iLaw

แชมป์ 1984: ให้พลังประชารัฐชนะถล่มทลายแล้วตั้งรัฐบาลได้เลยยังดีกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้
"ก่อนการเลือกตั้ง 24 มีนา ผมมองการเลือกตั้งอย่างมีความหวังนะ ตัวผมเองรู้สึกเบื่อและไม่ชอบใจกับสิ่งที่เป็นอยู่ ตอนแรกก็คิดว่า เราเป็นคนทำกิจกรรม อาจจะมีคติมากเกินไปและตัวเองเสพย์สื่อแบบเลือกข้าง แต่พอไปคุยกับคนที่ไม่เคยรู้จักกัน และไม่ใช่คนทำกิจกรรมอย่างคนขับ taxi เขาก็บ่นว่าสถานการณ์ที่เป็นอยู่มันแย่เหมือนกัน"
"วันเลือกตั้ง 24 มีนาคม ตัวผมไม่ได้หวังผลการเลือกตั้งในเขตตัวเองมากนัก เพราะตั้งแต่คุณหญิงสุดารัตน์ติดโทษแบนทางการเมือง พรรคประชาธิปัตย์ก็ผูกขาดเขตผมมาโดยตลอด แถมตอนลงประชามติปี 2559 เขตผมก็รับร่างรัฐธรรมนูญ แต่เลือกตั้งครั้งนี้พอนับคะแนนออกมาผลปรากฎว่าประชาธิปัตย์แพ้พลังประชารัฐผมก็แอบแปลกใจอยู่เหมือนกัน"
"จริงๆตอนวันเลือกตั้ง ในภาพรวมผมยังมองการเลือกตั้งแบบมีความหวังนะเพราะอย่างน้อยแม้พล.อ.ประยุทธ์จะได้เป็นนายก แต่ คสช. และมาตรา 44 ก็จะหมดไป แปลว่าต่อจากนี้การบริหารประเทศแบบตามใจชอบไม่ได้แล้ว"
"แต่ปรากฎว่า หลังการเลือกตั้งแทนที่จะมีความชัดเจนว่าใครจะเป็นรัฐบาลใหม่ ทุกอย่างกลับอยู่ในภาวะอึมครึม ไม่รู้ว่าทางข้างหน้าจะเป็นยังไง ไม่มีอะไรชัดเจน มีแต่ความสับสน ยิ่งมาเห็นปรากฎการณ์ที่พรรคที่ไปร่วมแถลงไม่เอาการสืบทอดอำนาจอย่างเพื่อไทย ที่มีว่าที่ส.ส.โดนใบส้ม เพราะไปถวายเงินพระ เห็นพรรคอนาคตใหม่ที่โดนสารพัดคดี เห็นคุณเสรี หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทยที่โดนร้องเรื่องคุณสมบัติ หรือกระทั่งคุณมิ่งขวัญที่ไม่ได้มาร่วมแถลงจุดยืน แต่พอออกมาประกาศตัวว่าไม่ร่วมกับพลังประชารัฐได้ไม่กี่วันก็ถูกร้องเรียน ผมก็เลยมองว่าจากนี้ไปคงต้องเตรียมรับสิ่งที่อาจจะเลวร้ายไปกว่านี้"
กิตติธัช หรือ "แชมป์ 1984" นักกิจกรรมทางสังคมและจำเลยคดีการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง #MBK39 #RDN50 #Army57 ให้สัมภาษณ์หลังร่วมกิจกรรมยืนเฉยๆ คัดค้านการดำเนินคดีกับคนที่วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของ กกต. ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 26 เมษายน 2562


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes

เนบิวลาฟองสบู่ (Bubble Nebula) เป็นเนบิวลาเปล่งแสงที่เกิดจากการเรืองแสงของอะตอมของไฮโดรเจนที่อยู่ในสถานะไอออนในบริเวณ H II region เนื่องจากได้รับความร้อนจากดาวฤกษ์ภายในเนบิวลาจากดาวฤกษ์ที่มีอุณหภูมิสูงมาก (spectrum O)

เนบิวลาฟองสบู่มีขนาดประมาณ 10 ปีแสง เมื่อมองผ่านกล้องโทรทรรศน์จะเห็นว่าอยู่ใกล้กับกระจุกดาวเปิด M52 บริเวณกลุ่มดาวค้างคาว กระจุกดาวเปิด M52 ประกอบด้วยดาวฤกษ์กว่าหนึ่งพันดวง มีขนาดประมาณ 25 ปีแสง เมื่อสังเกตจากโลก วัตถุทั้งสองจะปรากฏเคียงข้างกันบนท้องฟ้า แต่ไม่ได้หมายความว่ามันอยู่ใกล้กันจริง ๆ เนบิวลาฟองสบู่อยู่ห่างจากโลกประมาณ 11,000 ปีแสง แต่กระจุกดาวเปิด M52 อยู่ห่างจากโลกเพียง 5,000 ปีแสงเท่านั้น

ภาพ : ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา/ ธนกฤต สันติคุณาภรต์/ ธฤษพงศ์ ศิริบูรณ์
TRT-SRO/ CDK700/ FLI18603

A-TRT-02


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes

สุขสันต์สัปดาห์แห่งเทศกาลสงกรานต์ด้วยกาแล็กซีรูปร่างสดใส แม้ว่าจะชื่อหนวดแมลงแต่ก็คล้ายมินิฮาร์ทนะครับ

กาแล็กซีหนวดแมลง (Antennae Galaxies) เป็นกาแล็กซีที่เกิดจาก 2 กาแล็กซีชนกัน ได้แก่ NGC 4038 และ NGC 4039 อยู่ในบริเวณกลุ่มดาวนกกา (Corvus) ห่างจากโลกประมาณ 45 ล้านปีแสง

แรงโน้มถ่วงที่รุนแรงส่งผลให้มวลสารบางส่วนถูกเหวี่ยงออกไปไกลกว่าแสนปีแสง เกิดเป็นหางที่ทอดยาวออกไปในอวกาศทั้งสองข้าง จึงเป็นที่มาของชื่อ “หนวดแมลง”

การชนกันของกาแล็กซีส่งผลให้ประมาณฝุ่นและแก๊สบริเวณใจกลางมีความหนาแน่นมากยิ่งขึ้น กระตุ้นให้เกิดการรวมตัวกันของสสารระหว่างดาว จึงทำให้กาแล็กซีประเภทนี้มีอัตราการเกิดใหม่ของดาวฤกษ์ที่สูงมาก เรียกว่า “Starburst Galaxy”

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-SBO/ CDK17/ FLI16803

A-TRT-93


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes

ร้อนๆ แบบนี้ มาดูภาพวัตถุท้องฟ้าหน้าตาชวนเย็นใจกันดีกว่าครับ

เมซิเย 51 (Messier 51) หรือ กาแล็กซีน้ำวน (Whirlpool galaxy) เป็น 2 กาแล็กซีที่มีปฏิสัมพันธ์กัน อยู่ห่างจากโลก 23 ล้านปีแสง บริเวณกลุ่มดาวหมาล่าเนื้อ (Canes Venatici) ค่าความสว่างปรากฏ 8.4 สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก เป็นกาแล็กซีแรกที่ถูกจัดให้อยู่ในประเภท “กาแล็กซีกังหัน” มีขนาดประมาณ 60,000 ปีแสง

หากมองลึกเข้าไปยังใจกลางกาแล็กซีรูปทรงกังหันที่อยู่ตรงกลางภาพ จะพบหลุมดำมวลยวดยิ่งที่กำลังดูดกลืนมวลสารอย่างบ้าคลั่ง ปลดปล่อยรังสีพลังงานสูงออกมา ทำให้บริเวณใจกลางสว่างกว่าบริเวณอื่นมาก เรียกกาแล็กซีประเภทนี้ว่า “Active Galaxy”

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-NEO / CDK700/ FLI16803

A-TRT-92


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes

Messier 2 (M2) เป็นกระจุกดาวทรงกลม (Globular Cluster) ที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์ประมาณ 150,000 ดวงเกาะกลุ่มกันภายใต้แรงโน้มถ่วงของกันและกัน เกิดเป็นระบบดาวฤกษ์ขนาดใหญ่มีลักษณะคล้ายทรงกลม อยู่บริเวณกลุ่มดาวราศีกุมภ์ (Aquarius) อยู่ห่างจากโลก 33,000 ปีแสง และมีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 175 ปีแสง

