กรณีธรรมกาย ‘อังคณา’ บอกความเชื่อส่วนบุคคลเป็นเสรี ภาพ จนท.รัฐจับใครไม่ได้ เพราะความเชื่อที่แตกต่าง
Posted: 21 Feb 2017 06:27 PM PST
อังคณาระบุ การใช้ม.44 และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ กรณีธรรมกาย กสม. เข้าสังเกตการณ์ ยังไม่มีความรุนแรงและละเมิดสิ ทธิมนุษยชน เตือนผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ต้องแยกแยะระหว่างการทำผิ ดกฎหมายที่ต้องดำเนินการ กับความเชื่อส่วนบุคคลซึ่งเป็ นเสรีภาพบริบูรณ์ เจ้าหน้าที่ไม่ควรยุ่งเกี่ยว จับกุมใครไม่ได้เพียงเพราะมี ความเชื่อที่ต่างจากเรา
อังคณา นีละไพจิตร
หลังจากรัฐบาลประกาศใช้มาตรา 44 เพื่อเข้าควบคุมตัวพระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย โดยมีการระดมกำลังทหารเข้าคุมพื้ นที่ตั้งแต่เมื่อคืน ขณะที่ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษหรื อดีเอสไอได้ประกาศเส้นตาย 10.00 ว่าการเจรจาจะต้องลุล่วงเพื่ อเข้าค้นภายในวัด
ทางประชาไทสัมภาษณ์อังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เกี่ยวกับกรณีธรรมกาย โดยทางอังคณากล่าวว่า เท่าที่ตามดูตอนนี้ก็ยังไม่มี อะไรที่เป็นความรุนแรงหรือว่ าละเมิดสิทธิมนุษยชน ดูเหมือนว่าเจ้าหน้าที่ยังไม่ ได้มีปฏิบัติการอะไรที่จะทำให้ เกิดการละเมิดสิทธิ์ ณ ตอนนี้
“ตั้งแต่วันแรกที่ทางดีเอสไอจั ดกำลังเข้าไป กสม. ก็ได้เข้าไปสังเกตการณ์ แต่เราก็ไม่ได้อยู่ฝ่ายไหน ไม่ได้ไปร่วม ไม่ได้ไปแสดงตนต่อดีเอสไอ เราไม่อยากเข้าไปร่วมอยู่ ในความขัดแย้ง แต่มีหน้าที่ที่ต้องเฝ้าระวัง แล้วก็ติดตามสถานการณ์”
อังคณา กล่าวอีกว่า “เมื่อวานก็ได้รับการร้องเรี ยนจากชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงวั ดพระธรรมกายว่า การตัดน้ำตัดไฟทำให้ชาวบ้านได้ รับผลกระทบ ซึ่งตรงนี้ กสม. ก็ต้องตรวจสอบต่อไป แล้ววันที่มีการกระทบกระทั่งกั นจนมีคนที่บาดเจ็บ เจ้าหน้าที่ที่ไปสังเกตการณ์ก็ ได้ไปเยี่ยมที่โรงพยาบาล เนื่องจากผู้ที่บาดเจ็บเป็นผู้ หญิง เจ้าหน้าที่ก็เข้าไปดู แต่ว่าทางโรงพยาบาลก็ยังไม่ได้ อนุญาตให้เข้าไปเยี่ยม แต่เราก็สอบถามเป็นระยะต่อเนื่ อง ส่วนในพื้นที่เราก็เข้าไปเฝ้ าระวังอยู่ตลอด”
ผู้สื่อข่าวประชาไทสอบถามว่า การประกาศใช้มาตรา 44 ในกรณีนี้ถือว่ามีรุนแรงไปหรื อไม่ อังคณาตอบว่า
“เราก็ดูว่าตั้งแต่วันแรกที่ ประกาศใช้มาตรา 44 ก็ยังไม่เห็นว่าทางรัฐบาลหรือดี เอสไอกระทำการอะไรที่รุนแรงเกิ นกว่าที่กฎหมายให้ไว้ ส่วนวันนี้ก็ต้องดูต่อว่ าจะดำเนินการอย่างไร จะเกินกว่าเหตุหรือไม่ ต้องขอดูก่อน เพราะที่ผ่านมาถึงแม้จะใช้มาตรา 44 แต่ยังไม่พบว่ามีการทำอะไรที่ ทำให้เกิดความรุนแรง”
อย่างไรก็ตาม อังคณาอธิบายว่าผู้ที่เกี่ยวข้ องจะต้องแยกแยะระหว่ างการกระทำผิดกฎหมายของผู้ต้ องหากับเสรีภาพในการนับถื อศาสนาและความเชื่อ
“ต้องแยกแยะ เนื่องจากว่าเรื่องของศาสนาในรั ฐธรรมนูญ 2550 ก็เขียนไว้ว่า เป็นเสรีภาพบริบูรณ์ ใช้คำว่าประชาชนมีเสรีภาพบริบู รณ์ในการนับถือศาสนาและปฏิบัติ ตามความเชื่อลัทธิต่างๆ ถือว่าเป็นเสรีภาพที่ทุกคนจะเชื่ อในลัทธิอะไรก็ได้ และสามารถปฏิบัติตามความเชื่อนั้ น เพราะฉะนั้นในเรื่องความเชื่ อของประชาชน เราคงต้องแยกแยะและต้ องเคารพในความเชื่อหรือศรั ทธาของประชาชน คิดว่าทางเจ้าหน้าที่คงไม่เข้ าไปยุ่งในเรื่องความเชื่อ ซึ่งเราไม่สามารถบอกได้เลยว่ าความศรัทธาหรือความเชื่อต่ อศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นสิ่งผิด อันนี้พูดไม่ได้ เป็นการละเมิดสิทธิส่วนตัว
“แต่ในเรื่องการกระทำผิด หากพบว่าใครก็ตามที่กระทำผิด เจ้าหน้าที่สามารถใช้ กฎหมายในการดำเนินการได้อยู่แล้ ว แต่ไม่สามารถไปจับกุมใครเพี ยงเพราะเขามีความเชื่อที่ต่ างจากเรา อันนี้ทำไม่ได้
“ถ้าเราเห็นว่าความเชื่อแบบนี้ ไม่ถูก ทั้งสองฝ่ายมีสิทธิให้ความเห็ นว่าที่ถูกควรจะเป็นอย่างไร เป็นต้น แต่ต้องระมัดระวังเพราะเป็นเรื่ องอ่อนไหว เพราะในเรื่องความเชื่ อคนเราสามารถเสียสละชีวิตได้เนื่ องจากความเชื่อ เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่อ่ อนไหวมาก ต้องระมัดระวังและแยกระหว่างสิ่ งที่เป็นความผิดทางกฎหมายก็ต้ องไม่ละเว้น ต้องดำเนินการตามกฎหมาย เท่าที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ส่วนในเรื่องความอ่อนไหวเกี่ ยวกับความเชื่อทางศาสนาเป็นเรื่ องที่ทุกฝ่ายต้องเคารพกัน”
แสดงความคิดเห็น