ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์

วันนี้ ทหารรัสเซียกว่า ๔๐๐ นายเดินทางถึงที่ราบสูงโกลันแล้ว:

ผมดูศึกที่รัสเซียกำลังพบอยู่ตอนนี้ เยอะมาก อเมริกาสั่งให้ทัพนาโต้ประชิดชายแดนรัสเซีย ทั้งทางบกและทางทะเลแทบจะทุกจุด ปูตินคงจะเหนื่อยใจมาก ผมเลยแอบคิดไปว่าปูตินคงจะเบื่อหน่ายสงคราม แล้วดำเนินการในภาคปฏิบัติดังนี้:-

๑.รัสเซียจะให้อิสราเอลได้ที่ราบสูงโกลันไปส่วนหนึ่ง แล้วดึงส่วนหนึ่งกลับมาสู่ซีเรีย ๒.รัสเซียจะยอมให้ชาวเคิร์ดในซีเรีย แยกเป็นประเทศอิสระเนื่องจากอเมริกาขนกองทัพของตนเองไปไว้มาก ถ้าจะทำสงครามกับชาวเคิร์ดที่มีอเมริกาหนุนอยู่คงเหนื่อยกันอีกหลายปี ทั้งนี้ เพื่อแลกกับให้ซีเรียได้อยู่อย่างสงบสุขหลังจากเจอสงครามมาหลายปีติดต่อกัน ยอมให้อเมริกาครอบงำชาวเคิร์ดไป

สงสัยผมจะคาดผิดครับ ปูตินอึดเกินคาด ข่าวล่าสุดจากเวปไซต์ข้างล่าง รัสเซียส่งทหาร ตนเองไปที่ราบสูงโกลันกว่า ๔๐๐ นาย ข้อสำคัญก็คือในการปฏิบัติการกวาดล้างกลุ่มไอสิสแถวชายแดนเลบานอน รัสเซียลดบทบาทกลุ่มติดอาวุธเฮสบอเลาะห์เสีย มิให้เข้าร่วมรบ เนื่องจากอิสราเอลอาจจะใช้เป็นข้ออ้างในการโจมตีกองทัพซีเรียเอาได้

ทหารรัสเซียเข้าซีเรียอย่างชอบธรรมและก็ประกาศชัดว่าถ้ามีเครื่องบินรบชาติไหนเป็นภัยต่อกองทัพรัสเซียในซีเรีย จะตอบโต้ทันที เมื่อทหารรัสเซียเข้าไปเพ่นพ่านในที่ราบสูงโกลันมากขึ้น ก็หมดโอกาสที่อิสราเอลจะปฏิบัติการโจมตีกองทัพซีเรียที่อยู่ร่วมกับทหารรัสเซียใดๆ เพราะยิวก็กลัวตายเป็นเหมือนกัน

จบข่าวภาคค่ำ แม่ศรีนวลชวนชื่นอ่าน

๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐
*หมายเหตุ: ๑.ถ้าจะแชร์ ไม่ต้องขออนุญาตแต่โปรดอ้างที่มาให้ชัดเจน ๒.หากจะวิจารณ์โปรดใช้คำสุภาพ สองข้อนี้สำคัญเพื่อป้องกันมิให้ผิดพรบ.คอมพิวเตอร์ โปรดสะกดใช้คำให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทยด้วย ข้อความวิจารณ์ที่ *หยาบ* และ *สะกดผิด* จะลบออกทุกครั้งที่เห็น
https://www.almasdarnews.com/…/400-russian-soldiers-arrive…/

Posted: 30 Jul 2017 01:09 AM PDT  (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)

ทหาร-ตำรวจ สั่งสมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิม เลิก กิจกรรม “ปกป้อง อัล-อักซอ ปกป้อง ชาวปาเลสไตน์” ระบุขัดคำสั่ง คสช. เป็นภัยต่อความมั่นคง ประธานนักศึกษาแจงแสดงจุดยืนส่งผลดีต่อไทย ด้านเจ้าหน้าที่ย้ำ เป็นเรื่องของเขา เราไม่ควรยุ่ง




30 ก.ค. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (29 ก.ค.60) เวลา 12.00 น. สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย (MUSTFETH) นัดรวมตัวจัดกิจกรรมแสดงจุดยืนต่อสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ ภายใต้สโลแกน Save Al-Aqsa, Justice for Palestinian, Free Palestine ณ สวนจตุจักร กรุงเทพมหานคร ใกล้สถานีรถไฟ MRT สวนจตุจักร โดยตามกำหนดการเดิมในวันนี้เริ่มจากกิจกรรมการพูดคุยแลกเปลี่ยน ละหมาดฮายัต (ละหมาดขอพร) สานเสวนา และจบด้วยการแสดงจุดยืนของกลุ่มด้วยการอ่านแถลงการณ์ แต่ทั้งหมดถูกยกเลิกไปเนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาต

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อถึงเวลานัดรวมตัวปรากฏว่า มีจ้เาหน้าที่ทหาร และเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สน.บางซื่อ ทั้งในเครื่องแบบและนอกเครื่องแบบ รวมจำนวน 60 นาย ควบคุมพื้นที่สวนจตุจักร และคุมตัวนักศึกษาจำนวน 5 คน ที่เดินทางมาถึงสถานที่ก่อนจะมีการจัดกิจกรรม เพื่อสอบสวน พร้อมทั้งห้ามจัดกิจกรรมดังกล่าว โดยระบุว่าเป็นการรวมตัวชุมนุมเกินจำนวนที่กำหนด ขัดต่อคำสั่งของรัฐบาล คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และอาจเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงระหว่างประเทศด้วย

“ประเด็นนี้เป็นเรื่องระหว่างประเทศ ไม่เกี่ยวกับพวกเราชาวไทย จึงไม่จำเป็นต้องแสดงจุดยืนใดๆ ทั้งสิ้น” เจ้าหน้าที่ท่านหนึ่งกล่าวย้ำ

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในขณะเดียวกันนั้นนักศึกษาและผู้สนใจก็เริ่มทยอยมาถึงสถานที่จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง พร้อมยืนยันที่จะจัดกิจกรรมดังกล่าว โดยขอให้ผ่อนปรนเหลือเพียงแค่กิจกรรมพูดคุยแลกเปลี่ยน และละหมาดฮายัต (ละหมาดขอพร) แต่เจ้าหน้าที่ยืนยันที่จะไม่ให้จัดกิจกรรมใดๆ ทั้งสิ้น พร้อมสั่งการให้นักศึกษาสลายตัวออกจากพื้นดังกล่าว ไม่อย่างนั้นจะมีการเรียกกองกำลังเพิ่มเพื่อควบคุมสถานการณ์

จากนั้นเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 2 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่จึงมีการสั่งปิดประตูทางเข้า-ออกสวนจตุจักร ห้ามคนนอกเข้าและคนในห้ามออก กระทั่งเวลา 14.00 น. นักศึกษายอมยกเลิกจัดกิจกรรมดังกล่าว แต่ขออนุญาตเจ้าหน้าที่ทหารใช้พื้นที่สวนจตุจักรเพื่อรับประทานอาหารเนื่องจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมยังไม่มีใครรับประทางอาหารเที่ยง เจ้าหน้าที่ทหารจึงยินยอม แต่ในขณะที่นักศึกษากำลังรับประทานอาหารอยู่นั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สน.บางซื่อ เข้ามาขับไล่ให้นักศึกษาทุกคนออกจากพื้นที่ทันที หากขัดคำสั่งเจ้าหน้าที่จะควบคุมตัวทุกคนไปพูดคุยกันที่ สน.บางสื่อ จึงมีการสลายการรวมตัวดังกล่าว พร้อมเคลื่อนย้ายออกนอกพื้นที่

บูคอรี เด็ง ประธานสมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมเเห่งประเทศไทย กล่าวว่า การที่ชาวยิวจากอิสราเอลรุกรานศาสนสถานมัสยิดอัลอักซอ ซึ่งเท่ากับการรุกรานคนมุสลิมทั่วโลก เพราะมัสยิดอัลอักซอถือว่าเป็นศาสนาสถานของคนมุสลิมทั่วโลก ถึงแม้จะอยู่ในพื้นที่ของชาวปาเลสไตน์ก็ตาม

"การรุกรานของชาวยิวครั้งนี้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับผู้บาดเจ็บจำนวนมาก ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรง การที่พวกเรานักศึกษาทุกคนร่วมกันประณามและรณรงค์ในครั้งนี้ย่อมเป็นผลดีต่อประเทศไทยด้วยซ้ำ ฉะนั้น ผมคิดว่าเจ้าหน้าที่ไม่ควรอ้างเหตุผลว่าเป็นเรื่องของต่างประเทศ ไม่เกี่ยวกับเรา แต่ผมค่อนข้างเข้าใจวิธีคิดของเจ้าหน้าที่ เขาโตมาในวงแคบๆ น่าจะมองมิติอื่นไม่ออก” บูคอรี กล่าว

Posted: 30 Jul 2017 05:22 AM PDT  (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)


งบประมาณกลาโหมเพิ่มขึ้นทุกปี จากปี 2549-2561 พบพุ่งพรวด270% ขณะที่งบรายจ่ายรวมทั้งประเทศสูงขึ้นเพียง 20% รวมถึงงบประมาณ ‘ภารกิจของทหารพัฒนา’ ที่เปลี่ยนมาหลากหลายชื่อ ชวนตั้งคำถามกับภารกิจครอบจักรวาล ทำงานซ้อนทับหน่วยงานอื่นโดยเฉพาะ ‘อปท.’ และการใช้จ่ายงบประมาณที่เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่หรือไม่? จากภาพประกอบทหารพัฒนากับภารกิจฝึกสอนชาวบ้านปั่นโอ่ง

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ผ่านความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2561 ในวาระแรก เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2560 วงเงินทั้งหมด 6.6 แสนล้านบาท เป็นงบประมาณกระทรวงกลาโหม 2.2 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นงบประมาณที่เกี่ยวกับภารกิจของ ‘ทหารพัฒนา’ ในชื่องบประมาณ ‘ประชาชนในพื้นที่ดำเนินงานที่กระทรวงกลาโหมได้รับมอบหมายมีความเป็นอยู่ที่ดี’ จำนวน 3.3 พันล้านบาท

งบประมาณทหารพัฒนา

ย้อนกลับไปก่อนหน้ารัฐประหารปี 2549 โดยคณะความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) งบประมาณกระทรวงกลาโหมปี 2549 มีเพียง 8.5 หมื่นล้านบาท ส่วนงบประมาณในปี 2561 กระทรวงกลาโหมได้งบประมาณ 2.2 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 270% ขณะที่งบประมาณรายจ่ายรวมประจำปีทั้งหมด ในปี 2549 มีงบประมาณทั้งสิ้น 2.4 แสนล้านบาท แต่ในปี 2561 มีงบประมาณ 2.9 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเพียง 20% เท่านั้น


จากการสืบค้น ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีย้อนหลังตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548 (เข้าถึงออนไลน์เมื่อ, 1/7/2560) พบว่าในร่างงบประมาณส่วนของกระทรวงกลาโหมนั้น ในปีงบประมาณ 2548, 2549 และ 2550 มีชื่อว่า 'งบประมาณการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน' (2,318 ล้านบาท, 1,454 ล้านบาท และ2,416 ล้านบาท) ตามลำดับ จากนั้นในปีงบประมาณ 2551 มีการเกิดงบประมาณที่ชื่อว่า 'งบประมาณประชาชนในพื้นที่ดำเนินการของทหารเป็นอยู่ดีขึ้น แบ่งเป็นด้านท่องเที่ยว 20 ล้านบาท และด้านความมั่นคง 1,387 ล้านบาท งบประมาณนี้ยังมีมาต่อเนื่องในปีงบประมาณ 2552 แบ่งเป็นด้านท่องเที่ยว 29 ล้านบาท ด้ายความมั่นคง 1,658 ล้านบาท และมีเพิ่มด้านระบบเตือนภัย 35 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2553 มีงบประมาณ 1,799 ล้านบาท และในปีงบประมาณ 2554 มีงบประมาณ 1,900 ล้านบาท

จากนั้นในปีงบประมาณ 2555 เปลี่ยนชื่อเป็น ‘งบประมาณตัวชี้วัดประชาชนในพื้นที่ดำเนินการกลาโหมมีความผาสุข’ มีงบประมาณ 2,723 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2556 มีงบประมาณ 4,290 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2557 เปลี่ยนชื่อมาเป็น ‘งบประมาณประชาชนในพื้นที่ดำเนินที่กระทรวงกลาโหมรับผิดชอบมีความเป็นอยู่ทีดีขึ้น’ มีงบประมาณโครงสร้างขั้นพื้นฐาน 3,583 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2558 มีงบประมาณ 3,176 ล้านบาทและในปีงบประมาณ 2559 มีงบประมาณ 3,372 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2560 เปลี่ยนชื่อเป็น 'งบประมาณประชาชนในพื้นที่ดำเนินที่กระทรวงกลาโหมได้รับมอบหมาย มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และมีความพร้อมในการช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีเมื่อเกิดภัยพิบัติ' มีงบประมาณ 3,375 ล้านบาท และในปีงบประมาณ 2561 เปลี่ยนชื่อเป็น ‘งบประมาณประชาชนในพื้นที่ดำเนินงานที่กระทรวงกลาโหมได้รับมอบหมายมีความเป็นอยู่ที่ดี’ มีงบประมาณ 3,339 ล้านบาท (หมายเหตุ: ตัวเลขงบประมาณมาจาก ‘ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย’ ในปีงบประมาณนั้น ๆ)

