ภาพคนงาน GM ร้องสถานทูตสหรัฐฯ ช่วยแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงาน เมื่อวันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา
Posted: 27 May 2018 02:09 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
กรมสวัสดิการฯ ส่งหนังสือวินิจฉัย ชี้ปรับโครงสร้างเงินเดือนของ GM เป็นไปตามเงื่อนไขที่ลูกจ้างทำคำสนองตอบรับคำเสนอยอมรับข้อเรียกร้องของฝ่ายนายจ้างโดยไม่มีเงื่อนไข ด้าน 'บุญยืน สุขใหม่' วิจารณ์คำวินิจฉับขัดเจตนารมณ์และหลักของกฎหมาย
ความคืบหน้าข้อขัดแย้งระหว่างคนงานกับบริษัทเจนเนอรัล มอเตอร์ส พาวเวอร์เทรน (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัทเจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด นั้น ล่าสุด บุญยืน สุขใหม่ ผู้ประสานงานกลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก ซึ่งติดตามข้อขัดแย้งดังกล่าว ให้สัมภาษณ์กับ ประชาไท ว่า หลังจากที่ทั้ง 2 บริษัท ยื่นข้อเรียกร้องต่อลูกจ้างจำนวน 11 ข้อ และไม่สามารถตกลงกันได้จนนำไปสู่การใช้สิทธิ์ปิดงาน หรืองดจ่ายค่าจ้าง ของบริษัททั้ง 2 ตั้งแต่วันที่ 18 ม.ค.2557 เป็นต้นมา และต่อมาลูกจ้างทนต่อสภาพเศรษฐกิจไม่ไหวต้องยินยอมรับตามข้อเรียกร้องของบริษัททั้ง 2 แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างงานของลูกจ้างทั้ง 2 บริษัทฯ โดยสิ้นเชิง
เมื่อวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา สภาองค์การลูกจ้างแรงงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือถึงอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เรื่อง “ขอให้วินิจฉัยว่านายจ้างได้ปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์หรือไม่เพียงใด” ทั้งสิ้น 4 ประเด็นกล่าวคือ
1. การที่บริษัทฯทั้ง 2 บริษัทฯ ได้มีคำสั่งย้ายสถานที่ทำงานของพนักงานทุกอย่างกะทันหัน หรือการปรับลดค่าจ้างจากเดิมที่เคยได้รับเหลือเพียงคนละ 9,600 บาท ต่อเดือน และตัดสวัสดิการอื่นทั้งหมด เป็นการปฏิบัติของนายจ้างที่ถูกต้องตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ทั้ง 2 ฉบับหรือไม่ เพียงใด?
2. กรณีที่บริษัทฯทั้ง 2 ไม่จ่ายเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในส่วนของบริษัทฯทั้ง 2ให้กับพนักงานหลังจากมีคำสั่งคณะกรรการแรงงานสัมพันธ์ให้รับพนักงานกลับเข้าทำงานฉบับ ที่ 69-100/2561 และฉบับที่ 111-406/2556 จนถึงปัจจุบันสามารถทำได้หรือไม่ อย่างไร และถ้าพนักงานต้องการกลับเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอีกต้องสมัครใหม่หรือไม่ และการนับอายุการเป็นสมาชิกของกองทุนนับอย่างไร?
3. ปรับโครงสร้างเงินเดือนโดยการปรับลดค่าจ้างลงต่ำกว่าเดิมที่ทั้ง 2บริษัทฯ ปรับลดเงินเดือนพนักงานลงเป็นการขัดต่อมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ 2518 หรือไม่ อย่างไร?
4. ถ้าการกระทำของทั้ง 2บริษัทฯ เป็นการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ตามคำสั่งที่ได้กล่าวมาข้างต้นสามารถดำเนินคดีอาญาได้หรือไม่ และถ้าดำเนินคดีอาญาได้ใครบ้างที่มีอำนาจในการดำเนินคดีอาญาต่อบริษัทฯ ทั้ง 2 ?
