แอมเนสตี้เผยสถานการณ์สิทธิ 59/60 ยังเลวร้าย-ข้าหลวงสิทธิ UN เรียกร้องคสช.คืนเสรีภาพ
Posted: 22 Feb 2017 05:04 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
แอมเนสตี้เผยรายงานสิทธิมนุ ษยชนรอบโลกปี 59/60 เตือนวิกฤตอาจลุกลาม เพราะโลกขาดผู้นำปกป้องสิทธิ ผอ.แอมเนสตี้ ประเทศไทย เผยสถานการณ์เอเชียย่ำแย่รัฐพุ่ งเป้าโจมตีนักปกป้องสิทธิ- ในไทยคนเห็นต่างยังถูกปราบปราม ม.44-กม.ความมั่นคงอยู่ครบ คำสั่งเลิกขึ้นศาลทหารไม่มีผลย้ อนหลัง ‘ประวิตร โรจนพฤกษ์’ ถามจัดงานได้เพราะ คสช. มั่นใจในอำนาจหรือไม่ แอมเนสตี้ชี้แจงจัดได้เพราะเตรี ยมตัวมาดี หวังให้ทุกฝ่ายรับทราบเพื่อแก้ ปัญหาร่วมกัน
งานแถลงข่าว รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนทั่ วโลกประจำปี 2559/2560 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560 ที่โรงแรมโฟร์วิงส์ กรุงเทพมหานคร ภาพซ้ายมือคือหน้าปกรายงาน อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่นี่
ช่วงเสวนา “เราอยู่ ตรงไหนในกระบวนการทำงานเพื่ อปกป้องนักปกป้องสิทธิมนุษยชน” วิทยากร (จากซ้ายไปขวา) วิทย์ สิทธิเวคิณ ผู้ดำเนินรายการ, อัญชนา หีมมิหน๊ะ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน, โลคอง เมย์ยอง รักษาการผู้แทนประจำภูมิภาค สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุ ษยชนแห่งสหประชาชาติ, ลิน เต็ด หน่ายก์ อดีตนักโทษทางความคิดจากพม่า และปิติกาญจน์ สิทธิเดช อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรี ภาพ กระทรวงยุติธรรม
22 ก.พ. 2560 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเปิ ดเผยรายงานสถานการณ์สิทธิมนุ ษยชนประจำปี 2559/2560 รวบรวมสถานการณ์ด้านสิทธิมนุ ษยชนตลอดปี 2559 ให้ภาพรวม 5 ภูมิภาค รวม 159 ประเทศ โดยการเปิดเผยรายงานซึ่ งกระทำพร้อมกันทั่วโลกในวันนี้ เผยให้เห็นว่า ยังคงมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการเรียกร้องสิทธิมนุษยชนยั งดำเนินต่อไปอย่างเข้มแข็งในทุ กมุมโลก
พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ห่วงโลกในรอบปี 2559 แบ่งเขาแบ่งเราขนานใหญ่-เมินแก้ ไขปัญหา
สำหรับการแถลงข่าวที่ประเทศไทย ที่โรงแรมโฟร์วิงส์ กรุงเทพมหานคร พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ประธานกรรมการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวเปิ ดงานและเผยรายงานประจำปี ภาพรวมสิทธิมนุษยชนในโลกในรอบปี 2559 นับได้ว่าเป็นปีที่มีความท้ าทายอย่างมาก เป็นปีที่การเมืองสร้างภาพลบต่ อการแบ่งแยกเขากับเราขนานใหญ่ เป็นปีที่มหาอำนาจไม่ปฏิบัติ ตามและเพิกเฉยพันธะกรณีระหว่ างประเทศ และบรรดาชาติต่างๆ ล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาสิทธิมนุ ษยชนอย่างกว้างขวาง เรามีคำถามว่า รัฐคือผู้ที่จะต้องรับผิดชอบฝ่ ายเดียวหรือ หรือใครจะต้องลุกขึ้นมาปกป้องสิ ทธิ แล้วคนที่เป็นนักปกป้องสิทธิมนุ ษยชนเองควรได้รับการคุ้ มครองจากใคร งานนี้คงไม่ใช่งานแถลงรายงานที่ จัดทุกปี เพราะการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิ ดขึ้นทั่วโลก และจะไม่ใช่สิ่งไกลตัวเราอีกแล้ ว วันหนึ่งเราอาจจะเป็นผู้ลี้ภัย วันหนึ่งเราอาจจะถูกจับ เพียงเพราะแชร์ข้อมูลหรือโพสต์ ข้อความลงเฟซบุ๊ก และวันหนึ่งเราอาจจะถูกกีดกั นทางสังคมเพราะมี เพศสภาพของเราแตกต่าง เราหวังว่าการตระหนักรู้ที่เกิ ดขึ้น เป็นแนวทางปกป้องสิทธิมนุษยชน และปกป้องคนทำงานด้านสิทธิมนุ ษยชน พร้อมเตือนปี 2560 วิกฤตอาจลุกลาม เพราะโลกขาดผู้นำระดับโลกปกป้ องสิทธิมนุษยชน
