Peace News

“บิ๊กจิ๋ว” เสนอยุบ ครม.-เลิก คสช.ตั้ง รบ.เฉพาะกาล-เขียน รธน.ใหม่


“บิ๊กจิ๋ว-พญาไม้-จตุพร” ผนึกกำลังเสนอทางออกประเทศไทย ชูความเห็นร่วม “ประยุทธ์เป็นศูนย์กลางปัญหาชาติ” แนะลาออก เสียสละตัวเองประวัติศาสตร์ชาติจะจารึก ยึดเป็นตัวอย่าง แจงหยุดเลือกตั้งภายใต้ รธน.60 เจ้าปัญหา นำ รธน.40 มาใช้ชั่วคราว แล้วตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลพระราชทาน เขียน รธน.ใหม่ เสมอภาคทุกส่วน

เมื่อ 28 ก.ย. 2561 พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี นายเผด็จ ภูรีปฏิภาณ สื่อมวลชน เจ้าของนามปากกา “พญาไม้” และนายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้ร่วมกันแถลงข่าว “ทางออกประเทศไทย” ณ บ้านพัก พล.อ.ชวลิต ซอยกาญจนาภิเษก 10/4 รามอินทรา เขตคันนายาว

พล.อ.ชวลิต ในวัย 86 ปี เสนอว่า ทางออกประเทศไทยที่จะเป็นไปได้มีอยู่ทางเดียว โดยยึดแนวทางสำคัญ 3 ประการ คือ ปฏิบัติตามพระราชประสงค์ มอบสิทธิเสรีภาพให้ประชาชนได้เรียนรู้ แล้วมอบอำนาจอธิปไตยในการปกครองบ้านเมืองให้ประชาชน

นอกจากนี้ ต้องยึดหลักนิติธรรมอย่างเข้มข้น ให้ถือว่าคนทำผิด หากยังไม่ถูกตัดสินต้องถือว่า เป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ใช่จับขังไว้ก่อนเหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งต้องยึดหลักการปกครองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน

พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า การปกครองประชาธิปไตยในไทยขณะนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะไม่มีขบวนการประชาธิปไตยที่เกิดจากการรวมตัวของประชาชนเพื่อเรียกร้องให้ประเทศชาติเกิดการเปลี่ยนแปลง

“ขบวนการประชาธิปไตยต้องเกิดขึ้น ซึ่งกำลังทำให้เกิดในเร็ววันนี้ การเปลี่ยนแปลงต้องเดินหน้า ไม่ใช่อยู่อย่างนี้ไปตลอดชีวิตเป็นไปไม่ได้ เรามีแผนการที่จะให้พระองค์ท่านได้รับทราบโครงการเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัว ร.10”

รวมทั้งย้ำว่า แนวทางที่เสนอนั้น ไม่ต้องการทำลายคนหนึ่งคนใดในการปกครองปัจจุบัน แต่ไม่ต้องการเห็นความขัดแย้งที่เกิดเมื่อกว่า 30 ปี กลับมาเกิดขึ้นอีกในอนาคต

นายเผด็จ ถามว่า รัฐธรรมนูญปัจจุบันจะนำไปสู่สิ่งที่เสนอมานั้นได้หรือไม่ พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า ถ้าปล่อยให้มีการเลือกตั้งในระบบปัจจุบันจะเกิดการทะเลาะกันไม่สิ้นสุด ก่อปัญหาตามมามากมายหลังเลือกตั้ง เราต้องเปลี่ยน เริ่มด้วยเปลี่ยนระบบการปกครองให้เป็นประชาธิปไตยภายใต้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขแห่งรัฐ เพราะทรงถืออำนาจสูงสุด

“ถ้าการปกครองแบบนี้จะเกิดปัญหา เอาอย่างนี้หรือไม่ อย่าปล่อยให้มีการเลือกตั้งเลย คือ เปลี่ยนระบบปัจจุบันสักหน่อย ให้มีรัฐบาลเฉพาะกาลภายใต้อำนาจพิเศษของพระองค์ท่าน”

พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า การใช้รัฐธรรมนูญปัจจุบันประเทศไปไม่รอด ต้องยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2560 แล้วนำรัฐธรรมนูญปี 2540 มาแก้ไขบ้างมาตราให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมทั้ง ยกเลิก คสช. แล้วให้กลับมาช่วยกันทำงาน จากนั้นตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลขึ้นมาดำเนินการสร้างรัฐธรรมนูญใหม่ ให้เกิดความเสมอภาคขึ้น ใช้เวลา 1-2 ปี ทุกสิ่งทุกอย่างก็จบ สิ่งสำคัญ เมื่อ คสช. หมดไปแล้ว พระองค์ท่านจะเลือกรัฐบาลใหม่ และตั้งสภานิติบัญญัติใหม่

“ศูนย์รวมปัญหาขณะนี้อยู่ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งจะนำไปสู่ความขัดแย้งสูงและรุนแรงมาก แต่ไม่รู้ว่า ความอดทนของคนชั้นล่างจะมีถึงไหน หากถวายฎีกาแล้วจะยุ่งกันใหญ่ทั้งประเทศ สรุปแล้วปัญหาที่ง่ายที่สุดขณะนี้ คือ การเสียสละอันยิ่งใหญ่ของพล.อ.ประยุทธ์ จะได้จารึกเป็นประวัติศาสตร์”

พล.อ.ชวลิต เชื่อว่า ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ ฟังในสิ่งที่ตนพูดและคงคิดจะทำทุกอย่างให้ถูกต้องด้วยตัวเองอย่างแน่นอน เพราะท่านเป็นลูกผู้ชาย เป็นทหารกล้า ท่านเท่านั้นต้องทำ เพราะท่านเป็นตัวปัญหาหลักขณะนี้

พร้อมกับย้ำถึงความหวังในวันนี้ เชื่อว่า ความเสียสละของ พล.อ.ประยุทธ์ จะเป็นตัวอย่างรูปแบบอันหนึ่งที่ถูกจารึกไว้ และขออย่าห่วงประเทศชาติให้มากเกินไปนัก

“ท่าน (พล.อ.ประยุทธ์) น่าจะทำ น่าจะเสียสละตัวเอง ดีกว่าให้สิ่งอื่นมาประจานให้สิ่งที่ท่านต้องการมันไม่เป็นจริง แล้วนำความเสียหายมาสู่ตัวท่านเอง วงศ์ตระกูล ลูกหลานอีก 100 ปี 1000 ปีก็จะพูดถึงสิ่งนี้ ผมจึงว่า ท่านทำแน่นอนในสิ่งที่ดี”

สำหรับแนวคิดการยื่นฎีกาขอพระราชทานรัฐบาลเฉพาะกาลนั้น พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า จะเป็นการระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทหรือไม่นั้น ส่วนตัวมองว่า นี่คือความน่ารักของคนไทย ที่เกรงว่าจะไปทำให้พระองค์ท่านไม่สบายพระทัย ดังนั้น ทางออกคือ พล.อ.ประยุทธ์ ต้องแก้ไขเรื่องนี้ด้วยตัวเอง

ผู้สื่อข่าวถามถึงข่าวพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทยจะจับมือกันเพื่อตั้งรัฐบาลและสนับสนุน นายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกรัฐมนตรี พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า ได้เป็นก็ไม่สำเร็จ จะรวมกัน 500 พรรคก็ตั้งไม่สำเร็จ

นายจตุพร กล่าวว่า การเลือกตั้งภายใต้ พล.อ.ประยุทธ์ มีอำนาจ ม.44 สามารถคุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และสิ่งสำคัญ หัวหน้า คสช. จะบอกว่าสนใจการเมืองนั้นไม่ได้ แต่จะต้องสนใจประชาธิปไตย สนใจประเทศไทย สนใจประชาชนด้วย อีกทั้งการขับเคลื่อนทางการเมืองโดยอาศัยมาตรา 44 เพียงอย่างเดียวจะยิ่งทำให้ประเทศมีปัญหาในอนาคตแน่นอน

“ผมแนะนำว่า ต้องลาออกจากหัวหน้า คสช. หรืออกจากนายกรัฐมนตรี และให้คนกลางเข้ามาทำหน้าที่การเป็นกรรมการและพล.อ.ประยุทธ์ ก็มาทำหน้าที่เป็นผู้แข่งขัน”

PEACE NEWS


เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะแกนนำพรรคเพื่อไทย..
ท่านเอกอัครราชทูตเดินทางมาในนาทีที่ 11.50




Posted: 24 Sep 2018 01:19 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Mon, 2018-09-24 15:19


กระทรวงต่างประเทศมัลดีฟส์แถลงยอมรับ "อิบราฮิม โมฮัมเหม็ด โซลีห์" ผู้นำฝ่ายค้านชนะเลือกตั้ง นับเป็นการพลิกชนะประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ทั้งที่รัฐบาลคุมเลือกตั้งหนัก แถมฝ่ายค้านเพิ่งถูกตำรวจบุกสำนักงาน โดยการเลือกตั้งรอบนี้ยังเป็นการชี้วัดยุทธศาสตร์จีนในมหาสมุทรอินเดีย เนื่องจากที่ผ่านมาประธานาธิบดีมัลดีฟส์พึ่งพาแหล่งสินเชื่อจากจีนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน


ผู้สนับสนุนพรรคฝ่ายค้านมัลดีฟส์เดินรณรงค์ก่อนการเลือกตั้ง โดยผลการเลือกตั้งอิบราฮิม โมฮัมเหม็ด โซลีห์ ผู้นำฝ่ายค้านพลิกเอาชนะประธานาธิบดีคนปัจจุบันได้ (ที่มา: Facebook/Ibrahim Mohamed Solih - Ibu)


อิบราฮิม โมฮัมเหม็ด โซลีห์ ผู้นำฝ่ายค้านมัลดีฟส์ที่เพิ่งชนะการเลือกตั้ง โดยเขาโพสต์ภาพในวันนี้ (24 ก.ย.) "Come on now, fly high with me. #JazeeraRaajje" หลังทราบผลการเลือกตั้ง (ที่มา: Facebook/Ibrahim Mohamed Solih - Ibu)

กระทรวงการต่างประเทศมัลดีฟส์แถลงยอมรับว่า อิบราฮิม โมฮัมเหม็ด โซลีห์ ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรคฝ่ายค้านเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งมัลดีฟส์ โดยเขาได้คะแนน 134,616 คะแนนอย่างเหนือความคาดหมาย เอาชนะประธานาธิบดีอับดุลลา ยามีน อับดุล กายุม ที่ได้คะแนน 96,132 คะแนน ทั้งนี้ยามีนซึ่งถูกกล่าวหาว่าปราบปรามฝ่ายค้านก่อนเลือกตั้ง จนถึงขณะที่รายงานข่าวอยู่นี้ ยังไม่ออกมายอมรับความพ่ายแพ้

ด้านสหรัฐอเมริกาและอินเดียต่างแถลงแสดงความยินดีกับผลการเลือกตั้ง

ในรายงานของบีบีซี ระบุว่า ผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการจะประกาศในวันที่ 30 ก.ย. ขณะที่ผู้สนับสนุนของโซลีห์ออกมาเฉลิมฉลองบนท้องถนนแล้ว ด้านโซลีห์เรียกร้องให้ประธานาธิบดียามีน "ยอมรับเจตจำนงของประชาชน"

"เสียงของประชาชนดังและชัดเจน ประชาชนมัลดีฟส์ต้องการความเปลี่ยนแปลง, สันติภาพ และความยุติธรรม" โซลีห์กล่าวกับผู้สื่อข่าวที่กรุงมาเล เมืองหลวงของมัลดีฟ์ส์

ตำรวจบุกค้นสำนักงานพรรคฝ่ายค้านก่อนเลือกตั้ง 1 วัน

ก่อนหน้านี้มีรายงานในอัลจาซีรา เมื่อ 23 ก.ย ว่าตำรวจมัลดีฟส์บุกค้นสำนักงานของพรรคการเมืองฝ่ายค้านในช่วงก่อนการเลือกตั้ง 1 วัน โดยอ้างว่าเพื่อสืบสวนสอบสวนข้อกล่าวหา "การติดสินบนและใช้อิทธิพลชักจูงการลงคะแนน"

ฮิซาน ฮุสเซน ทนายความของพรรคฝ่ายค้านเปิดเผยว่ามีตำรวจหน่วยปฏิบัติการพิเศษบุกที่ทำการพรรคของพวกเขาซึ่งตั้งอยู่บนอาคาร 7 ชั้นในมาเล เมืองหลวงของประเทศหมู่เกาะกลางมหาสมุทรอินเดียแห่งนี้ โดยที่ฮุสเซนบอกว่าการบุกสำนักงานในครั้งนี้เป็นความพยายามอย่างเอาเป็นเอาตายในการขัดขวางการเลือกตั้งที่มีขึ้นในวันที่ 23 ก.ย. 2561

ทางฝ่ายตำรวจโพสต์ลงโซเชียลมีเดียทวิตเตอร์ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าไป "ยับยั้งการกระทำที่ผิดกฎหมาย" ในที่แห่งนั้น โดยที่มีหมายศาลออกคำสั่งให้ตำรวจทำการตรวจค้นเป็นเวลา 14 ชั่วโมงเพื่อสืบสวนข้อกล่าวหาเรื่องการใช้เงินซื้อเสียงและส่งอิทธิพลชักจูงการลงคะแนน

สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรประณามการบุกค้นของตำรวจในครั้งนี้ โดยที่ โรเบิร์ต ฮิลตัน ทูตสหรัฐฯ กล่าวเรียกร้องให้รัฐบาลมัลดีฟส์ยึดมั่นต่อพันธกรณีในเรื่องการเลือกตั้งอย่างเสรีและเป็นธรรม

ก่อนหน้านี้เครือข่ายเอเชียเพื่อการเลือกตั้งเสรี หรือ "อันเฟรล" (ANFREL) ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 22 ก.ย. ที่ผ่านมาว่าบรรยากาศทางการเมืองของมัลดีฟส์ทำให้เกิดการเอนเอียงไปในทางพรรครัฐบาล จากการที่สื่อที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลถูกทำให้เงียบเสียง ฝ่ายค้านถูกตัดสินจำคุกหรือถูกบีบให้ออกจากประเทศด้วยข้อกล่าวหาที่มีแรงจูงใจทางการเมือง นอกจากนี้คณะกรรมการการเลือกตั้งยังเป็นพันธมิตรคนสำคัญของยามีนที่ไม่ยอมให้มีการตรวจสอบการนับคะแนน นอกจากนี้ผู้สังเกตการณ์จากต่างประเทศรวมถึงนักข่าวก็ถูกปฏิเสธไม่ให้วีซาเข้าประเทศ

ทางด้าน แพทริเซีย กอสส์แมน ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายเอเชียของฮิวแมนไรท์วอทช์ก็วิจารณ์การกระทำของรัฐบาลเช่นกัน โดยวิจารณ์เรื่องการจับกุมคนวิจารณ์ ปิดปากสื่อ และใช้อำนาจผ่าน กกต.ปิดกั้นพรรคฝ่ายค้านอย่างไม่เหมาะสมเพื่อให้ฝ่ายตัวเองชนะ

บททดสอบประชาธิปไตยมัลดีฟส์
ชี้วัดอิทธิพลจีนในมหาสมุทรอินเดีย


ประเทศมัลดีฟส์เป็นประเทศหมู่เกาะกลางมหาสมุทรอินเดีย ที่ประกอบขึ้นจากเครือข่ายเกาะปะการัง 26 เกาะ และเกาะเล็กเกาะน้อย 1,192 เกาะ มีพื้นที่ 298 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 4 แสนคน โดยการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ (23 ก.ย.) นับเป็นบททดสอบประชาธิปไตยครั้งสำคัญของมัลดีฟส์ท่ามกลางความหวาดกลัวก่อนหน้านี้ว่ารัฐบาลจะล็อคผลการเลือกตั้ง หลังจากที่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มัลดีฟส์อยู่ภายใต้การนำของประธานาธิบดี อับดุลลา ยามีน อับดุล กายุม ผู้ถูกกล่าวหาเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันและการละเมิดสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้การเลือกตั้งของมัลดีฟส์ยังเป็นท่ามกลางการปราบปรามกลุ่มพรรคแนวร่วมฝ่ายค้าน ซึ่งนำโดย อิบราฮิม โมฮัมเหม็ด โซลีห์ โดยผู้นำฝ่ายค้านเหล่านี้ถ้าไม่ถูกจับกุมก็มักจะต้องออกนอกประเทศ

มัลดีฟส์เป็นประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดียอยู่ห่างออกไปทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเรื่องทะเลสวยและมีรีสอร์ทหรูๆ เป็นประเทศที่มีกลุ่มประชากรหลักๆ เป็นชาวมุสลิม ซึ่งยามีนก็อ้างเรื่องความเป็นศาสนาอื่นนอกจากอิสลามของพรรคฝ่ายค้านมาโจมตี

ขณะเดียวกันก็มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งบอกว่าพวกเขาชื่นชมยามีนตรงเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาทางวัตถุในประเทศ แต่ขณะเดียวกันการพัฒนาเหล่านี้ก็เป็นเพราะจีนเข้ามามีอิทธิพลและให้เงินกู้ยืมสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของประเทศ โดยมีนักวิเคราะห์มองว่าเป็นการทำไปเพื่อปิดล้อมอินเดีย และจีนก็กลัวว่าถ้าผลการเลือกตั้งครั้งนี้ออกมาฝ่ายค้านชนะพวกเขาก็จะเสียความสัมพันธ์ที่เคยมีไว้กับยามีน

ทั้งนี้โซลีห์ ผู้นำฝ่ายค้านยังวิพากษ์วิจารณ์เรื่องที่กลุ่มของยามีนพยายามปิดปากคนที่พูดต่อต้านด้วยการจับเข้าคุก และเขายังปราศรัยกับฝูงชนว่าการเลือกตั้งในครั้งนี้จะเป็น "โอกาสสุดท้าย" ที่จะฟื้นฟูประชาธิปไตยในมัลดีฟส์ได้

โซลีห์ยังกล่าวอีกว่าชาวมัลดีฟส์ส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานได้และเขาเชื่อว่าการเลือกตั้งในครั้งนี้ฝ่ายรัฐบาลจะทำการล็อกผลการเลือกตั้ง ในเรื่องนี้กลุ่มพรรคแนวร่วมฝ่ายค้านเปิดเผยว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งในมัลดีฟส์ทำงานให้ยามีนและไม่ยอมให้มีผู้สังเกตการณ์เข้าไปตรวจสอบการเลือกตั้งจึงอาจจะมี "การโกงการนับคะแนนครั้งใหญ่" ได้

อย่างไรก็ตามผู้ชิงตำแหน่งจากพรรคฝ่ายค้านก็เอาชนะประธานาธิบดียามีนได้ในที่สุด

เรียบเรียงจาก
Maldives police raid opposition headquarters on eve of election, Aljazeera, 23-09-2018
Maldives election: Voting ends in controversial poll, BBC, 24-09-2018

Maldives election: Opposition defeats China-backed Abdulla Yameen, BBC, 24-09-2018

[full-post]

จำเลย ทีมทนายความและชาญวิทย์ เกษตรศิริ ที่หน้าศาลแขวงเชียงใหม่ (ที่มา: Facebook/ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน)

Posted: 24 Sep 2018 02:01 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Mon, 2018-09-24 16:01