จากข้อมูล จะเห็นได้ว่างบประมาณกระทรวงกลาโหมเพิ่มขึ้นหลังการปฏิวัติรัฐประหารสองครั้งหลังสุด และงบประมาณของทหารพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มขึ้นตามมาด้วย ซึ่งงบประมาณประเภทนี้ใช้จ่ายผ่านทางหน่วยงานต่าง ๆ ของกระทรวงกลาโหม มีทั้งวิธีการจัดซื้อจัดจ้างที่ผ่านกรมบัญชีกลาง และการจัดชื้อจัดจ้างของแต่ละหน่วยงาน อาทิเช่น ระบบจัดชื้อจัดจ้างหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา มีบางโครงการใช้จ่ายงบประมาณในการจัดจ้างบริษัทเข้ามารับเหมางาน
หน่วยงานทหารพัฒนา บทบาทงานเพื่อสังคมของกองทัพ

หน่วยงานที่เข้ามาใช้งบประมาณในส่วนนี้โดยตรงคือ ‘หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา’ (นทพ.)หรือ ‘ทหารพัฒนา’ สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2505 โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารสูงสุด จัดตั้งขึ้นมา เพื่อต่อสู้กับการแทรกซึมของพรรคคอมมิวนิสต์ในชนบท ช่วงชิงศรัทธาของประชาชนที่มีต่อรัฐบาล เดิมเรียกชื่อว่า 'กองอำนวยการกลางรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ’

เมื่อย้อนกลับไปดูการก่อตั้งของหน่วยทหารพัฒนาหลายพื้นที่นั้น พบว่า หลายแห่งก่อตั้งมาหลังเหตุการณ์ทางการเมืองสำคัญที่ทหารมีบทบาทเป็นตัวละครหลัก ตัวอย่างเช่น สำนักงานพัฒนาภาค 3 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา (สน ภ.3 นท พ.) ที่มีภารกิจในดำเนินการเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของชาติด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมจิตวิทยา รวมทั้งการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือนั้น หน่วยนี้ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2534 หลังการรัฐประหารของ คสช. เมื่อเดือน ก.พ. 2534 ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่ากองทัพได้ใช้หน่วยนี้ปฏิบัติการเพื่อสร้างความชอบธรรมและสร้างความนิยมแข่งกับฝ่ายการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งก็เป็นได้ เพราะนอกเหนือจากการออกไปทำโครงการช่วยเหลือประชาชนในด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ แล้ว หน่วยนี้ยังมีกระบอกเสียงในการสื่อสารกับประชาชนโดยตรง เพราะมีสถานีวิทยุกระจายเสียงเป็นของตัวเองด้วย
ทับซ้อนท้องถิ่นไหม? ในยุคกระจายอำนาจ



หลากหลายภารกิจของทหารพัฒนาตั้งแต่ฝึกสอนชาวบ้านปั่นโอ่ง ผสมเทียมโค ช่วยชาวบ้านดำนา และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่มาภาพ: หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 56 สำนักงานพัฒนาภาค 5 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา

แต่เมื่อพิจารณาโครงการของทหารพัฒนา ตัวอย่างเช่น โครงการสร้างถนน ซึ่งทับซ้อนกับกรมทางหลวง, โครงการปั่นโอ่งต้านภัยแล้ง ทับซ้อนกับโครงการของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ยังมีโครงการที่ทับซ้อนกันเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในเขตที่มีองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (อปท.)

นางประดับ สมณะ ผู้ใหญ่บ้านโพธิ์ศรีสำราญ อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู ตั้งข้อสังเกตว่า โครงการของทหารพัฒนาจะเข้ามาในรูปแบบต่าง ๆ ที่ทับซ้อนกันกับหน่วยงานอื่น เช่น โครงการขุดบ่อเก็บน้ำ ก็จะมีโครงการคล้ายกันกับกรมทรัพยากรฯ แต่ข้อจำกัดของทหารพัฒนา คือ ตัวโครงการจะเป็นแบบแผนที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ ยกตัวอย่าง ขุดสระน้ำบางโครงการต้องมีพื้นที่ 30 ไร่ขึ้นไป ถ้าชุมชนนั้นมีพื้นที่สาธารณะไม่พอก็ไม่เข้าหลักเกณฑ์ ต้องรอโครงการใหม่ อีกอย่างหนึ่งคือความรับผิดชอบของหน่วยทหารพัฒนา ในเขตจังหวัดหนองบัวลำภูไม่มี ต้องไปขอโครงการจากจังหวัดเลยที่มีหน่วยบัญชาการทหารพัฒนาเคลื่อนที่ 23 ผ่านทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นคนคัดเลือกส่งเข้าไปขอที่ทหารพัฒนาอีกที

ผู้ใหญ่ประดับ ยังตั้งข้อสังเกตเพิ่มถึงโครงการบางประเภทของทหารที่เข้ามาในชุมชน เช่น โครงการปั่นโอ่งต้านภัยแล้ง ไม่เห็นด้วยที่มีโครงการแบบนี้ ตนคิดว่าเป็นการใช้งบประมาณที่สิ้นเปลืองมาก เพราะความจริงชาวบ้านเลิกใช้โอ่งหันไปใช้ถังพาสติกแทนแล้ว แต่ทหารกลับมาทำโครงการส่งเสริมการปั่นโอ่ง ตนเสียดายงบประมาณในส่วนนี้ที่น่าจะเอาไปใช้ประโยชนย์อย่างอื่นได้

ดร.ณัฐกร วิทิตานนท์ จากสำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง นักวิชาการที่ทำงานศึกษาเรื่องการปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย ระบุถึงภารกิจของหน่วยทหารพัฒนากับ อปท. ว่า เมื่อดูภารกิจของหน่วยทหารพัฒนาแล้วนั้นครอบจักรวาลมาก ยกตัวอย่างเช่น การสร้างถนน แจกจ่ายน้ำดื่ม สร้างฝาย ขุดลอกคลอง สร้างอาคารโรงเรียน เปลี่ยนประตู ทาสีห้องน้ำ และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งหลายสิ่งที่หน่วยทหารพัฒนาทำนั้นซ้อนทับกับภารกิจขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยตรง ข้อสังเกตที่สำคัญก็คือ มีความรวดเร็วในการเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ดำเนินโครงการต่าง ๆ ได้เลยเมื่อมีคำสั่ง ซึ่งต่างจาก อปท. ที่ต้องมีกลไกผ่านสภาท้องถิ่นรวมถึงมีการตรวจสอบจากหน่วยงานจากภายนอก เช่น สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แต่หน่วยทหารพัฒนาไม่ติดขัดในเรื่องเหล่านี้ รวมถึงได้รับการจัดสรรงบประมาณอย่างมหาศาล
รวดเร็วฉับไวใคร ๆ ก็ชอบ แต่ต้องตรวจสอบได้

จาก รายงานการตรวจสอบดำเนินงานด้านจัดหาแหล่งน้ำกินน้ำใช้ หน่วยงานบัญชาการทหารพัฒนา กระทรวงกลาโหม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2543-2545 ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ตรวจสอบกรณีเพื่อให้ทราบว่ามีการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำตามวัตถุประสงค์ของงาน มีการจัดสรรแหล่งน้ำในพื้นที่ไม่ขาดแคลนหรือไม่ ข้อตรวจสอบพบว่า บ่อบาดาลทั้งหมด 199 แห่ง เป็นบ่อบาดาลที่มีประโยชน์ 111แห่ง บ่อบาดาลที่มีประโยชน์น้อยหรือใช้ได้ไม่เต็มที่ 41แห่ง และบ่อบาดาลที่ไม่มีประโยชน์ 47แห่ง

ข้อเสนอแนะในรายงานฉบับนี้ คือให้ประสานงานบูรณการกับกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และข้อเสนอต่างๆ สะท้อนให้เห็นว่าหน่วยงานทหารพัฒนายังไม่มีความยืดโยงต่อระบบการตรวจสอบ และการประสานงานระหว่างหน่วยงานอื่นอยู่

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่สังคมให้ความสนใจและตั้งคำถามถึง ‘ทหารพัฒนา’ ที่เข้าไปรับงานกรณีพิเศษตามที่ สำนักข่าวอิศรารายงานว่า หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาและกรมทางหลวงทิ้งงานรับจ้างก่อสร้างสนามกีฬาจังหวัดในปี 2554 (อ่านเพิ่มเติม: เจาะแฟ้มประชุมกมธ.ไขปริศนากรมทางหลวงโผล่รับงานส.กีฬาจว.-ทหารทิ้งงาน?) ทิ้งคำถามให้สังคมว่า ในกรณีนี้ ทหารพัฒนาเข้าไปอยู่ส่วนไหนของการบริหารงานส่วนราชการและทำไมถึงสามารถรับงานก่อสร้างข้ามหน่วยงานได้

ดร.ณัฐกร ให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ว่า แม้แต่ในช่วงที่การเมืองเป็นประชาธิปไตย นักการเมืองเองก็เลือกใช้กลไกนี้ในแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนด้วยเช่นกัน แทนหน่วยงานอื่นที่มักจะมีอุปสรรคและล่าช้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนหนทางในป่าดอย อย่างในสมัยรัฐบาลทักษิณ ถือว่าตำแหน่งนี้มีความสำคัญมาก จึงได้แต่งตั้งเพื่อนร่วมรุ่นเตรียมทหารคือ พลตรียุทธพงษ์ พวงทอง (ยศตอนนั้น) ให้เข้ามาดูแลพื้นที่ภาคเหนือ หรือกับ พลตรีอินทรัตน์ ยอดบางเตย ที่ใช้ประสบการณ์ทำงานส่วนนี้สร้างชื่อเสียงให้ตนเอง ก่อนที่ผันตัวไปทำงานการเมืองในเวลาต่อมา

“คำถามคือ บทบาทหลักของทหารต้องเน้นเรื่องความมั่นคง ส่วนเรื่องการพัฒนาในแต่ละด้านนั้นมีหน่วยงานรัฐอื่นที่รับผิดชอบเต็มไปหมดอยู่แล้ว โดยเฉพาะกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีภารกิจกว้างขวางรอบด้านในระดับพื้นที่ ทหารพัฒนายังเหมาะสมหรือไม่ ? ภายใต้บริบทกระจายอำนาจ”

ขณะที่ผู้ใหญ่บ้านประดับเห็นว่า ทหารพัฒนายังจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโครงการที่สร้างไม่เสร็จหรือล่าช้า เพราะรู้สึกว่าถ้าทหารลงมาทำโครงการ ทุกหน่วยงานจะให้ความร่วมมือและไม่มีปัญหา แต่โครงการต้องยึดโยงกับประชาชน ส่วนโครงการประเภทที่ไม่มีประโยชน์กับชาวบ้านก็ควรจะปรับเปลี่ยน หรือให้งบประมาณแก่หน่วยงานอื่นมารับผิดชอบแทน

*ดลวรรฒ สุนสุข เกษตรกรและผู้สื่อข่าวอิสระ


Posted: 30 Jul 2017 06:25 AM PDT  (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)

“หมอ รพ.สวรรค์ประชารักษ์” ชี้ “การตรวจสอบเบิกจ่ายชดเชยค่ารักษา” ช่วยเกลี่ยงบบัตรทอง ลดความคลาดเคลื่อนเบิกจ่าย ทั้งกรณีเบิกเกินหรือน้อยกว่าอัตราค่ารักษาที่ควรได้รับ แถมเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ และผู้ป่วย เพิ่มความปลอดภัยในการรักษา ได้ข้อมูลเวชระเบียนครบถ้วนยิ่งขึ้น

30 ก.ค. 2560 นพ.บริรักษ์ เจริญศิลป์ นายแพทย์เชี่ยวชาญสาขาศัลยกรรม รพ.สวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์ แพทย์ผู้ร่วมตรวจสอบการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

กล่าวว่า การตรวจสอบการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ที่เป็นการสุ่มตรวจเวชระเบียนของแพทย์ที่ให้การรักษาผู้ป่วย ถือเป็นระบบการตรวจสอบปกติของการดำเนินกองทุนหลักประกันสุขภาพในทุกประเทศ โดยในส่วนกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้มีการจัดทำระบบตรวจสอบและดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง สาเหตุที่ต้องมีระบบการตรวจสอบนี้ เพื่อความถูกต้องของข้อมูลเบิกจ่ายค่าชดเชยและการใส่รหัสเบิกจ่ายตามระบบกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnosis Related Group: DRG) ที่พัฒนาโดยสำนักพัฒนาโรคร่วมไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ซึ่งในระบบประกันสังคมและสวัสดิการข้าราชการต่างต้องมีระบบตรวจสอบเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้หลักเกณฑ์การตรวจสอบการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ที่ใช้ในปัจจุบัน มาจากการระดมความเห็นของแพทย์สาขาต่างๆ ที่มีประสบการณ์ในการตรวจสอบเวชระเบียน โดยอ้างอิง Standard Coding Guideline สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข, ICD-10 หรือ ICD-9-CM องค์การอนามัยโลก และแพทย์ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วภูมิภาค โดยจะสุ่มตรวจเวชระเบียนของหน่วยบริการ โดยเฉพาะกลุ่มเวชระเบียนที่มีความคลาดเคลื่อนปริมาณมาก ซึ่งจะมีการแจ้งไปยังหน่วยบริการว่าจะสุ่มตรวจผู้ป่วยรายใด เพื่อให้จัดเตรียมข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนการตรวจสอบ และหากหน่วยบริการไม่เห็นด้วยก็สามารถอุทธรณ์ได้

