ผอ.ส.วัฒนธรรมศึกษา โยนโจทย์กลางวงถก 'E-Sport' เด็กไทยเป็นตัวอะไรถึงเล่นไม่ ได้
Posted: 22 Feb 2017 05:18 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
วงถก 'E-Sports เกม กีฬา ธุรกิจ และเด็กไทย' นพ.ทรงคุณวุฒิกรมสุขภาพจิต ชู มาตรการ '3 ต้อง 3 ไม่' ลดการใช้สื่อทางลบ ผุดแนวการเติบโตและการป้องกั นผลทางลบ ปธ. E-Sports จุฬาฯ ยัน สามารถสร้างสรรค์ได้ ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึ กษาถามเด็กไทยเป็นตัวอะไรถึงเล่ นไม่ได้
เมื่อวันที่ 20 ก.พ. ที่ผ่านมา กรมกิจการเด็ กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่ นคงของมนุษย์ จัดเสวนา “E-Sports เกม กีฬา ธุรกิจ และเด็กไทย” เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดที่ หลากหลายจากผู้ที่เกี่ยวข้อง และปัญหาเด็กติดเกม รวมถึง e-sport เหมาะสมกับเด็กไทยหรือไม่ พร้อมทั้งแนวทาง ลดการใช้สื่อทางลบ 3 ต้อง 3 ไม่ โดยผู้สื่อข่าวได้เรียบเรี ยงจาก THE MATTER สำนักข่าวไทย และวิดีโอคลิปจากเพจ วิวาทะ V2 บางส่วนดังนี้
ยงยุทธ์ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สังคมไทยมีปัญหาเรื่องการเลี้ ยงดูเด็กกับเกมส์ออนไลน์ มาเยอะมาก ซึ่งพวกนี้ล้วนมีผลต่อการพั ฒนาการของเด็กทั้งสิ้น เช่นเด็กช่วงประถมวัยส่งผลให้ สมาธิสั้นลง การเรียนรู้เสีย การสังคมเสียต่อไปอีกด้วย ขึ้นมาขั้นเยาวชนก็อาจจะเสียสุ ขภาพ ติดความรุนแรง สำริดผลทางด้านการเรียน ส่งผลไปยังเรื่องเพศ ค่านิยมทางการบริโภค การล่อลวง ฉะนั้นปัญหาของการใช้ออนไลน์มี มากอยู่แล้ว สิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกคือ จะให้อย่างไรเพื่อยกระดั บครอบครัวหรอสังคมไทยให้ใช้อิ นเตอร์เน็ตไปในทางที่เหมาะสม ควรจะใช้หลักการเรียนรู้เพื่ อสร้างผลิตภาพ
3 ต้อง 3 ไม่
ยงยุทธ กล่าวต่อว่าเด็กและเยาวชนควรปฏิ บัติตามหลักการ '3 ต้อง 3 ไม่' โดย 3 ต้องประกอบด้วย ต้องตกลงเวลา ต้องกำหนดโปรแกรม ต้องเล่นกับลูก ส่วน 3 ไม่ ประกอบด้วย ไม่เล่นก่อนนอน ไม่เล่นในเวลาครอบครัว ไม่เป็นตัวอย่างที่ผิด
“ถ้าการกีฬาประเทศไทยควรจะยอมรั บ E-Sport ต้องเป็นหลักที่ทางโอลิมปิ กสากลยอมรับก่อน” ยงยุทธ กล่าว
สำหรับเรื่อง E-Sport ยงยุทธมองว่า เป็นการใช้วาทกรรมของคำว่า Sport มาแทรก เป็นแค่คำพูดของทางอเมริกาที่มี ธุรกิจสื่อบันเทิงเป็นหลักไม่ ใช่สากลทั่วโลก และมีความเห็นส่วนตัวว่า E-Sport ยังไม่ใช่ Mental Sport และถ้าการกี ฬาประเทศไทยควรจะยอมรับ E-Sport ต้องเป็นหลักที่ทางโอลิมปิ กสากลยอมรับก่อน
การเติบโตและการป้องกันผลทางลบ
