Students of the School of Health Technology utilize some of the 10,000 new textbooks provided through an agreement between MCA-Mongolia and The Asia Foundation.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยของไทยเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายนี้ด้วย
จีนริเริ่มเครือข่ายกับสถาบันการศึกษาหลายแห่งในเอเชีย เพื่อร่วมกันคานอิทธิพลของมหาวิทยาลัยจากโลกตะวันตก

หลังจากที่สถาบันจากยุโรปและอเมริกาสามารถดึงดูดนักเรียนและอาจารย์หัวกะทิจากเอเชียจำนวนมากเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยเหล่านั้น

องค์กรที่จีนเป็นตัวตั้งตัวตีครั้งนี้ใช้ชื่อว่า "Asian Universities Alliance" หน่วยงานดังกล่าวมีสำนักงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยชิงหว่า (Tsinghua University) ในกรุงปักกิ่ง

มหาวิทยาลัยชิงหว่า เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของจีน และได้รับเลือกให้เป็นประธานกลุ่มเครือข่ายมหาวิทยาลัยเอเชียที่ปัจจุบันมีแนวร่วมทั้งหมด 15 สถาบันจาก 12 ประเทศ

กลุ่มสถาบันเหล่านี้รวบรวมทรัพยากรและองค์ความรู้ที่มีเพื่อการสร้างความแข็งแกร่งร่วมกัน

งานเปิดตัว Asian Universities Alliance หรือ AUA มีขึ้นเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยรองนายกรัฐมนตรีจีน หลิว ย่านตง เข้าร่วมพิธีดังกล่าว

China EU

รองนายกฯ จีนกล่าวว่า "ความร่วมมือนี้จะนำไปสู่การใช้ความรู้จากเอเชียในการแก้ปัญหาของภูมิภาคและของโลก"

ขณะเดียวกันอธิการบดีของมหาวิทยาลัยชิงหว่า กล่าวว่า มหาวิทยาลัยในเอเชียควรร่วมกันพัฒนาชื่อเสียงในระดับโลกและสร้างการเปลี่ยนแปลงผ่านความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนทรัพยากรกัน

เครือข่าย AUA นี้มีสถาบันชั้นนำของเอเชียหลายแห่งเข้าร่วมเช่น มหาวิทยาลัยโตเกียว มหาวิทยาลัยแห่งชาติของสิงคโปร์หรือ NUS มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น

ความร่วมมือครั้งนี้เกิดขึ้นขณะที่สหรัฐฯ มีนักเรียนต่างชาติเรียนอยู่ที่อเมริกากว่าหนึ่งล้านคน โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นผู้ที่มาจากเอเชีย และจีนเป็นประเทศบ้านเกิดของนักเรียนต่างชาติในสหรัฐฯ จำนวนมากที่สุด

หน่วยงานด้านการศึกษาของสหรัฐฯ Institute for International Education หรือ IIE เปิดเผยว่า เมื่อปีที่แล้วมีนักเรียนจีนในสหรัฐฯ 329,000 คน อันดับสองคือนักเรียนจากอินเดียจำนวน 166,000 คน


source :- http://rferl.c.goolara.net/Click.aspx?id=065999454206217376

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.