บุญยืน กล่าวว่า เมื่อวันที่ 20 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้รับหนังสือตอบจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานฉบับลงวันที่ 20 เม.ย. 2561 โดยมีเนื้อโดยสรุปดังนี้
ประเด็นที่ 1 กรณีที่บริษัททั้ง 2 ปรับลดค่าจ้างจากที่เคยได้รับเหลือเพียงคนละ 9,600 บาทต่อเดือนและตัดสวัสดิการอื่นทั้งหมดเป็นไปตามเงื่อนไขที่ลูกจ้างทำคำสนองตอบรับคำเสนอยอมรับข้อเรียกร้องของฝ่ายนายจ้างโดยไม่มีเงื่อนไข
ประเด็นที่ 2 กรณีหลักเกณฑ์การจ่ายเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นไปตามระเบียบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันร่วมกันด้วยความสมัครใจ หากลูกจ้างเห็นว่านายจ้างปฏิบัติไม่ถูกต้องสามารถยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามระเบียบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัททั้ง 2
ประเด็นที่ 3 กรณีที่บริษัทฯทั้ง 2 ปรับโครงสร้างเงินเดือน โดยปรับลดค่าจ้างลงต่ำกว่าเดิมเป็นการขัดต่อมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ 2518 หรือไม่นั้น กระทรวงแรงงานเห็นว่ากรณีนี้ เป็นไปตามเงื่อนไขที่ลูกจ้างทำคำสนองตอบรับคำเสนอยอมรับข้อเรียกร้องของฝ่ายนายจ้างโดยไม่มีเงื่อนไข หากลูกจ้างเห็นว่าไม่เป็นคุณกับลูกจ้างสามารถใช้สิทธิยื่นคำฟ้องต่อศาลแรงงานได้
ประเด็นที่ 4 กระทรวงแรงงานเห็นว่าบริษัททั้ง 2 ได้ปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์แล้ว สิทธิในการดำเนินคดีอาญาเป็นอันระงับ
จากคำวินิจฉัยจากกระทรวงแรงงานฉบับดังกล่าว ผู้ประสานงานกลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก กล่าวว่า เป็นคำวินิจฉัยที่ขัดต่อเจตนารมณ์และหลักของกฎหมายหลายประการ และเป็นการวินิจฉัยเพื่อที่จะไม่บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังโดยอ้างเหตุให้ลูกจ้างไปใช้สิทธิในทางศาลเอง
บุญยืน กล่าวเชิงตั้งคำถามด้วยว่า ในกรณีของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีบทกำหนดโทษทางอาญาและเป็นกฎหมายที่ขัดต่อความสงบและเรียบร้อยของประชาชน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวินิจฉัยอย่างรอบครอบและตีความอย่างเคร่งครัด กระทรวงแรงงานซึ่งเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายแรงงานแต่กลับวินิจฉัยข้อกฎหมายอย่างผิดเพี้ยนอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมและขบวนการแรงงานโดยรวมได้ เพราะจะนำไปสู่แบบอย่างที่ไม่ถูกต้องและก่อให้เกิดความเสียหายโดยส่วนรวม เพราะถ้าผู้ใช้แรงงานร่วมกันยื่นข้อเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ในกระทรวงแรงงานทุกคนปรับโครงสร้างเงินเดือนลดค่าจ้างลงมาเหลือคนละ 9,600 บาทเท่ากันทุกคนและตัดสวัสดิการทุกอย่าง ทุกท่านมีความเห็นว่าดีหรือไม่
สำหรับปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานของคนงานเจนเนอรัลมอเตอร์ส เครือข่ายกู๊ดอิเล็กทรอนิกส์ ประเทศไทย ได้สรุปไว้ว่าดังนี้
กรณีดังกล่าวมีปัญหาข้อพิพาทแรงงานที่ไม่สามารถตกลงกันได้ตั้งแต่วันที่ 8 ก.พ. 2556 และนายจ้างใช้สิทธิปิดงาน (งดจ่ายจ้าง) เฉพาะพนักงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานกว่า 300 คน จนเมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2560 สมาชิกสหภาพแรงงานจำนวน 72 คน ทนต่อสภาวะเศรษฐกิจไม่ไหว จึงรับข้อเรียกร้องของนายจ้างทั้งหมดเพื่อขอกลับเข้าทำงาน แต่นายจ้างกลับไม่ให้สมาชิกสหภาพแรงงานเข้าทำงานแต่อย่างใด สมาชิกสหภาพแรงงาน พร้อมกับประธานและเลขาธิการสหภาพแรงงาน รวมทั้งหมด 72 คน จึงยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ (ครส.) เรื่อง การกระทำอันไม่เป็นธรรม ซึ่งต่อมา ครส.มีคำสั่งให้บริษัทฯ รับสมาชิกสหภาพแรงงาน 70 คนกลับเข้าทำงานพร้อมจ่ายค่าเสียหายนั้น
