4 ข้อสงสัยที่เป็นเหตุผลว่า "ทำไมคนไทยผู้รักประชาธิปไตย รักความถูกต้องยุติธรรม ต้องไปสถานทูตเยอรมัน"-

.

1. นับตั้งแต่ในหลวงวชิราลงกรณ์ขึ้นครองราชย์

เป็นเวลากว่า 4 ปีแล้วที่ในหลวงวชิราลงกรณ์เลือกที่จะพำนักอาศัยอยู่ที่ประเทศเยอรมนีเป็นส่วนมาก โดยบินกลับมาประเทศไทยบ้างเพียงสองสามเดือนครั้ง?

.

2. เนื่องจากช่วงที่ในหลวงภูมิพลตายจากไป เป็นช่วงเวลาที่ในหลวงวชิราลงกรณ์อาศัยอยู่ที่เยอรมนี (ณ ขณะนี้ก็ยังคงเป็นที่อยู่อาศัยหลักอยู่ บินกลับมาประเทศไทยบ้างเพียงสองสามเดือนครั้ง) ดังนั้นในหลวงวชิราลงกรณ์จะต้องเสียภาษีมรดกให้กับประเทศเยอรมนีหรือไม่ หากจะต้องเสียจะต้องเสียเป็นจำนวนเท่าไร?

.

3. ในหลวงวชิราลงกรณ์ใช้อำนาจอธิปไตยขณะพักอาศัยในเยอรมนี เช่น ลงนามในกฎหมาย ออกคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการ ออกพระบรมราชโองการที่ส่งผลต่อการเมืองหรือไม่ กรณีเหล่านี้เป็นการละเมิดอำนาจอธิปไตยและศักดิ์ศรีของประเทศเยอรมนีอันจะนำมาซึ่งความขัดแย้งในทางระหว่างประเทศหรือไม่?

.

4. ทางประเทศเยอรมนีจะยอมให้ข้าราชบริพารของในหลวงวชิลาลงกรณ์ที่อาจจะมีพฤติการณ์เข้าข่ายการซ้อมทรมาน อุ้มหาย ประชาชนผู้เห็นต่างทางการเมือง รวมถึงข้าราชบริพาร ได้พักอาศัยอยู่ในประเทศเยอรมันนีที่เคารพในสิทธิเสรีภาพของมนุษย์อย่างยิ่งต่อไปหรือไม่

.



Voice TV

"ตาและหัวใจสว่าง"
"อดีตมีแต่คนกลัว ตอนนี้มีแต่คนกล้า"

.
ที่แยกราชประสงค์ เขตปทุมวัน การชุมนุมของคณะราษฎร บัณฑิต อาร์ณีญาญ์ วัย 80 ปี ผู้ถูกดำเนินคดีผิดกฎหมายอาญา มาตรา 112 จำนวน 4 คดี ร่วมชุมนุมแยกราชประสงค์วันนี้ กล่าวว่า ตอนนี้ประชาชนตื่นแล้ว "ตาและหัวใจสว่าง" กว่าในอดีต เชื่อว่าไม่นาน เผด็จการจะพินาศ ประชาราษฎร์จงเจริญ
.
ชายคนนี้ถูกดำเนินคดี มาตรา 112 ครั้งเเรกเมื่อปี 2518 เล่าว่า เห็นการเติบโตทางความคิดของประชาชนเรื่อยมาตลอด จากอดีตที่มีแต่คนกลัว ผิดกับปัจจุบันมีแต่คนกล้า
.
"สมัยก่อนใครกล้า เขาหาว่าบ้า เจ้าหน้าที่บอกว่าผมเป็นบ้าถึงสองคดีก่อนจะยกฟ้อง แต่คนอื่นบอกว่าผมมาก่อนกาล" เขาบอก จำเป็นต้องมีคนเกิดก่อนกาล "ไม่อย่างนั้นไม่ได้เกิดซะที"
.
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ครั้งที่ 3 ของบัณทิตถูกยกฟ้อง ขณะที่คดีที่ 4 อยู่ระหว่างพิจารณาของศาล ซึ่งจะมีความคืบหน้าในเดือน พ.ย.นี้
.
ชายวัย 80 ปี แสดงความคิดเห็นต่อการไล่จับแกนนำและผู้ชุมนุมของภาครัฐว่า "โง่มาก" เป็นการตัดสินใจที่ผิดของคนหวงอำนาจ ทางออกที่ถูกต้องคือยอมรับปัญหา รับฟังข้อเสนอ เจรจาอย่างสันติ เพื่อนำประเทศชาติไปข้างหน้าอย่างมีอนาคต
.
"เสียเวลามาก ชนะประชาชนแบบนี้ คุณอยู่ได้ไม่นาน"
.
บัณฑิตบอกว่าวันนี้เขามาร่วมชุมนุมและขายสินค้า ที่เผยเเพร่ข้อความที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นคน
.
"รวยเมื่อไหร่ ผมจะเอาข้อความเหล่านี้ไปประกาศให้ทั่วเสาไฟฟ้าทุกต้นเลย" เขาบอก
เสกสรร โรจนเมธากุล
#VoiceOnline
#ม็อบ25ตุลา
#แยกราชประสงค์
#WhatsHappenningInThailand



Voice TV - Talking Thailand

ยืนยันจะต่อสู้กับเผด็จการที่คอยกดทับ ยืนยันพวกเราไม่ได้ชังชาติและมั่นใจว่าเราปรารถนาดีต่อชาติ

23 ต.ค.63 นางสาวภัสสราวารี ธนกิจวิบูลย์ผล หรือ มายด์ มหานคร ย้ำว่าเพื่อนเราที่เข้าไปเป็นนักสู้ และยืนยันจะต่อสู้กับเผด็จการที่คอยกดทับเราดังนั้นจึงไม่ควรมีใครที่ถูกกระทำเช่นนี้ ไม่ควรมีใครถูกกระทำเยี่ยงอาชญากรเพียงเพราะแค่นิยามคำว่ารักชาติต่างกัน ยืนยันพวกเราไม่ได้ชังชาติไปน้อยกว่าใคร และมั่นใจว่าเราปรารถนาดีต่อชาติไม่แพ้กับพวกที่อยู่ในสภา

