ทางออกประเทศไทย: สังคมนิยมประชาธิปไตย
Posted: 31 Jan 2017 03:57 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
เมื่อเรามองดูประเทศไทยในปัจจุ บันแล้วเรามองเห็นปัญหาอะไรบ้ าง? ภาวะเศรษฐกิจที่ชะงักงัน ประเทศที่ติดอยู่ในกับดักรายได้ ปานกลาง ความขัดเคืองใจต่อระบอบประชาธิ ปไตยเนื่องมาจากนโยบายประชานิ ยมที่ดึงเอาอำนาจและผลประโยชน์ ในสังคมแทบทั้งหมดไปไว้กับผู้มี รายได้น้อย รัฐสวัสดิการซึ่งผู้ที่พอมีอั นจะกินไม่เคยต้องการจะข้องแวะด้ วย การละเมิดสิทธิมนุษยชน สังคมที่แตกแยก ความเหลื่อมล้ำในสังคมที่สูงขึ้ น และการตัดตัวเองออกจากความสัมพั นธ์อันดีในเวทีโลก จะมีหนทางใดที่เป็นทางออกให้ปั ญหาเหล่านี้ได้?
มีแนวคิดทางเศรษฐกิจและการเมื องอยู่แนวคิดหนึ่งซึ่งน่าจะเป็ นทางออกให้สถานการณ์นี้ได้ แนวคิดนี้เรียกว่า สังคมประชาธิปไตย (social democracy) ซึ่งเป็นแนวคิดทางเศรษฐกิ จและการเมืองเชิงสังคมนิยมที่ ได้รับการยอมรับและถูกนำไปใช้ ในหลายประเทศในทวีปยุโรป โดยมีตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุ ดในประเทศเยอรมนีและสวีเดน แต่แนวคิดนี้นั้นในอดีตที่ผ่ านมาไม่ได้เป็นที่รู้จักแพร่ หลายในประเทศไทยนัก นี่จึงเป็นโอกาสอันดีที่แนวคิ ดนี้จะได้เป็นที่รู้จักมากยิ่ งขึ้น และนี่คือบทวิเคราะห์ คำประกาศของโครงการสังคมประชาธิ ปไตย
แม้ว่าแนวคิดสังคมประชาธิ ปไตยจะเป็นแนวคิดเชิงสังคมนิยม แต่ก็มีความแตกต่างกับระบอบสั งคมนิยมที่สำคัญอย่างมาก อันดับหนึ่งคือสังคมประชาธิ ปไตยนั้นเน้นสนับสนุนระบบตลาด นั่นคือรัฐจะทำงานร่วมกั บระบอบทุนนิยม และไม่ได้มีความคาดหวังจะล้มล้ างระบอบทุนนิยมแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้สังคมประชาธิปไตยจึ งมุ่งหวังให้ชนชั้ นกลางและประชาชนผู้เสียภาษีรั บบทบาทเป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิ จและผลักดันประเทศ เป้าหมายสำคัญของแนวคิดสั งคมประชาธิปไตยจึงเป็นการสร้ างความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจให้ กับประเทศ และพาประเทศให้พ้นจากกับดั กรายได้ปานกลาง
เมื่อเป็นแนวคิดเชิงสังคมนิ ยมแล้วก็ย่อมมาพร้อมกับรัฐสวั สดิการ เช่นการศึกษาและระบบสุขภาพ โดยใช้ภาษีจากแหล่งต่างๆมาสนั บสนุน ทว่าในขณะที่ระบอบสังคมนิ ยมโดยทั่วไปเน้นการเก็บภาษี มาเจือจานรัฐสวัสดิการสำหรับผู้ มีรายได้น้อย สังคมประชาธิปไตยจะมีความมุ่ งหวังในการสร้างรัฐสวัสดิการที่ มีคุณภาพในระดับที่แม้แต่ชนชั้ นกลางขึ้นไปก็ยังจะรู้สึ กพอใจและภาคภูมิใจกับการใช้บริ การระบบต่างๆเหล่านั้น ดังที่เห็นได้ในตัวอย่ างของประเทศเยอรมนีและสวีเดนที่ มีคุณภาพของรัฐสวัสดิการอยู่ ในระดับสูง และประชาชนทั่วไปยินดีที่จะใช้ บริการทางสุขภาพของรัฐและให้บุ ตรหลานเข้าศึกษาในสถาบันของรั ฐบาล
