หวั่น มหา'ลัยเน้นสร้างบัณฑิตรับใช้ ตลาดแรงงาน ลืมบทบาทน้ำพุทางปัญญาของสังคม
Posted: 23 May 2017 02:36 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซท์ประชาไท)
คุยกับผู้เชี่ ยวชาญงานสาธารณประโยชน์ของอุ ดมศึกษา มหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ หวั่น มหาวิทยาลัยเน้นสร้างบัณฑิ ตตอบโจทย์ตลาดแรงงานหลงลื มบทบาทน้ำพุทางปัญญาให้สังคม ชี้ ทุกคนควรเข้าถึงความรู้ ให้การศึกษา การแลกเปลี่ยนความเห็นค้นหาสิ่ งที่ตนและสังคมต้องการจริงๆ
ถ้อยแถลงของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานพิธีเปิดงานวั นแรงงานประจำปี 2560 เมื่อวันที่ 1 พ.ค. ที่ผ่านมา ใจความว่า สำหรับผู้ปกครองขอให้ส่งเสริ มลูกหลานให้เรียนในสาขาอาชีพที่ เป็นความต้องการของตลาดแรงงาน อย่ายึดติดกับปริญญาบัตร ขอให้เน้นเรียนจบมาแล้วมี งานทำต่อไป สะท้อนถึงความพยายามผูกสถาบั นการศึกษาเข้ากับความต้ องการของตลาดแรงงานได้ชัดเจน
ประชาไท นั่งพูดคุยกับโจชัว ฟอร์สเทนเซอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้ านงานสาธารณประโยชน์ของสถาบันอุ ดมศึกษา จากมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ ประเทศอังกฤษ ถึงปัญหาเมื่อทำให้มหาวิทยาลั ยเป็นสินค้า การนำสถาบันและผู้เรียนไปผูกกั บกลไกตลาดและความต้ องการของตลาดแรงงานดังที่ท่านผู้ นำเรียกร้อง ทางสองแพร่งของนักเรียนระหว่ างอยากเรียนกับอยากรวย คุณค่าของมหาวิทยาลัยที่สังคมคู่ ควร การเรียนปรัชญาในโรงเรียนอั งกฤษและฝรั่งเศสที่เตรียมนักเรี ยนและพลเมืองที่คิดเป็น และความเห็นที่มีต่อเยาวชนคนรุ่ นใหม่
โจชัว ฟอร์สเทนเซอร์ ได้รับเชิญมาเป็นหนึ่งในวิ ทยากรการเสวนาในประเด็ นการทบทวนบทบาทของมหาวิทยาลั ยในยุคที่ประชาธิปไตยกำลังถดถอย ที่งานเสวนา “บทบาทอุดมศึกษาในยุคประชาธิ ปไตยถดถอย การสร้างความสมดุลระหว่างเป้ าหมายทางเศรษฐกิจและการสร้ างความเป็นธรรมทางสังคม” จัดโดยสถาบันสิทธิมนุษยชนและสั นติศึกษา และมูลนิธิ ฟอน เอแบรต์ ที่มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 20-21 เม.ย. ที่ผ่านมา
หวั่นมุ่งเข็นบัณฑิตเข้ าตลาดแรงงานอย่างเดียวเปลี่ยนวั ฒนธรรมการเป็นคลังปัญญาของสังคม
โจชัว ฟอร์สเทนเซอร์
ในวงเสวนา โจชัว กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมีวัตถุประสงค์ ในทางเศรษฐกิจที่ไปกันได้กับคุ ณค่าประชาธิปไตยอยู่ 3 ประการ
1. สร้างทักษะที่มีมูลค่ าทางตลาดให้นักศึกษา ที่ผ่านมามีพัฒนาการเพื่ อตอบสนองตลาดได้อย่างดีเยี่ยม
2. สร้างความเคลื่อนไหวทางสังคม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ สร้างโอกาสให้นักศึกษา ให้ไปพัฒนาโอกาสในสาขาต่างๆที่ ตนเรียน ไปจนถึงการสร้างความเป็ นธรรมทางสังคม