คืบหน้าคดีกรณีป้าย "เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร" ในเวทีไทยวิชาการไทยศึกษา ศาลแขวงเชียงใหม่นัดตรวจพยานหลักฐาน นัดสืบพยานโจทก์ 6-7 ธ.ค. สืบจำเลย 12-14 ธ.ค. 2561 ชาญวิทย์ เกษตรศิรินำดอกบัวมาให้กำลังใจจำเลย ขอให้พ้นภัยมาร ชี้ เป็นคดีการเมืองทำเรื่องเล็กให้กลายเป็นเรื่องใหญ่ หวังว่าศาลจะไม่บ้าจี้เล่นตาม

24 ก.ค. 2561 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานความคืบหน้าคดีป้าย “เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร” ในงานประชุมวิชาการนานาชาติไทยศึกษาที่จัดขึ้นเมื่อเดือน ก.ค. ปีที่แล้ว โดยวันนี้ที่ศาลแขวงเชียงใหม่ได้นัดตรวจพยานหลักฐานจำเลยทั้งห้า ได้แก่ ชยันต์ วรรธนะภูติ ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคศึกษาด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักแปลและนักเขียนอิสระ นลธวัช มะชัย นักศึกษาปริญญาตรีคณะการสื่อสารมวลชน มช. ชัยพงษ์ สำเนียง นักศึกษาปริญญาเอกคณะสังคมศาสตร์ มช. และธีรมล บัวงาม นักศึกษาปริญญาโทคณะการสื่อสารมวลชน มช. และบรรณาธิการสำนักข่าวประชาธรรม

ความผิดตามฟ้องคือการฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 3/2558 ข้อ 12 เรื่องการร่วมกันมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้า คสช. หรือผู้ได้รับมอบหมาย โดยนัดคดีวันนี้มีนักวิชาการ ผู้สังเกตการณ์คดี เดินทางมาที่ศาลราว 10 คน รวมถึง ศ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นำดอกบัวมามอบเป็นกำลังใจให้กับจำเลย และยังมีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบสังเกตการณ์และบันทึกภาพอยู่นอกศาลด้วย

การตรวจพยานในวันนี้เกิดขึ้นหลังคู่ความนำพยานหลักฐานแต่ละฝ่ายเข้ามาในสำนวน ระหว่างการตรวจพยาน ชยันต์ ผู้เป็นจำเลยที่หนึ่ง แถลงต่อศาลว่าการดูเอกสารของฝ่ายโจทก์ที่ใช้ในการกล่าวหาตนเองแล้ว ตนมีบทบาทแตกต่างไปจากจำเลยคนอื่นๆ คือมีฐานะเป็นประธานฝ่ายวิชาการของงานประชุมนานาชาติไทยศึกษาครั้งดังกล่าวซึ่งไม่ได้ถูกระบุเอาไว้ในเอกสารของฝ่ายโจทก์ ตนถูกเรียกให้ไปดูป้าย “เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร” และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการติดป้ายแต่อย่างใด

เมื่อชยันต์แถลงเสร็จ ศาลเจ้าของสำนวนระบุว่า ที่จำเลยที่หนึ่งกล่าวมาเป็นข้อเท็จจริงที่ฝ่ายจำเลยต้องนำสืบเข้ามา แต่เบื้องต้นได้มีการสืบสวน ทำความเห็น กล่าวหาและสั่งฟ้องเข้ามา ทางจำเลยสามารถนำเสนอพยานหลักฐานเพื่อหักล้างและแก้ข้อกล่าวหาต่อศาลได้อยู่แล้ว ข้อเท็จจริงส่วนนี้ศาลยังไม่สามารถนำเข้ามาในสำนวนได้ ส่วนที่จำเลยถูกกล่าวหาดำเนินคดีนั้น ศาลก็เข้าใจว่าก่อให้เกิดความยุ่งยากและเสียเวลา แต่ก็ต้องเข้าใจว่าเป็นเรื่องปกติของระบบงานยุติธรรม ของทั้งเมืองไทยและต่างประเทศ ในส่วนข้อเท็จจริงของจำเลยก็สามารถนำเข้ามาให้ครบถ้วนในขั้นตอนการสืบพยานได้ต่อไป

คู่ความทั้งสองฝ่ายได้ตกลงวันนัดสืบพยานที่ศูนย์นัดความของศาล โดยวันนัดสืบพยานโจทก์คือวันที่ 6-7 ธ.ค. 2561 และนัดสืบพยานจำเลยในวันที่ 12-14 ธ.ค. 2561 ในเวลา 9.00 น. ของแต่ละวันเป็นต้นไป

ชาญวิทย์กล่าวกับประชาไทว่าที่เอาดอกบัวมาให้จำเลยนั้นเพื่อให้เกิดสิริมงคล ส่วนตัวรู้จักชยันต์และเคยทำงานวิชาการร่วมกันมาหลายสิบปี เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเวทีวิชาการไทยศึกษาที่นำมาสู่การฟ้องร้องนี้นั้นตนก็เห็น และในวันงานก็มีทหารในเครื่องแบบมาเดินในงานสัมมนาเป็นที่เห็นกัน และการฟ้องร้องดำเนินคดีนี้ถือเป็นคดีการเมืองซึ่งหวังว่าจะศาลจะไม่บ้าจี้ตามการเมือง

“โดยมากเวลาเราใช้ดอกบัวก็เป็นสิริมงคลนะผมว่า เหมือนเราก็อยากให้เขารอดพ้นจากบ่วงมาร ผจญกับมารก็ขอให้พ้นจากความโชคร้าย เคราะห์ร้ายทั้งหลายทั้งปวง” ชาญวิทย์กล่าว

“ฝ่ายทหารส่งคนเข้ามาในลักษณะที่ไม่เป็นการเข้าร่วมสัมมนาตามปกติ มันมีลักษณะที่ไม่น่าดู... ไม่ได้มาในลักษณะสนใจวิชาการหรือสุภาพชนนะ”

“คดีนี้ขึ้นศาลแขวง ไม่ได้ขึ้นศาลทหาร มันมีลักษณะของคดีมโนสาเร่ คือคดีเล็กๆ น้อยๆ มันก็เป็นเรื่องที่ผมว่าคนที่เป็นจำเลยคงรำคาญใจ เสียเวลา เห็นเขาบอกว่าต้องกลับไปกลับมาจากศาลเป็นเวลานาน ความผิดก็ไม่ได้ร้ายแรง ไม่ใช่เป็นความผิดใหญ่โตแบบทำลายความมั่นคงของชาติ มันเป็นคดีที่เล็กและไม่สมควรจะเกิด”

“คดีนี้เป็นคดีการเมืองใช่ไหมครับ มันเป็นความพยายามของฝ่ายรัฐประหารที่จะปิดปากนักวิชาการ ฉะนั้น มันจะออกอย่างไร จะตัดสินยังไงมันก็ขึ้นอยู่กับการเมือง แต่ผมก็ยังหวังว่าศาลไม่น่าจะบ้าจี้ไปตามการเมือง” อดีตอธิการบดี มธ. ยังกล่าวว่าเสรีภาพทางวิชาการถูกคุกคามตั้งแต่มีการตั้งข้อหาแล้ว ยิ่งมีการดำเนินคดีก็ยิ่งทำให้เรื่องเล็กกลายเป็นเรื่องใหญ่

ส่วนกรณีที่ชาญวิทย์ถูกดำเนินคดีในข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จฯ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2560 มาตรา 14 (2) และ (5) ซึ่งมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือจำคุกไม่เกินห้าปี จากการแชร์และวิจารณ์กระเป๋าถือของนราพร จันทร์โอชา ภริยาของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และนายกรัฐมนตรี ซึ่ง พ.ต.อ.โอฬาร สุขเกษม ผู้กำกับการ 3 ปอท. เป็นผู้แจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษแก่ชาญวิทย์นั้น เจ้าตัวระบุว่ายังไม่มีความคืบหน้า ยังไม่มีการฟ้องร้อง ที่ผ่านมามีการสอบสวนไปแล้วหนึ่งครั้ง


ชาญวิทย์เข้าพบ ปอท. ยันสิทธิในการแสดงความเห็น หวั่นฟ้องปิดปากคนวิจารณ์

“ทีแรกก็กังวลนะ แต่พอผ่านไปก็มีความรู้สึกว่านี่เป็นเรื่องของการเมือง มันไม่ใช่เรื่องอาชญากรรมอะไร มันเป็นเรื่องการเมืองมันก็ขึ้นอยู่กับการเมือง” ชาญวิทย์ทิ้งท้าย
ย้อนไทม์ไลน์เวทีไทยศึกษา เมื่อเขียนป้ายและชูสามนิ้วเป็นคดี (อีกแล้ว)

มูลเหตุของคดีในวันนี้ ต้องย้อนกลับไปราวหนึ่งปีกว่าๆ เมื่อช่วงวันที่ 15-18 ก.ค. 2560 ที่มีการจัดการประชุมวิชาการไทยศึกษา ซึ่งเป็นเวทีวิชาการนานาชาติที่มีนักวิชาการทั้งไทยและต่างประเทศมาร่วมนำเสนอและรับฟังการเสนอผลงานทางวิชาการด้านไทยศึกษา งานจัดขึ้นที่ศูนย์ประชุมและแสดงนิทรรศการนานาชาติ จ.เชียงใหม่

18 ก.ค. 2560 มีนักกิจกรรมและนักศึกษานำป้ายที่มีข้อความ “เวทีวิชาการ ไม่ใช่ค่ายทหาร” มาติดบริเวณหน้าห้องสัมมนาวิชาการ เนื่องจากเห็นว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐนอกเครื่องแบบเข้ามาบันทึกกิจกรรมต่างๆ ในงานโดยไม่มีการลงทะเบียนเข้าร่วมงานและไม่ได้ขออนุญาตผู้จัดงาน โดยที่ระหว่างที่ป้ายดังกล่าวติดอยู่และมีผู้ร่วมถ่ายรูปกับป้ายดังกล่าวเป็นจำนวนมากด้วย โดยจำเลยทั้งห้าก็ได้ถ่ายภาพในท่าชูสามนิ้ว ซึ่งทั้งการติดป้ายและการชูสามนิ้วกลายเป็นเหตุที่นำไปสู่การตั้งข้อกล่าวหาในอนาคต


ศาลเชียงใหม่รับฟ้องคดี ‘เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร’ นัดต่อไป 14 ส.ค.นี้

176 นักวิชาการไทย-ต่างประเทศเรียกร้อง คสช. คืนเสรีภาพทางวิชาการ-คืนอำนาจอธิปไตย

ทหารจ่อเรียกนักวิชาการเข้าพบ หลังชูป้าย ‘เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร’

นักวิชาการโต้แถลงการณ์ กกล.รส.เชียงใหม่ ไม่พูดถึงบทบาททหารสอดแนม-แทรกแซงประชุมไทยศึกษา

ต่อมา ร.ท.เอกภณ แก้วศิริ อัยการผู้ช่วยศาลมณฑลทหารบกที่ 33 จังหวัดเชียงใหม่ รับมอบอำนาจจาก พ.อ.สืบสกุล บัวระวงศ์ รองผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดเชียงใหม่ ให้มาแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีต่อนักวิชาการ นักศึกษา และนักแปลทั้งห้าคน ในข้อหาร่วมกันมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใด ๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป โดยไม่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้า คสช.

เมื่อ 15 ส.ค. 2560 เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ช้างเผือก ได้ออกหมายเรียกนักวิชาการและนักศึกษา 5 คน ที่ปัจจุบันกลายสภาพเป็นจำเลยไปแล้ว ให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า (คสช.) ที่ 3/2558 เรื่องการมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป โดยไม่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้าคสช. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จากกรณีเกี่ยวข้องกับกิจกรรมในการประชุมวิชาการไทยศึกษา

เมื่อ 21 ส.ค. 2560 พ.ต.ท.อินทร แก้วนันท์ และคณะพนักงานสอบสวน สภ.ช้างเผือก แจ้งข้อหาต่อนักวิชาการ นักศึกษา และนักแปลทั้งห้าคน ทั้งยังแจ้งว่าหากผู้ต้องหาทั้งห้าสมัครใจเข้ารับการอบรมจากเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน และเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยเห็นสมควรปล่อยตัวโดยอาจจะมีเงื่อนไขหรือไม่มีเงื่อนไขก็ได้ ให้ถือว่าคดีเลิกกัน แต่ผู้ต้องหาทั้งห้าให้การปฏิเสธข้อหา และยื่นคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรต่อพนักงานสอบสวนในวันที่ 1 ก.ย. ปีเดียวกัน

11 ก.ย. 2560 สืบเนื่องจากมติที่ประชุมของจังหวัดเชียงใหม่ (8 ก.ย.) กรณีกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดเชียงใหม่แจ้งความผู้ต้องหาทั้งห้า และได้นัดหมายให้ผู้ต้องหาไปที่สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงเชียงใหม่ ซึ่งผู้ต้องหาก็ไปตามนัด จากนั้นอัยการศาลแขวงเชียงใหม่ก็เลื่อนฟังคำสั่งคดีจนต่อมาศาลรับฟ้องในวันที่ 4 ก.ค. ที่ผ่านมา

คำฟ้องระบุว่า จำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันมีจำนวนตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ร่วมกันมั่วสุมและชุมนุมการเมืองโดยแสดงแผ่นป้ายข้อความว่า “เวทีวิชาการ ไม่ใช่ค่ายทหาร” และปิดแผ่นป้ายนั้นไว้บริเวณห้องประชุมสัมมนาในงานประชุมไทยศึกษาครั้งที่ 13 ที่ จ.เชียงใหม่เมื่อเดือน ก.ค. 2560 พร้อมกับการชูนิ้วสามนิ้ว (นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง) อันเป็นการแสดงสัญลักษณ์ในทางการเมืองต่อต้านรัฐบาลที่บริหารประเทศอยู่ในขณะนั้น และถ่ายภาพกับป้ายข้อความซึ่งปิดไว้ที่บริเวณหน้าห้องประชุมสัมมนา เพื่อให้ประชาชนที่พบเห็นเข้าใจว่ารัฐบาล และทหารจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งก่อให้เกิดภาพลักษณ์ในเชิงลบกับรัฐบาล เป็นการยุยงปลุกปั่น สร้างความแตกแยกระหว่างประชาชนที่เห็นต่างกับรัฐบาล

ที่ผ่านมา คดีนี้เป็นที่จับตามองจากองค์กรระหว่างประเทศ ประชาสังคมและนักวิชาการจำนวนมาก มีแถลงการณ์หลายฉบับที่ออกมาเพื่อเรียกร้องให้ถอนการแจ้งข้อกล่าวหาต่อทั้งห้าคน


กป.อพช.ภาคเหนือ ร้องถอนฟ้อง 5 นักวิชาการ คดีฝืนคำสั่ง คสช. ปมกิจกรรมในงานไทยศึกษา

28 ประชาสังคม ร้องถอนฟ้อง 5 นักวิชาการ คดีฝืนคำสั่ง คสช. ปมกิจกรรมในงานไทยศึกษา

3 องค์กรสิทธิร้องยุติคดี 5 นักวิชาการเชียงใหม่ ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 3/58

คณะสังคมศาสตร์ มช. ร้องอธิการฯ เสนอข้อเท็จจริง จนท.ยุติคดี 'เวทีวิชาการ ไม่ใช่ค่ายทหาร'

ฮิวแมนไรท์วอทช์ ร้องถอนฟ้อง 5 นักวิชาการ คดีฝืนคำสั่ง คสช. ปมกิจกรรมในงานไทยศึกษา


Posted: 24 Sep 2018 03:19 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Mon, 2018-09-24 17:19


24 ก.ย. 2561 จากรายงานของพรรค CHP ซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่ายค้านของตุรกี ระบุว่านับตั้งแต่พรรค AKP เป็นรัฐบาลมาได้ 16 ปี มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุในการทำงานถึง 21,800 คน จากสถิตินี้ทำให้ตุรกีเป็นประเทศที่มีผู้เสียชีวิตเกี่ยวเนื่องจากการทำงานมากที่สุดในยุโรป เฉลี่ยแล้วเสียชีวิตเกือบวันละ 4 ราย

รายงานยังระบุว่าจำนวนแรงงานหญิงที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุในการทำงานเพิ่มขึ้น ผู้หญิงที่เสียชีวิตจากการทำงานมีจำนวน 722 คน ตั้งแต่ปี 2556 ถึงช่วง 6 เดือนแรกของปี 2561 ร้อยละ 90 ของแรงงานหญิงไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ร้อยละ 75 ทำงานในเศรษฐกิจนอกระบบ (ไม่ใช่แรงงานประจำ-ไม่ได้รับสวัสดิการตามกฎหมายแรงงาน) และในช่วงเวลาเดียวกันนี้มีแรงงานเด็ก 319 คน เสียชีวิตจากอุบัติเหตุในการทำงาน

รายงานยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับคนทำงานที่ฆ่าตัวตายด้วยเหตุผลที่เกี่ยวข้องกับงาน แรงงาน 25 คน ได้ฆ่าตัวตายในปี 2557, 59 คน ในปี 2558, 90 คน ในปี 2559 และ 89 คน ในปี 2560 ในรายงานระบุว่าทั้งสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เลวร้าย ความกดดันจากนายจ้าง เงินเดือนต่ำ และการทำงานที่ไม่ได้ค่าจ้าง รวมทั้งความเครียดจากการไม่มีงานทำ เป็นสาเหตุที่ทำให้แรงงานเหล่านี้ฆ่าตัวตาย

ทั้งนี้ภาคการก่อสร้างเกษตรกรรมและเหมืองแร่เกิดอุบัติเหตุในการทำงานมากที่สุด อันเนื่องมาจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของภาคธุรกิจนี้ การแข่งขันอย่างรุนแรงทำให้ขาดการควบคุมสภาพการทำงานให้ปลอดภัยแก่คนทำงาน


เจ้าหน้าที่ตุรกีเข้าสลายการชุมนุมประท้วงของแรงงานก่อสร้างสนามบินแห่งที่ 3 ในกรุงอิสตันบูล (ที่มาภาพ: BWI)


ทั้งนี้เมื่อช่วงกลางเดือน ก.ย. 2561 ที่ผ่านมา กลุ่มแรงงานก่อสร้างสนามบินแห่งที่ 3 ในกรุงอิสตันบูลซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างชาติชาวเนปาลได้ออกมาประท้วงเรียกร้องให้มีการปรับปรุงสภาพการทำงานและการดำรงชีพของพวกเขาให้ดีขึ้น หลังจากที่แรงงานก่อสร้างสนามบินแห่งนี้เสียชีวิตไปถึง 42 คนแล้ว



ที่มาเรียบเรียงจาก
21,800 people killed in work-related accidents during AKP rule in Turkey (Stockholm Center for Freedom, 22/9/2018)
Turkey: ITUC Condemns Mass Arrest of Workers on Strike (ITUC, 18/9/2018)

[full-post]


Posted: 24 Sep 2018 05:00 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Mon, 2018-09-24 19:00


นิธิ เอียวศรีวงศ์

แม้ว่าประเทศตะวันตกมีกองทัพประจำการมานาน แต่กองทัพประจำการของโลกตะวันตกมีขนาดเล็กกว่าภารกิจที่ต้องทำในยามสงครามอย่างมาก เหตุดังนั้นก่อนเกิดสงครามหรือในยามที่ทำสงครามอยู่ จึงต้องระดมพลเสริมเข้ามาอีกจำนวนมาก ไม่เฉพาะแต่ทหารกองหนุนเท่านั้น แม้ผู้ชายที่ไม่เคยเป็นทหารเลย ก็ต้องถูกระดมเข้ามารับการฝึกอย่างรวดเร็ว และรวบรัด เพี่อส่งออกแนวหน้า

