การเมืองไทย ในกะลา
สภานิสิตนศ.จุฬาฯ-มธ.-มหิดล ออกแถลงการณ์ป้องม็อบคณะราษฎรไม่ได้หมิ่นสถาบัน
สภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกันออกแถลงการณ์เรื่อง การชุมนุมทางการเมืองในวันที่ 14 ตุลาคม และสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน มีเนื้อหาดังนี้
ตามที่ได้มีการชุมนุมของกลุ่มคณะราษฎร บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย บริเวณทำเนียบรัฐบาลและบริเวณใกล้เคียงในวันที่ 13-15 ตุลาคม ที่ผ่านมา เพื่อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ และสถานการณ์ดังกล่าวยังคงดำเนินมาอยู่จนถึงปัจจุบัน ซึ่งยังไม่มีทีท่าว่าจะคลายความตึงเครียดลงนั้น
พวกเรา ผู้แทนนิสิตนักศึกษาทั้งสามมหาวิทยาลัย ขอแสดงท่าทีต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1.การจับกุมแกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมต่างๆ ในวันที่ 13 และ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา แม้ว่าการดำเนินการจับกุมดังกล่าว จะเป็นไปตามหมายจับที่ศาลได้อนุมัติไว้ก่อนหน้า แต่การดำเนินการเกี่ยวกับการจับกุม รวมถึงการพิจารณาการประกันตัวผู้ต้องหานั้น จะต้องเป็นไปโดยธรรม เปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาที่ไม่มีพฤติการณ์หลบหนีหรือพฤติการณ์อื่น ๆ ตามมาตรา 108/1 ได้มีสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อต่อสู้คดี และต้องให้ผู้ต้องหานั้นมีสิทธิในการติดต่อทนายความได้ พวกเรา ผู้แทนนิสิตนักศึกษาทั้งสามมหาวิทยาลัย จึงขอเรียกร้องไปยังหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ให้ใช้บังคับกฎหมายอย่างเป็นธรรม และไม่ใช้บังคับกฎหมายและดำเนินการจับกุมเพียงเพราะต้องการให้การชุมนุมนั้นยุติลงหรือเพียงเพื่อขัดขวางไม่ให้แกนนำผู้ชุมนุมนั้นได้ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่อไป
อนึ่ง พวกเรา ผู้แทนนิสิตนักศึกษาทั้งสามมหาวิทยาลัยได้รับข่าวสารว่า มีนิสิตนักศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ถูกจับกุมเนื่องในการชุมนุมในวันดังกล่าวด้วย พวกเรา ผู้แทนนิสิตนักศึกษาทั้งสามมหาวิทยาลัย จึงขอเรียกร้องไปยังทางมหาวิทยาลัยประสานงานช่วยเหลือนิสิตดังกล่าวเพื่อให้ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวฯ โดยพวกเราเชื่อว่า “ไม่มีบุคคลใดต้องถูกจับกุมเพียงเพราะเขามีความเห็นต่าง”
2.การสลายการชุมนุมและการขอคืนพื้นที่เมื่อเย็นวันที่ 13 ตุลาคม และคืนวันที่ 14 ตุลาคมที่ผ่านมา การดำเนินการสลายการชุมนุมและขอคืนพื้นที่นั้นจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้มีการร้องขอต่อศาลแพ่งหรือศาลจังหวัดก่อนตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการเข้ารื้อที่ตั้งของผู้ชุมนุมบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม จึงมีปัญหาความชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการสลายการชุมนุมเมื่อคืนวันที่ 14 ตุลาคมนั้น คาดว่าน่าจะเป็นการสลายการชุมนุมโดยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ แต่อย่างไรก็ดี การสลายการชุมนุมนั้นก็คงยังต้องเป็นไปตามหลักสากลและคำนึงถึงการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นสำคัญ และไม่พึงสลายการชุมนุมในช่วงเวลายามวิกาล พวกเรา ผู้แทนนิสิตนักศึกษาทั้งสามมหาวิทยาลัย จึงขอเรียกร้องไปยังผู้บังคับใช้กฎหมาย ให้ใช้บังคับกฎหมายอย่างละมุนละม่อม จากเบาไปหาหนัก เพื่อมิให้เกิดความรุนแรงระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจขึ้น
3.กรณีขบวนเสด็จพระราชดำเนินผ่านมาบริเวณที่กลุ่มผู้ชุมนุมปิดทางจราจรอยู่ กรณีนี้ พวกเรา ผู้แทนนิสิตนักศึกษาทั้งสามมหาวิทยาลัย เห็นว่า การชุมนุมในบริเวณดังกล่าว แม้ส่งผลให้ขบวนเสด็จพระราชดำเนินฯ นั้นต้องชะลอตัวลงอยู่บ้าง แต่ก็มิได้เกิดความรุนแรงหรือการกระทำใดอันอาจถือว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ได้แต่อย่างใด ทั้งนี้ พวกเรา ผู้แทนนิสิตนักศึกษาทั้งสามมหาวิทยาลัย เห็นว่า ไม่ควรมีผู้ใดนำเหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นในวันที่ 14 ตุลาคมที่ผ่านมานี้ ไปบิดเบือนหรือไปใช้ปลุกระดมมวลชนเพื่อให้เกิดความรุนแรงหรือความกระทบกระทั่งระหว่างกัน เพื่อไม่ให้เหตุการณ์ความสูญเสียครั้งประวัติศาสตร์ เช่น เหตุการณ์สังหารหมู่ที่ธรรมศาสตร์เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ต้องเกิดขึ้นอีก และเพื่อไม่ให้เป็นการเปิดทางไปสู่การรัฐประหารในอนาคต