นี่เป็นภาพที่ต่างกับลั กษณะของนโยบายของหลายๆรั ฐบาลของประเทศไทยในช่ วงประมาณสองทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งมีนโยบายในเชิงประชานิยม โดยเริ่มต้นด้วยการสร้างรัฐสวั สดิการแก่คนระดับรากหญ้าโดยใช้ เงินสนับสนุนจากภาษีที่เรียกเก็ บจากชนชั้นกลางขึ้นไป แต่ไม่ได้ทำการผลักดันเศรษฐกิ จของประเทศควบคู่กันไปด้วย จึงทำให้ผู้เสียภาษีมีความรู้สึ กเหมือนกับถูกขูดรีด และยังไม่ได้มีความพยายามที่ จะพัฒนารัฐสวัสดิการเหล่านั้ นให้มีคุณภาพพอถึงระดับที่ผู้ซึ่ งต้องเสียภาษีสนับสนุนจะพึ งพอใจในการใช้บริการ จึงกลายเป็นสถานการณ์แบบ “ผู้จ่ายไม่ได้ใช้ ผู้ใช้ไม่ได้จ่าย” ซึ่งเป็นที่มาของความขัดเคื องใจในหมู่ผู้เสียภาษี จำนวนมากในประเทศ
จะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์สำคั ญสองข้อของแนวคิดสังคมประชาธิ ปไตยนั้นดำเนินไปในทิศทางเดี ยวกัน การมุ่งสร้างความรุ่งเรื องทางเศรษฐกิจให้กั บประเทศจะทำให้ ประเทศและประชาชนมีรายได้มากยิ่ งขึ้น ซึ่งหมายถึงการเก็บภาษีได้มากยิ่ งขึ้น และนั่นย่อมหมายถึงงบประมาณที่ สูงขึ้นและความสามารถในการพั ฒนารัฐสวัสดิการให้มีคุณภาพสูง เพื่อที่รัฐสวัสดิการเหล่านั้ นจะเป็นตัวเลือกที่แท้จริงสำคั ญทุกคนในสังคมและไม่ใช่ การทำนาบนหลังกลุ่มผู้เสียภาษี เหมือนในอดีต และเมื่อรัฐสวัสดิการเช่นการศึ กษาและบริการสุขภาพมีความทั่วถึ ง ก็จะเป็นแรงขับเคลื่อนประเทศด้ วยการสร้างพลเมืองที่มีความรู้ ความสามารถและมีสุขภาพที่ดีต่ อไป กลายเป็นวัฏจักรที่ส่งเสริมกั นและกัน
สองสิ่งนี้คือเป้าหมายสำคั ญของแนวคิดสังคมประชาธิปไตย ซึ่งโครงการสังคมประชาธิปไตยต้ องการจะนำเสนอสู่สาธารณะ และแน่นอนว่าการมีเพียงเป้ าหมายนั้นไม่ได้เพียงพอต่ อการประสบผลสำเร็จ แต่จะต้องมียุทธวิธีในการที่ จะนำพาไปสู่ความสำเร็จด้วย ซึ่งยุทธิวิธีต่างๆที่จะทำให้ ประสบผลสำเร็จตามเป้ าหมายในกรอบของสังคมประชาธิ ปไตยนั้นมีดังต่อไปนี้
การเพิ่มอำนาจต่อรองผ่ านการรวมกลุ่ม