3. เป็นพื้นที่บ่ มเพาะความสามารถทางอุ ตสาหกรรมและนวัตกรรม เป็นแหล่งงานวิจัยและพัฒนาที่ จะนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ
หน้าที่ของมหาวิทยาลัยทุกวันนี้ ถูกลดทอนคุณค่าให้มีหน้าที่เพี ยงข้อที่ 1 และ 3 รัฐบาลทำให้การศึกษาเป็นสินค้ าซึ่งสะท้อนได้จากการวัดผล จัดอันดับ และการแข่งขันต่างๆ โดยได้ยกแนวคิด “การคลั่งไคล้สภาวะแข่งขัน( Competition Fetish)” ของ ศ.ราชานี ไนดู (Rajani Naidoo) กูรูด้านการจัดการการอุดมศึ กษามาอธิบาย โดยกล่าวว่า สภาวะหมกมุ่นกับการแข่งขันเป็ นเวลานานทำให้เกิดการเปลี่ ยนแปลงเชิงวัฒนธรรมการบริหารจั ดการในหมู่อาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย ให้เกิดการมุ่งเน้นไปที่การสร้ างผลงาน สร้างชื่อเสียงจากงานวิจั ยและตำแหน่งแห่งที่ทางวิชาการ ตัวกิจกรรมนอกหลักสูตรการเรี ยนการสอนก็ทำไปเพื่อให้ ประสบการณ์แก่ตัวนักศึกษาให้พร้ อมสู่การเป็นแรงงาน
สถานการณ์การอุดมศึกษาในบริ บทของสหราชอาณาจักรเองสะท้อนชั ดถึงความเป็ นทาสของตลาดและการแข่งขัน 40 ปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึ งการขยายตัวของงานวิจั ยและการกลายสภาพเป็ นเอกชนของมหาวิทยาลัย ในปัจจุบัน มีร่าง พ.ร.บ. เกี่ยวกับนิยามความหมายของมหาวิ ทยาลัยกำลังถกเถียงในสภา โดยมีใจความโดยย่อว่า มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่ที่ต้ องคงไว้ซึ่งเสรี ภาพการแสดงความเห็นและเสรี ภาพทางวิชาการ มีบุคลากรที่มีคุณภาพที่จะทำให้ นักศึกษาเป็นผู้ที่เรียนรู้ได้ ตลอดชีพ เป็นสถาบันที่อุทิศตนให้กับสั งคมและต้องเป็นผู้วิจารณ์รัฐบาล และเครื่องเตือนสติของสังคมอย่ างเป็นอิสระ
โจชัวกล่าวว่า รัฐบาลเห็นว่า ร่างฯ ดังกล่าวเป็นการค้ านกระแสการทำให้อุดมศึกษาเป็นสิ นค้า ในขณะที่รัฐสภาให้ความเห็นว่า การทำให้อุดมศึกษาเป็นสินค้านั้ นควรจะมีข้อจำกัด โดยมหาวิทยาลัยจะต้องมีอยู่เพื่ อประโยชน์ของสาธารณะที่ทุกคนเข้ าถึงได้ คือการเป็นพื้นที่ให้ประชาชนได้ เรียนรู้ว่าตนเองต้ องการอะไรและด้วยเหตุผลอะไร มหาวิทยาลัยจะต้องช่วยเหลือปั จเจกและสังคมในการหาสิ่งที่ต้ องการอย่างแท้จริง ซึ่งข้อสรุปดังกล่าวเกิดขึ้นได้ จากการต่อรองและถกเถียงกัน
ประชาไท: อยากให้ขยายสิ่งที่พู ดในเวทีเสวนาที่ว่า หน้าที่ของการศึกษาคือการช่ วยให้คนทำตามความปรารถนาที่แท้ จริงให้ได้มากที่สุด