นพ.บริรักษ์ กล่าวว่า การตรวจสอบเวชระเบียนในการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการทาการแพทย์ แม้จะดูเหมือนเป็นการจับผิดแพทย์หรือโรงพยาบาล แต่ข้อเท็จจริงเป็นการยังประโยชน์ให้กับหน่วยบริการเอง เพราะเป็นไปเพื่อไม่ให้เกิดความคลาดเคลื่อนการเบิกจ่าย ซึ่งจะส่งผลต่อการรับค่าชดเชยที่ไม่เป็นธรรมได้ ทั้งกรณีที่หน่วยบริการได้รับการชดเชยมากหรือน้อยเกินไปจากอัตราที่ควรได้รับ ซึ่งจะกระทบต่อหน่วยบริการในภาพรวมได้

“จากประสบการณ์มากกว่า 10 ปี ของการเป็นผู้ตรวจสอบเวชระเบียนในการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ พบว่ามีหลายหน่วยบริการที่ส่งข้อมูลคลาดเคลื่อน ทำให้เบิกค่าชดเชยมากกว่าหน่วยบริการอื่นที่ให้บริการลักษณะคล้ายกัน ซึ่งงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วหน้าเป็นแบบปลายปิดที่จำกัด และจัดสรรงบเป็นก้อนลงไปยังเขตเพื่อกระจายให้กับหน่วยบริการ ดังนั้นเมื่อมีหน่วยบริการที่เบิกค่าชดเชยในจำนวนมาก สูงกว่าอัตราบริการที่ควรได้รับ จะส่งผลให้หน่วยบริการอื่นได้รับค่าชดเชยลดลง”

นพ.บริรักษ์ กล่าวว่า ขณะเดียวกันการตรวจสอบการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการรทางการแพทย์ยังเป็นประโยชน์ต่อตัวแพทย์เอง เพราะทำให้แพทย์ได้ทบทวนการรักษาจากการจดบันทึกเวชระเบียนและสรุปการรักษานี้ นำไปสู่การแก้ไขจุดบกพร่อง ทำให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ป่วยยิ่งขึ้น พร้อมกันนี้ยังทำให้เวชระเบียนผู้ป่วยมีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้น สามารถดูข้อมูลการรักษาย้อนหลัง ทำให้เกิดการรักษาต่อเนื่องโดยเฉพาะในกรณีที่ส่งต่อ รวมทั้งหากเกิดปัญหา ทั้งนี้การบันทึกเวชระเบียนและสรุปการรักษานี้ไม่ได้เป็นการเพิ่มภาระให้กับแพทย์ เนื่องจากเป็นสิ่งที่แพทย์ต้องทำเป็นปกติอยู่แล้ว เพียงแต่อาจเพิ่มความละเอียดมากขึ้นเท่านั้น

นอกจากนี้ในการกำหนดค่า DRG เพื่อเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ ในการคำนวณจะใช้ข้อมูลการเบิกจ่ายค่ารักษาย้อนหลังของหน่วยบริการ ดังนั้นหากการบันทึกเวชระเบียนมีความคลาดเคลื่อน ไม่เพียงแต่จะมีผลต่อการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ยังทำให้ค่า DRG ที่จะจัดทำขึ้นในอนาคตมีความคลาดเคลื่อนไปด้วย ดังนั้นหากทุกหน่วยบริการมีการส่งข้อมูลที่ถูกต้องก็จะสร้างความเป็นธรรมต่อระบบสาธารณสุขในอนาคตที่ทุกคนต้องใช้ร่วมกัน รวมถึงยังเป็นข้อมูลที่ดีสำหรับใช้วางแผนเพื่อพัฒนางานสาธารณสุขของประเทศไทยได้อย่างมีคุณภาพด้วย


Posted: 30 Jul 2017 06:44 AM PDT  (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)

หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ และชานันท์ ยอดหงษ์ พูดคุยกับแขกรับเชิญ ภาวิน มาลัยวงศ์ ถึงผู้หญิงในการ์ตูนและภาพยนตร์แนวซูเปอร์ฮีโร เริ่มต้นด้วย “Wonder Woman” ของค่าย DC ที่ตีพิมพ์เป็นการ์ตูนในปี ค.ศ. 1941 อย่างไรก็ตามบทบาทของ Wonder Woman ก็ถูกจำกัด เช่นในช่วงทศวรรษ 1940 ขณะที่เหล่าฮีโรในนาม Justice League ไปปฏิบัติภารกิจในภาคพื้นยุโรป แต่ Wonder Woman กลับถูกวางบทบาทให้เป็นเลขานุการของกลุ่มและให้ประจำอยู่ที่ฐานในสหรัฐฯ

ทิ้งช่วงไปจนถึงปี ค.ศ. 1961ในการ์ตูน Fantastic Four ของค่าย Marvel ก็มีฮีโรหญิงคือ Susan "Sue" Storm-Richards หรือ The Invisible Woman ซึ่งมีพลังพิเศษคือสามารถล่องหนได้ แต่ที่น่าสนใจคือ The Invisible Woman ไม่มีเรื่องราวของตัวเอง เรื่องราวมักจะผูกติดกับตัวละครชาย เช่น เป็นที่รู้จักเพราะเป็นภรรยาของ Richards หรือ Mister Fantastic ที่เป็นซูเปอร์ฮีโรใน Fantastic Four

ภาวินนำเสนอด้วยว่ากลุ่มสัดส่วนระหว่างเพศของผู้ชมภาพยนตร์กับการ์ตูนคอมิกส์แนวซูเปอร์ฮีโรมีความแตกต่างกัน โดยในงานสำรวจของ DC Comics เมื่อปี ค.ศ. 2012 พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสำรวจร้อยละ 93 เป็นเพศชาย ซึ่งมีผลต่อจุดเน้นของการนำเสนอตัวละครหญิงในการ์ตูนและภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร โดยในภาพยนตร์ซึ่งเหมือนชมละครจากด้านหน้าเวที ที่การลำดับภาพ การเปลี่ยนฉาก ก็เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ขณะที่การ์ตูนคอมิกส์ก็เหมือนด้านหลังเวที ที่ผู้ชมสามารถจ้องมองซูเปอร์ฮีโรหญิงได้นานกว่า โดยพื้นที่ของการ์ตูนคอมิกส์ยังคงเป็นวัฒนธรรมย่อยที่ผู้ชายยึดครองได้มากกว่า



ติดตามรายการหมายเหตุประเพทไทยย้อนหลังที่ https://www.facebook.com/maihetpraphetthai
หรือลงทะเบียนรับชมที่ https://youtube.com/prachatai



Anurak JeantawanichFollow

"...กว่านี้มีอีกไหม"

พล.ต.อ. ศรีวราห์ฯ ได้มอบหมายให้ตำรวจสันติบาลแจ้งความต่อกองปราบปราม ให้ดำเนินคดีกับผมในข้อหาความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 กล่าวหาผมว่าได้โพสต์ข้อความทางเฟสบุ๊คส่วนตัว ในลักษณะยุยงให้เกิดความปั่นป่วนอีกทั้งยังวิพากษ์วิจารณ์ คสช.

ตามรัฐธรรมนูญบุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ฯลฯ รวมถึงการติดต่อสื่อสารถึงกันไม่ว่าในทางใดๆ ข้อความที่ผมโพสต์คือการแสดงความเห็นว่า การไปให้กำลังนายกยิ่งลักษณ์ถือเป็นเสรีภาพ ส่วนที่มีการเชิญชวนประชาชนก็ไม่ผิดกฎหมาย เพราะไม่ได้ชวนมาเปลี่ยนแปลงกฎหมายหรือล้มรัฐบาล หรือสร้างความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่อง หรือทำผิดกฎหมาย แต่เป็นการชวนมาเพื่อให้กำลังใจนายกยิ่งลักษณ์ซึ่งเป็นกิจกรรมตามประเพณีอันเป็นข้อยกเว้นของกฎหมายการชุมนุมสาธารณะ และที่อ้างว่ามีการวิพากษ์วิจารณ์ คสช. ก็เป็นการแสดงความคิดเห็นต่อการทำงานของบุคคลสาธารณะ ที่กินเงินเดือนจากภาษีของประชาชนถือเป็นเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเช่นกัน จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 116 ตามที่กล่าวหา

นี่คือตัวอย่างของการที่รัฐละเมิดหลักนิติธรรม ซึ่งถือเป็นความเลวร้ายที่สุดเพราะกระทำโดยอาศัยอำนาจของกระบวนการยุติธรรม ทั้งหมดเพื่อต้องการข่มขู่และปิดปากทุกคนที่ต่อสู้และไม่ยอมรับอำนาจเผด็จการ จึงขอแจ้งไปยัง สตช. และ คสช. ว่าผมเป็นบุคคลสาธารณะ มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งและไม่เคยคิดหลบหนี พวกคุณรู้ที่อยู่ของผมดีเพราะเคยส่งคนมาอุ้มผมไปควบคุมตัวในค่ายทหารหลายครั้ง ส่วนหมายเลขโทรศัพท์ผมให้ไว้กับเจ้าหน้าที่แล้ว ดังนั้น หากประสงค์จะสอบสวนหรือแจ้งข้อหาให้ติดต่อมาผมจะไปหาพวกคุณถึงที่ สิ่งที่ผมทำไม่เป็นความผิดจึงขอบอกประชาชนอีกครั้งว่าวันที่ 1 และ 25 สิงหาคม ใครประสงค์จะไปให้กำลังใจนายกยิ่งลักษณ์ก็ไปได้ไม่ผิดกฎหมาย เพื่อบอกเหล่าเผด็จการว่าประชาชนยืนข้างหลักนิติธรรม รังเกียจเผด็จการที่ทำลายหลักนิติธรรมและทำให้บ้านเมืองเสียหาย ส่วนผมจะไปทั้งสองวัน ยกเว้นผมถูกจับและไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัวผมก็จะส่งกำลังใจให้ท่านจากห้องขัง "มีปัญหามั้ย กลัวจัง"

วัฒนา เมืองสุข
พรรคเพื่อไทย
29 กรกฎาคม 2560


สรุปพื้นที่ประสบอุทกภัย #น้ำท่วม

• กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สรุปพื้นที่ประสบอุทกภัย มีทั้งสิ้น 40 จังหวัด 147 อำเภอ 585 ตำบล 2,728 หมู่บ้าน 1 ชุมชน สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 21 จังหวัด ยังคงประสบอุทกภัยอยู่ 19 จังหวัด


• ภาคอีสาน 10 จังหวัด ได้แก่ สกลนคร นครราชสีมา ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ มุกดาหาร อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ
• ภาคเหนือ 2 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน และอุตรดิตถ์
• ภาคกลาง 5 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก พิจิตร พระนครศรีอยุธยา สุโขทัย และลพบุรี
• ภาคใต้ 2 จังหวัด ได้แก่ ระนอง ชุมพร
.
ทั้งนี้ สถานการณ์ภาพรวม 18 จังหวัด ระดับน้ำทรงตัว แนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ยกเว้นที่ #สกลนครที่ระดับน้ำยังสูงอยู่ ขณะนี้ยังประสบอุทกภัยอยู่ 7 อำเภอ มีพี่น้องสกลนครได้รับผลกระทบ 7,863 ครัวเรือน 23,538 คน สนามบินสกลนครต้องปิดทำการชั่วคราว




เรื่องเล่าเช้านี้

Live! กู้ภัยฯ ช่วยชาวบ้าน บ้านถ่อน อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร หลังจมน้ำสูง เกือบ 2 เมตร ชาวบ้าน 300 คน ออกมาไม่ได้ #เรื่องเล่าเช้านี้


สำรวจอ่างเก็บน้ำห้วยทราย สาเหตุหลักอุทกภัย เมืองสกลนคร #แห้งขอด #เรื่องเล่าเช้านี้






Atukkit Sawangsuk

อ่านมาจากคนที่พยายามพูดกลางๆ (แต่ท่าทางเกลียดทักษิณ) เขาว่ายิ่งเสื้อแดงด่าทหาร ด่ารัฐบาล เชียร์แม้วเชียร์ปูที่กำลังโดนโดนคดี และเตรียมก่อความวุ่นวาย จะกลายเป็นแนวร่วมมุมกลับให้คนที่กำลังจะเบื่อทหาร กลับมาเชียร์ทหารอีก เพราะกลัวบ้านเมืองวุ่นวาย กลัวม็อบถล่ม เหมือนตลอด 10 ปีก่อน ไม่เป็นอันทำมาหากิน เมืองไทย มีคนรำคาญม็อบมากกว่าทุกสีเสื้อ ถ้าไม่รู้จักสามัคคีกันเสียที เขาอาจกลั้นใจเชียร์ทหารให้อยู่ยาวไปอีกนานๆ ก็เป็นได้

พูดอีกก็ถูกอีก รัฐบาลทหารก็เล่นเกมนี้แหละ พวกเสื้อแดงจะทำให้บ้านเมืองวุ่นวายทั้งที่กำลังจะสงบ จะเลือกตั้งแล้ว ฯลฯ แล้วพวกเป็นกลางไร้สมองไม่สนใจอะไรนอกจากแชร์ข่าวดาราข่าวดรามาไปวันๆ ก็จะพยักเพยิดว่าใช่ๆ พวกสลิ่มเสื้อเหลืองนกหวีดแมลงสาบก็ได้โอกาสสามัคคีรวมใจรุมกระทืบอีปูไอ้แม้วไอ้พวกเสื้อแดงให้จมธรณี

แต่รู้อย่างนี้แล้ว จะให้งอมืองอตีนยอมแพ้ ยอมรับความไม่ยุติธรรมรึไง ต่อให้รู้ว่าแพ้ สู้ก็แพ้ ไม่สู้ก็ยิ่งแพ้

ความจริงก็คือ มันไม่มีคำว่าทหารอยู่สั้นหรอก มีแต่พวกโง่ๆ ที่คิดว่าเลือกตั้งแล้วทหารจะไป เลือกตั้งยังไง ระบอบทหารก็อยู่ยาว 5 ปี 20 ปี งอมืองอตีนขอความปรานี หรือพยายามเคลื่อนไหวแสดงพลังอย่างไร มันก็อยู่ยาวอยู่ดี ใครชอบใครไม่ชอบ เบื่อยังไง ก็อยู่ยาวอยู่ดี

แล้วอีกอย่าง ไอ้การถูกโดดเดี่ยวหาว่าเป็นพวกก่อความไม่สงบ ทำบ้านเมืองวุ่นวาย แม่-ก็โดนกันจนชินแล้ว ไม่เห็นต้องแยแสอะไร แล้วถ้าแสดงออกอย่างสงบ ไม่ได้ตั้งกรวยปิดถนนปิดสถานที่ราชการ ไม่ได้รื้อป้ายศาลเหมือนม็อบนกหวีดรื้อป้าย สตช. ถามว่าก่อความวุ่นวายตรงไหนหวา

แต่เชื่อเหอะน่าแค่มาอย่างสงบก็ผิด เพราะเป็นเสื้อแดง


SpringNews was live.