· นับตั้งแต่ระดับสังคม ระบอบสังคมประชาธิปไตยจะให้ การสนับสนุนการจัดตั้ งสหภาพแรงงาน ให้โอกาสแรงงานได้มี อำนาจในการต่อรองเพิ่มขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่ งมาตรฐานสภาพแวดล้อมในการปฏิบั ติงานและค่าแรงที่เหมาะสม อันจะนำไปสู่สุขภาวะที่ดีขึ้น อัตราการเปลี่ยนงานที่ต่ำลง และรายรับที่สูงขึ้น ซึ่งจะมีผลในการผลักดันให้ชนชั้ นล่างระดับบนขยับขึ้นมาเป็นชนชั้ นกลางระดับล่างได้มากขึ้น ส่งผลให้มีการพัฒนาคุณภาพของสิ นค้าและบริการ และยังเป็นการเพิ่ มความสามารถในการจัดเก็บภาษี อันจะพาไปสู่การพัฒนารัฐสวัสดิ การต่อไป
· ในระดับประเทศนั้นการรวมกลุ่มก็ จะเป็นรากฐานของระบอบประชาธิ ปไตย ซึ่งมีพรรคการเมืองเป็นตัวแทนผู้ คนในภาคส่วนต่างๆ ด้วยเหตุนี้แนวโน้มของรั ฐบาลในระบอบสังคมประชาธิปไตยจึ งมักเป็นรัฐบาลผสมที่ต้องคำนึ งถึงประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสี ยหลากหลายกลุ่มในสังคม และมีผู้นำทางการเมืองที่ มาจากการเลือกตั้ง
· ในระดับนานาชาตินั้นรั ฐบาลในระบอบสังคมประชาธิ ปไตยจะเน้นการทำงานร่วมกับองค์ กรในระดับนานาชาติต่างๆ เช่น สหประชาชาติ องค์กรการค้าโลก ทั้งนี้เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ ดีให้กับประเทศและเพื่อเพิ่ มอำนาจในการต่อรองกั บประเทศมหาอำนาจ อีกทั้งยังเป็นการดึงเอาองค์ ความรู้มาจากองค์กรระหว่ างประเทศ เช่นยูเนสโก
ผลักดันระบบเศรษฐกิจให้เป็นตั วนำประเทศ
· รัฐบาลในระบอบสังคมประชาธิ ปไตยนั้นจะปฏิเสธ “การแข่งขันไปสู่จุดต่ำสุด” (Race to the bottom – การแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดด้ วยการใช้แรงงานคุณภาพต่ำค่าจ้ างถูกเพื่อผลิตสินค้าด้อยคุ ณภาพในราคาถูก) เนื่องจากแนวทางดังกล่าวนั้นไม่ ใช่สิ่งที่จะพาประเทศให้หลุ ดจากกับดักรายได้ ปานกลางและดำเนินไปสู่ความเจริ ญรุ่งเรือง ในทางกลับกันหนทางที่จะใช้คื อการพัฒนาคุณภาพฝีมือแรงงาน เพิ่มผลิตภาพ และสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสู ง ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาในระยะยาว
· ในการนี้นั้นรัฐบาลในระบอบสั งคมประชาธิปไตยจะทำการเปิ ดตลาดอย่างเสรี เช่นเปิดตลาดพลังงานในไทย ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาในปัจจุบั นที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตไม่ สามารถกระจายการเข้าถึงไฟฟ้าได้ เพียงพอ และนำไปสู่การใช้พลั งงานทดแทนพร้อมๆกับการลดการพึ่ งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ทำลายสิ่ งแวดล้อม การเปิดตลาดอย่างเสรีจะนำไปสู่ การแข่งขัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค และยังกระตุ้นให้เกิดการพั ฒนาอย่างต่อเนื่องจากฝั่งผู้ผลิ ตอีกด้วย
