GM Live

"ทุกอย่างถูกใช้ไปเพื่อการเดียว คือการเอาชนะทางการเมือง การทําลายฝ่ายตรงข้าม"

อ่านบทสัมภาษณ์ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ : 4 ปี รัฐประหาร กับต้นทุนของความสงบที่ใช้จ่ายกับมันมากเกินไป เต็ม ๆ ได้ที่ลิงก์นี้
https://gmlive.com/interview-thanathorn-juangroongruangkit-…



Thanathorn Juangroongruangkit - ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ

เอกชัย’ บุกทำเนียบ จี้"ลุงฉุน" ‘ขอโทษคนอยากเลือกตั้ง


การเมืองไทย ในกะลา

‘เอกชัย’ บุกทำเนียบ จี้ "ลุงฉุน" ‘ขอโทษคนอยากเลือกตั้ง’ เหมือน ‘ขอโทษสุวิทย์!'

“เอกชัย”บุกทำเนียบ บี้ “ลุงฉุน-แป๊ะป้อม” ขอโทษ “กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง”ซัด เป็นการกลั่นแกล้ง เทียบจับกุม “โล้นอินดี้” ใช้ตำรวจน้อยกว่า ทำไมนายกฯขอโทษ ย้อนให้ สั่งปลด”พล.ต.อ.ศรีวราห์” ขอโทษผู้ประกอบการท่องเที่ยว เหตุ เพราะ ตร.ตำรวจปิดถนน ไม่ใช่คนอยากเลือกตั้ง

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายเอกชัย หงส์กังวาน และนายโชคชัย ไพบูลย์รัชตะ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง เดินทางมาทำกิจกรรมเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ขอโทษที่จับกุมคนอยากเลือกตั้งในการชุมนุมครบรอบ 4 ปีของการรัฐประหาร 2557 เมื่อวันที่ 22 พ.ค.ผ่านมา พร้อมกับมอบนาฬิกาให้กับ พล.อ.ประวิตร โดยมีตำรวจและทหารทั้งในและนอกเครื่องแบบมาเฝ้าสังเกตการณ์อยู่ตลอด

“เอกชัย”บุกทำเนียบ บี้ “บิ๊กตู่-บิ๊กป้อม” ขอโทษ “กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง”ซัด เป็นการกลั่นแกล้ง เทียบจับกุม “พุทธะอิสระ”

นายเอกชัย กล่าวว่า คสช.ใช้ยุทธวิธีแบบเดียวกับทหารในการนำกำลังหลายพันคนเข้าควบคุมตัวกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ที่มีจำนวนแค่หลักร้อยและชุมนุมอย่างสงบที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสะพานมัฆวานรังสรรค์ จึงมองว่าเป็นการกลั่นแกล้ง ทำรุนแรงเกินกว่าเหตุ และไม่ได้รับความเป็นธรรม แต่กลุ่มฯกลับไม่ได้รับคำขอโทษ เมื่อเปรียบเทียบกับการจับกุมนายสุวิทย์ ทองประเสริฐ หรืออดีตพระพุทธะอิสระ เมื่อวันที่ 24 พ.ค.ที่ผ่านมา ทั้งที่ใช้ความรุนแรงและกำลังตำรวจน้อยกว่า พล.อ.ประยุทธ์ กลับขอโทษ และตลอดการบริหารงาน 4 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลคสช.สมควรกล่าวคำขอโทษในอีกหลายเรื่อ ทั้งการรัฐประหารรัฐบาลพลเรือน การอุ้มคนเห็นต่างเข้าค่ายเพื่อปรับทัศนคติ รวมทั้งกรณีการยืมนาฬิกาหรูจากเพื่อนของ พล.อ.ประวิตร แม้รองนายกฯจะไม่ยอมรับ แต่ตนยังจะตามตื๊อแบบนี้ไปเรื่อยๆ

นายเอกชัย กล่าอีกว่า ส่วนกรณีที่ พล.ต.นพ.เหรียญทอง แน่นหนาผอ.รพ. มงกุฎวัฒนะ เรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ ใช้อำนาจมาตรา 44 ออกคำสั่งย้าย พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร.จากกรณีการบุกจับกุมอดีตพระพุทธะอิสระ รวมถึงประกาศว่าจะไม่รักษาควายในร่างคน เป็นการกล่าวที่ดูถูกคนไข้ ผิดจรรยาบรรณความเป็นแพทย์ จึงขอให้ พล.อ.ประยุทธ์ พิจารณาใช้ ม.44 เพื่อปลด พล.ต.นพ.เหรียญทอง เช่นกัน

ด้านนายโชคชัย กล่าวว่า ขอฝากไปถึง พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผบ.ตร.ที่กล่าวหาว่าการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว เพราะจริงๆแล้ว พล.ต.อ.ศรีวราห์ ควรกล่าวขอโทษต่อผู้ประกอบการท่องเที่ยวมากกว่าที่นำกำลังตำรวจจำนวนมากมาปิดถนน นอกจากนี้ พล.ต.อ.จักรทิพย์ และ พล.ต.อ.ศรีวราห์ ควรออกมาขอโทษประชาชนที่ใช้กำลังตำรวจเข้าจับกุมคนอยากเลือกตั้งจนทำให้การจราจรติดขัด ทั้งที่กลุ่มคนอยากเลือกตั้งมีความประสงค์จะใช้ถนนเพียงเลนเดียว ถ้าตำรวจไม่ขัดขวาง การเดินทางมายังทำเนียบฯก็จะใช้เวลาเพียง 1 ชม. โดยไม่กระทบการจราจร เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ไม่เร่งด่วน ทั้งนี้ นายโชคชัยยืนยันว่ากลุ่มคนอยากเลือกตั้งจะยังคงทำการเคลื่อนไหวอย่างสงบตามสิทธิในรัฐธรรมนูญต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเอกชัย และ นายโชคชัย ได้พยายามเจรจากับตำรวจเพื่อขอเข้าไปยังภายในของทำเนียบรัฐบาล แต่ไม่ได้รับการอนุญาต นายเอกชัย จึงกล่าวต่อว่าความเป็นชายชาติทหารไม่ได้วัดกันที่พละกำลังหรือความเข้มแข็ง แต่วัดกันที่ความกล้าหาญ ถ้าทำผิดก็ต้องกล้า ยอมรับผิด ที่ผ่านมามีหลายกรณีที่เห็นว่าทหารทำผิด แต่ไม่เคยยอมรับผิด เช่น การจัดซื้อจีที 200 หรือเรือเหาะ วันนี้แค่ขอพบเพื่อฟังคำขอโทษก็ไม่ยอมให้ฟัง อย่างไรก็ดี เมื่อไม่ได้รับการตอบรับจากตำรวจ นายเอกชัยและนายโชคชัยจึงเดินทางกลับ

[full-post]

ภาพซ้าย ตำรวจนำ พริษฐ์ และธนวัฒน์ ไป สน.ปทุมวัน ลงบันทึกประจำวัน (ที่มาภาพ เฟสบุ๊ค Parit Chiwarak), ภาพขวา ขณะจัดกิจกรรม ที่สกายวอร์คแยกปทุมวัน (ที่มาภาพ เพจ Banrasdr Photo)

Posted: 28 May 2018 10:58 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)

ตำรวจนำ พริษฐ์ และธนวัฒน์ ไป สน.ปทุมวัน ลงบันทึกประจำวัน หลังยืนกินมาม่าซ้อมอดอยากรอเลือกตั้ง ที่สกายวอล์คแยกปทุมวัน เจ้าตัวโพสต์การยืนกินมาม่าไม่ได้เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ แต่ว่าคณะรัฐประหารจะมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงในเก้าอี้ของพวกท่านเอง

เมื่อช่วงเย็นวานนี้ (28 พ.ค.61) ที่สกายวอล์คแยกปทุมวัน พริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ธนวัฒน์ วงค์ไชย ประธานสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วยประชาชน และแนวร่วมกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ทำกิจกรรม 'ซ้อมอดอยากรอเลือกตั้ง' เพื่อสื่อถึงการปรับตัวตามสถานการณ์เศรษฐกิจเพราะไม่รู้ว่าจะมีเลือกตั้งเมื่อไร หลังจากจบกิจกรรมแล้ว ตำรวจ สน.ปทุมวันได้เชิญตัวพริษฐ์และธนวัฒน์มาที่ สน.ปทุมวัน โดยทางตำรวจแจ้งว่าให้มาเพื่อสอบถามถึงความหมายของกิจกรรมพร้อมกับลงบันทึกประจำวันไว้


พริษฐ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คด้วยว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจนัดมาสอบถามรายละเอียดเพื่อลงบันทึกประจำวัน จึงให้ลงไปว่า "มายืนกินมาม่าสองคน" จะโดนฟ้องหรือไม่รอรับชมตอนต่อไป

ขณะที่ ธนวัฒน์ โพสต์ผ่านเฟสบุ๊ค 'Tanawat Wongchai' ว่า การยืนกินมาม่าของเราในวันนี้ เป็นการยืนกินมาม่าโดยบริสุทธิ์ใจ เพื่อฝึกซ้อมความอดอยากระหว่างรอการเลือกตั้ง หากเรายังคงอยู่ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลทหารที่บริหารเศรษฐกิจของเราอย่างล้มเหลวต่อไปเรื่อยๆ และการเลือกตั้งก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะถูกกำหนดเสียทีเช่นนี้ ทางออกเดียวของเรา คือ ต้องมีการเลือกตั้งให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นั่นคือ เราต้องมีการเลือกตั้งภายในปีนี้

เศรษฐกิจของประเทศไทยดูเหมือนว่าจะเติบโตไปได้ดีที่ระดับ 3-4% แต่นั่นก็เป็นระดับที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านของเราที่เติบโตในระดับ 5-8% อีกทั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจของเรานั้น กระจุกผลประโยชน์ให้กับคนรวย ชนชั้นนำ และภาคธุรกิจรายใหญ่แต่เพียงเท่านั้น หากแต่การเติบโตนั้นไม่ได้กระจายไปสู่คนส่วนใหญ่ของประเทศ ดังเห็นได้จากความเหลื่อมล้ำของไทยที่เหลื่อมล้ำสูงเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากรัสเซียและอินเดีย นอกจากนี้ ยังมีระดับหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น การขาดดุลงบประมาณที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จาก 2.5 แสนล้านบาทในปี พ.ศ.2557 สู่ 5.5 แสนล้านบาทในปี พ.ศ.2560 และยังมีปัญหาเชิงตัวเลขทางเศรษฐกิจอีกมากมายที่รัฐบาลไม่เคยพูดถึง

"เราขอยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่าเรามาเพื่อยืนกินมาม่าเฉยๆ ครับ นี่ไม่ใช่กิจกรรมทางการเมือง นี่ไม่ใช่การชุมนุมทางการเมือง และการยืนกินมาม่าไม่ได้เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศแต่อย่างใด เว้นเสียแต่ว่าคณะรัฐประหารจะมองว่าการยืนกินมาม่าเป็นภัยต่อความมั่นคงในเก้าอี้ของพวกท่านเอง" ธนวัฒน์ โพสต์

ธนวัฒน์ ระบุว่า ทางตำรวจ สน.ปทุมวัน แจ้งว่าในวันนี้จะไม่มีการตั้งข้อหากับพวกเราทั้ง 2 คน แต่อย่างใด แต่หากฝ่ายกฎหมายของ คสช. และทาง สน. พบว่าการกระทำของเรา “เข้าข่าย” มีความผิดตาม พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ หรือขัดต่อคำสั่งของหัวหน้า คสช. ก็จะแจ้งความดำเนินคดี ในภายหลัง

"สิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นในประเทศนี้ก็ได้เกิดขึ้นแล้ว นั่นคือ การกินมาม่าได้กลายเป็นภัยต่อความมั่นคงของคณะรัฐประหารไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว" ธนวัฒน์ โพสต์ทิ้งท้าย

[full-post]


Posted: 28 May 2018 11:22 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)

ผลงานวิจัย สกว. ชี้ 'ป่าชายเลนบ้านเปร็ดใน' มีความสมบูรณ์มาก มีศักยภาพในการดำเนินการเพื่อสนับสนุนกลไกคาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้ เพื่อเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนได้ เนื่องจากมีต้นไม้ที่ยังมีอัตราการเติบโตสูง และมีศักยภาพในการเพิ่มพูนการกักเก็บคาร์บอน


29 พ.ค.2561 การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และสื่อสารสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) รายงานว่า ปัจจุบันป่านอกจากเป็นแหล่งอาหารและระบบนิเวศแล้ว ยังเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่สำคัญ ที่จะช่วยบรรเทาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและลดภาวะโลกร้อนได้ จากความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลนบ้านเปร็ดพื้นที่ 12,000 ไร่ ในท้องที่บ้านเปร็ดใน ม.2 ตำบลห้วยน้ำขาว อำเภอเมือง จังหวัดตราด พบว่า มีศักยภาพเหมาะที่จะใช้ดำเนินการสนับสนุนกลไกคาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้ โดยเฉพาะ“เรดด์พลัส”เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ โดยข้อค้นพบจากผลการศึกษาวิจัยใน “โครงการฟื้นฟูป่าชายเลนบ้านเปร็ดใน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อสนับสนุนกลไกคาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้” ที่มี ดร.ลาวัลย์ พวงจิตร จากคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ ภายใต้การสนับสนุนของ สกว.บ่งชี้ว่า ป่าชายเลนบ้านเปร็ดในจัดเป็นป่าชายเลนที่มีระดับความสมบูรณ์มาก โดยจากการประเมินค่าเฉลี่ยการกักเก็บคาร์บอนรวมทุกแหล่งสะสมในพื้นที่ป่าชายเลนบ้านเปร็ดใน พบว่า เป็นป่าที่มีศักยภาพในการดำเนินการเพื่อสนับสนุนกลไกคาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้ เพื่อเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนได้ เนื่องจากมีต้นไม้ที่ยังมีอัตราการเติบโตสูง และมีศักยภาพในการเพิ่มพูนการกักเก็บคาร์บอน


การปลูกป่า

นอกจากนี้ ผลการศึกษาการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากการใช้พลังงานทุกประเภทของชุมชน พบว่า มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้พลังงานรวม 398.33 ตัน CO2/ปี ซึ่งพื้นที่ป่าชายเลนในขนาด 36.28 ไร่สามารถดูดซับปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนดังกล่าวได้ ดังนั้น จากพื้นที่ป่าชายเลนบ้านเปร็ดในที่มีอยู่ 12,000 ไร่ (ระหว่างคลอง 1 ถึงคลอง 15) จะสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 131,760 ตัน CO2/ไร่/ปี ซึ่งข้อค้นพบนี้ชี้ให้เห็นชัดว่า ป่าชายเลนบ้านเปร็ดในมีศักยภาพเพียงพอในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งของชุมชนโดยรอบและชุมชนใกล้เคียงได้

จากข้อค้นพบดังกล่าวชุมชนบ้านเปร็ดในเล็งเห็นความสำคัญของภาวะโลกร้อน และต้องการนำศักยภาพของป่าชายเลนบ้านเปร็ดในไปมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุของโลกร้อน เพื่อนำรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิตมาบริหารจัดการรักษาฟื้นฟูป่าชายเลนที่ชุมชนดูแลปกป้องและอนุรักษ์มายาวนาน ให้เป็นป่าชายเลนที่เป็นแหล่งเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อกักเก็บคาร์บอน และเป็นพื้นที่ทำกินของคนในชุมชนต่อไปได้อย่างยั่งยืน


อำพร แพทย์ศาสตร์ ที่ปรึกษากลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลนป่าบ้านเปร็ดใน

อำพร แพทย์ศาสตร์ ที่ปรึกษากลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลนป่าบ้านเปร็ดใน กล่าวว่า “แม้ขณะนี้รัฐบาลจะยังไม่มีนโยบายเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวชัดเจน แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่รัฐบาลมีนโยบายรับซื้อเราก็พร้อมดำเนินการทันที เพราะเรารู้แล้วว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง มีขั้นตอนกระบวนการจัดเก็บข้อมูลอย่างไร รู้วิธีการสำรวจ และคำนวณ ขนาด ความสูง รวมถึงการกักเก็บคาร์บอน ทำให้เรามีข้อมูลเพียงพอ ซึ่งความรู้เหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากนักวิจัย สกว.นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญ ที่ได้เข้ามาถ่ายทอดให้กับนักวิจัยชุมชน ตั้งแต่ปี 2558 ที่ผ่านมา ซึ่งทางนักวิจัยชุมชนเองก็ได้นำความรู้ได้รับไปถ่ายทอดให้กับเยาวชนได้เรียนรู้ และมีส่วนร่วมในการดูแลปกป้องป่าชายเลนของชุมชนต่อไป”

สำหรับการดำเนินงานโครงการฟื้นฟูป่าชายเลนบ้านเปร็ดใน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนฯนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต่อการวางแผนการจัดการ ได้แก่ โครงสร้างป่า พรรณไม้ ปริมาตร ผลผลิตมวลชีวภาพ และศึกษาศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนตามวิธีการมาตรฐานของ IPCC (2003) เพื่อสนับสนุนกลไกคาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้ และจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรป่าชายเลนชุมชน โดยการศึกษาวิจัยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การกำหนดนักวิจัยชุมชน การวางแผนการวิจัย การคัดเลือกพื้นที่ศึกษา การดำเนินการวิจัย การนำเสนอผลการวิจัย รวมถึงการศึกษาดูงานเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรป่าชายเลนในพื้นที่ชายฝั่งอันดามัน เพราะการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมถือเป็นการสร้างองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนซึ่งจะก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืน

โดยในการจัดทำฐานข้อมูล มีการจำแนกข้อมูลที่จัดเก็บ อาทิ กิจกรรมการวิจัย พรรณไม้ พื้นที่ป่าชายเลน งานวิจัยด้านนิเวศวิทยาป่าชายเลน และองค์ความรู้การจัดการป่าชายเลน โดยนักวิจัยและนักวิจัยชุมชนสามารถใช้งานเว็ปไซต์เพื่อการพัฒนาและออกแบบฐานข้อมูลร่วมกันได้ ในด้านโครงสร้างจากการสำรวจ พบว่า ป่าชายเลนบ้านเปร็ดใน ประกอบด้วยพรรณไม้จำนวน 15 ชนิด จำแนกเป็นไม้ใหญ่ 14 ชนิด ไม้รุ่น 10 ชนิด และกล้าไม้ 4 ชนิด แสดงให้เห็นว่าพรรณไม้ในพื้นที่ป่าชายเลนบ้านเปร็ดใน มีศักยภาพในการเจริญทดแทนตามธรรมชาติที่ค่อนข้างต่ำ และในอนาคตมีแนวโน้มว่าความหลากหลายทางชีวภาพจะลดลง โดยพรรณไม้ที่มีค่าดัชนีความสำคัญสูงมี 2 ชนิด คือ โกงกางใบเล็ก และโปรงแดง แม้ลักษณะโครงสร้างของต้นไม้ในป่าชายเลนบ้านเปร็ดในส่วนใหญ่โดยเฉลี่ยมีขนาดไม่ใหญ่ แต่จัดว่าเป็นป่าชายเลนที่มีมวลชีวภาพในระดับความสมบูรณ์มาก แสดงให้เห็นว่าป่าชายเลนบ้านเปร็ดในมีศักยภาพสูงในการเพิ่มพูนผลผลิต

ผลการศึกษาดังกล่าวได้นำมาจัดการข้อมูลในรูปแบบของ “ระบบฐานข้อมูล” เพื่อให้ชุมชนสามารถใช้ประโยชน์ในการจัดการทรัพยากรป่าชายเลนได้อย่างสะดวกต่อไป นอกจากนี้โครงการฯ ยังจัดฝึกอบรมให้ความรู้ความเข้าใจในระบบฐานข้อมูล และวิธีการจัดเก็บข้อมูลแก่นักวิจัยชุมชน รวมทั้งการจัดทำคู่มือการใช้ฐานข้อมูลให้แก่ชุมชน เพื่อให้ระบบฐานข้อมูลอยู่กับชุมชนตลอดไป โดยมีการปรับปรุงข้อมูลได้อย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้ถือเป็นเพียงจุดเริ่มต้นให้กับชุมชนได้เรียนรู้ และสร้างความเข้าใจถึงกระบวนการการจัดทำเก็บข้อมูลที่เป็นระบบ แต่ชุมชนยังควรต้องได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้ถึงวิธีการวางแผนการเก็บข้อมูล เพื่อป้อนลงฐานข้อมูล และจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากข้อมูลที่วิเคราะห์ได้เพิ่มอีก เพื่อให้ชุมชนเกิดความมั่นใจในการจัดการป่าและติดตามการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรป่าชายเลนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

“ป่าชายเลนบ้านเปร็ดใน เป็นความภูมิใจของชุมชนในฐานะที่เป็นแหล่งอาหาร เราไม่ต้องไปซื้อหาที่ไหน หรือใครจะจับขายเป็นรายได้ก็สามารถทำได้เช่นกัน ขายไม่หมดก็นำมาทำอาหารกินกันในครอบครัว แต่การจับนั้นชุมชนมีข้อตกลงร่วมกันกรณีห้ามจับสัตว์น้ำในช่วงที่มีการวางไข่“หยุดจับร้อย ค่อยจับล้าน” ซึ่งทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ดังนั้นเป้าหมายในการฟื้นฟูก็เพื่อต้องการให้ป่าชายเลนของชุมชนเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ เพราะหากโลกร้อนขึ้นแม้เพียงหนึ่งองศาก็จะส่งต่อปริมาณสัตว์น้ำได้ หรือกรณีปัญหาน้ำจากต้นน้ำ กลางน้ำ จากภาคเหนือที่จะไหลลงสู่ทะเลผ่านป่าชายเลนของชุมชน หากมีการปนเปื้อนสารเคมีก็อาจส่งกระทบต่อแหล่งอาหารและสัตว์น้ำได้ ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ชุมชนให้ความสนใจ”

“คนที่เคยอยู่กับป่าชายเลน จะรู้ว่าคุณค่าของป่าชายเลนนั้นมากมายแค่ไหน แม้หาดทรายจะสร้างรายได้มหาศาลจากการท่องเที่ยว แต่ถ้าวันหนึ่งนักท่องเที่ยวไม่มาเราจะได้อะไรจากหาด เพราะแหล่งอาหารหรือทรัพยากรสัตว์น้ำ ไม่ได้อยู่ที่หาดทราย แต่อยู่ที่ป่าชายเลน เราไม่ต้องซื้อ เราไม่มีอด นี่คือความภูมิใจในชุมชนของเรา” อำพร กล่าว

[full-post]


Posted: 29 May 2018 12:45 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)

กกต.ออกหนังสือรับรองการจดแจ้งชื่อพรรคสามัญชน ส่วนด่านต่อไป ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคฯ เงื่อนไข สมาชิกก่อตั้ง 500 คน ผ่าน 100% ส่วนทุนประเดิมพรรคการเมือง 1 ล้านบาทนั้น มั่นใจที่จะผ่าน 70% ชี้กฎกติกาที่ทำให้พรรคการเมืองแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นยาก

29 พ.ค.2561 เมื่อวันที่ 26 พ.ค.ที่ผ่านมา เฟสบุ๊คแฟนเพจ 'สามัญชน - The Commoner' รายงานว่า ขบวนการสามัญชน ได้รับการยืนยันจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สามารถใช้ชื่อ “สามัญชน” เป็นชื่อพรรคได้อย่างเป็นทางการแล้ว เมื่อวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา โดย กกต.ได้ออกหนังสือรับรองการจดแจ้งชื่อพรรคสามัญชน เป็นที่เรียบร้อย

"แปลว่าเรากำลังจะก้าวเข้าสู่การเป็นพรรคการเมืองอย่างเต็มรูปแบบแล้ว" เพจ สามัญชนฯ โพสต์

สำหรับการประเมินที่พรรคสามัญชนจะไม่ได้ที่นั่ง ส.ส.ในการเลือกตั้งครั้งนี้นั้น กิตติชัย งามชัยพิสิฐ ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคสามัญชน กล่าวในวงเสวนา “ทิศทางและบทบาทของขบวนการทางสังคมในกระแสก่อตั้งพรรคการเมือง" เมื่อวันที่ 26 พ.ค. ที่ผ่านมาว่า มันคือความพยายามที่จะก่อร่างสร้างตัวขึ้นมา การขับเคลื่อนของพรรคการเมืองที่อยู่บนฐานของ ของเครือข่ายภาคประชาชนและประเด็นปัญหา หรือเป็นพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายหรือฝ่ายก้าวหน้าที่กำลังจะเกิดขึ้นในหายๆ พรรคนั้น ก็ช่วยกันสร้างกันและใช้เวลานาน


เงื่อนไขทุนประเดิมพรรคการเมือง 1 ล้านบาท และสมาชิกก่อตั้ง 500 คน นั้น กิตติชัย กล่าวว่า ยากมาก การที่ประชาชนจ่ายเงินให้พรรคการเมือง เป็นเรื่องแปลก แแต่อย่างไรก็ตามมันเป็นข้อพิสูจน์จุดหนึ่งที่ว่าจะทำงานกับประชาชนอย่างไร ที่เขาพร้อมที่จะจ่ายเงิน 1,000 บาท โดยที่ไม่รู้สึกว่าเขาเสียดาย เขารู้สึกว่าเป็นเจ้าของพรรคการเมืองจริงๆ ตนคิดว่ามันเป็นไปได้ และเราก็จะทำ ส่วนถ้าหากมันไม่สามารถทำได้ก็เป็นบทพิสูจน์เบื้องต้นว่าเราทำงานได้ไม่ดี แสดงว่าเรายังไม่พร้อมสำหรับการจัดตั้งพรรคครั้งนี้

เงื่อนไขดังกล่าว กิตติชัย เผยว่า วันนี้เท่าที่คุยกันอยู่และต่อสายไปหลายที่ตนมั่นใจว่าสามารถผ่านเงื่อนไข สมาชิกก่อตั้ง 500 คน ได้ 100% ส่วนทุนประเดิมพรรคการเมือง 1 ล้านบาทนั้น ขณะนี้ความมั่นใจที่จะผ่าน 70% เพราะนี่เป็นกฎกติกาที่ทำให้พรรคการเมืองแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นยาก

"เรามองว่าสามัญชนไม่ใช่คนใดคนหนึ่ง ไม่ใช่คนเก่ง ไม่ใช่คนดัง ไม่ใช่อย่างนั้น แต่ว่าสามัญชนมันเป็นไอเดีย เป็นแนวคิด เพราะฉะนั้นเราจึงไม่มีคนเด่นคนดัง และค่อนข้างปฏิเสธ เราก็เข้าไปอยู่ในขบวนการเคลื่อนไหว เราอยู่ในขบวนการเคลื่อนไหวของพี่น้องตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่ว่าไม่ได้ถูกได้ยินหรือถูกเห็นอะไรเท่าไหร่ เราเห็นว่าโอเคคนที่เด่นที่ดังก็ทำหน้าที่ของคนเด่นคนดังของเขาไป สามัญชนก็จะทำหน้าที่เป็นมวลชน ทำหน้าที่คนที่เป็นฐานรากของขบวนการเคลื่อนไหวต่อไปข้างหน้าด้วย" กิตติชัย กล่าว

[full-post]


Posted: 29 May 2018 01:08 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)

31 พ.ค.นี้ ศาลอุทธรณ์นัดครั้งที่ 4 ฟังคำพิพากษาคดี 'อภิชาต' ชูป้ายต้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ ปี 57 ลุ้นบรรทัดฐานสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญและเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ พร้อมเปิด 6 ประเด็นปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ฝ่ายจำเลยยื่นอุทธรณ์


ภาพและคลิปขณะเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัว อภิชาต พงษ์สวัสดิ์ วันเกิดเหตุ

29 พ.ค.2561 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) รายงานว่าวันที่ 31 พ.ค.นี้ เวลา 9.00 น. ณ ศาลแขวงปทุมวัน ศาลนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีที่ อภิชาต พงษ์สวัสดิ์ ถูกฟ้องตามความผิดประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 7/2557 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง และชุมนุมมั่วสุม ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 วรรคแรก มาตรา 216 และมาตรา 368 (คดีหมายเลขดำที่ 1097/2559 คดีหมายเลขแดงที่ 9075/2559) หลังจากศาลอุทธรณ์ได้เลื่อนฟังคำพิพากษามาแล้ว 3 ครั้ง ครั้งแรกเลื่อนมาจากวันที่ 30 ส.ค. 2560 ครั้งที่สองเลื่อนมาจากวันที่ 16 พ.ย. 2560 และครั้งที่สามเลื่อนมาจากวันที่ 31 ม.ค. 2561


สนส.ระบุด้วยว่า คดีนี้เกี่ยวข้องกับการต่อต้านรัฐประหารคดีแรกๆ ย้อนกลับเมื่อวันที่ 23 พ.ค.2557 ภายหลังการรัฐประหารของ คสช. เพียงหนึ่งวัน กลุ่มประชาชนจำนวนหนึ่งได้ออกมาทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่บริเวณหน้าหอศิลป์ฯ กรุงเทพ เพื่อคัดค้านการรัฐประหาร ซึ่ง อภิชาต ก็เป็นหนึ่งในคนที่เข้าร่วมทำกิจกรรมในวันดังกล่าว กลุ่มประชาชนที่ออกมาคัดค้านรัฐประหารในวันนั้นได้แสดงสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงการคัดค้านรัฐประหาร ส่วนใหญ่จะเป็นป้ายข้อความในกระดาษ A4 ที่เตรียมกันมาเอง ในส่วนของ อภิชาตินั้น เขาได้ชูป้ายข้อความว่า “ไม่ยอมรับอำนาจเถื่อน” และในช่วงค่ำของวันนั้นเอง เจ้าหน้าที่ทหารได้เข้าเคลียร์พื้นที่และสลายกลุ่มประชาชน อภิชาตถูกทหารจับกุมและถูกนำตัวไปควบคุมไว้ภายใต้อำนาจของกฎอัยการศึก 7 วัน

ต่อมาวันที่ 28 เม.ย.2558 พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด ยื่นฟ้องอภิชาต ในความผิด ฐานฝ่าฝืนประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 ชุมนุมมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวานในบ้านเมือง ไม่เลิกชุมนุมเมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิก และขัดคำสั่งเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามหน้าที่ตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันควร (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 วรรคแรก มาตรา 216 และมาตรา 368) จากนั้น ศาลแขวงปทุมวันได้มีคำพิพากษายกฟ้อง เมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2559 ด้วยเหตุผลว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

วันที่ 17 มี.ค. 2559 พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุดได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา ต่อมาวันที่ 6 มิ.ย. 2559 ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลแขวงปทุมวันว่า โจทก์มีอำนาจฟ้อง ส่วนปัญหาที่ว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่นั้น ศาลอุทธรณ์ได้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำพิพากษาใหม่

และต่อมาวันที่ 19 ธ.ค. 2559 ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาใหม่ว่า จำเลยมีความผิดตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 ให้พิจารณาโทษตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 เรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 วรรคแรก เป็นการกระทำกรรมเดียว แต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักสุด ให้จำคุกจำเลย 2 เดือน และปรับ 6,000 บาท แต่เนื่องจากจำเลยไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน เห็นควรให้โอกาสจำเลยในการกลับตัวเป็นพลเมืองดี โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ข้อหาอื่นนอกจากนี้ให้ยก

สนส. รายงานเพิ่มเติมด้วยว่า ต่อมาวันที่ 20 ก.พ. 2560 ฝ่ายจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลแขวงปทุมวัน ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย รวม 6 ประเด็น ดังนี้


ประเด็นแรก โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย เนื่องจากการสอบสวนในคดีนี้มิชอบด้วยกฎหมาย เพราะแม้พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปราม จะอ้างระเบียบว่าด้วยอำนาจการสอบสวน ว่าคดีนี้เป็น “คดีที่ประชาชนชนให้ความสนใจ” แต่พยานกลับให้การขัดแย้งกันเอง และจำเลยเป็นเพียงประชาชนธรรมดา ไม่ได้เป็นที่รู้จักหรืออยู่ในความสนใจของประชาชนทั่วไปแต่อย่างใด

ประเด็นที่สอง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ได้อยู่ในฐานะรัฏฐาธิปัตย์ เนื่องจากแนวคิดดังกล่าวเป็นเพียงแนวคิดของนักวิชาการกฎหมายส่วนข้างน้อยเท่านั้น แต่ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ถือว่าการได้มาซึ่งอำนาจของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มิใช่การได้มาซึ่งอำนาจการปกครองตามวิถีทางในระบอบประชาธิปไตย อีกทั้งไม่มีบทบัญญัติตามกฎหมายใดรองรับอำนาจของ พล.อ.ประยุทธ์ มีเพียงประกาศคณะรักษาความความสงบแห่งชาติซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ ประกาศใช้เองโดยไม่ได้ผ่านความยินยอมของประชาชน ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับดังกล่าวจึงไม่มีผลเป็นกฎหมายซึ่งจะนำมาบังคับใช้กับจำเลยได้

ประเด็นที่สาม การประกาศกฎอัยการศึกโดยกองทัพบกในวันที่ 20 พ.ค. 2557 และโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติในวันที่ 22 พ.ค. 2557 เป็นการประกาศโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากการประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรนั้น ไม่ได้มีพระบรมราชโองการตามมาตรา 2 แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกพ.ศ. 2457 และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 7/2557 ที่มาใช้ดำเนินคดีกับจำเลย ยังไม่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 22 พ.ค. 2557 แต่ประกาศภายหลังเหตุตามฟ้องวันที่ 26 พ.ค. 2557 จำเลยซึ่งเป็นนักกฎหมายย่อมทราบดีถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของประกาศฉบับดังกล่าวที่ประกาศโดยบุคคลที่ไม่มีอำนาจและไม่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา จำเลยจึงออกไปคัดค้านการรัฐประหารอย่างสันติวิธี เพราะเชื่อโดยสุจริตว่าประกาศดังกล่าวนั้นยังไม่มีผลบังคับใช้ และจำเลยมีสิทธิที่จะพิทักษ์รัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550

ประเด็นที่สี่ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 7/2557 ที่ห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ไม่มีผลบังคับแล้ว เพราะได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ที่เป็นกฎหมายเฉพาะ และมีลักษณะเป็นคุณต่อจำเลย โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีข้อห้ามมิให้มั่วสุมหรือเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป จำเลยจึงไม่ต้องผูกพันในการแก้ข้อกล่าวหาใดๆ ดังกล่าวอีก

ประเด็นที่ห้า พยานโจทก์ปากร้อยโทพีรพันธ์ สรรเสริญ ซึ่งศาลเชื่อว่าเป็นประจักษ์พยานเบิกความยืนยันการกระทำจำเลยได้อย่างดีนั้น ไม่มีพยานหลักฐานใดๆ ยืนยันว่าพยานปากดังกล่าวอยู่ในที่เกิดเหตุและเป็นผู้ควบคุมตัวจำเลย แม้แต่บันทึกการควบคุมตัวก็ไม่ปรากฏชื่อของร้อยโทพีรพันธ์ สรรเสริญ แต่อย่างใด คำเบิกความของพยานโจทก์ปากนี้จึงไม่มีน้ำหนักให้ศาลรับฟัง

นอกจากนี้ในอุทธรณ์ยังระบุด้วยว่า การกระทำของจำเลยไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามประกาศฉบับที่ 7/2557 เนื่องจากการไปชุมนุมและแสดงความไม่เห็นด้วยกับการการยึดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติของจำเลย ไม่ใช่การชุมนุมมั่วสุมโดยมีเจตนาก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง แต่เป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ปราศจากความรุนแรง อุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมของจำเลยมีเพียงแผ่นกระดาษขนาด A4 และในระหว่างการจัดกิจกรรมของจำเลยนั้นก็ไม่มีเหตุการณ์ความไม่สงบใดแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยเป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงออก อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตย เป็นไปตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และจำเลยเห็นว่าประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 7/2558 ไม่สามารถบังคับใช้กับจำเลยได้ เนื่องจากการยึดอำนาจนั้นยังไม่สำเร็จเสร็จสิ้น และประชาชนมีสิทธิคัดค้านโดยสงบและปราศจากอาวุธ อันเป็นสันติวิธีและเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ

ประเด็นที่หก การกระทำของจำเลยไม่ถือเป็นการมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป เพื่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง เนื่องจากข้อเท็จจริงยังไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยมีพฤติกรรมปลุกเร้าผู้ชุมนุมให้ฮึกเหิม หรือปลุกระดมกลุ่มผู้ชุมนุมให้เข้าร่วมมากขึ้น เพราะในทางนำสืบของโจทก์เป็นการกล่าวอ้างลอยๆ โดยปราศจากพยานหลักฐานยืนยัน อีกทั้ง ในการตีความกฎหมายซึ่งมีโทษทางอาญาจำต้องตีความโดยเคร่งครัด และต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์และเจตนาที่แท้จริงของจำเลยประกอบการวินิจฉัย มาตรา 69 และมาตรา 70 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้คุ้มครองรับรองสิทธิของประชาชนที่จะต่อต้านโดยสันติวิธีต่อการทำรัฐประหาร ซึ่งเป็นการได้อำนาจการปกครองประเทศมาโดยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยสุจริตใจและเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในฐานะพลเมืองที่มีหน้าที่ตามระบอบประชาธิปไตย จึงไม่เป็นการกระทำความผิดฐานมั่วสุมก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง และขณะที่จำเลยถูกกกล่าวหาว่ากระทำความผิดในคดีนี้ เป็นวันที่ 23 พ.ค. 2557 ภายหลังจากการรัฐประหารยึดอำนาจการปกครอง 1 วัน ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะสามารถยึดอำนาจได้หรือไม่เพราะยังมีประชาชนออกมาต่อต้านและกฎหมาย

[right-side]

รูปภาพที่ 1 ปกหน้าและปกหลังของหนังสือประชาธิปไตยและอิสลาม: ข้อสังเกตเบื้องต้น
ที่มา PATANI FORUM

Posted: 29 May 2018 01:41 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)

มุสลิม วงศาวิศิษฏ์กุล

เรามักจะได้ยินข้อถกเถียงเกี่ยวกับอิสลามกับประชาธิปไตยอยู่บ่อยครั้งในทำนองที่ว่า “อิสลามไม่ได้ระบุระบอบการเมืองการปกครองที่ชัดเจน” ว่าระบอบไหนคือระบอบที่ดีที่สุด การเงียบของตัวบทและทัศนะของท่านศาสดาในเรื่องดังกล่าวจึงเป็นที่มาของข้อถกเถียงที่ว่าหลักการอิสลามกับประชาธิปไตยไม่ได้ขัดแย้งกันโดยตัวของมันเอง (ซึ่งน่าจะเป็นข้อถกเถียงหนึ่งในหนังสือที่เพิ่งตีพิมพ์ออกมาโดยปาตานีฟอรั่ม เรื่อง ประชาธิปไตยและอิสลาม: ข้อสังเกตเบื้องต้น) อย่างไรก็ดี การนำเอาอิสลามกับประชาธิปไตยมาศึกษาเปรียบเทียบอาจจะทำให้เรามองไม่เห็นคำถามพื้นฐานที่สำคัญอีกคำถามหนึ่งที่ท้าทายอำนาจขององค์กรศาสนาหรือศาสนจักรมาโดยตลอด นั่นก็คือ ศาสนา (อิสลาม) กับการเมืองควรมีความสัมพันธ์กันอย่างไร และความสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้การเมืองในอิสลามมีหน้าตาเป็นอย่างไร

ในการศึกษาความสัมพันธ์กันระหว่างศาสนาและการเมือง มีการแบ่งความสัมพันธ์ดังกล่าวออกเป็นสองรูปแบบหลักๆ คือ ความสัมพันธ์แบบที่แยกออกจากกันและความสัมพันธ์แบบที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ประวัติศาสตร์การเมืองของโลกตะวันตกเผยให้เราเห็นทั้งสองรูปแบบที่กล่าวมาข้างต้น กล่าวคือ ในช่วงยุคมืดตั้งแต่ ศ.10 ไปจนถึง ศ.15 โดยประมาณ เป็นยุคที่ศาสนจักรมีอำนาจเหนือผู้ปกครองทั้งในทางศาสนาและทางการเมือง อำนาจสูงสุดในการตัดสินใจทั้งในด้านการเมืองและการศาสนาอยู่ในอาณาบริเวณของศาสนจักร อีกทั้งศาสนจักรถือเป็นสถาบันที่สำคัญที่สุดในด้านการเข้าถึงองค์ความรู้ในยุคสมัยนั้น อย่างไรก็ดี หลังจากเกิดสงครามสามสิบปีจนนำไปสู่การทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่รู้จักกันว่า “สันติภาพแห่งเวสเฟเลีย” อันนำไปสู่การยุติสงครามครั้งใหญ่ในยุโรป โลกตะวันตกก็เริ่มปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทางศาสนาและการเมืองไปสู่รูปแบบใหม่ กล่าวได้ว่าหลังจากปี 1648 ประเทศในยุโรปหันมาสู่การจัดการความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและการเมืองในรูปแบบที่แยกออกจากกัน โดยมอบอำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศให้กับผู้นำทางการเมืองแทนที่ผู้นำทางศาสนา การจัดการความสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้เกิด “รัฐชาติ” และแนวคิดที่เรียกว่าฆราวาสนิยม (secularism) ซึ่งจัดวางอำนาจสูงสุดให้อยู่ในการตัดสินใจของประชาชน จนนำไปสู่การจัดการและบริหารภาครัฐแบบประชาธิปไตย ศาสนาในฐานะสถาบันจัดตั้งหรือในฐานะแนวคิดจึงมีสถานะเป็นองค์กรเอกชนในพื้นที่ส่วนบุคคลมิใช่สถาบันภาครัฐอีกต่อไป รัฐจึงควรเป็นพื้นที่กลางและควรเป็นกลางสำหรับคนทุกศาสนา ความเชื่อ และชาติพันธุ์ รัฐดังกล่าวในสมัยใหม่จึงเป็นรัฐ secular ไม่ใช่รัฐศาสนา (theocratic state)


เรากลับมามองความสัมพันธ์ระหว่างอิสลามกับการเมืองว่าโดยหลักการแล้วความสัมพันธ์ดังกล่าวน่าจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร โดยส่วนใหญ่แล้วนักการศาสนามีมติว่าศาสนากับการเมืองไม่สามารถแยกออกจากกันได้เนื่องจากศาสนาเป็นระบบของคุณค่าที่พัวพันกับทุกมิติในการใช้ชีวิตของมุสลิมตั้งแต่เกิดจนตาย ระบบคุณค่าดังกล่าวถูกจัดอยู่ในบทบัญญัติของศาสนาที่เรียกว่า “ชารีอะฮ์” ชารีอะฮ์ซึ่งมีที่มาจากคัมภีร์อัลกุรอ่านและแบบปฏิบัติของศาสดาจึงเป็นทั้งคติและกฎหมายแบบไม่เป็นทางการสำหรับมุสลิม[1]

เมื่อโดยหลักการแล้วอิสลามกับการเมืองไม่สามารถแยกจากกันได้ ฉะนั้นอำนาจในการบริหารประเทศจะตกอยู่กับสถาบันใด? สภาพความเป็นจริงในปัจจุบันอำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศของประเทศมุสลิมชนส่วนใหญ่ (ยกเว้นประเทศอิหร่านและประเทศที่ใช้ระบอบประชาธิปไตยแล้ว) อยู่ในพื้นที่ของเจ้าผู้ปกครองโดยมีสถาบันศาสนาเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมในการบริหารประเทศ ส่วนประเทศมุสลิมที่ใช้ระบอบประชาธิปไตย[2] (เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ตุรกี เป็นต้น) ก็นำเอาสถาบันศาสนามาอยู่ในการกำกับดูแลของรัฐและกลายเป็นเครื่องมือรัฐในการกำหนดนโยบาย ฉะนั้น เมื่ออิสลามกับการเมืองไม่สามารถแยกออกจากกันได้ รัฐซึ่งเป็นสถาบันสูงสุดในการจัดการการปกครองจึงไม่สยบยอมให้กับอำนาจใดๆ รวมถึงสถาบันทางศาสนา ในทางกลับกัน รัฐในยุคสมัยใหม่กลับนำเอาทุกสถาบันที่อยู่ภายใต้อธิปไตยของมันมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างรัฐชาติ เมื่อเป็นเช่นนี้ ศาสนาอิสลามภายใต้การกำกับของรัฐจึงเป็นสถาบันที่แทบจะหาความเป็นกลางและอิสระได้ยาก ซึ่งแตกต่างจากอิสลามในอดีตที่สถาบัน “อูลามะฮ์” (ผู้รู้ทางศาสนา) ทำหน้าที่ตรวจสอบและคานอำนาจกับเจ้าผู้ปกครองดั่งจะเห็นได้ในประวัติศาสตร์อิสลามที่ว่าอูลามะฮ์จำนวนมากต้องโดยจำคุกและลงโทษโดยเจ้าผู้ปกครอง

นอกจากนั้น เมื่อเรากลับมาทบทวนตัวบทอัลกุรอ่านแล้ว เราก็จะพบว่าตัวบทต่างๆ (เช่นในบทอัลมาอิดะฮ์) ชี้ให้เราเห็นว่าหลักการอิสลามสนับสนุนการปกครองแบบรัฐศาสนา (theocratic state) โดยมีข้อบังคับให้ยึดคัมภีร์ทางศาสนาเป็นกฎเกณฑ์หลักในการตัดสินปัญหาทางสังคม ดังจะเห็นได้จากโองการต่อไปนี้

إِنَّا أَنزَلْنَا التَّوْرَاةَ فِيهَا هُدًى وَنُورٌ يَحْكُمُ بِهَا النَّبِيُّونَ الَّذِينَ أَسْلَمُوا لِلَّذِينَ هَادُوا وَالرَّبَّانِيُّونَ وَالْأَحْبَارُ بِمَا اسْتُحْفِظُوا مِن كِتَابِ اللَّهِ وَكَانُوا عَلَيْهِ شُهَدَاءَ فَلَاتَخْشَوُا النَّاسَ وَاخْشَوْنِ وَلَا تَشْتَرُوا بِآيَاتِي ثَمَنًا قَلِيلًا وَمَن لَّمْ يَحْكُم بِمَا أَنزَلَ اللَّهُ فَأُولَٰئِكَ هُمُ الْكَافِرُونَ

แท้จริงเราได้ให้อัต-เตารอตลงมาโดยที่ในนั้นมีข้อแนะนำและแสงสว่าง ซึ่งบรรดานบีที่สวามิภักดิ์ได้ใช้อัต-เตารอตตัดสินบรรดาผู้ที่เป็นยิวและบรรดาผู้ที่รู้แล้วในอัลลอฮ์ และนักปราชญ์ทั้งหลายก็ได้ใช้อัต-เตารอตตัดสินด้วย เนื่องด้วยสิ่งที่พวกเขาได้รับมอบหมายให้รักษาไว้ (นั่นคือ) คัมภีร์ของอัลลอฮ์ และพวกเขาก็เป็นพยานยืนยันในคัมภีร์นั้นด้วย ดังนั้นพวกเจ้า จงอย่ากลัวมนุษย์แต่จงกลัวข้าเถิด และจงอย่าแลกเปลี่ยนบรรดาโองการของข้ากับราคาอันเล็กน้อย และผู้ใดที่มิได้ตัดสินด้วยสิ่งที่อัลลอฮ์ได้ทรงประทานลงมาแล้ว ชนเหล่านี้แหละคือผู้ปฏิเสธการศรัทธา (5:44)



وَكَتَبْنَا عَلَيْهِمْ فِيهَا أَنَّ النَّفْسَ بِالنَّفْسِ وَالْعَيْنَ بِالْعَيْنِ وَالْأَنفَ بِالْأَنفِ وَالْأُذُنَ بِالْأُذُنِ وَالسِّنَّ بِالسِّنِّ وَالْجُرُوحَ قِصَاصٌ فَمَن تَصَدَّقَ بِهِ فَهُوَ كَفَّارَةٌ لَّهُ وَمَن لَّمْيَحْكُم بِمَا أَنزَلَ اللَّهُ فَأُولَٰئِكَ هُمُ الظَّالِمُونَ

และเราได้บัญญัติแก่พวกเขาไว้ในคัมภีร์นั้นว่า ชีวิตด้วยชีวิต และตาด้วยตา และจมูกด้วยจมูก และหูด้วยหู และฟันด้วยฟัน และบรรดาบาดแผลก็ให้มีการชดเชยเยี่ยงเดียวกัน และผู้ใดให้การชดเชยนั้นเป็นทาน มันก็เป็นสิ่งลบล้างบาปของเขา และผู้ใดมิได้ตัดสินด้วยสิ่งที่อัลลอฮ์ได้ทรงประทานลงมาแล้ว ชนเหล่านี้แหละคือผู้อธรรม (5:45)



وَلْيَحْكُمْ أَهْلُ الْإِنجِيلِ بِمَا أَنزَلَ اللَّهُ فِيهِ وَمَن لَّمْ يَحْكُم بِمَا أَنزَلَ اللَّهُ فَأُولَٰئِكَ هُمُ الْفَاسِقُونَ

และบรรดาผู้ที่ได้รับอัล-อินญีลก็จงตัดสินด้วยสิ่งที่อัลลอฮ์ได้ทรงประทานลงมาในนั้น และผู้ใดที่มิได้ตัดสินด้วยสิ่งที่อัลลอฮ์ได้ทรงประทานลงมาแล้ว ชนเหล่านี้คือผู้ที่ละเมิด (5:47)



وَأَنزَلْنَا إِلَيْكَ الْكِتَابَ بِالْحَقِّ مُصَدِّقًا لِّمَا بَيْنَ يَدَيْهِ مِنَ الْكِتَابِ وَمُهَيْمِنًا عَلَيْهِ فَاحْكُم بَيْنَهُم بِمَا أَنزَلَ اللَّهُ وَلَا تَتَّبِعْ أَهْوَاءَهُمْ عَمَّا جَاءَكَ مِنَ الْحَقِّ لِكُلٍّ جَعَلْنَا مِنكُمْشِرْعَةً وَمِنْهَاجًا وَلَوْ شَاءَ اللَّهُ لَجَعَلَكُمْ أُمَّةً وَاحِدَةً وَلَٰكِن لِّيَبْلُوَكُمْ فِي مَا آتَاكُمْ فَاسْتَبِقُوا الْخَيْرَاتِ إِلَى اللَّهِ مَرْجِعُكُمْ جَمِيعًا فَيُنَبِّئُكُم بِمَا كُنتُمْ فِيهِ تَخْتَلِفُونَ

และเราได้ให้คัมภีร์ลงมาแก่เจ้า (หมายถึงศาสนามูฮัมหมัด) ด้วยความจริงในฐานะเป็นที่ยืนยันคัมภีร์ที่อยู่เบื้องหน้ามันและเป็นที่ควบคุมคัมภีร์(เบื้องหน้า) นั้น ดังนั้นเจ้าจงตัดสินสินระหว่างพวกเขา ด้วยสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงประทานลงมาเถิด และจงอย่าปฏิบัติตามความใคร่ใฝ่ต่ำของพวกเขา โดยเขวออกจากความจริงที่ได้มายังเจ้า สำหรับแต่ละประชาชาติในหมู่พวกเจ้านั้น เราได้ให้มีบทบัญญัติและแนวทางไว้ และหากอัลลอฮ์ทรงประสงค์แล้วแน่นอนก็ทรงให้พวกเจ้าเป็นประชาชาติเดียวกันแล้ว แต่ทว่าเพื่อที่จะทรงทดสอบพวกเจ้าในสิ่งที่พระองค์ได้ประทานแก่พวกเจ้า ดังนั้นพวกเจ้าจงแข่งขันกันในความดีทั้งหลายเถิด ยังอัลลอฮ์นั้นคือการกลับไปของพวกเจ้าทั้งหมด แล้วพระองค์จะทรงแจ้งให้พวกเจ้าทราบในสิ่งที่พวกเจ้ากำลังขัดแย้งกันในสิ่งนั้น (5:48)

ในเมื่อตัวบทชี้ให้เห็นว่าหลักการอิสลามสนับสนุนองค์ประกอบของรัฐศาสนา จะเป็นไปได้หรือไม่ที่รัฐศาสนาดังกล่าวจะเป็นประชาธิปไตย? หรือว่ารัฐมุสลิมสมัยใหม่ต้องยอมทิ้งการปกครองแบบรัฐศาสนาโดยมีกฎหมายชารีอะฮ์ และหันไปสู่การปฏิรูปทางการเมือง และยึดถือหลักการฆราวาสนิยมในแบบประชาธิปไตย? ตุรกีประกาศเป็นประเทศ secular ตั่งแต่ก่อตั้งประเทศในปี 1923 อินโดนีเซียหาได้เป็นรัฐอิสลามไม่ ตูนีเซียมุ่งสู่การสร้างประชาธิปไตยหลังจากเหตุการณ์อาหรับสปริง เช่นเดียวกับมาเลเซียที่กำลังได้รับความสนใจจากชาวโลก ประเทศมุสลิมและนักวิชาการอิสลามอีกจำนวนมากกำลังอยู่ในภาวะระหว่างเขาควาย (secular state vs theocratic state) ไม่ว่าจะเป็นในทางทฤษฏีหรือในทางปฏิบัติ dilemma ของรัฐศาสนากับประชาธิปไตยในตะวันออกกลางและประเทศมุสลิมก่อตัวขึ้นมาจากความคิดที่ว่าอิสลามกับการเมืองแยกออกจากกันไม่ได้ เมื่อแยกออกจากกันไม่ได้แล้ว ประเทศมุสลิมจะเป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร หรือว่าหลักการดังกล่าวเป็นเพียงข้อถกเถียงในอดีตในทางทฤษฎีซึ่งไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในโลกมุสลิมในยุคสมัยใหม่อีกต่อไป?