อ่างเก็บน้ำห้วยทรายขมิ้น ถูกน้ำล้นทำนบดิน และกัดเซาะสันเขื่อน เสียหายหนัก กำลังซ่อมแซม





พลเมืองต่อต้าน Single Gateway เพื่อเสรีภาพและความยุติธรรม 

#น้ำท่วมสกลนคร #ทำไมต้องปิดข่าวอ่างเก็บน้ำแตก

>>>>> เมื่อปิดข่าว ไม่มีการแจ้งเตือนให้ประชาชนอพยพ และเตรียมตัวได้ทันท่วงที สิ่งที่ตามมาก็คือ

"....ความเสียหายยับเยิน และโศกนาฎกรรม...."

@>>>> เปิดหลักฐาน "กรมชลประทาน" ยันเขื่อนห้วยทรายขมิ้นไม่แตก ดูที่นี่ : https://news.thaipbs.or.th/content/264760

แต่กำแหงขอให้ดู คลิป และเรื่องราวจากลิงค์ด้านล่างนี้ แล้ว พวกเราบอกตัวเองว่า "ทำไม ประชาชนไม่มีสิทธิได้รับคำเตือนใดๆจากทางราชการเลยหรือ?"

ฝากถึงลุงตูบ ด้วยว่า "บริหารประเทศไม่ยาก" นะเป็นยังไง


Posted: 28 Jul 2017 03:41 PM PDT  (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)

ตำรวจสระแก้วสกัดจับรถพ่วงบรรทุกข้าวสาร 7 คันอ้างนำเข้ามาจากกัมพูชา แต่ตรวจพบเป็นข้าวที่ประมูลมาปลายทางส่งบางปะกง จึงถูกแจ้งข้อหาขนย้ายข้าวออกนอกเขตอำเภอแต่ไม่มีหนังสืออนุญาตขนย้าย ด้านผู้ว่าฯ สระแก้ว สั่งตั้งคณะกรรมการสอบโดยให้พาณิชย์จังหวัดสระแก้ว รายงานให้ทราบภายใน 7 วัน

กรณีที่ตำรวจ จ.สระแก้ว สกัดจับรถบรรทุกข้าวสารสำแดงเอกสารเท็จนั้น มีรายงานในช่วงข่าวภาคค่ำของสถานีโทรทัศน์ NBT สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย เมื่อคืนวันที่ 26 ก.ค. (รับชมคลิปใน NBT) โดยมีรายละเอียดว่า ตำรวจภูธรเมืองสระแก้วเร่งตรวจสอบขยายผลรถบรรทุกข้าวสารที่ถูกจับว่ามีบุคคลใดอยู่เบื้องหลังหรือไม่ เนื่องจากพบว่าข้าวทั้งหมดเป็นข้าวที่ประมูลมา ไม่ใช่การนำเข้าข้าวมาจากประเทศเพื่อนบ้านตามที่มีการสำแดงเอกสาร

โดยรายงานใน NBT ระบุว่า รถบรรทุกพ่วง 7 คันบรรทุกข้าวสารถูกตำรวจภูธร สภ.เมืองสระแก้ว สกัดจับเมื่อคืนวันที่ 25 ก.ค. พร้อมควบคุมตัวคนขับรถทั้ง 7 คนมาสอบปากคำและแจ้งข้อหาขนย้ายข้าวออกนอกเขตอำเภอ ตามประกาศสำนักคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ โดยไม่มีหนังสืออนุญาตขนย้ายข้าว อันเป็นความผิดตามกฎหมาย พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ จากนั้นเจ้าของข้าวทั้งหมดรีบมาประกันตัวคนขับรถ นำรถและข้าวทั้งหมดกลับไป

พ.ต.อ.ภิรมย์ จันทราภิรมย์ ผกก.สภ.เมืองสระแก้ว คนขับรถทั้ง 7 คนสำแดงเอกสารว่าข้าวทั้งหมดนำเข้ามาจากกัมพูชา แต่เมื่อตรวจสอบในเชิงลึกพบว่าเป็นข้าวหอมปทุมที่เพิ่งถูกประมูลมาในราคาถูก ปลายทางข้าวจะมาที่บริษัทแซทเทิลไลท์ จำกัด อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา เจ้าของข้าวที่แท้จริงคือบริษัทถาวรจำกัด

เมื่อตรวจสอบลงไปอีกพบว่า บริษัทถาวร จำกัด ตั้งอยู่ใน จ.สระแก้ว เคยเปิดทำธุรกิจผลิตน้ำมันพืชส่งขายกัมพูชา เคยถูกร้องเรียนว่าทำให้เกิดมลพิษ แต่ก็พบว่ามาทำธุรกิจข้าว ขณะที่ นายกล้าณรงค์ พงษ์เจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้วสั่งตั้งกรรมการสอบสวนการเคลื่อนย้ายข้าวในครั้งนี้ว่าเป็นข้าวมาจากที่ใด นำข้าวไปใช้ประโยชน์อย่างไร โดยให้พาณิชย์จังหวัดสระแก้ว รายงานให้ทราบภายใน 7 วัน

Posted: 28 Jul 2017 06:05 PM PDT  (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท) 
 
ก.แรงงาน ดำเนินคดี 'ซีพีเอฟ' เหตุลูกจ้างเสียชีวิตในบ่อน้ำเสีย
 
กระทรวงแรงงาน เอาผิดอาญาบริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด ไม่ปฎิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยฯ เป็นเหตุให้ลูกจ้างเสียชีวิตในบ่อน้ำเสีย
 
นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินการกรณีลูกจ้าง บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด เสียชีวิตในบ่อน้ำเสียว่า พนักงานตรวจความปลอดภัยได้สอบข้อเท็จจริงผู้แทนนายจ้างและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องแล้ว พบว่า นายจ้างปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 และกฎกระทรวงฯ การทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ.2547 รวม 3 ประเด็นด้วยกัน คือ 1.ไม่แจ้งให้ลูกจ้างที่ทำงานในสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เป็นอันตรายอันอาจเกิดแก่ชีวิตทราบอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานและไม่แจกคู่มือการปฎิบัติงานให้กับลูกจ้างทุกคน
 
2.ไม่จัดทำป้าย ที่อับอากาศ อันตรายห้ามเข้าไว้ที่ฝาบ่อพักกากตะกอนซึ่งเป็นที่อับอากาศ และ 3.จัดทำสิ่งปิดกั้นเพื่อไม่ให้บุคคลใดเข้าหรือตกลงไปในที่อับอากาศไม่สมบูรณ์ ทั้งนี้ ความผิดตามกฎหมายดังกล่าวจะมีอัตราโทษสูงสุดคือ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
นายสุเมธ กล่าวต่อว่า พนักงานตรวจความปลอดภัยได้ดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษบริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว เมื่อวันที่ 19 ก.ค.ที่ผ่านมา
 
 
รัฐบาลผุด one stop service ให้แรงงานกัมพูชา-เมียนมา ขึ้นทะเบียนในไทย แก้ต่างด้าวกลับประเทศ
 
วันที่ 25 กรกฎาคม 2560 พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า เพื่อเป็นการแก้ปัญหาแรงงานขาดแคลนในช่วงเวลานี้ จากผลกระทบจากการออก พ.ร.ก.บริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ที่ทำให้แรงงานต่างด้าวทยอยกลับประเทศต้นทางนั้น รัฐบาลจึงมีมาตรการให้กระทรวงแรงงานดำเนินการเพิ่มเติม โดยตั้งแต่วันที่ 24 ก.ค.-7 ส.ค.2560 ให้นายจ้างและลูกจ้างเดินทางไปแจ้งข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง โดยนายจ้างแจ้งว่ามีลูกจ้างอยู่กี่คนทำงานในตำแหน่งใดบ้างเพื่อเก็บข้อมูลไว้ ที่สำนักงานจัดหาแรงงานในจังหวัดต่างๆ และใน กทม.11 จุด
 
ประกอบด้วย 1.กระทรวงแรงงาน 2.ไอทีสแควร์ หลักสี่พลาซ่า ถ.แจ้งวัฒนะ 3.กรมยุทธศึกษาทหารบก ตรงข้ามสถานีรถไฟสามเสน 4.สวนกีฬา รามอินทรา เขตบางเขน 5. ธัญญาพาร์ค เขตสวนหลวง 6.หอประชุม มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ เขตลาดกระบัง 7.สถานีขนส่งสายใต้ ชั้น 2 เขตตลิ่งชัน 8.กองความปลอดภัยด้านแรงงาน เขตตลิ่งชัน ตรงข้าม สน.ตลิ่งชัน 9.อาคารสโมสรวังนันทอุทยาน กองทัพเรือ เขตบางกอกน้อย 10.สำเพ็ง 2 พาร์ค เขตบางแค 11.ศูนย์กีฬาบางขุนเทียน เคหะชุมชนธนบุรี 3 ถนนพระราม 2 เขตบางขุนเทียน
 
“หลังจากแจ้งเสร็จเรียบร้อย จะมีการเปิดศูนย์ one stop service สำหรับคนกัมพูชา และเมียนมา ที่เข้าเมืองมาโดยผิดกฎหมาย เดิมจำเป็นต้องกลับประเทศต้นทาง แต่กระทรวงแรงงานได้เจรจากับประเทศต้นทางให้สามารถส่งเจ้าหน้าที่มาตั้งศูนย์ร่วมกับเจ้าหน้าที่ไทยในประเทศไทยได้ แรงงานต่างด้าวกัมพูชาและเมียนมาไม่จำเป็นต้องกลับไปยังประเทศต้นทาง ซึ่งศูนย์ดังกล่าวสามารถตรวจสัญชาติ ตรวจดวงตราวีซ่า ตรวจสุขภาพ อนุญาตให้ทำงานได้ในประเทศไทย แต่สำหรับประเทศลาวยังหาข้อตกลงไม่ได้ แรงงานลาวยังต้องกลับไปดำเนินการที่ประเทศต้นทางตามเดิม แต่ทั้งนี้ หากเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย และนายจ้างไม่มีการมาแจ้งข้อมูลภายในวันที่ 24 ก.ค.-7 ส.ค. 2560 แม้จะมีศูนย์ one stop service ก็ไม่สามารถดำเนินการได้เพราะไม่ได้แจ้งความประสงค์เอาไว้ แรงงานต่างด้าวจะต้องกลับไปทำเรื่องที่ประเทศต้นทางตามเดิม อย่างไรก็ตาม ศูนย์ one stop service สำหรับคนกัมพูชา และเมียนมา จะตั้งอยู่จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2561 เท่านั้น” พล.ท.สรรเสริญ กล่าว
 
 
วันแรกยื่นคำขอตีทะเบียนแรงงานต่างด้าว 5.4 หมื่นคน
 
เมื่อวันที่ 25ก.ค.2560-พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ชี้แจงถึงกรณีที่ยังมีนายจ้างและแรงงานต่างด้าวมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน เกี่ยวกับการให้บริการของศูนย์รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวว่า ศูนย์ฯ แห่งนี้เป็นศูนย์รับแจ้งสำหรับแรงงานกัมพูชา ลาว เมียนมา ที่ทำงานกับนายจ้างอยู่แล้ว แต่ไม่มีเอกสารแสดงตนใดๆ หรือไม่มีใบอนุญาตทำงานเท่านั้น
 
"ส่วนกรณีที่แรงงานต่างด้าวประสงค์จะเปลี่ยนนายจ้างหรือเพิ่มท้องที่ สถานที่ทำงาน สามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครในเขตพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของสถานที่ทำงานของแรงงานต่างด้าวในปัจจุบัน ไม่ต้องมาที่ศูนย์รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว"พล.อ.ศิริ ชัย กล่าว
 
ด้านนายวรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ศูนย์รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม - 7 สิงหาคม 2560 นี้ การให้บริการมี 3 ขั้นตอนคือ 1) นายจ้างหรือผู้แทนยื่นแบบคำขอจ้างคนต่างด้าวที่ศูนย์รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว หรือทางอินเทอร์เน็ต หลักฐานคือสำเนาบัตรประจำตัวนายจ้าง หรือสำเนาหนังสือจดทะเบียนนิติบุคคลกรณีนายจ้างเป็นนิติบุคคล รูปถ่ายลูกจ้างคนต่างด้าว 2 นิ้ว 3 รูป และแบบคำขอจ้างคนต่างด้าว
 