รายงานประจำปีดังกล่าว มาจากงานวิจัยของนักวิจั ยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลทั่วโลก ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกต้ องแม่นยำ เพื่อหวังให้มีการรณรงค์ เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงร่วมกั น ร่วมกับสมาชิกแอมเนสตี้อินเตอร์ เนชั่นแนล 7 ล้านคนทั่วโลกต่อไปอย่างไม่ลดละ และไม่ย่อท้อ
ทั้งนี้มีการยกคำพูดของ ‘ซาลิล เซ็ตตี้’ เลขาธิการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ที่กล่าวถึงภาพรวมของสถานการณ์ โลกในปี 2559 ว่าเป็นปีที่ใช้วาทกรรม “พวกเรากับพวกเขา” เพื่อประณามสร้างความเกลียดชัง หวาดกลัว อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในรอบ 70 ปีที่ผ่านมา การเมืองโลกในปี 2559 ทำให้เห็นว่าการแบ่งแยก การเลือกปฏิบัติ กำลังจะถูกนำมาใช้ ผู้นำโลกในหลายประเทศ รวมทั้งการเลือกตั้งสหรัฐอเมริ กาครั้งล่าสุดก็เริ่มใช้ วาทกรรมนี้ เพื่อช่วงชิงอำนาจในประเทศ มีการเพิกเฉยต่อการละเมิดสิทธิ มนุษยชนอย่างกว้างขวาง แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เตือนว่าในปีหน้าวิกฤตอาจลุ กลามบานปลาย เหตุเพราะว่า เราขาดผู้นำสิทธิมนุษยชนในเวที โลก การเมืองที่แบ่งเขาแบ่ งเราเพราะเหินห่างกันมากขึ้น โลกเผชิญวิกฤตมากมาย แต่กลับขาดเจตจำนงทางการเมืองที่ จะแก้ไขปัญหา รายงานของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ให้ข้อมูลของอาชญากรรมสงครามที่ เกิดขึ้น 23 ประเทศทั่วโลกในปี 2559 ที่ผ่านมา และแม้จะมีความท้าทายเกิดขึ้น แต่กลับเกิดความเพิกเฉยในระดั บสากลอย่างชัดเจน ในขณะที่บทบาทของชาติสมาชิ กถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่ งสหประชาชาติก็หยุดชะงักเพราะขั ดแย้งกัน ปี 2560 จะเป็นปีที่รัฐมหาอำนาจมุ่งคุ้ มครองผลประโยชน์ตัวเอง ในกรอบที่คับแคบลง ไม่คำนึงถึงความร่วมมือระหว่ างประเทศ จะเกิดความเสี่ยงทำให้เราเข้าสู่ ความวุ่นวายและอันตรายมากขึ้ นในระดับโลก ประชาคมระหว่างประเทศทำตัวเงี ยบเฉย แม้จะเกิดการละเมิดสิทธิมนุ ษยชนที่รุนแรงกว้างขวาง เราได้เห็นการถ่ ายทอดสดอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ที่โหดร้ายทารุณต่อผู้บริสุทธิ์ ในอเล็ปโป ประเทศซีเรีย ในพม่า ฟิลิปปินส์ การใช้อาวุธเคมีหรือเผาหมู่บ้ านที่ดาร์ฟูร์ ประเทศซูดาน
คำถามก็คือคนทั้งโลกจะปล่อยให้ มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่รุ นแรงโหดร้ายเหล่านี้เกิดขึ้นต่ อไปอีกนานเพียงใด ก่อนที่เราจะลงมือทำอะไรบางอย่ าง
สถานการณ์เอเชีย-แปซิฟิกย่ำแย่ รัฐพุ่งเป้าโจมตีนักปกป้องสิทธิ มนุษยชน
ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เปิดเผยว่ารายงานฉบับนี้ชี้ให้ เห็นว่านักปกป้องสิทธิมนุษยชนทั่ วโลกยังคงถูกคุกคามอย่างหนั กจากการทำงานเพื่อปกป้องสิทธิ มนุษยชนในภูมิภาคเอเชียตะวั นออกเฉียงใต้และแปซิฟิก นักปกป้องสิทธิมนุษยชนยังคงถู กข่มขู่ทั้งในกัมพูชา พม่า มาเลเซีย ไทย เวียดนาม และประเทศอื่นๆ รวมทั้งมีการใช้กฎหมายใหม่ และกฎหมายที่มีอยู่เพื่อเอาผิ ดทางอาญากับการแสดงออกอย่างสงบ
