FREE SOMYOT วันกรรมกรสากล คนงาน 'เกาหลี-อินโด' ชูป้าย 'ปล่อยสมยศ'


Posted: 01 May 2017 08:57 AM PDT  (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)




1 พฤษาคมตรงกับวันแรงงานสากล (May Day) ในปีนี้หลายประเทศมีการเดินขบวนแสดงพลังและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของแรงงาน ที่ประเทศเกาหลีใต้ก็มีการเดินขบวนดังกล่าว ในขบวนมีการชูป้ายรณรงค์ในหลายประเด็น และหนึ่งในนั้นคือการชูป้าย FREE SOMYOT ด้วย ขณะที่ในอินโดนีเซีย ก็ปรากฏป้าย FREE SOMYOT เช่นเดียวกัน


ที่ในอินโดนีเซีย ก็ปรากฏป้าย FREE SOMYOT 

ทั้งนี้ สมยศ พฤกษาเกษมสุข เป็นผู้ต้องขังในคดีมาตรา 112 ที่ต่อสู้จนถึงศาลฎีกา เขาถูกจำคุกตั้งแต่ถูกจับกุมเรื่อยมาเกือบ 6 ปี มีการยื่นประกันตัวมากกว่า 15 ครั้งแต่ศาลปฏิเสธ จนกระทั่งวันที่ 23 ก.พ.2560 ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษจำคุกเขา 6 ปี จากเดิมที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุก 10 ปี ในความผิด 2 กรรม มูลเหตุมาจากบทความที่ถูกกล่าวหาว่ามีเนื้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ 2 ชิ้นที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร Voice of Taksin ที่เขาเป็นบก. สมยศมีกำหนดพ้นโทษในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

ก่อนมาเคลื่อนไหวทางการเมืองหลังการรัฐประหารในปี 2549 สมยศทำงานเรื่องสิทธิแรงงานมาอย่างยาวนาน และมีส่วนเรียกร้องจนมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมนโยบายด้านสิทธิแรงงานไม่น้อย เช่น การผลักดันกฎหมายประกันสังคม เป็นต้น

ประวัติสมยศ พฤกษาเกษมสุข ในด้านแรงงาน

ปี 2524 เริ่มทำกิจกรรมในกลุ่มศูนย์นักศึกษารามคำแหงศึกษาปัญหาแรงงาน


ระหว่างที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยรามคำแหง เขาเป็นนักกิจกรรมตัวยที่ต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและความชอบธรรมทั้งหลายโดยเข้าร่วมกับกลุ่มเสรีธรรม (ในสมัยนั้น) ในการทำกิจกรรมกับกรรมกรในโรงงานและชาวบ้านในชุมชน เพื่อสร้างความตื่นตัวในการรับรู้เรื่องสิทธิเสรีภาพของพลเมืองและแนวคิดการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ควบคู่ไปกับการเขียนหนังสือ บทความ

มีการจัดกิจกรรมกลุ่ม จัดตั้งสหภาพแรงงาน จัดทำอบรมให้ความรู้ทางด้านกฎหมาย จัดค่ายกรรมกรกับนักศึกษา สนับสนุนการนัดหยุดงาน การชุมนุมเดินขบวนเรียกร้องต่อรัฐบาล ในพื้นที่สหภาพแรงงานย่านสหภาพแรงงานพระประแดง สมุทรปราการ เช่นสหภาพแรงงานอาภรณ์ไทย สหภาพแรงงานส่งเสริมการทอ สหภาพแรงงานไทยเกรียง สหภาพแรงงานพิพัฒน์สัมพันธ์ สหภาพแรงงานเซ็นจูรี่ สหภาพแรงงาน เมโทร ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ และสหภาพแรงงานเหล็กและโลหะแห่งประเทศ

ปี พ.ศ. 2527 เข้าทำงานในสมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน(สสส) เป็นเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครฝ่ายส่งเสริมสิทธิกรรมกร