กองทัพสหรัฐมีกำลังพลที่ประจำการอยู่เกือบหรือเกินล้าน (ใน 2018 มีประจำการอยู่หนึ่งล้านสองแสนกว่าคน) แต่เพื่อทำสงครามเวียดนาม แม้เป็นสงครามที่ไม่ประกาศ ก็ต้องใช้กำลังพลถึง 5 แสนในช่วงสูงสุดของการศึก และสหรัฐต้องระดมกำลังคนหนุ่มทั่วประเทศมาเสริม เพราะกองทัพสหรัฐมีภารกิจที่ต้องปฏิบัติแม้ในยามสงบ จนเกินกว่าจะถอนกำลังมาใช้ในเวียดนามได้ครบ

สหรัฐเป็นมหาอำนาจ และกำหนดบทบาทให้ตนเองต้องเข้าไปกำกับควบคุมการเมืองทั้งโลก จึงต้องรักษาทหารประจำการไว้จำนวนมาก แม้กระนั้นทหารประจำการสหรัฐก็มีเพียง 0.392% ของประชากรอเมริกัน

ก่อนที่สหรัฐจะเข้ามามีบทบาทในการเมืองโลก กองทัพประจำการของสหรัฐยิ่งมีขนาดเล็กลงไปกว่านี้อีก สงครามกับอินเดียนแดงเพื่อขยายที่ทำกินออกมาทางตะวันตกทั้งหมด ในช่วงแรกใช้กองกำลังที่จัดตั้งขึ้นเฉพาะกิจ ในช่วงหลังแม้ว่าใช้ทหารประจำการเป็นแกนกลาง แต่ก็ต้องระดม “อาสาสมัคร” ซึ่งที่จริงคือทหารรับจ้างที่ไม่ได้ “รับจ้าง” อย่างออกหน้า แต่เข้าร่วมรบเพื่อหารายได้เป็นหลัก

จนสงครามกลางเมือง, สงครามกับสเปน หรือแม้แต่ใช้กำลังปราบปรามความไม่สงบภายในก็ยังคงทำอย่างเดียวกัน คือมีทหารประจำการเป็นแกน และระดม (ส่วนใหญ่คืออาสาสมัคร-รับจ้าง) กำลังพลเรือนเข้าเป็นทหารชั่วคราว หากวิเคราะห์กำลังทหารสหรัฐที่ทำสงครามเวียดนาม ก็ไม่ต่างจากเดิมมากนัก คือมีทหารประจำการเป็นแกนกลาง แล้วระดมคนหนุ่มเข้ามาเป็นทหารระดับล่างๆ ทั้งหมด ทั้งในส่วนที่เป็นช่างเทคนิคและกำลังรบ

ย้อนกลับไปดูในประวัติศาสตร์สงครามของยุโรปก็เป็นอย่างเดียวกัน คือรักษากำลังทหารประจำการจำนวนน้อยเอาไว้ แล้วระดมกำลังขนานใหญ่เมื่อเกิดสงคราม (หรือกำลังจะเกิดสงคราม) คนที่เรียนประวัติศาสตร์ยุโรปคงจำได้ว่า จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 1 การที่มหาอำนาจใดเรียกระดมพล ก็เกิดความตึงเครียดในความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านทันที เพราะเพื่อความไม่ประมาท เพื่อนบ้านก็มักระดมพลเพื่อตอบโต้ทันทีเหมือนกัน ทั้งนี้ เพราะกองทัพประจำการขนาดใหญ่นั้นไม่จำเป็น นอกจากจะทำสงคราม

และในการระดมพลเพื่อการสงครามนั้น แม้แต่เรียกกองกำลังสำรองหรือทหารกองหนุนเข้าประจำการก็ยังไม่พอ ต้องเรียกเกณฑ์หรือรับ “อาสาสมัคร-รับจ้าง” เพิ่มเข้ามาอีกมาก

แม้ในเมืองไทยเองก็เคยปฏิบัติมาอย่างเดียวกัน สงครามกับฝรั่งเศสและการเข้าตีเชียงตุงในระหว่างสงครามโลก ใช้กำลังพลส่วนใหญ่จาก “อาสาสมัคร-รับจ้าง” ทั้งสิ้น โดยมีกองทัพประจำการเป็นแกนกลางในการนำ เมื่อเสร็จศึกจึงต้องปลดประจำการทหารออกไปจำนวนมาก

แต่การปลดประจำการหรือ demobilization นี้มีปัญหาในตัวเองอยู่สองอย่าง จู่ๆ ก็ปลดคนหนุ่มที่มีประสบการณ์การรบออกไปจำนวนมาก จำเป็นต้องมีงานรองรับคนเหล่านี้ มิฉะนั้นก็จะมีคนตกงานและความเดือดร้อนของคนหนุ่มกลุ่มก้อนใหญ่ ที่เคยชินกับการจัดองค์กรเสียด้วย จึงอาจเกิดความปั่นป่วนทางสังคมและการเมืองขึ้นได้ และอย่างที่สองก็คือ ทหารในกองทัพประจำการ โดยเฉพาะตัวนายๆ รู้สึกว้าเหว่จากอำนาจที่เคยมีระหว่างสงคราม เพราะกำลังพลในบังคับบัญชาหายไปเกือบหมด จะต่อรองอะไรกับคนกลุ่มอื่น ก็ไม่มีพลังต่อรองสักเท่าไร

แน่นอนประเทศไทยสมัยก่อน ซึ่งยังผูกกำลังแรงงานเกือบทั้งหมดไว้กับการเกษตร ย่อมดูดซับทหารปลดประจำการได้ไม่ยาก จึงไม่มีปัญหาอย่างที่หนึ่งมากนัก เหลือแต่ปัญหาอย่างที่สอง

เมื่อกล่าวโดยสรุปก็คือ กองทัพประจำการของประเทศต่างๆ มักมีสัดส่วนของเปอร์เซ็นต์น้อย (เมื่อเทียบกับประชากร) ยกเว้นแต่ในประเทศมีภารกิจทางทหารที่ยังต้องปฏิบัติอยู่ เช่น สหรัฐ แม้กระนั้นทหารประจำการของสหรัฐก็ยังเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อประชากรที่น้อยกว่าประเทศไทยเสียอีก (ของไทยคือ 0.49 หรือเกือบ 0.5 ของประชากร ขณะที่สหรัฐมีเพียง 0.39 หรือเกือบ 0.4 เท่านั้น) ทั้งนี้ เพราะทหารประจำการนั้นหากมองในทางเศรษฐกิจแล้ว สิ้นเปลืองอย่างมาก เพราะทหารประจำการไม่ได้ “ผลิต” อะไรในทางเศรษฐกิจเลย การมีทหารประจำการจำนวนมาก จึงเท่ากับบั่นรอนกำลังทางเศรษฐกิจของประเทศลง

ยิ่งในประเทศที่การเกิดลดลงอย่างมากเช่นประเทศไทย และกำลังกลายเป็นสังคมสูงอายุ การมีทหารในกองทัพประจำการมาก ก็ยิ่งบั่นรอนกำลังทางเศรษฐกิจขึ้นไปอีก เพราะแย่งชิงเอากำลังแรงงานที่ขาดแคลนจากตลาดไปโดยไม่ได้ “ผลิต” อะไรเลย

น่าสังเกตว่า หากไม่นับสิงคโปร์และพม่าแล้ว ไทยมีทหารประจำการคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อประชากรมากที่สุด สิงคโปร์มีทหารประจำการถึง 1.2% ของประชากร แต่สิงคโปร์อาจเป็นข้อยกเว้นเพราะมีประชากรน้อยคือเพียง 5.8 ล้านเท่านั้น ดังนั้น กองทัพที่เล็กที่สุดในอาเซียนคือมีทหารประจำการเพียง 72,000 คน ก็ต้องใช้ประชากรไปถึง 1.2% เข้าไปแล้ว

ส่วนพม่านั้น จำเป็นต้องใช้กำลังทหารจำนวนมาก เพื่อรักษาสถานะทางการเมืองของกองทัพไว้ ทั้งจากการแข็งข้อของประชาชนชาวพม่า และชนส่วนน้อย ฉะนั้นทหารประจำการพม่าจึงมีถึง 0.73% ของประชากร หรือกว่าสี่แสนคน เวียดนามซึ่งมีประชากรกว่า 96 ล้านคน มีทหารในกองทัพประจำการมากกว่าไทยไม่ถึงแสนคน แต่มีกำลังสำรองหรือทหารกองหนุนกว่า 5 ล้านคน ทั้งนี้ เพราะเวียดนามรู้สึกว่าประเทศที่อาจใช้กำลังทหารรุกรานตนได้ในอนาคตคือจีน จึงเป็นธรรมดาที่ต้องมีกำลังทหารทั้งประจำการและสำรองจำนวนมากเช่นนั้น อินโดนีเซียซึ่งมีประชากรกว่า 260 ล้านคน แต่มีกำลังในกองทัพประจำการมากกว่าไทยประมาณ 1 แสนคน คิดเป็นเพียง 0.16% ของประชากรเท่านั้น

ฟิลิปปินส์ซึ่งมีประชากรกว่า 104 ล้านคน มีทหารในกองทัพประจำการน้อยกว่าไทยครึ่งหนึ่ง หรือ 0.16% ของประชากรเท่าอินโดนีเซีย

ประเทศไทยปราศจากภัยคุกคามจากภายนอกมาตั้งแต่สิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่วนการคุกคามภายในก็สิ้นสุดลงเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ไทยล่มสลายในต้นทศวรรษ 2520 ถึงไทยอาจมีข้อพิพาทกับเพื่อนบ้านบ้าง ก็ไม่มีข้อพิพาทกับใครที่ใหญ่ถึงกับคุ้มที่จะทำสงครามเพื่อให้ได้มาตามความต้องการ

เหตุใดไทยจึงยังรักษากำลังพลในกองทัพไว้มากถึงเพียงนั้น สัดส่วนทหารประจำการของไทยที่ 4.9% ของประชากรนั้น มากกว่ามาเลเซีย, เวียดนาม, รวมทั้งมากกว่าสหรัฐและจีนด้วย ยิ่งกว่านั้นไทยยังเกณฑ์ทหารมากกว่า 1 แสนคนทุกปี

คำตอบมาเห็นได้ชัดในการรัฐประหารยึดอำนาจของกองทัพครั้งนี้ เพื่อรักษาอำนาจที่ได้มาโดยผิดกฎหมายไว้ กองทัพต้องใช้กำลังพลสูงมากในการปราบปรามและระงับยับยั้งมิให้เกิดการต่อต้านล้มล้างอำนาจจากฝ่ายประชาชน ไม่เฉพาะแต่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และเขตเมืองใหญ่อย่างในสมัยก่อนเท่านั้น แต่จำเป็นต้องอาศัยกำลังทหารไปทุกหย่อมหญ้า เฉพาะการ “เยี่ยม” ประชาชนซึ่งเป็นที่ระแวงสงสัยเพียงอย่างเดียว ก็ต้องใช้กำลังคนเข้าปฏิบัติการหลายร้อยหลายพันต่อวัน

รัฐประหารของกองทัพที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต ก็คงต้องทำอย่างเดียวกัน ไม่ใช่เพราะวิธีนี้เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการรักษาอำนาจที่ได้มาโดยผิดกฎหมาย แต่เพราะประเทศไทยไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว รัฐประหารไม่ใช่คำตอบทางการเมืองซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไปอย่างที่ผ่านมา ในสภาพเช่นนี้ วิธีเดียวที่จะรักษาอำนาจไว้ได้ กองทัพจำเป็นต้องใช้กำลังพลในการ “ตรึง” ประชาชนไว้อย่างไม่มีวันผ่อนมือลงได้เลย

หากสักวันหนึ่ง การปฏิรูปกองทัพสามารถทำได้จริง สิ่งที่เว้นไม่ได้เลยคือลดจำนวนทหารประจำการของกองทัพไทยลง (เช่น ไม่น่าจะเกิน 0.2% ของประชากร) กองทัพควรกลับมาเหมือนอย่างที่เคยเป็นก่อนจะเข้าสู่สงครามเย็น คือมีขนาดเล็ก ประกอบด้วยแกนกลางที่เป็นทหารอาชีพเท่านั้น ส่วนที่เหลือคือกำลังสำรองที่พร้อมจะถูกระดมได้ในยามสงคราม กองทัพจะมีสมรรถภาพทางการทหารเพิ่มขึ้น (อินโดนีเซียและเวียดนามซึ่งมีทหารประจำการเป็นสัดส่วนต่อประชากรต่ำกว่าไทยมาก ถูกองค์กร Global Firepower ประเมินสมรรถนะทางทหารไว้สูงกว่าไทยพอสมควรทีเดียว) เพราะสมรรถภาพทางทหารไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนของกำลังพลเพียงอย่างเดียว

ในขณะที่ทหารอาจทำหน้าที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็จะไม่มีสมรรถภาพที่จะบ่อนทำลายประชาธิปไตยของชาติไปพร้อมกันด้วย



ที่มา: มติชนออนไลน์ www.matichon.co.th/article/news_1142579

ภาพบริเวณหน้าหอศิลป์ฯ ซึ่งเป็นพื้นที่จัดกิจกรรม 'เลือกตั้งที่(รัก)ลัก' เมื่อวันที่ 14 ก.พ.2558

Posted: 24 Sep 2018 06:22 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Mon, 2018-09-24 20:22


นัดแต่งชุดดำ 26 ก.ย.นี้ ผู้บริหารหอศิลป์จัดงานแถลงนโยบายรัดเข็มขัด จากเหตุสำนักวัฒนธรรมกีฬาและการท่องเที่ยวไม่ให้งบหอศิลป์กรุงเทพฯ ปี 61-62 โดยปี 61 กทม. ไม่อนุมัติงบ 40 ล้านทั้งที่ระบุในสัญญา ขณะที่ค่าใช้จ่ายปี 54-60 รวม 426 ล้านบาท และก่อนหน้านี้มีข่าว กทม.จะเข้าบริหารหอศิลป์เอง แต่โดนต้านจึงล้มเลิก

24 ก.ย.2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการแชร์ข้อความจากผู้ใช้เฟสบุ๊ก 'Thida Plitpholkarnpim' ของ ธิดา ผลิตผลการพิมพ์ บรรณาธิการนิตยสาร Bioscope ซึ่งโพสต์ข้อความเกี่ยวกับหอศิลป์ กทม. ระบุว่า ดังที่เราเคยได้ยินข่าวเมื่อหลายเดือนก่อนว่า มีความพยายามของกทม.ที่จะยึดหอศิลป์ไปบริหารเอง แม้การต่อต้านของหลายๆ ฝ่ายจะทำให้ความพยายามนั่นเงียบไป แต่ตอนนี้ท่าทางบานปลายกว่าที่คิด เพราะข่าวล่าสุด ไม่มีงบจาก กทม. 2 ปีติด หอศิลป์วิกฤติหนัก แต่ผู้บริหารยันไม่ปิด ต่อลมหายใจด้วยมาตรการรัดเข็มขัด ตัดนิทรรศการ ลดกิจกรรม ลดเวลาทำการ งานระดับชาติบางกอกเบียนนาเล่ เทศกาลละคร ร้านค้า ผู้ใช้บริการเดือดร้อนถ้วนหน้า

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า วันที่ 26 ก.ย.นี้ มีการนัดหมายว่า ผู้บริหาร พนักงาน และเจ้าหน้าที่ของหอศิลป์ฯ ศิลปิน จะพร้อมใจกันกันแต่งชุดดำ พร้อมเชิญชวนผู้ที่ไม่เห็นด้วยแต่งชุดดำเข้าร่วมงาน เวลา 13.30 น. ชั้น 1 ห้องเอนกประสงค์ เพื่อแถลงนโนบายรัดเข็มขัด กรณีที่ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร และผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรมกีฬาและการท่องเที่ยวไม่ให้งบประมาณในการดำเนินกิจกรรมในปี 2561 และ 2562 รวมทั้งศิลปินและผู้สนับสนุนหอศิลป์ฯ ยังนัดกันแสดงออกด้วยการแต่งกายชุดดำที่หอศิลป์ในวันเดียวกัน ขณะที่บนโซเชียลมีเดีย ข้อความจำนวนมากถูกส่งต่อผ่านแฮชแท็ก saveYOURbacc หรือ “รักษาหอศิลป์ฯ ของคุณ” ตั้งแต่เมื่อวานนี้

แฟลชม็อบปิดตาที่ “หอศิลป์” ประท้วง “เสรีภาพ” ที่ถูก “แขวน”
จัดกิจกรรม ‘เลือกตั้งที่ลัก’ หน้าหอศิลป์ นักกิจกรรมโดนรวบหลายราย
‘อัศวิน’ เคยโดนต้านหนัก หลังมีข่าว กทม. จะเข้าบริหารหอศิลป์ฯ เอง

โดยก่อนหน้านี้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ระบุว่า มีแนวคิดที่ กทม.จะเข้ามาบริหารหอศิลป์ กรุงเทพฯ และต้องการพัฒนาพื้นที่ในหอศิลป์ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของเยาวชนผ่านรูปแบบโคเวิร์คกิ้งสเปซ (co-working space)

ทำให้บุคคลที่ทำงานในวงการสร้างสรรค์ ผ่านโซเชียลมีเดีย และการรวบรวมรายชื่อผ่านแคมเปญรณรงค์ คัดค้านกรุงเทพมหานครเข้ามาบริหารจัดการหอศิลป์ กรุงเทพฯ ผ่าน เว็บไซต์ change.org ที่ปัจจุบันมีผู้สนับสนุน 20,636 คน แล้ว หลังจากนั้น พล.ต.อ.อัศวิน ได้โพสต์บนเฟซบุ๊ก "ผู้ว่าฯ อัศวิน" วันที่ 14 พ.ค. โดยยอมถอยแนวคิดดังกล่าว โดยระบุว่า ไม่เคยคิด และไม่มีทางที่จะทำลายสถานที่แสดงศิลปะและวัฒนธรรมของประเทศเรา เพียงแต่ต้องการพัฒนาสถานที่แห่งนี้ให้ได้ใช้ประโยชน์สูงสุด แต่ติดที่ระเบียบและกฎหมายที่มอบกิจการให้กับมูลนิธิ ถ้าประชาชนไม่เห็นด้วย กทม.ก็จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับพัฒนาในพื้นดังกล่าว
ปี 61 กทม. ไม่อนุมัติงบ 40 ล้าน ทั้งที่ระบุในสัญญา ขณะที่ค่าใช้จ่ายปี 54-60 รวม 426 ล้าน

ขณะเดียวกัน ปวิตร มหาสารินันทน์ ผู้อำนวยการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ได้เคยระบุไว้กับไทยรัฐออนไลน์ เมื่อวันที่ 14 พ.ค. ที่ผ่านมาว่า กลางปีที่แล้วสภา กทม.ไม่อนุมัติงบที่ขอไปเพื่อใช้ปีนี้ 40 ล้านบาท ตามแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2561 ที่มีผลตั้งแต่ 1 ต.ค.2560 โดยสภากทม.เสนอว่าหากจะขอใช้งบให้อยู่ในการพิจารณาของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กทม. โดยทางมูลนิธิหอศิลป์กรุงเทพฯ ต้องเสนอโครงการเพื่ออนุมัติทีละโครงการ และที่ผ่านมาก็เสนอโครงการไปแล้ว บางโครงการใช้งบ 5 แสนบาท แต่ก็ยังไม่ได้รับอนุมัติใดๆ ดังนั้นค่าใช้จ่ายตั้งแต่เดือนต.ค. 60 จึงเป็นรายได้ที่เหลืออยู่จากช่วงหลายปีที่ผ่านมา และงบรายได้ที่มูลนิธิหอศิลป์กรุงเทพฯ ให้เช่าพื้นที่ และจากเอกชนผู้สนับสนุน