โจชัว: จริงๆมันเป็นเรื่องที่ว่า มนุษย์ทุกคนมีความปรารถนา แต่ว่าเราไม่รู้ว่าสิ่งที่ เราหวังมันเป็นสิ่งที่ เราอยากได้จริงหรือเปล่าจนกว่ าเราจะคิดถึงเหตุผล การศึกษากับประชาธิปไตยนั้นมีคุ ณค่าบางอย่างที่เหมือนกัน คือมันเอามนุษย์ไปอยู่ ในสถานการณ์ที่เราไปถึงสิ่งที่ มุ่งหวังช้าลง ด้วยการพูดคุย การพูดคุยเพื่อขยายกรอบความคิ ดของเราว่ามีอะไรอยู่บนโลกบ้าง และในสิ่งเหล่านั้นมีอะไรบ้างที่ เราต้องการ มันทำให้เราหงุดหงิดในช่วงแรกๆ แต่ผลที่เราได้รับก็คือ เราสามารถตระหนักถึงทางเลือกต่ างๆมากไปกว่าสิ่งที่เราหวัง มันเปลี่ยนจากสิ่งที่เราต้องการ ไปสู่สิ่งที่เราเลือกแล้วจริงๆ จากการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ซึ่งในแง่หนึ่งก็สามารถเกิดขึ้ นได้เมื่อมีคนมาท้าทายความเชื่อ ความหวังของคุณ หรือท้าทายทางเลือกที่คุณเลื อกไปแล้ว สิ่งเหล่านี้ทำให้เราเริ่มค้ นหาสิ่งที่เราต้องการจริงๆ
แต่ความคิดเรื่องการได้รับในสิ่ งที่ต้องการมันสำคัญ แน่นอนว่ามันหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในสังคมเสรีนิยมใหม่ที่มาพร้ อมความคิดที่ว่า “ฉันอยากได้ ฉันก็ไปซื้อ พอไปซื้อแล้วมันก็เป็นของฉัน” แต่ถ้าเราอยากเป็นพลเมืองที่เป็ นประชาธิปไตยจริงๆ เราต้องเรียนรู้ว่าเราจะให้ค่า ให้ความหมายกั บความปรารถนาของเราอย่างไร เพราะคนเรามีความปรารถนาหลายอย่ าง ซึ่งบางครั้งบางทีไม่ได้สอดคล้ องไปกับความมุ่งหวังของคนอื่ นในสังคม และเราจะให้ค่ าความปรารถนาของเราได้ดีขึ้นด้ วยการรู้จักโลก และความปรารถนาของคนอื่ นในโลกให้มากขึ้นผ่านการพูดคุย
การทำให้การศึกษาเป็นสินค้าหรื อการลงทุนเป็นปัญหาจริงหรือ สมมตินะ ถ้าผมลงทุนเรียนหมอเพราะหมอมี รายได้ดี มันผิดตรงไหน
การทำให้มหาวิทยาลัยเป็นสินค้ าเป็นปัญหา เพราะมันทำให้ประสบการณ์ของผู้ เรียนในระบบการศึ กษาแปลกแยกไปจากการศึกษาที่ดี การศึกษาที่ดีมุ่งให้คนศึกษาเพื่ อเรียนรู้ การทำให้มหาวิทยาลัยเป็นสินค้ าบีบบังคับให้นักเรียนคิดถึ งการศึกษาในเชิงการลงทุน ผมไม่โทษนักเรียนที่คิดแบบนั้น เพราะเงื่อนไขดังกล่าวมันทำให้ เด็กคิดไปตามธรรมชาติถึงผลลัพธ์ เชิงประจักษ์ที่การศึกษาจะให้ เขาเพื่อให้เขามีชีวิต มีรายได้ที่ดีขึ้น ซึ่งความคิดแบบนั้นในยุคที่เด็ กไม่มีทางเลือกนอกจากจะต้องจ่ ายถึงจะได้เรียนนั้นมันสมเหตุ สมผลแล้ว แต่ถ้ามองในเชิงโครงสร้ างระบบการศึกษา การทำให้การศึกษาเป็นสินค้ าทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่ างสถานศึกษากับนักเรียนในอี กแบบหนึ่ง นักเรียนจะให้ความสำคัญกับผลที่ นักเรียนจะได้รับหลังเรี ยนจบมากกว่าประสบการณ์ที่พึงได้ รับในมหาวิทยาลัย ในขณะเดียวกันมันทำให้ผู้สอนอยู่ บนความลักลั่นระหว่างหน้าที่ที่ ต้องช่วยเหลือให้ผู้เรียนพั ฒนาตัวเองให้มากที่สุด กับหน้าที่ที่ต้องสอนตามเนื้ อหาให้ครบ ซึ่งหน้าที่สองอย่างนี้มักไปด้ วยกันไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น การกดดันให้มหาวิทยาลั ยลดจำนวนปีที่นักศึกษาอยู่ ในมหาวิทยาลัยลงเพื่อลดราคา เพิ่มประสิทธิภาพ แต่อย่าลืมว่าเวลาก็เป็นส่วนหนึ่ งของกระบวนการเรียนรู้ แม้แต่การให้เวลาเด็กกลับไปอ่ านหนังสือและนั่งครุ่นคิดก็เป็ นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ เมื่อใดที่คุณบอกว่าทำให้เรี ยนจบเร็วขึ้น บางทีก็พูดได้ว่าคุณทำให้ ประสบการณ์ที่มีค่าในมหาวิทยาลั ยน้อยลง เมื่อใดก็ตามที่ทำให้การศึ กษาไปโยงกับการลงทุน ลดภูมิต้านทานต่อแรงกดดันจากพลั งเงินที่ต้องการผลผลิตอย่างเร่ งด่วน แถมทำให้คุณภาพด้านการศึ กษาคลายความลุ่มลึกลง
แล้วจะสร้างสมดุลระหว่ างอำนาจการเงิน การทำให้เป็นสินค้า กับบทบาทการสร้างพลเมืองที่ดี สร้างความเป็นมนุษย์
มีหลายทาง ทางหนึ่งคือการจัดให้มีการเรี ยนรู้เชิงบริการสังคมมากขึ้น เพราะมันจะทำให้นักเรียน นักศึกษามีโอกาสที่จะตระหนักถึ งความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ที่ ได้เรียนจากมหาวิทยาลัยที่มีลั กษณะเป็นนามธรรม เข้ากับความเป็นจริงด้ วยการเอาความรู้ไปช่วยเหลือสั งคม ทำให้นักศึกษาตระหนักว่าความรู้ เขามีค่าต่อการพัฒนาสั งคมมากขนาดไหน
ผมคิดว่าการมีการศึกษาเรื่ องอารยธรรม ประวัติศาสตร์ของความคิดมนุษย์ จะเป็นประโยชน์ การให้ความสำคัญกับงานเขี ยนโบราณ งานเขียนคลาสสิคและเรียนรู้พั ฒนาการของความคิดเพื่อให้ผู้เรี ยนเข้าใจว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น การขาดความเข้าใจความคิดใหญ่ ๆในอดีตทำให้การคิดเชิงวิพากษ์ ของมนุษย์มีขีดจำกัด คุณอาจจะจับประเด็น หรือถกเถียงในประเด็นต่างๆได้ดี แต่การเข้าใจพลวัตของวิวั ฒนาการทางความคิดช่วยให้เราวิ เคราะห์การเปลี่ยนแปลงในสังคมปั จจุบัน ความคิดเชิงวิพากษ์ดังกล่าวเป็ นสิ่งที่โลกทุกวันนี้ที่เราต้ องการ เราจำเป็นต้องเข้าใจถึงเดิมพั นของอารยธรรมต่างๆ อะไรคือสิ่งที่อารยธรรมเห็นว่ าสำคัญ และเกิดอะไรขึ้นบนโลกของเรา ซึ่งส่วนหนึ่งมันหมายรวมถึ งความเข้าใจในประวัติศาสตร์ ความคิด เพื่อเข้าใจว่าผู้คนกำลังถกเถี ยงอะไรกัน อะไรเป็นสาเหตุที่อยู่เบื้องหลั งการถกเถียงดังกล่าว
จะเป็นอะไรที่ดีมากถ้าหลักสู ตรการศึกษาจัดให้มีความรู้ดั งกล่าวไว้ ซึ่งควรเป็นประวัติศาสตร์ของปรั ชญา ความคิดทั่วโลก ในโลกตะวันตกไม่ได้พูดถึงขงจื่อ หรือหลักพุทธศาสนามากนัก ในทางกลับกัน ถ้าไม่มีการเรียนรู้ปรั ชญาของโสเครตีส ถ้าไม่มีพัฒนาการทางความคิด ก็จะวิพากษ์วิจารณ์เรื่องที่เกิ ดขึ้นบนโลกได้ยากขึ้น หลักความคิดที่หลากหลายนั้นไม่ จำเป็นต้องดึงเอาแก่นที่มีร่ วมกันมาสร้างเป็นสิ่งสากลสิ่ งเดียว การเรียนรู้ดังกล่าวนั้นแค่ ทำให้ผู้เรียนเข้าหามัน ได้เผชิญหน้ากับความคิดที่ หลากหลายและได้ครุ่นคิดก็เพี ยงพอ
