Philippine President Rodrigo Duterte, right, and Thailand's Prime Minister Prayuth Chan-ocha walk together as they leave a joint news conference at the government house in Bangkok, Thailand, March 21, 2017. Duterte is in Thailand for a two-day visit, roun

ทำเนียบขาวออกมากล่าวปกป้องคำเชิญผู้นำอาเซียน รวมทั้งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ และนายกฯ ไทย ให้มาเยือนทำเนียบขาว ว่าเป็นส่วนหนึ่งของ “ยุทธศาสตร์โดดเดี่ยวเกาหลีเหนือ”

เมื่อวันจันทร์ โฆษกทำเนียบขาว ฌอน สไปเซอร์ แถลงต่อผู้สื่อข่าวว่า การตัดสินใจเชิญผู้นำหลายประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้มาเยือนทำเนียบขาว รวมทั้งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ โรดริโก้ ดูเตรเต้ และนายกรัฐมนตรีไทย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

คือส่วนหนึ่งของ “ยุทธศาสตร์ในการโดดเดี่ยวเกาหลีเหนือ” ทั้งทางการทูตและเศรษฐกิจ

โฆษกทำเนียบขาว ฌอน สไปเซอร์ กล่าวว่า "นี่คือโอกาสที่ดีที่สหรัฐฯ จะสามารถจับมือกับประเทศต่างๆ ในเอเชียเพื่อโดดเดี่ยวเกาหลีเหนือ โดยประธานาธิบดีทรัมป์ ถือเอาผลประโยชน์ของสหรัฐฯ และความปลอดภัยของประชาชนอเมริกันและในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เป็นภารกิจสำคัญที่สุด”

ที่ผ่านมา บรรดาองค์กรสิทธิมนุษยชนต่างวิพากษ์วิจารณ์ว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้อำนาจมาจากการทำรัฐประหาร และยังมีการจำกัดสิทธิทางประชาธิปไตยของประชาชน

ขณะที่ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ โรดริโก้ ดูเตรเต้ ถูกประณามในด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการสนับสนุนวิสามัญฆาตกรรมในสงครามปราบปรามยาเสพติดของฟิลิปปินส์ ที่คาดว่ามีผู้เสียชีวิตราว 6,000 คน

คุณ John Sifton แห่งองค์กร Human Rights Watch กล่าวว่า “นี่ถือเป็นการส่งสัญญาณที่เลวร้ายไปสู่ประชาคมโลก เพราะอาจถูกมองว่าประธานาธิบดีสหรัฐฯ รับรองการกระทำที่โหดร้ายและละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่ทำให้ประชาชนฟิลิปปินส์จำนวนมากเสียชีวิต”

ขณะที่คุณ Robert Manning แห่ง Atlantic Council กล่าวกับ VOA ว่า "ประธานาธิบดีดูเตรเต้คือหนึ่งในผู้เล่นคนสำคัญของแถบเอเชียแปซิฟิก และถือเป็นเรื่องจำเป็นที่สหรัฐฯ ต้องสานสัมพันธ์กับฟิลิปปินส์ขึ้นมาใหม่ แม้จะไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ก็ตาม"

คุณ Robert Manning เชื่อว่าในใจลึกๆ แล้ว ประธานาธิบดีดูเตรเต้ค่อนข้างมีอคติและไม่ชอบอเมริกาสักเท่าไร ซึ่งคิดว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปกครองของสหรัฐฯ ในช่วงที่ฟิลิปปินส์ยังเป็นเมืองขึ้นของอเมริกา

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์แห่ง Atlantic Council ผู้นี้ให้ความเห็นว่า ในประเด็นที่เกี่ยวกับเกาหลีเหนือ เขาไม่เชื่อว่าฟิลิปปินส์ หรือประเทศอื่นในอาเซียน จะช่วยอะไรได้มากนัก

"ปัญหาภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือนั้น ก่อกวนใจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ มาแล้วถึง 4 คน และจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่เห็นแนวทางที่ดีที่สุดในการจัดการกับภัยคุกคามดังกล่าว หากว่าตระกูลคิมยังคงปกครองอำนาจในกรุงเปียงยาง"

เช่นเดียวกับคุณ Malcolm Cook แห่ง ISEAS – Yosof Ishak Institute ในสิงคโปร์ ที่เชื่อว่า แม้ฟิลิปปินส์จะสามารถช่วยสนับสนุนทางการทูตต่อจุดยืนของสหรัฐฯ ที่มีต่อเกาหลีเหนือ แต่ก็คงไม่สามารถทำอะไรได้มากไปกว่านั้น เพราะกำลังทหารของฟิลิปปินส์ยังเทียบไม่ได้กับประเทศพันธมิตรอื่นๆ ของสหรัฐฯ เช่น ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ นอกจากนี้ฟิลิปปินส์ยังมิได้เป็นส่วนหนึ่งของระบบป้องกันขีปนาวุธของสหรัฐฯ ด้วย

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนทางประธานาธิบดี โรดริโก้ ดูเตรเต้ ยังคงใจเย็นไม่รีบเร่งตอบรับคำเชิญเยือนทำเนียบขาวของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ และเพียงแต่บอกกับผู้สื่อข่าวว่า “ตนยังไม่รับปากใดๆ ในเรื่องนี้” เพราะยังมีกำหนดการเยือนหลายประเทศ รวมทั้ง รัสเซีย และอิสราเอล รออยู่ในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้านี้

source ;- http://rferl.c.goolara.net/Click.aspx?id=065999454206216378

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.