Atukkit Sawangsuk
รวบรวมข้อดีข้อเสียได้ครบถ้วน
เรื่องยานี่พูดกันเยอะแล้ว แต่ 2 ข้อสุดท้ายเรื่องพันธุ์พืชนี่เหี้ยมาก นักลงทุนต่างชาติสามารถเข้ามาปรับปรุงพันธุ์พืชไทยแล้วจดสิทธิบัตร ทำวิจัยสมุนไพร เอาไปเป็นยา โดยไม่ต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ไทย
...........................................
หากไทยเข้าร่วม CPTPP จะช่วยให้จีดีพีของไทยขยายตัวร้อยละ 0.12 คิดเป็นมูลค่า 13.32 พันล้านบาท และการลงทุนขยายตัวร้อยละ 5.14 หรือ 148.24 พันล้านบาท
:
กลุ่มสินค้าที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากการส่งออกไปยัง CPTPP ของไทย ได้แก่ กลุ่มธัญพืชและของปรุงแต่ง เครื่องแต่งกาย เครื่องสูบของเหลว เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ยานยนต์ เครื่องหนังและรองเท้า น้ำตาลและขนม ส่วนด้านการบริการและการลงทุนจะได้ประโยชน์จากการประกอบธุรกิจด้านการท่องเที่ยว
:
แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือภาคส่งออกของไทยใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันเพียงร้อยละ 30 ของการส่งออกเท่านั้น ทั้งยังกระจุกในกลุ่มสินค้าไม่กี่สิบรายการจากทั้งหมดกว่า 2,000 รายการ
.............................................
CPTPP จะส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงยา เนื่องจากมีเนื้อหาหลายข้อที่ทำให้เกิดการผูกขาดสิทธิบัตรยาวนานขึ้น ขณะเดียวกันยังกำหนดให้ต้องเข้าร่วมอนุสัญญา UPOV 1991 ซึ่งจะนำไปสู่การผูกขาดเมล็ดพันธุ์ก่อให้เกิดความไม่มั่นคงทางอาหารตามมา
:
ไทยจะไม่ได้รับประโยชน์ด้านราคายาจากการลดภาษีศุลกากรแหล่งวัตถุดิบยาที่อยู่นอกประเทศสมาชิก CPTPP การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐต้องเปิดให้อุตสาหกรรมจากประเทศสมาชิกเข้ามาแข่งขันอย่างเท่าเทียม ย่อมเท่ากับกับทำลายนโยบายบัญชีนวัตกรรมไทย ระเบียบและกฎกระทรวงของ พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมยาในประเทศให้พังลง
:
สิทธิการใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิหรือซีแอล (Compulsory Licensing: CL) ของไทยอาจถูกกระทบ เพราะแม้ว่าในข้อตกลง CPTPP จะระบุว่าไม่กระทบสิทธิที่ประเทศภาคีมีอยู่ตามข้อตกลงอื่น แต่ก็มีเนื้อหาส่วนอื่นที่ระบุว่าถ้าคู่กรณีไม่เห็นด้วยกับการใช้สิทธิใด สามารถนำเรื่องเข้ากระบวนการระงับข้อพิพาทได้ เท่ากับนักลงทุนต่างชาติสามารถฟ้องรัฐได้นั่นเอง
:
ประเทศสมาชิกต้องยอมรับอนุสัญญา UPOV 1991 ซึ่งเป็นการเพิ่มอำนาจผูกขาดเมล็ดพันธุ์ของบริษัทเอกชนและเกษตรกรไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกต่อได้ กลไกการแบ่งปันผลประโยชน์ในการพัฒนายาจากสมุนไพรหรือทรัพยากรชีวภาพในประเทศเกิดความไม่เป็นธรรม เนื่องจาก CPTPP ไม่ระบุกลไกการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์เอาไว้ ราคาเมล็ดพันธุ์จะสูงขึ้นประมาณ 2-6 เท่า อันเป็นผลจากการผูกขาดพันธุ์พืชใหม่ถูกขยายระยะเวลาเป็น 20-25 ปี
:
อนุสัญญา UPOV1991 ยังให้ความคุ้มครองสิทธิ์และประโยชน์กับนักปรับปรุงพันธุ์พืชใหม่ แต่กลับไม่ให้คุ้มครองแก่ชุมชนต้นทางของสายพันธุ์ โดยในมาตรา 18.37 para 4 ระบุว่า ไม่ให้สิทธิบัตรพันธุ์พืช แต่ให้ inventions that are derived from plants ซึ่งเป็นสิ่งที่นักลงทุนญี่ปุ่นต้องการและพยายามจะบรรลุข้อตกลงนี้ตั้งแต่ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) แต่ไม่สำเร็จ
:
ใน CPTPP ยังระบุด้วยว่า หากไทยเข้าเป็นสมาชิกจะต้องเปิดให้ต่างชาติสามารถเข้ามาทำธุรกิจบริการด้านการวิจัยและพัฒนาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากรชีวภาพและทำการศึกษาทดลองได้ โดยไม่จำเป็นต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีภายใต้การลงทุนนั้นแก่ไทย ประเด็นนี้เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ทางกระทรวงสาธารณสุขแสดงความกังวล เป็นเพราะภูมิปัญญาท้องถิ่น สมุนไพร ยา วัคซีน และชีววัตถุ ล้วนเกี่ยวกับความมั่นคงทางยาของประเทศทั้งสิ้น
รวบรวมข้อดีข้อเสียได้ครบถ้วน
เรื่องยานี่พูดกันเยอะแล้ว แต่ 2 ข้อสุดท้ายเรื่องพันธุ์พืชนี่เหี้ยมาก นักลงทุนต่างชาติสามารถเข้ามาปรับปรุงพันธุ์พืชไทยแล้วจดสิทธิบัตร ทำวิจัยสมุนไพร เอาไปเป็นยา โดยไม่ต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ไทย
...........................................
