คอลัมน์ : ทนายฉลาด ยามา

ข้อมูลสำคัญที่คนไทยควรรู้
.       ==============
.   (1) การอ่าน-เขียนหนังสือไทย ต้องมีการแปลไทย-ไทย  / เพราะ ตัวหนังสือแต่ละถ้อยคำ ที่เขียนลงไปในเอกสารนั้น เป็นเพียง รหัส ที่ผู้เขียนต้องการใช้แทน ข้อความหนึ่ง หากผู้อ่านหนังสือ ต้องการทราบความหมายของถ้อยคำใด จะต้องมีการถอดรหัส ของถ้อยคำนั้น โดยการนำ ความหมาย ที่ตกลงกันกำหนดไว้ในเอกสารสำคัญ มาถอดรหัสคำนั้นๆ ภาษาราชการ เรียกการถอดรหัสว่า "แปล"

.   (2) ถ้อยคำ ทุกคำ ที่เป็น ภาษาราชการ ภาษากฎหมาย ล้วนมีคำจำกัดความ หรือ คำนิยามความหมายเฉพาะ ที่ ราชบัณฑิตยสถาน บัญญัติไว้ ใน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งถือได้ว่าเป็น หนังสือตำราภาษาหนังสือไทยแห่งชาติ. (อาจเรียกเป็นภาษาชาวบ้าน ว่า หนังสือกำหนดรหัสของ ถ้อยคำ)

.   (3) การแปล (ถอดรหัส) ข้อความ ทั้งข้อความ จากภาษาไทย เป็น ภาษาไทย  ภาษากฎหมาย เรียกว่า "ตีความ"

.   (4) การตีความกฎหมาย จึงเป็น กระบวนการแปลภาษาไทย เป็น ภาษาไทย ซึ่งจะต้องทำโดยวิธี นำคำศัพท์ จาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน มาแปล ตามหลักวิชาไวยากรณ์ไทย ก็จะได้ความหมาย ของข้อความ ที่ถูกต้องสมบูรณ์

    ผู้ตีความ จะใช้ดุลพินิจ หรือ ความเห็นส่วนตัว นำเอาคำนิยามความหมายส่วนตัวมาใช้ในการตีความ (ถอดรหัส) ไม่ได้. (ดุลพินิจ ใช้ได้เฉพาะการวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริง)

.   (5) อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจสูงสุด ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ที่มีการปกครองระบอบประชาธิป-ไตย

.  (6) อำนาจอธิปไตย ประกอบด้วยอำนาจ 3 อำนาจ คือ  อำนาจนิติบัญญัติ  อำนาจบริหาร และ อำนาจตุลาการ.

.  (7) รัฐธรรมนูญ ของ ประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย จะต้องบัญญัติว่า "อำนาจอธิปไตย เป็นของ ปวงชนชาวไทย"

.   (8) การใช้ อำนาจอธิปไตย ของ ปวงชนชาวไทย จะต้องดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ คือต้องใช้ อำนาจทางอ้อม ผ่านทางองค์กรต่างๆ  โดยใช้ อำนาจนิติบัญญัติ ผ่านทาง "รัฐสภา" ใช้อำนาจบริหาร ทาง "คณะรัฐมนตรี" และ ใช้ อำนาจตุลาการ ทาง "ศาล"
.
.   (9) องค์กร ทั้งสามนี้ รัฐธรรมนูญ บัญญัติให้มี อำนาจหน้าที่ ตรวจสอบ และ คานอำนาจกันและกัน
.  องค์กรแต่ละองค์กร จะใช้อำนาจก้าวก่ายกันไม่ได้.
.
.  (10) องค์กรที่มีชื่ออื่น เข่น "สภานิติบัญญัติแห่งชาติ" มิใช่ "รัฐสภา" ไม่มีอำนาจนิติบัญญัติ.
.
.   (11) ศาลฎีกา มิใช่ รัฐสภา คำพิพากษาศาลฎีกา จึงมิใช่กฎหมาย
ศาลฎีกา ไม่มีอำนาจยกอำนาจอธิปไตย ซึ่งเป็นของ ปวงชนชาวไทย ให้เป็น อำนาจของ ผู้กระทำความผิดฐานเป็นกบฏ/ หรือ ผู้ที่ทำรัฐประหาร.(ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ทำได้)
.
.   (12) ไม่มีกฎหมายฉบับใด บัญญัติให้ ผู้เป็นกบฏ ที่กระทำการได้สำเร็จได้อำนาจอธิปไตยไปเป็นของตน มีอำนาจออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่ตนเองกับพวกได้
.
.  (13) ไม่มีกฎหมาย บัญญัติให้ ข้าราชการทหาร มีอำนาจหน้าที่ เข้าทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ จาก รัฐบาล ที่มาจากการเลือกตั้งของปวงชนชาวไทย/
.
. (14) กฎหมายไทย ที่มีแระกาศใช้อยู่ในบ้านเมือง ทุกวันนี้ มีทั้ง กฎหมาย ของ ปวงชนชาวไทย (กฎหมายแท้) และ กฎหมาย ของ คณะทหารผู้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ จาก รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของปวงชนชาวไทย.(กฎหมายปลอม) (ผู้ใช้กฎหมายไทยมีหน้าที่ต้องตรวจสอบให้ดีก่อนอ้างอิง)
.
.  (15) กฎหมาย ของ ปวงชนขาวไทย ตราโดย รัฐสภา(กฎหมายแท้)  กฎหมายของทหารที่ยึดอำนาจ ตราโดย สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(กฎหมายปลอม)

.  (16)ข้าราชการ และ เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคน มีหน้าที่ต้องปฏิยัติหน้าที่ ตามที่ กฎหมาย บัญญัตืไว้ หากฝ่าฝืน อาจมีความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือ ข้อหาความผิดอื่น


แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.