“รัฐบาลพุ่งเป้าโจมตีนักกิ จกรรมด้านสิทธิมนุ ษยชนและภาคประชาสังคม เป็นการส่งสัญญาณเตือนไม่ให้ คนแสดงความคิดเห็นต่าง ประชาชนทั้งในมาเลเซีย พม่า ไทย เวียดนาม กัมพูชา และลาว ถูกคุกคาม ถูกจับกุมและดำเนินคดีเพี ยงเพราะการใช้สิทธิที่จะมีเสรี ภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่ างสงบ” โดยที่ประเทศฟิลิปปินส์ ประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต ขู่ทำร้ายนักสิทธิมนุษยชน และยังคงเดินหน้าทำสงครามฆ่าตั ดตอนยาเสพติด
ที่พม่าคนกระทำผิดยังลอยนวล สถานการณ์โรฮิงญาวิกฤต รัฐบาลพม่าเมินรับผิด
ขณะที่ในประเทศพม่ามีการปล่อยนั กโทษการเมืองขนานใหญ่ แต่ยังไม่มีแนวโน้มที่ดี คนที่กระทำผิดในสมัยรั ฐบาลทหารยังไม่ถูกนำตัวเข้าสู่ กระบวนการยุติธรรม และกฎหมายในสมัยรัฐบาลทหารยั งคงใช้อยู่
ที่สำคัญในรัฐยะไข่ยังคงเผชิญวิ กฤต ชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญายังคงถู กเลือกปฏิบัติ อันเป็ นผลมาจากการขาดความอดทนอดกลั้ นทางศาสนา ทั้งนี้สถานการณ์ในรัฐยะไข่ เลวร้ายลง หลังจากเมื่อปลายปี 2559 มีผู้บุกโจมตีป้อมตำรวจชายแดนที่ รัฐยะไข่ ตามมาด้วยการละเมิดครั้งใหญ่ และปราบปรามอย่างไม่เลือกหน้ าของกองกำลังความมั่นคงของพม่า ทำให้มีผู้อพยพเข้าสู่บั งกลาเทศระลอกใหญ่ และรัฐบาลพม่าก็ยังไม่ยอมรับว่ าเจ้าหน้าที่กระทำผิด
ในไทยคนเห็นต่างยังถูกปราบปราม มีผู้ถูกดำเนินคดีเพราะรณรงค์ ประชามติ
สำหรับประเทศไทย ในรายงานระบุถึงการปราบปรามอย่ างต่อเนื่องต่อผู้ที่ แสดงความเห็นต่างอย่างสงบยั งดำเนินต่อไปภายหลังรัฐประหารปี 2557 ทำให้เกิดสภาพที่ประชาชนส่ วนใหญ่ไม่กล้าวิพากษ์วิจารณ์ ทางการอย่างเปิดเผย
ในช่วงการลงประชามติร่างรั ฐธรรมนูญในเดือนสิงหาคม 2559 มีการออกกฎหมายและใช้มาตรการที่ มีผลต่อการแสดงความเห็นและเคลื่ อนไหวทางการเมือง รัฐบาลยังคงสั่งห้ามการอภิ ปรายก่อนจะมีการออกเสี ยงประชามติเกี่ยวกับร่างรั ฐธรรมนูญ มีรายงานว่านักกิจกรรมถูกดำเนิ นคดีเพราะเคลื่อนไหวทางการเมือง รวมทั้งเพราะรณรงค์ในช่วงก่ อนลงประชามติ มีประชาชน 10 กว่าคนที่แสดงความเห็นต่อร่างรั ฐธรรมนูญทางเฟซบุ๊กเป็นเหตุให้ พวกเขาถูกควบคุมตัวหรือถูกตั้ งข้อหา และอาจได้รับโทษจำคุกถึง 10 ปีตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสี ยงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ที่ประกาศใช้ก่อนการประชามติ
กม.มั่นคง ม.44 ยังอยู่ครบ แม้จะเลิกการขยายอำนาจศาลทหาร แต่ไม่มีผลย้อนหลัง
นอกจากนี้รัฐบาล คสช. ยังคงใช้กฎหมายความมั่นคงและใช้ อำนาจตามมาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 ที่สำคัญยังคงมีพลเรือนขึ้ นศาลทหาร จากความผิดด้านความมั่นคง และความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุ ภาพ แม้ว่าในเดือนกันยายนปี 2559 คสช. จะมีคำสั่งยกเลิกการขึ้ นศาลทหารแล้ว แต่คำสั่งนี้ไม่มีผลย้อนหลัง ทำให้พลเรือนที่ถูกดำเนินคดี และขึ้นศาลทหารแล้วต้องขึ้ นศาลทหารต่อไป
เรียกร้องรัฐบาลไทยยุติการโจมตี การทำงานนักปกป้องสิทธิ
