การโอนเงินจากอเมริกามาไทย

ส่วนใหญ่คนไทยที่ทำงานในอเมริกา  จะส่งเงินให้ทางบ้านไว้ใช้ค่ะ  ซึ่งวันนี้เราก็มีหลากหลายวิธีที่คนไทยทำกันมาบอกค่ะ

1 . ส่งบัตรATM ให้ที่บ้าน


การโอนเงินจากอเมริกามาไทย

โดยหลายคนจะทำการก็เปิดchecking account ไว้สองบัญชีก็จะได้บัตรเอทีเอ็มสองบัตร
บัตรATM อันแรกก็สามารถเอาไว้ใช้ในอเมริกา ส่วนบัตรที่สองก็ส่งกลับไทยให้ทางบ้านไว้ใช้กด
แล้วก็บอกรหัสบัตรกันทีหลังทางโทรศัพท์
  ถึงเวลาเงินออกก็โอนเงินออนไลน์จากบัญชีหลักไปใส่บัญชีที่ส่งบัตรไปเมืองไทย

ข้อดี   สะดวก รวดเร็ว สามารถกดเงินที่ตู้ ATM ที่ไหนก็ได้
ข้อเสีย   กดเงินได้ไม่เกิน 10,000 บาทต่อวัน   และยังมีค่าธรรมเนียม ต่างธนาคาร ต่างประเทศ  อีกประมาณ 14-20 ดอล (ค่าธรรมเนียมมากน้อยขึ้นอยู่กับธนาคาร) ซึ่งค่อนข้างแพงค่ะ

 *** บางทีธนาคารอาจโทรมาถามเราว่า มีการกดเงินของเราที่เมืองไทย จะให้ใช้ต่อหรือให้ระงับ เราก็บอกไปว่าถ้ากดที่เมืองไทย ให้ปล่อยผ่านได้เลย ก็ไม่มีปัญหาค่ะ

2.  โอนเงินผ่านทาง Money Gram

 เป็นอีกวิธีนึงที่คนไทยใช้โอนเงินกลับเมืองไทย สามารถไปติดต่อขอโอนเงินได้ ตามร้านค้าที่มีป้ายบอกว่า  Money Gram

วิธีการก็ไม่ยากค่ะ จะมีเจ้าหน้าที่ขอข้อมูลเรา  เช่น ชื่อ, เบอร์โทรศัพท์,  ชื่อผู้รับเงินที่ไทย และ ข้อมูลธนาคารที่รับโอน  เมื่อกรอกข้อมูลทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถโอนเงินได้เลย โดยแค่บอกจำนวนเงินที่ต้องการโอน ทางเจ้าหน้าที่จะปริ้นใบสลิป 2 ใบ ใบแรก เพื่อให้เราเซ็นต์ชื่อ และใบสลิปอีกใบเราต้องเก็บไว้เพื่อเป็นหลักฐานการโอนด้วย และใบสลิปนี้เองจะมีรหัสการโอนค่ะ  เราจะต้องบอกรหัสนี้ ให้ทางบ้านทราบ  เพราะเมื่อทางบ้านไปรับเงินที่ธนาคารที่เราแจ้งไว้   พนักงานธนาคารจะถามรหัสเพื่อยืนยันการรับเงินค่ะ    เมื่อมาโอนครั้งหน้า เจ้าหน้าที่เค้าจะมีข้อมูลเราหมดแล้ว เพียงแค่บอกเบอร์โทรให้เค้า และบอกจำนวนเงินที่จะให้โอน เท่านี้เองค่ะ

ข้อดี   โอนเงินผ่าน MoneyGram สามารถไปโอนได้ที่ Wal-mart  ,7 –eleven หรือ ตามร้าน เล็กๆ  ที่มีสัญญาลักษณ์ของMoneyGram ติดอยู่หน้ากระจก และสะดวกรวดเร็ว ทางบ้านสามารถรับเงินได้ภายใน 10 นาที

 ข้อเสีย   ค่าธรรมเนียมก็ค่อนข้างแพง เช่น โอน
·       ไม่เกิน 500 ดอล ค่าธรรมเนียม  9 ดอล
·       501 –  1000 ดอล ค่าธรรมเนียม  16 ดอล
       และอาจจะไม่ได้เรทเงินที่ดีมากนัก
**** ก่อนโอนควรตรวจเช็คอัตราแลกเปลี่ยนด้วยว่า อยู่ในระดับที่น่าพอใจมั้ย อาจจะสอบถามเจ้าหน้าที่หรือตรวจเช็คออนไลน์ได้
http://www.moneygram.com/MGI/TH/TH/Market/Market.htm?CC=TH&LC=TH&IPCheck=cookie

