iLaw
ทั้งนี้เจ้าตัวก็โพสต์เฟซบุ๊กยืนยันว่า จะเดินทางไปพบพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาล (สน.) ปทุมวัน ตามหมายเรียก เวลา 10.00 น. วันที่ 6 เมษายน 2562 เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ
ปรากฎการณ์นี้ไม่ใช่ครั้งแรกของผู้ถูกดำเนินคดี 116 จากการออกมาแสดงตัวอยู่ฝ่ายตรงข้าม คสช.
ไอลอว์ขอย้อนพาผู้อ่านไปรู้จักกับ มาตรา 116 ว่าด้วยเรื่องยุยงปลุกปั่น และการบังคับใช้กฎหมายลักษณะนี้หลังรัฐประหารฯ
“มาตรา 116 ผู้ใดกระทำให้ปรากฎแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันไม่ใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือไม่ใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต
(1) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจ หรือใช้กำลังประทุษร้าย
(2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ
(3) เพื่อให้ประชาชน ล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี”
ทั้งนี้ มาตรา 116 เขียนอยู่ในประมวลกฎหมายอาญาภาค 2 ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร เป็นความผิดอาญาที่มุ่งเอาผิด “การทำให้ปรากฎแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่น” หมายความว่า กฎหมายนี้เป็นกรอบกำกับการแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะไม่ให้กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
หากเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ไม่ว่าจะเป็นการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล วิพากษ์วิจารณ์กฎหมายที่เห็นว่าไม่ชอบธรรม หรือ สำหรับยุคที่มีรัฐธรรมนูญ หากเป็นการใช้เสรีภาพการแสดงความคิดเห็นตามสิทธิขึ้นพื้นฐานในรัฐธรรมนูญ ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 116 และที่สำคัญเมื่อกฎหมายนี้อยู่ในหมวด “ความมั่นคง” การกระทำที่จะถือว่าผิดมาตรา 116 ผู้กระทำต้องมีเจตนาให้กระทบต่อความมั่นคงด้วย
โดยหลังรัฐประหารพฤษภาคม 2557 มีปรากฎการณ์บังคับใช้ กฎหมายมาตรา 116 และมีผู้ถูกดำเนินคดีในรูปแบบต่างๆอย่างน้อย 66 ราย (http://freedom.ilaw.or.th/politically-charged)
มาตรานี้ถูกยังถูกตั้งคำถามอย่างมากว่า เป็นไปเพื่อความมั่นคงหรือเพียงผลประโยชน์ทางการเมือง ?
จากการเก็บข้อมูลของไอลอว์ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้ที่ถูกดำเนินคดีตามมาตรา 116 นั้นมีพฤติการณ์แสดงออกเป็นขั้วตรงข้ามต่อ คสช.อย่างชัดเจน ในลักษณะการถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดที่ต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้
-คดีของจาตุรนต์ ฉายแสง จากการให้สัมภาษณ์นักข่าวโจมตีคสช.ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2557 ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาที่ศาลทหารกรุงเทพ
-คดีของสมบัติ บุญงามอนงค์ ซึ่งถูกจับเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2557 จากการโพสเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์นัดหมายให้ประชาชนออกมาชุมนุมต่อต้าน คสช. ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาที่ศาลทหารกรุงเทพ
-คดีของชาวเชียงราย 3 คน ได้แก่ ออด ถนอมศรี และสุขสยาม ถูกจับเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2557 จากการติดป้ายมีข้อความขอแบ่งแยกเป็นประเทศล้านนา
-คดีของชัชวาลย์ นักข่าวอิสระจากจังหวัดลำพูน ที่รายงานข่าวการชุมนุมต่อต้านการรัฐประหารผิดวัน จากวันที่ 26 พฤษภาคม 2557 เป็นวันที่ 1 มิถุนายน 2557 ต่อมาศาลทหารจังหวัดเชียงใหม่พิพากษายกฟ้อง เนื่องจากจำเลยเพียงนำเสนอข่าวเหตุการณ์ประจำวัน และโจทก์ไม่อาจนำสืบจนสิ้นสงสัยได้ว่า จำเลยมีเจตนาสร้างความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน
- คดีของสิทธิทัศน์ และวชิร จากการโปรยใบปลิว ที่มีข้อความต่อต้านคสช. ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ปัจจุบันคดีนี้ยังไม่ทราบความคืบหน้า