“ที่ผ่านมาได้งบประมาณกทม.ปีละประมาณ 40-60 ล้านบาท รวม 7 ปีประมาณ 322 ล้านบาท และมาจากมูลนิธิหอศิลป์กรุงเทพฯ บริหารพื้นที่ต่างๆ และผู้สนับสนุน ประมาณ 144 ล้านบาท ส่วนค่าใช้จ่าย 7 ปี ประมาณ 426 ล้านบาท โดยรวมจึงยังเหลืองบอีกประมาณ 40 ล้านบาท

“ในปีล่าสุด คือปี 2560 ได้งบจากกทม. 45 ล้านบาท มูลนิธิหอศิลป์กรุงเทพฯ หารายได้เอง 37 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่าย 75 ล้านบาท ส่วนจำนวนประชาชนที่เข้ามาที่หอศิลป์ฯ ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปี 2558 มี 1.1 ล้านคน ปี 2559 จำนวน 1.2 ล้านคน และปี 2560 มี 1.7 ล้านคน มูลนิธิบริหารพื้นที่นี้มาตั้งแต่ปี 2551 แต่ช่วง 3 ปีแรกยังไม่มีสัญญาโอนสิทธิ์ มูลนิธิจึงหารายได้จากการบริหารพื้นที่ไม่ได้ แต่นับตั้งแต่ปี 2554 ได้ทำสัญญาการโอนสิทธิ์ มีอายุสัญญา 10 ปีสิ้นสุดปี 2564 โดยตามสัญญา กทม. ต้องจัดสรรงบส่วนหนึ่งเพื่อบริหารจัดการพื้นที่ด้วย” ปวิตร กล่าว

หอศิลป์ พื้นที่ชุมนุมทางการเมือง แม้ตอนนี้จะทำไม่ได้เพราะขัด พ.ร.บ. ชุมนุมฯ

ทั้งนี้หอศิลป์กรุงเทพฯ ยังเคยเป็นพื้นที่ทางการเมืองในจัดเสวนาและจัดการชุมนุมของประชาชนกลุ่มต่างๆ สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะเป็นจุดที่ค่อนข้างสะดวกต่อการเดินทาง แม้จะมีกิจกรรมบางส่วนที่ไม่ได้รับอนุญาตให้จัด เช่น ในปี 55 งาน ‘แขวนเสรีภาพ’ ซึ่งมีทั้งการฉายภาพยนตร์ ปาฐกถา และการบรรยายทางวิชาการ หรือภายหลังไม่ได้เป็นการบอกโดยตรง แต่มีป้ายเขียนที่ลานหน้าหอศิลป์ว่า “อยู่ระหว่างการปรับปรุงพื้นที่” และบางครั้งก็เกิดจากเจ้าหน้าที่โทรศัพท์มาหาหอศิลป์ว่างานนั้นเข้าข่ายการชุมนุมทางการเมือง ซึ่งผิดคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/58 จนหอศิลป์ต้องยกเลิกการจัดงานนั้น เช่น ปี 59 งานเสวนา ‘รัฐธรรมนูญใหม่ เอาไงดีจ๊ะ?’ และในปีเดียวกัน กิจกรรม PetchaKucah 20x20 หัวข้อ "รัฐธรรมนูญ"


ภาพบริเวณหน้าหอศิลป์ฯ ซึ่งเป็นพื้นที่จัดกิจกรรม 'เลือกตั้งที่(รัก)ลัก' เมื่อวันที่ 14 ก.พ.2558 ซึ่งมีการล้อมรั้วและติดป้าย "อยู่ระหว่างการปรับปรุงพื้นที่" โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจตรึงกำลังอยู่ด้านใน (ที่มาภาพ freedom.ilaw.or.th)

นอกจากนี้ที่ผ่านมาลานหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ ก็ใช้เป็นจัดกิจกรรมชุมนุมตั้งแต่ การชุมนุมประท้วงสร้างเขื่อนแม่วงก์ปี 2556 ชุมนุมประท้วงต้านรัฐประหาร ปี 2557-2558 แต่ภายจากมี พ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 หอศิลป์กรุงเทพฯ ได้ถูกเจ้าหน้าที่ระบุว่าอยู่ในรัศมี 150 เมตรจากวังสระปทุมตามมาตรา 7 ที่บัญญัติว่า "การจัดการชุมนุมสาธารณะในรัศมี 150 เมตรจากพระบรมหาราชวัง พระราชวัง วังของรัชทายาทหรือพระบรมวศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าขึ้นไป พระราชนิเวศน์ พระตําหนักหรือจากที่ซึ่งพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท พระบรมวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าขึ้นไป หรือผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ ประทับหรือพำนัก หรือสถานที่พํานักของพระราชอาคันตุกะ จะกระทํามิได้"

[full-post]


Posted: 22 Sep 2018 09:44 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Sun, 2018-09-23 11:44


นายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทยระบุข้าราชการไทย 80% มีเงินเดือนระดับปฏิบัติการส่วนน้อยที่จะได้ชำนาญการพิเศษขึ้นไป เงินบำนาญมีตั้งแต่ระดับน้อยถึงมาก ข้าราชการที่มีบำนาญน้อยจึงลำบาก และมีหนี้สินเป็นส่วนใหญ่ ชี้ยังไม่เคยสำรวจปัญหาของผู้เกษียณแล้วจะรู้ปัญหาที่แท้จริงของข้าราชการเกษียณได้อย่างไร

เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 2561 มติชนออนไลน์ รายงานว่านายรัชชัยย์ ศรสุวรรณ นายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (ส.บ.ม.ท.) เปิดเผยว่าตามที่อธิบดีกรมบัญชีกลางให้ข่าวทำนองไม่เห็นด้วยกรณีที่สหพันธ์ข้าราชการบำนาญแห่งประเทศไทยเสนอให้มีการปรับขึ้นเงินบำเหน็จเพื่อให้สอดคล้องกับค่าครองชีพ โดยอธิบดีกรมบัญชีกลางเห็นว่าข้าราชการบำนาญไม่ได้ทำงาน แต่ได้เงินมากกว่าคนจนเยอะ แล้วจะเรียกร้องให้มีการเพิ่มเงินบำนาญไปทำไมนั้นว่าเรื่องนี้มีข้าราชการทั่วประเทศรับไม่ได้กับที่อธิบดีกรมบัญชีกลางให้ข่าวอย่างนี้ เป็นการให้ข่าวที่ขาดการสำรวจศึกษาและการวิจัยที่แท้จริง อธิบดีกรมบัญชีกลางไม่เคยเกษียณและยังไม่เคยสำรวจปัญหาของผู้เกษียณอีกแล้วจะรู้ปัญหาที่แท้จริงของข้าราชการที่เกษียณไปแล้วได้อย่างไร


‘กรมบัญชีกลาง’ แจง ‘ขรก.’ เรียกบำนาญเพิ่ม เกินที่รัฐค้ำประกัน
ขรก.เกษียณเสนอ สนช. แก้กฎหมายเพิ่มเงินบำนาญ ชี้เป็นคนจนรุ่นใหม่เหลือเงินแค่ 2 หมื่นต่อเดือน
ชีวิตยามเกษียณ 1: แก่ง่ายตายยาก เราไม่ลำบากด้วยบำนาญประกันสังคม?

"การนำข้าราชการที่เล่าเรียนจนจบปริญญาตรี ปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยพ่อแม่ลงทุนทรัพย์ลงแรง และขยันหมั่นเพียรจนสามารถสอบผ่านคัดเลือกเข้ามาเป็นข้าราชการได้ ท่านนำค่าตอบแทนมาเปรียบเทียบกับคนที่ไม่ได้เล่าเรียน อย่างท่านอธิบดีกรมบัญชีกลาง ได้รับเงินเดือนบวกค่าเงินประจำตำแหน่ง แต่ละเดือนท่านได้รายรับน่าจะถึงแสนบาท โดยถ้าเกษียณ จะได้เงินบำนาญประมาณ 80,000 บาท ท่านไม่เดือดร้อนแน่นอน ในทางตรงกันข้ามท่านทราบหรือไม่ว่า มีข้าราชการส่วนน้อยที่ได้ขึ้นเป็นตำแหน่งอธิบดีและมีเงินเดือนเป็นแสน ส่วนใหญ่ข้าราชการไทย ร้อยละ 80 มีเงินเดือนระดับปฏิบัติการ ชำนาญการ ส่วนน้อยที่จะได้ชำนาญการพิเศษขึ้นไป โดยเฉพาะข้าราชการพยาบาล ไปตันกันที่ระดับเพียงชำนาญการเท่านั้น โรงพยาบาลหนึ่งๆ มีชำนาญพิเศษเพียงหัวหน้าตึกเท่านั้น ท่านควรลงพื้นที่ไปหาข้อมูลสุ่มตัวอย่างข้าราชการทั่วประเทศตามตำบล อำเภอ จังหวัดต่างๆ ในภูมิภาคบ้าง" นายรัชชัยย์กล่าว

นายรัชชัยย์กล่าวต่อว่า ยกตัวอย่าง 1.ผู้เกษียณศึกษาเล่าเรียนจนจบปริญญาแล้วสอบคัดเลือกได้เป็นข้าราชการ ทำงานด้วยความวิริยะอุตสาหะ ไม่ทำการคอร์รัปชั่น ปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างมีอุดมการณ์มีมากถึงกว่าร้อยละ 90 ทั้งร่วมพัฒนาประเทศชาติจนมีเอกราช และเคียงบ่าเคียงไหล่นานาประเทศ เขาทำงานทุ่มเทมาตลอดชีวิต 30-40 ปี จนเกษียณ จนหมดโอกาสที่จะไปทำอาชีพอื่น เพราะรัฐสั่งการให้เขาเสียสละทุ่มเทเวลาให้กับทางราชการจนหมดเวลาที่จะไปทำอาชีพอื่น ตรงนี้รัฐต้องดูแลครอบครัวผู้เกษียณ และให้ขวัญกำลังใจ 2.ข้าราชการมีหลายระดับ ตั้งแต่เงินเดือนน้อยถึงเงินเดือนมาก ทำให้เงินบำนาญมีตั้งแต่ระดับน้อยถึงมาก แต่เงินใช้ซื้ออาหารกิน ซื้อบ้าน ซื้อยา ซื้อเครื่องอุปโภค ฯลฯ แม่ค้าคิดราคาเท่ากับคนอื่นๆ ทำให้ข้าราชการที่มีบำนาญน้อยจึงลำบาก และมีหนี้สินเป็นส่วนใหญ่ 3.ควรเทียบดัชนีค่าของเงิน โดยสมัยก่อนกับสมัยนี้ต่างกัน เช่น ปี 2521 จบปริญญาตรี ได้เงินเดือนบรรจุ 1,750 บาท ราคาทองคำในขณะนั้น บาทละ 4,000 บาท ต้องใช้เงินเดือนกี่เดือนถึงซื้อได้ ปัจจุบันปี 2561 ปริญญาตรี ได้เงินเดือนบรรจุถึงเดือนละ 15,000 บาท ราคาทองขณะนี้ 18,500 บาท สรุปแล้วคนสมัยก่อนจะซื้อทองคำ ต้องใช้เวลาเก็บเงินถึง 2.2 เดือน คนสมัยนี้ใช้เวลาเก็บเงินเพียง 1.2 เดือนก็ได้ทอง 1 บาทแล้ว สรุปแล้ว คนสมัยนี้จบปริญญาตรี ได้เงินมากกว่าคนสมัยก่อนมาก โดยใช้ดัชนีราคาทองคำ เป็นค่ากลางเปรียบเทียบค่าครองชีพ จะได้มาตรฐานกลาง

[full-post]


Posted: 22 Sep 2018 11:55 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Sun, 2018-09-23 13:55


อดีตกรรมการและผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานโยบายสาธารณะประเมินอนาคตเศรษฐกิจการเมืองไทยและผลกระทบจากการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 ในโอกาสครบรอบ 12 ปี ความเสียหายทางเศรษฐกิจ โอกาสทางเศรษฐกิจ การลงทุน การค้า และโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนจะอยู่ที่ประมาณ 10.970 ล้านล้านบาท เทียบเท่ากับ 3.65 เท่าของเม็ดเงินงบประมาณปี 2562 เม็ดเงินดังกล่าวหากไม่เสียหายไปจากผลกระทบของการรัฐประหารและวิกฤตการณ์ทางการเมืองย่อมสามารถนำมาใช้พัฒนาประเทศได้โดยไม่ต้องเก็บภาษีไม่ต้องก่อหนี้สาธารณะเป็นเวลา 3.65 ปี อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยในช่วง 12 ปีที่ผ่านลดต่ำลงและต่ำกว่า 4% โดยส่วนใหญ่

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการและผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานโยบายสาธารณะ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงผลกระทบจากรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 ในโอกาสครบรอบ 12 ปีและประเมินอนาคตเศรษฐกิจการเมืองไทย ว่า 12 ปีหลังการรัฐประหาร 2549 ประเทศไทยได้สูญเสียโอกาสในการก้าวข้ามพ้นประเทศรายได้ระดับปานกลางสู่ประเทศพัฒนาแล้วเนื่องจากเราติดกับดักในวิกฤตการณ์ทางการเมืองและการรัฐประหารสองครั้งในทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็น “ทศวรรษแห่งความถดถอยและสูญเสียโอกาส” รัฐประหารปี 2549 ได้รับการพิสูจน์แล้วว่านอกจากไม่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเมืองแล้วยังทำให้ปัญหาความขัดแย้งทรุดหนักมากกว่าเดิมในระยะต่อมา หลังจากรัฐประหารปี 2549 เพียง 8 ปีก็เกิดรัฐประหารอีกครั้งหนึ่งในปี 2557 รัฐประหารปี 2549 เมื่อ 12 ปีที่แล้ว ได้ทำลายภาพพจน์ของประเทศในฐานะประเทศที่มีประชาธิปไตยก้าวหน้าที่สุดในอาเซียน เป็นการเปิดประตูให้กับการใช้กำลังในการทำลายระบบนิติรัฐและกติกาสูงสุดอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ประเทศได้สถาปนาระบอบประชาธิปไตยพร้อมทั้งหลักการนายกรัฐมนตรีต้องมาจากประชาชนหลังเหตุการณ์พฤษภา 2535 และการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนปี 2540

12 ปีหลังการรัฐประหาร ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรี 6 คน มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลบ่อยครั้งทำให้ไม่สามารถปฏิรูปเศรษฐกิจและแก้ปัญหาในเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจได้มากนัก การมีรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ควบคุมอำนาจของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ที่มุ่งปฏิรูปการเมืองให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนมีความเข้มแข็งและมีเสถียรภาพ ความขัดแย้งทางการเมืองรุนแรงต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ในยุครัฐบาลสมัคร ต่อมาจนถึง รัฐบาลสมชาย รัฐบาลอภิสิทธิ์ จนกระทั่งรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ทำให้รัฐบาลไม่สามารถทำงานด้านนโยบายระยะยาวให้กับประเทศได้ ขณะที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มีความล้าหลังและมีเนื้อหาที่ไม่เป็นประชาธิปไตยมากยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 เสียอีก จึงไม่อาจคาดหวังได้ว่าหลังการเลือกตั้งต้นปี 2562 แล้ว ประเทศไทยจะได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่มีความเข้มแข็งมั่นคง อย่างไรก็ตาม หากประชาชนช่วยกันแสดงเจตนารมณ์ผ่านการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างเป็นเอกภาพและสามารถจัดตั้งรัฐบาลจากการเลือกตั้งที่มีเสถียรภาพ โอกาสในการผลักดันให้ประเทศก้าวสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้วในทศวรรษหน้าย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปได้

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ กล่าวอีกว่า รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารสองรัฐบาลในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา จะสนองตอบกลุ่มที่สนับสนุนการรัฐประหารมากกว่าประชาชนโดยรวม จึงพบว่างบประมาณทหารจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากในยุครัฐบาลรัฐประหาร โดยรัฐบาลประยุทธ์มีการจัดสรรงบประมาณให้กระทรวงกลาโหมสูงกว่ารัฐบาลสุรยุทธ์อย่างมากแม้นจะเป็นรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารเหมือนกัน นอกจากนี้รัฐบาล คสช. ยังก่อหนี้ผูกพันในงบประมาณแผ่นดินไปจนถึงปี 2565 นอกจากนี้งานวิจัยจำนวนมากยังบ่งชี้ว่าระบอบประชาธิปไตยจะมีการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ การศึกษา สาธารณสุข สูงกว่าระบอบเผด็จการและสามารถรับมือวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจได้ดีกว่าด้วย

แม้นการรัฐประหารหลายครั้งในประเทศไทยจะไม่มีการสูญเสียชีวิตและเลือดเนื้อในช่วงการก่อรัฐประหาร แต่มักจะนำมาสู่ความรุนแรงนองเลือดในภายหลัง เช่น การรัฐประหารปี 2549 เป็นผลต่อเนื่องทำให้เกิดการชุมนุมทางการเมืองและนำมาสู่การปรามปรามผู้ชุมนุมในปี 2552 และ 2553 การรัฐประหารปี 2534 ทำให้ต่อมาเกิดเหตุการณ์เดือนพฤษภาปี 2535 ต่อต้านนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งซึ่งเป็นแกนนำของคณะรัฐประหาร รสช. เป็นต้น แม้นการรัฐประหารปี 2557 จะไม่มีความรุนแรงนองเลือดแต่หลังการรัฐประหารได้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางและมีประชาชนถูกดำเนินคดีและคุมขังจำนวนมากอย่างไม่เป็นธรรม หากมีการสืบทอดอำนาจโดยไม่เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตยหลังการเลือกตั้งในปี 2562 จะเกิดความเสี่ยงในการเกิดการเผชิญหน้าและความขัดแย้งทางการเมืองรอบใหม่ได้ และ เราจะอยู่ในระบอบกึ่งประชาธิปไตยภายใต้การสืบทอดอำนาจของ คสช. หากกองทัพถอยออกจากการเมืองและมีความเป็นทหารอาชีพ ไม่เข้าแทรกแซงด้วยการก่อรัฐประหารอีก ปล่อยให้ปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเมืองในอนาคตถูกแก้ไขโดยกลไกรัฐสภาและกระบวนการทางกฎหมาย ระบอบประชาธิปไตยย่อมมีความมั่นคงและเป็นรากฐานสำคัญต่อความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน

ความเสียหายทางเศรษฐกิจ โอกาสทางการลงทุน การชะงักงันของกิจกรรมและธุรกรรมทางเศรษฐกิจการค้า ย้อนกลับไปที่ข้อมูลในอดีต ตอนรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 ตลาดหุ้นเปิดทำการซื้อขายวันแรกหลังรัฐประหาร (21 ก.ย. 2549) ปรับตัวลงไปแรงที่สุด 29.56 คิดเป็น 4.2% ช่วงเปิดตลาดแต่ช่วงใกล้ปิดตลาดดัชนีกระเตื้องขึ้นจึงปรับตัวลงไปเพียง 1.42% เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจขณะนั้นยังแข็งแรงอยู่ ตอนรัฐประหาร 23 ก.พ. 2534 ในวันถัดมาหลังรัฐประหารดัชนีปรับลงแรง 57.4 จุดหรือ 7.25% หากตั้งสมมุติฐานว่าไม่มีการรัฐประหารสองครั้งและไม่มีวิกฤตการณ์ทางการเมืองรุนแรงในรอบ 12 ปีที่ผ่านมา และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยโดยเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 5% ในช่วง 12 ปีที่ผ่านมารวมทั้งสมมติให้ปัจจัยอื่นๆคงที่เมื่อเทียบกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเราจะสามารถประมาณการเบื้องต้นความเสียหายทางเศรษฐกิจจากการรัฐประหารได้

