นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย และรองประธานคณะอนุกรรมาธิการครุภัณฑ์ ไอซีที รัฐวิสาหกิจ และทุนหมุนเวียน ในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 เปิดเผยถึงกรณีที่ประชุมอนุกรรมาธิการมีมติเห็นชอบงบจัดซื้อเรือดำน้ำจากประเทศจีนของกองทัพเรือ จำนวน 2 ลำ วงเงิน 22,500 ล้านบาท โดยได้แสดงเอกสารบันทึกข้อตกลงการจัดซื้อเรือดำน้ำของกองทัพเรือต่อสื่อมวลชนที่มีการระบุว่าเป็นสัญญาจีทูจี’พร้อมกล่าวว่า เมื่อมาตรวจสอบ กลับพบว่า ไม่ใช่สัญญาจีทูจี แต่เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงข้อตกลง และสัญญาที่เซ็นไป ก็เป็นเพียงแค่การจัดซื้อเรือดำน้ำ 1 ลำเท่านั้น ไม่มีลำที่ 2 หรือ 3 ไม่มีข้อผูกพันอะไร เอกสารที่ลงนามสัญญา ฝั่งไทยคือ พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ ที่ดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารเรือ ในปี 2560 และฝั่งจีนที่ลงนามด้วยคือ บริษัทเอกชน ไม่ใช่รัฐบาลจีน ซึ่งจุดนี้ จะนำไปสู่หนังม้วนยาว ขอตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมปกปิดเอกสารมาโดยตลอด หากเป็นสัญญาแบบจีทูจีจริง ผู้ลงนามฝั่งไทย ก็ไม่มีอำนาจลงนามแทนรัฐบาลไทย เพราะผู้มีอำนาจ คือ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อีกทั้งยังไม่มีหนังสือมอบอำนาจจากรัฐบาลไทยด้วย และตำแหน่งเสนาธิการทหารเรือก็ไม่สามารถรับมอบอำนาจได้ คนที่รับมอบอำนาจได้ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเท่านั้น ดังนั้น สัญญาดังกล่าวจึงต้องเป็นโมฆะ แต่เรื่องนี้ ในคณะอนุกรรมาธิการฯ กองทัพเรือไม่สามารถชี้แจงได้เลย อ้างแต่เรื่องความมั่นคงทางทะเล ทั้งที่ความอดอยากของประชาชนทั้งภัยพิบัติน้ำท่วมในขณะนี้ สำคัญกว่าเรือดำน้ำ
.
นายยุทธพงศ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวทางต่อไปที่จะต่อสู้ คือ ในวันพุธที่ 26 สิงหาคม เวลา 13.00 น.คณะกรรมาธิการงบประมาณชุดใหญ่ จะให้อนุกรรมาธิการฯชี้แจงเรื่องเรือดำน้ำ ตนจะเสนอให้กรรมาธิการชุดใหญ่ทบทวนเรื่องนี้ ขอให้กองทัพเรือนำหนังสือสัญญามาแสดง หากแสดงไม่ได้ สัญญาจะต้องเป็นโมฆะ เนื่องจากไม่มีความโปร่งใส มีความไม่ชอบมาพากล ทั้งนี้ หากคณะกรรมาธิการชุดใหญ่ดึงดันให้ผ่าน จะเสนอให้มีมติในคณะกรรมาธิการชุดใหญ่ โดยให้กรรมาธิการลงชื่อเป็นรายบุคคลแบบเปิดเผยชื่อ เพื่อดูว่า ใครเห็นความสำคัญของเรือดำน้ำ มากกว่าความอดอยากของประชาชน แต่หากโหวตแล้วยังแพ้เสียงส่วนใหญ่ในซีกรัฐบาล ก็จะเดินหน้าต่อไปเพื่อฟ้องกับประชาชน เพราะเรื่องนี้มีความไม่ชอบมาพากลอย่างมาก ส่วนที่พลเอกประยุทธ์ เคยประกาศว่า เลือกเรือดำน้ำจีน เพราะได้คุณภาพดีในราคาประหยัด อีกทั้งยังซื้อ 2 แถม 1นั้น แล้วทำไมวันนี้ กลายเป็นว่าซื้อเรือดำน้ำทั้งหมด 3 ลำ แปลว่าอะไร
.
ขณะที่ นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ในฐานะคณะอนุกรรมาธิการฯ กล่าวว่า หลังจากที่พวกตนโหวตแพ้ ก็ได้ตั้งข้อสังเกตไว้และบันทึกไว้ว่า จะนำไปต่อสู้ในที่ประชุมสภาฯขณะลงมติวาระที่ 2-3 และจะเดินหน้าเรื่องนี้ต่อไป เพราะเรื่องนี้เหมือนเป็นใบสั่ง ตอนแรกทุกคนอภิปรายไม่เห็นด้วย แต่สุดท้ายก็โหวตเห็นด้วย
.
“ผมไปนอนคิด2วัน ผมว่า รัฐบาลป่วยแล้ว ลืมประชาชน ลืมสิ่งที่พูดไว้ว่า พี่น้องประชาชนต้องรัดเข็มขัด ต้องประหยัด แต่ก็มาดันเรื่องนี้ รัฐบาลไม่ได้เป็นง่อย แต่ป่วย เรื่องนี้ ยืนยันว่า วาระ 2 เชื่อว่า เพื่อนร่วมฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลที่ไม่ได้เป็นกรรมาธิการจะมาร่วมแจมด้วย เพียงแต่วันนั้น 4 ท่านในอนุกรรมาธิการคือโทรมาประสานได้ง่าย เดี๋ยวได้พิสูจน์กันว่าคนเป็นผู้แทนในภาวะวิกฤติ หากยังแบกหามรัฐบาลอยู่ ก็เชิญตามสบาย หากเห็นว่าพร้อมยุบสภาไหม ผมพร้อม วันนี้คนไทยกำลังโดนต้ม 2 แถม 1 บ้าง ทำเอ็มโอยูบ้าง ทั้งที่จริงๆไม่มีอะไรเลย เรื่องนี้ไม่จบแน่ ผมเดินหน้าเตรียมฟ้องประชาชน” นายครูมานิตย์ กล่าว
.
นายยุทธพงศ์ กล่าวเสริมอีกว่า หากนายกรัฐมนตรียังดึงดันที่จะซื้อเรือดำน้ำ เชื่อว่า จะเป็นจุดจบของรัฐบาล และหากรัฐบาลเดินหน้าต่อ จะขอเชิญชวนประชาชนให้ออกไปร่วมการชุมนุมกับนิสิตนักศึกษาเพื่อขับไล่รัฐบาล ตนขอถามนายกรัฐมนตรีว่าหัวใจทำด้วยอะไร นายกไทยหัวใจเรือดำน้ำจีน

  