นอกจากนี้นักปกป้องสิทธิมนุ ษยชนถูกตั้งข้อหาหมิ่ นประมาททางอาญาเนื่องจากการเปิ ดเผยรายงานเกี่ยวกับการละเมิดสิ ทธิ หรือเนื่องจากการทำงานสนับสนุ นบุคคลและชุมชนที่ถูกละเมิดสิ ทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเรียกร้องรั ฐบาลไทยให้ยุติการโจมตี การทำงานของนักปกป้องสิทธิมนุ ษยชน เพราะถือเป็นการคุกคามสิทธิเสรี ภาพในการแสดงออก และเรียกร้องเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ ายหยุดใช้กระบวนการทางอาญา เพื่อปราบปรามบุคคลที่ใช้สิทธิ และเสรีภาพในการแสดงออก การสมาคม และการชุมนุมอย่างสงบโดยทันที ทั้งนี้มีการเปิดเผยถึงกรณีที่ นักสิทธิมนุษยชนถูกกองทัพบกฟ้ องด้วย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และคดีหมิ่นประมาททางอาญา ได้แก่ สมชาย หอมลออ พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ และ อัญชนา หีมมิหน๊ะ เนื่องจากเผยแพร่จดหมายเปิดผนึ กเรียกร้องให้มีการสอบสวนเรื่ องการซ้อมทรมาน โดยคดีดังกล่าวอยู่ในชั้ นสอบสวนของสถานีตำรวจภูธรเมื องปัตตานี และอัยการจังหวัดปัตตานี
กม.หมิ่นพระบรมเดชานุภาพยังถู กตีความกว้างขวาง
ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมากฎหมายหมิ่ นพระบรมเดชานุภาพ ถูกตีความอย่างกว้างขวางทำให้มี การดำเนินคดีหลายคดี ในปี 2559 ที่ผ่านมา ยังมีรายงานว่ามีการซ้ อมทรมานโดยเจ้าหน้าที่ และมีการรายงานเหตุทหารเกณฑ์เสี ยชีวิตระหว่างฝึกในค่ายทหาร 2 ราย มีการร้องเรียนว่าแรงงานข้ ามชาติถูกซ้อม ระหว่างอยู่ในการควบคุมตั วโดยเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมื องและตำรวจ ยังคงมีผู้แสวงหาที่พักพิง ที่ถูกกักตัวอย่างไม่มีกำหนด อยู่ในศูนย์ของตำรวจตรวจคนเข้ าเมือง เช่น กรณีของชาวโรฮิงญาถูกควบคุมตั วมาตั้งแต่ปี 2558 และยังหาข้อสรุปไม่ได้ถึ งแนวทางปฏิบัติ
ปิยนุชกล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า “รัฐไทยต้องให้สัตยาบันรับรองต่ ออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้ วยการคุ้มครองบุคคลทุ กคนจากการบังคับให้สูญหาย (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance) และสนับสนุนให้เกิดบรรยากาศที่ ปลอดภัยและหนุนเสริมนักปกป้องสิ ทธิมนุษยชนและบุคคลอื่นๆ ในภาคประชาสังคม”
อดีตนักโทษการเมืองพม่ าเผยการสนับสนุนจากนานาชาติมี ผลกดดันเปลี่ยนพม่า
ในช่วงเสวนาหัวข้อ “เราอยู่ ตรงไหนในกระบวนการทำงานเพื่ อปกป้องนักปกป้องสิทธิมนุษยชน” ลิน เต็ด หน่ายก์ อดีตนักโทษทางความคิดพม่า ที่ถูกดำเนินคดีและจับกุมเมื่ อปี 2558 พร้อมเพื่อนนักศึกษา เนื่องจากเคลื่อนไหวเรียกร้ องการปฏิรูปการศึกษาในพม่า โดยเขากล่าวว่าในสมัยก่ อนสภาพในคุกพม่าไม่ดี รวมทั้งไม่สามารถติดต่อใครได้ ต่อมาหลังปี 2553 เจ้าหน้าที่กาชาดเข้าไปตรวจเยี่ ยมเรือนจำ หลังจากนั้นคุณภาพเรือนจำได้รั บการปรับปรุง ญาติสามารถมาเยี่ยมได้ สามารถนำอาหารจากข้างนอกมาเยี่ ยมได้ ส่วนในปี 2558 หลังจากที่เขาถูกจับในการประท้ วงของนักศึกษาล่าสุด เพราะรัฐบาลห่วงภาพพจน์ในเวที ระหว่างประเทศ มีจดหมายจากทั่วโลกส่งมาถึงนั กศึกษาที่ถูกจับโดยเฉพาะตัวเขา ทั้งนี้เขาเห็นว่าการได้รั บการสนับสนุนจากระหว่างประเทศ มีผลสำคัญสำหรับขบวนการเรียกร้ องประชาธิปไตยพม่า
ข้าหลวงสิทธิมยูเอ็น เรียกร้อง คสช. คืนสิทธิเสรีภาพ-จัดเลือกตั้ งตามโรดแมป