แม้นรัฐประหารจะไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้นก็ตาม การรัฐประหารและการฉีกรัฐธรรมนูญก่อให้เกิดความไม่แน่นอนทางการเมืองอันส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นต่อการลงทุนและการบริโภค ความเสียหายทางเศรษฐกิจ โอกาสทางเศรษฐกิจ การลงทุน การค้า และโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนจะอยู่ที่ประมาณ 10.970 ล้านล้านบาท เทียบเท่ากับ 3.65 เท่าของเม็ดเงินงบประมาณปี 2562 และเม็ดเงินดังกล่าวหากไม่เสียหายไปจากผลกระทบของการรัฐประหารประเทศและวิกฤตการณ์ทางการเมืองย่อมสามารถนำมาใช้พัฒนาประเทศได้โดยไม่ต้องเก็บภาษีไม่ต้องก่อหนี้สาธารณะเป็นเวลา 3.65 ปี

ก่อนการรัฐประหารปี 2549 อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยอยู่ในระดับสูงในปี 2545 อยู่ที่ 6.1% ในปี 2546 อยู่ที่ 7.2% ในปี 2547 อยู่ที่ 6.3% โดยเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวลงเล็กน้อยในปี 2548 มาอยู่ที่ 4.2% หลังจากเริ่มเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยในช่วง 12 ปีที่ผ่านมาหลังจากการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 ลดต่ำลงและต่ำกว่า 4% โดยส่วนใหญ่ยกเว้นในปี 2550, 2553 และ 2556 นอกจากนี้ การลงทุนจากต่างประเทศ การช่วยเหลือจากต่างประเทศ และการเจรจาเพื่อทำข้อตกลงทางการค้าเกิดสภาวะชะงักงันหลังการรัฐประหารทั้งสองครั้ง (ปี 2549 และปี 2557) และปรับดีขึ้นหลังประเทศกลับคืนสู่รัฐบาลเลือกตั้ง

นายอนุสรณ์ กล่าวอีกว่าหากเปรียบเทียบผลกระทบทางเศรษฐกิจของรัฐประหารปี 2549 กับ รัฐประหารปี 2557 จะมีความแตกต่างกัน เนื่องจากรัฐประหารปี 2549 เกิดขึ้นในภาวะที่เศรษฐกิจดีกว่า ขณะที่ความขัดแย้งและวิกฤตการณ์ทางการเมืองปี 2557 ก็มีความซับซ้อนมากกว่า ในอนาคตขอให้ติดตามพลวัตของผลพวงของรัฐประหารปี 2557 พลวัตของการสืบทอดอำนาจของ คสช หลังการเลือกตั้งและการต่อต้านการสืบทอดอำนาจว่าจะมีพัฒนาการอย่างไรต่อไปหลังการเลือกตั้ง หากการจัดการเลือกตั้งมีความเสรีและเป็นธรรมเป็นไปตามมาตรฐานสากล กระบวนการเปลี่ยนผ่านอำนาจจะเป็นไปอย่างสันติและเป็นไปตามความต้องการของประชาชนจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศในอนาคต

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ เสริมอีกว่าระบอบประชาธิปไตยทำให้ระบบตลาดทำงานได้ดีและสร้างธรรมาภิบาลได้ดีกว่าระบอบเผด็จการ งานวิจัยของ Barro (1996) ใช้แบบจำลองการขยายตัวทางเศรษฐกิจ วิเคราะห์ผลกระทบของระบอบประชาธิปไตยโดยใช้ตัวแปรเสรีภาพทางการเมืองต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจระหว่างปี ค.ศ. 1960-1990 ของ 100 กว่าประเทศ ได้ข้อสรุปว่าตัวแปรประชาธิปไตยมีความสัมพันธ์เป็นบวกต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจเมื่อควบคุมผลของตัวแปรกับตัวแปรอื่นแต่ความสัมพันธ์ไม่เป็นเส้นตรง นอกจากนี้ งานวิจัยของ Plumper and Martin (2003) ระดับความเป็นประชาธิปไตยมีความสัมพันธ์ในทางบวกต่อการขยายตัวของรายได้ต่อหัว และ การใช้จ่ายรัฐบาลจะมีผลต่อการขยายตัวสูงกว่าประเทศที่มีการพัฒนาประชาธิปไตยต่ำ งานวิจัยช่วยอธิบายว่าทำไมรัฐบาล คสช. อัดฉีดงบประมาณการใช้จ่ายจำนวนมากเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแต่มีผลกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจน้อยกว่าที่ควรจะเป็น งานวิจัยของ Lee (2005) ทดสอบความสัมพันธ์ของการใช้จ่ายของรัฐ ความเป็นประชาธิปไตย กับการกระจายรายได้โดยประมาณการสมการเศรษฐมิติจากข้อมูลจาก 64 ประเทศพบว่าความเป็นประชาธิปไตยและการใช้จ่ายของรัฐมีปฏิสัมพันธ์กันในการส่งผลต่อความเท่าเทียมกันของรายได้ภายในประเทศ ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยทำให้การกระจายรายได้ดีขึ้น ส่วนประเทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตย การเพิ่มขนาดของรัฐนำไปสู่การกระจายได้ที่แย่ลง

นอกจากนี้งานวิจัยของพงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยุทธนา เศรษฐปราโมทย์ อาจารย์ประจำคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เรื่อง “ผลกระทบทางเศรษฐกิจของความไม่แน่นอนทางการเมืองไทย” ว่าตัวแปรทางเศรษฐกิจมหภาคนอกเหนือไปจากการเติบโตทางเศรษฐกิจในภาพรวม ได้แก่ การลงทุนและการบริโภค พบข้อมูลดังนี้ ความไม่แน่นอนทางการเมืองที่มาจากการชุมนุมขัดแย้งที่เพิ่มขึ้นทำให้การลงทุนปรับตัวหดลง -1.8% อย่างไรก็ตาม ผลจากความไม่แน่นอนทางการเมืองในด้านอื่นๆ (กฎอัยการศึก, การรัฐประหาร และเลือกตั้ง) มีผลในขนาดที่น้อยกว่า ขณะที่ “ความผันผวนของการลงทุน” จะขึ้นอยู่กับความไม่แน่นอนทางการเมืองด้านการชุมนุมขัดแย้ง การตอบสนองของการบริโภคต่อความไม่แน่นอนทางเมือง พบว่ารุนแรงน้อยกว่าผลต่อการลงทุนภาคเอกชน โดยผลกระทบที่เห็นชัดเจนที่สุดคือการเพิ่มขึ้นของระดับความขัดแย้งจากการชุมนุมและด้านการเลือกตั้งที่จะส่งผลต่อการบริโภคภาคเอกชนลดลง -0.3% โดยผลกระทบจะมีผลต่อเนื่องประมาณ 2-4 ไตรมาสก่อนที่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะค่อยๆ ลดลงหลัง 1 ปี ความไม่แน่นอนทางการเมืองในภาพรวม และในดัชนีย่อย มีผลเชิงลบต่ออัตราการเติบโตของระดับผลผลิตตามศักยภาพของไทยในเกือบทุกกรณี ยกเว้นเพียงผลของความไม่แน่นอนด้านการชุมนุมขัดแย้งที่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อพิจารณาผลิตภัณฑ์มวลรวมแยกตามรายสาขาการผลิต พบว่า การโรงแรม อสังหาริมทรัพย์ และการบริการขนส่ง เป็น 3 สาขาที่มีการตอบสนองต่อการเพิ่มขึ้นของความไม่แน่นอนทางการเมืองโดยรวมที่ชัดเจน

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ ยังได้กล่าวอ้างงานวิจัยสำคัญต่างๆเพิ่มเติมเพื่อชี้ให้เห็นว่า ระบอบประชาธิปไตยจะส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาวมากกว่าโดยเฉพาะมิติทางด้านความเป็นธรรมและการกระจายรายได้ เช่น Barro (1996), Glasure, Lee and Norris (1999), Plumper and Martin (2003), Doucouliagos and Ulubasoglu (2008), Rodrik and Wacziarg (2005) เป็นต้น แสดงถึงความสัมพันธ์ของระดับประชาธิปไตย การใช้กฎอัยการศึกษาและการจำกัดเสรีภาพ (การปกครองแบบรวมอำนาจ) กับ การพัฒนาเศรษฐกิจ พบข้อสรุปจากงานวิจัยสำคัญๆ สอดคล้องกันว่า ในระยะยาว ระบอบประชาธิปไตยทำให้เสถียรภาพและการขยายตัวทางเศรษฐกิจดีขึ้นมากกว่าระบอบอำนาจนิยมหลายเท่าตัวเพราะการมีส่วนร่วมของประชาชนและเสรีภาพในการประกอบการ เสรีภาพทางความคิดและการแสดงออกทำให้เกิดนวัตกรรมและงานสร้างสรรค์

นอกจากนี้ยังพบว่าประเทศที่มีประชาธิปไตยในระดับสูง ความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจจะสูงขึ้น ความเหลื่อมล้ำลดลง เสถียรภาพของสังคมสูงกว่า ความแตกแยกต่ำกว่า สถาบันต่างๆมีความเข้มแข็งและธนาคารกลางมีความเป็นอิสระมากกว่า การเป็นประชาธิปไตยมีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจผ่านสี่ช่องทางคือ ทุนกายภาพดีกว่า ทุนมนุษย์สูงกว่า ทุนทางสังคมและการเมืองมากกว่าระบอบอำนาจนิยม (Persson and Tabellini 2006) นอกจากนี้ระบอบประชาธิปไตยยังเผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจได้ดีกว่าระบอบอำนาจนิยม (Rodrik 2007)

[full-post]


Posted: 23 Sep 2018 12:47 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Sun, 2018-09-23 14:47


'รวมพลังประชาชาติไทย' ชี้คำสั่งคลายล็อค ทำพรรคใหม่เสียเปรียบ ย้ำจุดยืนพร้อมร่วมงานกับพรรคฝ่ายรัฐบาลไม่ขอเป็นฝ่ายค้าน ด้านรองเลขาธิการ 'ภูมิใจไทย' ระบุ 'บุญจง วงศ์ไตรรัตน์' ออกจากพรรคตั้งแต่ปี 2557 ประกาศกับชาวบ้านว่าจะไปอยู่ 'พลังประชารัฐ' เตรียมเปิดตัวปลายเดือน ก.ย. นี้ 'อลงกรณ์' เผยนัดหารือแกนนำ 'ประชาธิปัตย์' คุยเรื่องอนาคตพรรค 25 ก.ย. นี้

23 ก.ย. 2561 หม่อมราชวงศ์จตุมงคล โสนกุล ว่าที่หัวหน้าพรรครวมพลังประชาชาติไทย กล่าวถึงความเคลื่อนไหวของพรรค หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีคำสั่งคลายล็อกให้พรรคการเมืองดำเนินกิจกรรม ว่าพรรคเห็นว่า จะทำให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้เปรียบทางการเมืองแต่ทางพรรคก็ยังจะเดินหน้ารับฟังปัญหาของประชาชน ซึ่งขณะนี้แกนนำพรรคได้ลงพื้นที่เพื่อรับฟังปัญหาและจะนำเอาปัญหา มารวบรวมและกลั่นกรองนำมาเป็นนโยบายของพรรค ขณะเดียวกัน ระหว่างลงพื้นที่จะมีการประชาสัมพันธ์แจกใบแสดงเจตจำนงเข้าเป็นสมาชิกพรรคด้วยความสมัครใจ พร้อมยืนยันสิ่งที่พรรคดำนินการไม่ใช่การหาเสียง ตามที่มีการวิพากษ์วิจารณ์

ด้านนายทวีศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง ว่าที่เลขาธิการพรรค ยอมรับว่าหากการเลือกตั้งเป็นไปตามโรดแมปคือ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 ทางพรรคจะต้องทำงานหนักมากขึ้น เพราะขณะนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังไม่อนุมัติให้พรรคเป็นพรรคการเมืองอย่างถูกต้อง ซึ่งหากนับระยะเวลาแล้วเหลืออีกเพียงไม่กี่เดือน ทั้งนี้หาก กกต. อนุมัติเรื่องดังกล่าว ทางพรรคจะจัดประชุมใหญ่ครั้งแรก เพื่อคัดเลือกกรรมการบริหารพรรค แต่ยืนยันว่าทางพรรคจะทำทุกอย่างที่ถูกต้องให้เป็นไปตามกติกา ขณะเดียวกันยังคงยืนยันว่า พรรคพร้อมร่วมงานกับพรรคฝ่ายรัฐบาล และจะไม่ขอเป็นฝ่ายค้าน
'บุญจง' ออก 'ภูมิใจไทย' ไป 'พลังประชารัฐ'

นายศุภชัย ใจสมุทร รองเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงกรณีที่นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และอดีต ส.ส.นครราชสีมา พรรคภูมิใจไทยได้ประกาศกับชาวบ้านว่าจะไปอยู่พรรคพลังประชารัฐ โดยเตรียมเปิดตัวปลายเดือนกันยายนนี้ว่า นายบุญจง ได้ออกจากพรรคภูมิใจไทยไปตั้งแต่ช่วงที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายรัฐมนตรี ยุบสภาและตอนเลือกตั้ง ส.ส.ในปี 2557 ก็ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกันจนถึงปัจจุบัน จึงเป็นการทิ้งพรรคภูมิใจไทยไปตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา
'อลงกรณ์' เผยนัดหารือแกนนำประชาธิปัตย์คุยเรื่องอนาคตพรรค 25 ก.ย. นี้

ด้านนายอลงกรณ์ พลบุตร อดีตรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศและอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวถึงกรณีนายสุรบถ หลีกภัย หรือ ปลื้ม บุตรชาย นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ว่า เป็นสัญญานที่ดีของพรรคประชาธิปัตย์เปรียบเสมือนคลื่นลูกใหม่และเชื่อว่าจะมีคนรุ่นใหม่เข้ามามากขึ้นยิ่งถ้ามีการปฏิรูปพรรคอย่างต่อเนื่องจริงจัง โดยพรรคประชาธิปัตย์ต้องปฏิรูปโครงสร้างและการบริหารจัดการสร้างองค์กรให้ทันสมัยสู่ยุคดิจิทัลเปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ในพรรคเช่นกรณีกลุ่มโมเมนตั้มพลังคนรุ่นใหม่ของพรรคเลเบอร์อังกฤษ

นายอลงกรณ์ยังเปิดเผยด้วยว่าวันที่ 25 ก.ย. 2561 ช่วงเช้าได้นัดหมายนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะหัวหน้าพรรคประชาธิปัต์ เพื่อหารือเรื่องอนาคตพรรคและกติกาไพรมารีและช่วงบ่ายจะมีการประชุมกับแกนนำสมาชิกพรรคเกี่ยวกับกฎเหล็ก 5 ข้อและการเลือกหัวหน้าพรรค

“การหยั่งเสียงไพรมารีควรเปิดกว้างให้สมาชิกที่ลงทะเบียนก่อนและหลังเดือน เม.ย. 2561 ซึ่งมีไม่น้อยกว่า 2.9 ล้านคน มีสิทธิ์ลงคะแนนแบบวันแมนวันโหวตโดยให้มีการดีเบต 2 ครั้งและถ้าผู้สมัครคนใดได้คะแนนเกินกึ่งหนึ่งให้ถือเป็นเด็ดขาดเพราะพรรคเป็นของสมาชิกทุกคนโดยที่ประชุมใหญ่พรรคทำหน้าที่รับรองหัวหน้าพรรคคนใหม่ไม่ใช่แค่บอกว่าให้คำนึงถึงผลการหยั่งเสียงไพรมารีเท่านั้นจะพิจารณาหรือไม่ก็ได้มิฉะนั้นไพรมารีที่ท่านหัวหน้าพรรคริเริ่มและเป็นเรื่องที่ดีมากสำหรับพรรคประชาธิปัตย์และทุกพรรคการเมืองจะกลายเป็นเพียงพิธีกรรมที่ไร้ความหมาย” นายอลงกรณ์ กล่าว

ที่มาข่าวเรียบเรียงจากสำนักข่าวไทย [1] [2] [3]

[full-post]


Posted: 23 Sep 2018 01:59 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Sun, 2018-09-23 15:59


นักการเมืองมาเลเซียหลายคนรวมถึง รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีมหาธีร โมฮัมหมัด เริ่มเรียกร้องให้มีการพิจารณาคดีคนที่ถูกตัดสินประหารชีวิตเพราะแจกจ่ายกัญชาเพื่อการแพทย์อีกครั้ง หลังจากเมื่อปลายเดือนที่แล้ว 'มูฮัมหมัด ลุคแมน' ถูกตัดสินประหารชีวิตเพราะมีกัญชาไว้ในครอบครองและแจกจ่ายสารสกัดรวมถึงน้ำมันกัญชาที่ยังไม่ได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข

ลิววุยเคียง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของมาเลเซียกล่าวสนับสนุนข้อเรียกร้องของนายกรัฐมนตรีมหาธีร์ โมฮัมหมัด ที่เรียกร้องให้มีการพิจารณาคดีของชายที่ถูกตัดสินโทษประหารเนื่องจากทำการผลิต ครอบครอง และกระจายต่อน้ำมันที่สกัดจากกัญชา

"ผมเห็นด้วยกับนายกรัฐมนตรีว่าพวกเราควรจะพิจารณาคดีนี้ใหม่อีกครั้ง" ลิววุยเคียงกล่าว

"ผมมั่นใจว่าหลักนิติธรรมจะชนะในคดีเฉพาะนี้ และเขาจะได้รับการพิสูจน์ว่าไม่มีความผิดถ้าหากเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในคดีโทษประหารนี้" ลิววุยเคียงกล่าว

กรณีที่กล่าวถึงกรณีของมูฮัมหมัด ลุคแมน ผู้ถูกตัดสินโทษประหารชีวิตเพราะมีน้ำมันกัญชาไว้ในครอบครอง 3.1 ลิตร มีกัญชอัดแท่งในครอบครอง 279 กรัม และสสารที่มีส่วนประกอบของเตตระไฮโดรแคนนาบินอย (THC) ซึ่งเป็นสารสกัดจากกัญชา 1.4 กิโลกรัม ลุคแมนถูกจับกุมพร้อมภรรยาที่กำลังตั้งครรภ์เมื่อเดือน ธ.ค. 2558 โดยถึงแม้ว่าภรรยาเขาจะได้รับการปล่อยตัวโดยทันที แต่ลุคแมนก็ถูกสั่งตัดสินประหารชีวิตในวันที่ 30 ส.ค. ที่ผ่านมาโดยศาลสูงในชาห์อาลัม

ตั้งแต่การตัดสินในครั้งนั้นเป็นต้นมาทำให้คดีนี้กลายเป็นที่พูดถึงในระดับไวรัลบนโซเชียลมีเดียจนทำให้มีการล่ารายชื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวลุคแมนตามมา

ฟาร์ฮาน มารุฟ ทนายความของลุคแมนกล่าวว่าลุคแมนไม่ได้มีเจตนาที่จะส่งเสริมให้มียาเสพติดมากขึ้นในพื้นที่สาธารณะ เขาเพียงแค่ต้องการช่วยเหลือผู้ป่วยที่อาการป่วยของพวกเขาอาจจะรักษาได้ด้วยสารสกัด THC