แต่ฝ่ายประชาธิปไตยกลับดรามา หาว่าพรรคก้าวไกลไม่ยอมแก้หมวด 2 ธนาธร ปิยบุตร เก่งแต่ผลักมวลชนไปตาย
ไม่รู้ฟังได้ศัพท์กันบ้างหรือเปล่า
ทำไมหูเหมือนศรีสุวรรณ
:
1.เอาความเข้าใจ รธน.เบื้องต้นไปก่อนนะ
รธน.มาตรา 256 (1) การยื่นญัตติแก้ รธน.ต้องใช้ ส.ส. 1 ใน 5
จาก 487 คนคือ 98 คน
พรรคก้าวไกลมี ส.ส.54 คน ยื่นไม่ได้ ไม่ว่ามาตราไหนหมวดไหนก็ตาม จะยื่นยกเลิก 250 ส.ว. มาตรา 269-272 ยังยื่นไม่ได้เลย
:
2.เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคือ พรรคก้าวไกลถอนชื่อ จากญัตติพรรคร่วมฝ่ายค้าน ที่เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยตั้ง สสร.ยกร่างใหม่ทั้งฉบับ แต่ห้ามแก้หมวด 1-2 (ซึ่ึ่งพรรคร่วมรัฐบาลเอาด้วย)
:
พรรคก้าวไกลไม่เห็นด้วย เพราะเห็นว่าเมื่อแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ก็ต้องเปิดกว้างให้ สสร.พูดคุยหารือถกเถียงกันได้ทุกหมวดทุกมาตรา
(เป็นโอกาสที่นักศึกษาประชาชนจะได้นำเสนอเข้าไปให้ สสร.พิจารณา สังคมจะได้ถกเถียงกัน)
การไปบล็อก สสร.ไว้ว่า "ห้ามแก้" ก็คือ "ห้ามพูด" สสร.ก็พูดไม่ได้ นักศึกษาประชาชนก็พูดไม่ได้ เพราะ สสร.จะข้าม 2 หมวดนี้ไป
:
เมื่อสื่อไปถาม ส.ส.ก้าวไกลว่าต้องการแก้หมวด 2 ใช่หรือไม่
เขาก็ต้องตอบว่าไม่ใช่
เพราะตามที่ว่ามาคือ 1.ยื่นญัตติเองไม่ได้อยู่แล้ว
2.การแก้รัฐธรรมนูญจะอยู่ที่ สสร.
สิ่งที่ก้าวไกลเรียกร้องคือ เปิดพื้นที่ให้ สสร.และประชาชน ได้ถกเถียงกันเรื่องการแก้ไขหมวด 1 หมวด 2
(แน่ละ 3 เขาก็ต้องป้องกันการโจมตี เพราะสื่อจะถามให้เป็นประเด็นเอาไปเล่นงาน "ล้มเจ้า" ถ้าตอบไปว่าอยากแก้หมวด 2 จนตัวสั่น ทั้งที่ความเป็นจริงทำไม่ได้ มันก็ไม่มีประโยชน์และเป็นโทษมากกว่า)
:
ถามว่าตอบอย่างนี้ผิดตรงไหน
ทำไมไปตีความว่าหัวเด็ดตีนขาดก้าวไกลก็จะไม่แก้
กลายเป็นพรรคการเมืองปกป้องศักดินา?
หรือทำตัวเองหล่อให้คนตัวเล็กตัวน้อยไปตาย
:
3.การเป็นพรรคการเมือง กับการเป็นปัจเจกชน
มันมีบทบาทภาระหน้าที่แตกต่างกัน
พรรคการเมืองต้องเป็นตัวแทนประชาชนวงกว้าง ไม่ใช่เฉพาะประชาชนหัวหอก แล้วก็ต้องวางภาระหน้าที่ของตัวเองอีกระดับ เพื่อเอาสถานะในสภามาสนับสนุนการเคลื่อนไหว
ถ้าไม่เข้าใจหลักการนี้ก็จะเอาแต่เรียกร้องให้พรรคการเมืองอยู่แถวหน้า ตายก่อน (ความจริงอนาคตใหม่ก็ตายแล้วไง)
:
ปัจเจกชน นักวิชาการ เสนอข้อเรียกร้องแหลมคม
พรรคการเมืองซึ่งเป็นฝ่ายค้านไม่ได้มีอำนาจทำตามนั้น
(ต่อให้เป็นรัฐบาล ผมก็ว่าทำไม่ได้)
เขาไม่จำเป็นต้องมาแอ่นรับ ถือธงนำหน้า เพราะเขาต้องพิจารณาความเสี่ยงรอบด้าน เขายังมีภาระหน้าที่อื่นอีกมากที่ต้องต่อสู้ในสภา
แต่บทบาทสำคัญของเขาคือ ปกป้อง แสดงจุดยืนว่านี่เป็นสิทธิเสรีภาพ ที่จะเรียกร้องได้ ไม่ผิดกฎหมาย ใช้สถานะ ส.ส.มาดูแลม็อบ ประกันตัว แล้วก็เรียกร้องให้สังคมเปิดพืนที่รับฟัง ให้การตั่้ง สสร.เปิดกว้าง ฯลฯ อย่างที่ก้าวไกลทำ แล้วมันผิดอย่างไร
:
ถ้าดูในความเป็นจริง ข้อเรียกร้อง 10 ข้อ วันนี้มันเป็นไปไม่ได้หรอกที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญหมวด 2
ต่อให้พรรคก้าวไกลมี 99 เสียง เสนอได้ ก็แค่สะใจเท่านั้น
(ต่อให้พรรคก้าวไกลเป็นรัฐบาล ก็ถูกรัฐประหาร)
สิ่งที่จะต้องทำและที่จะเป็นไปคือการรณรงค์เผยแพร่ให้กว้างขวาง อย่างที่สั่นสะเทือนอยู่ เป็นการเปลี่ยนแปลงจากด้านล่าง
ซึ่งก็ต้องยกย่องว่าเริ่มจากปัจเจกชนคนกล้าเป็นหัวหอก
:
ผมเคารพชื่นชมคนที่กล้าเสี่ยง
เพียงต้องเข้าใจว่า คนอื่นอีกเป็นจำนวนมากไม่ได้อยู่ในสถานะที่พร้อมจะเป็นหัวหอกแบบคุณ
หรือบางคนเขาก็คิดว่า (ตกใจด้วย) มันเร็วไปไหม
กระนั้นเมื่อคุณโดดออกมาเป็นหัวหอก ทุกคนก็พร้อมจะเป็นพลังปกป้อง สนับสนุน ในภาระหน้าที่ที่แตกต่างกันไป
(ขึ้นรถไฟเหาะตีลังกามาด้วยกันแล้ว จะทิ้งกันได้ไง)
:
พูดอีกอย่างว่า ในการตัดสินใจครั้งนี้
คุณเป็นผู้กล้า ท้าทาย ไปยืนเสี่ยงปากเหว
โดยที่คนร่วมขบวนไม่รู้เนื้อรู้ตัว
แต่ต้องพลอยโจนไปด้วยกัน คือต้องปกป้อง ต้องสนับสนุน
(และมีด้านดีที่ได้การขานรับจากเยาวชนนักเรียนนักศึกษา)
แต่จะบอกว่า เฮ้ย ทุกคน พรรคการเมือง สื่อ นักวิชาการ
ต้องมายืนปากเหวด้วยกันสิ
มันไม่ใช่มั้ง
:
4.สำหรับคนที่ลี้ภัย
เขามีคุณูปการให้การข้อมูลความรู้ความตื่นตัวอย่างที่คนในประเทศทำไม่ได้ เคลื่อนไหวอย่างที่เราทำไม่ได้
:
แต่เวลาที่เขาเรียกร้องให้คนในประเทศทำอะไร
จะพูดว่าไม่เข้าใจยุทธศาสตร์ยุทธวิธีจังหวะก้าว ฯลฯ ไม่เข้าใจหลักการเคลื่อนไหวอะไรเลย ยังน้อยไป
เขาไม่เคยมองความเป็นจริงที่คนในประเทศต้องเผชิญ ไม่เคยมองความเสี่ยง ความจำเป็นที่จะต้องหลบเลี่ยงรักษาสถานะเพื่อต่อสู้ต่อไป ของคนส่วนต่างๆ
ใครไม่ทำอย่างที่เขาต้องการก็กลายเป็นคนขี้ขลาดไปหมด
กลายเป็นผลักคนอื่นไปตาย
:
ทำไมไม่คิดบ้างว่าที่ตัวเองเรียกร้อง
คือผลักคนอื่นไปตาย
 