นักดาราศาสตร์คาดว่ามี M2 มีอายุประมาณ 13,000 ล้านปี ประกอบไปด้วยดาวฤกษ์ที่มีสีเหลืองไปจนถึงสีแดงเป็นส่วนใหญ่ เป็นหนึ่งในกระจุกดาวทรงกลมที่มีขนาดใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในกาแล็กซีทางช้างเผือก เราสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยกล้องสองตาและกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก แต่จะเห็นเป็นเพียงหมอกจางสีขาวเท่านั้น

นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส จีน ดอมินิค มารัลดิ และ ชาคส์ คาสสินี เป็นผู้ค้นพบ M2 ครั้งแรก ในปี ค.ศ.1746 แต่เข้าใจผิดว่าเป็นเนบิวลา ต่อมาในปี ค.ศ.1760 ชาร์ล เมซีเย ที่กำลังศึกษาดาวหางได้บันทึกว่า M2 เป็นเนบิวลาชนิดหนึ่งที่ไม่มีดาวฤกษ์อยู่ภายใน จนกระทั่งปี ค.ศ.1783 วิลเลียม เฮอร์เชล เป็นนักดาราศาสตร์คนแรกใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังแยกภาพสูงจนสามารถมองเห็นดาวฤกษ์แต่ละดวงได้ เขาพบว่าเป็นระบบขนาดใหญ่ที่ประกอบไปด้วยดาวฤกษ์จำนวนมาก

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-SBO/ CDK17/ FLI16803

A-TRT-91


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes

NGC 3132 เป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ อยู่บริเวณกลุ่มดาวใบเรือ ห่างจากโลกประมาณ 613 พาร์เซก (2,000 ปีแสง) รู้จักกันในชื่อ Eight-Burst Nebula หรือเนบิวลาวงแหวนใต้ เนื่องจากมีรูปร่างเหมือนเลข 8 เมื่อมองผ่านกล้องโทรทรรศน์บางชนิด แก๊สส่องสว่างรอบๆ คือเศษฝุ่นและแก๊สที่หลงเหลือจากการยุบตัวของดาวยักษ์แดงไปเป็นดาวแคระขาว แก๊สเหล่านี้กำลังเคลื่อนห่างไปเรื่อยๆ จากดาวแคระขาวที่ใจกลางด้วยความเร็วถึง 14.5 กิโลเมตรต่อวินาที

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-NEO / CDK700/ FLI16803

A-TRT-90


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes

NGC 3293 เป็นกระจุกดาวเปิดในกลุ่มดาวคาริน่า ค้นพบโดยนิโคลัส หลุยส์ เดอ ลาคาย ในปี ค.ศ. 1751 กระจุกดาวนี้ประกอบด้วยดาวฤกษ์กว่า 100 ดวงที่มีค่าความสว่างกว่าแมกนิจูด 14 ใน พื้นที่10 ลิปดา โดยดวงที่สว่างที่สุดเป็นดาวยักษ์น้ำเงิน มีค่าสว่างปรากฎถึง 6.5 และ 6.7 นอกจากนี้ยังมีดาวยักษ์แดง V361 Carinae ค่าความสว่างแมกนิจูด 7 อีกด้วย

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-SBO/ CDK17/ FLI16803

A-TRT-89


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes

NGC 3242 คือ เนบิวลาดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากโลกประมาณ 1,400 ปีแสง ในกลุ่มดาวงูไฮดรา (Hydra constellation) มีขนาดปรากฏที่มองเห็นจากโลก 25 พิลิปดา ใกล้เคียงกับขนาดปรากฏของดาวพฤหัสบดี จึงมีชื่อเล่นว่า “ผีดาวพฤหัสบดี (Ghost of Jupiter)”

เนบิวลาดาวเคราะห์ (planetary nebula) เป็นจุดจบของดาวฤกษ์มวลใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์ แก๊สที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของดาวฤกษ์ถูกเป่ากระจายออกไปเป็นรัศมีกว่า 9 ล้านล้านกิโลเมตร หรือประมาณ 1 ปีแสง ทิ้งใจกลางที่เป็นแก่นของดาวฤกษ์เอาไว้ เรียกว่า “ดาวแคระขาว”

ทั้งนี้ที่เรียกว่า “เนบิวลาดาวเคราะห์” นั้นไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับดาวเคราะห์แต่อย่างใด เพียงแต่ในสมัยโบราณ นักดาราศาสตร์ยังไม่มีกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายมากนัก จึงเข้าใจผิดว่าเนบิวลาประเภทนี้เป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-NEO / CDK700/ FLI16803

A-TRT-88


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes

เมซีเย 53 (Messier 53) คือ กระจุกดาวทรงกลมในกลุ่มดาว ผมเบเรนิซ (Coma Berenices) มีขนาดปรากฏบนท้องฟ้า 13 ลิปดา ค่าความสว่างปรากฏ 8.33 สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยกล้องสองตาและกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก

กระจุกดาวนี้ ประกอบด้วยดาวฤกษ์ประมาณ 500,000 ดวง แผ่ออกเป็นรัศมี 110 ปีแสง ห่างจากใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือกประมาณ 60,000 ปีแสง ดาวฤกษ์ส่วนใหญ่เป็นดาวฤกษ์ยุคแรก กล่าวคือ เป็นดาวฤกษ์ที่มีองค์ประกอบเป็นธาตุหนักน้อย (metal-poor star)

โดยทั่วไปแล้วดาวฤกษ์ในกระจุกดาวเดียวกันจะมีอายุและอุณหภูมิที่ใกล้เคียงกัน แต่นักดาราศาสตร์พบว่าภายในกระจุกดาวเมซีเย 53 นี้ มีดาวฤกษ์ที่อุณหภูมิสูงกว่าดาวฤกษ์สมาชิกดวงอื่น ๆ คาดว่าเกิดจากดาวฤกษ์ที่หนาแน่นบริเวณใจกลางกระจุกดาวชนกัน จนทำให้มีความร้อนสูงขึ้นและปรากฏเป็นสีฟ้ามากกว่าดาวดวงอื่น ๆ

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-NEO / CDK700/ FLI16803

A-TRT-87


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes

เห็นกระจุกดาวแน่นๆ แล้วเรามาดูแบบโล่งๆกันบ้าง

ดาวฤกษ์ที่เห็นในภาพนี้เป็นกระจุกดาวที่รวมตัวกันอยู่อย่างหลวม ๆ เรียกว่า เมซีเย 46 (Messier46) ซึ่งเป็นกระจุกดาวเปิดที่อยู่ในกลุ่มดาวท้ายเรือ (Puppis) มีขนาดรัศมี 37.8 ปีแสง อยู่ห่างไกลออกไปจากโลกประมาณ 5,000 ปีแสง ประกอบด้วยดาวฤกษ์กว่า 500 ดวง คาดว่ามีอายุประมาณ 250 ล้านปี

บริเวณขอบด้านบนของกระจุกดาวมีเนบิวลาดาวเคราะห์ชื่อว่า NGC 2438 เป็นจุดจบของดาวฤกษ์ที่มีมวลใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์ จากการศึกษาพบว่าเนบิวลานี้ไม่ได้อยู่ในระบบของกระจุกดาวเมซีเย 46 แต่เป็นเนบิวลาที่ซ้อนอยู่ด้านหน้าของกระจุกดาว ห่างจากโลกประมาณ 3,000 ปีแสง

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-NEO / CDK700/ FLI16803

A-TRT-86


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes

ใกล้วันดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลก ก็ขอนำเสนอวัตถุท้องฟ้ารูปทรงคล้ายกันสักหน่อย🌕