3.  โอนเงินผ่านทางธนาคารในอเมริกา


โอนเงินผ่านทางธนาคารในอเมริกา 

วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่โอนเงินทีละมากๆค่ะ เรียกว่า  โอนเงินระหว่างประเทศ (International fund transfer)
ขั้นตอนในการทำ  จะต้องเตรียมข้อมูลที่ต้องใช้ในการโอนเงิน ได้แก่
Bank : ……………(ชื่อธนาคาร)
Branch :…………….. (ชื่อสาขา)
Routing Number ….(เลขรหัสธนาคาร)
Account No. :……….(หมายเลขบัญชี 10 หลัก)
Account Name : ….. (ชื่อลูกค้า)
Address…………..(ที่อยู่ลูกค้า)
เมื่อได้ข้อมูลครบถ้วนแล้ว ก็สามารถไปติดต่อกับธนาคารที่เรามีเงินอยู่ในบัญชีได้ โดยแจ้งพนักงานว่า ต้องการโอนเงินไปต่างประเทศ เค้าก็จะพิมพ์ข้อมูลที่เราให้ลงในคอม แล้วปริ้นท์แบบฟอร์มออกมาให้เราตรวจสอบ หลังจากนั้นก็ใส่จำนวนเงินที่ต้องการโอน และเซ็นชื่อ ก็จะได้รับหลักฐานการโอนเพื่อเก็บไว้ตรวจสอบ

ค่าธรรมเนียมในการโอน ประมาณ 40-50 ดอล

ข้อดี  เหมาะสำหรับผู้ที่โอนเงินจำนวนมากๆ ทางธนาคารไม่จำกัดวงเงินในการโอนด้วยค่ะ เสียค่าธรรมเนียมแบบเหมาจ่าย
ข้อเสีย  อัตราแลกเปลี่ยนอาจจะน้อยกว่าทางธนาคารไทย  และต้องใช้เวลาในการตรวจสอบการโอนเงินประมาณ2-3 วัน (เค้าคงกลัวเราจะแอบฟอกเงิน!!)
*** ผู้เขียนเคยใช้วิธีนี้โอนเงิน ตอนนั้นต้องรีบส่งเงินให้ทางบ้าน อัตราแลกเปลี่ยนตอนนั้นแค่ ประมาณ 29 บาท/1 ดอล ขาดทุนไปหลายพันบาทค่ะ ใจแป้วเลยค่ะ เมื่อไรเศรษฐกิจจะดีก็ไม่รู้

4  Western Union 


 โอนเงินผ่าน Western Union 

เป็นบริการรับและส่งเงินทั่วโลกอีกแบบหนึ่ง  ซึ่งสะดวกสบาย ทั้งผู้ส่งเงินและผู้รับเงิน
 การส่งเงิน
– เราสามารถไปที่จุดบริการ เวสเทิร์น ยูเนี่ยน สาขาใดก็ได้ กรอกแบบฟอร์มสำหรับส่งเงิน   ยื่นแบบฟอร์มและเอกสารแสดงตน ชำระเงินและค่าธรรมเนียม พร้อมรับใบเสร็จและหมายเลขกำกับการโอนเงิน  แจ้งให้ผู้ที่จะรับเงินทราบรายละเอียดการโอนเพื่อติดต่อรับเงินได้ทันที
การรับเงิน
– ไปที่จุดบริการ เวสเทิร์น ยูเนี่ยน สาขาใดก็ได้ กรอกแบบฟอร์มสำหรับรับเงิน   ยื่นแบบฟอร์มและเอกสารแสดงตน  รับเงินสดพร้อมใบเสร็จทันที
ตัวแทนผู้ให้บริการ เวสเทิร์น ยูเนี่ยน ในประเทศไทย ได้แก่
– ห้างเซ็นทรัล
– ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
– UOB Bank
– ธนาคารนครหลวงไทย
– ธกส
– ไปรษณีย์ไทย
หรือสามารถดูข้อมูลที่เว็บไซต์นี้  http://www.westernunion.com/Home