ต่อกรณีคำถาม ทำอย่างไรครอบครัวและ E-Sport สามารถเติบโตไปด้วยกันได้โดยให้ เกิดทางลบให้น้อยที่สุด นั้น นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ กล่าวว่า นี่เป็นคำถามที่สำคัญ และเรียกร้อง ‘ความเป็นธรรมในการดำเนินธุรกิ จ’ ที่ตอนนี้มีแต่ ‘ความไม่เป็นธรรมในการดำเนินธุ รกิจ’ โดยอธิบายว่าเรื่องเกมนั้นมีบริ ษัทที่อยู่เบื้องหลังมากไม่ต่ างกับปัญหามวยเด็ก นายแพทย์อดิศักดิ์เห็นว่าถ้ าครอบครัวเข้มแข็งแบบผู้ฟังชี้ แจงทั้งสองคนก็สามารถนำเกมมาปรั บใช้กับชีวิตได้ แต่กับครอบครัวที่ ‘เปราะบาง’ อาจจะโดนสื่อต่างๆ ที่ไม่มีความเป็นธรรมในการดำเนิ นธุรกิจทำให้ไขว้เขวและมีปั ญหาได้ มิหนำซ้ำบริษัทธุรกิจใหญ่เบื้ องหลังไม่ได้ออกนอกหน้า
ขณะที่ จิราพร เชาวน์ประยูร ยามาโมโต้ ผู้ดูแลสถานสงเคราะห์เด็ก พูดถึงข้อเสียของเกมที่เด็กที่ อยู่ในกลุ่มเปราะบางเคยหนีไปเล่ นเกมตามร้านเกมต่างๆ มาก่อน พร้อมทั้งบอกเล่าประสบการณ์ที่ เคยมีเด็กที่อยู่ในการดูแลเข้ าแข่งการแข่งขันเกม (แต่แพ้) แม้ว่าเด็กคนนั้นอาจจะยังไม่ได้ ดีในการเรียนเท่าที่ควร แต่คุณจิราพรยังมองว่าเด็กได้ ความมั่นใจมาจากตัวการแข่งเกม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของผู้ ปกครองและผู้ประกอบการที่ต้องช่ วยกันดูแลเด็กในสังคมต่อไป
หมอแจน ตัวแทนสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวั ยรุ่นราชนครินทร์ ออกมาแสดงความเห็นชัดเจนว่าเด็ กทุกคนมีสิทธิ์ติดเกม โดยเฉพาะเกมประเภทแข่งขัน ต่างๆ โดยให้ความเห็นว่า “อาจจะสร้างนักกีฬา E-Sport ได้ 1 คน แต่อาจจะสร้างเด็กติดเกมอี กหลายหมื่นคน’ ด้วยความที่คุณหมอกล่าวว่าตัวคุ ณหมอเองเจอเด็กที่ติ ดเกมหลายระดับ ตั้งแต่ระดับอ่อนจนถึงระดับที่ หลงผิดจนทำงานใดๆ ไมได้ ก่อนจะทิ้งท้ายว่า “เกมอาจจะสร้างรายได้ได้ ในระยะสั้นๆ แต่ในระยะยาวมันไม่แน่นอน สิ่งที่คุณเสียเวลาไปกับเกม ในขณะที่คนอื่นขวนขวายตั้งใจเรี ยน พยายาม มีวินัยและรับผิดชอบ ใครกันแน่ที่ประสบความสำเร็ จในชีวิตอย่างแท้จริง”
นพ.อดิศักดิ์ ให้ความเห็นว่า E-Sport หรือเรื่องเทคโนโลยีมาถึงแน่นอน และการแก้ไขปัญหาร่วมกันเป็นเรื่ องที่สมควร ทั้งนี้เพราะธุรกิ จฟากโลกออนไลน์ยังขาดการดูแลกั นต่อไป ยังเห็นว่ามีเยาวชน มีพ่อแม่ มีหน่วยงานที่ไม่เข้าใจ หรือช่วยและเชียร์เยาวชนผิดๆ
E-Sports สามารถสร้างสรรค์ได้
ประธานของชมรม E-Sports ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็กล่ าวว่า E-Sports สามารถสร้างสรรค์ได้ อย่างตัวผู้ที่จะเข้าชมรมต้องมี เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.2 ตัวชมรมมีการพัฒนาเกมจาก Engine ต่างๆ อย่าง Unity หรือ Unreal Engine และมีการจัดตารางการแข่งขั นแบบจริงจัง ทั้งยังมีการศึกษาการเล่นของผู้ เล่นต่างชาติ ตัวรุ่นพี่หรืออาจารย์ของชมรมก็ เป็นโค้ชผู้แนะนำทั้งในเรื่ องการเรียนและจัดการเวลา