ในช่วงกลางสัปดาห์ที่แล้วเมื่อมีผู้ถามถึงกรณีโทรประหารชีวิตต่อลุตแมน มหาธีร์ กล่าวว่าคดีนี้ควรนำมาพิจารณาอีกครั้ง

อย่างไรก็ตามนูร์ ฮิชัม อับดุลเลาะห์ อธิบดีกระทรวงสาธารณสุขของมาเลเซียกล่าวเน้นย้ำว่าไม่มีหลักฐานที่พิสูจน์ว่าน้ำมันจากกัญชาสามารถนำมาใช้ทางการแพทย์ได้ การนำมาใช้จึงควรจะอนุญาตให้บุคลากรที่มีคุณสมบัตินำมาใช้เพื่อการวิจัยภายใต้การรับรองของกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ดซุลกิฟลี อาห์หมัด เคยบอกว่าทางคณะรัฐมนตรีเคยหารือกันในเรื่องนี้แล้วแต่ไม่สามารถบรรลุมติใดๆ ได้ แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะพิจารณาเรื่องโทษประหารลุคแมนในอนาคต

ขณะเดียวกัน นูรูห์ อิซซาห์ อันวาร์ ส.ส. จากเปอร์มาตังปาอูห์ ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อสภาอัยการเมื่อวันที่ 19 ก.ย. ที่ผ่านมาขอให้มีการลดโทษให้กับลุคแมน โดยที่นูรูห์ อิซซาห์ เคยบอกว่าจะเรียกร้องให้การใช้น้ำมันกัญชาเพื่อการแพทย์ไม่ผิดกฎหมายด้วย

เรียบเรียงจาก

Law minister backs PM on reviewing medical marijuana case, Malaysiakini, 21-09-2018 https://www.malaysiakini.com/news/44401

ปลาวาฬกลืนพลาสติกจนตาย

Posted: 23 Sep 2018 09:04 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Sun, 2018-09-23 23:04

ใจ อึ๊งภากรณ์

ทุกๆ ปีมีการผลิตพลาสติกเท่ากับน้ำหนักมนุษย์ทุกคนบนโลกนี้ และคาดว่าในปี 2050 จะมีพลาสติกในทะเลมากกว่าปลา นักวิจัยบางคนเสนออีกว่าคนที่กินอาหารทะเลเป็นประจำจะกลืนเศษพลาสติกเล็กๆ จากปลาหมื่นกว่าชิ้น ซึ่งเรายังไม่ทราบว่าจะมีผลอะไรต่อสุขภาพ

ปัญหาขยะพลาสติกได้กลายเป็นวิกฤตสำหรับสิ่งแวดล้อมและความอยู่ดีกินดีของมนุษย์และสัตว์โดยทั่วไป ทั้งนี้เพราะผลผลิตพลาสติกใช้เวลาเป็นศตวรรษก่อนที่มันจะเน่าเปื่อย และเพราะการผลิตพลาสติกในรอบ 50 ปี เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล

เมื่อสมัยผมเป็นเด็ก น้ำอัดลมมักจะขายในขวดแก้วที่ดื่มแล้วส่งกลับไปที่โรงงานเพื่อใช้ต่อไปอีกหลายครั้ง แต่ในยุคนี้ทุกวินาทีโรงงานอุตสาหกรรมของโลกผลิตขวดพลาสติก 16,000 ขวด และบริษัทโคคาโคลาบริษัทเดียวผลิตขวดพลาสติกหนึ่งแสนล้านขวดต่อปี เพราะการผลิตขวดพลาสติกเพื่อใช้ครั้งเดียวถูกกว่าการใช้ขวดแก้วที่ต้องนำไปล้าง

เมื่อสมัยผมเป็นเด็ก เวลาเราจะซื้ออาหารที่ขายกันหน้าปากซอยไปกินที่บ้าน เราจะใช้ปิ่นโตที่ยกไปที่ร้านแล้วให้เขาเติมอาหารลงไป แต่ในยุคนี้เราจะซื้ออาหารในถุงพลาสติกแทน และถุงพลาสติกเป็นสิ่งที่สร้างปัญหาขยะเช่นกัน

การค้นพบวิธีผลิตพลาสติกผูกพันกับการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันอย่างใกล้ชิด เพราะพลาสติกเป็นผลผลิตจากการกลั่นน้ำมัน การขยายตัวของการผลิตพลาสติกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลังสงครามโลกครั้งที่สอง และมีทั้งคุณและโทษต่อสังคม ในด้านประโยชน์การผลิตพลาสติกในรูปแบบต่างๆ ทำให้สามารถพัฒนาเทคโนโลจีทางการแพทย์ได้ และเป็นวัตถุที่มีประโยชน์ในเครื่องมือไฟฟ้า ฯลฯ อย่างไรก็ตามการขยายตัวของการผลิตขวด หลอด และถุงพลาสติกชนิดที่ใช้แล้วทิ้ง กลายเป็นวิกฤตสำหรับเราในยุคนี้

กระแสต่อต้านขยะพลาสติกทำให้บริษัทใหญ่และรัฐบาลในบางประเทศปรับตัว เช่นในหลายประเทศของยุโรปมีการพยายามยกเลิกการให้ถุงพลาสติกในร้านค้า หรือลดปริมาณการขายกาแฟในถ้วยพลาสติกเป็นต้น บางแห่งมีการเก็บขยะพลาสติกไปรีไซเคิลหรือไปแปรรูปผ่านการหลอมและใช้ใหม่ แต่ในความเป็นจริง บริษัทใหญ่ใช้พลาสติกที่มาจากการรีไซเคิลแค่ 6.6% ของการผลิตเท่านั้น เพราะการผลิตขวดพลาสติกใหม่ราคาถูกกว่าการรีไชเคิล ยิ่งกว่านั้นราคาขยะพลาสติกตกต่ำลงจนไม่คุ้มค่าสำหรับบริษัทต่างๆ ที่จะขนไปรีไซเคิล ดังนั้นมีการนำไปฝังดินหรือทิ้งในทะเลแทน

เรื่องเงินเรื่องทองเป็นหัวใจของเรื่อง เพราะในระบบทุนนิยม รูปแบบการผลิตทุกอย่างถูกกำหนดจากปริมาณกำไรที่กลุ่มทุนจะได้ ถ้าการผลิตถุงหรือขวดพลาสติกสร้างกำไรมากกว่าการลดพลาสติก กลุ่มทุนจะทำต่อไปไม่ว่าจะสร้างปัญหาอะไรให้กับชาวโลก



เผยแพร่ครั้งแรกใน: https://turnleftthai.wordpress.com/2018/09/23


Posted: 21 Sep 2018 10:59 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Sat, 2018-09-22 12:59


กสม. ร่วม กรมพินิจฯ จัดสัมมนาคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ชื่นชม สตช. แก้ระเบียบไม่เปิดเผยประวัติอาญชากรรมของเด็ก เอื้อเด็กและเยาวชนก้าวพลาดกลับคืนเป็นคนดีของสังคม ที่มาภาพประกอบ: Surian Soosay (CC BY 2.0)

เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2561 คณะทำงานด้านสิทธิผู้สูงอายุ ผู้พิการ เด็ก การศึกษา และการสาธารณสุข ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ร่วมกับ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการและการสัมมนาโครงการจัดทำข้อเสนอแนะและมาตรการการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชน เรื่อง “สิทธิเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา” โดยมีการเสวนาหัวข้อ “เด็กที่ถูกลิดรอนสิทธิและเสรีภาพ : โอกาส...สิทธิ..ที่ยังคงเหลือ” ณ โรงแรม อโนมา แกรนด์ กรุงเทพ ถนนราชดำริ กรุงเทพมหานคร

นางฉัตรสุดา จันทร์ดียิ่ง กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะทำงานด้านสิทธิผู้สูงอายุ ผู้พิการ เด็ก การศึกษา และการสาธารณสุข กล่าวว่าจากการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนในจังหวัดต่างๆ ทำให้ตระหนักถึงปัญหาของเยาวชนที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญา ซึ่งเด็กและเยาวชนเหล่านี้อาจก้าวพลาดไปด้วยความอ่อนด้อยของประสบการณ์ วุฒิภาวะ รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ทำให้ช่วงหนึ่งของชีวิตต้องถูกควบคุมตัว อันส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กในทุกด้าน อย่างไรก็ดีแม้เด็กเหล่านี้จะได้รับการฟื้นฟูเป็นอย่างดีโดยกรมพินิจฯ และพร้อมกลับคืนสู่สังคม แต่ปัญหาการสืบค้นและเปิดเผยประวัติกระทำความผิดทางอาญาของเด็ก ได้ส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของพวกเขาในอนาคตและทำให้ความพยายามของเด็กที่จะกลับคืนสู่สังคมด้วยการเป็นคนดีไม่เป็นผล โดยที่หลายคนต้องหวนไปกระทำความผิดซ้ำ

เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2560 กสม. ได้ออกรายงานข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายและระเบียบ อันเกี่ยวเนื่องกับสิทธิเด็กในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา กรณีการเปิดเผยประวัติการกระทำความผิดอาญาของเด็กและเยาวชน โดยเสนอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) พิจารณาแก้ไขระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 32 การพิมพ์ลายนิ้วมือ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2557 ในข้อกำหนดเกี่ยวกับการคัดแยกประวัติการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนและบัญชีทะเบียนประวัติของเด็กและเยาวชน โดยแยกจากของบุคคลทั่วไป เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 84 วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 24 รวมทั้งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 22 ซึ่งเป็นที่น่ายินดีและชื่นชมว่า สตช. ได้แก้ไขระเบียบดังกล่าวโดยออกระเบียบว่าด้วยประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 32 การพิมพ์ลายนิ้วมือ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 17 ส.ค. 2561 โดยระบุห้ามมิให้เปิดเผยข้อมูลประวัติอาชญากรที่คัดแยกออกจากสารบบไปแล้วตามที่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ เช่น กฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว กฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เป็นต้น โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกพื้นที่จะได้นำระเบียบนี้ไปปฏิบัติ เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้กลับมามีที่ยืนในสังคมและประกอบอาชีพที่สุจริตต่อไปได้

นายเชวง ไทยยิ่ง ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนานักกฎหมายมหาชน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวว่าวันนี้สังคมต้องคิดกันว่าจะทำอย่างไรที่จะไม่ให้เด็กเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมถ้าไม่จำเป็น ดังที่อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี ระบุหลักการสำคัญไว้ว่าการนำเด็กเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมต้องเป็นกระบวนการสุดท้ายที่เลือกใช้ เนื่องจากที่ผ่านมาการใช้อำนาจรัฐไปกำหนดโทษทางอาญาไม่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาเด็ก เช่น เด็กขี่มอเตอร์ไซค์ซิ่งไม่ได้หยุดสร้างความเดือดร้อนจากการถูกตำรวจจับ แต่กลับยิ่งออกมาสร้างปัญหาเพื่อท้าทาย ขณะที่บางคนก็ติดอยู่กับตราบาปหรือประวัติอาชญากรที่ถูกเปิดเผยโดยไม่สามารถกลับคืนสู่สังคมได้ โดยที่การใช้อำนาจรัฐเข้าจัดการปัญหาเด็กยังได้ทำลายระบบบ้าน ครอบครัว และชุมชนไปโดยสิ้นเชิง จึงขอเสนอให้รัฐหันมาใช้กระบวนการจัดการปัญหาโดยชุมชนหรือส่วนท้องถิ่นที่มีความเข้าใจปัญหาและพฤติกรรมของเด็กในพื้นที่ให้มากขึ้น

นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เปิดเผยว่าจากการเก็บข้อมูลคดีเด็กและเยาวชนของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนระหว่างปี 2558 - 2561 พบว่า เด็กและเยาวชนที่ถูกดำเนินคดี ร้อยละ 63 มาจากครอบครัวแยกกันอยู่ เช่น พ่อแม่หย่าร้าง โดยส่วนใหญ่เป็นเด็กที่ไม่ได้เรียนหนังสือ และกว่าครึ่งมีฐานความผิดในคดียาเสพติด โดยมีงานวิจัยรับรองว่ายิ่งคนถูกควบคุมในสถานที่ควบคุมนานเท่าไหร่ โอกาสที่กระทำผิดซ้ำยิ่งสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว และการนำผู้กระทำความผิดเล็กน้อยไปควบคุมตัวปะปนกับผู้กระทำความผิดซับซ้อนรุนแรง แนวโน้มที่ผู้กระทำความผิดเล็กน้อยจะเรียนรู้พฤติกรรมจากผู้กระทำความผิดซับซ้อนรุนแรงย่อมมีมากขึ้น กรมพินิจฯ จึงให้ความสำคัญกับการคัดกรองและจำแนกเด็กตั้งแต่แรกรับตัวเข้ามาเพื่อทำแผนฟื้นฟูรายบุคคลโดยทีมสหวิชาชีพ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการป้องกันปัญหาร่วมกับชุมชนเพื่อมิให้เยาวชนต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมด้วย

ด้านนางสุนันทา เตียสุวรรณ์ ประธานผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนและครอบครัว จังหวัดสมุทรปราการ กล่าวว่าปัญหาเศรษฐกิจและความยากจนเป็นปัญหาสำคัญหนึ่งที่ทำให้เด็กต้องก้าวสู่การกระทำความผิด เนื่องจากพ่อแม่ที่ต้องทำงานหาเช้ากินค่ำไม่มีเวลาดูแลบุตรและให้การศึกษา โดยเฉพาะในกลุ่มครอบครัวแรงงานอพยพ อย่างไรก็ดี เมื่อเด็กเข้าสู่กระบวนการศาลของศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลจะมุ่งเน้นการบำบัด แก้ไข และฟื้นฟูเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นหลัก โดยไม่เน้นการลงโทษ ซึ่งที่ผ่านมาศาลได้มีการส่งเด็กไปฝึกอาชีพในสถานที่ที่ห่างไกลจากพื้นที่ปัญหาโดยประสานความร่วมมือกับบริษัทให้ปกปิดประวัติของเด็ก หากเด็กสามารถทำงานได้และมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น ศาลจะพิจารณาลดโทษ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายท้ายที่สุดคือการส่งคืนเด็กดีกลับสู่สังคม


Posted: 22 Sep 2018 12:09 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Sat, 2018-09-22 14:09


องค์กรแรงงานไทยและระดับประเทศ ออกแถลงการณ์ร่วมอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ C188 ว่าด้วยการทำงานในภาคประมง

เว็บไซต์ Voice Labour รายงานว่าเมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2561 สหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ (ITF) เครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานประมง (FRN) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) สมาพันธ์สหภาพแรงงานสากล (ITUC) สหพันธ์แรงงานและสภาแรงงานอุตสาหกรรมแห่งสหรัฐอเมริกา (AFL-CIO) ด้วยความเคารพจากพวกเราทุกองค์กร พวกเราขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยให้สัตยาบันและปฏิบัติตามอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ C 188 ว่าด้วยการทำงานภาคการประมง

แรงงานประมงข้ามชาติ จากประเทศกัมพูชา และเมียนมาที่ทำงานในกิจการประมงในประเทศไทยนั้นยังคงต้องประสบกับปัญหาการถูกละเมิดสิทธิด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชนอยู่ ในหลายๆครั้งพวกเขายังถูกบังคับให้ทำงานโดยเจ้าของเรือและไต๋ก๋งที่ยังประกอบธุรกิจประมงอย่างผิดกฎหมายหรือยังคงทำกิจการแบบ IUU อยู่ และในหลายๆครั้งในทุกวันนี้เรายังพบเห็นแรงงานประมงถูกปฏิเสธการเข้าถึงการรักษาพยาบาลเนื่องจากสถานะการเข้าเมืองของพวกเขา การให้สัตยาบันกับอนุสัญญาฉบับที่ C188 จะช่วยให้เราส่งข้อความไปยังผู้ประกอบการที่ยังคงทำการประมงแบบผิดกฎหมาย กลุ่มเจ้าของเรือที่ไร้ยางอายที่ยังคงแสวงหาผลประโยชน์ การประกอบกิจการประมงที่ไม่สร้างความยังยืนและผิดกฎหมายไม่เป็นที่ยอมรับ สิทธิแรงงานสำหรับคนงานประมงจะต้องได้รับการความคุ้มครองโดยต้องไม่คำนึงถึงสัญชาติแต่อย่างใด

การรับรองอนุสัญญา ฉบับที่ C188 จะถือเป็นการส่งข้อความไปยังสหภาพยุโรปและประชาคมนานาชาติว่าประเทศไทยนั้นได้ทำการปฏิรูปและยกระดับไปสู่ใบเหลืองเพื่อให้หลุดจากข้อจำกัดทางการค้าต่างๆในประเภทอาหารที่มีต่อสหภาพยุโรป

นอกจากนี้รัฐบาลไทยควรจะก้าวไปอีกระดับหนึ่งคือการรับรองอนุสัญญาฉบับที่ 87 และ 98 ว่าด้วยเสรีภาพในการรวมตัวและการเจรจาต่อรองร่วม แรงงานทุกคนไม่ว่าจะมาจากที่ใด หรือมีสถานะการข้าเมืองเช่นไร พวกเขาจะต้องได้รับเสรีภาพในการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงานและมีสิทธิในการเจรจาต่อรองร่วม สิทธิในการจัดตั้งสหภาพแรงงานจะช่วยส่งเสริมให้พวกเขามีความเป็นอยู่ที่มีคุณค่าในสถานประกอบการและในกิจการประมง

ทั้งนี้บริษัทเอกขนขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมอาหารทะเล ซึ่งรวมถึง Thai Union มีแนวคิดที่จะเริ่มสร้างการเปลี่ยนแปลงไปยังบริษัทคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานของเขาแล้วโดยการสร้างความเข้าใจต่อบทบัญญัติของอนุสัญญาฉบับที่ C188 เพราะเนื่องจากผู้บริโภค และความต้องการในตลาดขนาดใหญ่ที่มีความต้องการสูงต่อประเด็นด้านแรงงานและมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการปฏิบัติใช้อย่างมีประสิทธิภาพต่อบทบัญญัติของ อนุสัญญาฉบับที่ C 188 จะทำให้ประชาคมนานาชาติ ผู้ซื้ออาหารทะเลและตลาดอาหารทะเลที่ซื้อสินค้าจากประเทศไทยจะช่วยยืนยันถึงจรรยาบันและมาตรฐานแรงงานต่างๆว่าอุตสาหกรรมอาหารทะเลไทยเป็นที่ยอมรับในมาตรฐานสากล

ตัวอย่างเช่น ผู้ค้าปลีกในสหราชอาณาจักรได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนกฎหมายแรงงานไทย (เพื่อให้แรงงานข้ามชาติสามารถรวมตัวก่อตั้งสหภาพแรงงานได้) และควรที่จะปฏิบัติใช้พิธีสารปี 2014 แรงงานงานบังคับ ฉบับ P 29 อย่างเข้มงวด เพื่อให้พวกเขาทำธุรกิจกับคู่ค้าในประเทศไทยต่อไปได้ รัฐบาลไทยควรได้รับการยกย่องจากความพยายามที่ผ่านมาในการผ่านพระราชบัญญัติบังคับใช้แรงงานและการกำจัดอุตสาหกรรมแสวงหาประโยชน์จากคนงาน และเข้มงวดต่อการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งถือเป็นความท้าทายต่อไป

นอกจากนี้การให้สัตยาบันและการบังคับใช้อนุสัญญาฉบับที่ C 188 นั้นรัฐบาลไทยควรจะปฏิบัติดังนี้