Messier 3 (หรือ M3) เป็นกระจุกดาวทรงกลม ประกอบไปด้วยดาวฤกษ์ประมาณ 500,000 ดวง อยู่ห่างออกไปจากโลกเป็นระยะทาง 33,900 ปีแสง บริเวณกลุ่มดาวหมาล่าเนื้อ (Canes Venatici) ถือเป็นหนึ่งในกระจุกดาวทรงกลมที่มีขนาดใหญ่ และสว่างมากที่สุด มีกำลังส่องสว่างเฉลี่ยมากว่าดวงอาทิตย์ถึง 300,000 เท่า มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 180 ปีแสง มีขนาดเชิงมุมที่วัดได้จากโลกเท่ากับ 18 ลิปดา (0.3 องศา) ด้วยอายุประมาณ 8 พันล้านปี ดาวฤกษ์ส่วนมากจึงเป็นดาวที่แก่และมีสีออกแดง

ความพิเศษของกระจุกดาว M3 คือ มีดาวฤกษ์ที่เป็น “ดาวแปรแสง” (Variable star) มากถึง 274 ดวง และมีดาวแปรแสงประเภท RR Lyrae ซึ่งใช้เป็น “เทียนมาตรฐาน” ในการวัดระยะทางได้ ถึง 170 ดวง

ชาร์ล เมซีเย (Charles Messier) นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศสค้นพบ M3 ครั้งแรกในวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ.1764 โดยเข้าใจผิดว่าเป็นเนบิวลาชนิดหนึ่ง จนกระทั่งปี ค.ศ.1784 วิลเลียม เฮอร์เชล (William Herschel)ได้ประดิษฐ์กล้องที่มีความละเอียดเพียงพอที่จะสามารถแยกดาวแต่ละดวงได้ M3 จึงกลายเป็นกระจุกดาวทรงกลมที่มีการศึกษามากที่สุดจนถึงปัจจุบัน

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-NEO / CDK700/ FLI16803

A-TRT-85


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes

ฉลองเทศกาลวาเลนไทน์ด้วยดอกไม้แห่งเอกภพ🌹

เนบิวลาดอกกุหลาบ เป็นเนบิวลาเปล่งแสง (Emission Nebula) อยู่ห่างจากโลกเราออกไปถึง 2,600 ปีแสง บริเวณกลุ่มดาวยูนิคอร์น (Monoceros) และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 55 ปีแสง ขนาดปรากฏบนท้องฟ้าใหญ่กว่าดวงจันทร์ถึงสองเท่า ภายในเนบิวลามีดาวฤกษ์เกิดใหม่มากมาย ดาวฤกษ์เหล่านี้มีอายุประมาณ 4 ล้านปี และจากการคำนวณของนักดาราศาสตร์พบว่าอาจมีดาวฤกษ์ที่มีมวลเท่าดวงอาทิตย์ในเนบิวลานี้ถึง 11,000 ดวง

ภายในเนบิวลาดอกกุหลาบประกอบไปด้วย NCG 2237, NCG 2238, NCG 2239, NCG 2244 และ NCG 2246 สำหรับภาพนี้เราจะเห็น NCG 2244 ซึ่งเป็นกระจุกดาวใจกลางเนบิวลาที่มีความละม้ายคล้ายเกสรของกุหลาบอย่างชัดเจน

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-SBO/ CDK17/ FLI16803

A-TRT-84


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes

ต้อนรับเดือนแห่งความรักด้วยเนบิวลาสวยสดละม้ายคล้ายดอกไม้แรกแย้ม🌹

เนบิวลา N70 หรืออีกชื่อเรียกหนึ่งคือ“ซูเปอร์บับเบิล (Super Bubble)” เนื่องจากเนบิวลา N70 เปล่งแสงออกมาดูคล้ายกับฟองอากาศขนาดยักษ์ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 300 ปีแสง เกิดจากการเป่าลมของดาวฤกษ์มวลมาก และการระเบิดของซูเปอร์โนวาที่อยู่ภายใน ส่งผลให้แก๊สขยายตัวเป็นวงรอบ

เนบิวลา N70 เป็นตัวอย่างที่ดีในการศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างวัฏจักรชีวิตของดาวฤกษ์และวิวัฒนาการของกาแล็กซี เนื่องจากการปลดปล่อยลมของดาวฤกษ์มวลมาก ส่งผลให้แก๊สและฝุ่นในอวกาศเกิดความปั่นป่วน ผสม และรวมกันในที่สุด ก่อเกิดเป็นดาวฤกษ์ดวงใหม่ในอนาคตต่อไป เนบิวลานี้อยู่บริเวณซีกฟ้าใต้ในเมฆแมกเจลแลนใหญ่ (Large Magellanic Cloud, LMC) ห่างจากโลกราว 160,000 ปีแสง
.

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-SBO/ CDK17/ FLI16803

A-TRT-83


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes

เนบิวลาปู (Crab Nebula, Messier 1, M1) เป็นหนึ่งในเนบิวลาที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุด เนื่องจากความสว่าง และความงดงามของมัน เนบิวลาปูอยู่ในกลุ่มดาววัว (Taurus) ห่างจากโลก 6,300 ปีแสง ความสุกสว่างนี้เกิดจากการจบชีวิตลงดาวฤกษ์ดวงหนึ่ง ทำให้เกิดการระเบิดครั้งใหญ่ที่เรียกว่า “Supernova” มวลแก๊สที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของดวงดาวแผ่ขยายพุ่งออกไปในทุก ๆ ทิศทาง ทิ้งไว้เพียงใจกลางแก่นดาว กลายเป็นดาวนิวตรอนที่หมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วสูงและปล่อยพลังงานออกมาเรียกว่าพัลซาร์

นักดาราศาสตร์ชาวจีนเป็นผู้พบเนบิวลาปูครั้งแรกประมาณวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1054 โดยมันสว่างมากกว่าดาวศุกร์ถึง 6 เท่า สามารถสังเกตเห็นได้ในเวลากลางวันถึง 23 วัน และสว่างค้างอยู่เป็นระยะเวลาถึง 2 ปี ในตอนนั้นเขาเชื่อว่าเป็นดาวดวงใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้น จนกระทั่งปี ค.ศ. 1758 ชาร์ล เมซีเย (Charles Messier) นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ที่ศึกษาการโคจรกลับมาของดาวหางแฮลลีย์ เข้าใจผิดว่าเนบิวลาปูคือดาวหางแฮลลีย์ เนี่องจากมีการคำนวณไว้ว่าดาวหางนี้จะโคจรกลับมาในปีดังกล่าว แต่หลังจากศึกษาอยู่ระยะเวลาหนึ่งก็พบว่าวัตถุนี้ไม่ใช่ดาวหาง เพราะหากเป็นดาวหาง จะต้องเคลื่อนที่เปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อย ๆ เขาจึงเป็นคนแรกที่จำแนกเนบิวลาปูไว้ในบันทึกรายชื่อวัตถุท้องฟ้า (Catalogue of Nebulae and Star Clusters) ซี่งรวบรวมวัตถุท้องฟ้าได้แก่ เนบิวลา กาแล็กซี และกระจุกดาวต่าง ๆ เอาไว้ และตั้งชื่อเนบิวปูว่า “M1” หรือ “Messier 1” ส่วนชื่อของเนบิวลาปู ได้มาจากภาพวาดที่บันทึกโดย วิลเลียม พาร์สัน (William Parsons) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับปูนั่นเอง

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-NEO / CDK700/ FLI16803

A-TRT-82


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes

NGC 1999 หรือ Rubber Stamp Nebula เป็นเนบิวลาสะท้อนแสง ซึ่งมีพื้นที่ก่อตัวดาวฤกษ์ขนาดใหญ่และมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งบนท้องฟ้า อยู่ห่างจากโลกประมาณ 1,500 ปีแสง ปรากฏทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเนบิวลาสว่างใหญ่ในกลุ่มดาวนายพราน (M42) ประมาณ 1.5 องศา จุดเด่นของเนบิวลานี้อยู่บริเวณใจกลาง เนื่องจากได้รับแสงสว่างจากดาว V380 Orionis ทำให้เกิดการสะท้อนแสง บริเวณดังกล่าวจึงปรากฏเป็นสีน้ำเงิน-ขาว ประกอบกับมีเนบิวลามืดขนาดประมาณ 10,000 หน่วยดาราศาสตร์บดบังแสงสะท้อนด้านหลัง จึงปรากฏเป็นภาพคล้ายหลุมยุบลงไปเป็นรูปสามเหลี่ยมนั่นเอง