 5. โอนเงินผ่านธนาคารไทยที่เปิดสาขาอยู่ในอเมริกา 

มีธนาคารไทยที่มาเปิดสาขาที่อเมริกา เช่น ธนาคารกรุงเทพ มีสาขาอยู่ที่ New york หรือ ธนาคารกรุงไทยและธนาคารกสิกรไทย มีสาขาอยู่ที่ Los Angeles ส่วนตัวผู้เขียนยังไม่เคยใช้บริการ แต่คิดว่าราคาค่าโอนน่าจะสมเหตุสมผลสำหรับคนไทยในอเมริกา  ยังไงลองเข้าไปอ่านในเวบดูได้ค่ะ หรืออาจโทรไปสอบถามข้อมูลกับทางธนาคารดูได้

ธนาคารกรุงเทพ สาขา New york

ธนาคารกรุงไทยสาขา Los Angeles

ธนาคารกสิกรไทย สาขา Los Angeles

6. Abmoneyusa 

อันนี้ไว้เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกนะค่ะ ซึ่งเป็นของคนไทยเลยค่ะ ส่วนตัวไม่เคยใช้บริการของเขา แต่เท่าที่อ่านรายละเอียดแล้ว ค่าส่งก็ไม่แพงสักเท่าไหร่ แล้วได้เรทตามที่เมืองไทยด้วย  ยังไงลองเข้าไปอ่านในเวบดูได้ค่ะ หรืออาจโทรไปสอบถามข้อมูล และที่สำคัญสามารถพูดภาษาไทยกับเขาได้ค่ะ
http://abmoneyusa.com/

7. Transferwise 

Transferwise เป็นการโอนเงินที่ได้รับความนิยมมากตอนนี้ ก่อตั้งในปี 2010 โดย Estonians Taavet Hinrikus ถ้ามาดูประวัติถือว่าน่าสนใจมาก เพราะเขาคือพนักงาน Skype คนแรกนี่เอง โดยร่วมสร้าง Skype มาตั้งแต่ปี 1997 จนกระทั่งปี 2008 รั้งตำแหน่งสุดท้ายคือ Director of Strategy

ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา TransferWise ได้รับทุนระดับ Series D ที่เงิน 26ล้านเหรียญสหรัฐฯ นำโดย Baillie Gifford ซึ่งเป็น co-invest ร่วมกับนักลงทุนรายเดิมดังๆ หลายราย เอ่ยชื่อต้องร้อง อ๋อ อย่าง Andreessen Horowitz, Valar Ventures ของ Peter Thiel, นักลงทุนอย่าง Sir Richard Branson เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าพ่วงมาด้วยเครือข่ายที่ช่วยสนับสนุนมากมายอย่าง Virgin, Skype, Paypal เป็นต้น

รูปแบบการทำงาน

วิธีการใช้งานก็ไม่ยุ่งยากเมื่อเข้าหน้าเว็บฯ ก็สามารถเลือกสกุลเงินปลายทางที่ต้องการโอนเงินไป จะโอนเข้าบัญชีตัวเอง หรือคนอื่นในต่างประเทศ โดย TransferWise จะทำการเก็บค่าธรรมเนียมจากธุรกรรมนั้นๆ อีกที

วิธีและขั้นตอนการโอนเงินโดยใช้ Transferwise : https://goo.gl/DpImbCข้อดีของ Transferwise

ข้อดีของ Transferwise

ไม่มีค่าโอนจากแบงค์ต้นทาง
ไม่มีค่าโอนจากแบงค์ปลายทาง
ใช้อัตราแลกเงินจริงในตลาด
รวดเร็ว จำนวนต่ำกว่า $5000 ส่วนใหญ่จะใช้เวลาน้อยกว่า 48 – 72 ชั่วโมง
ถ้าใช้งานคล่องแล้ว สามารถใช้ app ส่งเงินได้ทุกที่ทุกเวลา
โอนครั้งแรกฟรี ในวงเงินไม่เกิน 500 ปอนด์ หรือ ประมาณ 600 เหรียญ

ข้อเสียของ Transferwise

การโอนเงินอาจจะใช้เวลา 3-7 วัน ขึ้นอยู่กับประเทศต้นทาง ปลายทาง
ผู้โอน และผู้รับต้องมี Account ธนาคาร ไม่สามารถโอนผ่านแบบใช้เงินสดเหมือน Moneygram
ใครที่กำลังมองหาการโอนเงินไปต่างประเทศ หรือ โอนเงินกลับไทย ที่ง่าย และ ประหยัด  TransferWise ก็เป็นอีกทางเลือกที่ดี มากๆๆค่ะ  ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ https://transferwise.com/

source :-  https://goo.gl/6nXsH2

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.