2) นายจ้างพาลูกจ้างไปตรวจสอบคัดกรองความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง 3) ถ้าพบเป็นนายจ้าง-ลูกจ้างจริงเจ้าหน้าที่ออกหนังสือรับรองเพื่อไปตรวจสัญชาติ โดยสัญชาติกัมพูชา ทางการกัมพูชากำหนดเข้ามาตรวจสัญชาติที่ประเทศไทยที่จังหวัดระยอง ในเดือนสิงหาคม2560นี้ โดยจะให้บริการในรูปแบบ One Stop Service (OSS) โดยทางการกัมพูชาจะออกเอกสารการเดินทาง (TD) ซึ่งคนต่างด้าวจ่ายค่าธรรมเนียม TD จำนวน 2,350 บาท จากนั้นไปศูนย์ตรวจสัญชาติเพื่อรับ TD ตรวจคนเข้าเมืองตรวจลงตราวีซ่า จำนวน 500 บาท สาธารณสุขตรวจสุขภาพ จำนวน 500 บาท และประกันสุขภาพ 500 บาท กรมการจัดหางานออกใบอนุญาตทำงาน จำนวน 550 บาท (ค่ายื่นคำขอ 100 + ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 450 บาท)
 
ส่วนสัญชาติลาวนั้น แรงงานต้องไปสถานทูตลาวหรือกงสุลลาวประจำประเทศไทยเพื่อขอเอกสารกลับประเทศไปทำหนังสือเดินทาง และกลับเข้ามาทำงานแบบ MOU
 
สำหรับสัญชาติเมียนมาดำเนินการได้ในประเทศไทยในรูปแบบ One Stop Service ได้ที่ 6 ศูนย์ 5 จังหวัดคือ สมุทรสาคร สมุทรปราการ เชียงราย ตาก ระนอง โดยทางการเมียนมาจะออก CI โดยคนต่างด้าวจ่ายค่าธรรมเนียม CI ล่วงหน้าได้ที่ counter service จำนวน 310 บาท จากนั้นไปที่ศูนย์ตรวจสัญชาติเพื่อตรวจสัญชาติรับ CI ตรวจคนเข้าเมืองตรวจลงตราวีซ่า จำนวน 500 บาท สาธารณสุขตรวจสุขภาพ จำนวน 500 บาท และประกันสุขภาพ 500 บาท กรมการจัดหางานออกใบอนุญาตทำงาน จำนวน 550 บาท (ค่ายื่นคำขอ 100 + ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 450 บาท) โดยแรงงานสามารถทำงานได้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2561
 
"ซึ่งจากการเปิดให้บริการรับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว ตั้งแต่เมื่อวันที่ 24ก.ค.2560 ปรากฏว่าขณะนี้มีนายจ้างมายื่นคำขอจำนวนกว่า 18,000 ราย แรงงานต่างด้าว 54,000 คน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร. 1694"นายวรานนท์ กล่าวในที่สุด
 
 
“งานขาย-บริการ-อาหาร” อาชีพที่นายจ้างต้องการคนร่วมงาน
 
จ๊อบไทยดอทคอม (JobThai.com) เปิดเผยข้อมูลการหางานของนักศึกษาจบใหม่ ปีการศึกษา 2559 ทั้งระดับปริญญาตรีและอาชีวศึกษา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลของนักศึกษาสองกลุ่ม ซึ่งใช้งานผ่านเว็บไซต์จ๊อบไทยดอทคอมประมาณ 138,000 คน หรือคิดเป็น 30% ของจำนวนนักศึกษาทั้งหมดที่จบในปีนี้ โดยเป็นระดับปริญญาตรี 117,000 คน และระดับอาชีวศึกษา 18,000 คน
 
“แสงเดือน ตั้งธรรมสถิตย์” ผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าผู้บริหารด้านปฏิบัติการเว็บไซต์จ๊อบไทยดอทคอม ให้ข้อมูลถึงสาขาอาชีพที่นักศึกษาจบใหม่สมัครงานมากที่สุด ว่ามีความใกล้เคียงกันของกลุ่มปริญญาตรีและอาชีวศึกษา คือมีความสนใจเหมือนกันในงานธุรการ/จัดซื้อ และงานผลิต/ควบคุมคุณภาพ เห็นได้จาก 5 อันดับแรกของอาชีพที่นักศึกษาจบใหม่ระดับปริญญาตรีสมัครมากที่สุดคือ ธุรการ/จัดซื้อ 15.3%, ผลิต/ควบคุมคุณภาพ และวิศวกรรม 9.2%, บัญชี/การเงิน 8.2% และงานทรัพยากรบุคคล 7.3%
 
ขณะที่ระดับอาชีวศึกษามีการสมัครงานมากที่สุดในสาขางานช่างเทคนิค 23.3%, ธุรการ/จัดซื้อ และงานผลิต/ควบคุมคุณภาพ 15.8%, บัญชี/การเงิน 10.9% และโลจิสติกส์และซัพพลายเชน 7.1%
“หากเทียบกับปีที่แล้ว สาขาอาชีพไม่เปลี่ยนแปลงเท่าไร แต่เป็นการสลับตำแหน่งกัน อย่างวิศวกรรมจากปีที่แล้วมีคนสมัครมากที่สุด ปีนี้ตกมาอยู่อันดับ 2 เป็นเพราะคนเรียนจบด้านวิศวกรรมศาสตร์กระจายตัวไปสมัครงานเกี่ยวกับการผลิต และควบคุมคุณภาพมากขึ้น ที่น่าสนใจคือสาขาโลจิสติกส์และซัพพลายเชนที่เข้ามาติดอันดับเป็นปีแรก โดยอยู่ในอันดับ 6 ของระดับปริญญาตรี และอันดับ 5 ของอาชีวะ ซึ่งการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซเป็นแรงหนุนที่สำคัญ”
 
จากการสำรวจเงินเดือนของนักศึกษาจบใหม่ พบว่าสายอาชีวศึกษาได้รับเงินเดือนเฉลี่ยเริ่มต้นที่ 11,000-15,000 บาท ระดับปริญญาตรีได้รับเงินเดือนเฉลี่ยเริ่มต้นที่ 11,000-25,000 บาท โดยงานวิทยาศาสตร์/วิจัยพัฒนา คว้าแชมป์ค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 16,000-25,000 บาท รองลงมาคือวิศวกรรม 15,000-25,000 บาท ส่วนงานผลิต/ควบคุมคุณภาพ, บริการลูกค้าและการตลาด มีเงินเดือนเริ่มต้นเท่ากันอยู่ที่ 15,000-20,000 บาท จะเห็นได้ว่าอาชีพที่ได้เงินเดือนสูงเป็นสายงานที่เป็นทักษะเฉพาะทางและเกี่ยวข้องกับ STEM (Science, Technology, Engineering, Mathematics) อีกทั้งยังเป็นอาชีพที่ตรงกับความต้องการด้านแรงงานของประเทศที่กำลังก้าวสู่ยุค 4.0
 
อย่างไรก็ตาม หากมีทักษะด้านภาษาเพิ่มเติมจะสามารถอัพเงินเดือนให้สูงขึ้นได้ โดยคนที่มีทักษะด้านภาษาจะมีเงินเดือนเริ่มต้นที่ 30,000 บาท ส่วนนักศึกษาอาชีวะที่มีประสบการณ์การทำงานระหว่างเรียนสามารถเรียกเงินเดือนเพิ่มได้ด้วยเช่นกัน
 
สำหรับสาขาอาชีพที่เปิดรับนักศึกษาจบใหม่มากที่สุด “แสงเดือน” กล่าวว่า งานขายเป็นสาขาที่นายจ้างยังต้องการแรงงานอีกมาก เพราะทุกบริษัทมีตำแหน่งงานนี้ เช่นเดียวกับงานบริการลูกค้าที่บริษัทขาดแคลนคน นอกจากนั้นจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม กลับทำให้อาชีพนี้เป็นสาขาที่มาแรงและติดอยู่อันดับ 3 ของทั้งสองกลุ่ม รวมถึงงานวิศวกรรมและช่างเทคนิคก็เป็นที่ต้องการของนายจ้างมากขึ้นจากการที่ภาครัฐมีการกระตุ้นการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมและการเกิดขึ้นของเขตเศรษฐกิจพิเศษ
 
โดยสาขาที่เปิดรับนักศึกษาจบใหม่ระดับปริญญาตรีมากที่สุด ได้แก่ งานขาย 25.7%, บริการลูกค้า 9.9%, อาหาร/เครื่องดื่ม 8%, วิศวกรรม 7.2% และงานช่างเทคนิค 6.5% ซึ่งข้อมูลใกล้เคียงกับระดับอาชีวศึกษาที่เปิดรับด้านงานขายมากที่สุดอยู่ที่ 29.7% รองลงมาเป็นงานช่างเทคนิค 16.8%, อาหาร/เครื่องดื่ม 12.9%, บริการลูกค้า 7.5% และงานผลิต/ควบคุมคุณภาพ 6.6%
 
“แสงเดือน” ให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงอัตราการแข่งขันของแต่ละสาขาอาชีพ ซึ่งการแข่งขันของสายอาชีวศึกษาไม่ดุเดือดเท่าของกลุ่มปริญญาตรี โดยพบว่าสาขาอาชีพที่มีอัตราการแข่งขันสูงสุดในกลุ่มนักศึกษาจบใหม่ระดับปริญญาตรี ได้แก่ งานทรัพยากรบุคคล อยู่ที่ 1:44 อันดับสองคืองานสื่อสารมวลชน 1:25 ถัดมาเป็นงานวิทยาศาสตร์/วิจัยพัฒนา 1:24 งานโลจิสติกส์และซัพพลายเชน 1:15 และงานอาจารย์/วิชาการ 1:13
 
ขณะที่กลุ่มอาชีวะมีการแข่งขันสูงสุดในงานบัญชี/การเงิน 1:11 งานธุรการ/จัดซื้อ และงานเลขานุการ 1:10 งานคอมพิวเตอร์/ไอที 1:7 งานโลจิสติกส์และซัพพลายเชน 1:6 และสุดท้ายคือ งานการตลาดอยู่ที่ 1:5
 
อย่างไรก็ตาม จากการเก็บข้อมูลยังพบอีกว่าสาขาอาชีพที่มีการแข่งขันต่ำที่สุดของระดับปริญญาตรี โดยมีอัตราการแข่งขันไม่เกิน 1:5 ได้แก่ อาหาร/เครื่องดื่ม, งานขาย, งานช่างเทคนิค, สุขภาพ/โภชนาการ และโยธา/สถาปัตย์ ส่วนทางกลุ่มอาชีวะมีอัตราการแข่งขัน 1:3 ซึ่งอยู่ในสาขาสุขภาพ/ความงาม, อาหาร/เครื่องดื่ม, งานขาย, ล่าม/นักแปลภาษา และออกแบบเว็บไซต์ เพราะตลาดมีความต้องการคนด้านนี้มาก แต่แรงงานในตลาดกลับไม่เพียงพอ
 
“เรายังสำรวจความคิดเห็นของฝ่ายเอชอาร์จำนวน 480 คน จากองค์กรต่าง ๆ พบว่าปัญหาใหญ่ที่เจอจากการทำงานกับคนรุ่นใหม่คือคนรุ่นใหม่ไม่สามารถปรับตัวเข้าสู่โลกการทำงานได้ มีความมั่นใจในตัวเองเกินไป ไม่อดทนต่อแรงกดดันในการทำงานและคำวิจารณ์ต่าง ๆ อีกทั้งยังมีการเปลี่ยนงานบ่อย และไม่สามารถอยู่ในระเบียบวินัยขององค์กรได้”
 
“ดังนั้นนักศึกษาจบใหม่ควรหาทิศทางให้เจอว่าจุดมุ่งหมายของตัวเองนั้นอยากทำอะไร เพื่อจะได้ทำงานอย่างมีความสุข เพราะจะส่งผลต่องานที่จะสำเร็จและมีประสิทธิภาพตามมา”
 
 
ลูกหนี้ กยศ.โล่ง!! คลังยังไม่พร้อมหักเงินเดือนนี้ แม้ "พ.ร.บ.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา" ฉบับใหม่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ 26 ก.ค.
 
นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า แม้กฎหมายพ.ร.บ.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาฉบับใหม่ จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 26 ก.ค.นี้ เป็นวันแรก แต่ในส่วนของภาคปฏิบัติที่กำหนดให้นายจ้าง หักเงินจากรายได้ของลูกจ้างที่เป็นลูกหนี้ในกองทุน กยศ. และนำส่งเข้าสรรพากรเช่นเดียวกับการหักภาษีในแต่ละเดือนจะยังไม่เริ่มในเดือนนี้ เพราะต้องรอหารือกับนายจ้าง และกรมสรรพากรให้พร้อมก่อน รวมถึงการพิจารณารายละเอียดของกฎหมายให้ชัดว่า ครอบคลุมของการหักเงินเดือนของลูกหนี้เก่าของ กยศ. ได้ด้วยหรือไม่
 
"ตามเจตนารมณ์ของการแก้กฎหมายเข้าใจว่าต้องการให้หักเงินเดือนครอบคลุมทั้งลูกหนี้กยศ.ทั้งใหม่และเก่า แต่อย่างไรก็ตามเราก็ต้องดูรายละเอียดกฎหมาย และตีความให้แน่ชัดว่าทำได้จริงหรือไม่ ดังนั้นจึงยังไม่มีการหักเงินเดือนเริ่มในวันที่ 26 ก.ค.นี้ แต่ภาครัฐจะเร่งพิจารณาให้เสร็จโดยเร็ว เพื่อให้การหักเงินเดือนลูกหนี้ มาใช้หนี้กยศ.เกิดขึ้นได้ภายในปีนี้ โดยจะทำพร้อมกันหมดทั้งในส่วนลูกหนี้ที่ทำงานในส่วนภาครัฐ และเอกชน" นายสมชัย กล่าว
 
 
"ประยุทธ์" โยน สปส.แก้ปัญหา หลัง รพ.เอกชน หลายแห่งทยอยออกจากระบบประกันสังคม
 
เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 60 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีที่โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งทยอยออกจากระบบประกันสังคม ที่ให้เหตุผลว่าขาดทุน ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ประกันสังคมว่า ตรงนี้ต้องเข้าใจว่านี่คือปัญหาระบบสาธารณสุขของเรา เป็นเรื่องของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ที่เขาจะหาทางแก้ปัญหาว่าจะทำอย่างไรต่อไป เขารับผิดชอบในเรื่องของประกันสังคม เพราะว่าเขาขาดทุนก็จะทำอย่างไร การแก้ไขปัญหาช่วงนี้ต้องไปหาโรงพยาบาลที่ใกล้เคียง ในการเข้าไปรักษาพยาบาล ที่เขามีระบบประกันสังคมไปก่อน เพราะเราไปบังคับโรงพยาบาลเอกชนเขาไม่ได้ เนื่องจากเป็นผลการประกอบการธุรกิจของเขา ซึ่งเขามีกฎหมายของเขา สปส.คงต้องไปแก้ปัญหากันต่อไป
 
 
ฮอนด้ารับสมัครนิสิต นศ.ร่วมโครงการ "Honda Smart Idol" ร่วมเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานจริงกับฮอนด้า
 
บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เชิญชวนนิสิต นักศึกษา หนุ่มสาวคนรุ่นใหม่ ร่วมเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานจริงกับฮอนด้า ผ่านโครงการ "Honda Smart Idol" ที่เปิดรับสมัครนิสิต นักศึกษา ที่มีความมั่นใจ บุคลิกภาพดี มีความสามารถ ไหวพริบปฏิภาณดี รักการเรียนรู้ และมีความรับผิดชอบ ในการเป็นตัวแทนของฮอนด้า แนะนำยนตรกรรมรุ่นใหม่ รวมทั้งเทคโนโลยีอันล้ำสมัยต่างๆ ให้กับผู้เยี่ยมชมบูทแสดงรถยนต์ฮอนด้าในงาน Thailand International Motor Expo ครั้งที่ 34 และงาน Bangkok International Motor Show ครั้งที่ 39 โดยตัวแทนที่ได้รับการคัดเลือกทั้ง 20 คน นอกจากจะได้เข้ารับการอบรมพัฒนาบุคลิกภาพ และเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยียานยนต์ของฮอนด้าแล้ว ยังได้รับทุนการศึกษารวมมูลค่าทั้งสิ้น 540,000 บาทอีกด้วย
 
นิสิต นักศึกษา ที่มีอายุตั้งแต่ 18-22 ปี และมีเกรดเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 2.50 ขึ้นไป สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ Honda Smart Idol สามารถเข้าไปกรอกใบสมัครผ่านทางออนไลน์ พร้อมอัพโหลด รูปถ่ายชุดนิสิต นักศึกษา และรูปถ่ายเต็มตัว รวมถึงเอกสารใบรับรองผลการเรียน หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ www.honda.co.th/smartidol2017 ตั้งแต่วันนี้ - 15 กันยายน 2560
 
 
วอนช่วยพลทหารด้วย ! คลิปแฉ “เมียนาวาเอก” เกณฑ์กว่า 20 ชีวิตใช้แรงงาน โขกสับเยี่ยงทาส แถมหักค่าไฟคนละ 300
 
(26 ก.ค.) ทางเพจเฟซบุ๊ก “Social Hunter” ได้โพสต์คลิปความยาว 5 นาที ตลอดทั้งคลิปจะมีเสียงผู้หญิงคนหนึ่งด่าว่า ตำหนิ กลุ่มชายราว 5 - 6 คน แบบไม่หยุด ซึ่งทุกคนก้มหน้ารับฟังด้วยสีหน้าท่าทางสุดเซ็ง ทั้งนี้ แอดมินเพจได้ระบุข้อความว่า “แอดมินช่วยตีแผ่เรื่องนี้ด้วยนะ เมียนาวาเอก ฮะ แห่งกองทัพเรือ กดขี่ข่มเหงพลทหาร!!! น่าสงสารชีวิตพลทหารตั้งใจมารับใช้ชาติ กลับถูกเกณฑ์มาเป็นทาสให้เมียนายโขกสับ!!! กว่า 20 ชีวิต!!!
 
เค้าเอาพลทหารไปใช้งาน ตัดค่าไฟด้วยคนละ 300 บาท ทั้งๆ ที่เอาไปใช้งาน ก่อนหน้ามีพลทหารออกมาได้ 3 คน เค้าสั่งให้ลูกน้องเค้าส่งไปอยู่ใต้ เงินเดือนก็เป็นเบี้ยเลี้ยงทหารนะครับ มันไม่ได้สุขสบายอย่างที่คนพูดกันว่ามาอยู่บ้านนาย ฟังเอาเองครับ #ผู้มีอำนาจโปรดช่วยเหลือพลทหาร @ร้านอาหาร จ.ระยอง ด้วยเจ้าครับ!!! ความจริงอีกด้านหนึ่งที่หลายคนยังไม่รู้ ในคราบนักบุญของคนบาป”
 
สำหรับคำพูดของหญิงสาวในคลิป มีคร่าวๆ ดังนี้ “ค่าน้ำปกติเฉลี่ยอยู่ที่เดือนละ 3 - 4 พัน แต่นี่ 7 พัน เอาตัวเลขมาจากไหน พวกเอ็งนั่งเทียนกันหรอ แล้ววันก่อนบอกผมนั่งจดทุกวัน พอให้ไปเอาสมุด เพิ่งมาจด ทำไมพวกเอ็งเหลี่ยมจัดกันเหลือเกินวะ เหมือนผู้การบอกไม่มีผิดเลย แสบ ซึม ลืมดูลืมมองไปนึกว่าเป็นคนดี ไม่ธรรมดาเหมือนกันนะเนี่ย
 
ทุกคนมีหน้าที่ แต่ดูดิ ไอนี่ให้เข้ายาม แต่ไปนอนเล่นโทรศัพท์ ปิดประตูรั้วไว้ครึ่งนึง ฉันแกล้งบอกจะไปค้างกรุงเทพฯ เห็นฉันไม่อยู่ ดีใจ ปิดประตูรั้วไว้ครึ่งนึง ตีสองฉันกลับมาไปนั่งเล่นโทรศัพท์อยู่ในห้อง แล้วอ้างว่ามาดูน้ำข้างหลัง กลัวฝนตก ดูดิ ฉันดูกล้องก็รู้มันทำอะไร ฉันเคยเตือนมันไปแล้วทีนึง แต่มันก็ยังทำ ฉันแค้นใจ แค้นมากเลยนะ
 
นี่ถ้าเป็นจ่าตรี (ชื่อจ่าที่เคยรับใช้) อยู่สมัยก่อน มันโดนตบ โดนแดกทั้งวันทั้งคืนแล้ว ฉันมีจ่าอยู่คนนึง เป็นมือขวาฉันเลย ฉันไม่ต้องมายืนด่าเองหรอก ฉันยังเสียดายมันเลย เพราะฉันไล่มันไป เพราะว่ามันดีแตก มันทำเพื่อฉันทุกอย่าง แต่มันก็เอาวิชาความรู้ เอาอำนาจของฉันไปใช้ผิดที่ผิดทาง ฉันก็รับไม่ได้ แต่สิ่งที่มันควบคุมให้ฉัน ควบคุมทหารเกเร ถามคนเก่าก็ได้ว่าจ่าตรีโหดมั๊ย ฉันแค่บ่นแค่คำเดียว เอาตีนตบเลยนะ แล้วแดกพวกเอ็งข้ามคืนโน่น ตักขี้วัวขี้ควาย ลากล้อยาง ไม่ได้นอนหรอก เอ็งไม่ได้สุขสบายแบบนี้หรอกนะ เขามีมาเพื่อคุมพวกเอ็ง นี่ฉันต้องมาปากเปียกปากแฉะ แล้วมันไม่กลัวไม่เกรงใจฉันเลยนะ ฉันผิดหวังมากเลย ฉันเครียดกับพลทหารมากเลยอะ
 
มานั่งนึก กรรมเวรอะไรวะ ฉันเป็นเมีย ผบ.สูงสุด แต่ฉันต้องมานั่งบ่นพลทหาร มันต้องถึงมือฉัน ฉันรู้สึกเหมือนศักดิ์ศรีฉันไม่มีเลยอะ มานั่งนึกถึงความดีไอ้ตรีเลย”
 
 
ขยายเวลาทำงานศูนย์รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว 100 ศูนย์ ถึง 20.00 น.
 
นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงานในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานได้มีการจัดตั้งศูนย์ให้บริการข้อมูลทางโทรศัพท์สายด่วน 1694 ขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการทั้งประชาชนทั่วไป คนหางาน นายจ้าง/สถานประกอบการ และแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เป็นตัวกลางในการประสานความช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวที่ทำงานอยู่ในประเทศไทยให้ได้รับการคุ้มครองตามมาตรฐานสากล
 
อีกทั้งยังเป็นการแสดงเจตนารมณ์ ว่าประเทศไทยได้ร่วมแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ และเคารพในหลักสิทธิมนุษยชนอีกด้วย โดยมีล่ามภาษาอังกฤษ เมียนมา และกัมพูชา ให้บริการทางโทรศัพท์สายด่วน 1694 ตั้งแต่เวลา 08.30–16.30 น. ในวันจันทร์-ศุกร์
 
อย่างไรก็ตามขณะนี้กระทรวงแรงงานมีจัดตั้งศูนย์รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวขึ้นทั่วประเทศ 100 ศูนย์ ที่ต้องการให้นายจ้างที่ใช้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย 3 สัญชาติ เมียนมา กัมพูชา และลาว มาแจ้งกับทางการ สายด่วน 1694 เป็นเบอร์สำคัญในการสอบข้อมูลของนายจ้างและแรงงานต่างด้าว จึงมีการขยายเวลาการทำงานในวันจันทร์-ศุกร์ เป็นเวลา 07.30-20.00 น. และเพิ่มวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เป็นเวลา 08.00-17.00 น. จนถึงวันที่ 7 สิงหาคมนี้โดยมียอดการใช้บริการสอบถามข้อมูลเพิ่มขึ้นประมาณ 2,400 สายต่อวัน จากเดิมประมาณ 700-800 สายต่อวัน
 
ซึ่งผลการดำเนินงาน สายด่วน 1694 ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน-26 กรกฎาคม 2560 มีผู้ใช้บริการทั้งสิ้นจำนวน 24,397 สาย แบ่งเป็นนายจ้างไทยและประชาชนทั่วไป จำนวน 22,716 ราย โดยสอบถามการขอใบอนุญาตทำงาน 17,769 สาย การเปลี่ยนนายจ้าง 2,729 สาย การเพิ่มท้องที่การทำงาน 1,004 สาย และอื่นๆ (จัดหางานในประเทศ/ต่างประเทศ อาชีพอิสระ แนะแนวอาชีพ
 
การขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนการคุ้มครองแรงงาน การพัฒนาฝีมือแรงงาน) 2,889 สาย ร้องเรียน ร้องทุกข์ เรื่องแรงงานต่างด้าวทำงานผิดกฎหมาย 6 สาย และแรงงานต่างด้าวมาใช้บริการจำนวน 1,681 สาย แบ่งเป็นแรงงานเมียนมา 802 สาย กัมพูชา 549 สาย ลาว 237 สาย เวียดนาม 43 สาย และแรงงานต่างด้าวพูดภาษาอังกฤษ 50 สาย
 
“จากการเพิ่มขึ้นของผู้ใช้บริการและการตอบคำถามในแต่ละครั้งต้องใช้เวลา 3-15 นาที ต่อคนจึงส่งผลให้สายไม่ว่างหรือโทรไม่ติดก่อให้เกิดปัญหาความไม่สะดวก ล่าช้า จึงขออภัยผู้ใช้บริการ ทางสายด่วน 1694 จะพยายามตอบคำถามเข้าใจง่ายรวดเร็วมากยิ่งขึ้นเพื่อลดปัญหาดังกล่าว ”นายอนันต์ชัย กล่าว
 
 
กยศ.เร่งจัดเตรียมระบบรองรับแนวปฏิบัติการให้นายจ้างหักเงินเดือนผู้กู้ยืม
 
นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เผยเร่งจัดเตรียมระบบเพื่อรองรับการกำหนดแนวปฏิบัติของนายจ้างหักเงินเดือนผู้กู้ยืม หลัง พ.ร.บ.ฉบับใหม่เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 26 ก.ค.60 โดยนายจ้างจะทำการหักเงินเดือนได้ต่อเมื่อกองทุนฯ แจ้งให้นายจ้างรับทราบอย่างเป็นทางการแล้ว
 
โดยการกำหนดให้นายจ้างหักเงินเดือนจากรายได้ของพนักงานหรือลูกจ้างที่เป็นลูกหนี้ของกองทุนฯ เพื่อนำส่งกรมสรรพากรเช่นเดียวกับการหักภาษี ณ ที่จ่ายในแต่ละเดือนนั้น กองทุนฯ จะเดินหน้าให้ความรู้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและประชาชน รวมถึงการเตรียมความพร้อมของระบบเพื่อรองรับการดำเนินงานตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ ซึ่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวให้อำนาจกองทุนฯ ดำเนินการขอข้อมูลส่วนบุคคลของผู้กู้ยืมเงินจากหน่วยงานหรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน โดยจะมีการออกกฎกระทรวงและระเบียบต่างๆ ของกองทุนฯ เพื่อรองรับ พ.ร.บ.ดังกล่าว รวมถึงต้องกำหนดแนวปฏิบัติเพื่อทำความเข้าใจกับองค์กรนายจ้างและหน่วยงานอื่นๆ และเตรียมความพร้อมของระบบนำส่งเงินชำระหนี้
 