การบรรจุสิทธิมนุษยชนกับประชาธิ ปไตยในหลักสูตรการศึกษาสำคัญแค่ ไหนภายใต้ยุคที่มีกระแสประชาธิ ปไตยถดถอย สถานศึกษามีส่วนต่อปรากฎการณ์ เลี้ยวขวาในสหรัฐฯ หรืออังกฤษไหม
การบรรจุสิทธิมนุษยชนและประชาธิ ปไตยในหลักสูตรการเรี ยนการสอนทำให้คนมีความอดทนอดกลั้ นและพร้อมที่จะแลกเปลี่ ยนความเห็น ซึ่งในทางเดียวกัน ผมเลยไม่คิดว่าสถานศึกษามีผลต่ อกระแสดังกล่าว อย่างที่เห็นจากผลโหวตให้ สหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรป วัยรุ่นจำนวนมากโหวตให้อยู่ต่อ แต่ผลดังกล่าวเกิดจากคนในสั งคมกลุ่มที่ใหญ่กว่า คนรุ่นก่อนที่คิดว่าสั งคมในแบบที่มันเป็นอยู่มันแย่ สำหรับพวกเขา และก็คิดแทนไปว่าสังคมมันแย่ สำหรับลูกหลานพวกเขาด้วย แม้ตัวเด็กจะไม่เห็นด้วยก็ตาม
ผู้เชี่ยวชาญด้ านงานสาธารณประโยชน์ของสถาบันอุ ดมศึกษา อธิบายข้อสังเกตที่เป็นที่ มาของกระแสปฏิเสธระบอบประชาธิ ปไตย การขึ้นมาของกระแสอนุรักษ์นิ ยมในโลกตะวันตกว่า เกิดขึ้นเพราะคนมีความเชื่อถื อในระบอบประชาธิปไตยน้อยลง เหนื่อยหน่ายกับระบบการเมืองที่ ตัวเองรู้สึกไม่ได้มีส่วนร่วม โลกตะวันตกเห็นความสำเร็จด้ านเศรษฐกิจของประเทศที่ไม่ได้ เป็นประชาธิปไตย ได้แก่จีนและรัสเซีย แสดงให้เห็นว่าความมั่งคั่งไม่ ได้แปรผันตรงกับความเป็นประชาธิ ปไตย ประเทศที่ตัดสินใจทางเศรษฐกิ จได้เร็วและมีประสิทธิภาพจะเป็ นผู้ชนะ เราจึงเห็น Brexit ในสหราชอาณาจักรและการขึ้ นมาของโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ
แต่การเพิ่มต้นทุนในการเข้าถึ งการศึกษาในระดับอุดมศึกษาทำให้ เป้าหมายทางการศึกษาเอียงจากเรื่ องคุณค่าความเป็นพลเมืองไปสู่คุ ณค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งเวลาเศรษฐกิจไม่ดีมันทำให้ เกิดปัญหา เพราะคนที่เข้าไปเรียนมุ่งหวั งกันว่าจบมหาวิทยาลัยแล้วจะได้ งาน ส่วนหนึ่งก็เป็นความผิดของมหาวิ ทยาลัยที่สื่อสารออกไปหาตัวผู้ เรียนเช่นนั้น ทำให้คนที่อยากเข้าเรียนต้องคิ ดถึงการศึกษาในแง่ของการลงทุน
“เอางี้ เวลาคุณเข้ามหาวิทยาลัยเขา [สังคมและมหาวิทยาลัย – ผู้สื่อข่าว] สัญญาว่าจบไปคุณจะได้งาน แต่ทีนี้คุณจบไปไม่มีงานทำ ทักษะความเป็นพลเมืองก็ไม่มี คุณไม่ผิดหวังเหรอ อย่างน้อยถ้าไม่ได้งานก็ต้องได้ ความเป็นพลเมืองออกไป”
อยากรู้เรื่องการเรียนการสอนปรั ชญา ความคิดเชิงวิพากษ์ในหลักสู ตรการศึกษาต่างประเทศ