-คดีของพลวัฒน์ จากการโปรยใบปลิวต่อต้านคสช. 4 แห่งในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างสืบพยาน
- คดีของพันธุ์ศักดิ์ จากการจัดกิจกรรม “พลเมืองรุกเดิน” เพื่อเดินเรียกร้องความเป็นธรรมเมื่อวันที่ 14-16 มีนาคม 2558 ปัจจุบัน คดีพิจารณาที่ศาลทหารในชั้นสืบพยาน
- คดีของกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ 14 คน จากการชุมนุมต่อต้านคสช. และเรียกร้องหลักการ 5 ข้อ ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ปัจจุบันคดียังอยู่ระหว่างการสรุปสำนวนสอบสวน
-คดีโพสต์เฟซบุ๊กหมิ่นประมาทนายกรัฐมนตรของรินดา ถูกดำเนินคดีจากการโพสต์เฟซบุ๊กกล่าวหาว่า พล.อ.ประยุทธ์ โอนเงินหมื่นล้านไปสิงคโปร์ ปัจจุบันคดีอยู่ในชั้นพิจารณาของศาลทหารกรุงเทพ และศาลระงับการพิจารณาคดีไว้ หลังเห็นว่าไม่เข้าข่ายความผิดยุยงปลุกปั่น ให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน เป็นเพียงการหมิ่นประมาทโดยโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 ศาลทหารจึงไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้ กระทั้งมาสู้กันต่อในศาลอาญาและศาลพอพิพากษายกฟ้องเธอไป
------------------------------------------------------
อ่าน บทวิเคราะห์การใช้มาตรา 116 เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง ได้ที่http://freedom.ilaw.or.th/blog/116NCPO
มาตรา 116 เพื่อความมั่นคงฯหรือผลประโยชน์ทางการเมือง ?
เช้าวันนี้(3 เมษายน 2562) มีรายงานข่าวว่า ฝ่ายกฎหมาย คสช. แจ้งความดำเนินคดีกับธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ฐานยุยงปลุกปั่นฯตามมาตรา 116 และให้ที่พักพิงผู้ต้องหารายอื่น ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 189ทั้งนี้เจ้าตัวก็โพสต์เฟซบุ๊กยืนยันว่า จะเดินทางไปพบพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาล (สน.) ปทุมวัน ตามหมายเรียก เวลา 10.00 น. วันที่ 6 เมษายน 2562 เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ
ปรากฎการณ์นี้ไม่ใช่ครั้งแรกของผู้ถูกดำเนินคดี 116 จากการออกมาแสดงตัวอยู่ฝ่ายตรงข้าม คสช.
ไอลอว์ขอย้อนพาผู้อ่านไปรู้จักกับ มาตรา 116 ว่าด้วยเรื่องยุยงปลุกปั่น และการบังคับใช้กฎหมายลักษณะนี้หลังรัฐประหารฯ
“มาตรา 116 ผู้ใดกระทำให้ปรากฎแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันไม่ใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือไม่ใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต
(1) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจ หรือใช้กำลังประทุษร้าย
(2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ
(3) เพื่อให้ประชาชน ล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี”
ทั้งนี้ มาตรา 116 เขียนอยู่ในประมวลกฎหมายอาญาภาค 2 ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร เป็นความผิดอาญาที่มุ่งเอาผิด “การทำให้ปรากฎแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่น” หมายความว่า กฎหมายนี้เป็นกรอบกำกับการแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะไม่ให้กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
หากเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ไม่ว่าจะเป็นการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล วิพากษ์วิจารณ์กฎหมายที่เห็นว่าไม่ชอบธรรม หรือ สำหรับยุคที่มีรัฐธรรมนูญ หากเป็นการใช้เสรีภาพการแสดงความคิดเห็นตามสิทธิขึ้นพื้นฐานในรัฐธรรมนูญ ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 116 และที่สำคัญเมื่อกฎหมายนี้อยู่ในหมวด “ความมั่นคง” การกระทำที่จะถือว่าผิดมาตรา 116 ผู้กระทำต้องมีเจตนาให้กระทบต่อความมั่นคงด้วย
โดยหลังรัฐประหารพฤษภาคม 2557 มีปรากฎการณ์บังคับใช้ กฎหมายมาตรา 116 และมีผู้ถูกดำเนินคดีในรูปแบบต่างๆอย่างน้อย 66 ราย (http://freedom.ilaw.or.th/politically-charged)
มาตรานี้ถูกยังถูกตั้งคำถามอย่างมากว่า เป็นไปเพื่อความมั่นคงหรือเพียงผลประโยชน์ทางการเมือง ?