เชิงอรรถ




[1] ชารีอะฮ์ในทางสังคมวิทยาอาจจะหมายถึงธรรมเนียมสากล (general norm) ของมุสลิม ในทางปรัชญาชารีอะฮ์อาจจะหมายถึงแนวทางที่นำไปสู่แหล่งที่มาและวิทยปัญญา


[2] โปรดดูคำอธิบายของระบอบประชาธิปไตยและอิสลามในหนังสือ ประชาธิปไตยและอิสลาม: ข้อสังเกตเบื้องต้นพิมพ์โดยปาตานีฟอรั่ม

[full-post]


Posted: 29 May 2018 02:00 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)

ประยุทธ์ ระบุ คสช.ติดตามว่าเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ หลัง พรรคอนาคตใหม่ประกาศจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ และนิรโทษกรรมคดีการเมืองในยุค คสช. หากได้รับการเลือกตั้ง กมธ.ร่าง รธน. ชี้จะแก้ต้องทำประชามติ กกต.ยันทำได้ ชี้ ปชช.จะตัดสินเองตอนเลือกตั้ง ขณะที่'วิษณุ' ชี้ไม่น่าจะผิดอะไร แต่คำว่า 'ฉีกทิ้ง' อาจเป็นปัญหาได้ เพราะรุนแรง

29 พ.ค.2561 ภายหลังจากพรรคอนาคตใหม่ประกาศจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ และนิรโทษกรรมคดีการเมืองในยุค คสช. หากได้รับการเลือกตั้งนั้น ส่งผลให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ทั้งสนับสนุนและคัดค้านจำนวนมาก

ประยุทธ์ ระบุ คสช.เช็คเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่

โพสต์ทูเดย์ รายงานปฏิกิริยาจาก หัวหน้า คสช. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องของ คสช.ที่จะติดตามว่าการดำเนินการใดเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่

"จะทำอะไรขอให้ใช้สติปัญญาใคร่ครวญ อย่าเอากฎหมายว่าเป็นอุปสรรค เพราะกฎหมายมีไว้ให้เกิดความเป็นธรรม และทุกพรรคก็ไม่ได้ออกมาพูดจาให้ใครเสียหาย ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการประชุมพรรค การจัดหาสมาชิกพรรค อะไรก็ว่ากันไป แต่การที่จะมาติติงให้ร้ายอะไรต่างๆ มันสมควรหรือไม่ ก็ต้องไปดูในประเด็นข้อกฎหมาย" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว พร้อมระบุถึงเรื่องการพบนักการเมืองในเดือน มิ.ย.เพื่อกำหนดวันเลือกตั้งนั้นว่า ถ้าพบเพื่อจะกำหนดวันเลือกตั้งก็ไม่ต้องพบ ก็กำหนดได้เลย แต่จะต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า จะเดินหน้ากันอย่างไร จะเคลื่อนไหวกันได้อย่างไร
กมธ.ร่าง รธน. ชี้จะแก้ต้องทำประชามติ

ชาติชาย ณ เชียงใหม่ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า หากจะแก้รัฐธรรมนูญต้องทำประชามติ ขั้นตอนก็มีอีกเยอะ หรือหากต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญตั้งแต่รัฐบาลนี้ ก็มีขั้นตอนตามมาตรา 256 อยู่คือไปล่ารายชื่อมา 5 หมื่นคน เพื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ทันที

"เชื่อว่าเป็นการโยนหินถามทาง เป็นการแสดงตามบทบาททางการเมือง เหมือนเต้นแร้งเต้นกา อยากเป็นอิสระอยู่ในท้องทุ่ง" ชาติชาย กล่าว
กกต.ยันทำได้ ชี้ ปชช.จะตัดสินเองตอนเลือกตั้ง

วานนี้ (28 พ.ค.61) มติชนออนไลน์ รายงานปฏิกิริยาจาก คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ด้วยว่า พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการสำนักงาน กกต. และนายทะเบียนพรรคการเมือง กล่าวกรณีนี้ ว่า ตอนนี้ยังไม่ถือว่าเป็นช่วงของการหาเสียงเลือกตั้ง แต่การที่พรรคการเมืองจะหาเสียงหรือนำเสนอนโยบายต่างๆ เป็นเรื่องทางการเมืองที่สามารถทำได้อยู่แล้ว เข้าใจว่า เป็นช่องทางในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญก็ได้เขียนช่องทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้อยู่แล้ว และหากจะนำเสนอเป็นแนวนโยบายหรืออุดมการณ์ของพรรคการเมือง ก็ไม่น่าจะมีปัญหา ถ้าเป็นการเสนอแก้โดยใช้ระบบของกฎหมาย คงอยู่ในกรอบ ซึ่งทำได้อยู่แล้ว และสามารถนำเสนอต่อประชาชนได้ ขึ้นอยู่กับว่าประชาชนจะสนับสนุนหรือไม่ ซึ่งต้องรอดูในการเลือกตั้ง

พ.ต.อ.จรุงวิทย์ กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมในการจัดการเลือกตั้งส.ส.โดยเฉพาะในเรื่องของการแบ่งเขตเลือกตั้ง ว่า ขึ้นอยู่กับร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.จะมีผลบังคับใช้เมื่อใด กกต.ก็จะออกระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเรื่องของการแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยในข้อเท็จจริงในพื้นที่แต่ละจังหวัดก็จะพอทราบอยู่แล้วว่าจะมีการแบ่งเป็นกี่เขต แบ่งอย่างไร แต่การแบ่งเขตกกต.ต้องฟังเสียงประชาชนในพื้นที่และผู้สมัครเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ซึ่งโดยปกติกกต.จะให้ผอ.กกต.ประจำจังหวัดเสนอรูปแบบการแบ่งเขตในแต่ละเขตมา 3 รูปแบบ จากนั้นจะมีการรับฟังเสียงของประชาชนและผู้สมัคร ก่อนที่กกต.จะมีมติคัดเลือก ส่วนความคืบหน้ากรณีที่พรรคการเมืองเก่า ที่ยังดำเนินกิจกการจะต้องแจ้งผลการยืนยันการเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง มายังนายทะเบียนพรรคการเมืองภายในวันที่ 31 พ.ค. ตามคำสั่งคสช. ได้รับทราบจากเจ้าหน้าที่ว่าขณะนี้มีพรรคการเมืองทยอยแจ้งมาบ้างแล้ว แต่ยังไม่สามารถจะบอกได้ว่ามีพรรคการเมืองใดบ้าง แต่ทุกพรรคการเมืองต้องรายงานข้อมูลมาให้นายทะเบียนพรรคการเมืองภายในสิ้นเดือนพฤษภาคมนี้
'วิษณุ' ชี้ไม่น่าจะผิดอะไร แต่คำว่า 'ฉีกทิ้ง' อาจเป็นปัญหาได้ เพราะรุนแรง

ขณะที่ไทยโพสต์ รายงานว่า วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ประกาศหากมีอำนาจจะนิรโทษกรรมคนที่โดนคดีทางการเมืองในยุค คสช. ว่า ไม่น่าจะผิดอะไร เพราะเป็นการแสดงเจตนารมณ์ ไม่ถึงขั้นประกาศนโยบายพรรค เพราะนโยบายพรรคต้องผ่านที่ประชุมพรรคเสียก่อน ส่วนแนวคิดดังกล่าวจะทำได้จริงหรือไม่นั้น ตนไม่ทราบ ยังไม่รู้รายละเอียดว่าจะเสนออะไร ส่วนที่นายธนาธรประกาศแก้ไขรัฐธรรมนูญจะมีความผิดหรือไม่นั้น เขายังไม่ได้บอกว่าจะแก้อะไร และตนคิดว่าคงไม่เป็นปัญหาอะไร ถือเป็นสิทธิ์เสรีภาพที่จะพูดอย่างนั้น คนอื่นพูดเยอะแยะ ส่วนจะแก้ได้หรือไม่ได้ถือเป็นเรื่อง
ต่อกรณีมีการพูดถึงขั้นจะฉีกทิ้งรัฐธรรมนูญ วิษณุ กล่าวว่า “คำพูดที่ว่า ฉีกทิ้ง ขีดเส้นใต้ไว้หน่อย เพราะรุนแรง และจะทำให้เป็นปัญหาได้ ในยามนี้อย่าไปพูดอะไรให้มันเป็นปัญหา พยายามพูดให้อยู่ในร่องในรอยดีที่สุด ใครพูดอะไรทุกคนต้องรับผิดชอบตัวเอง”

เมื่อถามถึงความคืบหน้าการนัดหมายพรรคการเมืองพูดคุยในเดือน มิ.ย. นี้ วิษณุ กล่าวว่า ยังไม่ทราบ ส่วนที่พรรคอนาคตใหม่ยื่นเงื่อนไขจะเข้าร่วมต่อเมื่อมีการถ่ายทอดสดนั้น ตนไม่มีความเห็น และไม่ทราบว่ามีการเชิญพรรคอนาคตใหม่ด้วยหรือไม่ เพราะแม่น้ำทั้ง 5 สายเป็นผู้กำหนด อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ คสช.เคยพูดว่าหากจำเป็นพรรคการเมืองอยากจะพบก่อนที่กฎหมายลูกจะประกาศใช้ทั้งหมดก็ยินดี แต่เมื่อทำท่าไม่ยินดียินร้าย ไม่อยากพบ เงื่อนไขมาก ต้องถ่ายทอดสดบ้าง ต้องมาทุกพรรคบ้าง ต้องกำหนดวันอะไรได้บ้าง คสช.ก็ต้องคิดใหม่ว่าจะทำทำไม

[right-side]


Posted: 29 May 2018 04:45 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)

ประชาไท Live "โจทย์ชายแดนใต้กับอนาคตสังคมไทย" ร่วมพูดคุยกับ 1. อานัส พงษ์ประเสริฐ กลุ่ม Saiburi Lookers 2. ปรัชญา โต๊ะอิแต ปาตานี ฟอรั่ม 3. รักชาติ สุวรรณ์ และ 4. อัญชลี คงศรีเจริญ จากเครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพ ดำเนินรายการโดย เทวฤทธิ์ มณีฉาย

พูดคุยสรุปหลังเวทีสาธารณะ "ปัญหาชายแดนใต้กับอนาคตประเทศไทย" ที่อาคาร 2 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อ 26 พฤษภาคม 2561

[righto-side]


Posted: 29 May 2018 07:28 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)

ในวันที่ 31 พ.ค. นี้ ศาลอาญากรุงเทพใต้มีการนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในคดีที่บริษัทเนเชอรัล ฟรุต จำกัด บริษัทธุรกิจสัปปะรดกระป๋องส่งออก ฟ้อง อานดี้ ฮอลล์ นักวิจัยด้านสิทธิแรงงานข้ามชาติชาวอังกฤษในข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จ 14(1) จากการจัดทำวิจัยและนำเข้าสู่เว็บไซต์ฟินวอชท์ และแจกเอกสารในการแถลงข่าวงานวิจัยชื่อ ‘Cheap Has a High Price (ของถูกที่มีราคาแพง)’ ซึ่งได้กล่าวหาว่าโจทก์ละเมิดสิทธิแรงงาน ละเมิดกฎหมายแรงงานและมีการค้ามนุษย์ ทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียง

ศาลอุทธรณ์นัดฟังคำพิพากษาก่อนหน้านี้ แต่ต้องเลื่อนมาเป็นวันที่ 31 พ.ค. 2561 ด้วยเหตุผลว่าอานดี้ ไม่ได้อยู่ในไทย ไม่ได้ปรากฏตัวในชั้นศาล และศาลได้ออกหมายจับอานดี้ไปแล้วเมื่อวันที่ 24 เม.ย.2561 หากอานดี้ไม่มาปรากฏตัวที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ในวันที่ 31 พ.ค.นี้ ศาลอาจจะอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลย

คดีนี้เป็น 1 ใน 4 คดีที่อานดี้ถูกบริษัทเนเชอรัล ฟรุต ฟ้องแพ่งและอาญา รายละเอียดมีดังนี้

คดีที่1

บริษัทฟ้องคดีอาญาในข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จ 14(1) จากการทำวิจัยและนำเข้าสู่เว็บไซต์ฟินวอชท์ และแจกเอกสารในการแถลงข่าวงานวิจัยชื่อ ‘Cheap Has a High Price (ของถูกที่มีราคาแพง)’

เหตุแห่งคดีนี้เกิดในปี 2556 ต่อมาในปี 2559 ศาลชั้นต้นตัดสินว่าอานดี้ มีความผิดตามฟ้อง จากการกระทำสองกรรมดังกล่าว ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 จำคุก 2 ปี ปรับ 100,000 บาท รวมจำคุก 4 ปี ปรับ 200,000 บาท แต่เนื่องจากจำเลยให้การเป็นประโยชน์จึงลดโทษลง 1 ใน 4 เป็นจำคุก 3 ปี ปรับ 150,000 บาท นอกจากนี้จำเลยยังทำงานด้านสิทธิเชี่ยวชาญด้านแรงงานข้ามชาติ เป็นประโยชน์อยู่บ้างและไม่เคยจำคุกมาก่อน จึงให้รอลงอาญาเป็นเวลา 2 ปี รวมถึงให้โฆษณาคำพิพากษาโดยย่อให้เว็บฟินวอชท์ เว็บไซต์สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เว็บไซต์ประชาไท เป็นเวลา 30 วัน และในนสพ.ไทยรัฐ บางกอกโพสต์และนสพ.ท้องถิ่น ขนาด 4*5 นิ้ว ติดต่อกัน 7 วันนับแต่มีคำพิพากษา โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณาทั้งหมด

ต่อมาหลังจากมีคำพิพากษาไม่นาน อานดี้ได้เดินทางออกจากประเทศไทย โดยระบุว่าไม่สามารถทนต่อการถูกคุกคามด้วยกระบวนการยุติธรรมได้ ในเดือน ก.พ. 2560 ทีมกฎหมายของอานดี้ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคำพิพากษากรณีที่เนเชอรัล ฟรุต ยื่นฟ้อง โดยทางเนเชอรัล ฟรุต ก็ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลเช่นกัน โดยต้องการให้อานดี้กลับมารับโทษจำคุก และคดีกำลังจะมีคำพิพากษาในชั้นศาลอุทธรณ์ในวันที่ 31 พ.ค.นี้
คดีที่ 2

บริษัทฟ้องแพ่งในคดีข้างต้น เรียกค่าเสียหายจำนวน 300 ล้านบาท

คดีที่ 3

บริษัทฟ้องคดีอาญาข้อหาหมิ่นประมาท กรณีที่นายอานดี้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวอัลจาซีรา ที่ประเทศเมียนมาร์ เมื่อปี 2556 ถึงงานวิจัยเรื่อง “การละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ” ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารสำเร็จรูปในประเทศไทย เมื่อเดือน พ.ย. 2559 ศาลฎีกาจังหวัดพระโขนงได้ยกฟ้องคดีหมิ่นประมาทนี้ โดยตอนหนึ่งของคำพิพากษาระบุว่า เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำความผิดนอกราชอาณาจักร ผู้กระทำความผิดจึงไม่ต้องรับโทษในราชอาณาจักร โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ กรณีนี้ไม่จำต้องพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย
คดีที่ 4

คดีแพ่งสืบเนื่องจากการให้สัมภาษณ์อัลจาซีราดังกล่าวข้างต้น ศาลจังหวัดพระโขนงตัดสินเมื่อเดือนมีนาคม 2561 ให้อานดี้จ่ายค่าเสียหายให้กับทางโจทก์ 10 ล้านบาท นอกจากนั้นต้องเสียเงินค่าทนายโจทก์และค่าธรรมเนียมศาลอีก 10,000 บาท บวกดอกเบี้ยร้อยละ 7.5


Posted: 29 May 2018 08:58 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)


วริตตา ศรีรัตนา




หากท่านผู้อ่านบทความรู้จัก โอลกา โตการ์ชุก นักเขียนชาวโปลิชที่เพิ่งได้รับรางวัล Man Booker International Prize ไปสด ๆ ร้อน ๆ ผู้เขียนบทความนี้ขอแสดงความยินดีด้วยที่คุณเป็นหนึ่งในเปอร์เซ็นต์อันน้อยนิดในกลุ่มนักอ่านชาวไทย (ผู้คุ้นเคยกับวรรณกรรมภาษาอังกฤษมากกว่าภาษาอื่น) ที่รู้จักนักเขียนท่านนี้ ผู้อ่านบทความนี้บางท่านคงเคยเห็นชื่อนักเขียนท่านนี้ผ่านตามาบ้างหากติดตามรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม อันเป็นรางวัลที่เธอได้รับเสนอชื่อในปี 2012 แต่กระนั้น หากไม่เคยได้ยินชื่อ โอลกา โตการ์ชุก มาก่อนเลย ก็หาใช่เหตุที่เราต้องจิกทึ้งผมด้วยความรู้สึกละอายไม่ ด้วยหนังสือที่แปลเป็นภาษาอังกฤษของนักเขียนท่านนี้ มีเพียง 3 เล่มหลักเท่านั้น (ขอลิสต์มา ณ ที่นี้ ด้วยหวังว่านักอ่านและนักแปลภาษาไทยจะสนใจ) ได้แก่