ในอังกฤษ หลังนักเรียนผ่านการศึกษาวิชาบั งคับต่างๆ นักเรียนในระดับมัธยมปลายจะมี เวลา 3 ปี ก่อนสำเร็จการศึกษา ซึ่งนักเรียนสามารถเลือกเรียนวิ ชาต่างๆ ได้เก็บหน่วยกิตให้จบการศึกษา วิชาปรัชญาเป็นหนึ่งในนั้น ซึ่งวิชาปรัชญาในอั งกฤษจะไปในเชิงวิพากษ์เสี ยมากกว่า
ในฝรั่งเศส เด็กในช่วงมัธยมศึ กษาตอนปลายสามารถเลือกคอร์สเรี ยนหรือที่เรียกว่า แบ็คคาลอเรีย (baccalauréat) ในคอร์สทั่วไปจะมีวิชาปรัชญาให้ เรียนเป็นเวลาหนึ่งปี ซึ่งเพียงพอกับการปูพื้ นการทำความเข้าใจปรัชญา และการเรียนปรัชญาที่ฝรั่งเศสก็ หนักไปทางการตีความ การทำความเข้าใจประวัติศาตร์ ของปรัชญาและความหมายของคำต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับหลักสู ตรของสหราชอาณาจักร
รัฐบาลอังกฤษในยุคที่ผ่านๆ มาลดความสำคัญของวิชาปรั ชญาในโรงเรียนลงเรื่อยๆ แต่ผมและเพื่อนร่วมงานที่ ทำงานด้วยกันในเรื่องการผลักดั นให้สังคมเห็นความสำคัญของการศึ กษาปรัชญาคิดว่า วิชาปรัชญาเอื้อให้เกิดการอภิ ปราย การแลกเปลี่ยนความเห็นแบบเป็ นประชาธิปไตย ทำให้ผู้เรียนเข้ าใจตนเองและความแตกต่างของผู้อื่ น ซึ่งในมุมนี้ผมคิดว่า วิชาปรัชญาจะทำให้เกิดพั ฒนาการที่ทำให้เกิดพลเมืองที่มี ความคิดและใฝ่หาความยุติธรรม
แล้วคิดอย่างไรเมื่อมีคุณค่ าบางอย่าง เช่น ค่านิยมดั้งเดิมในเอเชียที่ไม่ สอดคล้องกับประชาธิปไตยและสิทธิ มนุษยชน
ผมถือหางการใช้สิทธิมนุษยชนเป็ นเครื่องมือทางการเมือง การปกป้องสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่ งสำคัญในยุคนี้ เพราะมันเป็นเครื่องมือให้คนรุ่ นเราสามารถหาทางทำความเข้ าใจคนอื่น และตระหนักถึงความเป็นเจ้ าของสถาบันการเมืองในวิถี ประชาธิปไตย ผมขอค้านประเด็นที่ว่าความขั ดแย้งระหว่างสิทธิมนุษยชนกั บขนบเดิมเป็นจุดจบ เราแค่ต้องมองในมุมอื่นที่เข้ ากันได้
อยากฝากอะไรทิ้งท้ายให้ผู้อ่ านบ้างไหม
เด็กวัยรุ่นทั่วโลก ไม่ว่าจะอยู่ในระบอบไหน ต่างกำลังพบเจอแรงกดดั นอะไรหลายๆอย่างที่คล้ายคลึงกัน มากดพวกเขาไม่ให้เขาเป็นในสิ่ งที่อยากเป็น ไม่ให้เขาสร้างสังคมที่ เขาอยากอยู่ หรือแม้แต่ลักษณะความสัมพันธ์กั บคนอื่นในสังคมที่เขาอยากให้เป็ น แต่คนรุ่นนี้มีความคิดที่เปิ ดกว้างกว่า มีความอดกลั้น มีความสนใจในความต่าง และมีความทะเยอทะยานมากกว่าคนรุ่ นที่อาบน้ำร้อนมาก่อน ดังนั้นหน้าที่ของเยาวชนคื อการฝันให้ใหญ่ และผนึกกำลังกันปลดปล่อยพั นธนาการต่างๆ ถึงจะสำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้างก็ตามแต่ สิ่งที่คนรุ่นเก่าอย่างผมทำได้ คือต้องบอกเขาว่า เราเห็นสิ่งที่คุณทำ และควรพูดคุยกับเยาวชนเหล่านั้ นให้มาก เพื่อสานสะพานแห่งความอดทนอดกลั้ นในความแตกต่าง และเพื่อสร้างโลกที่เราทุ กคนพอใจที่จะอยู่ร่วมกัน
แสดงความคิดเห็น