วันที่ไม่มีพี่ชาย คำบอกเล่าน้องสาว ไผ่ ดาวดิน กับความอยุติธรรมและครอบครัว
Posted: 24 Feb 2017 03:03 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
"ฝากรัก ฉันไปกับลม ช่วยไปห่ม ให้เธอคลาย
หนาว ยามเหงา แหงนมองดวงดาว
ส่งยิ้มแพรวพราว ส่งเธอให้นอนฝันดี
อยู่ไหน แสนไกลเพียงใด คิดถึงสุดใจ หัวใจฉันเฝ้าร่ำหา
จากกัน รักมิร้างลา เรายังสบตา กันและกันที่บนดวงดาว
ซักวันหนึ่งเราจะกลับมาพบกันเพื่อนรัก
คงไม่นานนักถ้าตีนยังเหยียบย่ำอยู่บนดิน
แม้อยู่ใต้ฟ้าชะตากำหนดจากคนบนดิน
ก่อนร่างจะพลิกลงดิน ผีเสื้อจะบินไปถึงดวงดาว"
“แม่ก็เศร้า ขับรถไปก็ร้องเพลงของพี่ไผ่ เพลงผีเสื้อ”พิณ หรือ พร้อมพร บุญภัทรรักษา น้องสาวของ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน เล่าให้ฟังด้วยน้ำเสียงร่าเริ
“ป๊าไม่ได้พูดอะไร แต่เวลาป๊าเศร้าป๊าจะเล่นดนตรี ร้องเพลงผีเสื้อแล้วก็ร้องไห้”
พิณ หรือ พร้อมพร บุญภัทรรักษา น้องสาวของ ไผ่ ดาวดิน
พร้อมพร เล่าว่า เมื่ออยู่ด้วยกัน ทุกคนในบ้านจะอยู่กับโทรศัพท์มื อถือคอยเช็คข่าวสาร บรรยากาศภายในบ้านเคร่งเครียด แม่จะวิตกกังวลและคิดถึงไผ่อยู่ ตลอดเวลา แม้เธอจะพยายามทำตัวสดใส บางครั้งก็อดไม่ได้ที่จะร้องไห้ โชคดีที่เพื่อนๆ ทั้งในโรงเรียนและจากที่อื่นต่ างให้กำลังใจเธอ บางคนอาจจะไม่รู้ในรายละเอียด แต่เมื่อได้เห็นคลิปที่แม่ และเธอไม่สามารถพบกับไผ่ได้ ก็เข้าใจความรู้สึกทุกข์ที่เกิ ดขึ้นกับครอบครัวของเธอ
พร้อมพร ในขณะนี้เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึ กษาปีที่ 5 โรงเรียนภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นโรงเรียนเดียวกับที่ไผ่ เคยเรียน และขณะนี้กำลังเรียนพรีดีกรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ควบไปด้วย เธอเล่าว่าตั้งแต่เด็กอยากเป็ นผู้พิพากษา ไผ่เองตอนแรกก็อยากเป็นผู้พิ พากษา แต่เมื่อเข้ากลุ่มดาวดินก็เปลี่ ยนใจหันไปทำกิจกรรมเชิงสังคมแทน ส่วนเธอเองแต่ก่อนก็ปลื้มดารานั กร้องไม่ต่างจากวัยรุ่นทั่วไป แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไผ่ถู กจับ เธอจึงเริ่มตั้งคำถามกั บกระบวนการยุติธรรมของไทย รวมถึงระบอบเผด็จการในปัจจุบั นที่ประชาชนไม่สามารถตรวจสอบได้
“ป๊าบอกว่า สิ่งที่เรียนกับสิ่งที่เป็นจริ งมันไม่เหมือนกัน พิณไม่เคยเชื่อ จนมันเกิดขึ้นกับเรา ความยุติธรรมไม่มี กฎหมายมันดีแต่ถ้าคนใช้ กฎหมายไม่ดี ประชาชนที่ไม่รู้กฎหมายจะเป็นไง ขนาดเราที่รู้กฎหมายยังโดนแบบนี้ สิทธิที่จะได้รับการประกันตั วเป็นสิทธิที่ผู้ต้องหาควรได้รั บ ผู้พิพากษาควรรู้อยู่แล้ว กระบวนการยุติธรรมมันดีแต่มี บางอย่างมาทำให้เพี้ยนไป ผู้พิพากษาควรทำหน้าที่สื บเสาะความจริงให้ประชาชนรู้ แต่เขาโดนใครสักคนทำให้ไม่กล้ าทำหน้าที่ของตัวเอง พี่ไผ่พูดเสมอว่าตำรวจไม่ผิด ผู้พิพากษาไม่ผิด แต่มีบางอย่างมาทำให้ผิด”