1. ผลงานที่ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ ขายดิบขายดี และสร้างชื่อให้นักเขียน คือ House of Day, House of Night (Dom dzienny, dom nocny), trans. Antonia Lloyd-Jones. London: Granta Books, 2002. เท่าที่ทราบ ฉบับแปลเล่มนี้ตีพิมพ์สองครั้ง ครั้งที่สองตีพิมพ์โดย Northwestern University Press ในปีถัดมาคือ 2003 เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังว่าดีอย่างไร


primeval-and-other-times

2. ผลงานที่นักวิจารณ์ยอมรับว่าเป็นผลงานชิ้นเอกในเชิงการวิพากษ์ประวัติศาสตร์ยุโรปกลาง Primeval and Other Times (Prawiek i inne czasy), trans. Antonia Lloyd-Jones. Prague: Twisted Spoon Press, 2010. สำหรับแฟนวรรณกรรมยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกฉบับแปลภาษาอังกฤษ Twisted Spoon Press ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์ที่ก่อตั้งเมื่อค.ศ. 1992 ในบรรยากาศแห่งความหวังหลังยุคมืดแห่งการเซ็นเซอร์ใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ในเชโกสโลวะเกีย เป็นสำนักพิมพ์อิสระที่เผยแพร่และส่งเสริมงานวรรณกรรมของภูมิภาคดังกล่าวชนิดที่การเรียนการสอนยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกศึกษาในโลกที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักนั้นจะขาดเสียไม่ได้ สำนักพิมพ์นี้เรียกได้ว่าเป็นสถาบันในตัวของมันเอง

3. ผลงานน่าอ่านเล่มล่าสุดที่ทำให้เธอได้รับรางวัลในปีนี้ นั่นคือ Flights หนังสือรวมตัวบทเกี่ยวกับการเดินทาง เดี๋ยวจะรีวิวให้ท่านอ่านกัน


แต่ก่อนที่จะรีวิวเนื้อหา ท่านสังเกตเห็นอะไรจากชื่อเรื่องของหนังสือเล่มหลัก ๆ ที่ลิสต์มาหรือไม่? ชื่อเรื่องที่สะท้อนธีมบ้าน ธีมบรรพกาล และธีมการเดินทาง – ดูท่านักเขียนท่านนี้เป็นนักเขียนที่มีสำนึกตระหนักรู้เกี่ยวกับภูมิทัศน์และความเคลื่อนไหวสูงยิ่ง แน่สิ ก็โอลกา โตการ์ชุก เป็นนักเขียนที่มาจากยุโรปกลาง ภูมิภาคจินตกรรม… ที่มีอยู่จริง? ยุโรปกลางคืออะไร ทำไมต้องจับมาเป็นประเด็น

ยุโรปกลาง – ภูมิภาคจินตกรรม... แห่งชีวิตจริง

นักเขียนชาวเช็กคนหนึ่งนามมิลาน คุนเดรา ได้นิยามคำว่า “ยุโรปกลาง” ไว้ดังนี้


ยุโรปกลาง. ศตวรรษที่ 17: พลังอิทธิพลแห่งบารอกเข้ามาอยู่เหนือวัฒนธรรมอันเป็นเอกภาพบางอย่างในภูมิภาคนี้ อันเป็นภูมิภาคที่ประกอบด้วยหลายชาติและจึงมีศูนย์กลางมากมายหลายที่ด้วยพรมแดนต่าง ๆ เปลี่ยนไปมา ยากยิ่งจะกำหนดขอบเขต

(ดู The Art of the Novel)

ความลื่นไหลและความเปลี่ยนแปลงของพรมแดนของภูมิภาคยุโรปกลางที่คุนเดราบรรยายนั้น เอริก ฮอบส์บอมดูจะเห็นพ้องเนื่องจากได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า “ไม่มีที่ใดในภูมิศาสตร์ที่ภูมิประเทศจะเป็นหนึ่งเดียวกับอุดมการณ์และการเมือง (แยกออกจากกันมิได้) อย่างยุโรปกลางอีกแล้ว” (ดู Fractured Times: Culture and Society in the Twentieth Century) เมื่อภูมิทัศน์ ภูมิศาสตร์เป็นหนึ่งเดียวกับระบอบการเมือง แน่นอน ภูมิภาคที่ผ่านระบอบการปกครองหลัก ๆ ทุกรูปแบบที่เรารู้จัก—ลองไล่ดูสิ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ เผด็จการนาซี เผด็จการคอมมิวนิสต์ ประชาธิปไตย เรื่อยมาจนประชาธิปไตยที่ออกตัวอย่างไม่อายว่าเป็นประชาธิปไตยที่ไม่เสรี—อย่างยุโรปกลางนั้น พื้นที่และอัตลักษณ์ย่อมแปรเปลี่ยนไปปตามอำนาจที่เปลี่ยนมือเป็นนิตย์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในอดีต (แม้กระทั่งภาษา ที่ระบอบหนึ่งถูกยกให้เป็นเอก อีกระบอบหนึ่งแบนเสียแทบไม่เหลือร่องรอย) ล้วนเป็น phantasmagoria -- ภาพหลอนที่เปลี่ยนแปลงไปตามจิตใจและสังคมของผู้ฝันและถูกหลอกหลอน ส่งผลให้อัตลักษณ์และพื้นที่ยุโรปกลางประกอบด้วยพื้นที่ทับซ้อนแห่งภูมิปัญญา ประสบการณ์ และอัตลักษณ์หลากมิติ แต่ละมิติก็ย้อนแย้งและขัดแย้งกันอย่างไม่น่าเชื่อ นี้เอง—ผู้เขียนบทความเชื่อและสัมผัสได้จากประสบการณ์—เป็นปัจจัยที่ดึงดูดความสนใจของผู้ศึกษาวรรณกรรมจากภูมิภาคนี้

ตกลงยุโรปกลางคืออะไร อยู่ที่ไหน?

คำว่า “ยุโรปกลาง” ที่เรารู้จักกัน แปลเป็นไทยจากรูปภาษาอังกฤษคือ “Central Europe” ซึ่งแปลจากคำภาษาเยอรมัน “Mitteleuropa” ซึ่งเป็นคำที่ใช้โดยแพร่หลายหลังจากที่ฟรีดริช นาวมานน์ (ค.ศ. 1860-1919) เขียนหนังสือชื่อ Mitteleuropa ซึ่งตีพิมพ์เมื่อค.ศ. 1915 เนื้อหาของหนังสือนั้นเกี่ยวกับแผนการที่จะทำให้ภูมิภาคยุโรปกลางเป็นเยอรมันโดยรวมอำนาจเบ็ดเสร็จที่ศูนย์กลางคือปรัสเซีย จึงไม่น่าแปลกใจที่ในกาลต่อมาระบอบนาซีได้ยึดแนวคิดดังกล่าวมาปรับใช้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเลเบนสเราม์ (Lebensraum) ซึ่งมุ่งขยายเขตแดนอำนาจนาซีในภูมิภาคยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก แต่กระนั้น แม้คำว่า “ยุโรปกลาง” จะใช้กันแพร่หลายเพราะนโยบายดังกล่าว แต่ความเป็น “ยุโรปกลาง” แห่งอาณาจักรออสเตรีย-ฮังการีซึ่งเป็นพื้นที่ที่ผู้คนหลากหลายทางวัฒนธรรมอาศัยอยู่นั้นมีมาก่อนค.ศ. 1915 จึงกล่าวได้ว่ายุโรปกลางนั้นมีนัยสำคัญสองประการที่ย้อนแย้ง ประการแรก ยุโรปกลางอันเป็นเครื่องหมายแห่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมแห่งอาณาจักรออสเตรีย-ฮังการี ประเด็นนี้ แอนนา พอร์เตอร์ ได้เขียนบรรยายไว้ดังนี้: “อาณาจักรออสเตรีย-ฮังการีปกครองชนชาติ ภาษา ขนบธรรมเนียม ความสุดโต่งอันหลากหลาย—นับเป็นความแตกต่างหลากหลายที่ศตวรรษที่ 21 ให้คุณค่าและยกย่องให้เป็นนิมิตหมายแห่งยุคสมัยอันเที่ยงธรรม” (ดู The Ghosts of Europe: Central Europe's Past and Uncertain Future) และประการที่สอง ยุโรปกลางแห่งการยึดครองและรวมศูนย์อำนาจของปรัสเซียหรือแม้กระทั่งระบอบนาซีที่ต่อต้านความหลากหลายทางวัฒนธรรมตามที่ผู้เขียนได้อธิบายแล้ว

ความย้อนแย้งและซับซ้อนของภูมิภาคยุโรปกลางยังไม่หยุดอยู่แค่นี้ คำถามที่ชวนให้ใครหลายคนต้องปวดหัวคือคำถามที่ว่า แล้วมันอยู่ที่ไหน? ขอข้อมูลพิกัดและอาณาบริเวณด้วย


แหล่งภาพ: https://www.kaidee.com/product-135098250

หากเราพินิจโฆษณาของการบินไทยที่ขนานนามให้ออสเตรียเป็น “เมืองโรแมนติกแห่งยุโรปตะวันออก” แล้วเชื่อตามนั้น ก็คงจะไม่มีพื้นที่ในหัวสมองของเราที่จะรองรับยุโรปกลางได้เลย การที่ชาวไทยหลายคนจะเรียกฝรั่งเศส เยอรมนี และออสเตรียว่ายุโรปตะวันตกและเรียกภูมิภาคฝั่งตะวันออกของออสเตรียว่ายุโรปตะวันออกไปทั้งหมดนั้นไม่แปลกหรอก ด้วยเป็นการรับเอาภาษาแห่งการแบ่งขั้วแบ่งข้างโลกเป็นสองฝ่ายสมัยสงครามเย็น (โดยอาจไม่ทันคิด หรือ –สำหรับผู้ที่เข้าใจไปว่าตนอิงภูมิศาสตร์ที่ตั้งประเทศและเมืองหลวงโดยบริสุทธิ์ใจ – ไม่ตะหนักข้อชวนคิดที่ว่าปรากอยู่เยื้องไปทางตะวันตกมากกว่าเวียนนาเสียอีก ลองหาแผนที่ดูได้ เหตุใดในความรู้สึกของเรา เราไม่มองว่าปรากเป็นยุโรปตะวันตกเล่า) แต่การเรียกเวียนนาว่ายุโรปตะวันออกถือว่าแปลกประหลาด และทำให้ผู้สนใจยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกศึกษางงเป็นไก่ตาแตกไปตาม ๆ กันว่าคำเรียกขานนี้มีที่มาปริศนาจากแห่งหนใด

พรมแดนของยุโรปกลางเปลี่ยนไปมาตามระบอบปกครองฉันใด อาณาบริเวณนั้นก็เปลี่ยนไปมาตามมุมมองของผู้ที่มองภูมิภาคนี้ฉันนั้น บางตำราว่ายุโรปกลางกินบริเวณที่เรียกว่า Pannonia อันเป็นที่ตั้งจังหวัดโบราณแห่งหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน ตอนเหนือและตะวันออกมีแม่น้ำดานูบเป็นเขตแดน Pannonia ในปัจจุบันคือบางส่วนของออสเตรีย สาธารณรัฐเช็ก สาธารณรัฐสโลวัก ฮังการี โครเอเชีย เซอร์เบีย สโลวีเนีย และโรมาเนีย เรื่อยไปจนติดขอบชายแดนบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาและยูเครน ดูจะนิยามได้ง่ายดาย แต่บางคนไม่นับว่าโรมาเนียเป็นยุโรปกลาง และบางตำรากำหนดเขตแดนเช่นแผนที่ด้านล่างนี้ โดยเฉพาะตำราที่อ้างอิงความยิ่งใหญ่เกรียงไกรของยุโรปกลาง (เช่นเดียวกับพื้นที่ชุมชนจินตกรรมอื่น ๆ ในโลก ยุโรปกลางก็ถูกโยงถูกโหนเป็นเครื่องมือทางการเมืองชาตินิยมและภูมิภาคนิยมได้) แผนที่ด้านล่างมาจากเพจงานสัมมนาทางวิชาการหัวข้อ “Central Europe, from the Collapse of the Monarchy to Eastern Expansion of the European Union to the Challenges Facing Europe Today” ที่จัดโดย The Central European Association Club Pannonia ณ หอสมุดบัณฑิตยสภาแห่งฮังการี ที่เพิ่งจัดไปเมื่อ 17 พฤษภาคม ปีนี้


สรุปว่ายุโรปกลางมีและไม่มีจริง? อาจเป็นได้ ที่แน่คือพิกัดและพรมแดนขึ้นอยู่กับมุมมองและผู้นิยาม บางคราคำว่า “ยุโรปกลาง” เป็นการจัดประเภทที่ช่วยให้อดีต Eastern Bloc เอาตัวออกห่างจากอดีตอันเจ็บปวด ความยากจนและความด้อยสถานะ อีกทั้งอคติที่โลกมีต่อภูมิภาคของตน บางคราคำว่า “ยุโรปกลาง” เป็นคำเรียกที่สะดวกสบายใจ เช่น เหมารวมไปเลยว่าประเทศแกนหลักของยุโรปกลางคือประเทศสมาชิกวิเชกราด 4 อันได้แก่ สาธารณรัฐเช็ก ฮังการี โปแลนด์ และสโลวะเกีย แต่มันแค่นั้นจริงหรือ

ใช่และไม่ใช่ เข้าใจง่ายและไม่ง่ายในเวลาเดียวกัน ทางเดียวที่อาจช่วยให้เข้าใจเศษเสี้ยวของภูมิภาคจินตกรรมแห่งชีวิตจริงนี้ คือต้องเดินทางไปประสบวัฒนธรรมของผู้คนด้วยตัวคุณเอง แต่แม้คุณจะพยายามปักปันเขตแดนยุโรปกลางในหัวของคุณเองมากเพียงไร คุณต้องลบและ edit มันอีกครั้งซ้ำและซ้ำเล่าทุกทีไป นี่กระมังคือข้อที่ผลักดันให้ผู้เขียนบทความเพียรพยายามเดินทางค้นหาและเก็บสะสมจิกซอว์ประสบการณ์และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิภาคที่จริงและไม่จริงนี้ (ที่เมื่อเอาชิ้นส่วนลองมาปะติดปะต่อแล้วไม่ได้ภาพที่สมบูรณ์ หากได้ภาพเค้าหน้าแสยะยิ้มโหว่ ๆ ของฟรันซ์ คาฟกาแทน) และค้นพบว่าที่เพียรค้นหาสำรวจอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันไม่ใช่ยุโรปกลางไปเสียทั้งหมดหรอก แต่ตัวผู้เขียนบทความเองด้วยต่างหาก

โอลกา โตการ์ชุก เกิดเมื่อค.ศ. 1962 ที่เมือง ซุเลฮุฟ ภาคตะวันออกของสาธารณรัฐโปแลนด์ในปัจจุบัน หรือในภูมิภาคทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ไซลีเซียตอนล่าง (หมายเหตุ: นอกจากชื่อเมืองต่าง ๆ ในยุโรปกลางจะมีหลายชื่อหลายภาษาตามอำนาจระบอบปกครอง เช่น ชื่อเก่าของ บราติสลาวา เมืองหลวงของสาธารณรัฐสโลวัก ภาษาเยอรมันคือ เพรสบูวร์ก ภาษาฮังการี คือ ปอซอญ พื้นที่ในภูมิภาคยุโรปกลางนั้นจะมีทั้งชื่อเรียกที่เป็นทางการและชื่อทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เช่น โมราเวีย) เมืองเกิดของโอลกา คือ ซุเลฮุฟ (ชื่อภาษาเยอรมัน Züllichau) นั้นเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรแห่งพวกโปลันส์ (ชื่อเรียกชาวสลาฟตะวันตกในดินแดนอาณาเขตส่วนหนึ่งของโปแลนด์ในปัจจุบัน) ภายใต้กษัตริย์เมียชโกที่ 1 ในสมัยศตวรรษที่ 10 ต่อมาถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของไซลีเซียในสมัยศตวรรษที่ 12 เคยเป็นส่วนหนึ่งของปรัสเซียเมื่อต้นศตวรรษที่ 18 เมืองนี้ถูกทำลายหนักมากช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2