เครือข่ายสลัม๔ภาค Four Regions Slum Network

แถลงการณ์ เครือข่ายสลัม 4 ภาค
ในการต่อสู้เพื่อให้ได้ประชาธิปไตย

เมื่อรัฐบาลที่สืบทอดอำนาจ คสช. ได้ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือคุกคามปิดปากคนที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา ผู้นำแรงงาน นักกิจกรรมทางการเมือง ที่ต้องถูกจับกุม ดำเนินคดี จากการจัดเวทีนำเสนอข้อเรียกร้องตามระบอบประชาธิปไตย เครือข่ายสลัม 4 ภาค เห็นว่าไม่อาจจะยอมรับการคุกคามนักศึกษา และประชาชนได้อีกต่อไป จึงขอร่วมสนับสนุนข้อเรียกร้องใน 3 ประการ คือ
1. หยุดคุกคามประชาชนในทุกรูปแบบ และให้ปล่อยตัวนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยทุกคนโดยทันที
2. ให้เกิดการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยประชาชนมีส่วนร่วม
3. ให้ดำเนินการยุบสภา หลังได้รัฐธรรมนูญใหม่
และเครือข่ายสลัม 4 ภาค จะเข้าร่วมการต่อสู้เพื่อให้เกิดประชาธิปไตยอย่างแท้จริง พร้อมทั้งร่วมปกป้องนักต่อสู้ที่เรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ ตามระบอบประชาธิปไตย
เชื่อมั่นในพลังประชาชน
เครือข่ายสลัม 4 ภาค
วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2563



Atukkit Sawangsuk

ขอโต้แย้งคำสั่งศาล ห้ามกระทำซ้ำคืออะไร
ถ้าว่าตามข้อหา คือห้ามยุยงปลุกปั่น เป็นภัยต่อความมั่นคง
ซึ่งเป็นการเต้าเอาเองของตำรวจ

จากการจัดชุมนุม ร่วมชุมนุม ขึ้นเวทีปราศรัย เล่นดนตรี โดยที่หลายคนก็ไม่ใช่แกนนำ ไม่ใช่ผู้จัด แค่มาร่วม ก็โดนยัดข้อหา
:
การชุมนุมโดยสงบ เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ประชาชนมีสิทธิชุมนุมไล่รัฐบาล ขึ้นเวทีด่ารัฐบาล เรียกร้องให้แก้รัฐธรรมนูญ ยุบสภา หยุดคุกคาม "ฮอคกี้" ก็มีสิทธิจะขึ้นไปร้องเพลงประเทศกูมี
:
ถ้าศาลจะห้ามกระทำซ้ำ ศาลและตำรวจก็ต้องบอกให้ชัด
ว่าพฤติกรรมใดที่เป็นความผิดฐานบ่อนทำลายความมั่นคง ยุยงปลุกปั่น (เช่น ร้องเพลงประเทศกูมีผิดตรงไหน ถึงโดนข้อหาร้ายแรง)
:
ศาลไม่สามารถห้ามการกระทำที่ถูกต้อง ที่เป็นสิทธิพื้นฐานตามระบอบประชาธิปไตย คือการไปร่วมชุมนุม การขึ้นเวทีปราศรัย การเล่นดนตรี
:
ถ้าห้ามคลุมไปหมดเช่นนี้ ก็เท่ากับศาลตกเป็นเครื่องมือจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน เปรียบเหมือนกับเดินอยู่ดีๆ ตำรวจมายัดข้อหาภัยสังคม ให้ศาลสั่งห้ามออกจากบ้าน ทั้งที่ศาลยังไม่ได้ตัดสิน หรือยังไม่ได้ไต่สวนเลยด้วยซ้ำว่าการตั้งข้อหามีน้ำหนักพยานหลักฐานเพียงไร
https://www.matichon.co.th/local/crime/news_2316036



