ.2535 กฎกระทรวง และประกาศกระทรวงที่เกี่ยวข้อง โดยให้กำหนดโทษขั้นต่ำสำหรับการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมและการระบายมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม และต้องไม่ให้เป็นความผิดที่เปรียบเทียบปรับได้ ปรับปรุงมาตรา 37 และ 39 ให้สามารถสั่งปิดหรือเพิกถอนใบอนุญาตโรงงานที่กระทำผิดซ้ำซาก กำหนดให้โรงงานรับบำบัดและกำจัดกากอุตสาหกรรมต้องมีการตรวจสอบและรับรองการดำเนินงานจาก Third Party ที่เป็นสถาบันการศึกษาหรือเอกชนที่ได้รับการรับรองจากราชการและจัดทำรายงานส่งกรมโรงงานฯ และต้องกำหนดเรื่องสถานที่ตั้งโรงงานให้รัดกุมกว่าที่เป็นอยู่

นอกจากนี้ กอบกุลยังมีข้อเสนอเชิงนโยบายว่ารัฐบาลควรชะลอการส่งเสริมการตั้งโรงงานบำบัดและกำจัดกากอุตสาหกรรมไปก่อน จนกว่าภาครัฐจะสามารถแก้ปัญหากากอุตสาหกรรมที่ยังไม่เข้าระบบและการลักลอบทิ้งได้อย่างจริงจัง และยกเลิกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 4/2559 เรื่อง การยกเว้นการใช้บังคับกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสำหรับการประกอบกิจการบางประเภท กำหนดให้หน่วยงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะกรมควบคุมมลพิษมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลโรงงาน

กอบกุลยังเสนออีกว่า รัฐควรส่งเสริมสมรรถนะของ อปท. ในการกำกับดูแลกิจการโรงงาน ร้านรับซื้อของเก่า และกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อีกทั้งรัฐต้องติดตามสถานการณ์การนำเข้าของเสียอันตรายว่ามีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร และถูกจัดการในขั้นตอนสุดท้ายอย่างไร

Posted: 29 Aug 2017 05:14 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)

พรรคเพื่อไทย ออกแถลงการณ์ เรื่อง “การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยในอนาคต” หลังจากเหตุการณ์วันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมา ยันยังคงมุ่งมั่นในภารกิจต่างๆ อย่างแน่วแน่ ไม่เปลี่ยนแปลง


29 ส.ค.2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พรรคเพื่อไทย ออกแถลงการณ์ เรื่อง “การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยในอนาคต” หลังจากเหตุการณ์วันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมา ที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ไม่มีฟังคำพิพากษาคดีจำนำข้าว และถูกออกหมายจับนั้น พรรคเพื่อไทย ระบุว่า ยืนยันว่าพรรคมีภารกิจหน้าที่ที่สำคัญที่สุด ซึ่งจะต้องดำเนินต่อไปอย่างมั่นคง การต่อสู้ให้สังคมเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง ยอมรับในสิทธิมนุษยชนและสิทธิ เสรีภาพของประชาชนในการแสดงออกและตรวจสอบนั้น ต้องได้รับการคุ้มครอง และประชาชนต้องได้รับการปฏิบัติจากเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยความใส่ใจ เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ การทำให้พี่น้องประชาชนมีความอยู่ดีกินดี มีชีวิตที่มีคุณภาพมากขึ้น ประเทศได้รับความยอมรับนับถือและเชื่อมั่นจากนานาอารยประเทศ ยังคงถือเป็นภารกิจสำคัญที่พรรคจะยึดมั่นในการดำเนินการต่อไป และการยึดมั่นในแนวทางสันติวิธี และการสร้างความสมานฉันท์ด้วยหลักเมตตาปรารถนาดีต่อกัน

โดยมีรายละเอียดดังนี้ :


แถลงการณ์พรรคเพื่อไทย เรื่อง “การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยในอนาคต”


พรรคเพื่อไทยได้ผ่านร้อนผ่านหนาวผ่านมรสุมอย่างหนัก มาหลายครั้งตั้งแต่การรัฐประหาร พ.ศ. 2549 และ พ. ศ.2557 ทั้งการยุบพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน จนมาถึงพรรคเพื่อไทย แต่สมาชิกพรรคทุกคนยังคงยึดมั่นในการรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข และยังคงรักษาอุดมการณ์และพันธกิจในการสร้างประโยชน์สุขของประชาชนมาโดยตลอด เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 25 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีอดีตนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรซึ่งเป็นบุคลากรที่ทรงคุณค่าของพรรคนั้น พรรคเห็นว่าท่านอดีตนายกรัฐมนตรีคงจะมีคำชี้แจงต่อสาธารณชนเมื่อถึงเวลาอันควรต่อไป

สำหรับพรรคเพื่อไทยนั้น ขอยืนยันว่าพรรคมีภารกิจหน้าที่ที่สำคัญที่สุด ซึ่งจะต้องดำเนินต่อไปอย่างมั่นคง นั่นคือ

ประการแรก การต่อสู้ให้สังคมเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง ยอมรับในสิทธิมนุษยชนและสิทธิ เสรีภาพของประชาชนในการแสดงออกและตรวจสอบนั้น ต้องได้รับการคุ้มครอง และประชาชนต้องได้รับการปฏิบัติจากเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยความใส่ใจ เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ

ประการที่สอง การทำให้พี่น้องประชาชนมีความอยู่ดีกินดี มีชีวิตที่มีคุณภาพมากขึ้น ประเทศได้รับความยอมรับนับถือและเชื่อมั่นจากนานาอารยประเทศ ยังคงถือเป็นภารกิจสำคัญที่พรรคจะยึดมั่นในการดำเนินการต่อไป

ประการที่สาม การยึดมั่นในแนวทางสันติวิธี และการสร้างความสมานฉันท์ด้วยหลักเมตตาปรารถนาดีต่อกัน

พรรคเพื่อไทยเชื่อมั่นว่า จากนี้พรรคเพื่อไทยจะยังคงดำรงความเป็นพรรคการเมืองเพื่อประชาชน ที่จะสร้างความเข้มแข็ง และโอกาสในชีวิตให้แก่ประชาชนต่อไปอย่างไม่ย่อท้อปัญหาอุปสรรคอันหนักหนาที่พรรคกำลังเผชิญอยู่นั้น ยิ่งทำให้พรรค สมาชิก และผู้สนับสนุนมีความรัก ความสามัคคี และมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ที่จะมุ่งมั่นทำงาน เพื่อให้สังคมไทยมีสันติสุข ประชาชนมีเศรษฐกิจที่ดี และได้รับประโยชน์สุขต่อไปพรรคเพื่อไทยจะยังคงมุ่งมั่นในภารกิจต่างๆ อย่างแน่วแน่ ไม่เปลี่ยนแปลง.

พรรคเพื่อไทย
29 สิงหาคม 2560
ขับเคลื่อนโดย Blogger.