เมือง Züllichau สมัยต้นศตวรรษที่ 20


แหล่งภาพ: http://klub-aa.blogspot.com/2017/06/

ที่ผู้เขียนบทความดูจะบรรยายเรื่องภูมิศาสตร์เจ้าปัญหาของยุโรปกลางและประวัติเมืองซุเลฮุฟ อันเป็นเมืองเกิดของ โอลกา โตการ์ชุก อย่างหมกมุ่นนั้นมีเหตุผลของมัน นั่นคือ หากเราหยิบหนังสือเรื่อง Primeval and Other Times (1996) อันเป็นที่รู้จักในวงการผู้สนใจวรรณกรรมยุโรปกลางในฐานะงานเขียนที่เล่นกับตำนาน เทพปกรณัม และประวัติศาสตร์โปแลนด์และยุโรปกลางอย่างพิเศษสุด โอลกาได้สร้างหมู่บ้านจินตกรรม (ที่มีอยู่จริง?) มาแห่งหนึ่งชื่อ ปราเวียก (Prawiek) ซี่งแปลว่า “บรรพกาล” หมู่บ้านบรรพกาลในเรื่องตั้งอยู่ใจกลางโปแลนด์ แต่ผิดกับความสมจริงและเสมือนจริงในความพยายามจำลองภาพชุมชนสังคมของตน – ยกตัวอย่าง ที่เราเห็นใน Wessex ของ ทอมัส ฮาร์ดี (เจ้าตัวบรรยายไว้ว่า Wessex เป็น ความฝันอันสมจริง) หรือ Yoknapatawpha ของวิลเลียม ฟอล์คเนอร์ หรือแม้กระทั่ง Malgudi ของ อาร์ เค นารายัน ที่สร้างบนฐาน ”ความเป็นอินเดีย” ที่หลายคนนิยามไม่ได้ ทว่ารู้สึกคุ้นเคยเสียเหลือเกิน – ปราเวียก ของ โอลกา โตการ์ชุก เป็นที่อยู่อาศัยของทั้งพระเจ้า (ท่านจะพบทั้งแม่พระและพระผู้เป็นเจ้า—จริง ๆ –ผู้เขียนมิอาจหาญล้อท่านเล่น) เทวดา และมวลมนุษย์ ผู้เล่าเรื่องหาใช่มนุษย์แต่อย่างใด หากเป็นเทวทูตทั้งสี่ที่พิทักษ์อารักขาหมู่บ้านแห่งนี้ (อ่านแล้วเหมือนนำ Paradise Lost ของจอห์น มิลตันมาปั่นรวมกับภาพยนตร์เรื่อง Inglourious Basterds แต่ไม่มีทั้งอดัมและแบรด พิตต์) ในส่วนของมนุษย์ (ที่เล่าผ่านสายตาของเทวดา) นั้น เราจะพบเรื่องราวของครอบครัวหนึ่งที่ชื่อครอบครัว เนียเบียสกี (Niebieski – ผู้รู้ภาษาโปลิชหรือภาษาตระกูลสลาวิกจะพบความหมายเชิงสัญลักษณ์เต็มไปหมด อย่างคำว่า เนียเบีย แปลว่า ท้องฟ้าหรือสรวงสวรรค์ เนียเบียสกี หมายถึง ผู้ที่มาจากท้องฟ้าหรือสรวงสวรรค์ ผู้ศักดิ์สิทธิ์ divine/celestial) โดยจะเห็นความเป็นไปของสมาชิกครอบครัวนี้ตั้งแต่ปี 1914 ถึงต้น 1980 อันเป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการเคลื่อนไหวโซลิดาร์นอช อันเป็นขบวนการเคลื่อนไหวของกรรมกรที่กลายมาเป็นการเคลื่อนไหวของมวลชนล้มระบอบคอมมิวนิสต์ ตัวละครพยายามอ่าน ตีความ และถอดรหัสปริศนาธรรมแห่งชีวิตอีกทั้งพยายามมองโลกแบบเทพกรณัม กล่าวคือ พยายามยึดและสถาปนาความเข้าใจโลกตามแบบแนวคิดแม่แบบ (Archetype) และจิตไร้สำนึกร่วม (Collective Unconscious) ของคาร์ล ยุง ซึ่งไม่น่าแปลกใจหากท่านทราบเกร็ดประวัติของโอลกาที่สำคัญและน่าสนใจมาก นั่นคือ ก่อนที่จะเริ่มเขียนหนังสืออย่างจริงจัง โอลกานั้นร่ำเรียนมาด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยวอร์ซอ ช่วงต้นทศวรรษ 1980 ระหว่างที่ศึกษาอยู่นั้น โอลกาได้ทำงานเป็นอาสาสมัครในสถานที่บำบัดฟื้นฟูสุขภาพจิตสำหรับวัยรุ่นที่บกพร่องทางพฤติกรรมแห่งหนึ่ง เมื่อจบการศึกษาในค.ศ. 1985 โอลกาย้ายไปทำงานเป็นนักบำบัดที่เมืองวรอตสวัฟ เมืองหลวงโบราณอันเป็นศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ของไซลีเซีย และเมืองเวาบชึค อันเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ใกล้ชายแดนสาธารณรัฐเช็ก นักเขียนท่านนี้ออกตัวเลยว่าเป็นสาวกของคาร์ล ยุง และยึดคาร์ล ยุงเป็นแรงบันดาลใจในการรังสรรค์ผลงานวรรณกรรม ใน Primeval and Other Times ซึ่งผู้เขียนบทความจะเรียกว่าเป็นมหากาพย์แห่งห้วงเวลานั้น เราจะเห็นว่าหมู่บ้านและชีวิตคนจากรุ่นสู่รุ่นล้วนเป็นพื้นที่รองรับความเย็นชาและเศร้าโศกอันเป็นผลของการทำลายล้างธรรมชาติและศีลธรรมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์—เช่นเดียวกับยุโรปกลาง เช่นเดียวโปแลนด์ อันเป็นประเทศที่ถูกลบออกจากแผนที่ ถูกแบ่งแยก ถูกทรยศ สับเป็นชิ้นส่วนเป็นเค้กแบ่งให้ประเทศที่มีอำนาจมากกว่า—เป็นที่รองรับการล่วงละเมิดทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวหรือการเข่นฆ่าและกวาดล้างทางการเมือง แต่กระนั้น พื้นที่เดียวกันก็ยังรองรับความงดงามและความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ ของชีวิตปัจเจกผู้สามารถหาหนทางมีความสุขทั้งที่รู้ว่าไม่มีอะไรที่จีรัง ท่ามกลางความรุนแรงและความประสงค์ร้าย ความดีงามยังบังเกิด เบ่งบาน และสิ้นสุดเพื่อบังเกิดใหม่เหมือนที่เคยเป็นมาและดำเนินต่อไปตั้งแต่ครั้งบรรพกาล

ต่อไปนี้ผู้เขียนจะทำตามสัญญา... และใช้เวลาอีกไม่นานเกินรอด้วย

ในภาพการ์ตูนล้อเลียนการเมืองฝีมือ David Low นี้ เราเห็นฮิตเลอร์และสตาลิน
แลกเปลี่ยนของขวัญคริสต์มาสในคราที่เผด็จการทั้งสองตกลงแบ่งแยก
ดินแดนโปแลนด์อย่างลับ ๆ ซึ่งรวมอยู่ในกติกาสัญญา
โมโลตอฟ–ริบเบนทรอพ (Molotov–Ribbentrop Pact) (Pic: ©Solo Syndication)

%20The%20cartoonist%20who%20angered%20the%20dictators



หนังสือเล่มต่อไปที่จะรีวิวคือ House of Day, House of Night (Dom dzienny, dom nocny) ซึ่งตีพิมพ์เมื่อ 1998 เล่มนี้โด่งดังมากในโปแลนด์และสาธารณรัฐเช็ก (ผู้เขียนได้อ่านเรื่องนี้เพราะมิตรสหายชาวเช็กกล่าวขานกันว่าดี เมื่อราวห้าหกปีที่แล้ว) ส่วนฉบับแปลก็ได้สร้างชื่อเสียงไม่แพ้กัน โดยฉบับแปลภาษาเยอรมันได้รับรางวัลวรรณกรรมยุโรปกลางและตะวันออกร่วมสมัยที่มีสำนวนแปลภาษาเยอรมันยอดเยี่ยมเมื่อปี 2002 ส่วนสำนวนแปลภาษาอังกฤษก็ยังได้รับรางวัล Günter Grass Prize ทั้งหมดนี้ได้ทำให้โอลกาเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น

เช่นเดียวกับเรื่อง Primeval and Other Times (1996) ฉากและสถานที่เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับนักเขียนจากภูมิภาคจินตกรรมแห่งชีวิตจริงอย่างยุโรปกลาง มาเล่มนี้ เมืองเล็ก ๆ ในไซลีเซียที่เธอเลือกเป็นฉากในเรื่องนั้นมีอยู่จริง เมืองนั้นชื่อเมืองโนวา รูดา (Nowa Ruda) แปลตรงตัวว่า “สินแร่ใหม่” (โนวา แปลว่า ใหม่ ส่วนรูดา แปลว่า สินแร่) ชื่อนี้มีที่มาจากสภาพทางกายภาพโดยภูมิภาคนี้ขึ้นชื่อว่าอุดมไปด้วยแร่ จนการทำเหมืองเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตชุมชนและประวัติศาสตร์ ผู้เล่าเรื่องในหนังสือเล่มนี้ย้ายไปอยู่เมืองโนวา รูดาซึ่งอดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนีและเชโกสโลวะเกีย ผูกมิตรกับเพื่อนบ้านที่ชื่อมาร์ตา ซึ่งเป็นบุคคลลึกลับซับซ้อน เมื่อฟังการนินทาในชุมชนและสัมผัสชีวิตของผู้คนรอบตัวเหมือนทำเหมือนขุดสินแร่ของเรื่องเล่า ผู้เล่าเรื่องตระหนักว่าทุกคนมีเรื่องเล่าเป็นของตัวเองที่ลึกลับซับซ้อนไม่แพ้เพื่อนบ้าน ไม่มีใครสามารถเหมารวมว่าทุกคนมาจากแม่แบบเดียวกันได้ เรื่องราวชวนหัวที่ผู้เขียนบทความโปรดปรานคือเรื่องของชายคนหนึ่งที่แทบจะก่อความขัดแย้งระดับชาติเมื่อเขาดันเสียชีวิตระหว่างที่ข้ามพรมแดน ขาข้างหนึ่งอยู่ฝั่งโปแลนด์ อีกข้างหนึ่งอยู่ฝั่งเช็ก ทุกคนทะเลาะกัน ตกลงไม่ได้ว่าเขาตายที่ไหนกันแน่ คน ๆ นี้เป็นชาวอะไรกันแน่ อันเป็นคำถามคลาสสิกที่เราพบเมื่อชาติต่าง ๆ ในยุโรปกลางแย่งชิงกันเคลมบุคคลสำคัญของภูมิภาค ปัญหาคือบุคคลสำคัญเหล่านั้นเกิดและใช้ชีวิตเมื่อพรมแดนไม่มีหรือไม่ได้กำหนดชัดเจนอย่างปัจจุบัน ประวัติศาสตร์สำหรับยุโรปกลางก็เป็นเช่นนั้น แย่งชิงและยื้อประวัติศาสตร์กันไปมาจนขาแทบขาด บุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์คนเดียวกันมีรูปปั้นและอนุสรณ์สถานทุกประเทศ ถูกเคลมเสมอกันทุกประเทศ ไม่ว่าจะตรงกับข้อเท็จจริงหรือไม่ก็ตาม ในขณะที่เรื่องราวแห่งหมู่บ้านบรรพกาลเป็นมหากาพย์แห่งเวลาในสเกลที่ใหญ่ เรื่องHouse of Day, House of Night เป็นมหากาพย์แห่งเรื่องบ้าน ๆ ในสเกลที่เล็ก ในเรื่องที่ดูไม่สลักสำคัญอะไร (มีบรรยายสูตรประกอบอาหารใส่เห็ดมีพิษด้วย ผู้ที่เคยดู Phantom Thread จะเห็นว่าไอเดียในภาพยนตร์ไม่ใหม่แต่อย่างใด ชาวยุโรปกลางนิยมชมชอบการเก็บและรับประทานเห็ดพอ ๆ กับชาวอังกฤษ จะเลือกที่มีพิษหรือไม่ก็อีกเรื่องหนึ่ง) แต่กลับเผยให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างชีวิต วัฒนธรรม ชาตินิยม และเพศสภาพ (ประเด็นเรื่องเพศสภาพเป็นเรื่องน่าเสียดายเมื่อเรามานั่งอ่านฉบับแปลภาษาอังกฤษ ด้วยฉบับภาษาโปลิชได้เล่นและล้อเลียนกับเพศของคำต่าง ๆ อันสะท้อนถึงสังคมชายเป็นใหญ่ของโปแลนด์ ข้อนี้ขาดหายไปในภาษาอังกฤษ หากผู้ใดต้องการแปลเป็นภาษาไทย โปรดคำนึงถึงมิติเรื่องเพศนี้ด้วย)

เมืองโนวา รูดาในปี 2014

และแล้วเราก็เดินทางมาถึงหนังสือเล่มสุดท้าย (ที่จะรีวิวโดยไม่สปอยล์) ซึ่งเป็นเล่มที่ทำให้เธอโด่งดังในปี 2018 และเป็นเล่มที่ผู้เขียนบทความจะไม่ปล่อยให้ชื่อเธอเลือนหายหรือนิรนามในหมู่ผู้อ่านชาวไทยอีกต่อไป นั่นคือเรื่อง Flights (2007) พิจารณาจากชื่อเรื่อง ท่านผู้อ่านคงคาดหวังว่าเป็นหนังสือบันทึกการนั่งเครื่องบินหรือการเดินทาง—ไม่เชิง—เมื่อพินิจดูดี ๆ หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือรวมบทความ เรื่องเล่า บันทึก และเศษเสี้ยวตัวบทต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับจิตวิทยาแห่งการเดินทาง โอลกาเขียนวิเคราะห์การเดินทางในฐานะปรากฎการณ์ที่สำคัญ แต่กระนั้น จะแนะนำผลงานชิ้นนี้ให้ดีและถูกต้อง ผู้เขียนบทความคงต้องย้อนกลับไปหาตัวบทภาษาโปลิช โดยเฉพาะชื่อเรื่องคือ เบียกุนี Bieguni ซี่งแปลว่า บรรดาผู้พเนจร (wanderers) หรือบรรดาผู้หลีกลี้ (runners/refugees) เป็นชื่อของนิกายหนึ่งของรัสเซียออร์โธดอกซ์สมัยศตวรรษที่ 18 ที่ตั้งอยู่บนฐานความเชื่อที่ว่าการอยู่นิ่ง ไม่ยอมเดินทางไปไหน ทำให้มารเข้ามาผจญได้ง่ายกว่าการเคลื่อนไหวเดินทางเป็นนิตย์ การพเนจรหลีกลี้ความชั่วร้ายซึ่งมาในรูปของการอยู่นิ่งนับว่าเป็นการไถ่บาปวิธีสำคัญ ในระดับของตัวละครแต่ละตัว นัยที่มากับชื่อเรื่องหนังสือเล่มนี้ของโอลกาได้แปร/แปลมาเป็นความหวังและความปรารถนาที่จะเป็นอิสระจากทั้งกำแพงและพรมแดนกายภาพที่จับต้องได้ และกำแพงและพรมแดนแห่งมโนคติวัฒนธรรมเดียวผูกขาด มายาคติแห่งชาตินิยม หรือแม้กระทั่งอคติทางเพศที่ขัดขวางไม่ให้มนุษย์เห็นความสำคัญของความลื่นไหลของตัวตน การผสมผสานของวัฒนธรรมที่ต่างกัน และความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ความลื่นไหลและอิสระทางความคิดดังกล่าวล้วนจะได้มาจากการเคลื่อนที่ออกจาก comfort zone เพื่อผจญโลกโดยเสรี ในหนังสือเล่มนี้ท่านจะได้พบกับเรื่องราวการเดินทางในมิติและห้วงเวลาที่ต่างกัน จากเรื่องราวของการขนย้ายหัวใจของ เฟรเดริก โชแปง ผู้เป็นคีตกวีเอกของโลก (หัวใจจริง ๆ ใช่อุปมา) มายังโปแลนด์บ้านเกิด จนถึงเรื่องราวของนักวิจัยชาวออสเตรเลียที่เดินทางกลับไปโปแลนด์อีกครั้งเพื่อเยี่ยมเพื่อนที่ป่วยใกล้เสียชีวิตหลังจากที่ตนเดินทางจากประเทศนั้นไปนานหลายปี Flights แสดงให้เห็นว่ามีอะไรที่ไม่ชอบมาพากลในระดับใกล้เคียงกับบาปและความชั่วร้ายที่นิกายเบียกุนีพยายามหลีกหนีในวาทกรรมเกลียดกลัวผู้จำต้อง “พเนจร” หลีกลี้ความรุนแรงและภัยสงครามที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ หรือความพยายามของผู้นำประเทศต่าง ๆ ในปัจจุบันที่จะสร้างกำแพงกั้นมนุษย์ด้วยกันอย่างที่เห็นในท่าทีของโดนัลด์ ทรัมป์ หรือความพยายามที่จะรณรงค์ให้ประเทศหนึ่งตัดจากประเทศหนึ่งหรือกลุ่มประเทศหนึ่งโดยชักจูงให้ประชาชนมโนประวัติศาสตร์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นจริงอย่าง Brexit ตามที่ทิโมธี สไนเดอร์เคยวิเคราะห์ไว้อย่างน่าคิด: “เหล่าผู้สนับสนุน Brexit หรือการแยกตัวของสหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรป จะจินตนาการถึงรัฐชาติอังกฤษ ทั้ง ๆ ที่มันไม่เคยมีอยู่เลย ครั้งหนึ่งเคยมีจักรวรรดิอังกฤษ จากนั้นจึงมีสหราชอาณาจักรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรป การเคลื่อนไหวเพื่อแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปดังกล่าวนั้นไม่ใช่การเดินถอยหลังไปยังฐานที่มั่นแต่อย่างใด หากเป็นการก้าวกระโจนไปสู่ภาวะที่ไม่อาจล่วงรู้ได้ เป็นที่น่าประหลาดใจยิ่ง” (ดู On Tyranny: Twenty Lessons from the Twentieth Century‎)





ผลงานของโอลกา โตการ์ชุกที่น่าสนใจไม่ได้มีเพียงเท่านี้ ผู้รักภาพยนตร์ทั้งหลายอาจสนใจอยากอ่านงานเขียนเรื่อง โปรวัจ ซวุย ปวุก พเชรซ กอชตซิ อุมาร์วิค Prowadź swój pług przez kości umarłych ซึ่งแปลว่า “ดันคันไถทับผ่านซากกระดูก” ตีพิมพ์เมื่อปี 2009 อันว่าด้วยเรื่องราวฆาตกรรมปริศนา—เมื่อพรานผู้ล่าสัตว์และมนุษย์ที่ทรมานสัตว์อย่างทารุณถูกสังหารหมู่และกลายเป็นสัตว์ที่ถูกล่าอย่างโหดร้ายทารุณไปเสียเอง ใครเป็นคนฆ่า? เป็นไปได้มั้ยว่าวิญญาณของสัตว์ที่ถูกล่านั้นกลับมาแก้แค้นเอาคืนโดยยึดวิญญาณชีวิตของผู้ล่าไปครอบครอง?—เหตุเกิดบนภูเขาที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคจินตกรรมที่มีอยู่จริงอย่างไซลีเซีย (อีกแล้ว!) ทำไมแฟนภาพยนตร์จะสนใจน่ะหรือ ก็เพราะหนังสือเล่มนี้ได้ดัดแปลงเป็นภาพยนตร์โดยผู้กำกับที่มีชื่อเสียงระดับโลกอย่างอักเนียชกา ฮอลลันด์ เมื่อปี 2017 ภาพยนตร์เรื่อง โปกต Pokot ซึ่งแปลว่า ซากสัตว์ที่ถูกล่าแล้วนำมาเรียงต่อ ๆ กัน (ภาษาโปลิช คล้ายภาษาเช็กตรงที่คลังคำรุ่มรวยเหนือจริง จะเทียบหาคำในภาษาอังกฤษมาแปลนั้นยากเหลือ – อย่างชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ Spoor หมายถึงเพียงรอยเท้า ร่องรอย หรือแม้กระทั่งกลิ่นของสัตว์ป่าในบริบทของการล่าสัตว์) ภาพยนตร์อันน่าสะพรึงที่ชวนให้เราฉุกคิดเรื่องการล่วงละเมิดสิทธิสัตว์ ตระหนักถึงประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม และเห็นประวัติศาสตร์การเข่นฆ่าระหว่างมนุษย์ด้วยกันเองสะท้อนในความโหดร้ายของฆาตกรรมเรื่องนี้ ได้รับรางวัลหมีเงินในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน

แหล่งภาพ: https://www.imdb.com/title/tt5328350/mediaviewer/rm2022389760
คลิกดูตัวอย่างภาพยนตร์ได้ที่นี่ https://www.youtube.com/watch?v=x-ZVKpsYOqU

นักเขียนชาวไอริชคนหนึ่งนาม บราม สโตเกอร์ (ค.ศ.1847-1912) ได้รับแรงบันดาลใจการแต่งเรื่อง Dracula จากเรื่องลี้ลับบนเทือกเขาคาร์เพเทียน (อันกินอาณาบริเวณที่ลี้ลับนิยามลำบากไม่แพ้กันแห่งยุโรปกลาง) ที่เพื่อนนักเดินทางชาวฮังการีคนหนึ่งถ่ายทอดให้เขาฟัง จึงไม่น่าแปลกที่แวมไพร์ในเรื่อง ซึ่งเป็นพิษต่อ “สายเลือด” ยุโรปตะวันตกและเป็นภัยต่ออัตลักษณ์ความเป็นยุโรปนั้น มาจากตะวันออก จนถึงทุกวันนี้ความเป็นแวมไพร์ของยุโรปกลางเห็นได้ในทัศนคติด้านลบของใครหลายคน –แม้กระทั่งในวงการนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และวรรณคดีศึกษาเอง— ที่มีต่อจุดยืนทางการเมืองแบบแวมไพร์ ๆ ของยุโรปกลาง เช่น “ประชาธิปไตยที่ไม่เสรี” กระแสนิยมพรรคขวาจัด และอคตินิยมเกี่ยวกับสหภาพยุโรป (ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลพวงของการเปลี่ยนผ่านจากระบอบการเมืองและระบบเศรษฐกิจคอมมิวนิสต์ไปสู่ตลาดเสรีที่ทำได้ครึ่ง ๆ กลาง ๆ จบลงด้วยปัญหาคอรัปชันและความขุ่นข้องหมองใจของชาวยุโรปกลางที่ว่าโลกมักมองว่าตนเป็นพลเมืองยุโรปในชั้นที่ต่ำกว่า) จนถึงขั้นที่ว่าหลายคนไม่เห็นความสำคัญและไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องสนใจด้านยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกศึกษา แต่กระนั้น เพราะเป็นเช่นนี้ ผู้เขียนบทความเห็นว่าเรายิ่งต้องสนใจศึกษายุโรปกลางและยุโรปตะวันออก เพราะแวมไพร์ที่สโตเกอร์บรรยายชวนให้เราฉุกคิดและตั้งคำถามอัตลักษณ์อีกทั้งสถานะความเป็นมนุษย์ในสังคมโลกฉันใด ยุโรปกลางชวนให้เราฉุกคิดและตั้งคำถามอัตลักษณ์อีกทั้งสถานะ “ความเป็นยุโรป” ฉันนั้น แวมไพร์แห่งภูมิภาคจินตกรรมที่ผู้คนที่มีชีวิตจิตใจจริง ๆ ประสบและต้องนิยามอัตลักษณ์ที่ลื่นไหลของตนทุกเมื่อทุกขณะเป็นแวมไพร์ที่ –ไม่ใช่อะไรหรอก—ความคิดยุโรปตะวันตกเป็นใหญ่นั่นแหละได้ “ปลุกผี” ขึ้นมาหลอกหลอน ทัศนคติต่อยุโรปกลางว่าเป็นภูมิภาคไร้ความสำคัญ จากระดับที่ดูเป็นเรื่องความผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น โฆษณาที่นำเสนอเวียนนาเป็นยุโรปตะวันออก จนถึงระดับการเรียนการสอน อีกทั้งระดับการทูตและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เมินและเหยียดภูมิภาคนี้ สะท้อนความขัดแย้งทางวัฒนธรรมและการเมืองที่ฝังรากลึกใน “ความเป็นยุโรป” อีกทั้งอคติและความไม่รู้ (ignorance) ความไร้สำนึกทางประวัติศาสตร์

งานเขียนของ โอลกา โตการ์ชุก (Olga Tokarczuk) นักพเนจรในภูมิภาคจินตกรรมแห่งยุโรปกลาง—อันเป็นพื้นที่ที่ชีวิตจริงจะต้องดิ้นรนกับ phantasmagoria ภาพหลอนแห่งอดีตเช่นที่แฮมเล็ตในบทละครของเชคสเปียร์ต้องต่อสู้กับตัวเองเมื่อประสบพบ(แวมไพร์?) วิญญาณของบิดาที่ถูกสังหารในการแย่งชิงอำนาจ—นั้นสำคัญยิ่ง และทวีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในโลกที่อำนาจตั้งอยู่บนฐานแห่งขั้วที่ดูตรงข้ามสองขั้ว (แต่ส่งผลร้ายเสมอกัน) อันได้แก่ การเหมารวมและมองว่าโลกเป็นของตายตัว ผู้นำมีสูตรสำเร็จสำหรับทุกสิ่ง (สำหรับผู้นำอย่างทรัมป์และใครหลายคน สูตรสำเร็จที่จะแก้ปัญหาของประเทศคือ “กูเอง”) และการโหนบวกโหยหาอดีตที่ไม่มีจริงอย่าง Brexit (และอื่น ๆ – ลองมองไปรอบตัวท่าน) อีกทั้งยึดโยงภูมิภาคแห่งจินตกรรมอันจอมปลอมและไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับชีวิตจริงที่เราเห็นตั้งแต่การชำระประวัติศาสตร์ชาตินิยมอันเทียมเท็จเพื่อสร้างความชอบธรรมให้นโยบายชาตินิยม หรือการปกปักรักษาเขตแดนทางกายภาพ สร้างกำแพง และพร้อมยอมตายหรือทำให้ผู้อื่นตายเพื่อพรมแดนแห่งมายาคติต่าง ๆ เช่น มายาคติที่ตั้งอยู่บนฐานของการเหยียดศาสนา เหยียดเพศ และเหยียดเชื้อชาติ

การอ่านวรรณกรรมยุโรปกลางคือการเดินทางออกจาก comfort zone ของโลกที่นับวันต้องการให้เรามองทุกสิ่งเป็นสูตรสำเร็จ แต่การอ่านวรรณกรรมยุโรปกลางด้วยอคติและโดยปราศจากสำนึกทางประวัติศาสตร์ ก็เหมือนการเดินทางที่สักแต่ซื้อตั๋วเครื่องบินเพื่อไปถ่ายรูปเซลฟีกับสถานที่ท่องเที่ยวโพสต์ลงโซเชียลมีเดียโดยไม่คิดที่จะเปิดโลกเรียนรู้ภาษา วัฒนธรรม สังคม การเมือง หรือประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ไม่เสียเวลานั่งสบตาและพูดคุยกับผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นจริง แม้การเดินทางจะเป็นบุญลาภสไตล์เบียกุนี แต่ขออภัย! สำหรับโอลกา โตการ์ชุก การเดินทางนั้นมีหลายระดับและประเภท นักเขียนท่านนี้เคยกล่าวว่าอนารยชนป่าเถื่อนไม่รู้จักการเดินทางหรอกนะ พวกนี้รู้จักแต่การมุ่งหน้าไปสู่จุดหมายเพื่อปล้นสะดมเท่านั้น ซึ่งบาปและชั่วร้ายพอ ๆ กับการอยู่นิ่ง ไม่ยอมออกไปไหนและไม่เปิดรับความคิดใหม่ ๆ ด้วยคิดว่าตนหรือชาติของตนเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล

ตราบใดที่เลือกเส้นทางชีวิตนักพเนจรผู้หลีกลี้การมองโลกแบบสูตรสำเร็จเหมารวม จุดหมายไม่สำคัญเท่าข้อที่ว่าท่านจะเลือกเป็นนักอ่าน/นักเดินทางแบบใด เลือกมองโลกและตัวท่านเองเป็นภูมิภาคจินตกรรมแห่งชีวิตจริง หรือเป็นภูมิภาคจริงแห่งจินตนาการ

งานเขียนของ โอลกา โตการ์ชุก เน้นย้ำว่าชีวิต การอ่าน และการเดินทาง ไม่จำเป็นต้องอาศัยแผนที่ใด ๆ เส้นทางการเดินทางและทางเลือกที่ว่ามาทั้งหมดนี้… ขึ้นอยู่กับตัวท่านเอง



กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวรรณกรรมและศิลปวัฒนธรรมยุโรปกลางในเดือนมิถุนายน มีทั้งหมด 2 งาน ได้แก่

1. วันที่ 1 มิถุนายน: วรรณกรรมยุโรปกลางร่วมสมัยในประเทศไทย

หากท่านต้องการเปิดโลกและสัมผัสวรรณกรรมยุโรปกลางและหากท่านยังไม่รู้สึกเต็มอิ่มไปกับบทความเรื่องโอลกา โตการ์ชุกที่เพิ่งอ่านจบไป งานเสวนาและเปิดตัวหนังสือนี้ถือเป็นโอกาสอันดีที่เราจะลองเป็นเบียกุนีกันอีกสักครั้ง

หน่วยยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกศึกษา ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตประเทศสมาชิกกลุ่มวิเชกราด 4 ได้แก่ สถานเอกอัครราชทูตฮังการี สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเช็ก สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐโปแลนด์ และสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐสโลวัก ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมงานเสวนาด้านวรรณคดีศึกษาและการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการแปล หัวข้อ "วรรณกรรมยุโรปกลางในประเทศไทย" ในวันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน 2561 เวลา 16.00-19.30 น. ณ เรือนจุฬานฤมิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กิจกรรมทางวิชาการครั้งนี้ยังเป็นการเปิดตัวหนังสือรวมตัวบทวรรณกรรมยุโรปกลางคัดสรรฉบับแปลภาษาไทย (โดยรวบรวมและตีพิมพ์สำนวนแปลภาษาไทยที่ชนะการประกวดทั้งหมด) ซึ่งนับว่าเป็นเล่มแรกในประเทศไทย

**ลงทะเบียนหน้างานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ**

คลิกเพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.facebook.com/events/426141717854097/






2. ว้นที่ 11 มิถุนายน: ค่ำคืนแห่งการแสดงทางวัฒนธรรมเช็กและสโลวัก

ผู้ที่เป็นแฟนของโบฮุมิล ฮราบัล และ มิลาน คุนเดรา—นักเขียนผู้ผลิตงานที่อบอวลด้วยดนตรีพื้นบ้านและภูมิภาคบ้านเกิดอันโด่งดังเรื่องดนตรีและศิลปวัฒนธรรมอย่างโมราเวีย (อันเป็นภูมิภาคจินตกรรม…แต่มีอยู่จริง สไตล์ยุโรปกลาง) —ห้ามพลาดงานนี้ด้วยประการทั้งปวง

ในวาระเฉลิมฉลอง 100 ปีแห่งการสถาปนาสาธารณรัฐเชโกสโลวะเกีย (Republic of Czechoslovakia) ค.ศ. 1918 หน่วยยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกศึกษา ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเช็กและสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐสโลวัก ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมงาน "ศตวรรษแห่งชาวเช็กและสโลวัก: ค่ำคืนแห่งการแสดงทางวัฒนธรรม" และขอเชิญชวนทุกท่านร่วมชมนิทรรศการทั้งหมด 3 ชุด ได้แก่ นิทรรศการเกี่ยวกับการสถาปนาสาธารณรัฐเชโกสโลวะเกีย ค.ศ. 1918 นิทรรศการเกี่ยวกับชีวิตและผลงานของ Tomáš Garrigue Masaryk ประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐเชโกสโลวะเกีย และนิทรรศการเกี่ยวกับชีวิตและผลงานของ Tomáš Baťa นักธุรกิจชาวเชโกสโลวักผู้ก่อตั้งบริษัทรองเท้าบาจา ในวันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน 2561 เวลา 18.00-21.00 น. ณ หอแสดงดนตรี อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



**สแกน QR Code เพื่อลงทะเบียนร่วมงานออนไลน์ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ**




เดี่ยวกับผู้เขียน: ผศ.ดร.วริตตา ศรีรัตนา เป็นประธานหลักสูตร PhD in European Studies (PEUS) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย verita.s@chula.ac.th

[full-post]



Posted: 27 May 2018 09:13 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachathai.com)

กลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบายกว่าร้อยคน เผาหุ่นสาปแช่งโรงงานน้ำตาล หลังพบว่ามีการเริ่มต้นถากถางพื้นที่เตรียมตอกเสาเข็มแล้ว ขณะที่ชาวบ้านยังคาใจกับ EIA

เมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2561เวลา 11.00 น. กลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบาย ต.เชียงเพ็ง อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร กว่า 100 คน รวมตัวกันเผาหุ่นโรงงาน พร้อทใช้เข็มและตะปูจิ้มสาปแช่งโรงงานน้ำตาล หลังทราบข่าวบริษัทฯ เริ่มเข้าถากถางพื้นที่เตรียมตอกเสาเข็ม ทั้งๆ ที่ชาวบ้านยังไม่เห็นใบ รง.4 อีกทั้งชาวบ้านยังเห็นว่า EIA ขัดแย้งกับข้อมูลความเป็นจริงในพื้นที่หลายประเด็น พร้อมอ่านแถลงการณ์ให้พิจารณาทบทวนยกเลิกการขอใบอนุญาตโรงงาน ของโครงการโรงงานน้ำตาลทราย ขนาด 20,000 ตันอ้อย/วัน ของบริษัท น้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ จำกัด ตั้งอยู่ที่ตำบลน้ำปลีก อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ

นวพร เนินทราย กล่าวว่า ตามที่บริษัท น้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ จำกัด ตั้งอยู่ที่ตำบลน้ำปลีก อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ ได้เสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านอุตสาหกรรมและระบบสาธารณูปโภคโครงการโรงงานน้ำตาลของบริษัทฯ ซึ่งจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยบริษัท คอนซัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยีจำกัด เสนอให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ดำเนินการตามขั้นตอนการพิจารณารายงานฯ โดยมีขนาดโครงการทั้งหมด 716 ไร่ 2 งาน 37 ตารางวา มีกำลังการผลิต 20,000 ตันอ้อย/วัน ผลิตภัณฑ์ที่ได้เป็นน้ำตาลดิบ ปริมาณ 302,520 ตัน/ปี คณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ และเจ้าหน้าที่ สผ. ได้ลงตรวจสอบพื้นที่เมื่อวันที่ 4 ส.ค. 2560 และเสนอให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ ในการประชุมครั้งที่ 26/2560 เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2560 มีมติไม่ให้ความเห็นชอบรายงานฯ โดยให้โครงการแก้ไขเพิ่มเติมตามแนวทางหรือรายละเอียดที่คณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ กำหนด

ช่วงต่อมา สผ. ได้รับรายงานฉบับชี้แจงเพิ่มเติม เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2560 และคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ ในการประชุมครั้งที่ 42/2560 เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2560 ซึ่งคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ มีมติไม่เห็นชอบรายงานฯ และให้แก้ไขเพิ่มเติมตามแนวทางหรือรายละเอียดที่คณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ กำหนด นับว่าสิ้นสุดกระบวนการพิจารณารายงานฯ ต่อมาโครงการได้เสนอรายงานฯ ฉบับเดือนก.พ. เมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2561 โดยมีเนื้อหาขอลดขนาดพื้นที่โครงการ เป็น 702 ไร่ 2 งาน 53.77 ตารางวา คณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ เจ้าที่ สผ. ได้ตรวจสอบพื้นที่เมื่อวันที่ เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2561 ซึ่งฝ่ายเลขานุการได้พิจารณารายงานดังกล่าวแล้วมีความเห็นเบื้องต้นให้แก้ไขเพิ่มเติมในประเด็นการจัดการน้ำ รายละเอียดของโครงการและการใช้ประโยชน์ที่ดิน การคมนาคม การมีส่วนร่วมของประชาชน พื้นที่สีเขียว และมาตรการฯ กระทั่งวันที่ 14 มี.ค. 2561 ทางคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ ได้มีการพิจารณา และมีมติเห็นชอบกับรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(ครั้งที่ 11/2561) ตลอดจนเปิดโอกาสให้ทางบริษัทที่ปรึกษากลับไปทำรายงานฉบับสมบูรณ์ และในปัจจุบันทางบริษัทกำลังดำเนินขั้นตอนในการขอใบอนุญาต รง.4

ทางกลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบาย ต.เชียงเพ็ง อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร ซึ่งเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีพื้นที่อยู่อาศัยภายในรัศมี 5 กิโลเมตรและชุมชนอื่นๆ อีกมากมายที่พึ่งพิงลำเซบายเป็นหลัก ถือว่าใกล้พื้นที่จะเกิดโรงงานน้ำตาล การมีวิถีชีวิตที่พึ่งพิงทรัพยากรจากดิน ลำน้ำเซบาย ป่าชุมชน ป่าบุ่งป่าทาม ทำให้ชุมชนเกิดความตระหนักที่จะมีโรงงานใกล้ชุมชนและทรัพยากรที่ชุมชนได้อาศัยอันจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อวิถีของชุมชน ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจฐานรากที่หาได้จากทรัพยากร วัฒนธรรมและอื่นๆ