เส้นทางข้างหน้า
โดย จักรภพ เพ็ญแข

ภาพที่น้อง ๆ สร้างขึ้นมารายรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเมื่อวานนี้ งามตระการตานัก พวกลุง ป้า น้า อา และพี่ ๆ ทั้งหลายที่กรุยทางมารู้สึกหายเหนื่อยไปมาก จึงขอขอบคุณและขอแสดงความชื่นชมมา ณ ที่นี้ครับ แต่ขณะเดียวกันก็ขออนุญาตแนะนำอะไรหน่อยสำหรับงานข้างหน้า
1. เขายังไม่ปราบ เพราะกลัวปราบแล้วจะลุกลามใหญ่ เขาจึงสั่งให้ตั้งข้อหากับแกนนำเป็นคนๆ ไป อาจจะเล่นงานผู้สนับสนุนบางคน จุดประสงค์คือเพื่อให้กลัวและไม่กล้าชุมนุมใหญ่อีก ตอนนี้พวกเราจะช่วยเตรียมเรื่องของคดีและไฟที่ฉายเข้ามาจากต่างประเทศ เพราะโจรฝ่ายอำมาตย์มีแทรกอยู่ในตำรวจ อัยการ ศาล และราชทัณฑ์อย่างครบชุด
2. เขาไม่ลดราวาศอกง่ายๆ เพียงเพราะลูกหลานยกขบวนมาขอ คนใหญ่ที่สุดอาจจะมีอารมณ์บางขณะอยากยอมบ้าง แต่คนรองลงมาอยากจะฆ่าอย่างเดียว เช่นเดียวกับลูกน้องเก่าของรุ่นเดิม เพราะกลัวความชั่วเก่า ๆ จะโผล่และผลประโยชน์อันมหาศาลจะหดหายไป พวกนี้กำลังหาจังหวะสู้กลับ แต่เรามีข้อมูลมากขึ้นเรื่อย ๆ เกี่ยวกับคนกลุ่มนี้
3. น้องๆ อย่าตกหลุมเรื่องสถาบันนิยม การแย่งชิงการนำ การจัดการด้านโลจิสติกส์ของการประท้วง จงให้ความสนใจกับการขยายเครือข่ายในเมือง และโอบกอดรากหญ้าให้แน่นไว้
4. ผมและพวกเราที่อยู่ข้างนอกก็จะทำแบบที่ข้างนอกทำได้ ซึ่งมีหลายอย่าง บางอย่างจะทำไปโดยไม่บอก ซึ่งต้องขอโทษไว้ล่วงหน้า เพราะบอกแล้วอาจเสียเรื่องได้ งานเหล่านี้จะตีกรอบให้เครือข่ายอำนาจอยู่ในที่ที่ไม่สามารถสร้างความเสียหายให้กับน้องๆ ได้มากนัก เรามีข้อมูลมากขึ้นแล้วในขณะนี้เช่นกัน
5. ปลื้มใจมากที่น้องๆ ยอมรับบทบาทและการต่อสู้ของขบวนการเสื้อแดง โปรดรู้ว่า ความไม่บริสุทธิ์บางส่วนในอดีตของขบวนการ ไม่ใช่ความผิดของมวลชน ส่วนจะเป็นของใครเราให้ประวัติศาสตร์ตัดสินอาจจะนุ่มนวลกว่า น้องจงรักมวลชน เขารักน้องทุกคน และเขาพร้อมจะช่วยน้องๆ ให้บรรลุความตั้งใจในชีวิตของน้องๆ ซึ่งความจริงก็คือฝันและความมุ่งมั่นอย่างเดียวกันกับของเขานั่นเอง
สุดท้าย จงจำไว้ว่า คนเราทำความดีได้ไม่จำกัด ถ้าไม่สนใจว่าใครจะได้หน้า
ด้วยรัก

จักรภพ เพ็ญแข
17 สิงหาคม พ.ศ. 2563



ภาพยอดเยี่ยมที่สุดของวันนี้ เป็นภาพยามเช้าที่โรงเรียนนักเรียนมัธยมเตรียมชักธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา ประเพณีนี้ถูกสร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อลัทธิทหารแบบคลั่งชาติเข้าแผ่เป็นกระแสนำแทนลัทธิชาตินิยมรักชาติ แต่เนื่องจากฝ่ายทหารทำรัฐประหารอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2490 มาถึงวันนี้ จึงทำให้คำพูดว่า การชักธงชาติขึ้นสู่ยอดเสานั่นเพื่อความมั่นคงของชาติ

แต่เมื่อนักเรียนนิสิตนักศึกษาที่ชุมนุมกันเมื่อ 12 สิงหาคมที่อักษรศาสตร์ จุฬา ได้ยืนตรงเคารพธงชาติเวลา 18.00 น. อันเป็นผลผลิตที่ตกค้างจากลัทธิทหารยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 พร้อมกับชู 3 นิ้วแห่งแรงปรารถนาที่ต้องการสร้างชาติไทยให้เจริญมั่งคั่งกว่านี้ที่ไม่พัฒนามายาวนาน นักเรียนนิสิตนักศึกษาได้ประสานการสร้างชาติใหม่ด้วยหลัก 3 นิ้ว 3 ประการ 1) หยุดคุกคามนักเรียนนิสิตนักศึกษาประชาชน 2) ยุบสภา เพื่อเลือกตั้งใหม่ 3) สร้างรัฐธรรมนูญใหม่ที่เป็นประชาธิปไตย ที่ไม่มี ส.ว:แต่งตั้ง 250 คน

ภาพนักเรียนชายหญิง 7 คน ที่กำลังร่วมกันชักธงชาติของพวกเขา สองคนจับเชือก หญิงคนหน้าเตรียมร้องนำ นักเรียนชายสองหญิงสองหันหลังแถวหน้าสุดได้ร่วมสดุดีเคารพชาติของพวกเขาด้วยความรักอย่างตรึงใจ อย่างแตกต่างไปจากที่พวกเขาเคยคิดว่า กิจกรรมนี้ยามเช้าช่างน่าเบื่อหน่าย แต่ที่จริง วันนี้ พวกเขาได้สร้างวัฒนธรรมใหม่ ชาติเป็นของพวกเขาทุกคน หาใช่ของใครคนใดกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไม่ ดังนั้น แนวทางรักชาติของพวกเขาจึงจะไม่ยอมให้ชาติของเราตกอยู่ใต้อำนาจมือของคนพวกโบราณคลั่งอำนาจพาประเทศตกต่ำอีกต่อไป

หากดูคลิป ครูในชุดสีกากี ที่พยายามดึงโยกนักเรียนชาย กลายเป็นตัวแทนอำนาจรัฐเผด็จการรัฐประหารที่ดูจะแสนตลกยิ่ง ฉุนเฉียว แทบควบคุมอารมณ์ไม่ได้ แต่นักเรียนสิ กลับยืนหยัดมั่นในจุดยืนของพวกเขา เพราะชาติคืออนาคตที่แท้จริงของพวกเขา ที่พวกเขาต้องร่วมกันกำหนดด้วยตัวเอง
ภาพนี้ และคลิปนี้ พึงต้องได้รับการจัดแสดงใน มิวเซียมประชาธิปไตย ฉายบนจอผนังใหญ่สูงสามชั้น วนไปมาทั้งวันที่มิวเซียมเปิด เพราะภาพนี้จะส่งผลสะทือนไปเหมือนฝนที่พร่ายพรมให้ทั้งแผ่นดินของเราได้ชุ่มฉ่ำ ให้เมล็ดพันธุ์ไทยใหม่ได้เกิดกล้าเติบโต

ขอบคุณนักเรียนทั้งแผ่นดิน ที่ #ให้มันจบที่รุ่นเรา
#ประเทศไทยเป็นของเราทุกส่วน
ภาพ ขอบคุณผู้ถ่ายภาพที่แพร่ในเฟส


มาตรฐานระหว่างประเทศสำหรับเสรีภาพในการชุมนุม

“การชุมนุม” หมายถึง “การรวมตัวโดยเจตนาเป็นการชั่วคราว ในพื้นที่ส่วนตัวหรือพื้นที่สาธารณะ เพื่อเป้าประสงค์บางประการ อาทิเช่นเพื่อกดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และเพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาที่สำคัญต่อพวกเขา รวมทั้งเพื่อการแสดงความเห็นที่หลากหลายและการปกป้องผลประโยชน์ร่วมกัน โดยอาจเป็นประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน สิทธิทางสังคม-เศรษฐกิจ หรือประเด็นอื่น ๆ จึงอาจหมายรวมถึงการเฉลิมฉลอง การร่วมรำลึก การนัดหยุดงาน และการประท้วง เป็นต้น การชุมนุมไม่ว่าจะเป็นการประท้วงทางการเมือง การเดินขบวนด้านวัฒนธรรม การรวมตัวทางอินเตอร์เน็ต หรือรูปแบบการชุมนุมอื่นใดเพื่อเป้าประสงค์ร่วมกัน ต่างเป็นองค์ประกอบสำคัญของสังคมพหุนิยมที่เติบใหญ่ขึ้น ซึ่งเอื้อให้กลุ่มที่มีความเชื่อ การปฏิบัติ หรือนโยบายที่หลากหลาย สามารถอยู่ร่วมกันโดยสันติได้ เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบจึงเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎบัตรระหว่างประเทศ ภูมิภาค ในประเทศ และแม้กระทั่งกฎหมายในท้องถิ่น