หากผู้มีอำนาจรู้ว่าสิ่งที่ทำอยู่มันผิดให้เร่งปล่อยตัวเพื่อนของเรา เราทุกคนมารอรับเพื่อนเราอยู่ที่นี่ หากรัฐบาลปล่อยตัวเพื่อนเราทุกคนจะถือเป็นการ ถอยคนละก้าวด้วยความจริงใจ
เรามีความหวังว่าทุกคนจะได้อิสรภาพกลับคืนมาตามที่ควรจะได้ หลายคนมีหน้าที่ทางการศึกษา แต่เพื่อนเรากลับถูกจำกัดอิสรภาพ เพราะไม่ต้องการให้เพื่อนเราออกมาสอบ พร้อมย้ำว่าการถอยที่เราจะยอมรับได้ในขั้นแรกคือรัฐบาลต้องปล่อยตัวนักสู้เพื่อประชาธิปไตยทุกคนให้อิสรภาพทุกคน อย่าปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของพวกเรา และหลังจากนี้ต้องไม่มีประชาชนคนใดถูกดำเนินคดีทางการเมืองอีก

พร้อมยืนยันว่าหน้าที่ในการวิพากษ์วิจารณ์ผู้มีอำนาจ คือหน้าที่ของทุกคนภายใต้ระบอบประชาธิปไตย รวมถึงการตรวจสอบและ วิพากษ์ วิจารณ์คือการทำหน้าที่ของประชาชนไทย
โดยระบุด้วยว่าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่มีศักยภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนั้นพลเอกประยุทธ์ จึงต้องยอมถอยและลาออก

ขณะเดียวกันย้ำว่าการปฏิรูปสถาบันไม่ใช่การล้มล้าง แต่การปฏิรูปจะเป็นทางออกในการแก้ไขปัญหาลดความขัดแย้งในสังคมไทย และสถาบันจะกลับมาอยู่ในจุดที่เป็นมิ่งขวัญอย่างที่ควรจะเป็น "แปลว่าทำให้ดีขึ้นไม่ใช่ล้มล้างจำเอาไว้"



Chaturon Chaisang

รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร มีผู้นำเป็นอดีต ผบ.ทบ. ที่เอาเรื่องความตายมาข่มขู่นักเรียนนักศึกษาได้อย่างหน้าตาเฉย การใช้ความรุนแรงต่อนักเรียนนักศึกษาประชาชนจึงเกิดขึ้นเพื่อรักษาอำนาจของพวกตนโดยไม่มีความละอายใดๆ
ขอประณามการใช้กฎหมายอย่างไม่เป็นธรรมและการใช้ความรุนแรงของรัฐในครั้งนี้
รัฐบาลที่บังคับใช้กฎหมายโดยปราศจากหลักนิติธรรม ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินโดยไร้เหตุผล จับนักศึกษาประชาชนไปขังตามอำเภอใจ ลิดรอนเสรีภาพสื่อและประชาชน กระทั่งใช้ความรุนแรงปราบประชาชน ย่อมจะปกครองไม่ได้ แม้รักษาอำนาจไว้ได้ก็เพียงชั่วคราวเท่านั้น
#หยุดทำร้ายประชาชน
#หยุดคุกคามประชาชน
ขอบคุณภาพจากข่าวสด



Voice TV

ม็อบแสดงพลังชุมนุม เจอกัน 5 โมงเย็น 16 ต.ค.

มวลชนร่วมชุมนุมเป็นจำนวนมากจนถึงช่วงท้ายสุดท้ายก่อนปิดเวทีแยกราชประสงค์เพื่อยุติการชุมนุมของคณะราษฎร 2563 เมื่อเวลา 22.00 น. วันที่ 15 ต.ค. 2563 โดยคณะราษฎร 2563 นัดหมายชุมนุมอีกครั้งในวันที่ 16 ต.ค. 2563 เวลา 17.00 น. ที่แยกราชประสงค์ ขณะเดียวกันยังมีการโพสต์เฟซบุ๊กระบุุว่าหากมีการรัฐประหารหรือมีรัฐบาลแห่งชาติ ก็จะออกมาต่อต้านจนถึงที่สุด
โดยแกนนำคณะราษฎรได้วางยุทธศาสตร์การต่อสู้ให้ชุมนุมไปเรื่อยๆ แต่ไม่ปักหลักยืดเยื้อ ซึ่งเป็นยุทธวิธีดาวกระจายหรือ 'ฮ่องกงโมเดล'
ในขณะที่ท่าทีของทางตำรวจที่แถลงเมื่อเวลา 22.30 น. ยืนยันจะไม่จู่โจมหรือจับกุมแกนนำม็อบในทันที แต่จะให้วิธีการดำเนินคดีกับแกนนำทุกรายตามกฎหมาย
อ่านต่อ https://www.voicetv.co.th/read/158OxcuU4
เสกสรร โรจนเมธากุล




การเมืองไทย ในกะลา

สภานิสิตนศ.จุฬาฯ-มธ.-มหิดล ออกแถลงการณ์ป้องม็อบคณะราษฎรไม่ได้หมิ่นสถาบัน
สภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกันออกแถลงการณ์เรื่อง การชุมนุมทางการเมืองในวันที่ 14 ตุลาคม และสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน มีเนื้อหาดังนี้