ด้ามะลิจิตร เอกตาแสง กรรมการกลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบาย กล่าวว่า วันนี้ทางกลุ่มพอทราบข่าวการถากถางพื้นที่และการตอกเสาเข็ม ก็ได้ทำพิธีกรรมความเชื่อโดยการเผาหุ่น และนำเข็มมาปักหุ่น และสาปแช่งกลุ่มคนไม่หวังดีต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตชุมชน ยิ่งชาวบ้านทราบข่าวการถากถางพื้นที่และตอกเสาเข็มยิ่งทำให้ชาวบ้านมาร่วมกันมากขึ้นและพยายามตั้งคำถามถึง EIA ที่ขัดแย้งกับข้อมูลความเป็นจริงในพื้นที่ และชาวบ้านยังยืนหยัดในการคัดค้านโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล ที่ผ่านมาทางกลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบาย ได้ทำหนังสือคัดค้านมติให้ความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมดังกล่าวของ คชก.แล้ว และทางกลุ่มขอเรียนยืนยันตามข้อมูลข้อเท็จจริงและเหตุผล รวมถึงข้อคิดเห็นท้วงติงและข้อคัดค้านของหน่วยงานองค์กรและนักวิชาการต่างๆ เกี่ยวกับเหตุความไม่ถูกต้องเหมาะสมของโครงการ ซึ่งได้เคยยื่นส่งเป็นเอกสารและส่งตัวแทนเข้าร่วมชี้แจงในการประชุมพิจารณารายงาน EIA ของ คชก. แล้ว โดยกลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบาย ขอเรียนเน้นย้ำถึงเหตุผลข้อคัดค้านอันเป็นสาระสำคัญถึงความไม่ถูกต้องเหมาะสมของโครงการและยังมีข้อขัดแย้งทางข้อมูลต่อพื้นที่ ดังนี้

1.กระบวนการไม่มีส่วนร่วมของชุมชน พวกเราอยู่ในรัศมี 5 กิโลเมตรเป็นพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบแต่เราไม่ได้มีส่วนร่วมก่อนการดำเนินโครงการเลย

2.ไม่มีการทำความตกลงกับชุมชนให้ชัดเจนถึงการกำหนดระดับน้ำในการผันน้ำให้อยู่ในระดับที่หน่วยงานอนุญาตหรือที่ชุมชนยอมรับร่วมกันทั้งกลางน้ำ ปลายน้ำ และยังไม่มีการจัดประชุมประชาคมกลุ่มผู้ใช้น้ำและทรัพยากรในลำน้ำเซบายในประเด็นเรื่องการผันน้ำเข้าไปใช้ในโครงการ 2 ล้าน ลบ.ม./ปี ซึ่งโครงการจะมีแผนในการผันน้ำจากลำเบายเข้าพื้นที่โรงงานน้ำตาลในช่วงฤดูน้ำหลากเดือนสิงหาคม-เดือนกันยายน 2 ล้าน ลบ.เมตร/ปี การกำหนดปริมาณน้ำที่ต้องผันจากลำน้ำเซบายนั้นกำหนดโดยบริษัทเพียงฝ่ายเดียวไม่มีการปรึกษาหารือหรือรับฟังความเห็นของชุมชนในเรื่องนี้โดยซึ่งหน้า และไม่มีการพิจารณาประเมินผลกระทบต่อทรัพยากรชีวภาพในบริเวณจุดผันน้ำลำเซบาย

3.ประเด็นที่ 3 การดำเนินการโครงการโรงงานน้ำตาลขนาด 20,000 ตันอ้อย/วัน และโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด 61 เมกะวัตต์ ถือว่าเป็นโครงการที่ขัดแย้งกับนโยบายแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ พ.ศ.2560 – 2564 การขยายพื้นที่ปลูกอ้อยของบริษัท น้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ โดยเฉพาะ ใน จ.อำนาจเจริญ และจังหวัดใกล้เคียงตามที่บริษัทได้พิจารณาทางเลือกของโครงการนั้นยังมีข้อขัดแย้งกับแนวคิดนโยบายและยุทธศาสตร์แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ พ.ศ.2560 – 2564 ของจังหวัดยโสธร และอำนาจเจริญ ที่กำลังดำเนินการขยายพื้นที่ปลูกพืชอินทรีย์ และการปฎิบัติของชุมชน โดยเฉพาะการปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ซึ่งเป็นนโยบายของจังหวัดยโสธรเป็นเมืองแห่งวิถีอีสาน เกษตรอินทรีย์ก้าวไกลสู่สากล และจังหวัดอำนาจเจริญเมืองธรรมเกษตรอินทรีย์ ดังนั้นทางกลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบาย จึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาทบทวนยกเลิกการขอใบอนุญาตโรงงาน ของโครงการโรงงานน้ำตาลทราย ขนาด 20,000 ตันอ้อย/วัน ของบริษัท น้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ จำกัด ตั้งอยู่ที่ตำบลน้ำปลีก อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ

ด้านสิริศักดิ์ สะดวก ที่ปรึกษากลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบาย กล่าวว่า กระบวนการจัดทำ EIA ยังมีข้อขัดแย้งกับข้อมูลพื้นที่ เนื่องจากในรัศมี 5 กิโลเมตรพื้นที่คาบเกี่ยวกัน 2 จังหวัด คือ จ.อำนาจเจริญ และ จ.ยโสธร โดยในส่วนของจังหวัดยโสธรไม่ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจตั้งแต่เริ่มต้น แต่จะเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโรงงาน ดังนั้นกระบวนการมีส่วนร่วมที่ผ่านผมมองว่าไม่ได้ทำตามกระบวนการการมีส่วนร่วมที่แท้จริง เพราะกระบวนการมีส่วนร่วมจะต้องทำตั้งแต่การให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่แท้จริงซึ่งจะต้องให้ความสำคัญตั้งแต่เริ่มต้น จึงต้องการให้ยกเลิกอีไอเอโรงงานน้ำตาล ที่ผู้มีส่วนเสียไม่ได้มีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้น และให้ยกเลิกใบ รง.4


Posted: 27 May 2018 10:35 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachathai.com)

โครงการศักยภาพผู้นำฯ ผนึกภาคีเครือข่ายสานต่อ 'งานจัดตั้ง' สร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพเน้นพัฒนาในแนวระนาบ เรียนรู้ขัดเกลาตัวเองไปกับชาวบ้าน ไม่มุ่งสร้างฮีโร่ สร้างระบบถ่วงดุล

25 พ.ค. ที่ผ่านมา ที่ศูนย์ศึกษาสยามคอมเพล็กช์ มหาวิยาลัยคริสเตียน โครงการศักยภาพผู้นำและกลไกเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนปฏิบัติการสร้างความเป็นธรรมทางสุขภาวะ(นธส.) ได้จัดงานเสวนา ภายใต้หัวข้อ “งานจัดตั้งจากอดีตสู่ปัจจุบัน กับการสร้างอำนาจองค์กรประชาชนสู่การเปลี่ยนแปลงสังคม” โดยมีภาคีเครือข่ายเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในงานด้วย อาทิ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ มูลนิธิชีววิถี(Biothai) เครือข่ายบางวกอกนี้ดีจัง เครือข่ายเกษตรฯ จ.สงขลา เป็นต้น

ทิชา ณ นคร ผู้อำนวยศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน(ชาย)บ้านกาญจนาภิเษก อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) กล่าวเปิดงานว่า หลังจากที่ตนถูกไล่ออกจากงานราชการมากว่า30 ปี ได้ตั้งคำถามกับตนเองว่า ถ้าย้อนไปช่วงเวลานั้นได้จะเปลี่ยนแปลงอะไรในชีวิตหรือไม่ คำตอบในใจคือไม่ เพราะการพบฉากชีวิตที่ยากลำบากจะกลายเป็นภูมิชีวิตของตนในระยะยาว และสิ่งนี้ได้เป็นต้นทุนให้ตกผลึกสู่งานในปัจจุบัน งานบ้านกาญจนาฯหัวใจหลักคือเรื่องของสิทธิ 10ปีที่ผ่านมาสังคมไม่ได้ให้คุณค่ากับคนที่เป็นนักโทษเด็ก ดังนั้นการเข้ามาดูแลงานในบ้านกาญจนฯถือเป็นงานที่ท้าทายมาก ตนได้นำกิจกรรมหลายอย่างไปถอดบทเรียนให้เด็กบ้านกาญจนาฯ เรียนรู้เพื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด เพื่อใช้เป็นทักษะในการสื่อสารกับบุคคลภายนอก ที่สำคัญทักษะเหล่านี้นำไปต่อยอดการรณรงค์งานอื่นได้

“การทุ่มเทกับงานในเสกลเล็ก สามารถผลักดันไปสู่เสกลใหญ่กลายเป็นโมเมนตั้ม ที่ไปกดดันให้เกิดรูปแบบใหม่ จนสร้างความเปลี่ยนแปลงสู่สังคมใหญ่ได้ ขอเพียงแค่เรามีจุดยืนที่ชัดเจน หากเราไม่มีจุดยืน เราจะไม่สามารถดูแลคนอื่นได้ซึ่งขณะนี้เราได้เอาสัญลักษณ์ความเป็นคุกและสัญลักษณ์แห่งอำนาจออกจากบ้านกาญจนาฯเกือบไปหมดแล้ว” นิชากล่าว

จะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า สมัยก่อนมีความเชื่อว่างานจัดตั้งต้องสนับสนุนให้กรรกรเข้มแข็งเพื่อต่อรองกับนายจ้างระบบทุนนิยม ด้วยเพราะว่าตนเป็นปัญญาชนที่เหนือกว่าจึงมองว่าชาวบ้านหรือกลุ่มใช้แรงงานไม่มีความรู้ ในการต่อรองกับกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ดังนั้นตนจึงต้องไปให้ความรู้ เพื่อช่วยให้ชาวบ้านเกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด พร้อมกับมีสำนึกทางด้านการเมือง โดยชี้ให้เห็นความไม่เป็นธรรมทางสังคม หรือความอยุติธรรมทางกฎหมาย ทำให้เขารู้สึกว่ากำลังถูกโกง สิ่งนี้ทำให้เกิดการรวมกลุ่มอย่างรวดเร็ว หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “งานจัดตั้งงานร้อน” พลังของการรวมกลุ่มก่อให้เกิดสหภาพแรงงาน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายหลายด้าน อาทิ สวัสดิการบัตรประกันสังคม เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ สิทธิลาคลอดบุตร เป็นต้น แต่เมื่อกลุ่มแรงงานได้สิ่งที่ต้องการแล้ว สหภาพกลับเหลืออยู่ไม่กี่คน สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะเราไม่ไปจัดตั้งให้คนกลุ่มดังกล่าวเห็นศักยภาพของตนเอง จึงทำให้เกิดจุดอ่อนตามมา ส่งผลให้ไม่เกิดการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง

จะเด็ด กล่าวต่อว่า งานจัดตั้งในสมัยก่อนเราเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงคนจะนำไปสู่องค์กรที่เข้มแข็งได้ เพราะกรรมกรส่วนใหญ่ต้องพึ่งที่ปรึกษา และใช้ปัญญาชนลงไปให้ความรู้ ซึ่งงานจัดตั้งแบบนี้จะได้ผลแค่ชั่วคราวเท่านั้น เนื่องจากองค์กรเหล่านี้จะไม่เข้มแข็งพอ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องให้ความรู้ชาวบ้าน ถ้าเขาอยากเปลี่ยนแปลงสังคม เขาต้องเห็นคุณค่าของตนเองก่อน เปลี่ยนชีวิตตนเอง สู่การเปลี่ยนชีวิตคนอื่น และตัวนักพัฒนาหรือปัญญาชนต้องคิดว่างานที่ตัวเองไปทำงานจัดตั้ง เป็นงานที่เข้าไปเรียนรู้กับกรรมกรหรือคนยากคนจน มากกว่าคิดว่าตนเองมีอำนาจเหนือกว่า แต่ควรเข้าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพร้อมที่จะปรับตัวเข้าหากัน ปรับตัวเอง และมองว่ากลุ่มเป้าหมายเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน สุดท้ายต้องเสริมพลังซึ่งกันและกัน

วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ มูลนิธิชีววิถี(Biothai) กล่าวว่า นิยามคำว่างานจัดตั้งของตน คือการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่นำไปสู่การปฏิบัติการในสถานการณ์นั้นๆ โดยเอื้ออำนวยให้เกิดการนำไปใช้จริงได้ เช่น การนำคนไปอยู่ในสถานการณ์ เพื่อสัมผัสกับปัญหาที่เกิดขึ้น จนเกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็ว และสามารถนำความรู้นั้นไปใช้แก้ไขปัญหาได้ อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงสังคมอยู่ที่รากฐานที่สำคัญขององค์กร โดยอาศัยความเชื่อมโยงขบวนความรู้ เพื่อไปต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม งานจัดตั้งหัวใจคือ การผลักดันให้ชาวบ้านที่อยู่ในองค์กรผุดศักยภาพของตนเองออกมาและแสดงออกอย่างเต็มที่ ทั้งนี้จะพบว่างานจัดตั้งในระดับหมู่บ้าน ก็นำไปสู่นโยบายที่เข้มแข็งจำนวนมากได้

ชูวิทย์ จันทรส เครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ กล่าวว่า การผ่านงานในพรรคการเมืองนักศึกษา ม.รามคำแหง ช่วงหลังเหตุการณ์พฤษภา ปี 35 ทำให้ตนถูกปลูกฝังให้ทำงานมวลชนและเปลี่ยนแปลงสังคม ผ่านกระบวนงานจัดตั้งจากรุ่นพี่ที่มีความคิดอ่านเพื่อสังคม เราถูกให้ไปกินไปนอนกับชาวบ้าน อยู่กับม๊อบต่าง ๆ จนเป็นเรื่องปกติ เราถูกสอนให้รู้จักยุทธวิธี “ปรับทุกข์ ผูกมิตร เกาะติดจัดตั้ง ฝังแกน” ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังคงใช้เป็นแนวทางในการทำงานอยู่ ซึ่งจะใช่งานจัดตั้งหรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่ปลายทางที่เราคือเห็นคนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ คนที่ติดเหล้าเมายาจนใครๆก็คิดว่าชาตินี้เอาดีไม่ได้ เขาเหล่านั้นลุกขึ้นมาขัดเกลาเปลี่ยนแปลงตัวเอง และสูงสุดของมันคือการไปช่วยเหลือผู้อื่น กล้าลุกขึ้นสู้กับความไม่ถูกต้องไม่เป็นธรรม ไม่ใช่เอาแค่ตัวเองรอด การทำงานแบบร่วมทุกร่วมสุขเป็นสิ่งสำคัญ งานเยาวชนที่ทำอยู่จะให้ความสำคัญกับการลงพื้นที่สัมผัสของจริง เราแทบไม่เคยบอกให้น้องเลิกเหล้า แต่เมื่อสัมผัสความจริงเขาจะคิดได้เองซึ่งตรงนี่ยั่งยืนกว่า อย่างไรก็ตามคำว่างานจัดตั้ง เด็กรุ่นใหม่อาจไม่ค่อยยอมรับ เพราะมองว่าเป็นคำที่ดูคลอบงำ และอาจถูกปฏิเสธ อาจจะใช้คำว่าเสริมพลัง หรือ empowerment น่าจะดูซอฟ กว่า เป็นการเรียนรู้ไปด้วยกัน

สามารถ สระกวี เครือข่ายเกษตรฯ จ.สงขลา กล่าวด้วยว่า ตนไม่สามารถให้คำนิยามได้ว่างานจัดตั้งคืออะไร สมัยก่อนตนอยู่รอยต่อระหว่างแนวคิดแบบทุนนิยมไปสู่สังคมนิยม ในขณะนั้นเรื่องแบ่งชนชั้น มีบทบาทส่งผลให้นายทุนเอาเปรียบชาวนา ดังนั้นเมื่อตนได้เข้าไปในหมู่บ้านจึงมีแนวคิดให้ชาวบ้านติดอาวุธสู้กับนายทุน โดยการรวมกลุ่มกันรณรงค์เรียกร้องสวัสดิการต่างๆ จนกลายเป็นกลุ่มออมทรัพย์ แต่ผลที่เกิดขึ้นพบคนจนโกงกันเอง ต้องต่อสู้กันเองภายในองค์กรและยังต้องสู้กับการจัดการตนเองด้วย ทั้งนี้จึงจำเป็นต้องค้นหากระบวนการ หรือรูปแบบอื่นที่ทำให้องค์กรเดินไปได้ด้วยการมีส่วนร่วม หรือการทำงานเป็นทีม ภายใต้แนวคิดจะทำอย่างไรให้กลุ่มของตนอยู่ได้อย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันตนมีแนวคิดว่าองค์กรชาวบ้านต้องมีลักษณะแบบถ่วงดุลเชิงอำนาจ ผู้บริหาร และสมาชิก ต้องมีกระบวนการให้ความเห็นร่วมกัน โดยสร้างวัฒนธรรมให้ชาวบ้านมีสิทธิเท่าเทียมกันในการสร้างอำนาจ เพื่อยกระดับการเรียนรู้ไปทีละชั้นนำไปสู่โครงสร้างที่กว้างขึ้น มีการเลือกตั้งกันเป็นวาระป้องกันการผูกขาดผู้นำในองค์ และยกระดับผู้นำเดิมเป็นที่ปรึกษา จะทำให้เกิดองค์กรที่ยั่งยืนต่อไป

ทั้งนี้ จากการระดมความคิดในที่ประชุม ภาคีเครือข่ายได้ข้อสรุปตรงกันว่า งานจัดตั้งนั้นมีความสำคัญอยู่มาก สามารถทำให้ประชาชน คนยากจน ผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรมได้รวมกลุ่มกันต่อรองและเรียกร้องกับอำนาจที่ไม่เป็นธรรม จากนายทุน รัฐราชการ และอิทธิพลต่างๆ ในสังคมไทย แม้คนรุ่นใหม่อาจไม่ค่อยยอมรับงานจัดตั้ง เพราะมองว่าองค์กรที่จัดตั้งมานั้นมีผู้นำที่ชอบนำเดี่ยวไม่ทำงานเป็นทีม แต่ในที่ประชุมยังยืนยันที่จะต้องทำงานจัดตั้งต่อไป เพื่อทำให้ภาคประชาชนเข้มแข็งและสามารถต่อรองกับอำนาจ สร้างความเป็นธรรมในมิติสุขภาพและอื่นได้


[full-post]
ขับเคลื่อนโดย Blogger.