หลักการพื้นฐาน : การชุมนุมเป็นสิทธิของทุกคน

ในฐานะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบเป็นสิ่งที่บุคคลใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ถูกควบคุม หากการกระทำใดไม่มีกฎหมายห้ามอย่างชัดเจนย่อมถือว่าเป็นสิ่งที่กระทำได้ และไม่ควรกำหนดให้บุคคลที่ต้องการชุมนุมต้องขออนุญาตก่อน สมมติฐานที่เอื้อให้เกิดเสรีภาพเช่นนี้ควรได้รับการกำหนดไว้อย่างชัดเจนและเปิดเผยในกฎหมาย

เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบเป็นสิ่งที่บุคคลทุกคนควรได้รับอย่างเท่าเทียม ในการกำกับดูแลเสรีภาพในการชุมนุม หน่วยงานของรัฐต้องไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลหรือกลุ่มไม่ว่าด้วยเหตุผลใด


การใช้พื้นที่สาธารณะในการชุมนุม


การชุมนุมเป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นที่สาธารณะโดยชอบธรรม เช่นเดียวกับการจัดกิจกรรมเชิงพาณิชย์ และการสัญจรของยานพาหนะและการเดินเท้า สิทธิที่จะชุมนุมโดยสงบครอบคลุมถึงสิทธิที่จะเลือกที่ชุมนุมและเวลาการชุมนุมได้อย่างเสรี โดยอาจเป็นถนนหลวง ถนนอื่นใดและพื้นที่สาธารณะ สิทธิที่จะชุมนุมทางอินเตอร์เน็ตต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มที่ด้วยเช่นกัน

หน่วยงานกำกับดูแลมีหน้าที่จัดสมดุลให้เหมาะสม ระหว่างเสรีภาพที่จะชุมนุมโดยสงบที่มีความสำคัญ กับสิทธิที่สำคัญเช่นกันของบุคคลที่จะใช้ชีวิต โดยมีทางเลือกมากมายในการอำนวยความสะดวก โดยไม่ให้เป็นการแทรกแซงต่อข้อความที่ผู้ชุมนุมต้องการสื่อสาร กรณีที่ทางการจะควบคุมจำกัดทั้งด้านเวลา สถานที่ หรือพฤติกรรมของการชุมนุม ทางการก็ควรให้ทางเลือกที่ชอบด้วยเหตุผล


เนื้อหา ภาพ และเสียง ที่จะใช้ในการชุมนุม

การชุมนุมเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อแสดงความเห็นร่วมกัน จึงมีเป้าหมายเพื่อสื่อข้อความบางประการ ไปยังบุคคล กลุ่ม หรือองค์กรที่เป็นเป้าหมายเฉพาะ ด้วยเหตุดังกล่าวจึงมีหลักการทั่วไปว่าควรอำนวยความสะดวกให้สามารถจัดการชุมนุมเพื่อให้ประชากรที่เป็นกลุ่มเป้าหมายสามารถได้ยินและได้เห็น ‘ภาพและเสียง’ ของการชุมนุมนั้น แม้ว่าจะมีเนื้อหาเพื่อประท้วงต่อต้านนโยบายของรัฐก็ตาม การจำกัดต่อเสรีภาพในการชุมนุมใดๆ ต้องไม่กำหนดมาตรการซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื้อหาของกิจกรรมนั้นจนถึงขั้นพื้นฐาน และควรมีการจำกัดก็ต่อเมื่อเนื้อหานั้นอาจนำไปสู่ความรุนแรงได้อย่างชัดเจนเท่านั้น


ความปลอดภัยของผู้ชุมนุมและสาธารณะ


รัฐมีหน้าที่ต้องคุ้มครองความปลอดภัยของผู้ชุมนุมและสาธารณะไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด ไม่ควรใช้อำนาจแทรกแซง ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่สงบ เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายควรแยกแยะระหว่างผู้เข้าร่วมที่สงบและไม่สงบ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นหรือการกระทำที่รุนแรงของผู้เข้าร่วมเพียงบางคน ไม่เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะออกคำสั่งอย่างเหวี่ยงแหเพื่อจำกัดผู้เข้าร่วมการชุมนุมโดยสงบทั้งหมด การสลายการชุมนุมอาจส่งผลให้เกิดปัญหามากขึ้นในการบังคับใช้กฎหมาย มากกว่าการยืดหยุ่นและการอำนวยความสะดวก และการควบคุมอย่างจริงจังหรือหนักหน่วงเกินไปมีแนวโน้มจะทำลายความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่กับชุมชน


การคุ้มครองสาธารณสุข

ในบางกรณีที่อาจมีการอ้างเหตุผลด้านสาธารณสุขเพื่อจำกัดการชุมนุมสาธารณะ มาตรการจำกัดในลักษณะเดียวกันต้องเคยถูกนำมาใช้ในโรงเรียน คอนเสิร์ต การแข่งขันกีฬา และกิจกรรมอื่น ๆ ซึ่งคนทั่วไปเคยรวมตัวกันมาก่อน การจำกัดอาจเกิดขึ้นได้กรณีที่สุขภาพของผู้เข้าร่วมชุมนุมอาจได้รับผลกระทบร้ายแรง แต่ในทำนองเดียวกัน ทางการไม่ควรอ้างเหตุผลเช่นนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการชุมนุมโดยสงบ


เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบตามมาตรฐานระหว่างประเทศ


ข้อ 20 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) กำหนดว่า
(1) "ทุกคนมีสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและการสมาคม"
(2) "บุคคลใดไม่อาจถูกบังคับให้สังกัดสมาคมหนึ่งได้"

ข้อ 21 ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR)
“สิทธิในการชุมนุมโดยสงบย่อมได้รับการรับรอง การจำกัดการใช้สิทธินี้จะกระทำมิได้นอกจากจะกำหนดโดยกฎหมายและเพียงเท่าที่จำเป็นสำหรับสังคมประชาธิปไตย เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงของชาติ หรือความปลอดภัย ความสงบเรียบร้อย การสาธารณสุข หรือศีลธรรมของประชาชนหรือการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น”



[full-post]



แนะเปิดพื้นที่ให้ นศ.แสดงออกอย่างเสรีภาพ
ตำหนิมหาลัยสร้างเงื่อนไขให้ จนท.ก่อรุนแรง