ขณะที่ โลคอง เมย์ยอง รักษาการผู้แทนประจำภูมิภาค สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิ มนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เรียกร้องให้รัฐบาล คสช. เพิ่มสิทธิเสรีภาพให้กับประชาชน เพื่อให้มีการแสดงออกทางการเมื องอย่างเต็มที่ ก่อนที่จะจัดการเลือกตั้ งตามโรดแมปที่เคยกล่าวไว้
ประวิตร โรจนพฤกษ์ ถามจัดงานได้เพราะ คสช. มั่นใจมากขึ้นหรือไม่
อนึ่งในช่วงตอบคำถาม ประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวข่าวสดอิงลิช ถามว่าเหตุใดแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จึงจัดงานแถลงข่าวในวันนี้ได้ ในขณะที่เคยถูกเจ้าหน้าที่ห้ ามจัดเสวนาเรื่องการซ้ อมทรมานในเดือนกันยายนปี 2559 ที่จัดได้เป็นเพราะไม่ได้พูดเรื่ องการทรมานในเชิงรายละเอียดหรื อเปล่า หรือเพราะอธิบดีกรมคุ้มครองสิ ทธิมาร่วมเวทีด้วย พร้อมกล่าวติดตลกว่าผู้แทนข้ าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่ งสหประชาชาติ ครั้งนี้ร่วมเวทีได้เพราะมี ใบอนุญาตทำงานใช่หรือไม่ หรือเป็นการสะท้อนว่า คสช. เชื่อมั่นในอำนาจมากขึ้น และเห็นว่าเป็นเสียงนกเสี ยงกาใช่หรือไม่
แอมเนสตี้ชี้แจงจัดได้เพราะเตรี ยมตัวมาดี หวังให้ทุกฝ่ายรับทราบเพื่อแก้ ปัญหาร่วมกัน
โดยผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวว่า การจัดงานปีนี้ได้เชิญหน่ วยงานต่างๆ มารับฟังการแถลงรายงาน ที่ผ่านมาหลังถูกห้ามจั ดงานแถลงข่าวในปี 2559 ก็มีการสรุปบทเรียนที่เกิดขึ้น หลังจบงานก็มีการพูดคุยและหารื อกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้ อง และได้มีโอกาสนำเสนอรายงานต่ อกรมคุ้มครองสิทธิ กระทรวงยุติธรรม และก่อนที่จะจัดงานในวันนี้ ทำให้เข้าใจวิธี การทำงานและหาทางทำงานกับหน่ วยงานภาครัฐ ก่อนการแถลงข่าววันนี้มีการแจ้ งหน่วยงานภาครัฐให้ทราบทั้ งกระทรวงแรงงานและตำรวจสันติบาล ที่สำคัญการแถลงรายงานสถานการณ์ สิทธิมนุษยชนทั่วโลกประจำปี 2559/2560 ก็ไม่ได้เป็นการแถลงรายงานเพื่ อประณามใคร แต่แถลงรายงานเพื่อให้ทุกฝ่ ายทราบสถานการณ์ นำไปสู่การปรึกษาหารือและแก้ ไขปัญหาร่วมกัน เชิญกรมคุ้มครองสิทธิ กระทรวงยุติธรรม มาเพื่อให้รับทราบและจะได้ ทำงานร่วมกัน และองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ เข้าฟังการแถลง และเชิญตัวแทนภาครัฐคื อกระทรวงการต่างประเทศมารับข้ อเสนอ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ในการแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชน
ประธานแอมเนสตี้ ประเทศไทย ย้ำต้องการทำงานกับเจ้าหน้าที่ รัฐทุกฝ่าย
ขณะที่ พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ประธานแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ซึ่งตกเป็น 1 ใน 3 ของผู้ที่ถูกกองทัพบกฟ้องในคดี หมิ่นประมาทและ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กรณีเผยแพร่จดหมายเปิดผนึกเรี ยกร้องให้มีการสอบสวนเรื่ องการซ้อมทรมาน กล่าวยืนยันว่า สำหรับรายงานที่ทำให้ถูกดำเนิ นคดีนั้น ได้นำเสนอหน่วยงานที่รับผิ ดชอบโดยตรงเพื่อให้มีการแก้ ไขแล้ว รายงานฉบับนี้รวบรวมมาโดยตลอด ไม่ใช่เฉพาะปี 2558 เท่านั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนิ นคดีเขาและคณะรวม 3 คน อาจไม่ใช่ผู้บังคับบัญชาส่วนภู