· ดังนั้ นแนวทางในการวางแผนเศรษฐกิ จของรัฐบาลในระบอบสังคมประชาธิ ปไตยจึงไม่มีความต้องการที่ จะดำเนเศรษฐกิจแบบวางแผนเบ็ ดเสร็จ และจะไม่พึ่งพิ งการวางแผนระยะยาวดังเช่นแผนพั ฒนาประเทศ 20 ปี เนื่องจากแผนในทำนองดังกล่าวนั้ นจะไม่มีความยืดหยุ่นที่จะปรั บตัวเข้ากับเงื่อนไขของตลาดในช่ วงเวลานั้นๆ และยังเป็นความเสี่ยงที่ จะนำประเทศไปสู่ระบอบอำนาจนิ ยมเบ็ดเสร็จอีกด้วย
ความเป็นปึกแผ่นและความเท่าเที ยมกันของมนุษยชาติ
มุ่งเน้นความเป็นปึกแผ่นของมนุ ษยชาติ และผลักดันความเชื่อว่ามนุษย์ทุ กคนอาศัยอยู่บนโลกนี้ร่วมกัน ในการนี้นั้นสังคมประชาธิ ปไตยจะมุ่งเน้นการหาทางออกร่ วมกันโดยการเจรจากับองค์กรการค้ าโกและสนธิสัญญาการค้าอื่ นๆในโลก ทั้งนี้เพื่อสร้างความสัมพันธ์ อันดีกับตลาดโลก และเพื่อสร้างความเป็นสากลให้ ประเทศไทยเอง และยังจะให้ความเคารพต่อสิ่ งแวดล้อม โดยทำงานอย่างเข้มแข็งร่วมกั บกลุ่มเคลื่อนไหวสีเขียวและตั้ งเป้าหมายระยะยาวที่ทำได้จริง เช่นการพยายามลดภาวะเรื อนกระจกเพื่อที่จะช่วยรักษาเมื องชายฝั่งทะเล เช่นกรุงเทพมหานคร ไม่ให้จมหายไปในอนาคต
ในระดับประเทศนั้นความเป็นปึ กแผ่นจะมาจากกาคให้ความเคารพต่ อบุคคลในทุกๆระดับของสังคม ทั้งผ่านรัฐสวัสดิการที่มีคุ ณภาพและทั่วถึง และผ่านการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน สิทธิทางการเมือง เสรีภาพในการแสดงออก สิทธิในการชุมนุม และสิทธิมนุษยชนทางสังคม ตัวอย่างเช่นการรับรองการแต่ งงานของคนเพศเดียวกัน ส่งเสริมสิทธิสตรีในระบบศาสนา ยกเลิกโทษประหารชีวิต รับรองสถานะของชุมชนชาติพันธุ์ ต่างๆในประเทศ และการสนับสนุนการเรียนทวิ ภาษาโดยใช้ภาษาแม่ในการเรี ยนการสอน
ในปัจจุบันนั้นประเทศไทยอยู่ ในอาการป่วยไข้ สังคมและการเมืองอยู่ในความเจ็ บปวดรวดร้าว สิทธิมนุษยชนถูกละเมิด และยังไม่มีแผนการที่ชัดเจนที่ จะนำให้ประเทศก้าวไปข้างหน้า แต่แม้ว่าวิกฤติทางการเมื องจะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า เราก็ยังมีความเชื่อว่ าประเทศไทยจะสามารถหาทางออกทางสั งคมและการเมืองที่ถาวรได้ และดังที่ได้กล่าวมา แนวคิดทางสังคมประชาธิปไตยจะเป็ นคำตอบที่สำคัญคำตอบหนึ่ งในการคลายปมปัญหาในสังคมไทย และนำพาประเทศให้เดินหน้าไปได้