ปี 2527 (สสส.) กำหนดให้พื้นที่อ้อมน้อย-อ้อมใหญ่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก นำไปสู่การจัดกิจกรรมอบรมกฎหมายแรงงาน กิจกรรมคลีนิกแรงงานกิจกรรมสนับสนุนการรวมกลุ่มและช่วยเหลือจัดตั้งสหภาพแรงงาน เพราะเห็นว่าเป็นพื้นที่คนงานได้รับค่าจ้างและสวัสดิการน้อยกว่าพื้นที่อื่น

ปี 2529 เข้าทำงานในกลุ่มเยาวชนคนงานสากล Young Christain Worker(YCW) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่มีบทบาทในการรวมกลุ่มคนงานระดับเยาวชน เพื่อการเรียนรู้ในการใช้ชีวิตในสถานะคนงาน การร่วมกันคิด เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เป็นองค์กรที่มีเครือข่ายที่มีเครือข่ายในระดับสากล ทั้งภูมิภาคเอเชีย และยุโรปและอเมริกา

ปี 2534 หลังการรัฐประหารยึดอำนาจจาก พล.อ ชาติชาย ชุณหะวัณ โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) สมยศร่วมกับเพื่อนจัดตั้งโครงการบริการข้อมูลและฝึกอบรมแรงงาน และพัฒนามาเป็นศูนย์บริการข้อมูลและฝึกอบรมแรงงาน (ศบร.) หรือ Center for Labour Information Service and Training; CLIST ในเวลาต่อมา เพื่อให้การศึกษาอบรมอบรมแก่คนงานให้ตระหนักรู้ในสิทธิของตนเอง ส่งเสริมการรวมกลุ่มของคนงานในรูปองค์กรเพื่อเป็นเครื่องมือในการต่อสู้ยกสถานภาพของผู้ใช้แรงงานและปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานและคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น สนับสนุนการสร้างสหภาพแรงงานแนวประชาธิปไตย ให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย ออกจดหมายข่าวผู้ใช้แรงงาน ตลอดระยะเวลากว่าสิบปีที่ศูนย์บริการข้อมูลและฝึกอบรมแรงงาน สมยศร่วมต่อสู้ร่วมกับคนงานและขบวนการแรงงานมาโดยตลอดจนข้อเรียกร้องเหล่านั้นประสบความสำเร็จในปัจจุบัน เช่น กฎหมายประกันสังคม การลาคลอด 90 วัน การเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร การประกันการว่างงาน การให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการต่อสู้ของคนงาน เช่น กรณีคนงานเคเดอร์ คนงานไทยเบลเยี่ยม คนงานเครืออีเด็นกรุ๊ฟ ซึ่งสามารถเรียกค้าชดเชยได้สูงกว่ากฎหมาย เป็นต้น

นอกจากนั้น ศูนย์บริการข้อมูลและฝึกอบรมแรงงานยังให้การสนับสนุนการจัดตั้งองค์กรการจัดตั้งกลุ่มคนงานสตรีสู่เสรีภาพ การจัดตั้งกลุ่มสหภาพแรงงานเคมีภัณฑ์ และสนับสนุนการจัดตั้งพันธมิตรสหภาพแรงงานประชาธิปไตย จนกระทั่งศูนย์บริการข้อมูลและฝึกอบรมแรงงานปิดตัวลงเมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 ด้วยเหตุผลด้านงบประมาณ โดยมีสมยศ เป็นผู้อำนวยการตั้งแต่ปี 2534 –2550 รวมระยะเวลา 16 ปี

บทบาทหลังรัฐประหาร 19 กันยา 49 สมยศได้เข้าร่วมขับไล่รัฐบาลรัฐประหาร หรือ คมช. ในนามแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) หรือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยเป็นแกนนำรุ่นสอง ในขณะเดียวกัน สมยศร่วมกับเพื่อนๆ และประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้าน “รัฐประหาร 19 กันยา 49” ได้ร่วมกันจัดตั้งกลุ่ม “24 มิถุนาประชาธิปไตย”ขึ้นในต้นเดือนมิถุนายน 2550 อย่างไรก็ตามแม้สมยศจะเคยเป็นแกนนำ นปช.รุ่นสอง แต่ก็ได้ยุติบทบาทและออกจากการเป็นแกนนำตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2550

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.