ตามที่ได้มีการชุมนุมของกลุ่มคณะราษฎร บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย บริเวณทำเนียบรัฐบาลและบริเวณใกล้เคียงในวันที่ 13-15 ตุลาคม ที่ผ่านมา เพื่อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ และสถานการณ์ดังกล่าวยังคงดำเนินมาอยู่จนถึงปัจจุบัน ซึ่งยังไม่มีทีท่าว่าจะคลายความตึงเครียดลงนั้น
พวกเรา ผู้แทนนิสิตนักศึกษาทั้งสามมหาวิทยาลัย ขอแสดงท่าทีต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1.การจับกุมแกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมต่างๆ ในวันที่ 13 และ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา แม้ว่าการดำเนินการจับกุมดังกล่าว จะเป็นไปตามหมายจับที่ศาลได้อนุมัติไว้ก่อนหน้า แต่การดำเนินการเกี่ยวกับการจับกุม รวมถึงการพิจารณาการประกันตัวผู้ต้องหานั้น จะต้องเป็นไปโดยธรรม เปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาที่ไม่มีพฤติการณ์หลบหนีหรือพฤติการณ์อื่น ๆ ตามมาตรา 108/1 ได้มีสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อต่อสู้คดี และต้องให้ผู้ต้องหานั้นมีสิทธิในการติดต่อทนายความได้ พวกเรา ผู้แทนนิสิตนักศึกษาทั้งสามมหาวิทยาลัย จึงขอเรียกร้องไปยังหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ให้ใช้บังคับกฎหมายอย่างเป็นธรรม และไม่ใช้บังคับกฎหมายและดำเนินการจับกุมเพียงเพราะต้องการให้การชุมนุมนั้นยุติลงหรือเพียงเพื่อขัดขวางไม่ให้แกนนำผู้ชุมนุมนั้นได้ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่อไป
อนึ่ง พวกเรา ผู้แทนนิสิตนักศึกษาทั้งสามมหาวิทยาลัยได้รับข่าวสารว่า มีนิสิตนักศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ถูกจับกุมเนื่องในการชุมนุมในวันดังกล่าวด้วย พวกเรา ผู้แทนนิสิตนักศึกษาทั้งสามมหาวิทยาลัย จึงขอเรียกร้องไปยังทางมหาวิทยาลัยประสานงานช่วยเหลือนิสิตดังกล่าวเพื่อให้ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวฯ โดยพวกเราเชื่อว่า “ไม่มีบุคคลใดต้องถูกจับกุมเพียงเพราะเขามีความเห็นต่าง”
2.การสลายการชุมนุมและการขอคืนพื้นที่เมื่อเย็นวันที่ 13 ตุลาคม และคืนวันที่ 14 ตุลาคมที่ผ่านมา การดำเนินการสลายการชุมนุมและขอคืนพื้นที่นั้นจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้มีการร้องขอต่อศาลแพ่งหรือศาลจังหวัดก่อนตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการเข้ารื้อที่ตั้งของผู้ชุมนุมบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม จึงมีปัญหาความชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการสลายการชุมนุมเมื่อคืนวันที่ 14 ตุลาคมนั้น คาดว่าน่าจะเป็นการสลายการชุมนุมโดยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ แต่อย่างไรก็ดี การสลายการชุมนุมนั้นก็คงยังต้องเป็นไปตามหลักสากลและคำนึงถึงการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นสำคัญ และไม่พึงสลายการชุมนุมในช่วงเวลายามวิกาล พวกเรา ผู้แทนนิสิตนักศึกษาทั้งสามมหาวิทยาลัย จึงขอเรียกร้องไปยังผู้บังคับใช้กฎหมาย ให้ใช้บังคับกฎหมายอย่างละมุนละม่อม จากเบาไปหาหนัก เพื่อมิให้เกิดความรุนแรงระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจขึ้น
3.กรณีขบวนเสด็จพระราชดำเนินผ่านมาบริเวณที่กลุ่มผู้ชุมนุมปิดทางจราจรอยู่ กรณีนี้ พวกเรา ผู้แทนนิสิตนักศึกษาทั้งสามมหาวิทยาลัย เห็นว่า การชุมนุมในบริเวณดังกล่าว แม้ส่งผลให้ขบวนเสด็จพระราชดำเนินฯ นั้นต้องชะลอตัวลงอยู่บ้าง แต่ก็มิได้เกิดความรุนแรงหรือการกระทำใดอันอาจถือว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ได้แต่อย่างใด ทั้งนี้ พวกเรา ผู้แทนนิสิตนักศึกษาทั้งสามมหาวิทยาลัย เห็นว่า ไม่ควรมีผู้ใดนำเหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นในวันที่ 14 ตุลาคมที่ผ่านมานี้ ไปบิดเบือนหรือไปใช้ปลุกระดมมวลชนเพื่อให้เกิดความรุนแรงหรือความกระทบกระทั่งระหว่างกัน เพื่อไม่ให้เหตุการณ์ความสูญเสียครั้งประวัติศาสตร์ เช่น เหตุการณ์สังหารหมู่ที่ธรรมศาสตร์เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ต้องเกิดขึ้นอีก และเพื่อไม่ให้เป็นการเปิดทางไปสู่การรัฐประหารในอนาคต
ทั้งนี้ สภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้สันติวิธีและการเจรจาในการแก้ไขปัญหา เคารพสิทธิ เสรีภาพและความเห็นต่างทางการเมือง เพื่อระบอบประชาธิปไตยที่ยั่งยืนต่อไป
ผู้แทนนิสิตนักศึกษาสามมหาวิทยาลัย




Chaturon Chaisang

การใช้กำลังจับนักศึกษาและควบคุมตัวไปอย่างที่ตำรวจทำในวันนี้ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นไปตามเจตนาและตัวบทกฎหมายของพรบ.การชุมนุมฯ

การชุมนุมโดยไม่แจ้งให้ตำรวจทราบก่อนในพื้นที่ที่ไม่ใช่พื้นที่ต้องห้าม หากเป็นความผิดก็มีโทษสถานเบาคือโทษปรับเท่านั้น

แม้มีการชุมนุมในพื้นที่ต้องห้าม ตำรวจก็ยังต้องไปชี้แจงเจรจาก่อน และจะให้ยุติการชุมนุมก็ต้องร้องขอให้ศาลสั่ง เว้นแต่มีเหตุจำเป็นซึ่งหน้าเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการหรือสาธารณชน

การที่ตำรวจใช้กำลังจับนักศึกษาโดยไม่แจ้งสิทธิ์ ไม่แจ้งข้อหาครั้งนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นผลดีต่อการดูแลป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งหรือการกระทบกระทั่งจนอาจบานปลายไปได้