บริษัทฯ จึงเรียกพนักงานทุกคนให้ไปรายงานตัวเพื่อกลับเข้าทำงานที่สนามกอล์ฟ พัฒนากอล์ฟคลับ จ.ระยอง เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2561 ทั้งยังยื่นชุดข้อเสนอให้พนักงานพิจารณา และยื่นหนังสือคำสั่งให้ไปปฏิบัติงานที่คลังสินค้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยปรับลดค่าจ้างเหลือเพียงค่าจ้างขั้นต่ำ 9,600 บาท ตัดสวัสดิการทั้งหมด และลดตำแหน่งความรับผิดชอบ โดยมอบหน้าที่ใหม่ให้ไปขูดสีตีเส้นบริเวณพื้นของคลังสินค้าดังกล่าว เป็นแรงงานไร้ฝีมือ โดยสั่งให้เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 19 มี.ค. 2561
คำสั่งของนายจ้างข้างต้น ทำให้พนักงานหลายคนวิตกกังวลเป็นอย่างมาก เพราะต้องแยกกันอยู่กับครอบครัวที่จังหวัดระยองและใกล้เคียง พนักงานส่วนใหญ่จึงตัดสินใจไม่เดินทางไปตามคำสั่งของนายจ้าง และต้องยอมลาออกไปเองเพราะไม่สามารถทนทำงานในสถานที่ทำงานแห่งใหม่และสภาพการจ้างานใหม่ได้ เหลือพนักงานที่สามารถเดินทางไปทำงานที่คลังสินค้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพียง 9 คน
เครือข่ายกู๊ดอิเล็กทรอนิกส์ฯ ชี้ว่า ผลกระทบจากคำสั่งของนายจ้างถือเป็นการกลั่นแกล้งพนักงาน ให้ไม่สามารถทนทำงานต่อไปได้ เป็นการละเมิดกฎหมายแรงงาน สิทธิมนุษยชน และมีเจตนาทำลายสหภาพแรงงานอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ พนักงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานทั้ง 9 คนได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก เนื่องจากรายได้ลดลงและไม่สามารถดูแลลูกและครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามฉุกเฉิน รวมทั้งมีภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ในจำนวนพนักงาน 9 คนมีพนักงานหญิง 1 คนที่ต้องเดินทางไปทำงานร่วมกับพนักงานชาย 8 คน ต้องเสาะหาที่พักเพียงลำพัง ซึ่งถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานหญิง ทั้งยังเป็นการกดขี่ทางเพศอย่างรุนแรง
[full-post]
กรมสวัสดิการฯ ส่งหนังสือวินิจฉัย ชี้ปรับโครงสร้างเงินเดือนของ GM เป็นไปตามเงื่อนไขที่ลูกจ้างทำคำสนองตอบรับคำเสนอยอมรับข้อเรียกร้องของฝ่ายนายจ้างโดยไม่มีเงื่อนไข ด้าน 'บุญยืน สุขใหม่' วิจารณ์คำวินิจฉับขัดเจตนารมณ์และหลักของกฎหมาย
ความคืบหน้าข้อขัดแย้งระหว่างคนงานกับบริษัทเจนเนอรัล มอเตอร์ส พาวเวอร์เทรน (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัทเจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด นั้น ล่าสุด บุญยืน สุขใหม่ ผู้ประสานงานกลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก ซึ่งติดตามข้อขัดแย้งดังกล่าว ให้สัมภาษณ์กับ ประชาไท ว่า หลังจากที่ทั้ง 2 บริษัท ยื่นข้อเรียกร้องต่อลูกจ้างจำนวน 11 ข้อ และไม่สามารถตกลงกันได้จนนำไปสู่การใช้สิทธิ์ปิดงาน หรืองดจ่ายค่าจ้าง ของบริษัททั้ง 2 ตั้งแต่วันที่ 18 ม.ค.2557 เป็นต้นมา และต่อมาลูกจ้างทนต่อสภาพเศรษฐกิจไม่ไหวต้องยินยอมรับตามข้อเรียกร้องของบริษัททั้ง 2 แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างงานของลูกจ้างทั้ง 2 บริษัทฯ โดยสิ้นเชิง
- ตร. คุม 4 แกนนำ คนงาน GM ไปสอบประวัติ หลังร้องสถานทูตสหรัฐ ช่วยแก้ปัญหาแรงงาน
- เชฟโรเล็ต นัดคนงานเซ็นสัญญาจ้างใหม่ในค่ายทหาร คนงานหวั่นถูกบีบให้ลาออก
- สหภาพแรงงาน GM ระยอง เตรียมร้องคณะทำงานว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน UN
เมื่อวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา สภาองค์การลูกจ้างแรงงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือถึงอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เรื่อง “ขอให้วินิจฉัยว่านายจ้างได้ปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์หรือไม่เพียงใด” ทั้งสิ้น 4 ประเด็นกล่าวคือ
1. การที่บริษัทฯทั้ง 2 บริษัทฯ ได้มีคำสั่งย้ายสถานที่ทำงานของพนักงานทุกอย่างกะทันหัน หรือการปรับลดค่าจ้างจากเดิมที่เคยได้รับเหลือเพียงคนละ 9,600 บาท ต่อเดือน และตัดสวัสดิการอื่นทั้งหมด เป็นการปฏิบัติของนายจ้างที่ถูกต้องตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ทั้ง 2 ฉบับหรือไม่ เพียงใด?
