iLaw

“ลูกความเราเป็นพลเรือน คนที่มาแจ้งความเราเป็นทหาร อัยการที่ว่าความอยู่ก็เป็นทหาร แล้วข้างบนบัลลังก์ที่นั่งอยู่ก็เป็นทหาร ทหารจับมาส่งข้อหาต่อต้านทหาร อัยการฟ้องข้อหาต่อต้านทหาร เพื่อจะถามทหารว่า ผิดหรือไม่ผิด คิดๆ แล้วมันก็ตลก” ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ ทนายความจาก ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เล่า

ศศินันท์อธิบายภาพว่า บรรยากาศในห้องพิจารณาคดีของศาลทหาร จะเห็นเจ้าหน้าที่ทุกคนใส่เครื่องแบบทหารเต็มยศขึงขัง ช่วงแรกก็ตกใจ แต่ต่อมาก็เริ่มรู้สึกตลก รู้สึกเหมือนทุกคนในห้องพิจารณากำลังเล่นละครบางอย่างให้เราดู เช่น ก่อนตุลาการจะออกคำสั่งก็จะถามว่าอัยการทหารเห็นว่าอย่างไร อัยการทหารก็จะขานรับเป็นจังหวะๆ แล้วศาลก็สั่งตามนั้น ช่วงที่มีคดีฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. เยอะๆ เมื่อไปศาลทุกคดีก็ทำเหมือนกันหมด จนเราแทบจะรู้แล้วว่า พอศาลขึ้นบัลลังก์จะพูดอะไรบ้าง สามารถบอกลูกความของเราได้เลย

ศศินันท์สังเกตว่า อัยการทหารแต่ละคนเมื่อมาถึงห้องพิจารณาคดีจะมีลักษณะการปฏิบัติงานที่เหมือนกันหมด ถ้าทนายโต้แย้งอะไรมากกว่าปกติ บางทีอัยการก็งงว่า ทนายแย้งมาแบบนี้ไม่รู้จะตอบอย่างไร ต้องหันไปถามคนอื่น เพราะเขาวางรูปแบบมาแล้ว แต่คดีที่ศาลพลเรือนจะเห็นว่า อัยการแต่ละคนที่มาจะมีสไตล์ของตัวเอง มีความเป็นปัจเจกไม่เหมือนกัน

อ่านประสบการณ์ของทนายความ ที่ต้องสู้คดีในศาลทหารได้ที่ http://bit.ly/2mlpqrl

และตามมาเรียนรู้เรื่อง #ศาลทหาร เพิ่มเติมกันที่ สถาบันปรีดี ทองหล่อ 3-5 มีนาคม นี้ https://www.facebook.com/events/1652791111684332/?active_tab=about

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.