- การกำจัดแรงงานขัดหนี้ ซึ่งร่วมไปถึงค่าธรรมเนียมในการทำหนังสือเดินทาง บัตรสีชมพู ใบอนุญาตทำงานจากตัวแทนและนายหน้า
- การเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 12,000 บาท (375 เหรียญสหรัฐ) ต่อเดือน
- แรงงานประมงทุกคนต้องได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน พร้อมทั้งมีสิทธิถือสมุดบัญชีธนาคาร บัตร ATM และรหัสกดในครอบครอง (ไม่ได้เก็บไว้โดยเจ้าของเรือหรือไต๋ก๋ง)
- แรงงานประมงทุกคนต้องได้รับสัญญาจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรในภาษาของตนเอง
- แรงงานประมงทุกคนจะต้องได้รับการฝึกอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้นและสามารถเข้าถึงชุดปฐมพยาบาลที่จัดไว้บนเรือแต่ละลำ
- เรือทุกลำต้องมีขั้นตอนและแนวทางปฏิบัติในกรณีการรักษาพยาบาลฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน
- การจัดให้มีจรรยาบรรณในการเดินเรือบนเรือทุกลำที่ทำประมงในน่านน้ำไทย
- การแก้ไขกฎหมายแรงงานไทยเพื่อให้แรงงานข้ามชาติสามารถจัดตั้งและมีส่วนร่วมในสหภาพของพวกเขา

สหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ (ITF) เป็นองค์กรแรงงานในระดับสากลที่มีสมาชิกสหภาพแรงงานกว่า 670 แห่ง จาก 140 ประเทศ และมีสมาชิกที่เป็นแรงงานกว่า 19.7 ล้านคน เครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานประมง (FRN) เป็นสหภาพแรงงานประมงอิสระแห่งเดียวในประเทศไทยและอยู่ภายใต้โครงการของ ITF ประจำภูมิภาคเอเชียแลแปซิฟิก สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) องค์กรสมาชิกสมาพันธ์แรงงานสากล (ITUC) ที่มีสหภาพแรงงาน 47 แห่งจากในภาครัฐวิสาหกิจและเอกชน มีสมาชิกกว่า 180,000 คนทั่วประเทศไทย คณะกรรมการสมาฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เครือข่ายองค์กรแรงงาน ที่มีสหภาพแรงงานในภาครัฐวิสาหกิจ และเอกชน รวมถึงองค์กรพัฒนาเอกชน และนักวิชาการด้านแรงงาน สหพันธ์แรงงานและสภาแรงงานอุตสาหกรรมแห่งสหรัฐอเมริกา (AFL-CIO) สหพันธ์แรงงานประชาธิปไตยโดยอิสระ ที่มีสมาชิกเป็นสหภาพแรงงานในระดับชาติและสากลกว่า 55 แห่ง และมีสมาชิกชายและหญิงกว่า 12.5 ล้านคน สมาพันธ์สหภาพแรงงานสากล (ITUC) เป็นองค์กรแรงงานที่ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงให้กับแรงงานทั่วโลกมีสมาชิกกว่า 207 ล้านคนจาก 163 ประเทศ และมีองค์กรสมาชิกที่เป็นสภาแรงงานระดับชาติกว่า 331 แห่ง

[full-post]


Posted: 22 Sep 2018 12:38 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Sat, 2018-09-22 14:38


ใบตองแห้ง

12 ปีรัฐประหาร 19 กันยา นึกว่าไม่มีอะไรแล้วเชียว ที่ไหนได้ กลายเป็นวันแห่งอารมณ์ขัน ทวีตทักษิณสวนป้อม #เกาะโต๊ะ กลายเป็นไวรัล แทบทุกเพจดังทำมีมครื้นเครง เรียกเสียงหัวเราะสนั่นโลกออนไลน์ได้ทั้งวัน

นี่ขนาดสื่อใหญ่พากันหลบเลี่ยง ด้วยความเกรงใจ ก็ยังปิดกั้นพลังโซเชี่ยลไม่ได้

แถมเพจศูนย์ไซเบอร์กองทัพบก ก็ไม่รู้จะเอาฮาไปถึงไหน ชูผู้นำตู่ “4 ปีซ่อม 4 ปีสร้าง” ชาวบ้านขากรรไกรค้าง ไหนว่าเผาทำลายของก๊อบไร้เกรดหมดแล้วไง

ว่าที่จริงก็น่าเห็นใจพี่ใหญ่อยู่เหมือนกัน นอกจากทำหน้าแป๊ะยิ้ม ก็ไม่รู้จะสวนยังไง เรื่องเกาะโต๊ะหรือไม่ได้เกาะ ก็ไม่มีใครรู้จริง นอกจากรู้กัน 2 คน ชาวบ้านรู้แต่ว่าพี่ป้อมมารุ่งเรืองสมัยทักษิณนั่นเอง สนิทสนมกันกระทั่งมีข่าวก๊อสซิป คุณหญิงพจมานจะจับคู่ให้ 13-14 ปีผ่านไปจึงไม่วายมีคนระแวง ว่าแม้ว-ป้อมจะเกี้ยเซี้ยกัน (คราวนี้วางใจได้แล้วมั้ง)

แล้วอันที่จริง คนที่เคยล้อมโต๊ะทักษิณ ก็ไม่ได้มีแต่พี่ป้อม สมคิดและพวกพ้องนั่นไง ทีมเนติบริกร วิษณุ บวรศักดิ์ นี่ตัวสำคัญ แม้แต่สนธิ ลิ้ม และอีกหลายๆ คน ก็ร่วมสร้าง “ระบอบทักษิณ” มาทั้งนั้น

สังคมไทยไม่ยักถาม ทำไมทักษิณเลวคนเดียว ไม่ว่าใครเคยทำอะไร เคยรับใช้สุดจิตสุดใจ เคยได้ประโยชน์โภชผลกับ ทักกี้ ขอแค่โดดเรือหนีมาเชียร์รัฐประหาร ก็เป็นคนดี พวกวิพากษ์ทักษิณมา 4-5 ปี พอไม่เห็นด้วยรัฐประหาร ยืนหยัดหลักการประชาธิปไตย กลายเป็นไม่รู้ผิดชอบชั่วดี

ครบ 19 กันยาทีไร พันธมิตรแมลงสาบก็เถียงคอเป็นเอ็น ว่ารัฐประหารเกิดเพราะทักษิณเลว ไม่ยักย้อนไทม์ไลน์ว่าตอนนั้น ศาลรัฐธรรมนูญสั่งเลือกตั้ง 2 เมษาโมฆะ วุฒิสภาเลือก กกต.ชุดใหม่ จะเลือกตั้งใหม่กันอยู่แล้ว สถานการณ์ช่วงนั้น แม้คะแนนนิยมทักษิณยังมาก พรรคไทยรักไทยคงชนะ แต่น่าจะได้ส.ส.น้อยลง กระแสต้านก็แรง มีแนวโน้มว่าทักษิณจะถูกกดดันให้ต้อง “เว้นวรรค”

แต่จู่ๆ ไม่มีอะไรในกอไผ่ พันธมิตรก็นัดชุมนุมใหญ่ ไม่รู้ใครปล่อยข่าวจะมีม็อบชนม็อบ แล้วปุบปับ บิ๊กบังก็รัฐประหาร นำประเทศดิ่งเหวตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา อย่างไม่สามารถหวนกลับอีกเลย

รัฐประหารมุ่งจัดการทักษิณ เห็นทักษิณได้อำนาจจาก เลือกตั้ง ได้คะแนนจากประชานิยม แทนที่จะช่วงชิงความนิยม ก็ฆ่าตัดตอนอำนาจประชาชน ตั้งตุลาการยุบพรรค เขียนรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคได้ง่ายๆ ล้มรัฐบาลที่ประชาชนเลือกได้ง่ายๆ ใช้ตุลาการภิวัฒน์จัดการความนิยมทางการเมือง จนลากกระบวนการยุติธรรมมาเสียความเชื่อถือ ขณะเดียวกัน รัฐประหาร พันธมิตร กองเชียร์ ล้วนเป็นคนดี ใครไม่เห็นด้วยเป็นคนเลว เป็นพวกทักษิณ ซตพ. ก็ผลักหลักการและพลังประชาธิปไตยไปให้ทักษิณ

12 ปีรัฐประหาร จึงไม่ได้ทำลายแค่ทักษิณ แต่ทำลายประชาธิปไตยของประชาชน พร้อมกันนั้นก็ทำลายทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ให้ล่มจมลงกับการทำลายประชาธิปไตย ตั้งแต่ NGO ภาคประชาชน ที่ออกบัตรเชิญรัฐประหาร สถาบันสื่อ นักวิชาการ ไปจนองค์กรต่างๆ ที่สังคมเคยเชื่อถือศรัทธา แต่มาช่วยกันตะแบง

ถามดูสิ พรรคการเมืองที่ตั้งหน้าตั้งตาทำลายระบอบทักษิณ จนไม่เหลือประชาธิปไตย วันนี้เสื่อมลงแค่ไหน

4 ปีที่ผ่านมา บนซากของความล่มสลาย ประเทศจึงต้องตกอยู่ใต้อำนาจบังคับของ คสช. ย้อนกลับไปอยู่ใต้อำนาจดิบๆ อำนาจเดียว ที่ออกคำสั่งให้คนทำตามได้ เพราะมีกำลังมีอาวุธ ถึงจะสร้าง gimmick มีรัฐบาลมีสภา มีกระทั่งรัฐธรรมนูญ แต่ความเป็นจริงก็คือระบอบ ม.44 นั่นเอง

ระบอบนี้มองอย่างไร ก็ไม่เห็นทางกลับสู่ประชาธิปไตยปกติ เพียงแต่จำเป็นต้องมีเลือกตั้ง เพราะหุ้นมันขึ้น ก็มุ่งหวังว่าด้วยกลไกอำนาจ กลไกรัฐธรรมนูญ จะสืบทอดอำนาจได้อีก 4-5 ปี ในระบอบที่มีเลือกตั้งแต่ไม่ใช่ประชาธิปไตย เพื่อคุมประเทศคุมประชาชนต่อไป

สโลแกน “4 ปีซ่อม 4 ปีสร้าง” จึงไม่ผิด แค่ลืมคิดว่าเป็นของก๊อบ เพราะอันที่จริงก็มีส่วนคล้ายกัน แต่ที่มาคนละอย่าง

4 ปี คสช.สร้างรัฐเข้มแข็ง อำนาจนิยม เอาความมั่นคงเป็นใหญ่ บังคับประชาชนให้ร่วมมือ แล้วจะนำประเทศก้าวกระโดด ไทยแลนด์ 4.0 พ้นกับดักรายได้ปานกลาง พูดอีกอย่างคือใช้อำนาจเบ็ดเสร็จนำเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ ใช้โมเดลจีน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพราะมีประชารัฐแจกบัตรคนจน

สมคิดโดมิกส์ ก็คือทักษิโณมิกส์ แต่คิดว่าจะทำได้โดยให้ประชาชนลืมประชาธิปไตย ลืมอดีต 12 ปี เลิกทวงความยุติธรรม เลิกทวงอำนาจ แล้วปากท้องจะอิ่ม
ทำได้จริงหรือ แล้วคิดได้ไงว่าประชาชนจะลืม



เผยแพร่ครั้งแรกใน: นสพ.ข่าวสด www.khaosod.co.th/hot-topics/news_1596149


Posted: 22 Sep 2018 02:03 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Sat, 2018-09-22 16:03


ถึงเวลาสามัญชน... ประชุมจัดตั้ง 'พรรคสามัญชน' กลางพื้นที่ปัญหาความขัดแย้ง 'รัฐ-ทุน-ปชช.' วังสะพุง จ.เลย มติจาก 294 ผู้ร่วมก่อตั้งฯ ให้ 'เลิศศักดิ์' นั่งหัวหน้า 'กิตติชัย' นั่งเลขาธิการฯ ชูอุดมการณ์ 'ประชาธิปไตยจากฐานราก-สิทธิมนุษยชน-เท่าเทียมเป็นธรรม' ลั่นปลดอาวุธ คสช. ด้วยมือเปล่า ขณะที่ทหารเข้าเตือนและสังเกตการณ์ตั้งแต่เช้า

22 ก.ย.2561 ผู้สื่อข่าวรายงานจากวัดโนนสว่าง ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย ว่า วันนี้ ตั้งแต่ช่วงเช้ามีการประชุมจัดตั้งพรรคสามัญชน จนล่าสุดเมื่อเวลาประมาณ 14.20 น. ได้แถลงข่าวการประชุมจัดตั้งพรรคสามัญชน พร้อมเปิดตัวคณะกรรมการบริหารพรรค จากการคัดเลือกและรับรองของสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้ง 294 คน

โดยมี เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ เป็นหัวหน้าพรรค กิตติชัย งามชัยพิสิฐ เป็นเลขาธิการพรรค รองหัวหน้าพรรค ประกอบด้วย ชาติชาย ธัมโม สรุพันธุ์ รุจิไชยวัฒน์ ชุมาพร แต่งเกลี้ยง และเอกชัย อิสระทะ ขณะที่รองเลขาธิการ คือ ชุทิมา ชื่นหัวใจ ลลิตา เพ็ชรพวง และพักตร์วิไล สหุนาฬุ เหรัญหญิก คือ จินตนา ศรีนุเดช นายทะเบียนพรรค คือ ศิววงศ์ สุขทวี โฆษก คือ ปกรณ์ อารีกุล

ส่วนประธานภาคแต่ละภาคประกอบด้วย สมชาย กระจ่างแสง (กลาง) วรวุธ ตามี่ (เหนือ) ณัฐพร อาจหาญ (อีสาน) และ ว่าที่ ร.ต. พร้อมศักดิ์ จิตจำ (ใต้)

"คณะกรรมการบริหารพรรคเป็นเพียงผู้รับนโยบาย รับเจตนารมณ์จากพี่น้องสามัญชนที่เป็นสมาชิก เพื่อที่จะทำการหลัการของพรรคทั้ง 3 ข้อ คือประชาธิปไตยจากรากฐาน เราจะยืนหยัดเพื่อให้ประชาธิปไตยของประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยที่มาจากฐานรากจริงๆ เราจะยืนหยัดเพื่อให้เกิดเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงที่มาจาก 1 คน 1 เสียง เป็นประชาธิปไตยที่มาจากเบื้องล่าง เป็นประชาธิปไตยที่มีสามัญชนเป็นผู้สร้างรากฐานมันขึ้นมา เราจะยืนหยัดเพื่อพิทักษ์รักษาการเคารพศักดิศรีความเป็นมนุษย์ เราจะยืนหยัดสิทธิมนุษยชน เราจะยืนหยัดให้มีการปกป้องมิให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน เราจะยืนหยัดให้ทุกคนได้มีสิทธิโอกาสที่จะได้รับโอกาสที่เท่าเทียมในสังคมไทย เราจะยืนหยัดเพื่อให้ประเทศไทยเป็นสังคมที่มีความเป็นธรรม ความเท่าเทียม ความเจริญก้าวหน้าใดๆ จะต้องยืนหยัดอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรมและเท่าเทียม ไม่ว่าเผ่าพันธุ์ใด อัตลักษณ์แบบใด ความคิดความเชื่อแบบใด แม้แต่คนรุ่นต่อไป และความเป็นธรรมต่อทางนิเวศน์ เราจะยืนหยัดด้วย 3 หลักการนี้ภายใต้หลักการสันติวิธี" กิตติชัย กล่าว

ขณะที่ เลิศศักดิ์ กล่าวว่า จากนี้ไปจะรวบรวมรายชื่อพร้อมทั้งบันทึกผลการประชุมเพื่อจดจัดตั้งพรรคกับ คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ตามกระบวนการกฎหมาย เพื่อเตรียมเข้าสู่ฤดูการเลือกตั้งที่ถูกทำให้หายไปมานาน นับจากนี้จะเดินหน้าทำคาราวานสามัญชนกับพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศเพื่อให้พื้นที่ต่างๆ ได้สะท้อนเสียงถึงความต้องการและความความปรารถนาของเขาเหล่านั้นเพื่อผลักดันให้เป็นนโยบายให้ได้

"เราจะร่วมกันปลดอาวุธ คสช. ด้วยมือเปล่า" เลิศศักดิ์ กล่าว พร้อมอธิบายด้วยว่า จะขับเคลื่อนเพื่อยกเลิกคำสั่ง คสช. หลายๆ ฉบับที่ริดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพื่อทำให้ คสช. กลับไปอยู่ในที่ตั้งที่สมควรอยู่และไม่เป็นอุปสรรคต่อการเลือกตั้งของประชาชนอีกต่อไป เป็นภารกิจที่จะทำในช่วงเวลาอันใกล้นี้

ทหารเข้าเตือนและสังเกตการณ์ตั้งแต่เช้า

ผู้สื่อข่าวประชาไท รายงานว่า เวลาประมาณ 08.20 น. พ.ต.อุไร เปอร์ดี พร้อมด้วยนายทหารอีก 2 นาย ได้เข้ามาสังเกตการณ์ การประชุมจดจัดตั้งพรรคสามัญชน ที่วัดโนนสว่าง ซึ่งทางสามัญชนได้แจ้งต่อ กกต. ตามระเบียบแล้ว และวันนี้ได้มีตัวแทน กกต. เข้าสังเกตการณ์ประชุมด้วย

พ.ต.อุไร กล่าวกับ ปธานิน กล่อมเอี้ยง กองเลขาธิการชั่วคราวสามัญชน ว่า วันนี้เข้ามาเพียงสังเกตการณ์การประชุมฯ ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา พร้อมเตือนด้วยว่าอย่าพูดอะไรที่หมิ่นเหม่ต่อระเบียบของ กกต. เพื่อจะไม่ได้เป็นปัญหาต่อการจดจัดตั้งพรรค และหวังว่า การประชุมในวันนี้จะผ่านไปด้วยดี

ทั้งนี้ ปกรณ์ อารีกุล โฆษกชั่วคราวสามัญชน ขณะนั้นกล่าวชี้แจงต่อ ผู้เข้าร่วมประชุมจดจัดตั้งพรรคว่า วันนี้จะมีการพิจารณา และรับรองชื่อพรรค ชื่อย่อ เครื่องหมายพรรค พิจารณาและรับรองอุดมการณ์ของพรรค นโยบายของพรรค ข้อบังคับของพรรค

ปกรณ์ กล่าวด้วยว่า จะมีการพิจารณารับรองคณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง เมื่อได้ผลการรับรองทั้งหมดแล้วจะมีการไลฟ์เฟสบุ๊กไลฟ์แถลงข่าวที่เพจสามัญชนในเวลาประมาณ 13.00 น. ต่อไป

ผู้สื่อข่าวประชาไท รายงานด้วยว่า ผู้เข้าร่วมประชุมฯ ในวันนี้มีทั้งกลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มดาวดิน นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่มโกงกาง มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มนักกิจกรรมภาคเหนือ กลุ่มเพื่อนนักกิจกรรม นอกจากนี้ยังมีนักพัฒนาเอกชนหลากหลายประเด็นอาทิ ประเด็นเหมืองแร่ทองคำ หิน โปแตช ปิโตรเลียมภาคอีสาน สิทธิชุมชน สิทธิมนุษยชน ความหลากหลายทางเพศ เป็นต้น รวมทั้งมีชาวบ้านจากพื้นที่ผลกระทบจากเหมืองแร่ทองคำ จ.เลย กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด พื้นที่ผลกระทบจากการจุดเจาะปิโตรเลียมขอนแก่น กลุ่มอนุรักษ์บ้านนามูล-ดูนสาด พื้นที่ผลกระทบจากโรงงานแป้งมัน กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโคกหินขาวอำเภอน้ำพอง จ.ขอนแก่น กลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำอูน กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดวานรนิวาส เครือข่ายสิทธิชุชนเขาคูหา จ.ชุมพร


'พรรคสามัญชน' ชู ‘ประชาธิปไตยฐานราก-สิทธิมนุษยชน-ความเป็นธรรม’ หวังแก้รธน.จนถึงร่างใหม่, 4 มี.ค. 2561

พรรคสามัญชนคือใคร และทำไมต้องไปจัดประชุมใหญ่ที่ ‘บ้านนาหนองบง’ จ.เลย, 17 ก.ย. 2561
ภาพบรรยากาศช่วงเช้า :


พ.ต.อุไร เปอร์ดี พร้อมนายทหารอีก 2 นาย เข้าสังเกตการณ์การประชุมจดจัดตั้งพรรคสามัญชน


พ.ต.อุไร เปอร์ดีเข้าพูดคุยกับ ปธานิน กล่อมเอี้ยง กองเลขาธิการชั่วคราวสามัญชน ขออย่าพูดอะไรที่หมิ่นเหม่ต่อระเบียบ กกต.