ไม่ทราบว่าผู้มีหน้าที่รับผิดชอบทั้งหลายต้องการอะไรและคำนึงหรือไม่ว่าจะมีผลอย่างไร









iLaw
YoetsrhterdaSayoitdopsSnofns ogaSdtrl 2:3u5ti PrhMed ·

สาวตรี สุขศรี: แก้กฎหมายละเมิดอำนาจศาล กำหนดบทลงโทษผู้พิพากษา และสร้างกลไกตรวจสอบอิสระจากภายนอกคือสามเรื่องเร่งด่วนของการปฏิรูประบบยุติธรรมไทย

.
สาวตรีระบุว่า หน้าที่หลักๆของศาลคือการค้นหาความจริง ตัดสินข้อพิพาท รวมทั้งกำหนดบทลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด การที่ศาลสามารถให้คุณให้โทษรวมถึงสามารถสั่งจำกัดสิทธิเสรีภาพของคนได้ย่อมจะทำให้มีผู้ที่เสียประโยชน์จากการทำหน้าที่ของศาลจึงต้องการกลไกเรื่องเครื่องมือพิเศษที่จะใช้เพื่อคุ้มครองให้ศาลสามารถเอานวยความยุติธรรมไปตามข้อเท็จจริงของพยานหลักฐานโดยปราศจากการแทรกแซง
.
กฎหมายละเมิดอำนาจศาลเป็นกฎหมายที่ใช้กันในหลายประเทศรวมทั้งประเทศประชาธิปไตย ประเทศอย่างอังกฤษซึ่งใช้ common law หรือกฎหมายจารีต จะให้ความคุ้มครองผู้พิพากษาในกฎหมายละเมิดอำนาจศาลอย่างกว้างขวางโดยหมายรวมถึงการคุ้มครองเกียรติของผู้พิพากษา ขณะที่ในสหรัฐอเมริกาซึ่งใช้ระบบ common law เหมือนกันจะมีขอบเขตกฎหมายละเมิดอำนาจศาลที่แคบกว่าคือมุ่งเน้นคุ้มครองความสงบภายในศาลและห้องพิจารณาเท่านั้น แต่การวิพากษ์วิจารณ์ศาลเป็นเรื่องที่สาธารณชนสามารถทำได้ เพราะ Free Speech หรือเสรีภาพในการพูดถือเป็นคุณค่าที่สหรัฐให้ความสำคัญอันดับต้นๆในฐานะบทบัญญัติเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ 1
.
สำหรับประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายแบบลายลักษณ์อักษรหรือ civil law กำหนดกรอบความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลไว้แค่การรักษาความเรียบร้อยระหว่างการพิจารณาคดีเท่านั้น หากการกระทำเป็นความผิดอื่น เช่น คู่ความหมิ่นประมาทผู้พิพากษา หากจะดำเนินคดีผู้พิพากษาต้องไปฟ้องคดีตามปกติ แต่ไม่ใช่การละเมิดอำนาจศาล นอกจากนั้นโทษของความผิดนี้ก็เป็นแค่เชิญออกนอกห้องพิจารณาคดีหรือหากไม่เชื่อฟังก็จะเป็นโทษกักขังแต่ไม่ใช่โทษจำคุก และระยะเวลาของการละเมิดข้อกำหนดศาลก็ไม่เกิน 1 สัปดาห์ เท่านั้น
.
ที่สำคัญความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลก็เป็นความผิดที่มีการประกันหลัก due process หรือการได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมรับรองไว้ด้วย เช่นการมีทนายความหรือต้องใช้องค์คณะอื่นที่ไม่ใช่องค์คณะที่มีข้อพิพาทเรื่องการละเมิดอำนาจศาลเป็นผู้พิจารณา ซึ่งต่างจากกรณีของไทยที่ การไต่สวนและการมีทนายความไม่ได้เป็นการบัญญัติไว้ในตัวบทกฎหมายแต่เป็นดุลพินิจหรือความเมตตาของศาลในแต่ละองค์คณะ
.
ในกรณีของไทยกฎหมายละเมิดอำนาจศาลที่มีครั้งแรกย้อนไปถึงสมัยกฎหมายตราสามดวงที่พูดด้วยภาษาปัจจุบันสรุปได้ว่า หากคู่ความโต้เถียงกัน ให้ศาลห้ามปราม หากผู้ใดไม่ฟังให้เสมียนศาลนำไปจำขื่อไว้จนค่ำ ซึ่งจะเห็นได้ว่ากฎหมายเพียงแต่มุ่งคุ้มครองกระบวนการพิจารณาคดี มากระทั่งในร.ศ. 127 ที่มีการใช้กฎหมายลักษณะวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายไทยถูกตราโดยได้รับอิทธิพลจากกฎหมายอังกฤษ จึงมีการขยายความกฎหมายละเมิดอำนาจศาลให้กว้างจนกระทั่งต่อมาถึงในปัจจุบันที่เป็นความผิดตามประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง อย่างไรก็ตามสาวตรีก็เห็นว่าถ้าจะมีกฎหมายละเมิดอำนาจศาลในระบบกฎหมายไทยที่ยังพอทันสมัยอยู่บ้างก็คงเป็นในส่วนของศาลปกครองที่กำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรว่า องค์คณะที่จะทำหน้าที่พิจารณาจะต้องไม่ใช่องค์คณะที่มีเหตุละเมิดอำนาจศาล และโทษจำคุกอยู่ที่ไม่เกิน 1 เดือน แต่ไปเพิ่มโทษปรับแทนเป็นไม่เกิน 50000 บาท และมีข้อยกเว้นว่าหากการวิพากษ์วิจารณ์การพิจารณาหรือคำพิพากษาเป็นไปโดยสุจริตหรือด้วยวิธีทางวิชาการไม่ถือเป็นการละเมิดอำนาจศาล
.
สาวตรีย้ำด้วยว่า แม้ประเทศไทยจะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนแล้วแต่ศาลยังคงตัดสินใต้พระปรมาภิไธย จนบางครั้งอาจรู้สึกว่าสถาบันศาลไปยึดโยงกับความศักดิ์สิทธิ์บางประการ
.
"หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 อำนาจกษัตริย์ในการตัดสินคดีถูกยกเลิกไป แต่วาทกรรมที่ว่าศาลตัดสินใต้พระปรมาภิไธยยังคงอยู่ ทำให้ศาลรู้สึกว่าตนเองยังคงมีความศักดิ์สิทธิ์บางอย่างเหนือประชาชน"
.
สาวตรีระบุด้วยว่าแม้ระบบยุติธรรมไทยจะมีกลไกตรวจสอบถ่วงดุลอยู่ แต่ก็เป็นระบบตรวจสอบภายในที่ไม่อยู่ในความรับรู้ของสาธารณะ ซึ่งตรงนี้ก็อาจทำให้สาธารณะมีคำถามถึงความเป็นอิสระของศาลได้ ที่ผ่านมาศาลมักกลัวว่าการกดดันของประชาชนในคดีที่เป็นประเด็นสาธารณะและเป็นที่สนใจจะกระทบต่อความเป็นอิสระของศาลจนเราเห็นกรณีที่มีคนไปชุมนุมที่หน้าศาลถูกดำเนินคดีละเมิดอำนาจศาล (คดีนักกิจกรรมละเมิดอำนาจศาลจังหวัดขอนแก่น) แต่ก็มีกรณีที่ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน ทำคำพิพากษาแล้วถูกเรียกสำนวนไปตรวจแก้ในสาระสำคัญดังกรณีผู้พิพากษาคณากร เพียรชนะ ตรงนั้นมีคำถามว่าเป็นการแทรกแซงภายในหรือไม่
.
สาวตรีทิ้งท้ายว่าหากในอนาคตจะมีการปฏิรูประบบศาล ส่วนตัวมองว่ามีประเด็นเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข 3 อย่าง 1. ควรมีการกำหนดบทลงโทษที่ชัดเจนกับผู้พิพากษาตัดสินคดีไปโดยไม่ชอบที่ไม่ใช่แค่เรื่องโทษทางวินัยแต่ต้องเป็นโทษทางแพ่งหรืออาญาด้วย 2.องค์กรตรวจสอบศาลต้องเป็นองค์กรภายนอกส่วนที่มาจะเป็นอย่างไรก็ไปถกเถียงกันต่อได้ แต่ถ้ายังกลไกตรวจสอบภายในเพียงอย่างเดียว สาธารณะก็คงอดมีข้อกังขาไม่ได้เหมือนที่มีข้อกังขาต่อการตัดสินคดีทหารโดยทหารศาลว่าจะเที่ยงธรรมมากน้อยแค่ไหน และสามคือต้องไปแก้ไขกฎหมายละเมิดอำนาจศาลให้มีความชัดเจนและแคบเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์คือเพื่อคุ้มครองความเป็นอิสระให้ศาลตัดสินคดีได้รวดเร็วและยุติธรรมเท่านั้น
-------------------------------------
วันที่ 7 ตุลาคม 2563 เวลา 13.00-16.30 น. ณ ห้อง321 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชจัดเสวนาในหัวข้อเรื่อง "เสาหลักต้องเป็นหลักอันศักดิ์สิทธิ์ : บทบาทศาลท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน" เพื่อพูดคุยถึงการออกข้อกำหนดของศาลรวมถึงใช้กฎหมายละเมิดอำนาจศาลในบริบทที่ศาลถูกดึงมีเข้ามาเป็นผู้ตัดสินคดีทางการเมืองท่ามกลางสถานการณ์ที่กำลังครุกรุ่ม รวมถึงร่วมแลกเปลี่ยนหาตำแหน่งที่ของศาลที่ควรจะเป็นในท่านกลางสถานการณ์ทางการเมืองที่มีความแหลมคม งานวันนี้มีนักศึกษาประมาณ 20 คนและมีประชาชนทั่วไปราว 15 คนร่วมฟังการเสวนา โดยมีผู้ร่วมเสวนาสามคนได้แก่ รัษฎา มนูรัษฎา ทนายความสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ผ.ศ.สาวตรี สุขศรี อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสัณหวรรณ ศรีสด จากคณะกรรมการนิติศาสตร์สากล (ICJ)
.
อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ >>> https://freedom.ilaw.or.th/node/855