"เมื่อกองทุนฯ ได้ข้อมูลของผู้กู้ยืมเงินจากหน่วยงานต่างๆ กองทุนฯ จะดำเนินการแจ้งนายจ้างให้ทราบ และเมื่อนายจ้างได้รับทราบการแจ้งจากกองทุนฯ แล้ว นายจ้างมีหน้าที่หักเงินได้ของผู้กู้ยืมเงินเพื่อชำระหนี้คืนตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติต่อไป" นายชัยณรงค์ กล่าว
 
สำหรับ พ.ร.บ.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ.2560 จะเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับนักเรียนนักศึกษา โดยมีการให้กู้ยืม 4 ลักษณะ คือ 1.นักเรียนนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ 2.นักเรียนนักศึกษาในสาขาวิชาความต้องการหลักต่อการพัฒนาประเทศ 3.นักเรียนนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาที่ขาดแคลน หรือมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ และ 4.นักเรียนนักศึกษาที่เรียนดีเพื่อสร้างความเป็นเลิศ เพื่อรองรับการผลิตกำลังคนไปสู่ยุคประเทศไทย 4.0 ในอนาคต ซึ่งกองทุนฯ จะมีการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้นใหม่ โดยเชื่อมโยงฐานข้อมูลกับหน่วยงานอื่นๆ ให้มีความถูกต้อง สะดวก รวดเร็ว และตรวจสอบได้ในการกู้ยืม การบริหารหนี้ และการติดตามหนี้อย่างเป็นระบบ
 
ปัจจุบันกองทุนฯ มีผู้กู้กองทุน กยศ. และกองทุน กรอ.จำนวนทั้งสิ้น 5.2 ล้านราย เป็นเงินกู้ยืม 5.5 แสนล้านบาท มีผู้กู้ที่ผิดนัดชำระหนี้ 2.1 ล้านราย โดยดำเนินคดีกับผู้กู้แล้วประมาณ 1.1 ล้านราย (ข้อมูล ณ 30 มิ.ย.60) และเมื่อวันที่ 26 ก.ค.ที่ผ่านมา พ.ร.บ.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ.2560 เริ่มมีผลบังคับใช้แล้ว
 
ขณะที่ปัจจุบันมีผู้โทรศัพท์ติดต่อสอบถามทั้งเรื่องการกู้ยืมและการชำระหนี้จำนวนมากกว่า 1,700 สายต่อวัน ซึ่งอาจทำให้ได้รับความล่าช้าในการให้บริการ ซึ่งกองทุนฯ ได้ปรับปรุงระบบการให้บริการและเพิ่มอัตราเจ้าหน้าที่รับโทรศัพท์ รวมถึงขยายระยะเวลาการให้บริการจนถึง 20.00 น.ของทุกวัน ซึ่งผู้กู้ยืมและประชาชนสามารถติดตามข่าวสารและสอบถามข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติม ได้ที่ 02-016-4888 และเว็บไซต์ www.studentloan.or.th และ facebook กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
 
 
"ทปสท." ร้อง "บิ๊กตู่" แก้ปัญหาพนักงานมหาวิทยาลัย
 
27 ก.ค.2560 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัฐกรณ์ คิดการ ประธานที่ประชุมประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการแห่งประเทศไทย(ทปสท.)และคณะได้ยื่นหนังสือถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมตรี ผ่านศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล รวมทั้งได้เดินทางไปยื่นหนังสือต่อผู้อำนวยการสำนักงบประมาณขอให้จัดสรรงบประมาณปรับเพิ่มเงินเดือนพนักงานมหาวิทยาลัยเป็นร้อยละ 6
 
ประธาน ทปสท. กล่าวอีกว่า เนื่องจากทปสท.ได้รับการร้องเรียนจากสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งว่าในปีงบประมาณ 2560 สถาบันได้รับการจัดสรรงบประมาณในการปรับเลื่อนเงินเดือนพนักงานมหาวิทยาลัย ในกรอบเพียงร้อยละ 4 แต่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจริงเพียงร้อยละ 80 ของกรอบดังกล่าวอีก ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบกับสถาบันอุดมศึกษา เนื่องจากทุกปีที่ผ่านมาจะได้รับการจัดสรรร้อยละ 6 ซึ่งเท่ากับกรอบวงเงินสำหรับปรับเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา โดยที่สถาบันอุดมศึกษาก็จะไปออกระเบียบว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือนของพนักงาน เช่นเดียวกับของข้าราชการคือภายใต้กรอบวงเงินร้อยละ 6 เมื่อสำนักงบประมาณปรับลดวงเงินดังกล่าวลงเหลือเพียงร้อยละ 4 สถาบันจึงมีปัญหาในการนำเงินมาปรับขึ้นเงินเดือนรายปี ให้กับพนักงาน ส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนกับพนักงานมหาวิทยาลัยด้วย
"ดังนั้นพวกผมจึงขอให้ท่านพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ช่วยพิจารณาสั่งการไปยังสำนักงบประมาณให้ปรับเพิ่มการจัดสรรวงเงินในการปรับเพิ่มเงินเดือนรายปี ของพนักงานมหาวิทยาลัยในปีงบประมาณ 2561 ให้เป็นไปตามกรอบเดิมคือร้อยละ 6 ด้วย"ผศ.ดร.รัฐกรณ์ ระบุ
 
ประธาน ทปสท. กล่าวอีกว่า ปัจจุบันพนักงานมหาวิทยาลัยถือเป็นบุคลากรกลุ่มใหญ่ในสถาบันอุดมศึกษา ปัจจุบันมีจำนวนทั้งหมด 101,281 คน แยกเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ 30,275 คน มหาวิทยาลัยในกำกับ 4,767 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏ 4,853 คน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 4,256 คน ส่วนข้าราชการเหลืออยู่เพียง 29,466 คน
 
"ทั้งนี้เนื่องมาจาก มติคณะรัฐมนตรีปี 2542 ที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ จึงให้บรรจุพนักงานทดแทนอัตราข้าราชการที่เกษียณอายุ รวมทั้งอัตราที่บรรจุใหม่ แต่พนักงานมหาวิทยาลัยกลับไม่ได้รับการเหลียวแลจากรัฐบาล ทั้งเรื่องสถานะที่ไม่ใช่ข้าราชการและไม่ใช่ลูกจ้าง เนื่องจากต้องอยู่ภายใต้กฎหมายประกันสังคม แต่ไม่อยู่ภายใต้กฎหมายแรงงาน เพราะเมื่อถูกเลิกจ้างก็ไม่สามารถเรียกร้องค่าชดเชยใดๆได้ แถมไม่สามารถฟ้องศาลแรงงานได้"ประธานทปสท.แจกแจง
 
ประธาน ทปสท. อธิบายอีกว่า ดังนั้น ในช่วงนี้ที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของการปฏิรูปการศึกษา และจะมีการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา อยากฝากให้รัฐบาล หรือคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ได้โปรดหันมามองและหาทางแก้ปัญหาของพนักงานมหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญส่วนหนึ่งในการปฏิรูปการศึกษา และปฏิรูปประเทศบ้าง
 
 
ศูนย์รับแจ้งทำงาน "ต่างด้าว" 3 วัน ยื่นคำขอกว่า 1.1 แสนราย เป็นพม่ามากสุด
 
(27 ก.ค.) นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษก ก.แรงงาน กล่าวว่า จากการเปิดศูนย์รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวขึ้นทั่วประเทศ 100 ศูนย์ เฉพาะในกรุงเทพมหานครจำนวน 11 ศูนย์ เริ่มตั้งแต่ 24 ก.ค. จนถึงวันที่ 26 ก.ค. มีผู้มาแจ้งยื่นลงทะเบียนแรงงานต่างด้าวที่ทำงานกับนายจ้าง แต่ไม่มีเอกสารใดๆ จำนวนมาก แบ่งเป็น นายจ้างยื่นคำขอ จำนวน 39,240 ราย ผ่านทางอินเทอร์เน็ต จำนวน 4,340 ราย ยื่นที่ศูนย์ฯ 34,900 ราย จำแนกเป็นนิติบุคคล จำนวน 35,119 ราย บุคคลธรรมดา จำนวน 4,077 ราย และนายจ้างต่างชาติ จำนวน 44 ราย
นายอนันต์ชัย กล่าวว่า แรงงานต่างด้าว จำนวน 118,489 คน แบ่งเป็น กัมพูชา จำนวน 29,134 คน ลาว จำนวน 16,579 คน พม่า จำนวน 72,777 คน โดยศูนย์รับแจ้งฯ ที่ยื่นคำขอมากที่สุด คือๅ ศูนย์ฯ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 4,661 คน ศูนย์ฯ จังหวัดนครปฐม จำนวน 4,661 คน ศูนย์ฯ จังหวัดราชบุรี จำนวน 3,958 คน ศูนย์ฯ จังหวัดสมุทรปราการ 2 จำนวน 3,878 คน และศูนย์ฯ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 3,839 คน ส่วนประเภทกิจการที่รับแจ้งคำขอจ้างคนต่างด้าวมากที่สุด คือ กิจการเกษตรและปศุสัตว์ จำนวน 9,608 คน กิจการก่อสร้าง จำนวน 6,129 คน ผู้รับใช้ในบ้าน จำนวน 3,639 คน จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 3,416 คน และการให้บริการต่างๆ จำนวน 2,794 คน
 
นายอนันต์ชัย กล่าวว่า กระทรวงแรงงานได้จัดเจ้าหน้าที่ไว้บริการจำนวนกว่า 4,000 คน และอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกในการให้บริการ เช่น คอมพิวเตอร์สำนักงาน เครื่องถ่ายเอกสาร พัดลมไอน้ำ เครื่องขยายเสียง ฯลฯ และยังมีจุดบริการด้านพยาบาลในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น หากผู้มาใช้บริการที่ศูนย์มีอาการเจ็บป่วย โดยศูนย์ฯ จะเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. ทุกวันโดยเริ่มแจกบัตรคิวตั้งแต่เวลา 07.30 น. สำหรับเอกสารที่ใช้ประกอบด้วยใบคำขอจ้างคนต่างด้าว รูปถ่ายลูกจ้างขนาด 2 นิ้ว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่น จำนวน 3 พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของนายจ้าง หากเป็นนิติบุคคลต้องแนบสำเนาหนังสือจดทะเบียนนิติบุคคล เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร หากครบถ้วนถูกต้องจะได้รับใบนัดหมาย ซึ่งจะใช้เวลาเพียง 15 นาที และหากไม่สะดวกในการเดินทางไปที่ศูนย์นายจ้างสามารถแจ้งผ่านระบบออนไลน์ได้ทุกที่ ทุกเวลา ที่ https://wpfast.doe.go.th/fast11/user/
 
ทั้งนี้ นายจ้างไม่ต้องค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น หากเจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงานเรียกรับผลประโยชน์จากผู้มาติดต่อจะดำเนินการลงโทษทางวินัยสถานหนัก สามารถแจ้งเบาะแสผ่านทาง ศูนย์รับแจ้งการปราบปรามการทุจริตในหน่วยทหาร หรือแจ้งที่ศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์กระทรวงแรงงาน หรือสายด่วนกรมจัดหางาน โทร 1694 ขอยืนยันอีกครั้งว่าหลังจากเปิดรับแจ้งการใช้แรงงานต่างด้าวครั้งนี้แล้ว จะไม่มีการเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวอีก จึงขอเชิญชวนนายจ้างให้รีบมาแจ้งที่ศูนย์ในภายในเวลาที่กำหนด คาดว่าเมื่อสิ้นสุดวันที่ 7 สิงหาคม จะมีผู้มายื่นคำขอเกือบ 1 ล้านคน หลังจากนั้น 8 สิงหาคม – 6 กันยายนนี้ (ระยะเวลาดำเนินการ 30 วัน) จะเป็นขั้นตอนตรวจสอบคัดกรองความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างที่มาลงทะเบียนแจ้งไว้
 
“จากการเปิดศูนย์ฯ พบว่ายังมีนายจ้างบางส่วนเข้าใจคลาดเคลื่อน จึงขอชี้แจงว่าศูนย์ฯ รับแจ้งเฉพาะแรงงานต่างด้าวที่ทำงานกับนายจ้างอยู่แล้วแต่ไม่มีเอกสารแสดงตน หรือไม่มีใบอนุญาตทำงานเท่านั้น ส่วนกรณีแรงงานต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานอยู่แล้วและมีความประสงค์จะเปลี่ยนนายจ้างหรือต้องการขอใบอนุญาตทำงาน สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่เขต 1-10 โดยไม่ต้องเดินทางมาที่ศูนย์แต่อย่างใด” นายอนันต์ชัย กล่าว
 
 
โบรกเกอร์แรงงานเถื่อนระบาดรับกฎหมายต่างด้าว
 
พ.ร.บ.แรงงานใหม่ มีจุดบอด บริษัทนำเข้าแรงงานเถื่อนผุดเกลื่อนเมือง รับลงทะเบียนแรงงานต่างด้าว กระทรวงแรงงานแจงไร้กฎหมายควบคุม จี้ตรวจสอบ บริษัท-นายจ้าง เร่ขายโควตา หวั่นกระทบชื่อเสียงประเทศ อันดับเทียร์ไม่ขยับ ที่ประชุม ครม. สั่งเปิดศูนย์ One Stop Service 11 จุด บรรเทาปัญหาแรงงานขาด
 
