Atukkit Sawangsuk
รู้สึกทู่เรศที่เห็นยะใสออกมาเรียกร้องให้ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เห็นนวยนิ่มออกมาด่าในฐานะกรรมการปฏิรูปประเทศ เห็นองค์กรต้านโกงดิ้นพล่าน
รู้สึกทู่เรศที่เห็นยะใสออกมาเรียกร้องให้ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เห็นนวยนิ่มออกมาด่าในฐานะกรรมการปฏิรูปประเทศ เห็นองค์กรต้านโกงดิ้นพล่าน
วิธีคิดต้านโกงของคนพวกนี้ คือเอากระบวนการยุติธรรมออกไปจากนักการเมือง ออกไปเป็นอิสระ อิสระกระทั่งไม่ยึดโยงประชาชน ไม่เห็นหัวประชาชน ยกตนเป็นเทวดา ไม่ว่าศาลองค์กรอิสระ
กินเงินภาษีประชาชน แต่ประชาชนไม่สามารถตรวจสอบได้ ไม่มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน เอาผิด หรือกระทั่งวิจารณ์ไม่ได้ ศาลวิจารณ์ไม่ได้ กกต.วิจารณ์แล้วฟ้องเอาผิด
วิธีคิดแยกกระบวนการยุติธรรมเป็นอิสระ ที่ผิดเพี้ยนที่สุด คือแยกอัยการเป็นอิสระ ในรัฐธรรมนูญ 2550 ต่อเนื่องมาถึง 2560 (แต่พอรัฐประหารเด้งอัยการสูงสุดได้)
ว่าโดยหลักการ อัยการต้องมีอิสระในการสั่งคดี อำนาจการเมืองแทรกแซงสั่งการไม่ได้ แต่โดยระบบ อัยการก็ต้องเกาะเกี่ยวอยู่กับอำนาจบริหาร เพราะอัยการเป็นทนายของรัฐ ทำหน้าที่ฟ้องคดีอาญาแทนรัฐบาล ซึ่งต้องรับผิดชอบความสงบเรียบร้อยความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินประชาชน
อัยการต้องรับผิดชอบต่อรัฐบาล แล้วรัฐบาล(ที่มาจากเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย)รับผิดชอบต่อประชาชนอีกที
ไม่ใช่อัยการไม่ต้องรับผิดชอบต่อใคร ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ฉ้อฉล สำนวนอ่อน ฟ้องโจรผู้ร้ายฆาตกรหลุดเพียบ ประชาชนหวาดผวา แล้วรัฐบาลก็แบะๆ เราทำอะไรอัยการไม่ได้ ไม่อยู่ใต้อำนาจรัฐบาลที่ประชาชนเลือกมา ทั้งที่เป็นอำนาจบริหาร เป็น "ทนายแผ่นดิน" จะอยู่ใต้อำนาจต่อเมื่อมารับเบี้ยประชุมแพงๆ เป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจ
อันนี้ไม่ใช่ไม่ยอมรับหลักวินิจฉัยอิสระ แต่จะต้องมีความยึดโยงที่ประชาชนให้คุณให้โทษได้ และโดยหลักการแบ่งแยกอำนาจก็ต้องอยู่ใต้ฝ่ายบริหาร ไม่ใช่ศาลซึ่งแยกไปเป็นอำนาจตุลาการ (กระนั้นก็ควรยึดโยงอำนาจประชาชนเหมือนกัน)
โครงสร้างแต่เดิมมา อัยการก็มีอิสระระดับหนึ่ง จากกรมอัยการสังกัดมหาดไทย แยกมาเป็นสำนักงานอัยการสูงสุด มี ก.อ.แต่งตั้งโยกย้าย เพียงยังเกาะเกี่ยวอยู่ใต้นายกฯ แล้วช่วงหนึ่งก็มาเกาะเกี่ยวกับกระทรวงยุติธรรม
ปัญหาของคำว่าอิสระ ยังมีอีกข้อ คือไม่ใช่คิดแต่อิสระจากนักการเมือง แต่นายสั่งได้ ระบบภายในสำนักงานกลายเป็นเจ้าขุนมูลนาย ผู้น้อยผู้ใหญ่ ถ้าอย่างนั้นอิสระก็ไม่มีความหมายอะไร (เหมือนอิสระของผู้พิพากษาคุณากร)
คนชั้นกลางเกลียดนักการเมือง รัฐธรรมนูญ 2540 จึงงอกองค์กรอิสระ คิดว่าจะมีเทวดาเปาบุ้นจิ้นลอยจากฟากฟ้าบริสุทธิ์ผุดผ่อง
ที่ไหนได้ กลายเป็นข้าราชการแก่ๆ ผู้พิพากษาแก่ๆ มีอคติต่อประชาธิปไตย มีคอนเนคชั่นในแวดวงขุนนาง