มิภาค จึงขอเรียกร้องผู้บังคับบัญชาสู งขึ้นไป ขอให้เปิดใจกว้างรับฟังความเห็ นของภาคประชาสังคม ทั้งนี้หน้าที่ของรัฐและนักปกป้ องสิทธิมนุษยชนคือคุ้ มครองประชาชนร่วมกัน และเราต้องการทำงานกับเจ้าหน้ าที่รัฐทุกฝ่าย โดยเฉพาะหน่วยงานด้านความมั่นคง ทั้งนี้กลไกทางศาลควรใช้เพื่ อปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน แต่กลับนำมาใช้กับนักปกป้องสิ ทธิมนุษยชน ทำให้นักปกป้องสิทธิมนุษยชนไม่ ได้ทำงานเพื่อปกป้องประชาชนจริ งๆ กลับต้องกลายเป็นคู่ขัดแย้ง และกระบวนการยุติธรรมที่ควรใช้ เอาผิดกับผู้กระทำความผิด แต่กลับต้องกลายเป็นพื้นที่ใช้ ต่อสู้กันระหว่างบุคลากรที่ต้ องการทำงานเพื่อประชาชน
อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิฯ ชี้แจงประกันตัว ‘ไผ่ ดาว’ เป็นดุลยพินิจฝ่ายตุลาการ
ต่อคำถามเรื่องสิทธิประกันตั วในคดี ม.112 กรณีแชร์ข่าวบีบีซีของ ‘ไผ่ ดาวดิน’ นั้น จะสามารถช่วยเหลือได้อย่างไร ปิติกาญจน์ สิทธิเดช อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรี ภาพ กระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ในเรื่องการประกันตัวที่ผ่ านมากรมคุ้มครองสิทธิพยายามช่ วยกับทุกสีทุกฝ่าย แต่การให้ประกันตัวเป็ นอำนาจของตุลาการ ก้าวล่วงไม่ได้จริงๆ ที่ผ่านมาก็ประกันตัวได้บ้างไม่ ได้บ้าง ในส่วนของ ‘ไผ่ ดาวดิน’ เอง รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมก็ เคยถามว่าฝ่ายบริหารทำอะไรได้บ้ าง เพราะเรื่องของประกันตัวเป็ นอำนาจฝ่ายตุลาการอยู่แล้ว เราก้าวล่วงไม่ได้ ที่ผ่านมากรมคุ้มครองสิทธิได้ หารือกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่ อให้ประสานงานจัดสอบให้กับ ‘ไผ่ ดาวดิน’ ซึ่งทางเรือนจำไม่มีอะไรขัดข้อง ขึ้นอยู่กับเจ้าตัวต้องการหรื อไม
ทั้งนี้ในช่วงท้ายการแถลงข่าว ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เป็นตัวแทนมอบรายงานพร้อมทั้งข้ อเรียกร้องถึงทางการไทย โดยมี ณัฐภาณุ นพคุณ ผู้อำนวยการกองการสังคม กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศเป็นตั วแทนรัฐบาลไทยรับมอบรายงานฉบั บดังกล่าว โดยข้อเรียกร้องทั้งหมดมีดังนี้
000
ข้อเรียกร้องจากแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ถึงรัฐบาลไทย
การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ าย
ดำเนินการสอบสวนอย่างเป็นอิ สระและรอบด้านต่อข้อกล่าวหาเกี่ ยวกับการทรมานและการปฏิบัติที่ โหดร้าย ซึ่งกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐเพื่ อนำตัวผู้กระทำผิดเข้าสู่ กระบวนการยุติธรรม
ผ่านร่างพระราชบัญญัติป้องกั นและปราบปรามการทรมานและการบั งคับบุคลให้สูญหาย พ.ศ. .... โดยที่เนื้อหาต้องสอดคล้องกับพั นธกรณีของประเทศไทยตามกฎหมายสิ ทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
รื้อคดีหายสาบสูญโดยถูกบังคั บของทนายสมชาย นีละไพจิตร และดำเนินกระบวนการสอบสวนเป็ นไปตามหลักสากล ตลอดจนบุคคลอื่นที่ถูกบังคับให้ สูญหาย เพื่อรับรองว่าผู้ที่รับผิ ดชอบต่อการบังคับให้สูญหายจะถู กลงโทษ
การปราบปรามผู้เห็นต่างจากรัฐ