อดีตหัวหน้าทีมเตรียมอุดมศึกษา E-Sport และเป็นสมาชิกของชมรม E-Sport ของทางจุฬาลงกรณ์ฯ ได้นำเอาประสบการณ์ที่เคยแข่งขั นในประเทศอเมริกา ว่าการเป็นนักกีฬาสาย E-Sport ต้องมีการศึกษาเพิ่ม มีการซ้อมทั้งด้านร่ างกายและความคิดไม่ต่างกับกี ฬาทั่วไปที่สามารถฝึกฝนทักษะต่ างๆ ได้ แต่มันอาจจะดูเข้าถึงง่ายกว่ าสำหรับเด็กหลายๆ คน ชื่นชอบกีฬาแนวนี้ และมองว่าถ้ากีฬาทั่ วไปสามารถเข้าถึงได้ง่ายเช่นเดี ยวกับ E-Sport ก็จะมีบุคลากรในกีฬาในประเภทอื่ นๆ เช่นกัน
เด็กไทยเป็นตัวอะไรเล่นไม่ได้
ขณะที่ ประดิษฐ์ โปซิว ผู้อำนวยการสถาบันวั ฒนธรรมศึกษา กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมแลกเปลี่ยนด้วยว่า ฟังแล้ วสุดท้ายกลายเป็นสองฝ่าย ระหว่างฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายคั ดค้าน จะอะไรก็แล้วแต่ สิ่งที่ตนฟังยังแล้ว ไม่ค่อยเข้าใจตรรกะนักก็คือว่า เด็กติดเกมแล้วเขาก็คือเด็กติ ดเกม ถ้ามี E-Sport เข้าไปแล้วเด็กติดเกมจะเพิ่มขึ้ น ตรรกะสองอันนี้มันเข้ากันไม่ได้ หรอก การที่จะเกิด E-Sport แล้วเด็กติดเกมจะติดเกมมากขึ้น แต่ว่าเป็นไปได้ว่าเด็กติ ดเกมจะนำ E-Sport มาเป็นข้ออ้าง แต่มันไม่ได้หมายความว่าจะทำให้ เด็กติดเกมเพิ่มมากขึ้น หรือเด็กเล่นเกมบ้าคลั่งมากขึ้น เพราะฉะนั้นประเด็นเรื่อง E-Sport นี้โอเค ตรรกะแบบนี้เอามาว่าถ้า E-Sport มาแล้วเด็กติดเกมจะมากขึ้ นตนมองว่ามันไม่ใช่
"เราก็รู้อยู่ว่าเกมอยู่ ในระบบออนไลน์ นั่นหมายความว่ามันเล่นกันได้ทั่ วโลก เพราะมันสื่อสารกันหมดทั่วโลก เขาเล่นกันได้ทั่วโลก เด็กไทยเป็นตัวอะไรเล่นไม่ได้ ต่ำช้ามากนักหรือ เด็กไทยเนี่ย มันก็คงไม่ใช่ เขาเล่น E-Sport กันได้ทั่วโลกเด็กไทยเล่น E-Sport ไม่ได้ใช่ไหม ตอบคำถามนี้ไหม แล้วสุดท้ายถ้า E-Sport มันเข้าไปสู่กีฬาสากลจริง เราตามไปทีหลังจะตามเขาทันไหม" ประดิษฐ์ กล่าว
ประดิษฐ์ กล่าวอีกว่า รัฐบาลประกาศนโยบายไทยแลนด์ 4.0 คืออะไร คือการนำเทคโนโลยีออนไลน์มาใช้ เกมก็ออนไลน์ เราจะตัดสิ่งนี้ออกอย่างนั้นหรื อ เพราะฉะนั้นประเด็นปัญหาจริง ๆ ไม่ใช่อยู่ที่เด็กติดเกม ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ E-Sport ปัญหาก็คือเราเรียนรู้ที่จะอยู่ กับออนไลน์นี้ยังไง อย่าไปสนเลยว่าเด็กติดเกมเข้าร้ านเกม ทุกวันนี้เด็กไม่เข้าร้านเกม เด็กมีมือถือติดตัวแล้วจะเข้าร้ านเกมทำไม ดังนั้นเราจะทำยังไงให้เด็กได้ เรียนรู้ สังคมเรียนรู้ ครอบครัวเรียนรู้ ที่จะอยู่กับสังคมออนไลน์
สำหรับ E-Sport นั้น ผู้ใช้ยูสเซอร์ AxisXyclopz อธิบายไว้ในเว็บไซต์ dek-d.com ว่า คือ การแข่งขัน วิดีโอเกมส์คอมพิวเตอร์ เกมส์เหล่านี้ได้รับการยอมรั บอย่างกว้างขวางว่า เป็นกีฬาชนิดใหม่ที่กำลังเป็นที่ นิยมทั่วโลก โดยส่วนประกอบหลักๆของ E-Sports ไม่ได้แตกต่างจากกีฬาประเภทอื่ นๆ กล่าวคือ ประกอบไปด้วย นักกีฬา อุปกรณ์กีฬา(เมาส์, คีย์บอร์ด, หูฟัง ETC.) ซึ่งก็คือ คอมพ์พิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ชนิดต่างๆที่สนับสนุ นการเล่นเกมส์ แผนการเล่น รวมถึงทักษะและการฝึกซ้อมอย่ างทุ่มเท่ของนักกีฬา
แสดงความคิดเห็น