ดังนั้นด้วยสถาการณ์ปัจจุบัน พร้อมพรจึงเริ่มไม่มั่นใจนักกั บความฝันที่อยากเป็นผู้พิ พากษาภายใต้ระบอบเผด็จการ เพราะเธอมองว่าหากต้องอยู่ ภายใต้อำนาจ โดยไม่อาจใช้ความรู้ที่ร่ำเรี ยนมาทำหน้าที่อย่างยุติธรรม คงจะทำให้รู้สึกอึดอัด จึงอาจดีกว่าถ้าได้ทำงานเกี่ ยวกับกฎหมายในด้านอื่นๆ ที่ช่วยเหลือประชาชนได้ เช่นการเป็นทนายแบบพ่อของเธอ
เมื่อถามว่าสามารถฝากความหวั งในการสร้างความยุติธรรมในสั งคมไว้กับคนรุ่นเธอได้ไหม พร้อมพร กล่าวว่า ก็ไม่แน่ใจ เพราะเมื่อเทียบกับรุ่นป๊ าตอนเกิดการปฏิวัติ นักศึกษาคือรวมตัวออกมาหมด เป็นพลังที่น่าชื่นชม แต่สมัยนี้แม้จะเข้าถึงข้อมูลข่ าวสารต่างๆ ได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าหากเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ ยวกับตัวเองโดยตรงคนก็คงไม่ สนใจเท่าไรนัก ถ้าจะให้ออกมาเคลื่อนไหวก็คงเป็ นเรื่องยาก อย่างตนก็คงไม่กล้าถ้าจะต้ องออกมาคนเดียว ต้องมีกลุ่มเพื่อน และยิ่งการที่พี่ไผ่โดนจับก็เป็ นตัวอย่างที่ทำให้คนในสังคมเกิ ดความกลัว อาจเป็นเหตุผลให้ไม่มีใครกล้ าออกมา ดังนั้นจึงต้องมีคนแรกที่ ออกมาเคลื่อนไหวก่อน ซึ่งก็คือพี่ไผ่ แต่เมื่อโดนจับไป แล้วใครกันที่จะเป็นคนแรก เพราะตนจะขอเป็นคนที่สอง
สำหรับ ไผ่ ดาวดิน นั้น ถูกเจ้าหน้าที่ทหารกล่ าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากกรณีการแชร์ข่าวพระราชประวั ติรัชกาลที่ 10 จากสำนักข่าวบีบีซีไทย ซึ่งเมื่อวันที่ 9 ก.พ.ที่ผ่านมา อัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีต่ อศาลจังหวัดขอนแก่น โดยศาลรับฟ้องเป็นคดี หมายเลขดำที่ 301/2560 ในข้ อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิ ดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 3 และ 14 (3) แม้ยื่นสิทธิในการปล่อยตัวชั่ วคราวหลายครั้งก็ได้รับการปฏิ เสธ เช่นเดียวกับครั้งล่าสุดเมื่อวั นที่ 22 ก.พ.60 วิบูลย์ บุญภัทรรักษา พ่อของไผ่ ที่เป็นนายประกัน และวางหลักทรัพย์ในการขอประกั นตัว 7 แสนบาทแล้ว ยังมี สุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวรักษ์ มาเป็นนายประกันอีกคน และนอกจากนี้ยังมีใบรับรองพฤติ กรรมของจตุภัทร์ว่าจะไม่หลบหนี จาก รองศาสตราจารย์ โคทม อารียา นักวิชาการด้านสันติวิธี อดีตผู้อำนวยการสถาบันสิทธิมนุ ษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่ งชาติ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง คณบดีวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช ผู้อำนวยการสถาบันสิทธิมนุ ษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ด้วย ซึ่งศาลระบุว่า พิเคราะห์ พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ให้ยกคำร้อง คืนหลักประกัน
แสดงความคิดเห็น