แก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายว่าด้ วยสถานการณ์ฉุกเฉินที่ไม่สอดคล้ องต่อพันธกรณี ของประเทศไทยตามกฎหมายสิทธิมนุ ษยชนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกฎหมายที่นำไปสู่ การควบคุมตัวโดยพลการ กฎหมายที่ลิดรอนเสรี ภาพในการแสดงความเห็น การสมาคม และการชุมนุมโดยสงบ ตลอดจนเสรีภาพในการเดินทาง
ยุติการจับกุมหรือการควบคุมตั วโดยพลการ พร้อมทั้งรับรองว่าผู้ที่ถู กควบคุมตัวทุกคนจะเข้าสู่ กระบวนการไต่สวนจากคณะตุลาการที่ เป็นอิสระโดยทันที ทั้งนี้ ต้องเป็นองค์คณะที่มีคุณสมบัติ ที่ชอบด้วยกฎหมายด้านการพิ จารณาคดีและควบคุมตัวบุคคล
ยกเลิกเงื่อนไขการปล่อยตั วจากการควบคุมตัว ซึ่งมีการกำหนดเงื่ อนไขโดยพลการเพื่อจำกัดการใช้สิ ทธิมนุษยชนอย่างสงบ รวมทั้งสิทธิที่จะมีเสรี ภาพในการเดินทาง การแสดงออก การสมาคม และการชุมนุม
ยกเลิกข้อกล่าวหาใดๆ ต่อบุคคลเพียงเพราะพวกเขาไม่ มารายงานตัวเพื่อเข้ารั บการควบคุมตั วโดยพลการตามอำนาจของกฎอัยการศึ ก หรือคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 และให้คืนสถานภาพของหนังสือเดิ นทางของบุคคลที่ถูกยกเลิกเพี ยงเพราะไม่มารายงานตัว
ยุติการใช้ศาลทหารเพื่อไต่ สวนคดีของพลเรือนไม่ว่าในกรณี ใดทั้งสิ้นเพราะการกระทำดังกล่ าวถือเป็นการละเมิดพันธกิ จของไทยในการคุ้มครองสิทธิ ของประชาชนที่จะได้รับการพิ จารณาคดีอย่างเป็นธรรม
ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรั กษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 3/2558 ซึ่งกำหนดบทลงโทษเกี่ยวกับการมั่ วสุมหรือชุมนุม 'ทางการเมือง' ที่มีจำนวนห้าคนหรือมากกว่าขึ้ นไป
รับรองว่าผู้ที่ถูกควบคุมตั วตามสถานที่ต่างๆ สามารถเข้าถึงทนายความ เจอกับครอบครัวได้รับการรั กษาพยาบาลอย่างเต็มที่มที่และต้ องขึ้นศาลพลเรือนที่เป็นอิสระ ตลอดจนมีมาตรการคุ้มครองสิทธิ ตามกฎหมายในสถานที่ควบคุมตัวต่ างๆ และปฏิบัติตามมาตรการดังกล่ าวอย่างเต็มที่
กฎหมายจำกัดสิทธิและเสรี ภาพในการแสดงความเห็น
ประกันให้มีการใช้สิทธิเสรี ภาพในการแสดงออก การสมาคมและการชุมนุมอย่างสงบ และไม่ลงโทษผู้ที่ใช้สิทธิดั งกล่าวอย่างชอบธรรม ซึ่งรวมถึงการกด 'ไลค์' และการแชร์ข้อมูลออนไลน์ด้วย
แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่มี ผลกระทบกับสิทธิและเสรี ภาพในการแสดงออก การสมาคม และการชุมนุมอย่างสงบ และ ประกันว่ากฎหมายที่จะออกใหม่ ในอนาคต ต้องไม่จำกัดต่อสิทธิดังกล่ าวของประชาชนโดยพลการ
แก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิ กกฎหมายและคำสั่งที่จำกัดหรื อกำหนดโทษทางอาญากับการใช้สิทธิ มนุษยชนอย่างสงบ หรืออนุญาตให้มีการควบคุมตั วโดยพลการ ทั้งนี้เพื่อประกันให้ กฎหมายและคำสั่งมีเนื้อหาสอดคล้ องกับพันธกรณีด้านสิทธิมนุ ษยชนระหว่างประเทศของไทย ซึ่งรวมทั้ง
-ข้อบัญญัติ ตามประมวลกฎหมายอาญาว่าด้ วยการยุยงปลุกปั่น การหมิ่นประมาท และหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
-พระราชบัญญัติว่าด้ วยการกระทำความผิดเกี่ยวกั บคอมพิวเตอร์
-พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ
ประกันว่ากฎหมายที่จะออกใหม่ ในอนาคต รวมทั้งกฎหมายประกอบรัฐธรรมนู ญที่ใช้กำกับดูแลการเลือกตั้ งหรือการออกเสียงประชามติ ต้องไม่จำกัดโดยพลการต่อสิทธิ มนุษยชนที่จะมีเสรี ภาพในการแสดงออก การสมาคม และการชุมนุมอย่างสงบ
การปกป้องคุ้มครองนักปกป้องสิ ทธิมนุษยชน