แม้ปัญหาการขาดแรงงานอาจจะดูคลี่คลายลงไปบ้าง ล่าสุด บรรดานายจ้างและลูกจ้างได้ทยอยเดินทางไปขึ้นทะเบียน ตามศูนย์รับแจ้ง ที่กระทรวงแรงงานเปิดไว้รับรับถึง 101 แห่ง ทั่วประเทศ ซึ่งจะสิ้นสุดการลงทะเบียนในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ แต่อีกด้านหนึ่งก็กลับมีปัญหาใหม่เกิดขึ้นตามมา
 
แหล่งข่าวจากบริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับอนุญาตจากกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า หลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 เมื่อปลายเดือนมิถุนายน แต่ได้เลื่อนการบังคับใช้ออกไปเป็น 1 มกราคม 2561 เพื่อผ่อนผันและอำนาจความสะดวกให้แรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบอย่างถูกต้อง ส่งผลภาพรวมของบริษัทนำเข้าคนต่างด้าวมีปริมาณงานที่มากขึ้น โดยเฉพาะงานเรื่องเอกสาร งานแก้ไขเอกสาร เป็นงานในลักษณะที่เป็นเอาแรงงานเข้าประเทศมาโดยไม่ถูกต้องมาทำให้ถูกกฎหมาย แต่หลังจากที่รัฐบาลมีประกาศผ่อนผันออกมาปริมาณก็เริ่มชะลอลง ส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากนายจ้างมีเวลาตั้งตัวและมีช่องทางมากขึ้น
 
ตอนนี้นายจ้างและผู้ประกอบการอยู่ระหว่างการเร่งปรับตัว ซึ่งอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ได้รับผลกระทบน้อย เนื่องจากได้มีการปรับตัวมาเป็นระยะ ๆ แล้ว เช่น กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวกับสัตว์ปีก ผู้ส่งออกรายใหญ่ ได้มีการทำเอ็มโอยูแรงงานกับประเทศเพื่อนบ้านมาระยะหนึ่งแล้ว จึงไม่ค่อยมีผลกระทบหนัก จะกระทบหนักส่วนใหญ่เป็นบริษัทรายย่อย บรรดาเอสเอ็มอีซึ่งจะกระจายอยู่ในทุกภูมิภาค ธุรกิจโรงสี อุตสาหกรรมเกษตร รวมถึงบรรดาร้านอาหารที่ใช้พนักงานเป็นคนต่างด้าว
 
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นปัญหาในตอนนี้ก็คือ มีบริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ ที่ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมการจัดหางาน หรือโบรกเกอร์เถื่อน เกิดขึ้นจำนวนมาก เนื่องจาก พ.ร.ก.แรงงานฉบับใหม่ ไม่ได้เข้ามาควบคุมในส่วนนี้ แต่จะควบคุมเฉพาะบริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องจำนวน 81 บริษัท และโบรกเกอร์เถื่อนเหล่านี้ก็จะเรียกค่าบริการที่สูง คือ ตั้งแต่ 9,000-12,000 บาท จากปกติที่แรงงานต่างด้าวจะเสียค่าใช้จ่ายเพียง 2,360 บาท และเนื่องจากโบรกเกอร์เหล่านี้ไม่ได้ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง เวลาเกิดปัญหาขึ้นหรือเกิดมีการหลอกลวงและมีความเสียหายเกิดขึ้นก็จะไม่สามารถตรวจสอบหรือตามหาคนมารับผิดชอบได้
 
นอกจากที่เป็นคนไทยแล้ว ยังมีชาวเมียนมาจำนวนหนึ่งที่แผงตัวเข้ามาทำเป็นโบรกเกอร์ในลักษณะนี้ด้วย และส่วนมากจะเปิดบริษัทดำเนินการกระจายอยู่ในหลาย ๆ พื้นที่ไม่ว่าจะเป็นย่านพระประแดง มหาชัย ปทุมธานี นนทบุรี
 
“กระทรวงแรงงาน และกรมการจัดหางานเองก็รับทราบปัญหานี้ดี แต่ก็บอกว่าทำอะไรไม่ได้ และให้เหตุผลเพียงว่า ไม่มีกฎหมายบังคับหรือควบคุม”
 
ขณะที่แหล่งข่าวจากบริษัทนำคนต่างด้าวอีกรายหนึ่ง กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า นอกจากนี้ ที่ผ่านมายังมีปัญหาเรื่องของการพิจารณาโควตาให้กับนายจ้างที่ต้องการใช้แรงงานต่างด้าว เนื่องจากการพิจารณาให้โควตาของนายทะเบียนที่ไม่มีมาตรฐานและไม่ได้พิจารณาจากข้อเท็จจริง ตัวอย่างเช่น ที่ผ่านมา มีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ขายสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ยื่นขอโควตาจำนวน 1,000 คน แต่นายทะเบียนให้นำเข้าได้เพียง 200 คน ตรงกันข้ามบริษัทขนาดเล็กที่ใช้แรงงาน 50-60 คน แต่ยื่นขอโควตาไป 200 คน นายทะเบียนก็อนุมัติโควตา 200 คน และบริษัทดังกล่าวก็นำโควตาแรงงานส่วนเกินที่เหลือไปขายต่อ
 
“เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้บุกไปจับกุมแรงงานเถื่อนที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งบริษัทนี้ทำธุรกิจรีไซเคิลอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กยื่นขอโควตาและนำเข้าแรงงานต่างด้าวเข้ามาจำนวนหนึ่ง หลังจากที่นำเข้าแรงงานไปลงที่โรงงานแล้วก็เอาส่วนที่เหลือก็เอาไปขายต่อให้กับผู้ที่ต้องการใช้แรงงานต่างด้าว ปัญหาที่เกิดขึ้น หากกระทรวงแรงงานยังไม่เข้ามาดูแลหรือเร่งแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวก็จะกลับไปเหมือนเดิม และจะต้องมานั่งแก้ปัญหาอีกมากมาย ซึ่งที่ผ่านมา รัฐบาลได้กระตุ้นและผลักดันให้นายจ้างต้องทำให้ถูกต้อง หน่วยงานราชการเองก็ต้องปฏิรูปด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริง หากไม่แก้ไขอาจจะส่งผลกระทบกับเรื่องเทียร์ได้” แหล่งข่าวกล่าว
 
พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า เพื่อเป็นการแก้ปัญหาแรงงานขาดแคลนในช่วงเวลานี้ รัฐบาลมีมาตรการให้กระทรวงแรงงานดำเนินการเพิ่มเติม โดยตั้งแต่วันที่ 24 ก.ค.-7 ส.ค. 2560 ให้นายจ้างและลูกจ้างเดินทางไปแจ้งข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง โดยนายจ้างแจ้งว่ามีลูกจ้างอยู่กี่คนทำงานในตำแหน่งใดบ้างเพื่อเก็บข้อมูลไว้ ที่สำนักงานจัดหาแรงงานในจังหวัดต่าง ๆ และใน กทม. 11 จุดประกอบด้วย 1.กระทรวงแรงงาน 2.ไอทีสแควร์ หลักสี่พลาซ่า ถ.แจ้งวัฒนะ 3.กรมยุทธศึกษาทหารบก ตรงข้ามสถานีรถไฟสามเสน 4.สวนกีฬา รามอินทรา เขตบางเขน 5.ธัญญาพาร์ค เขตสวนหลวง 6.หอประชุม มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ เขตลาดกระบัง 7.สถานีขนส่งสายใต้ ชั้น 2 เขตตลิ่งชัน 8.กองความปลอดภัยด้านแรงงาน เขตตลิ่งชัน ตรงข้าม สน.ตลิ่งชัน 9.อาคารสโมสรวังนันทอุทยาน กองทัพเรือ เขตบางกอกน้อย 10.สำเพ็ง 2 พาร์ค เขตบางแค 11.ศูนย์กีฬาบางขุนเทียน เคหะชุมชนธนบุรี 3 ถนนพระราม 2 เขตบางขุนเทียน
 
พล.ท.สรรเสริญกล่าวว่า หลังจากแจ้งเสร็จเรียบร้อย จะมีการเปิดศูนย์ One Stop Service สำหรับคนกัมพูชา และเมียนมา ที่เข้าเมืองมาโดยผิดกฎหมายเดิมจำเป็นต้องกลับประเทศต้นทาง แต่กระทรวงแรงงานได้เจรจากับประเทศต้นทางให้สามารถส่งเจ้าหน้าที่มาตั้งศูนย์ร่วมกับเจ้าหน้าที่ไทยในประเทศไทยได้ แรงงานต่างด้าวกัมพูชาและพม่าไม่จำเป็นต้องกลับไปยังประเทศต้นทาง ซึ่งศูนย์ดังกล่าวสามารถตรวจสัญชาติ ตรวจดวงตราวีซ่า ตรวจสุขภาพ อนุญาตให้ทำงานได้ในประเทศไทย แต่สำหรับประเทศลาวยังหาข้อตกลงไม่ได้ แรงงานลาวยังต้องกลับไปดำเนินการที่ประเทศต้นทางตามเดิม แต่ทั้งนี้ หากเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย และนายจ้างไม่มีการมาแจ้งข้อมูลภายในวันที่ 24 ก.ค.-7 ส.ค. 2560 แม้จะมีศูนย์ One Stop Service ก็ไม่สามารถดำเนินการได้เพราะไม่ได้แจ้งความประสงค์เอาไว้ แรงงานต่างด้าวจะต้องกลับไปทำเรื่องที่ประเทศต้นทางตามเดิม อย่างไรก็ตาม ศูนย์ One Stop Service สำหรับคนกัมพูชา และพม่า จะตั้งอยู่จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2561 เท่านั้น
 
 
ผอ.รพ.รามาฯ แจงข่าว “พยาบาล” ลาออกจนปิดห้องผ่าตัด ระบุยังให้บริการตามปกติ รับมีบุคลากรเข้าออกเป็นปกติ ยังคงขาดแคลนพยาบาล
 
นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงกรณีกระแสข่าวลือ รพ.รามาธิบดี มีพยาบาลลาออกจำนวนมาก จนต้องมีการปิดห้องผ่าตัดหลายห้อง ว่า ตามปกติแต่ละปีจะมีบุคลากรเข้าออกหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา โดยอัตราการลาออกจะอยู่ที่ 4 - 5% โดยมีเหตุผลหลายอย่าง ทั้งเรียนต่อ กลับภูมิลำเนา เปลี่ยนอาชีพ ซึ่งในปีนี้ไม่พบว่า อัตราการลาออกผิดปกติแต่อย่างใด จากการตรวจสอบ ห้องผ่าตัดของโรงพยาบาลมีทั้งหมด 7 แห่ง รวมทั้งหมด 65 ห้อง ซึ่งแต่ละแผนกจะมีห้องผ่าตัด เช่น ศัลยกรรม ศัลยกรรมกระดูก ตา หูคอจมูก ก็จะแยกกัน
นพ.สุรศักดิ์ กล่าวว่า ส่วนที่มีบุคลากรลาออก เป็นส่วนของคลินิกพิเศษที่ไม่เกี่ยวกับการให้บริการบัตรทอง หรือ ประกันสังคม ซึ่งการลาออกของบุคลากรในส่วนดังกล่าว อยู่ระหว่างการปรับเกลี่ยกำลังคนทำให้หยุดบริการแค่เฉพาะส่วน ไม่เกี่ยวกับการให้บริการส่วนอื่นของโรงพยาบาล ทั้งห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัดส่วนอื่นยังให้บริการปกติ
 
“แต่ละปีมีบุคลากรหมุนเวียนเข้าออกเป็นปกติ ซึ่ง รพ.รามาฯ ก็มีอัตราการขาดแคลนพยาบาล เหมือนทุกที่ ซึ่งเราเร่งผลิตบุคลากรอยู่อย่างต่อเนื่อง และปัญหาดังกล่าว ทางเรามิได้นิ่งนอนใจ มีการปรับกำลังคนและผลิตบุคลากรเพิ่มอยู่ตลอด และยืนยันว่า ไม่เกี่ยวกับการให้บริการประชาชนแต่อย่างใด” นพ.สุรศักดิ์ กล่าว
 
 
กระทรวงแรงงาน เผยยอดรับแจ้งต่างด้าว 4 วัน 1.52แสนราย ขณะที่ศูนย์เปิดทุกวันไม่มีหยุด
 
นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน เผยว่า ศูนย์เฉพาะกิจเพื่ออำนวยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ได้รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันที่ 27 ก.ค.60 ซึ่งเป็นวันที่ 4 ของการเปิดศูนย์รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว
 
ทั่วประเทศ 100 ศูนย์ โดยเป็นศูนย์รับแจ้งใน กทม. 11 ศูนย์ และส่วนภูมิภาค 89 ศูนย์ พบว่า ตัวเลขสะสมตั้งแต่วันที่ 24 - 27 ก.ค.60 มีนายจ้างมาแจ้งการใช้แรงงานต่างด้าวแล้ว 47,511 ราย ลูกจ้างต่างด้าว 152,718 คน โดยเป็นการจ้างแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมามากที่สุด รองลงมากัมพูชา และลาวตามลำดับ ซึ่งจังหวัดที่มีการยื่นขอจ้างคนต่างด้าวมากที่สุด 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ระยอง ปทุมธานี และเชียงใหม่ ทั้งนี้ กระทรวงแรงงาน ยืนยันว่า ศูนย์รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวทั้ง 100 ศูนย์ทั่วประเทศจะเปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่วันที่ 24 ก.ค. - 7 ส.ค.60 ไม่เว้นวันหยุด โดยเจ้าหน้าที่จะคอยอำนวยความสะดวกตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.30 น. และสามารถแจ้งออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์กรมการจัดหางาน ที่ https://wpfast.doe.go.th/fast11/user/
 
 
ขับเคลื่อนโดย Blogger.