ถ้าพรรคสังคมประชาธิปไตยได้รั บการเลือกแม้จะในสัดส่วนเล็กน้ อยเพียง 8-10% ในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นนั้ นก็เท่ากับว่าเราได้มีส่ วนในการสร้างทางออกให้ประเทศแล้ ว
ประเทศไทยควรมีอนาคตที่ดีกว่านี้
(ดูข้อความอธิบายข้างล่าง)
ข้อความแสดงจุดมุ่ งหมายของโครงการสังคมนิ ยมประชาธิปไตย
1) โครงการสำหรับสังคมนิยมประชาธิ ปไตยประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่มีจุ ดประสงค์เดียวกัน ซึ่งจะสนับสนุนปรัชญา หลักการ รวมถึงนโยบาย ทางการเมืองระบอบประชาธิ ปไตยแบบสังคมนิยมในประเทศไทย โครงการแรกนั้นจะเป็นร่างสรุ ปการประกาศหลักการคร่าวๆ เกี่ยวกับปรัชญาและรูปแบบการก่ อตั้งระบอบสังคมนิยมประชาธิปไตย โดยที่จะดำเนินการด้านการพั ฒนากลยุทธ์และนโยบาย
2) สังคมนิยมประชาธิปไตยสนับสนุ นการควบคุมความยุติธรรมทางสั งคมและเศรษฐกิจ ภายใต้เงื่อนไขของระบบเศรษฐกิ จแบบทุนนิยมโดยมาจากประชาธิ ปไตยที่มาจากการเลือกตั้ง ตัวอย่างของนโยบายสังคมนิ ยมประชาธิปไตยรวมถึงการรวมตัวกั นง่ายยิ่งขึ้นเพื่อเจรจาต่ อรองในการเพิ่มอำนาจให้ผู้ใช้ แรงงานและมีการกระจายความมั่งคั่ งโดยมีการจัดสรรมาตราฐานสวัสดิ การสู่ประชาชนทุกคน ยกตัวอย่างจากประเทศสวีเดน โดยมีการจัดเก็บภาษีสูงจากผู้มี รายได้สูงซึ่งทำให้ ประชาชนในประเทศทุกคนมี มาตราฐานการครองชีพที่สูงเพื่ อให้เกิดความสมดุลย์ภายในประเทศ รวมถึงธุรกิจและประชาสังคม
3) พรรคการเมืองระบอบสังคมนิ ยมประชาธิปไตยมีอยู่ทั่ วโลกโดยเฉพาะในยุโรป ทางองค์กรสังคมนิยมประชาธิ ปไตยจะเข้าทำการสนับสนุนทุ กพรรคการเมืองไทยที่เป็นกลุ่มสั งคมประชาธิ ปไตยและจะทำการโปรโมทสังคมนิ ยมประชาธิปไตย เมื่อใดก็ตามที่ได้รับการอนุมั ติจากรัฐบาลทหารของประเทศไทย ถ้าจำเป็นจริงๆทางองค์ กรอาจจะหาทางสร้างพรรคการเมื องสังคมนิยมประชาธิปไตยหรือเข้ าไปทำการสนับสนุนพรรคสังคมนิ ยมประชาธิปไตยที่มีอยู่
4) ทางเรามีความเชื่อว่า รัฐบาล การพาณิชย์และประชาสังคมนั้น ล้วนมี บทบาทในประเทศไทยในแบบใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ปัจจุบันก็ยังไม่มี ความเท่าเทียมกันทางอำนาจทั้ งในด้านรัฐบาล ด้านเศรษฐกิจ และประชาสังคม
5) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยที่ รัฐบาลมีอำนาจมากเกินไปแต่ ประชาสังคมกลับไม่มีอำนาจ และทางเราเชื่อว่าธุรกิ จสามารถถูกเกื้อหนุนได้โดยการพั ฒนาคุณภาพชีวิ ตคนทำงานจากสหภาพแรงงานและได้รั บการปกป้องจากกฎหมายแรงงาน นั่นถือว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ ธุรกิจการค้ามุ่งความสนใจไปที่ มูลค่าที่เพิ่มจากสินค้ าจากการใช้เทคโนโลยีต่างๆ แต่ละขั้นตอนจะมีผลต่อการพั ฒนาคุณภาพชีวิตคนทำงานแทนที่ จะพึ่งระบบหนี้ดอกเบี้ยสู งและเงินเดือนขั้นต่ำ อีกผลกระทบที่ทำให้ไม่เกิดสมดุ ลย์กันคือผลกระทบทางด้านการค้ าที่จะส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมซึ่ งเป็นสิ่งสนับสนุนจากรัฐบาล ยกตัวอย่างเช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน ทางเรายังเชื่อมั่นถึงการสร้ างศักยภาพ การแก้ไขและปรับปรุงประชาสังคม โดยการให้การศึกษาที่มากขึ้ นและดีขึ้นกับคนไทยทุกคนโดยไม่ มีค่าใช้จ่ายใดๆ
6) ทางเราเชื่อมั่นถึงการสนทนาอย่ างเสรีและเปิดกว้างโดยไม่มี การเซ็นเซอร์หรือกลัวสิ่งที่ จะสะท้อนกลับมา ซึ่งทั้งสองอย่างจำเป็ นในประชาสังคม การสร้างความเข้าใจ ความกังวลใจ รวมถึงเป้าหมายที่มีต่อกลุ่ มหลากหลายเชื้อชาติและกลุ่มสั งคมต่างๆในประเทศไทย เพื่อที่จะส่งเสริมแนวคิดการมี ส่วนร่วมของคนไทย ดังนั้นทางเราจึงสนับสนุนเสรี ภาพในการแสดงออกอย่างเต็มที่ และลดบทบาทของกฎหมายการหมิ่ นประมาทให้น้อยลง
7) ระบอบสังคมนิยมประชาธิปไตยนั้ นมาจากสิทธิมนุษยชนสากล เช่น เดอะยูเอ็นส์ 1948 ประกาศอย่างเป็นสากลถึง สิทธิมนุษยชนและข้อตกลงหว่ างประเทศ อย่างแรกว่าด้วยสิทธิพลเมื องและสิทธิทางการเมื องและเศรษฐกิจ อย่างที่สองสิทธิทางสังคมและสิ ทธิทางการเมือง ซึ่งประเทศไทยได้ลงนามในสั ญญาแต่ไม่ค่อยได้ปฏิบัติตาม ทางเราเชื่อว่าสิทธิมนุษยชนเป็ นรูปแบบพื้นฐานสำหรับความยุติ ธรรมในประเทศไทย ซึ่งการอภิปรายและการที่ทุ กคนได้มีส่วนร่วมอย่างเสรีนั้ นมาจากแนวความคิดของความเท่าเที ยมกันในสังคม แต่ยังคงอนุรักษ์เอกลักษณ์ ของความเป็นไทย
8) สังคมนิยมประชาธิ ปไตยรวบรวมความเป็นน้ำหนึ่ งใจเดียวกันจากความรู้ความเข้ าใจของประชาชนและความโปร่ งใสของรัฐบาล ทางเราไม่ได้เจาะจงไปเฉพาะแค่ คนไทยเท่านั้นและยังรวมไปถึ งชาวต่างชาติที่เป็นเสมือนเป็ นผู้มีผลประโยชน์ร่ วมในประเทศไทย ยกตัวอย่างเช่น ผู้ปกครองของคนไทย คู่สมรสของคนไทย นักลงทุนในประเทศไทย นักศึกษาและนักวิชาการที่ห่ วงใยในอนาคตของประเทศไทย ทางเรายินดีต้อนรับสมาชิกจากทุ กองค์กรและทุกท่านที่สนใจ
เราตระหนักแล้วว่าถ้ าประเทศไทยสามารถยอมรับในหลั กการได้ เราจะสามารถเป็นผู้ นำของโลกและเป็นตัวอย่างไปสู่ผู้ อื่นได้
แสดงความคิดเห็น