ยุติการโจมตีการทำงานของนักปกป้ องสิทธิมนุษยชน เพราะถือเป็นการคุกคามสิทธิเสรี ภาพในการแสดงออก
สั่งการให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ ายหยุดใช้กระบวนการทางอาญา เพื่อปราบปรามบุคคลที่ใช้สิทธิ มนุษยชนของตนอย่างสงบ รวมถึงสิทธิที่จะมีเสรี ภาพในการแสดงออก การสมาคม และการชุมนุมอย่างสงบโดยทันที
ให้สัตยาบันรับรองต่ออนุสั ญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้ มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้ สูญหาย (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance)
สนับสนุนให้เกิดบรรยากาศที่ ปลอดภัยและหนุนเสริมนักปกป้องสิ ทธิมนุษยชนและบุคคลอื่น ๆ ในภาคประชาสังคม เพื่อให้พวกเขาสามารถใช้สิทธิที่ จะมีเสรีภาพในการแสดงออก การสมาคม และการชุมนุมอย่างสงบ โดยไม่มีการข่มขู่ คุกคาม และการฟ้องร้องดำเนินคดี
ผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่พักพิง
เคารพต่อหลักการห้ามผลักดันกลับ (non-refoulement principle) และรับรองว่าจะไม่มีการขับไล่ ส่งกลับ หรือบังคับให้เดินทางกลับไปยั งประเทศหรือดินแดนต้นทาง ซึ่งผู้ลี้ภัยหรือผู้โยกย้ายถิ่ นฐานเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุ ษยชนขั้นร้ายแรงหากเดินทางกลับ
เคารพต่อพันธกรณีระหว่ างประเทศที่อนุญาตให้ผู้ แสวงหาที่พักพิงสามารถเข้าถึ งกระบวนการแสวงหาที่พักพิ งและสามารถติดต่อสำนักงานข้ าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่ งสหประชาชาติ (UNHCR) ได้ และรับรองว่าผู้แสวงหาที่พักพิ งจะได้รับการคุ้ มครองตามมาตรฐานสิทธิมนุ ษยชนระหว่างประเทศ
ให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาว่าด้ วยสถานภาพผู้ลี้ภัยปี 1951 (1951 Convention Relating to the Status of Refugees) และพิธีสารปี 1967 ของอนุสัญญาดังกล่าว
โทษประหารชีวิต
พักใช้การประหารชีวิตในเชิงปฏิ บัติอย่างเป็นทางการโดยทันที เพื่อให้สอดคล้องกับแผนสิทธิมนุ ษยชนแห่งชาติฉบับที่ 3 ซึ่ งแสดงเจตจำนงในการออกกฎหมายยกเลิ กโทษประหารชีวิตในอนาคต
เสนอแก้ไขกฎหมายเพื่ อลดจำนวนความผิดทางอาญาที่มี บทลงโทษถึงขั้นประหารชีวิต
ลงนามและให้สัตยาบันรับรองพิธี สารเลือกรับฉบับที่สองของกติ การะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ พลเมืองและสิทธิทางการเมือง (Second Optional Protocol to the International Covenant on Civil and Political Rights) ที่มุ่งยกเลิกโทษประหารชีวิต
ความขัดแย้งกันด้วยอาวุธในจั งหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย
ดำเนินการสอบสวนอย่างมีประสิทธิ ภาพและไม่ลำเอียงต่อการปฏิบัติ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในทุกกรณี โดยเฉพาะในส่วนที่เจ้าหน้าที่ฝ่ ายความมั่นคงมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งให้นำตัวผู้ถูกกล่ าวหาเข้ารับการไต่ สวนตามกระบวนการยุติธรรมที่ได้ มาตรฐานสากล และไม่มีการใช้โทษประหารชีวิต
รับรองว่าผู้ที่ถูกควบคุมตั วตามสถานที่ต่างๆ และค่ายทหารสามารถเข้าถึ งทนายความ ได้เจอกับครอบครัว และได้รับการรักษาพยาบาลอย่ างเหมาะสม ตลอดจนอนุญาตให้หน่วยงานด้านสิ ทธิมนุษยชนที่เป็นอิสระเข้าเยี่ ยมสถานที่ควบคุมตัวทุกแห่งได้
แสดงความคิดเห็น