Atukkit Sawangsuk

ชัดเจนครับ

1.ละเมิดอำนาจศาลต้องใช้บังคับในห้องพิจารณาคดีเท่านั้น
จะเอามาใช้โดยอ้างปกป้องความศักดิ์สิทธิ์ศักดิ์ศรีเกียรติภูมิอะไรไม่ได้
เพราะผู้พิพากษาเป็นมนุษย์ขี้เหม็นเหมือนเรา
2.ต้องมีกฎหมายเอาผิด บุคคลในกระบวนการยุติธรรมที่บิดเบือนความยุติธรรม โดยเฉพาะผู้พิพากษา ไม่ใช่ตัดสินอย่างไรก็ได้แล้วลอยนวล
อันนี้ไม่ใช่แค่ทุจริตนะ ทุจริตมีกฎหมายเอาผิดอยู่แล้ว
แต่หมายถึงตัดสินโดยอคติ โดยความลำเอียงทางการเมือง โดยไม่ยึดหลักกฎหมาย โดยไม่ยึดพยานหลักฐาน หรือพยานหลักฐานเห็นๆ กลับตัดสินไปอีกอย่าง
3.ต้องมีองค์กรตรวจสอบศาล แยกออกมาอยู่ภายนอก ไม่ใช่ศาลงุบงิบลงโทษกันเอง ประชาชนไม่กล้าร้องเรียน
ถ้าจะให้ครบถ้วนทั้งในแง่การเข้าสู่อำนาจและการตรวจสอบอำนาจ ต้องทำแบบอังกฤษ มีทั้งองค์กรตรวจสอบศาล และองค์กรคัดเลือกผู้พิพากษา
ไม่ใช่แบบไทย ศาลจัดสอบเอง อายุ 25 เอาไปอบรมให้อยู่ในจารีต ในกรอบความคิดอนุรักษ์นิยม ก่อนสอบผู้ช่วยฯ ก็ต้องสอบเนติบัณฑิต ซึ่งประธานศาลฎีกาเป็นนายกสภา คือครอบงำความคิดหมด
ของฝรั่งเขาคัดจากคนมีประสบการณ์ อายุเหมาะสม เช่น 35 มีผลงานเป็นทนายโจทก์จำเลยเข้าใจหัวอกคนที่อยู่ข้างล่างอยู่ใต้บัลลังก์ใต้อำนาจศาล ไม่ใช่เรียนจบแล้วก็เหาะมาอยู่บนหอคอยงาช้าง เจ้ายศเจ้าอย่างเป็นเจ้านายเจ้าชีวิตคน