คณาจารย์กว่า 353 คนลงชื่อหนุนแถลงการณ์ คนส. ปมชุมนุมธรรมศาสตร์จะไม่ทน ชี้มหาวิทยาลัยและทุกภาคส่วนสังคมต้องเปิดพื้นที่ให้นิสิต นักศึกษา คนรุ่นใหม่ตั้งคำถามและชี้ทางออกในวิกฤตอย่างสันติของสังคม
เมื่อ 13 ส.ค. 2563 เพจเฟชบุ๊ค “เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง - คนส.” โพสต์แถลงการณ์เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) เรื่อง มหาวิทยาลัยต้องเป็นพื้นที่สำหรับการตั้งคำถามและแสวงหาทางออกร่วมกันอย่างสันติของสังคม โดยมีคณาจารย์ชื่อดังจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศร่วมลงชื่อกว่า 353 คน
แถลงการณ์ระบุว่า มหาวิทยาลัยไม่ได้มีบทบาทหน้าที่เพียงฝึกคนให้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบอาชีพ ไม่ได้เป็นโรงงานผลิตแรงงานตามความต้องการของตลาด และไม่ได้เป็นหน่วยงานหล่อหลอมเจ้าหน้าที่ตามการบงการของรัฐ หากแต่เป็นแหล่งบ่มเพาะสมาชิกที่มีคุณภาพให้กับสังคม ซึ่งไม่ได้หมายถึงทักษะในการท่องจำสิ่งที่สืบทอดกันมาในตำรา แต่หมายถึงความสามารถในการคิด ตั้งคำถาม และวิพากษ์วิจารณ์อย่างอิสระ เพราะสังคมจะไม่สามารถเผชิญวิกฤติ ความเปลี่ยนแปลง หรือความท้าทายใหม่ๆ ได้ หากสมาชิกปราศจากคุณสมบัติเหล่านี้ จะมีก็แต่ผู้ที่ต้องการแช่แข็งสังคมหรือฝืนการเปลี่ยนแปลงเท่านั้นที่ไม่ต้องการให้มหาวิทยาลัยมีบทบาทหน้าที่เช่นนี้
สังคมไทยกำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ บทบาทของมหาวิทยาลัยในการบ่มเพาะสมาชิกที่มีความสามารถในการคิด ตั้งคำถาม และวิพากษ์วิจารณ์จึงยิ่งทวีความสำคัญตามไปด้วย นอกจากนี้ บทบาทดังกล่าวไม่ได้จำกัดเฉพาะการจัดการเรียนการสอนให้กับนิสิตนักศึกษาในสถาบัน หากแต่หมายรวมถึงการเป็นพื้นที่ให้สมาชิกกลุ่มอื่นในสังคมได้มีโอกาสร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนข้อเท็จจริง ด้วยเหตุด้วยผล โดยมีประโยชน์ของสังคมเป็นที่ตั้ง โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่สังคมไทยมีความขัดแย้งทางความคิด ความเชื่อ และอุดมการณ์เช่นนี้ ไม่มีสถานที่ใดเหมาะสมไปกว่ามหาวิทยาลัยสำหรับการให้สมาชิกในสังคมได้ตั้งคำถามและแสวงหาคำตอบร่วมกันอย่างสันติ
ข้อเรียกร้องของการชุมนุมของนักเรียน นิสิต นักศึกษา ในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการหยุดคุกคามประชาชน การยุบสภา หรือการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เป็นการตั้งคำถามและพยายามพาสังคมไทยไปให้พ้นจากวิกฤติทางการเมืองที่สั่งสมมากว่าทศวรรษ เช่นเดียวกับข้อเสนอ 10 ข้อของ “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” ในการชุมนุมเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา ที่นับเป็นการตั้งคำถามและพยายามหาทางออกให้กับความขัดแย้งในสังคมและการเมืองไทยอย่างสันติเช่นเดียวกัน ฉะนั้น ผู้บริหารมหาวิทยาลัยจึงไม่ควรพุ่งเป้าไปที่ประเด็นการปราศรัยเกินกว่าที่แจ้งไว้ ด่วนตัดสินเอาเองว่าการปราศรัยไม่เหมาะสมขัดศีลธรรม หรือจะไม่อนุญาตให้มีการจัดกิจกรรมทางการเมืองในมหาวิทยาลัยต่อไป หากแต่ควรคำนึงถึงบทบาทหน้าที่ของมหาวิทยาลัยภายใต้สภาวการณ์เช่นนี้เป็นหลัก
เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) พร้อมผู้มีรายชื่อแนบท้าย จึงเรียกร้องไปยังผู้บริหารมหาวิทยาลัยรวมถึงภาคส่วนต่างๆ ในสังคมและรัฐดังนี้
1.ผู้บริหารมหาวิทยาลัยต้องอนุญาตให้นิสิตนักศึกษารวมถึงประชาชนได้ใช้พื้นที่ในการจัดกิจกรรมทางการเมืองโดยสงบ สันติ และปราศจากอาวุธ ไม่หวาดกลัวต่ออำนาจอธรรม ความไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะมาในรูปแบบใด รวมทั้งต้องไม่ถือว่าการจัดกิจกรรมทางการเมืองดังกล่าวเป็นความผิด เพราะการอนุญาตให้ใช้พื้นที่ในการจัดกิจกรรมในการตั้งคำถามและเสนอทางออกให้กับสังคมนอกจากจะเป็นบทบาทหน้าที่ของมหาวิทยาลัย ยังเป็นการป้องกันนิสิตนักศึกษาจากความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้หากผลักไสให้พวกเขาไปจัดกิจกรรมด้านนอก
2.ภาคส่วนต่างๆ ในสังคมพึงพิจารณาข้อเรียกร้องของนิสิตนักศึกษาอย่างมีสติ ด้วยเหตุด้วยผล ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร โดยมีประโยชน์ของสังคมเป็นตัวตั้ง พร้อมกับแสวงหาทางออกร่วมกันอย่างสันติ มิใช่ปฏิเสธที่จะรับฟังด้วยอคติ ใส่ร้ายป้ายสีหรือยุยงปลุกปั่นให้เกิดความเกลียดชังและนำไปสู่การใช้ความรุนแรงต่อกัน หรือสร้างเงื่อนไขให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้ความรุนแรงกับนิสิตนักศึกษาและประชาชน
3. รัฐต้องเคารพในสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความเห็นโดยสันติของประชาชนที่ได้รับการรับรองทั้งในรัฐธรรมนูญและกติการะหว่างประเทศ ต้องไม่ขัดขวางการจัดกิจกรรมทางการเมืองในสถานศึกษา ต้องบังคับใช้กฎหมายตามหลักนิติรัฐนิติธรรม ไม่ตั้งข้อหาหรือดำเนินคดีกับนักเรียน นิสิต นักศึกษา รวมทั้งประชาชนที่มาชุมนุมอย่างสันติและแสดงความเห็นโดยสุจริต รวมถึงต้องอำนวยความสะดวกและรักษาความปลอดภัยให้กับผู้ร่วมชุมนุม และป้องกันไม่ให้มีการประทุษร้ายนิสิตนักศึกษาเพียงเพราะพวกเขาแสดงความเห็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในครรลองระบอบประชาธิปไตย
ด้วยความเชื่อมั่นในพลังของการตั้งคำถามและแสวงหาทางออกร่วมกันอย่างสันติ