2. กรณีที่บริษัทฯทั้ง 2 ไม่จ่ายเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในส่วนของบริษัทฯทั้ง 2ให้กับพนักงานหลังจากมีคำสั่งคณะกรรการแรงงานสัมพันธ์ให้รับพนักงานกลับเข้าทำงานฉบับ ที่ 69-100/2561 และฉบับที่ 111-406/2556 จนถึงปัจจุบันสามารถทำได้หรือไม่ อย่างไร และถ้าพนักงานต้องการกลับเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอีกต้องสมัครใหม่หรือไม่ และการนับอายุการเป็นสมาชิกของกองทุนนับอย่างไร?
3. ปรับโครงสร้างเงินเดือนโดยการปรับลดค่าจ้างลงต่ำกว่าเดิมที่ทั้ง 2บริษัทฯ ปรับลดเงินเดือนพนักงานลงเป็นการขัดต่อมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ 2518 หรือไม่ อย่างไร?
4. ถ้าการกระทำของทั้ง 2บริษัทฯ เป็นการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ตามคำสั่งที่ได้กล่าวมาข้างต้นสามารถดำเนินคดีอาญาได้หรือไม่ และถ้าดำเนินคดีอาญาได้ใครบ้างที่มีอำนาจในการดำเนินคดีอาญาต่อบริษัทฯ ทั้ง 2 ?
บุญยืน กล่าวว่า เมื่อวันที่ 20 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้รับหนังสือตอบจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานฉบับลงวันที่ 20 เม.ย. 2561 โดยมีเนื้อโดยสรุปดังนี้
ประเด็นที่ 1 กรณีที่บริษัททั้ง 2 ปรับลดค่าจ้างจากที่เคยได้รับเหลือเพียงคนละ 9,600 บาทต่อเดือนและตัดสวัสดิการอื่นทั้งหมดเป็นไปตามเงื่อนไขที่ลูกจ้างทำคำสนองตอบรับคำเสนอยอมรับข้อเรียกร้องของฝ่ายนายจ้างโดยไม่มีเงื่อนไข
ประเด็นที่ 2 กรณีหลักเกณฑ์การจ่ายเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นไปตามระเบียบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันร่วมกันด้วยความสมัครใจ หากลูกจ้างเห็นว่านายจ้างปฏิบัติไม่ถูกต้องสามารถยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามระเบียบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัททั้ง 2
ประเด็นที่ 3 กรณีที่บริษัทฯทั้ง 2 ปรับโครงสร้างเงินเดือน โดยปรับลดค่าจ้างลงต่ำกว่าเดิมเป็นการขัดต่อมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ 2518 หรือไม่นั้น กระทรวงแรงงานเห็นว่ากรณีนี้ เป็นไปตามเงื่อนไขที่ลูกจ้างทำคำสนองตอบรับคำเสนอยอมรับข้อเรียกร้องของฝ่ายนายจ้างโดยไม่มีเงื่อนไข หากลูกจ้างเห็นว่าไม่เป็นคุณกับลูกจ้างสามารถใช้สิทธิยื่นคำฟ้องต่อศาลแรงงานได้
ประเด็นที่ 4 กระทรวงแรงงานเห็นว่าบริษัททั้ง 2 ได้ปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์แล้ว สิทธิในการดำเนินคดีอาญาเป็นอันระงับ
จากคำวินิจฉัยจากกระทรวงแรงงานฉบับดังกล่าว ผู้ประสานงานกลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก กล่าวว่า เป็นคำวินิจฉัยที่ขัดต่อเจตนารมณ์และหลักของกฎหมายหลายประการ และเป็นการวินิจฉัยเพื่อที่จะไม่บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังโดยอ้างเหตุให้ลูกจ้างไปใช้สิทธิในทางศาลเอง