 

วิวัฒนชัย วินิจจะกุล

“พ่อแม่มีลูกทั้งหมด 10 คน ผมเป็นลูกคนที่ 9 อายุห่างจากธงชัย (ธงชัย วินิจจะกูล) 9 ปี ชีวิตวัยเด็กเติบโตมาในตึกแถวสามชั้นครึ่งย่านท่าพระจันทร์ พ่อแม่ย้ายมาอยู่ตั้งแต่ปี 2494 บ้านของเราเป็นร้านขายอาหาร ข้าวหมูแดง ข้าวหน้าเป็ด ข้าวมันไก่ ก๋วยเตี๋ยว ช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ผมอายุ 7 ขวบ จำได้ว่าได้ยินเสียงเฮลิคอปเตอร์ รับรู้ว่ามีการยิงกัน และเห็นธงชัยใส่ชุดนักเรียนมอมแมมกลับมาบ้าน ตอนนั้นเขายังเรียนอยู่โรงเรียนสวนกุหลาบ อาม่า ผม และน้องสาวถูกพาไปอยู่บ้านของป้าแถวประตูน้ำชั่วคราว พ่อแม่คงกลัวว่าคนแก่และเด็กจะโดนลูกหลงจากเหตุการณ์ เพราะท่าพระจันทร์ก็อยู่ใกล้ธรรมศาสตร์และสนามหลวง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสมรภูมิในเวลานั้น

“เช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ร้านอาหารของเราปิดขายมาได้สักพักใหญ่แล้ว เพราะพ่อป่วยเป็นกระดูกกดทับเส้นประสาทบริเวณต้นคอ เขาต้องใส่เฝือกคอเกือบทั้งวัน เพื่อยึดไม่ให้คอหมุนไปมา หมอก็สั่งว่าห้ามทำงานหนัก ตอนนั้นผมอายุ 10 ขวบ ตื่นเช้ามาเตรียมจะไปโรงเรียนเหมือนปกติ เดินลงบันไดมาก็แปลกใจ เพราะเห็นพี่ๆ ยังอยู่ในบ้าน ตอนนั้นถึงได้รู้ว่าโรงเรียนประกาศหยุด สำหรับเด็กที่ยังไม่ได้เข้าใจเรื่องการเมืองลึกซึ้ง มุมหนึ่งก็ดีใจที่ไม่ต้องไปโรงเรียน อีกมุมก็เสียดายเพราะวันพุธมีวิชาวาดเขียน ซึ่งเป็นวิชาที่ชอบ ผมไม่รู้หรอกว่าสถานการณ์นอกบ้านตึงเครียดขนาดไหน แต่ในความไม่รู้นั้น อีกด้านคือมันรับรู้จนเคยชิน ก่อนหน้านั้นเราเคยได้ยินเสียงปืนเป็นเรื่องปกติ คืนวันที่ 5 ต่อเนื่องเช้าวันที่ 6 เสียงปืนดังถี่ขึ้น เสียงแป๊กๆๆๆ เหมือนเสียงประทัดก็ดังอยู่ตลอด

“ช่วงสายของวันนั้น อยู่ๆ ก็มีคนแปลกหน้าวิ่งแตกตื่นเข้ามาในบ้านหลายสิบคน ทั้งทุบประตูบ้านขอเข้ามา และเข้ามาทางหน้าต่างชั้นสอง เพราะตึกแถวละแวกนั้นมีหลังคาเป็นระเบียงต่อกันเป็นแนวยาว หนึ่งในคนที่หลบเข้ามาคือพี่สาว เขาเป็นนักเรียนเตรียมอุดมฯ ที่หนีออกมาจากการชุมนุมในธรรมศาสตร์ หลายคนที่เข้ามาตัวเปียก เราต้องหาเสื้อผ้าใหม่ให้เปลี่ยน พวกเขาคงเดินเลาะเลียบรั้วธรรมศาสตร์ริมแม่น้ำเจ้าพระยามาขึ้นที่ท่าเรือท่าพระจันทร์ ผมคิดว่าบ้านแถวนั้นคงรับคนเข้าไปหลบภัยกันทุกหลัง แต่คนเข้ามาที่บ้านของเราถือว่าโชคร้าย เพราะหลังจากนั้นไม่นาน สถานีวิทยุยานเกราะประกาศว่า บ้านเลขที่นี้-ชื่อร้าน ‘จิตรอารี’ คือบ้านของนายธงชัย วินิจจะกูล เป็นนักศึกษาแกนนำการชุมนุม และให้ที่พักพิงคนที่หลบรอดออกมาจากธรรมศาสตร์ เหมือนชี้นำกลุ่มอันธพาลการเมืองให้มุ่งหน้ามาทำร้ายคนในบ้าน พี่ๆ ต้องปีนบันไดขึ้นไปช่วยกันปลดป้ายร้านลงมา นับจากเช้าวันนั้นเป็นต้นมา เราไม่เคยเอาป้ายร้านกลับขึ้นไปติดอีกเลย