จากการเก็บข้อมูลของไอลอว์ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้ที่ถูกดำเนินคดีตามมาตรา 116 นั้นมีพฤติการณ์แสดงออกเป็นขั้วตรงข้ามต่อ คสช.อย่างชัดเจน ในลักษณะการถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดที่ต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้
-คดีของจาตุรนต์ ฉายแสง จากการให้สัมภาษณ์นักข่าวโจมตีคสช.ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2557 ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาที่ศาลทหารกรุงเทพ
-คดีของสมบัติ บุญงามอนงค์ ซึ่งถูกจับเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2557 จากการโพสเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์นัดหมายให้ประชาชนออกมาชุมนุมต่อต้าน คสช. ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาที่ศาลทหารกรุงเทพ
-คดีของชาวเชียงราย 3 คน ได้แก่ ออด ถนอมศรี และสุขสยาม ถูกจับเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2557 จากการติดป้ายมีข้อความขอแบ่งแยกเป็นประเทศล้านนา
-คดีของชัชวาลย์ นักข่าวอิสระจากจังหวัดลำพูน ที่รายงานข่าวการชุมนุมต่อต้านการรัฐประหารผิดวัน จากวันที่ 26 พฤษภาคม 2557 เป็นวันที่ 1 มิถุนายน 2557 ต่อมาศาลทหารจังหวัดเชียงใหม่พิพากษายกฟ้อง เนื่องจากจำเลยเพียงนำเสนอข่าวเหตุการณ์ประจำวัน และโจทก์ไม่อาจนำสืบจนสิ้นสงสัยได้ว่า จำเลยมีเจตนาสร้างความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน
- คดีของสิทธิทัศน์ และวชิร จากการโปรยใบปลิว ที่มีข้อความต่อต้านคสช. ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ปัจจุบันคดีนี้ยังไม่ทราบความคืบหน้า
-คดีของพลวัฒน์ จากการโปรยใบปลิวต่อต้านคสช. 4 แห่งในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างสืบพยาน
- คดีของพันธุ์ศักดิ์ จากการจัดกิจกรรม “พลเมืองรุกเดิน” เพื่อเดินเรียกร้องความเป็นธรรมเมื่อวันที่ 14-16 มีนาคม 2558 ปัจจุบัน คดีพิจารณาที่ศาลทหารในชั้นสืบพยาน
- คดีของกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ 14 คน จากการชุมนุมต่อต้านคสช. และเรียกร้องหลักการ 5 ข้อ ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ปัจจุบันคดียังอยู่ระหว่างการสรุปสำนวนสอบสวน
-คดีโพสต์เฟซบุ๊กหมิ่นประมาทนายกรัฐมนตรของรินดา ถูกดำเนินคดีจากการโพสต์เฟซบุ๊กกล่าวหาว่า พล.อ.ประยุทธ์ โอนเงินหมื่นล้านไปสิงคโปร์ ปัจจุบันคดีอยู่ในชั้นพิจารณาของศาลทหารกรุงเทพ และศาลระงับการพิจารณาคดีไว้ หลังเห็นว่าไม่เข้าข่ายความผิดยุยงปลุกปั่น ให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน เป็นเพียงการหมิ่นประมาทโดยโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 ศาลทหารจึงไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้ กระทั้งมาสู้กันต่อในศาลอาญาและศาลพอพิพากษายกฟ้องเธอไป
------------------------------------------------------
อ่าน บทวิเคราะห์การใช้มาตรา 116 เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง ได้ที่http://freedom.ilaw.or.th/blog/116NCPO
แสดงความคิดเห็น