ทั้งนี้ สภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้สันติวิธีและการเจรจาในการแก้ไขปัญหา เคารพสิทธิ เสรีภาพและความเห็นต่างทางการเมือง เพื่อระบอบประชาธิปไตยที่ยั่งยืนต่อไป
ผู้แทนนิสิตนักศึกษาสามมหาวิทยาลัย
พวกเรา ผู้แทนนิสิตนักศึกษาทั้งสามมหาวิทยาลัย ขอแสดงท่าทีต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1.การจับกุมแกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมต่างๆ ในวันที่ 13 และ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา แม้ว่าการดำเนินการจับกุมดังกล่าว จะเป็นไปตามหมายจับที่ศาลได้อนุมัติไว้ก่อนหน้า แต่การดำเนินการเกี่ยวกับการจับกุม รวมถึงการพิจารณาการประกันตัวผู้ต้องหานั้น จะต้องเป็นไปโดยธรรม เปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาที่ไม่มีพฤติการณ์หลบหนีหรือพฤติการณ์อื่น ๆ ตามมาตรา 108/1 ได้มีสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อต่อสู้คดี และต้องให้ผู้ต้องหานั้นมีสิทธิในการติดต่อทนายความได้ พวกเรา ผู้แทนนิสิตนักศึกษาทั้งสามมหาวิทยาลัย จึงขอเรียกร้องไปยังหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ให้ใช้บังคับกฎหมายอย่างเป็นธรรม และไม่ใช้บังคับกฎหมายและดำเนินการจับกุมเพียงเพราะต้องการให้การชุมนุมนั้นยุติลงหรือเพียงเพื่อขัดขวางไม่ให้แกนนำผู้ชุมนุมนั้นได้ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่อไป
อนึ่ง พวกเรา ผู้แทนนิสิตนักศึกษาทั้งสามมหาวิทยาลัยได้รับข่าวสารว่า มีนิสิตนักศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ถูกจับกุมเนื่องในการชุมนุมในวันดังกล่าวด้วย พวกเรา ผู้แทนนิสิตนักศึกษาทั้งสามมหาวิทยาลัย จึงขอเรียกร้องไปยังทางมหาวิทยาลัยประสานงานช่วยเหลือนิสิตดังกล่าวเพื่อให้ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวฯ โดยพวกเราเชื่อว่า “ไม่มีบุคคลใดต้องถูกจับกุมเพียงเพราะเขามีความเห็นต่าง”
2.การสลายการชุมนุมและการขอคืนพื้นที่เมื่อเย็นวันที่ 13 ตุลาคม และคืนวันที่ 14 ตุลาคมที่ผ่านมา การดำเนินการสลายการชุมนุมและขอคืนพื้นที่นั้นจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้มีการร้องขอต่อศาลแพ่งหรือศาลจังหวัดก่อนตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการเข้ารื้อที่ตั้งของผู้ชุมนุมบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม จึงมีปัญหาความชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการสลายการชุมนุมเมื่อคืนวันที่ 14 ตุลาคมนั้น คาดว่าน่าจะเป็นการสลายการชุมนุมโดยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ แต่อย่างไรก็ดี การสลายการชุมนุมนั้นก็คงยังต้องเป็นไปตามหลักสากลและคำนึงถึงการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นสำคัญ และไม่พึงสลายการชุมนุมในช่วงเวลายามวิกาล พวกเรา ผู้แทนนิสิตนักศึกษาทั้งสามมหาวิทยาลัย จึงขอเรียกร้องไปยังผู้บังคับใช้กฎหมาย ให้ใช้บังคับกฎหมายอย่างละมุนละม่อม จากเบาไปหาหนัก เพื่อมิให้เกิดความรุนแรงระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจขึ้น
3.กรณีขบวนเสด็จพระราชดำเนินผ่านมาบริเวณที่กลุ่มผู้ชุมนุมปิดทางจราจรอยู่ กรณีนี้ พวกเรา ผู้แทนนิสิตนักศึกษาทั้งสามมหาวิทยาลัย เห็นว่า การชุมนุมในบริเวณดังกล่าว แม้ส่งผลให้ขบวนเสด็จพระราชดำเนินฯ นั้นต้องชะลอตัวลงอยู่บ้าง แต่ก็มิได้เกิดความรุนแรงหรือการกระทำใดอันอาจถือว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ได้แต่อย่างใด ทั้งนี้ พวกเรา ผู้แทนนิสิตนักศึกษาทั้งสามมหาวิทยาลัย เห็นว่า ไม่ควรมีผู้ใดนำเหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นในวันที่ 14 ตุลาคมที่ผ่านมานี้ ไปบิดเบือนหรือไปใช้ปลุกระดมมวลชนเพื่อให้เกิดความรุนแรงหรือความกระทบกระทั่งระหว่างกัน เพื่อไม่ให้เหตุการณ์ความสูญเสียครั้งประวัติศาสตร์ เช่น เหตุการณ์สังหารหมู่ที่ธรรมศาสตร์เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ต้องเกิดขึ้นอีก และเพื่อไม่ให้เป็นการเปิดทางไปสู่การรัฐประหารในอนาคต
ทั้งนี้ สภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้สันติวิธีและการเจรจาในการแก้ไขปัญหา เคารพสิทธิ เสรีภาพและความเห็นต่างทางการเมือง เพื่อระบอบประชาธิปไตยที่ยั่งยืนต่อไป
ผู้แทนนิสิตนักศึกษาสามมหาวิทยาลัย
แสดงความคิดเห็น