“ต่อมาก็มีตำรวจมาทุบประตู บุกเข้ามาพร้อมอาวุธ จำได้ว่าบางคนถือปืน M16 ด้วย จับกุมกวาดต้อนคนในบ้านออกไป พี่สาวคนที่หลบรอดออกมาจากธรรมศาสตร์เกือบถูกพาตัวไปด้วย ดีที่แม่รีบกระชากแขนกลับ แล้วบอกว่า ‘คนนี้ลูกของฉัน’ ผ่านไปสักพักมีตำรวจอีกชุดมาทุบประตูบ้านตะโกนถามซ้ำๆ ว่า ‘ธงชัยอยู่ไหน!’ ตอนนั้นคนที่อยู่ในบ้านมีพ่อ แม่ อาม่า พี่สาวสี่คน พี่ชายคนรองซึ่งเรียนอยู่ที่เทคโนฯ บางมด และไม่ได้ยุ่งอะไรกับเรื่องการเมือง เวลานั้นส่วนใหญ่ผมและน้องสาวอยู่กันที่ชั้นสอง พี่ชายเป็นคนลงไปเปิดประตู แล้วก็มีเสียงกรี๊ดลั่นของพี่สาวสักคน ผมรีบวิ่งลงมาตรงเชิงบันไดระหว่างชั้น มองไปที่หน้าบ้าน ได้ยินพี่สาวบอกว่าตำรวจใช้ปืนฟาดแล้วลากตัวพี่ชายออกจากบ้านไปแล้ว เขาคงดูเหมือนนักศึกษาที่ยังตกค้างอยู่ จากนั้นไม่ถึงอึดใจก็มีเสียงปืนกลดังกราด วินาทีนั้นคือบรรยากาศที่น่ากลัวที่สุด ไม่มีใครกล้าจินตนาการว่าเกิดอะไรกับเขา พ่อร้องไห้หันหน้าเอามือทุบผนัง คร่ำครวญว่าทำไมต้องเกิดเรื่องอย่างนี้กับครอบครัวของเรา

“บ่ายวันนั้น ลูกของป้ามารับพวกเราไปหลบพักอยู่บ้านป้าที่ประตูน้ำอีกครั้ง มีอาม่า พี่สาวสองคน ผม และน้องสาว ครั้งนี้ไปอยู่นานเป็นเดือนจนใกล้เปิดเทอม สรุปว่าพี่ชายของผมถูกจับติดคุก 3 คน คือ สองคนที่อยู่ในธรรมศาสตร์วันนั้น (ธงชัย และ ชวลิต วินิจจะกูล) และคนที่ถูกตำรวจใช้ปืนฟาดแล้วลากตัวออกจากบ้านไป (สุวิทย์ วินิจจะกูล) คนหลังถูกจับไม่นานก็ปล่อยตัวออกมาพร้อมกับผู้ต้องหาล็อตใหญ่ล็อตแรก ชวลิตถูกปล่อยออกมารอบสุดท้าย หลังจากนั้นเขาตัดสินใจเข้าป่า ซึ่งตอนนั้นพี่สาวที่เรียนอยู่เตรียมอุดมฯ ล่วงหน้าไปก่อนแล้ว ส่วนธงชัยเป็นหนึ่งในคนที่ถูกส่งฟ้องคดี 6 ตุลา เวลาแม่ไปเยี่ยมลูกชายที่บางเขน วันไหนที่ผมไปด้วยก็ช่วยถือถุงข้าวปลาอาหาร เดินฝ่าแดดร้อนเปรี้ยงจากหน้าประตูไปถึงอาคารเยี่ยม ในความรู้สึกตอนนั้นคือไกลเหลือเกิน

“เพื่อนบ้านย่านท่าพระจันทร์มีทั้งคนที่เข้าใจแล้วให้กำลังใจ และคนที่พูดกับพ่อแม่ประมาณว่า ‘เลี้ยงลูกยังไงให้เป็นคอมมิวนิสต์’ บางคนบอกว่า ‘ที่ร้านปิดมาเป็นปีได้ก็เพราะลูกชายรับเงินจากรัสเซีย’ พอดีว่าช่วงนั้นพ่ออาการดีขึ้นจนเกือบหายแล้ว แม่เลยตัดสินใจว่าจะเปิดร้านอีกครั้ง เพื่อพิสูจน์ให้คนที่กล่าวหาได้เห็นว่า ลูกของแม่ไม่ได้ผิด เราไม่ได้รับเงินใคร แม่บอกว่า ‘ถึงจะขายได้ห้าบาทสิบบาทก็เอา’ พวกเราก็เห็นดีด้วย มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะปิดร้านไปเป็นเวลานานๆ เพราะสำหรับครอบครัวที่มีลูกหลายคน ยังไงพ่อแม่ก็ต้องกัดฟันทำมาหากิน แต่พวกเขาคงวางแผนไว้นานแล้วว่า ถ้าทำงานเก็บเงินได้มากพอจะเกษียณตัวเอง พอเปิดร้านได้อีกประมาณปีเศษ ในปี 2521 ครอบครัวของเราก็ย้ายจากท่าพระจันทร์มาอยู่ย่านฝั่งธนฯ

“หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาจบลงใหม่ๆ ลมขวาจัดพัดแรง ผมเรียนอยู่ ป.5 ครูประจำชั้นเป็นภรรยานายทหารอากาศ เขาสั่งการบ้านให้นักเรียนคัดลายมือเนื้อร้องเพลง ‘หนักแผ่นดิน’ สั่งให้นักเรียนออกมายืนหน้าห้องร้องเพลงปลุกใจ แต่ผมร้องไม่เป็นสักเพลง ต้องใช้วิธีขยับปากตามเพื่อนไป (หัวเราะ) เพราะที่ผ่านมาเราร้องเป็นแต่เพลงเพื่อชีวิต กรรมาชน กงล้อ รวมฆ้อน คาราวาน อะไรพวกนี้ ยังจำได้ว่าเนื้อเพลงเพื่อชีวิตจะสอนให้เรากล้าหาญ เสียสละ คิดถึงส่วนรวม เรียนไปเพื่อรับใช้ประชาชน ผมคุ้นตากับบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ จากโปสเตอร์ที่ติดอยู่บนผนังบ้าน คุ้นเคยกับชื่อพรรคการเมืองต่างๆ ที่มีบทบาทก่อน 6 ตุลา เรื่องที่ตลกคือ เพื่อนคนหนึ่งเล่าว่า พ่อเขาบอกว่าพรรคการเมืองที่ไม่ดีและอย่าไปเลือก คือพรรคการเมืองที่มีคำว่า ‘สังคม’ อยู่ในชื่อ ซึ่งผมมาเข้าใจทีหลังว่าเพราะเป็นคำที่ไปพ้องกับลัทธิสังคมนิยม คิดดูว่า พรรคกิจสังคม พรรคสังคมชาตินิยม พรรคธรรมสังคม ในตอนนั้นเป็นสังคมนิยมเหรอ