[full-post]



Voice TV

คนบันเทิง ส่งเสียงหนุนประชาธิปไตย
ไม่ควรมีใครหายไปเพราะพูดความจริง

.
จากกรณี 2 นักกิจกรรม 'ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล' นักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ โฆษกสหภาพนักเรียนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) และ พริษฐ์ ชิวารักษ์ แกนนำ สนท. เผยแพร่ข้อความผ่านทวิตเตอร์และเฟซบุ๊กว่า ถูกคุกคามจากเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบ ในช่วงกลางดึกของวันที่ 12 ส.ค.ที่ผ่านมา จนผู้ใช้ทวิตเตอร์ร่วมกัน ติดแฮชแท็ก #SavePanusaya #FightwithPunusaya โดยเรียกร้องให้รับฟังความเห็นต่างอย่างเสรี เคารพหลักสิทธิมนุษยชน และไม่ควรมีใครหายไปเพราะพูดความจริง
ล่าสุดเหล่าคนบันเทิงหลายคนพากันออกมาแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น แบงค์ - ธิติ มหาโยธารักษ์, คริส - พีรวัส แสงโพธิรัตน์, เจเจ - กฤษณภูมิ พิบูลสงคราม, เจมส์ - ธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญ, กัปตัน - ชลธร คงยิ่งยง, ไอซ์ - พาริส อินทรโกมาลย์สุต, ผู้กำกับซีรีส์ ย้ง - ทรงยศ สุขมากอนันต์ และ ปิง - เกรียงไกร วชิรธรรมพร






“โรม” ซัด ส.ว. เลิกหากินกับสถาบันฯ ควรเลิกเอามาบังหน้า !!นายรังสิมันต์ โรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล โพสต์เฟซบุ๊กชื่อ “Rangsiman Rome – รังสิมันต์ โรม” ระบุว่า
ผมเชื่อว่าหนึ่งในข้อเสนอหลักของนักศึกษาและประชาชนที่มาร่วมชุมนุม ตลอดเวลาที่ผ่านมาคือ การพูดว่า ส.ว. แต่งตั้งเช่นนี้ต้องถูกยุบ พวกคุณไม่มีความชอบธรรมแม้แต่สักวินาทีเดียวที่จะอยู่ในตำแหน่งแล้วกินภาษีของประชาชน โดยที่ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชนเลยแม้แต่น้อย
ที่ไม่น่าเชื่อยิ่งกว่าคือพวกท่านกลับยกเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 มา เพื่อบอกว่าการชุมนุมจะบานปลาย ทั้งที่ตลอดเวลาที่ผ่านมานั้น ประชาชนไม่เคยเรียกร้องความรุนแรงเลยแม้แต่ครั้งเดียว
หากคุณได้ฟังพวกเขาจริง ๆ ว่าพูดอะไรเรียกร้องและส่งเสียงว่าอะไรมาถึงพวกเราบ้าง จะได้รู้ว่าก็มีแต่ความหวังจะให้การแก้ไขปัญหาเกิดขึ้น และส.ว.ที่มาที่ไม่มีความชอบธรรมอย่างน้อยก็ควรละอายใจ และไปปรามนายของคุณที่ชื่อประยุทธ์ จันทร์โอชา กันเสียหน่อยว่าอย่าให้เกิดความรุนแรง
แต่ที่ผ่านมา พวกคุณไม่เคยลงมือทำอะไรเลย มีอะไรที่พวกคุณทำเพื่ออนาคตของชาติบ้าง? ยกเลิกการเกณฑ์ทหารทำหรือเปล่า? ปฏิรูปกองทัพทำหรือยัง?
แก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างจริงจังได้ทำจริงจังแค่ไหน? การจัดสรรงบประมาณประจำปี 64 ที่จะต้องรับมือกับโควิดและการฟื้นฟูต่อจากนี้ มีความจริงใจจะทำให้ดีแค่ไหน?
คำตอบคือ ไม่เลย ไม่เคยมีความจริงใจให้พวกเขา พอตอนนี้ประชาชนเขาทนไม่ไหว ต้องเสี่ยงออกมาเรียกร้อง ส.ว. ก็ดันทำงานปกป้องนายเสียแข็งขัน น่าอายจริง ๆ ครับที่ “สภาสูง” เป็นได้แค่แนวคุ้มกันให้กับอำนาจฝ่ายบริหาร
ที่คอยเปิดต้อนรับให้เจ้านายเข้าไปนั่งเก้าอี้นายกฯ ฉะนั้น เลิกเสียเถิด ส.ว. ควรเลิกหากินกับสถาบันกษัตริย์มาบังหน้า แล้วคุ้มกันตำแหน่งของตัวเอง จากข้อเรียกร้องที่ให้ยุบ ส.ว. สักที



การเมืองไทย ในกะลา

นิธิ เอียวศรีวงศ์: ตำแหน่งแห่งที่และพรมแดนความรู้เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคมไทย

คลิปบทสัมภาษณ์ : https://youtu.be/wpdU82i4ap0

นิธิ เอียวศรีวงศ์ ให้สัมภาษณ์พิเศษในเรื่องตำแหน่งแห่งที่และพรมแดนความรู้เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคมไทย ตอนหนึ่งกล่าวถึงคำปราศรัยของอานนท์ นำภา ระบุว่าเป็นประโยชน์ทั้งต่อประชาชนและสถาบันพระมหากษัตริย์ พร้อมแสดงความห่วงใยเพราะที่ผ่านมามีคนจำนวนน้อยที่มีอำนาจหวงแหนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้จากประชาชน และอ้างถึงเพื่อใช้ปราบศัตรูทางการเมืองมาตั้งแต่ยุคสฤษดิ์จนถึงประยุทธ์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสถาบันในระยะยาว
ศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ให้สัมภาษณ์พิเศษเมื่อ 7 ส.ค. ที่ผ่านมา ในเรื่องตำแหน่งแห่งที่และพรมแดนความรู้เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคมไทย โดยตอนหนึ่งกล่าวถึงคำปราศรัยของอานนท์ นำภา ทนายความนักสิทธิมนุษยชนเมื่อวันที่ 3 ส.ค. ที่ผ่านมาว่า
“คำพูดคุณอานนท์ไม่ใช่การโจมตีตัวบุคคลที่เป็นพระมหากษัตริย์ แต่กำลังจะบอกว่า มีกระบวนการกำลังทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์กลายเป็นปฏิปักษ์กับระบอบประชาธิปไตย คือตัวบุคคลที่เป็นพระมหากษัตริย์ท่านจะเป็นปฏิปักษ์หรือไม่ยกไปคนละเรื่อง ตัวท่านคิดอย่างไรเราไม่รู้หรอก แต่ถ้าตัวสถาบันจะเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตย จะเป็นอันตรายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เอง”
นิธิกล่าวว่า สถาบันพระมหากษัตริย์มีเสถียรภาพ คือไม่ว่าจะเปลี่ยนบุคคลไปกี่บุคคลก็แล้วแต่ จะเปลี่ยนกี่รัชกาลก็ไม่สำคัญ ทุกคนไม่เคยรู้สึกว่าสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นศัตรูกับตัวเอง ผมคิดว่าสถาบันพระมหากษัตริย์มั่นคงมาก มีเสถียรภาพสูงมาก ในแง่ตัวบุคคลก็ธรรมดาอยู่เอง เป็นคนที่ประชาชนชอบมากหรือไม่ชอบมาก มนุษย์ก็เป็นเหมือนกันทุกคน บางคนมีเสน่ห์มากมีเสน่ห์น้อย นี่เป็นปกติธรรมดา
เมื่อถามว่าจะสามารถพูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ในแง่มุมต่างๆ ก็สามารถพูดถึงได้ นิธิตอบว่า “ผมว่าได้ คือถ้าไม่ได้ มันกลายเป็น เมื่อไหร่ที่คุณบอกว่าสิ่งไหนพูดไม่ได้เลย และไม่ใช่ว่าพูดไม่ได้เลยโดยทุกคนนะ แต่จะเหลือคนจำนวนน้อยลงๆ ที่พูดถึงได้ ก็เท่ากับว่าคุณยกสถาบันนั้นๆ หรือสิ่งนั้นๆ ให้ไปเป็นสมบัติของคนจำนวนน้อย”
“ผมจึงได้บอกว่าเมื่อไหร่ก็ตามแต่ ที่คุณตั้งอะไรก็แล้วแต่ แล้วคุณใส่คำว่า "แห่งชาติ" สำหรับกรณีประเทศไทยนะ ฉิบหายเลย แทนที่จะหมายถึงคนมาก มันกลับหมายถึงคนจำนวนน้อยลง ที่เข้าไปควบคุมกำกับสิ่งที่เป็นแห่งชาติทั้งหลาย เพราะฉะนั้นเมื่อไหร่ที่เป็นแห่งชาติเมื่อนั้นก็เป็นของทุกคน และเราสามารถที่จะตำหนิติเตียน วิพากษ์วิจารณ์ได้ รัฐบาลแห่งชาติคือรัฐบาลทุกคน แต่เมื่อไหร่เป็นแห่งชาติปับ เหลือคนน้อยลงที่สามารถไปวิพากษ์วิจารณ์ไปตรวจสอบได้”
“สถาบันพระมหากษัตริย์ก็เหมือนกัน สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นของประชาชนทุกคน ตัวสถาบันนะไม่ใช่ตัวบุคคล ซึ่งประชาชนย่อมมีสิทธิเสรีภาพที่จะให้คำแนะนำ กำกับ ควบคุม แสดงความเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย กับบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะอย่างไรเราก็ปฏิเสธไม่ได้ สถาบันพระมหากษัตริย์ในโลกปัจจุบันนี้ หรือโลกสมัยไหนก็แล้วแต่คือสถาบันทางการเมือง จะเป็นสถาบันทางการเมืองโดยไม่มีใครตรวจสอบเลยเป็นไปไม่ได้”
ต่อคำถามเรื่องที่อานนท์ เสนอว่าการพูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์สามารถทำได้ในฐานะที่เป็นสถาบันของประชาชนนั้น นิธิกล่าวว่า “สิ่งที่อานนท์พูดและมีความสำคัญอย่างยิ่งคือ คุณอานนท์เริ่มต้นว่า ขอพูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างตรงไปตรงมา คือไม่ใช้วิธีการกระทบกระเทียบ ประชดประชัน หรือการด่าประณามโดยไม่แสดงเหตุผล”
“อานนท์บอกขอพูดถึงตรงๆ เพราะแกคิดว่าการพูดถึงตรงๆ เป็นการแสดงความเคารพมากกว่า เป็นประโยชน์ทั้งต่อประชาชนและสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะเราไปปล่อยให้มีคนจำนวนน้อยไปหวงสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ แล้วไม่ใช่หวงไว้เฉยๆ หวงแล้วเอามาใช้ประโยชน์”
“เช่น เป็นต้นว่า รัฐบาลสมัยหนึ่งเที่ยวไล่จับคนที่เป็นศัตรูทางการเมืองของตัวเองโดยใช้มาตรา 112 อ้างว่าปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ เห็นไหม เมื่อไหร่ที่สถาบันไม่เป็นของทุกๆ คนปับ มันจะเหลือคนจำนวนน้อยไปใช้ประโยชน์สถาบัน แล้วก็เป็นอันตรายและทำร้ายตัวสถาบันในระยะยาว”
“คนที่หวงสถาบันพระมหากษัตริย์เอาไว้ โดยอ้างด้วยความยกย่อง ห้ามไม่ให้ใครแตะต้องเลย ทั้งหมดเหล่านั้นตั้งแต่สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จนกระทั่งถึงประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ใช่ว่าหวงไว้เฉยๆ นะ คนเหล่านี้ หวงไว้ให้ตัวเองใช้ประโยชน์เสมอ”
เมื่อถามย้ำว่า “สิ่งนี้เป็นอันตรายใช่ไหม?” นิธิตอบว่า “แน่นอน เพราะเท่ากับว่า คนอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม กลายเป็นคนนอกวงความจงรักภักดีไปหมด มีแต่พวกคุณเท่านั้นที่จงรักภักดี สามารถนำเอาสถาบันพระมหากษัตริย์มาหาประโยชน์ส่วนตนได้”
“พูดอีกอย่างก็คือ คุณอานนท์กำลังบอกว่าเขาก็เป็นเจ้าของสถาบันพระมหากษัตริย์เหมือนกัน เหมือนคนไทยคนอื่นๆ เมื่อเป็นเจ้าของ เขาก็มีความห่วงใย ที่จะพูดว่าตรงนี้ควรทำ ไม่ควรทำ อะไรก็แล้วแต่ ไม่ใช่ตัวบุคคลนะครับ เกี่ยวกับเรื่องตัวสถาบัน ซึ่งการที่ประชาชนบอกว่าเขาเป็นเจ้าของสถาบันร่วมกันกับคนอื่นๆ ผมคิดว่ามันกระเทือนผลประโยชน์ของกลุ่มคนที่ไปผูกขาดสถาบันพระมหากษัตริย์เอาไว้ใช้ประโยชน์ในทางการเมือง หรือเศรษฐกิจของตัวเองอย่างเดียว ตลอดมา”
ที่มา : ประชาไท
https://prachatai.com/journal/2020/08/88970

ขับเคลื่อนโดย Blogger.