เวทีแถลงข่าวพรรคสามัญชน ใช้ผ้าขาวม้าตกแต่งโต๊ะประชุม


นิติกร ค้ำชู สมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งพรรคสามัญชน กำลังยืนคุยกับ สมัย ภักดิ์มี ประธานสภา อบต. เขาหลวง


"หมุน" ศิลปินภาพวาด และช่างสักจากเชียงใหม่ เข้าร่วมประชุมจดจัดตั้งพรรคสามัญชน และกำลังวาดภาพกำปั้นที่ชูตราชั่งตั้งตรงขึ้น


ทีมทะเบียนพรรคสามัญชน


บรรยากาศช่วงลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม


เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคสามัญชน ว่าที่หัวหน้าพรรค และกิติมา ขุนทอง อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร นั่งรอประชุมตั้งแต่ช่วงเช้า


สัญลักษณ์ที่มอบให้ผู้เข้าร่วมประชุมจดจัดตั้งในฐานะสมาชิกพรรค เป็นตราประทับน้ำหมึกสีแดงพิมพ์ลงบนภาพดิบ และตัดด้วยเข็มกลัดอีกทีหนึ่ง


ศิริพร ฉายเพชร เจ้าหน้าที่มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม พูดคุยกับแม่รส ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิที่ได้รับการยกย่องโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ


ทนายประเวศ ประภานุกูล ร่วมสังเกตการณ์ประชุม


ด้านหน้าที่ประชุมจดจัดตั้งพรรคสามัญชน


ปรกรณ์ อารีกุล โฆษกชั่วคราวสามัญชน กล่าวชี้แจงกำหนดการของการประชุมจดจัดตั้งพรรคสามัญชน

ทั้งนี้ประเด็นที่น่าสนใจคือพื้นที่การจัดประชุมที่หลายพรรคมักใช้พื้นที่ศูนย์กลางอย่างกรุงเทพฯ หรือโรงแรมในการประชุมจัดตั้ง แต่พรรคนี้เลือก วัดโน่นสว่าง หมู่บ้านนาหนองบง อ.วังสะพุง จ.เลย นั้น เลิศศักดิ์ เคยเปิดเผยเปิดกับประชาไทว่า เหตุที่เลือกสถานที่ประชุมพรรคที่หมู่บ้านนาหนองบงนั้น เพราะเป็นหนึ่งในพื้นที่ซึ่งเป็นสัญลักษณ์การต่อสู้ของสามัญชน เป็นพื้นที่ซึ่งชาวบ้านคนธรรมดา ลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในการกำหนดอนาคต และชีวิตของตัวเอง ในกรณีผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ทองคำ และเชื่อว่าการใช้พื้นที่ดังกล่าวจะสะท้อนให้เห็นในสิ่งที่สมาชิกพรรคยึดถือร่วมกันคือ ประชาธิปไตยฐานราก

[full-post]

นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ว่าที่หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ (แฟ้มภาพ)

Posted: 22 Sep 2018 02:34 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Sat, 2018-09-22 16:34


พรรคอนาคตใหม่ ยืนยันพร้อมรับสมัครสมาชิกพรรค เตรียมจัดคาราวานเดินทางไปสาขาพรรค 5-7 ต.ค. 2561 นี้ ด้าน 'ธนาธร' ย้ำการทำงานของพรรคอนาคตใหม่ยึดอุดมการณ์ประชาธิปไตยก้าวหน้า 'เพื่อไทย' โวย กกต.รับจดทะเบียนพรรค 'เพื่อนไทย' หวั่นสับสน ชื่อ-โลโก้ คล้ายกัน 'สุรบถ หลีกภัย' ยืนยันว่าจะไปสมัครสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ทันทีที่พรรคเปิดรับสมัครสมาชิก

22 ก.ย. 2561 นายปิยบุตร แสงกนกกุล ว่าที่เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ยืนยันว่าพรรคอนาคตใหม่มีความพร้อมในการรับสมัครสมาชิกพรรคทุกช่องทาง ทั้งการสมัครทางออนไลน์ การเดินเข้ามาสมัครได้ที่สาขาพรรคทั่วประเทศ พร้อมจะจัดคาราวานเดินทางไปใน 6 สาขาใหญ่ของพรรค ในวันที่ 5-7 ต.ค. นี้ เพื่อแวะรับสมัครสมาชิกพรรคตลอดเส้นทาง

นายปิยบุตร กล่าวอีกว่า สำหรับคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 13/2561 ไม่ได้เป็นคุณต่อพรรคการเมืองใดๆ และเป็นการสร้างโซ่ตรวนอันใหม่มาล็อกเพิ่ม อีกทั้งจำกัดพื้นที่มากกว่าเดิม โดยเฉพาะประเด็นการห้ามหาเสียงทางออนไลน์ ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งที่จะสร้างความเสมอภาคเท่าเทียมกันในทุกพรรคการเมือง สามารถทำได้ เพราะเป็นวิธีที่ทำง่ายที่สุด ต้นทุนต่ำที่สุด และสามารถเข้าถึงคนได้กว้างไกลที่สุดในปริมาณมากที่สุดด้วย ที่สำคัญยังก่อให้เกิดความสงบแก่บ้านเมือง ไม่ต้องมีการออกไปรวมตัวชุมนุมกันตามที่ต่างๆ

“กฎหมายนี้ จึงเป็นเหมือนกฎหมายที่ไม่สมประกอบ เพราะมองไม่เห็นวัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้เลยว่าจะจำกัดสิทธิเสรีภาพการหาเสียงออนไลน์ไปเพื่ออะไร การที่เราจะมุ่งไปสู่การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องยกเลิกประกาศคำสั่งทั้งหมดที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้เสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง แต่กฎกติกาต่างๆ ดูเหมือนยุ่งยากซับซ้อน ลิดรอนสิทธิ และขาดความเป็นธรรมต่อพรรคการเมือง อย่างไรก็ตาม พรรคอนาคตใหม่พร้อมลั่นกลองรบในการสู้ศึกเลือกตั้งในครั้งนี้” นายปิยบุตร กล่าว

ด้านนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ว่าที่หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ และ น.ส.พรรณิการ์ วานิช ว่าที่โฆษกพรรค ได้พบกับนายคริส ลาแลนด์ ตัวแทนจากพรรคลิเบอรัล ของนายจัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา และนายรอน แมคคินนอน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแคนาดา พรรคลิเบอรัล และกรรมาธิการรัฐสภาด้านยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองต่อประชาธิปไตยในไทยและการทำพรรคการเมืองฝ่ายก้าวหน้าในไทย ในระหว่างการเดินทางไปโชว์วิสัยทัศน์ที่สหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา ว่าการทำงานของพรรคอนาคตใหม่ยึดอุดมการณ์ประชาธิปไตยก้าวหน้าเป็นหลัก หวังสร้างความเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงในสังคม ไม่ใช่เพียงเพื่อชนะการเลือกตั้งเท่านั้น พรรคอนาคตใหม่จึงให้ความสำคัญกับการสร้างพรรคให้เป็นสถาบัน ไม่มีนายทุนผูกขาด ไม่มีใครคนใดคนหนึ่งเป็นเจ้าของพรรค แต่ให้สมาชิกมีส่วนร่วมมากที่สุด ระดมทุนจากประชาชนทั่วไปให้ได้มากที่สุด เพื่อให้พรรคอนาคตใหม่เป็นพรรคของมวลชนอย่างแท้จริง ทั้งนี้พรรคอนาคตใหม่ต้องการใช้เงินในการหาเสียงน้อยที่สุด และใช้อย่างประหยัด แต่มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างวัฒนธรรมการเมืองแบบใหม่ในประเทศไทย ไม่ต้องใช้เงินหาเสียงนับพันล้าน ซึ่งมักตามมาด้วยการเข้ามาถอนทุนคืนเมื่อได้เป็นรัฐบาล

ขณะที่นายแมคคินนอน กล่าวถึงความพยายามในการปฏิรูประบบเลือกตั้งในแคนาดาให้สะท้อนความต้องการของประชาชนมากขึ้น และแสดงความกังวลต่อระบบการเลือกตั้งในไทยที่อาจไม่สะท้อนความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

ส่วนนายลาแลนด์ กล่าวว่าการสร้างพรรคฝ่ายก้าวหน้าที่เข้มแข็งและประชาชนมีส่วนร่วม เป็นสิ่งสำคัญสำหรับประชาธิปไตยในทุกประเทศ รวมถึงในไทย สำหรับการหาเสียงเลือกตั้งในแคนาดานั้นใช้เงินน้อยมาก เพราะการหาเสียงส่วนใหญ่ใช้อาสาสมัคร เดินเคาะประตูตามบ้านเพื่อชี้แจงนโยบายของพรรคและจุดยืนต่างๆ ให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งได้รับรู้
'เพื่อไทย' โวย กกต.รับจดทะเบียนพรรค 'เพื่อนไทย' หวั่นสับสน ชื่อ-โลโก้ คล้ายกัน

ด้าน มติชนออนไลน์ รายงานว่านายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการเลขาธิการพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า ทราบข่าวจากสื่อมวลชนว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้จดทะเบียนพรรคการเมืองใหม่พรรคหนึ่ง โดยจดทะเบียนชื่อพรรคว่า ”พรรคเพื่อนไทย” โดยไม่ทราบว่า กกต รับจดทะเบียนชื่อพรรคนี้ได้อย่างไร

เพราะเห็นได้ชัดว่าพรรคนี้ ตั้งใจใช้คำคล้ายกับพรรคเพื่อไทย เพื่อให้ประชาชนสำคัญผิด คิดว่าเป็นพรรคเดียวกับพรรคเพื่อไทย จนลงคะแนนให้ อีกทั้งโลโก้พรรคก็คล้ายกัน ต่างกันแค่คนละสีเท่านั้น เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ในสัปดาห์หน้า ตนจะให้ฝ่ายกฎหมายของพรรค ทำหนังสือร้องเรียนไปยัง กกต.เพื่อสอบถามรายละเอียดเรื่องนี้

นายวัฒนา เมืองสุข แกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การที่ กกต.รับจดทะเบียนพรรคเพื่อนไทย มีเหตุผลอะไร เพราะอาจทำให้ประชาชน มาลงคะแนนให้พรรคเพื่อไทยสับสนได้ ทาง กกต. ต้อง ออกมาชี้แจงให้กระจ่างด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พรรคเพื่อนไทย ได้จดชื่อพรรคตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ต่อ กกต. เป็นลำดับที่ 107/2561 เมื่อวันศุกร์ที่ 8 มิ.ย. 2561 โดยมีนายสิระ พิมพ์กลาง อดีตแกนนำคนเสื้อแดงภาคอีสานเป็นผู้จดจองชื่อพรรค

'สุรบถ หลีกภัย' ยืนยันว่าจะไปสมัครสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ทันทีที่พรรคเปิดรับสมัครสมาชิก

เว็บไซต์ไทยโพสต์ รายงานว่านายสุรบถ หลีกภัย บุตรชายนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ว่า จะไปสมัครสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ทันทีที่พรรคเปิดรับสมัครสมาชิก โดยงานที่จะเข้าไปช่วยขึ้นอยู่กับพรรคเล็งเห็นถึงความสามารถของตนในส่วนไหน

ส่วนจะลงสมัคร ส.ส.ในระบบแบ่งเขต หรือระบบปาร์ตี้ลิสต์นั้น ยังไม่สามารถตอบได้ คงต้องรอคุยกับพรรคก่อนว่าจะให้ลงสมัครส.ส.แบบใด ซึ่งคิดว่าอยู่จุดไหนก็ได้ ที่พรรคเห็นว่าตนมีประสิทธิภาพให้ช่วยในจุดนั้น

ทั้งนี้ เมื่อเข้ามาจะมีทีมที่ถนัดแต่ละด้านเข้ามาทำงานด้วย โดยทีมของตนเป็นลูกหลานของนักการเมืองจากหลายพรรคมาร่วมกัน และรู้ว่าจะเสนออะไร สื่อสารอะไรให้คนรุ่นใหม่เข้าใจโดยการสื่อสารด้วยภาษาที่ง่าย อย่างไรก็ตาม ความถนัดของตนที่จะเข้าไปช่วยพรรคทำงานเป็นเรื่องการสื่อสารกับคนยุคใหม่ๆ วัยรุ่น เพราะเราทำงานด้านนี้มานาน จึงมีความเข้าใจในการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย

นายสุรบถ กล่าวว่า เรื่องสมัครเป็สมาชิกได้คุยกับพ่อแล้ว ซึ่งท่านสนับสนุนดี แต่ได้คุยกันในส่วนว่าจะช่วยทางพรรคและอยากเข้าไปทำอะไรหลายๆอย่าง เพราะรู้สึกว่าน่าจะมาสื่อสารกับคนยุคใหม่ได้ อีกทั้งคิดว่าเป็นยุคที่ต้องคุยกันเยอะๆ อย่างไรก็ตาม การพูดคุยกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ยังไม่ได้คุยอย่างเป็นทางการ เพราะอยากเข้าไปสมัครสมาชิกแบบปกติตามที่เขาประกาศ

"มองว่าหมดยุคที่เราเอาเรื่องเเก่า ความขัดแย้ง ความไม่เข้าใจมาทะเลาะกัน รู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้ควรหมดไปได้แล้ว และคนรุ่นผมไม่มีรูปแบบความขัดแย้งเก่าๆในรูปแบบนั้น เพราะคุยกันได้มาก อย่างผมมีเพื่อนที่อยู่ต่างฝ่ายต่างพรรคกันมากๆ แต่ไม่ใช่นำเรื่องผู้ใหญ่ หรือเรื่องยุคพ่อยุคแม่มาทะเลาะกัน คิดว่าควรหยุดได้แล้ว เพราะคือเรื่องพื้นฐานที่สุด กว่าเราจะก้าวไปสู่อนาคตได้ อย่างน้อยที่สุดต้องหยุดการบาดหมาง เชื่อว่าสังคมมีความแตกต่างทางความคิด ไม่มีใครชอบสีเหมือนกับเรา แต่ต้องไม่แตกแยกทะเลาะกัน ผมรู้สึกว่ายุคพวกผมเราเลือกเข้ามาคุยกันด้วยเหตุผลได้ ผมเชื่อว่าการเมืองในอนาคตจะเหมือนการทำธุรกิจในยุคนี้ คือสามารถร่วมงานกันได้ ที่จะไม่ใช่เรื่องต้องแบ่งฝ่ายชัดเจน เชื่อว่าเรามีเป้าหมายเดียวกัน คือให้ประเทศชาติและประชาชนดีขึ้น สำหรับผมการเมืองจะไม่ใช่การแบ่งแยกเหมือนในอดีต รู้สึกว่าเป็นยุคเก่าและน้ำเน่ามาก ซึ่งไม่มีประโยชน์กับใครเลย เป็นแค่การทะเลาะของคนกลุ่มหนึ่งเล็กๆ ที่บาดหมางเรื่องอะไรไม่ทราบ แต่สุดท้ายทำให้คนกลุ่มมากเกิดความแตกแยก ดังนั้น การเมืองในอนาคตควรจะร่วมมือกันได้ไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน คือมีจุดร่วมกัน หาคนเก่งที่สุดในทุกๆด้าน แล้วไปทำสิ่งนั้นๆให้เหมาะสมที่สุด จึงเชื่ออนาคตการเมืองจะเป็นแบบนั้น" นายสุรบถ กล่าว

เมื่อถามถึงมุมมองบุคคลที่จะมาเป็นหัวหน้าพรรค ซึ่งขณะนี้มีการแข่งขันกันอยู่นั้น นายสุรบถ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ทราบ บอกได้เพียงว่าคนรุ่นตนจะทำอะไรได้บ้าง แต่ไม่ได้แปลว่าคนยุคก่อนทำอะไรไม่ดี ไม่ใช่ แต่เป็นยุคที่บุกเบิกให้สิ่งต่างๆไว้ให้คนรุ่นหลัง เขาอาจทำสิ่งที่ดีและผิดพลาด แต่คือบทเรียนของเรา ต่อให้คนทั่วไปอาจมองคนนั้นดี ไม่ดี อย่างไร เชื่อว่าทุกคนทุกรัฐบาล ผู้ใหญ่ที่ทำงานเพื่อประเทศมีจุดยืนเดียวกัน คืออยากให้ประเทศดีขึ้น จึงอยากให้การเมืองยุคหลังมองอนาคต ไม่เหลียวมองเรื่องเก่าๆ มองไปข้างหน้าด้วยกัน ลดความแตกแยกที่เป็นเบสิคที่สุด เหมือนเรือกลางทะเล ถ้าลูกเรือเอาแต่ทะเลากัน เรือก็ไม่เดินไปไหน

ถามย้ำว่าสนับสนุนนายอภิสิทธิ์เป็นหัวหน้าพรรคต่อหรือไม่ นายสุรบถ ตอบว่า ท่านเป็นคนดีมีความสามารถ และเคารพท่านจากใจจริง

นายสุรบถ กล่าวต่อว่านักการเมืองในอนาคตจะอยู่ในตำแแหน่งคล้ายโปรดิวเซอร์ คือเลือกของดีที่สุดในแต่ละแขนงมาร่วมกัน ไม่ใช่เอาพวกพ้องที่สนิทกัน

ถามว่ากลัวถูกเปรียบเทียบกับพ่อหรือไม่ เพราะนายชวนประสบความสำเร็จทางการเมือง นายสุรบถ ชี้แจงว่า ไม่กลัวถูกเปรียบเทียบ พ่อก็คือพ่อ ตนก็คือตน นับถือที่พ่อเป็นคนดี ซึ่งพ่อได้ปลูกฝังสิ่งต่างๆในใจ ทำให้ตนมีวันนี้ได้ แต่หากถามว่าต้องทำงานการเมืองหรือจุดยืนแบบพ่อหรือไม่ ก็ต้องตอบว่า ไม่ เพราะตนมีสไตล์ของตัวเอง มีสิ่งที่อยากทำและทำในสิ่งที่ถนัด เพราะฉะนั้น จึงต้องเรียกพ่อว่าเป็นคนดีที่ยิ่งใหญ่สำหรับตน และจะอยู่ในทุกๆจุดของการตัดสินใจที่ดีงาม เชื่อว่าการตัดสินใจของพ่อยืนอยู่บนความดีและความถูกต้อง

[full-post]
ขับเคลื่อนโดย Blogger.