Artist’s impression of the super-Earth exoplanet LHS 1140b

ดาวฤกษ์เเคระสีเเดงดวงใหม่ที่นักดาราศาสตร์ค้นพบนี้มีชื่อเรียกว่า LHS1140b สร้างความตื่นเต้นเเก่วงการดาราศาสตร์เป็นอย่างมาก

โดยเฉพาะเมื่อพบว่าดวงสีเเดงดวงเล็กดวงนี้มีดาวเคราะห์ที่เหมือนโลกโคจรอยู่รอบๆ

ผู้สื่อข่าววีโอเอสัมภาษณ์ Jason Dittmann ผู้เชี่ยวชาญเเห่งศูนย์ดาราศาสตร์ฟิสิกส์ Harvard-Smithsonian ถึงรายละเอียดของการค้นพบนี้

คุณ Dittmann เป็นผู้ร่างรายงานเกี่ยวกับการค้นพบดังกล่าวซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nature ไปเมื่อปลายเดือนเมษายน เขาเรียกดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์เเคระสีเเดงว่า "Super Earth" ไม่ใช่เพราะว่าดีกว่าโลกที่เราอาศัยอยู่นี้ แต่ที่เรียกเช่นนั้นเพราะว่าขนาดของดาวเคราะห์ดังกล่าวอยู่ระหว่างขนาดของโลกเรากับขนาดของดาวเคราะห์เนปจูน

ดาวเคราะห์ประเภทนี้เป็นดาวเคราะห์ธรรมดาทั่วไป เพียงเเต่ว่าไม่เคยพบมาก่อนในระบบสุริยะจักรวาลที่โลกเราเป็นส่วนหนึ่ง ทำให้นักดาราศาสตร์ไม่มีความรู้มากนักเกี่ยวกับดาวเคราะห์ประเภทนี้

การค้นพบดาวเคราะห์เเบบนี้เเม้เพียงหนึ่งดวงจึงถือว่าสำคัญมาก

Artist’s impression of the newly-discovered rocky exoplanet, LHS 1140b

เเต่ดาวเคราะห์เหมือนโลกที่ได้ชื่อว่า LHS1140b ดวงนี้มีความพิเศษมากกว่านั้น เพราะโคจรรอบดาวฤกษ์ซึ่งตั้งอยู่ในโซนที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้เพราะเป็นพื้นที่ในอวกาศที่มีน้ำในรูปของเหลวอยู่บนผิวหน้า

ดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่ใกล้กับดาวฤกษ์มากกว่าที่โลกเราอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์ถึง 10 เท่าตัว แต่ดาวฤกษ์เเคระสีเเดงมีขนาดเล็กกว่าและเย็นกว่าดวงอาทิตย์อย่างมาก

Dittmann นักดาราศาสตร์แห่งศูนย์ดาราศาสตร์ฟิสิกส์ Harvard-Smithsonian กล่าวว่า "ที่พิเศษอีกอย่างหนึ่ง คือดาวเคราะห์ดวงนี้มีอายุราว 5 พันล้านปี ซึ่งยาวนานพอที่สิ่งมีชีวิตสามารถเกิดขึ้นเเละพัฒนาได้ หากมีความเป็นไปได้"

เเต่เท่าที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์พบดาวเคราะห์เหมือนโลกตั้งอยู่ใกล้กับดาวฤกษ์มาก โดยรังสีจากดาวฤกษ์ที่สาดถึงดาวเคราะห์ทำให้ชั้นบรรยากาศหมดไป เเละดาวเคราะห์เหมือนโลกดวงล่าสุดที่พบอาจจะเข้าข่ายเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม Nicola Astudillo-Defru หนึ่งในสมาชิกทีมนักดาราศาสตร์กล่าวว่า "ดวงดาวเเคระสีเเดง LHS 1140 หมุนรอบตัวเองช้ากว่า และปล่อยรังสีที่มีพลังงานสูงออกมาน้อยกว่าดวงดาวที่มีมวลต่ำเหมือนกัน ซึ่งถือเป็นข่าวดี เพราะดาวเคราะห์เหมือนโลกดวงใหม่นี้มีอายุมากเเละมีขนาดใหญ่ ทำให้มีโอกาสสูงที่จะมีชั้นบรรยากาศเหลืออยู่"

ข่าวดีอีกอย่างหนึ่งคือ ดาวเคราะห์ LHS1140b ที่มองเห็นได้จากโลก โคจรผ่านเกือบตรงด้านหน้าของดาวฤกษ์ LHS1140 ช่วยให้ง่ายในการวิจัยเพิ่มเติม

Dittman หัวหน้าทีมนักดาราศาสตร์อเมริกัน บอกว่าทีมงานได้ขอขยายเวลาเช่าใช้กล้องส่องดูดาวแล้วให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อศึกษาดูดาวเคราะห์เหมือนโลกดวงนี้อย่างละเอียด โดยเฉพาะชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ดวงนี้

และเขามั่นใจว่า เมื่อกล้องส่องดูดาวรุ่นใหม่อีกหลายตัวจะออกมาใช้งาน บรรดานักดาราศาสตร์จะได้ศึกษาชั้นบรรยากาศรอบๆ ดาวเคราะห์ดวงต่างๆ ที่ค้นพบได้อย่างเต็มที่

โดยกล้องส่องดูดาวในอวกาศ Jame Webb Space Telescope จะเริ่มใช้งานได้ในปีหน้า ส่วนกล้องส่องดูดาวภาคพื้นดิน Giant Magellan Telescope จะเริ่มปฏิบัติการในปี ค.ศ. 2025 และกล้องส่องดูดาว European-Extremely Large Telescope (EELT) จะใช้การได้ในปีค.ศ. 2024


source :- http://rferl.c.goolara.net/Click.aspx?id=065999454206217375

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.