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-SBO/ CDK17/ FLI16803

A-TRT-81


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes

ไดมอนด์คลัสเตอร์ (Diamond Cluster) หรือ NGC 2516 หรือ Caldwell 96 เป็นกระจุกดาวเปิด (Open Cluster) ที่สวยงามและสว่างมากแห่งหนึ่งบนท้องฟ้า ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2294 - 2295 โดย นิกอลา หลุยส์ เดอ ลากาย (Nicolas Louis de Lacaille) นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส NGC 2516 อยู่ห่างออกไปประมาณ 1,300 ปีแสง มีอันดับความสว่าง (Magnitude) 3.8 จัดว่าเป็นกระจุกดาวที่สว่างที่สุด 10 อันดับแรกบนท้องฟ้า จึงสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีขนาดปรากฏใหญ่พอๆ กับขนาดความกว้างของดวงจันทร์ ภายในมีดาวฤกษ์สมาชิกในกระจุกประมาณ 80 ดวง ดาวที่สว่างที่สุดในกระจุกเป็นดาวยักษ์แดง 2 ดวง ท่ามกลางดาวฤกษ์สีน้ำเงินมากมาย NGC 2516 มักถูกเรียกว่ากระจุกดาวรวงผึ้งทางใต้ (Southern Beehive Cluster) เนื่องจากมีความคล้ายคลึงกับกระจุกดาวรวงผึ้ง (Beehive Cluster; M44) ในกลุ่มดาวปู (Cancer)

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-SBO/ CDK17/ FLI16803

A-TRT-80


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes

NGC 2264


NGC 2264 เป็นชื่อเรียกรวมๆ ของเนบิวลาแบบเรืองแสง (Emission Nebula) ขนาดใหญ่ และกระจุกดาวเปิด (Open Cluster) ที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน ซึ่งเป็นกระจุกดาวอายุน้อยและมีความสว่างมาก อยู่ในกลุ่มดาวยูนิคอร์น (Monoceros) ห่างจากโลกประมาณ 2,600 ปีแสง ลักษณะการเรียงตัวของกระจุกดาวเป็นรูปสามเหลี่ยม คล้ายกับต้นคริสต์มาส จึงเรียกว่า Christmas Tree Cluster มีดาวแปรแสงชื่อ เอส โมโนซีโรทิส (S Monocerotis) หรือ 15 โมโนซีโรทิส (15 Monocerotis) อยู่ในตำแหน่งลำต้นของต้นคริสต์มาส ในขณะที่ดาวแปรแสงอีกดวงหนึ่งซึ่งเป็นดาวยักษ์สีน้ำเงินชื่อ V429 โมโนซีโรทิส (V429 Monocerotis) อยู่ในตำแหน่งยอดต้นไม้ เหนือขึ้นไปเป็นเนบิวลามืดสีแดงคล้ำรูปแท่งกรวย เรียกว่า เนบิวลารูปโคน (Cone Nebula)

ส่วนของเนบิวลารูปโคน และบริเวณโดยรอบกระจุกดาวคือก้อนแก๊สไฮโดรเจนขนาดใหญ่ เฉพาะส่วนที่เป็นรูปโคนคือก้อนแก๊สและฝุ่นในอวกาศที่มีอุณหภูมิต่ำ แก๊สและฝุ่นเหล่านี้ดูดซับแสงเรืองของดวงดาว และเนบิวลาที่อยู่ฉากหลังทำให้มันดูมีสีคล้ำกว่า โครงสร้างรูปกรวยมีลักษณะคล้ายกับแท่นเสาแห่งการกำเนิด (Pillar of Creation) ที่อยู่ในบริเวณเนบิวลานกอินทรี (Eagle Nebula หรือ M16) บริเวณกลุ่มดาวงู (Serpens) เนบิวลารูปโคนที่เป็นแท่งสีคล้ำมีความกว้างประมาณ 7 ปีแสง ส่วนปลายมีกระจุกดาวเปิดประกอบด้วยดาวฤกษ์อายุน้อยแต่สว่างกลุ่มหนึ่ง เรียงตัวในรูปแบบที่คล้ายผลึกหิมะ บางครั้งจึงเรียกว่า สโนว์เฟลคคลัสเตอร์ (Snowflake Cluster)

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-SBO/ CDK17/ FLI16803

A-TRT-77


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes

NGC 2362

เป็นกระจุกดาวเปิดในกลุ่มดาวหมาใหญ่
อยู่ห่างจากโลกประมาณ 4,827 ปีแสง มีอายุค่อนข้างน้อย ประมาณ 4-5 ล้านปี กระจุกดาวดังกล่าวมีมวลสูงถึง 500 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์ดวงสว่างที่สุดในภาพมีชื่อว่า Tau Canis Majoris หรือบางครั้งก็ถูกเรียกว่า Tau Canis Majoris Cluster

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-NEO/ CDK700/ ASI290

A-TRT-74


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes

NGC 55

กาแล็กซี NGC 55 หรือ Caldwell 72 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 7.2 ล้านปีแสง มีขนาดปรากฏใหญ่มากบนท้องฟ้า แนวระนาบของกาแล็กซีมีขนาดกว้างถึง 30 ลิปดา กว้างพอๆ กับเส้นผ่าศูนย์กลางของดวงจันทร์เต็มดวง กาแล็กซีนี้มีความกว้างราว 70,000 ปีแสง

เนื่องจาก NGC 55 หันด้านข้าง (Edge-on) เข้าหาโลกเกือบสมบูรณ์ จึงมีความสับสนเรื่องรูปร่างโดยรวมของมันว่า มันเป็นกาแล็กซีแบบกังหันมีคาน (Barred Spiral) หรือแบบมีรูปร่างไม่ชัดเจนที่คล้ายกับกาแล็กซีมาเจลลันกันแน่ (Magellanic Irregular Type) จากข้อมูลล่าสุดทำให้นักดาราศาสตร์เชื่อว่า NGC 55 น่าจะเป็นแบบมีรูปร่างไม่ชัดเจนที่ดูคล้ายกับเมฆมาเจลลัน (Magellanic Clouds) โดยที่บาร์หรือคานยาวหันปลายเข้าหาเรา

NGC 55 มีความคล้ายกับเมฆมาเจลลันใหญ่ (LMC) ที่เป็นบริวารของทางช้างเผือก โดย LMC นั้นหันหน้า (Face-on) เข้าหาเรา แต่เรามองกาแล็กซี NGC 55 จากด้านข้าง ด้วยรูปร่างเรียวยาว สว่าง และไม่สมมาตร จึงทำให้ NGC 55 ถูกเรียกว่า เซาเธิร์น ซิการ์ กาแล็กซี (Southern Cigar Galaxy) จากรูปลักษณ์ที่คล้ายกับซิการ์ กาแล็กซี (Cigar Galaxy) หรือกาแล็กซี M82 ในกลุ่มดาวหมีใหญ่ (Ursa Major) นอกจากนี้ เมื่อพิจารณา NGC 55 ให้ใกล้ชิดมากขึ้น ความไม่สมมาตรเกิดจากส่วนที่ดูป่องออกมาจากใจกลางกาแล็กซีที่เรียกว่ากาแล็กซี บัลจ์ (galactic bulge) เอียงไปทางด้านตะวันตกของกาแล็กซี ส่วนป่องเหลืองนวลพาดทับด้วยแถบก๊าซฝุ่นสลับแต้มสีฟ้าจากกระจุกดาวอายุน้อยและจุดสีชมพูซึ่งระบุตำแหน่งพื้นที่ก่อตัวดาวใหม่ๆ

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-SBO/ CDK17/ FLI16803

A-TRT-79


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes


NGC 1535 - เนบิวลาคลีโอพัตรา

NGC 1535 Cleopatra's Eye Nebula เป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ อยู่บริเวณกลุ่มดาวแม่น้ำ ค้นพบโดย William Herschel เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2328 เนบิวลาดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกับเนบิวลาเอสกิโมมาก ทั้งลักษณะปรากฏและสีสัน แตกต่างกันที่ดาวที่อยู่ใจกลางเนวบิวลาสังเกตได้ยากกว่ามาก