พอเกลียดกลัวทักษิณเห็นว่าจะแทรกแซงองค์กรอิสระได้ ก็ไม่ให้ยึดโยงอำนาจเลือกตั้ง แล้วบ้าอิสระ รธน.50 ก็มาแยกอัยการเป็นอิสระ ซึ่งไม่ได้เพิ่มประสิทธิภาพตรงไหนเลย อัยการเอาแต่เรียกร้องให้ตัวเองได้ทุกอย่างใกล้เคียงผู้พิพากษา ได้เงินเดือนเงินประจำตำแหน่งค่ารถประจำตำแหน่งและได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ก่อนรับตำแหน่งเหมือนผู้พิพากษา
กินเงินภาษีประชาชน แต่ประชาชนไม่สามารถตรวจสอบได้ ไม่มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน เอาผิด หรือกระทั่งวิจารณ์ไม่ได้ ศาลวิจารณ์ไม่ได้ กกต.วิจารณ์แล้วฟ้องเอาผิด
วิธีคิดแยกกระบวนการยุติธรรมเป็นอิสระ ที่ผิดเพี้ยนที่สุด คือแยกอัยการเป็นอิสระ ในรัฐธรรมนูญ 2550 ต่อเนื่องมาถึง 2560 (แต่พอรัฐประหารเด้งอัยการสูงสุดได้)
ว่าโดยหลักการ อัยการต้องมีอิสระในการสั่งคดี อำนาจการเมืองแทรกแซงสั่งการไม่ได้ แต่โดยระบบ อัยการก็ต้องเกาะเกี่ยวอยู่กับอำนาจบริหาร เพราะอัยการเป็นทนายของรัฐ ทำหน้าที่ฟ้องคดีอาญาแทนรัฐบาล ซึ่งต้องรับผิดชอบความสงบเรียบร้อยความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินประชาชน
อัยการต้องรับผิดชอบต่อรัฐบาล แล้วรัฐบาล(ที่มาจากเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย)รับผิดชอบต่อประชาชนอีกที
ไม่ใช่อัยการไม่ต้องรับผิดชอบต่อใคร ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ฉ้อฉล สำนวนอ่อน ฟ้องโจรผู้ร้ายฆาตกรหลุดเพียบ ประชาชนหวาดผวา แล้วรัฐบาลก็แบะๆ เราทำอะไรอัยการไม่ได้ ไม่อยู่ใต้อำนาจรัฐบาลที่ประชาชนเลือกมา ทั้งที่เป็นอำนาจบริหาร เป็น "ทนายแผ่นดิน" จะอยู่ใต้อำนาจต่อเมื่อมารับเบี้ยประชุมแพงๆ เป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจ
อันนี้ไม่ใช่ไม่ยอมรับหลักวินิจฉัยอิสระ แต่จะต้องมีความยึดโยงที่ประชาชนให้คุณให้โทษได้ และโดยหลักการแบ่งแยกอำนาจก็ต้องอยู่ใต้ฝ่ายบริหาร ไม่ใช่ศาลซึ่งแยกไปเป็นอำนาจตุลาการ (กระนั้นก็ควรยึดโยงอำนาจประชาชนเหมือนกัน)
โครงสร้างแต่เดิมมา อัยการก็มีอิสระระดับหนึ่ง จากกรมอัยการสังกัดมหาดไทย แยกมาเป็นสำนักงานอัยการสูงสุด มี ก.อ.แต่งตั้งโยกย้าย เพียงยังเกาะเกี่ยวอยู่ใต้นายกฯ แล้วช่วงหนึ่งก็มาเกาะเกี่ยวกับกระทรวงยุติธรรม
ปัญหาของคำว่าอิสระ ยังมีอีกข้อ คือไม่ใช่คิดแต่อิสระจากนักการเมือง แต่นายสั่งได้ ระบบภายในสำนักงานกลายเป็นเจ้าขุนมูลนาย ผู้น้อยผู้ใหญ่ ถ้าอย่างนั้นอิสระก็ไม่มีความหมายอะไร (เหมือนอิสระของผู้พิพากษาคุณากร)
คนชั้นกลางเกลียดนักการเมือง รัฐธรรมนูญ 2540 จึงงอกองค์กรอิสระ คิดว่าจะมีเทวดาเปาบุ้นจิ้นลอยจากฟากฟ้าบริสุทธิ์ผุดผ่อง
ที่ไหนได้ กลายเป็นข้าราชการแก่ๆ ผู้พิพากษาแก่ๆ มีอคติต่อประชาธิปไตย มีคอนเนคชั่นในแวดวงขุนนาง
พอเกลียดกลัวทักษิณเห็นว่าจะแทรกแซงองค์กรอิสระได้ ก็ไม่ให้ยึดโยงอำนาจเลือกตั้ง แล้วบ้าอิสระ รธน.50 ก็มาแยกอัยการเป็นอิสระ ซึ่งไม่ได้เพิ่มประสิทธิภาพตรงไหนเลย อัยการเอาแต่เรียกร้องให้ตัวเองได้ทุกอย่างใกล้เคียงผู้พิพากษา ได้เงินเดือนเงินประจำตำแหน่งค่ารถประจำตำแหน่งและได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ก่อนรับตำแหน่งเหมือนผู้พิพากษา
แสดงความคิดเห็น