กรุงเทพโพลล์ เผย ปชช. 50.6% อยากให้มีเลือกตั้งเร็วที่สุด คะแนนนิยมเพื่อไทยนำ ปชป.
Posted: 28 May 2017 09:52 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)
ผ่าน 3 ปี คสช. คะแนนนิยมพรรคเพื่อไทยนำประชาธิ ปัตย์ 52.8% ยังสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ แต่คะแนนนิยมลดลง ส่วนใหญ่ 50.6% รู้สึกตื่นตัวอยากให้มีการเลื อกตั้งโดยเร็วที่สุด
29 พ.ค. 2560 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิ ทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็ นประชาชน เรื่อง “คะแนนนิยมพรรคการเมืองไทย หลังผ่าน 3 ปี คสช.” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุ กภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,269 คน พบว่า ความรู้สึกต่อการเลือกตั้งที่ จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 50.6 รู้สึกตื่นตัวอยากให้มีการเลื อกตั้งโดยเร็วที่สุด ขณะที่ร้อยละ 24.6 รู้สึกเฉยๆ เลือกก็ได้ไม่เลือกได้ ส่วนร้อยละ 21.8 รู้สึกอยากอยู่แบบนี้ไปเรื่อยๆ ประเทศสงบดี มีเพียงร้อยละ 3.0 ไม่แน่ใจ
ด้านคะแนนนิยมต่อพรรคการเมื องพบว่า พรรคเพื่อไทยอยู่ที่ร้อยละ 17.8 (เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจเมื่อเดื อนมกราคม 2560 ร้อยละ 2.1) รองลงมาคือพรรคประชาธิปัตย์ที่ มีคะแนนนิยมอยู่ที่ร้อยละ 15.6 (ลดลงร้อยละ 1.9) พรรครักประเทศไทยมีคะแนนนิยมอยู่ ที่ร้อยละ 1.5 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1) พรรคชาติไทยพัฒนามีคะแนนนิยมอยู่ ที่ร้อยละ 1.0 (ลดลงร้อยละ 0.9) พรรคภูมิใจไทยมีคะแนนนิยมอยู่ ที่ร้อยละ 0.8 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5) และพรรคพลังชลมีคะแนนนิยมอยู่ที่ ร้อยละ 0.3 (ลดลงร้อยละ 0.1)
สุดท้ายเมื่อถามว่า “หากวันนี้ มีสิทธิออกเสียงเลือกนายกรั ฐมนตรี ท่านจะออกเสียงสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่” พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.8 ระบุว่าจะ “สนับสนุน” (ลดลงจากผลสำรวจเมื่อเดื อนมกราคม 2560 ร้อยละ 9.0) ขณะที่ร้อยละ 25.6 ระบุว่าจะ “ไม่สนับสนุน” ส่วนที่เหลือร้อยละ 21.6 งดออกเสียง
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้ อคำถาม ดังต่อไปนี้
1. ความรู้สึกต่อการเลือกตั้งที่ จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้
รู้สึกตื่นตัวอยากให้มีการเลื | ร้อยละ | 50.6 |
รู้สึกเฉยๆ เลือกก็ได้ไม่เลือกได้ | ร้อยละ | 24.6 |
รู้สึกอยากอยู่แบบนี้ไปเรื่อยๆ ประเทศสงบดี | ร้อยละ | 21.8 |
ไม่แน่ใจ | ร้อยละ | 3.0 |
2. ข้อคำถาม “หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้
จะเลือกพรรค... | สำรวจเมื่อ ม.ค. 60 (ร้อยละ) | สำรวจเมื่อ พ.ค. 60 (ร้อยละ) | เพิ่มขึ้น / ลดลง (ร้อยละ) |
พรรคเพื่อไทย | 15.7 | 17.8 | +2.1 |
พรรคประชาธิปัตย์ | 17.5 | 15.6 | -1.9 |
พรรครักประเทศไทย | 1.4 | 1.5 | +0.1 |
พรรคชาติไทยพัฒนา | 1.9 | 1.0 | -0.9 |
พรรคภูมิใจไทย | 0.3 | 0.8 | +0.5 |
พรรคพลังชล | 0.4 | 0.3 | -0.1 |
พรรคอื่นๆ | 2.8 | 1.1 | -1.7 |
ไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ | 60.0 | 61.9 | +1.9 |
3. ข้อคำถาม “หากวันนี้ ท่านมีสิทธิออกเสียงเลือกนายกรั
สำรวจเมื่อ ม.ค. 60 (ร้อยละ) | สำรวจเมื่อ พ.ค. 60 (ร้อยละ) | เพิ่มขึ้น/ ลดลง (ร้อยละ) | |
สนับสนุน | 61.8 | 52.8 | -9.0 |
ไม่สนับสนุน | 17.9 | 25.6 | +7.7 |
งดออกเสียง | 20.3 | 21.6 | +1.3 |
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ
1) เพื่อสะท้อนความรู้สึกที่มีต่ อต่อการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้ นในอนาคตอันใกล้นี้
2) เพื่อสะท้อนความนิยมของประชาชน ที่มีต่อพรรคการเมืองต่างๆ
3) เพื่อสะท้อนเสียงสนับสนุน พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี
ประชากรที่สนใจศึกษา การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่ างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่ วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้ วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้ อมูลทะเบียนราษฎร์ ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) การประมาณการขนาดตัวอย่ างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ± 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีการรวบรวมข้อมูล ใช้การสั มภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้ อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้ างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุ ดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่ อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 24 – 25 พฤษภาคม 2560
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 29 พฤษภาคม 2560
วัตถุประสงค์การสำรวจ
1) เพื่อสะท้อนความรู้สึกที่มีต่
2) เพื่อสะท้อนความนิยมของประชาชน ที่มีต่อพรรคการเมืองต่างๆ
3) เพื่อสะท้อนเสียงสนับสนุน พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี
ประชากรที่สนใจศึกษา การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) การประมาณการขนาดตัวอย่
วิธีการรวบรวมข้อมูล ใช้การสั
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 24 – 25 พฤษภาคม 2560
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 29 พฤษภาคม 2560
แสดงความคิดเห็น