หากไทยเข้าร่วม CPTPP จะช่วยให้จีดีพีของไทยขยายตัวร้อยละ 0.12 คิดเป็นมูลค่า 13.32 พันล้านบาท และการลงทุนขยายตัวร้อยละ 5.14 หรือ 148.24 พันล้านบาท
:
กลุ่มสินค้าที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากการส่งออกไปยัง CPTPP ของไทย ได้แก่ กลุ่มธัญพืชและของปรุงแต่ง เครื่องแต่งกาย เครื่องสูบของเหลว เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ยานยนต์ เครื่องหนังและรองเท้า น้ำตาลและขนม ส่วนด้านการบริการและการลงทุนจะได้ประโยชน์จากการประกอบธุรกิจด้านการท่องเที่ยว
:
แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือภาคส่งออกของไทยใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันเพียงร้อยละ 30 ของการส่งออกเท่านั้น ทั้งยังกระจุกในกลุ่มสินค้าไม่กี่สิบรายการจากทั้งหมดกว่า 2,000 รายการ
.............................................
CPTPP จะส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงยา เนื่องจากมีเนื้อหาหลายข้อที่ทำให้เกิดการผูกขาดสิทธิบัตรยาวนานขึ้น ขณะเดียวกันยังกำหนดให้ต้องเข้าร่วมอนุสัญญา UPOV 1991 ซึ่งจะนำไปสู่การผูกขาดเมล็ดพันธุ์ก่อให้เกิดความไม่มั่นคงทางอาหารตามมา
:
ไทยจะไม่ได้รับประโยชน์ด้านราคายาจากการลดภาษีศุลกากรแหล่งวัตถุดิบยาที่อยู่นอกประเทศสมาชิก CPTPP การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐต้องเปิดให้อุตสาหกรรมจากประเทศสมาชิกเข้ามาแข่งขันอย่างเท่าเทียม ย่อมเท่ากับกับทำลายนโยบายบัญชีนวัตกรรมไทย ระเบียบและกฎกระทรวงของ พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมยาในประเทศให้พังลง
:
สิทธิการใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิหรือซีแอล (Compulsory Licensing: CL) ของไทยอาจถูกกระทบ เพราะแม้ว่าในข้อตกลง CPTPP จะระบุว่าไม่กระทบสิทธิที่ประเทศภาคีมีอยู่ตามข้อตกลงอื่น แต่ก็มีเนื้อหาส่วนอื่นที่ระบุว่าถ้าคู่กรณีไม่เห็นด้วยกับการใช้สิทธิใด สามารถนำเรื่องเข้ากระบวนการระงับข้อพิพาทได้ เท่ากับนักลงทุนต่างชาติสามารถฟ้องรัฐได้นั่นเอง
:
ประเทศสมาชิกต้องยอมรับอนุสัญญา UPOV 1991 ซึ่งเป็นการเพิ่มอำนาจผูกขาดเมล็ดพันธุ์ของบริษัทเอกชนและเกษตรกรไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกต่อได้ กลไกการแบ่งปันผลประโยชน์ในการพัฒนายาจากสมุนไพรหรือทรัพยากรชีวภาพในประเทศเกิดความไม่เป็นธรรม เนื่องจาก CPTPP ไม่ระบุกลไกการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์เอาไว้ ราคาเมล็ดพันธุ์จะสูงขึ้นประมาณ 2-6 เท่า อันเป็นผลจากการผูกขาดพันธุ์พืชใหม่ถูกขยายระยะเวลาเป็น 20-25 ปี
:
อนุสัญญา UPOV1991 ยังให้ความคุ้มครองสิทธิ์และประโยชน์กับนักปรับปรุงพันธุ์พืชใหม่ แต่กลับไม่ให้คุ้มครองแก่ชุมชนต้นทางของสายพันธุ์ โดยในมาตรา 18.37 para 4 ระบุว่า ไม่ให้สิทธิบัตรพันธุ์พืช แต่ให้ inventions that are derived from plants ซึ่งเป็นสิ่งที่นักลงทุนญี่ปุ่นต้องการและพยายามจะบรรลุข้อตกลงนี้ตั้งแต่ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) แต่ไม่สำเร็จ
:
ใน CPTPP ยังระบุด้วยว่า หากไทยเข้าเป็นสมาชิกจะต้องเปิดให้ต่างชาติสามารถเข้ามาทำธุรกิจบริการด้านการวิจัยและพัฒนาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากรชีวภาพและทำการศึกษาทดลองได้ โดยไม่จำเป็นต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีภายใต้การลงทุนนั้นแก่ไทย ประเด็นนี้เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ทางกระทรวงสาธารณสุขแสดงความกังวล เป็นเพราะภูมิปัญญาท้องถิ่น สมุนไพร ยา วัคซีน และชีววัตถุ ล้วนเกี่ยวกับความมั่นคงทางยาของประเทศทั้งสิ้น
แสดงความคิดเห็น