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-SBO/ CDK17/ FLI16803

A-TRT-78


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes

NGC 1300

เป็นกาแล็กซีแบบกังหันมีคาน (Barred Spiral Galaxy)
ที่มีรูปทรงสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งบนท้องฟ้า

NGC 1300 ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1835 ปรากฏลักษณะคล้ายกับตัวอักษร “S” กลับด้านที่บีบแบน มีแขนกังหันหลักชัดเจนเพียงสองแขน ขนาดปรากฏค่อนข้างเล็ก เนื่องจากอยู่ไกลจากโลกมาก ประมาณ 69 ล้านปีแสง บริเวณกลุ่มดาวแม่น้ำ มีความกว้างประมาณ 100,000 ปีแสง

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-SBO/ CDK17/ FLI16803

A-TRT-76


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes

NGC 1232

เป็นกาแล็กซีแบบกังหันที่หันด้านหน้าเข้าหาโลก (Face-on Spiral Galaxy) เป็นการแล็กซีที่จัดว่ามีแขนกังหันสวยที่สุดแห่งหนึ่งบนท้องฟ้า มีลักษณะคล้ายกับกาแล็กซี M74 (NGC 628) ในกลุ่มดาวปลา (Pisces) แต่มีขนาดปรากฏเล็กกว่า

NGC 1232 เป็น Intermediate spiral galaxies หรือเป็นกาแล็กซีที่มีรูปร่างอยู่กึ่งกลางระหว่างกาแล็กซีแบบมีคานกลางและไร้คานกลาง กาแล็กซีนี้อยู่ห่างจากโลกประมาณ 61 ล้านปีแสง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางกว้างประมาณ 170,000 ปีแสง เป็นกาแล็กซีที่มีขนาดใหญ่กว่ากาแล็กซีทางช้างเผือกประมาณ 1.5 เท่า กาแล็กซีนี้มีความโดดเด่นด้วยปรากฏดาวอายุน้อยสีฟ้ามากมายตามแนวแขนกังหัน ขณะที่ส่วนใจกลางที่ค่อนข้างรีมีสีเหลืองจากดาวฤกษ์อายุมาก

บริเวณปลายแขนกังหันด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้จะพบกาแล็กซีอีกแห่งหนึ่ง มีชื่อว่า NGC 1232A ซึ่งเป็นบริวารของ NGC 1232 กาแล็กซีบริวารนี้อาจเป็นตัวการที่ทำให้แขนกังหันของ NGC 1232 โก่งงอ กาแล็กซีนี้เป็นหนึ่งในสมาชิกของกระจุกกาแล็กซีกลุ่มดาวแม่น้ำ (Eridanus Cluster)

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-SBO/ CDK17/ FLI16803

A-TRT-75


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes

NGC 6397

NGC 6397 หรือ Caldwell 86 เป็นกระจุกดาวทรงกลมในกลุ่มดาวแท่นบูชา อยู่ห่างจากโลกประมาณ 7,800 ปีแสง เป็นกระจุกดาวทรงกลมที่ใกล้โลกที่สุดเป็นอันดับสอง รองจากกระจุกดาวทรงกลม M4 ในกลุ่มดาวแมงป่อง ภายในกระจุกดาวมีดาวฤกษ์กว่า 400,000 ดวง หากท้องฟ้าปลอดโปร่งสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-SBO/ CDK17/ FLI16803

A-TRT-73


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes

ดาวหาง 46P/Wirtanen


46P/Wirtanen เป็นดาวหางคาบสั้นขนาดเล็ก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.2 กิโลเมตร มีคาบการโคจรประมาณ 5.4 ปี ค้นพบโดย Carl A. Wirtanen

นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่าในช่วงปลายปี ค.ศ. 2018 ดาวหางดวงนี้จะมีความสว่างเพิ่มขึ้นจนสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดาวหางดวงนี้เข้าใกล้โลกมากที่สุดในวันที่ 16 ธันวาคม 2018 จะปรากฏบนท้องฟ้าตั้งแต่ช่วงหัวค่ำ บริเวณกลุ่มดาววัว

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์
TRT-SBO/ CDK17/ FLI16803

#46PWirtanen #comet46P

A-TRT-72


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes

NGC 2736, Pencil Nebula

ซากซูเปอร์โนวาในกลุ่มดาวใบเรือ (Vela Supernova Remnant) เป็นหนึ่งในซากระเบิดของดวงดาวที่พบใกล้โลกมากที่สุด และมีขนาดใหญ่ครอบคลุมท้องฟ้ามากที่สุด ส่วนย่อยๆของซากเหล่านี้มักจะมีชื่อในบันทึกต่างๆกันไปในแต่ละส่วน

สำหรับ NGC 2736 นั้นเป็นพื้นที่ส่วนที่สว่างที่สุดและแคบที่สุดของซากซูเปอร์โนวา เมฆก๊าซเรืองแสงสว่างใน NGC 2736 มีค่าความสว่างปรากฏประมาณ 12 มีลักษณะเป็นเส้นตรงลอยเด่นออกมาจากฉากหลัง มีความยาวประมาณ 0.75 ปีแสง เนบิวลานี้มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า Pencil Nebula เส้นใยก๊าซเรืองสว่างทำให้เนบิวลานี้ดูคล้ายกับไม้กวาดของแม่มดตามตำนานยุคกลาง แต่บางครั้ง NGC 2736 ก็ถูกเรียกว่า Herschel’s Ray เพราะเนบิวลานี้ถูกค้นพบโดย John Herschel ในปี พ.ศ. 2378

NGC 2736 เป็นพื้นที่ที่คลื่นกระแทกจากซูเปอร์โนวาชนเข้ากับก๊าซในห้วงอวกาศที่หนาแน่นในบางจุด ทำให้ก๊าซบริเวณนี้ร้อนขึ้นถึงหลายล้านองศา เนบิวลานี้กำลังขยายตัวด้วยความเร็วประมาณ 650,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมงหรือประมาณ 0.06% ของความเร็วแสง

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-SBO/ CDK17/ FLI16803

A-TRT-71


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes

NGC6744


เป็นกาแล็กซีแบบกังหัน ในบริเวณกลุ่มดาวนกยูง (Pavo constellation) เป็นกลุ่มดาวในซีกฟ้าใต้ อยู่ห่างจากกาแล็กซีทางช้างเผือกประมาณ 30 ล้านปีแสง นักดาราศาสตร์เชื่อว่า กาแล็กซี NGC6744 เป็นกาแล็กซีหนึ่งที่มีลักษณะทางกายภาพใกล้เคียงกับกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรามากที่สุด

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-SBO/ CDK17/ FLI16803

A-TRT-70


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes

M20, Trifid Nebula

M20, Trifid Nebula หรือ เนบิวลาสามแฉก เป็นแหล่งกำเนิดดาวฤกษ์ที่อยู่ห่างจากโลกประมาณ 5,200 ปีแสง
บริเวณกลุ่มดาวคนยิงธนู (Sagittarius) มีกระจุกดาวเปิดเกิดใหม่ซุกซ่อนอยู่ในฝุ่นและแก๊สหนาทึบที่เปล่งแสงสีแดงจากอะตอมไฮโดรเจน มีกลุ่มแก๊สสีฟ้าที่เกิดจากสะท้อนแสงของดาวเกิดใหม่ และมีแถบมืดที่ดูเหมือนแบ่งเนบิวลาเป็นสามส่วน เกิดจากแถบฝุ่นหนาที่บังเอิญอยู่ด้านหน้าเนบิวลาเมื่อมองจากโลก

เนบิวลาสามแฉก เป็นหนึ่งในวัตถุท้องฟ้าที่มีชื่อเสียง เนื่องจากความโดดเด่นของสีสันในตัววัตถุ มีความสว่างที่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก ประกอบด้วยวัตถุหลายชนิด ได้แก่ กระจุกดาวเปิด เนบิวลาเปล่งแสง (สีแดง) เนบิวลาสะท้อนแสง (สีฟ้า) และเนบิวลามืด (แถบมืด)