“ช่วง ม.ต้น ผมได้อ่านหนังสือ เราคือผู้บริสุทธิ์ และได้อ่านเอกสารที่กลุ่มนักศึกษาจัดทำขึ้นหลังจากนั้น ทั้งที่เป็นเอกสารโรเนียวและจุลสาร ทำให้เข้าใจเหตุการณ์ 6 ตุลา เห็นความเชื่อมโยงระหว่างการสังหารหมู่ในตอนเช้ากับการช่วงชิงอำนาจและรัฐประหารในเย็นวันนั้น ผู้บริสุทธิ์คดี 6 ตุลาถูกขังอยู่ 710 วัน ก่อนจะได้รับการนิรโทษกรรม ทำให้ฆาตกรตัวจริงได้รับนิรโทษไปด้วย ธงชัยกลับมาเรียนต่อ แต่เราไม่ค่อยได้คุยเรื่องซีเรียสกันมากนัก ช่วงเวลานั้นการพูดถึง 6 ตุลาเป็นเหมือนเรื่องลึกลับน่ากลัว ถ้ามีใครมาถามถึงพี่สาวและพี่ชายที่เข้าป่า พี่ๆ บอกว่าให้ตอบว่า ‘เขาไปเรียนต่อต่างประเทศ’ จนกระทั่งเมื่อเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ผมได้ฟังอภิปรายเสวนาได้คุยแลกเปลี่ยนกับคนมากขึ้น มีหนังสือให้อ่านมากขึ้น ทำให้เข้าใจเหตุการณ์มากขึ้นว่า 6 ตุลาเกิดจากการบรรจบกันของหลายเงื่อนไขปัจจัย ทั้งความหวาดกลัวผสมความระแวงของชนชั้นนำ ความโหดร้ายเลือดเย็นของชนชั้นปกครอง การแย่งชิงอำนาจกันในกองทัพ และการเมืองระหว่างประเทศ

“ชีวิตวัยเด็ก 12 ปีของผมที่ท่าพระจันทร์ คาบเกี่ยวกับช่วงเวลาของเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ทุกวันนี้รายละเอียดหลายเรื่องเลือนรางไปบ้าง แต่ภาพบางภาพของเหตุการณ์ยังชัดเจน ทุกครั้งที่นึกถึงความทรงจำในช่วงเวลานั้น ผมอดไม่ได้ที่จะนึกถึงความสะเทือนใจของพ่อแม่ ภาพที่แม่ดึงลูกสาวกลับมาจากการกวาดต้อนของตำรวจ ลูกชายถูกทำร้ายร่างกายแล้วลากตัวออกจากบ้านไปต่อหน้าต่อตา ลูกติดคุก ลูกเข้าป่า รวมไปถึงสายตาที่คนอื่นมองในทางไม่ดี สำหรับคนจีนที่เริ่มต้นจากไม่มีอะไรเลย ค่อยๆ เก็บเงินสร้างตัวสร้างครอบครัวจนเซ้งตึกแถวได้ การต้องปลดป้ายร้านลงแล้วไม่ได้ติดกลับอีกเลย มันหมายความว่าบ้านที่เป็นศูนย์รวมความรักกลายเป็นสถานที่ไม่ปลอดภัยไปแล้ว และดูเหมือนเขาแทบจะไม่สามารถปกป้องคุ้มครองลูกๆ ได้เลยในเหตุการณ์วันนั้น มันเกินกว่าที่ผมจะอธิบายได้ว่าพ่อแม่ต้องแบกรับความรู้สึกหนักอึ้งไว้ขนาดไหน

“แม่ไปฟังคดีแทบทุกครั้งที่มีโอกาส ร่วมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้คนที่เสียชีวิตจาก 6 ตุลาต่อเนื่องเป็นประจำ สมัยนั้นยังจัดงานรำลึกกันที่โรงพยาบาลสงฆ์ ใครชวนให้ไปพูดอะไรก็ไป แม่เหมือนเป็นตัวแทนของบรรดาญาติหรือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ 6 ตุลาไปกลายๆ ผมคิดว่า ณ จุดนั้นแม่ไม่ได้มีลูกแค่สิบคนแล้ว แต่มีลูกเป็นหมื่นเป็นแสนคน ลูกๆ ที่รักความเป็นธรรม มีความฝันอยากเห็นสังคมไทยดีขึ้น ซึ่งปัจจุบันก็พิสูจน์ชัดเจนแล้วว่า อุดมคติ ความปรารถนาดี และความใฝ่ฝันของคนหนุ่มสาวไม่ใช่เรื่องน่ารังเกียจ แต่ความโหดร้ายรุนแรงในเหตุการณ์ 6 ตุลาได้ทำลายความฝันของพวกเขาแทบหมดสิ้น คนที่น่ารังเกียจคือคนที่อยู่เบื้องหลังการก่อเหตุการณ์ 6 ตุลาต่างหาก ดังนั้นสังคมไทยจะต้องไม่ปล่อยให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นซ้ำ ไม่ควรมีครอบครัวไหนที่ต้องเจอกับผลกระทบเลวร้ายแบบเดียวกับคนรุ่นนั้นอีกแล้ว”

-

(เขาคือ 1 ใน 19 คนที่อยู่ในหนังสือ 'มนุษย์ 6 ตุลา')

https://www.facebook.com/bkkhumans/photos/a.1433077766976167/2824823324468264/


มนุษย์กรุงเทพฯ

'มนุษย์ 6 ตุลา' หนังสือรวมบทสัมภาษณ์ 19 ชิ้น เป็นความพยายามที่จะบันทึกเหตุการณ์ในเวลานั้นผ่านเรื่องเล่าชีวิตคน ตัดทอนและเรียบเรียงให้สั้นกระชับเพื่อง่ายต่อความเข้าใจ ปิดท้ายด้วยคำอธิบายขนาดยาวจากนักวิชาการ ที่ค่อยๆ คลี่ความโกลาหลให้เห็นที่มาของความรุนแรง
สั่งซื้อออนไลน์ได้ที่ - https://bit.ly/3l8Yiu7
[full-post]
ขับเคลื่อนโดย Blogger.