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-SBO/ CDK17/ FLI16803

A-TRT-69


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes

M8, Lagoon nebula

M8, Lagoon nebula หรือ “เนบิวลาทะเลสาบ” เป็นเนบิวลาเปล่งแสง (emission nebula) ภายในกลุ่มเมฆเหล่านี้เต็มไปด้วยดาวฤกษ์อายุน้อยที่มีขนาดใหญ่ ดาวฤกษ์เหล่านี้ปลดปล่อยรังสีอัลตราไวโอเล็ตออกมาอย่างรุนแรง ส่งผลให้แก๊สที่อยู่รอบๆ ตัวมันแตกตัวและเปล่งแสงออกมาในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น

กลุ่มแก๊สเหล่านี้เป็นต้นกำเนิดของดาวฤกษ์จำนวนมาก ซึ่งดาวฤกษ์ที่ถือกำเนิดในกลุ่มแก๊สเดียวกันนี้จะมีองค์ประกอบทางเคมีที่คล้ายคลึงกัน กระจุกดาวเปิดที่เกิดขึ้นภายในเนบิวลานี้ คือ NGC 6530

เนบิวลาทะเลสาบอยู่ห่างจากโลก 4,100 ปีแสง บริเวณกลุ่มดาวคนยิงธนู (Sagittarius) แผ่ขยายในอวกาศราว 110 x 50 ปีแสง มีค่าความสว่างปรากฏเท่ากับ 6 มีขนาดปรากฏ 90 x 40 ลิปดา เป็นหนึ่งในเนบิวลาเปล่งแสงที่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-SBO/ CDK17/ FLI16803

A-TRT-68


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes

B72 Snake Nebula

เนบิวลางู หรือ Snake Nebula เป็นเนบิวลามืด (Dark Nebula) อยู่ห่างจากโลกประมาณ 650 ปีแสง บริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกลุ่มดาว ใกล้กับเขตติดต่อกับกลุ่มดาวคนยิงธนู (Sagittarius) และกลุ่มดาวแมงป่อง (Scorpius) มีขนาดไม่ใหญ่นักแต่มีรูปร่างเด่นแปลกตา คือมีลักษณะเหมือนตัวอักษร เอส (S) ดูคล้ายงู จึงมีชื่อเรียกว่า Snake Nebula

เนบิวลามืด คือ ก้อนเมฆโมเลกุลที่เย็นจัด ประกอบด้วยก๊าซและฝุ่นที่มีองค์ประกอบหลัก คือ คาร์บอนซึ่งดูดซับแสงของดวงดาว เมื่อก้อนเมฆเหล่านี้ได้รับพลังงานจากดวงดาวจะไม่ปล่อยพลังงานออกมาในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น แต่จะปล่อยออกมาในช่วงคลื่นอินฟราเรดแทน ดังนั้นเนบิวลามืดจึงดูดำทึบ แต่เมื่อมีดวงดาวระยิบระยับในทางช้างเผือก เป็นฉากหลัง เราจึงมองเห็นได้ชัดจากการที่มันบังแสงดาวที่อยู่ฉากหลัง

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-SBO/ CDK17/ FLI16803

A-TRT-67[full-post]


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes


NGC 6752

NGC 6752 หรือ Caldwell 93 เป็นกระจุกดาวทรงกลม อยู่ห่างจากโลกประมาณ 13,000 ปีแสงในบริเวณกลุ่มดาวนกยูง อายุประมาณหนึ่งหมื่นล้านปี

หากสังเกตจากโลก NGC 6752 เป็นกระจุกดาวทรงกลมที่สว่างเป็นอันดับสามรองมาจากโอเมกา เซนทอรี (Omega Centauri) และ 47 นกทูคานี (47 Tucanae) ภายในทรงกลมรัศมี 100 ปีแสง มีดาวฤกษ์รวมกันอย่างหนาแน่นมากกว่าหนึ่งแสนล้านดวง

จากการศึกษาผ่านกล้องโทรทรรศน์ความละเอียดสูงพบว่ามีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย เช่น พบดาวฤกษ์ใกล้กับจุดศูนย์กลางที่เป็นระบบดาวหลายดวงโคจรรอบกัน (Multiple star system) นอกจากนั้นยังพบการกระจายตัวของดาวฤกษ์สีน้ำเงิน เป็นดาวมวลมากที่มีอายุน้อย ซึ่งก่อนหน้านี้ในกระจุกดาวทรงกลมเราจะพบเพียงดาวฤกษ์อายุมากเท่านั้น ดาวฤกษ์สีน้ำเงินดังกล่าวอาจเกิดจากการรวมตัวของดาวฤกษ์ที่อยู่กันอย่างหนาแน่นในกระจุกดาว

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-SBO/ CDK17/ FLI16803

A-TRT-66


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes

NGC 300 or Caldwell 70

เป็นกาแล็กซีแบบกังหัน (Spiral Galaxy) ในกลุ่มดาวช่างแกะสลัก (Sculptor) มีความสว่างปรากฏประมาณ 9 เป็นหนึ่งในกาแล็กซีที่อยู่ใกล้กระจุกกาแล็กซีท้องถิ่น (Local Group) มากที่สุด ก่อนหน้านี้นักดาราศาสตร์คิดว่า NGC 300 เป็นสมาชิกในกลุ่มกาแล็กซีสคัลป์เตอร์ กรุ๊ป (Sculptor Group) แต่ล่าสุดมีการตรวจสอบระยะทาง พบว่า NGC 300 อยู่ห่าจากโลกประมาณ 6.07 ล้านปีแสง อยู่ใกล้โลกมากกว่ากลุ่มกาแล็กซี สคัลป์เตอร์ และด้วยลักษณะการเรียงตัวที่เอียง 42 องศาเมื่อมองจากโลก ทำให้มีลักษณะปรากฏคล้ายกับกาแล็กซีสามเหลี่ยม (Triangulum Galaxy: M33) ในกลุ่มดาวสามเหลี่ยม (Triangulum)

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-SBO/ CDK17/ FLI16803

A-TRT-65


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes

#ดาวศุกร์ บันทึกในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2561

ดาวศุกร์ใน "ตำแหน่งห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันออกมากที่สุด" จนถึงระยะ "ความสว่างปรากฏที่สุดในรอบปี"

ดาวศุกร์ปรากฏสว่างที่สุดในรอบปี
ช่วงค่ำ 25 กันยายน ทางทิศตะวันตก
และเช้ามืด 30 พฤศจิกายน ทางทิศตะวันออก

ภาพ : ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา/ ธนกฤต สันติคุณาภรต์
TRT-SKA/ CDK700/ ASI174

A-TRT-64


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes

NGC 6559

เป็นพื้นที่ให้กำเนิดดาวฤกษ์แห่งหนึ่งที่อยู่ห่างจากโลกประมาณ 5,000 ปีแสง
ประกอบด้วยเนบิวลาเรืองแสง (Emission Nebula) ซึ่งมีสีชมพูแดงจากแก๊สไฮโดรเจนที่ถูกกระตุ้นจากดาวฤกษ์สว่างภายใน และเนบิวลาสะท้อนแสง (Reflection Nebula) ซึ่งมีสีฟ้าจากการสะท้อนแสงของดาวฤกษ์อีกทีหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีเนบิวลามืด (Dark Nebula) ซึ่งเป็นก้อนเมฆโมเลกุลที่บดบังแสงของเนบิวลาที่อยู่ด้านหลัง เห็นเป็นลักษณะสีดำตัดกับแสงของเนบิวลาอื่นด้านหลังอย่างชัดเจน

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-SBO/ CDK17/ FLI16803

A-TRT-63


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes

NGC 5189 หรือ Spiral Planetary Nebula


เป็นเนบิวลาดาวเคราะห์อยู่ในกลุ่มดาวแมลงวัน เป็นกลุ่มดาวในซีกฟ้าใต้ ถูกค้นพบโดย James Dunlop นักดาราศาสตร์ชาวสก็อต เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2405 และบันทึกวัตถุนี้ในชื่อว่า “Δ252” โดยยังไม่ทราบว่าวัตถุนี้คืออะไร

ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 วัตถุดังกล่าวถูกจัดให้เป็นเนบิวลาชนิดเรืองแสง และในปี พ.ศ. 2510 Karl Gordon Henize นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันถือเป็นคนแรกที่อธิบายว่า NGC 5189 ว่าเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ตามที่เรารู้จักในปัจจุบัน

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-SBO/ CDK17/ FLI16803

A-TRT-62


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes·

กาแล็กซีในกลุ่มดาวนกกระเรียน


กลุ่มดาวนกกระเรียนอยู่ห่างจากแนวทางช้างเผือกจึงไม่ค่อยมีวัตถุห้วงลึกที่สว่างและเหมาะกับกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กถึงกลาง

กลุ่มกาแล็กซีจำนวน 4 แห่งที่อยู่ในภาพนี้ เป็นหนึ่งในวัตถุที่น่าสนใจของกลุ่มดาวนกกระเรียน มี NGC 7582 เป็นกาแล็กซีหลัก เรียกกาแล็กซีทั้งสี่รวมกันว่า กรัส ควอร์ทเทต (Grus Quartet)

วัตถุในอวกาศห้วงลึกเหล่านี้เหมาะที่จะสังเกตการผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่หรือเหมาะกับการถ่ายภาพมากกว่าการดูด้วยตาเปล่า

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-SBO/ CDK17/ FLI16803

A-TRT-61


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes

NGC 6357

NGC 6357 หรือ Lobster Nebula เป็นเนบิวลาเรืองแสง (Emission Nebula) และเป็นแหล่งกำเนิดดาวฤกษ์แรกเกิด (Protostar) มากมาย มีความกว้างประมาณ 400 ปีแสง อยู่ห่างจากโลกประมาณ 8,000 ปีแสง บริเวณกลุ่มดาวแมงป่อง (Scorpius) มีชื่อเรียกว่า Lobster Nebula ตามรูปร่างของมันในคลื่นแสงที่ตามองเห็น และยังมีอีกชื่อว่า War and Peace Nebula เนื่องจากเมื่อสำรวจเนบิวลานี้ในช่วงคลื่นอินฟราเรด ส่วนตะวันตกของเนบิวลาจะดูคล้ายกับนกพิราบ ในขณะที่ส่วนตะวันออกดูคล้ายหัวกระโหลก

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-SBO/ CDK17/ FLI16803

A-TRT-60


Astrophotos from Thai Robotic Telescopes

เนบิวลานกนางนวล หรือ IC 2177 เป็นเนบิวลาสะท้อนแสงที่อยู่ระหว่างกลุ่มดาวสุนัขใหญ่ (Canis Majoris) และ กลุ่มดาวยูนิคอร์น (Monoceros) มีขนาดรัศมี 3,750 ปีแสง (1,250 พาร์เซก) ค้นพบโดย ไอแซก โรเบิร์ตส์ นักดาราศาสตร์สมัครเล่นชาวเวลส์

ในภาพนี้ยังปรากฎ NGC 2327 ซึ่งมีลักษณะสว่างใหญ่ อยู่บริเวณใกล้ๆ กัน ทำให้ดูคล้ายกับส่วนหัวของนกนางนวล (Head Seagull) ด้วย

ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-SBO/ CDK17/ FLI16803

A-TRT-94


สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

สดร. เผย #พายุสุริยะ ไม่ใช่สาเหตุโลกร้อน วอนคนไทยอย่าตระหนก

ตามที่มีข่าวเผยแพร่ทางโลกโซเชียล ในช่วงเช้าวันที่ 22 เมษายน 2562 ประเด็น “พายุสุริยะจะพุ่งปะทะโลกใน 48 ชม. เป็นผลให้อุณหภูมิสูงขึ้นทั้งในไทยและทั่วโลก” นั้น กรณีดังกล่าวเป็นเพียงข่าวลวง พายุสุริยะไม่มีผลทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น วอนประชาชนตรวจสอบข้อมูลก่อนแชร์

ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า ตามที่มีข่าวเผยแพร่ทางโลกโซเชียล ในประเด็น พายุสุริยะจะพุ่งปะทะโลกใน 48 ชั่วโมง เนื่องจากสนามแม่เหล็กโลกอยู่ในช่วงสลับขั้ว จึงทำให้อ่อนกำลังลง จะส่งผลให้อุณหภูมิสูงขึ้นทั่วโลก กรณีดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด พายุสุริยะไม่ได้ส่งผลกระทบให้อุณหภูมิของโลกร้อนขึ้นหรือเกิดอันตรายต่อโลก จะมีผลกระทบเพียงระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียมบ้างเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้การสลับขั้วสนามแม่เหล็กต้องใช้ระยะเวลานับแสนปี ดังนั้น ผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจึงไม่สามารถเกิดขึ้นในระยะเวลาวันหรือสองวัน อาจส่งผลเล็กน้อย เช่น เกิดแสงออโรราบริเวณขั้วโลกมากกว่าปกติเท่านั้น แต่ที่เกิดการเผยแพร่ข่าวในลักษณะเช่นนี้อาจเป็นเพราะการนำข้อมูลเกี่ยวกับดวงอาทิตย์และโลกมาเชื่อมโยงกัน ประกอบกับขณะนี้เมืองไทยอยู่ในช่วงฤดูร้อน ทุกพื้นที่ของประเทศมีอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศา จึงทำให้เกิดความตื่นตระหนกและวิตกกังวลจากการรับข้อมูลข่าวสารดังกล่าว

ดร.ศรัณย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ดวงอาทิตย์เป็นก้อนแก๊สขนาดใหญ่มีปฏิกิริยาภายในเป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน ที่บริเวณผิวของดวงอาทิตย์นอกจากจะมีอุณหภูมิสูงมากแล้วยังมีปรากฏการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย อาทิ ปรากฏการณ์การลุกจ้า (Solar Flare) ปรากฏการณ์การเกิดจุดบนดวงอาทิตย์ (Sunspot) ปรากฏการณ์การปลดปล่อยมวลโคโรนาของดวงอาทิตย์ (Coronal Mass Ejection : CME) เป็นต้น การเกิดปรากฏการณ์ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนั้นล้วนแล้วแต่เป็นผลเกี่ยวเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กบนดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น

ในกรณีของการปลดปล่อยมวลโคโรนาของดวงอาทิตย์ กลุ่มมวลที่ถูกปลดปล่อยออกมาจะอยู่ในรูป “พลาสมา” หรือสถานะที่อะตอมของธาตุอยู่ในสภาพเป็นไอออน เป็นประจุไฟฟ้าพลังงานสูง หากมีการระเบิดที่รุนแรงขึ้นจนทำให้กลุ่มพลาสมาเหล่านี้มีความเร็วในการเคลื่อนที่สูงมาก เราเรียกกลุ่มพลาสมาเหล่านี้ว่า “พายุสุริยะ” (Solar Storm) การปลดปล่อยมวลโคโรนาจนทำให้เกิดพายุสุริยะจะมีความสัมพันธ์วัฏจักรของดวงอาทิตย์ ซึ่งมีวงจรประมาณ 11 ปี เมื่อดวงอาทิตย์มีจุดบนดวงอาทิตย์จำนวนมาก (Solar Maximum) สนามแม่เหล็กบริเวณดังกล่าวก็เกิดความปั่นป่วน มีการสะสมพลังงานมากขึ้นจนถึงจุดวิกฤตทำให้เส้นแรงแม่เหล็กที่บิดพันกันเป็นเกลียวขาดออกจากกันและเกิดการปลดปล่อยมวลออกสู่อวกาศ ในทุกทิศทุกทาง ซึ่งความเร็วและรุนแรงของกลุ่มประจุไฟฟ้าพลังงานสูงจะขึ้นอยู่กับ ความรุนแรงในการระเบิดหรือการปลดปล่อยมวลของดวงอาทิตย์เอง แต่ในกรณีวันที่ 22 เมษายน นี้ ไม่พบรายงานที่ผิดปกติใดๆ เกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยาบนดวงอาทิตย์

ปัจจุบันข้อมูลข่าวสารถูกเผยแพร่อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางสื่อสังคมออนไลน์ ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็ว บางครั้งอาจไม่ใช่ข้อเท็จจริง ต้นตอข่าวลือต่างๆ ไม่ได้มาจากไหน แต่วนเวียนอยู่ในโลกไซเบอร์ที่มีทั้งเรื่องจริงและเรื่องที่ต้องอาศัยวิจารณญาณในการรับรู้ จึงขอให้ประชาชนเปิดรับข้อมูลข่าวสารอย่างมีสติ ศึกษาข้อมูลและความเป็นไปได้ด้วยเหตุและผล ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาอ้างอิง และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้วยความระมัดระวัง ดร.ศรัณย์ กล่าวปิดท้าย

[right-side]


Loy Chunpongtong

ในเชิงคณิตศาสตร์ สูตร กกต คำนวณไม่คงเส้นคงวา ที่ตำแหน่งนี้ใน Excel คือ ไม่อยากปัดเศษ ส.ส.พึงของพรรคอื่น ๆ ทิ้ง แต่ดันไปทำให้ ส.ส.พึงมีของพรรคเพื่อไทยที่ได้ -25.53 (ค่าติดลบ) ปรับเป็นจำนวนเต็ม 0 ทำให้ผลรวมของ ส.ส.พึงมี จึงได้ 175.53 แทนที่จะได้ 150 พอดี
ตำแหน่งสูตรใน Excel ที่ผมยกมาแสดง อยู่ในคอมลัม E โดยเฉพาะ E7 = Max(0, D7) ถ้าตัด Max ออกจะกลายเป็นทศนิยม
ต้องแก้เป็นโดยปัดเศษทิ้งก่อน ใช้ Max(0, INT(D7)) และก๊อปปี๊ให้ cell อื่นในคอลัม E




Loy Chunpongtong‎ to ดาราศาสตร์+STEM

ตรรกะคณิตศาสตร์ การคำนวณ ส.ส. ของ ก.ก.ต. น่ากลัวอย่างไร?

เหตุใดจึงได้ถึง 27 พรรค? ไม่ยุติธรรมอย่างไร? อันตรายอย่างไร?

เปรียบเทียบการตีความตามรัฐธรรมนูญ กับวิธีที่ได้ 16 พรรค

ดาวน์โหลด Excel ไฟล์ได้ที่

https://www.dropbox.com/s/5z2jwcta…/%E0%B8%AA%E0%B8%AA.xlsb…
หรือชมผ่าน https://youtu.be/CxyQ1MoE7Us



iLaw

การกลับมาของศาลทหารหลังการเลือกตั้ง

6 เมษายน 2562 ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ถูกแจ้งข้อกล่าวหา 3 ข้อ คือ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ฐานยุยงปลุกปั่นฯ, มาตรา 189 ฐานให้ความช่วยเหลือพาผู้ต้องหาหลบหนี และ มาตรา 215 มั่วสุมชุมนุมเกิน 5 คน
.
สำหรับคดีนี้มีความเป็นไปได้ที่จะต้องพิจารณาใน 'ศาลทหาร' เนื่องจาก เหตุในคดีสืบเนื่องจากเหตุการณ์ชุมนุมของนักศึกษาเมื่อปี 2558 คดีนี้จึงจะอยู่ในอำนาจพิจารณาคดีของศาลทหารกรุงเทพ ตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 37/2557
.
โดยประกาศ คสช. ฉบับที่ 37/2557 เรื่อง ความผิดที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหาร โดยในข้อที่ 1 (2) กำหนดให้ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตั้งแต่มาตรา 113 ถึงมาตรา 118 อยู่ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหาร
.
อย่างไรก็ดี แม้ว่า คสช. จะเคยยกเลิกการให้พลเรือนขึ้นศาลทหารแล้ว ตามคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 55/2559 แต่คำสั่งดังกล่าวมีเงื่อนไขอยู่ว่าต้องเป็นการกระทําความผิดตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 37/2557 ซึ่งได้กระทําตั้งแต่วันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับ ให้อยู่ในอํานาจการพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
.
หรือหมายความว่า หากเป็นการกระทำความผิดตามประกาศคสช. ฉบับที่ 37/2557 ที่กระทำก่อนคำสั่งหัวหน้าคสช. ฉบับที่ 55/2559 ให้คดีดังกล่าวอยู่ในอำนาจศาลทหาร
.
ทั้งนี้ ในการพิจารณาคดีในศาลทหาร เมื่อเสร็จจากชั้นตำรวจ จะเป็นชั้นการพิจารณาของอัยการในการสั่งฟ้องคดี หรือไม่ฟ้องคดี ซึ่งคดีของ 'ธนาธร' จะเป็นอำนาจของ 'อัยการทหาร' ซึ่ง พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 12 กำหนดคุณสมบัติอัยการทหารไว้ว่า ให้ผู้ที่สอบความรู้ทางกฎหมายได้ปริญญาตรี หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ฝึกหัดดำเนินคดีในศาลทหารได้ และเมื่อแจ้งให้ศาลทราบแล้ว ก็ให้ผู้นั้นดำเนินคดีได้ดั่งอัยการทหาร
.
นอกจากนี้ พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 5 ระบุว่า ศาลทหารอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงกลาโหม และมาตรา 10 และ มาตรา 30 ระบุว่าอำนาจในการแต่งตั้ง ถอดถอนตุลาการศาลทหารเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมหรือผู้บังคับบัญชา หรือหมายความว่าในทางกฎหมายแล้ว ตุลาการศาลทหารไม่ได้แยกขาดจากอำนาจฝ่ายบริหาร หรือ งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมหรือผู้บังคับบัญชา
.
อีกทั้ง มาตรา 27 ระบุว่า ศาลมณฑลทหาร ศาลทหารกรุงเทพ และศาลประจำหน่วยทหาร ต้องมีตุลาการสามนายเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา คือ นายทหารชั้นสัญญาบัตรสองนาย ตุลาการพระธรรมนูญหนึ่งนาย หรือหมายความว่า กฎหมายบังคับให้ตุลาการสามคนต่อหนึ่งคดี มีหนึ่งคนที่ต้องมีความรู้นิติศาตร์ ส่วนอีกสองคนไม่ต้อง

.
ดูข้อมูลเกี่ยวกับศาลทหารทั้งหมดได้ที่ https://freedom.ilaw.or.th/blog/court-martial


#MilitaryCourt #Savethanathorn


ยูดีดีนิวส์ - UDD news

‘สหบาทา กกต.’ ชื่อผลงานศิลปะ ‘เนติวิทย์’ ชู 3 นิ้วพร้อมเพื่อนนิสิตจุฬาฯ หลังเรียงรองเท้าที่ ’ยืมเพื่อนมา’ เป็นถ้อยคำ ‘กกต.’ หน้าหอศิลป์กทม. โดยใช้เวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง เนื่องจากเจ้าหน้าที่ยืนเฝ้ากดดันขอให้ยุติกิจกรรม ขณะอดีตประธานนิสิตจุฬาฯ บอก ‘ขอเวลาอีกไม่นาน’

นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล อดีตประธานสภานิสิตจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย นิสิตปี 3 คณะรัฐศาสตร์ พร้อมเพื่อนนิสิตจุฬาฯ

จัดกิจกรรม ‘งานศิลปะ​ มหกรรมรวมรอง​เท้าเรียงเป็น​คำว่า 'กกต.'​ หน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร’ โดยใช้เวลาประมาณ 20 กว่านาทีไม่ถึง 1 ชั่วโมง เนื่องจากเจ้าหน้าที่มายืนเฝ้ากดดันขอให้ยุติกิจกรรม โดยเนติวิทย์ บอกกับเจ้าหน้าที่ว่า ‘ขอเวลาอีกไม่นานครับ’


นอกจากนั้น ยังได้ยืนเรียงแถวชู 3 นิ้ว เมื่อเรียงรองเท้าสำเร็จ

รวมเวลาจัดกิจกรรมระหว่าง 9.45 - 10.10 น.

เพื่อสะท้อนความรู้สึกต่อกกต.

สำหรับรองเท้าที่จะนำมาเรียง เป็นการยืมมาจากเพื่อนๆ และประชาชนมาประมาณ 100 คู่















ขับเคลื่อนโดย Blogger.