บุญยืน กล่าวเชิงตั้งคำถามด้วยว่า ในกรณีของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีบทกำหนดโทษทางอาญาและเป็นกฎหมายที่ขัดต่อความสงบและเรียบร้อยของประชาชน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวินิจฉัยอย่างรอบครอบและตีความอย่างเคร่งครัด กระทรวงแรงงานซึ่งเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายแรงงานแต่กลับวินิจฉัยข้อกฎหมายอย่างผิดเพี้ยนอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมและขบวนการแรงงานโดยรวมได้ เพราะจะนำไปสู่แบบอย่างที่ไม่ถูกต้องและก่อให้เกิดความเสียหายโดยส่วนรวม เพราะถ้าผู้ใช้แรงงานร่วมกันยื่นข้อเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ในกระทรวงแรงงานทุกคนปรับโครงสร้างเงินเดือนลดค่าจ้างลงมาเหลือคนละ 9,600 บาทเท่ากันทุกคนและตัดสวัสดิการทุกอย่าง ทุกท่านมีความเห็นว่าดีหรือไม่
สำหรับปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานของคนงานเจนเนอรัลมอเตอร์ส เครือข่ายกู๊ดอิเล็กทรอนิกส์ ประเทศไทย ได้สรุปไว้ว่าดังนี้
กรณีดังกล่าวมีปัญหาข้อพิพาทแรงงานที่ไม่สามารถตกลงกันได้ตั้งแต่วันที่ 8 ก.พ. 2556 และนายจ้างใช้สิทธิปิดงาน (งดจ่ายจ้าง) เฉพาะพนักงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานกว่า 300 คน จนเมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2560 สมาชิกสหภาพแรงงานจำนวน 72 คน ทนต่อสภาวะเศรษฐกิจไม่ไหว จึงรับข้อเรียกร้องของนายจ้างทั้งหมดเพื่อขอกลับเข้าทำงาน แต่นายจ้างกลับไม่ให้สมาชิกสหภาพแรงงานเข้าทำงานแต่อย่างใด สมาชิกสหภาพแรงงาน พร้อมกับประธานและเลขาธิการสหภาพแรงงาน รวมทั้งหมด 72 คน จึงยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ (ครส.) เรื่อง การกระทำอันไม่เป็นธรรม ซึ่งต่อมา ครส.มีคำสั่งให้บริษัทฯ รับสมาชิกสหภาพแรงงาน 70 คนกลับเข้าทำงานพร้อมจ่ายค่าเสียหายนั้น
บริษัทฯ จึงเรียกพนักงานทุกคนให้ไปรายงานตัวเพื่อกลับเข้าทำงานที่สนามกอล์ฟ พัฒนากอล์ฟคลับ จ.ระยอง เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2561 ทั้งยังยื่นชุดข้อเสนอให้พนักงานพิจารณา และยื่นหนังสือคำสั่งให้ไปปฏิบัติงานที่คลังสินค้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยปรับลดค่าจ้างเหลือเพียงค่าจ้างขั้นต่ำ 9,600 บาท ตัดสวัสดิการทั้งหมด และลดตำแหน่งความรับผิดชอบ โดยมอบหน้าที่ใหม่ให้ไปขูดสีตีเส้นบริเวณพื้นของคลังสินค้าดังกล่าว เป็นแรงงานไร้ฝีมือ โดยสั่งให้เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 19 มี.ค. 2561
คำสั่งของนายจ้างข้างต้น ทำให้พนักงานหลายคนวิตกกังวลเป็นอย่างมาก เพราะต้องแยกกันอยู่กับครอบครัวที่จังหวัดระยองและใกล้เคียง พนักงานส่วนใหญ่จึงตัดสินใจไม่เดินทางไปตามคำสั่งของนายจ้าง และต้องยอมลาออกไปเองเพราะไม่สามารถทนทำงานในสถานที่ทำงานแห่งใหม่และสภาพการจ้างานใหม่ได้ เหลือพนักงานที่สามารถเดินทางไปทำงานที่คลังสินค้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพียง 9 คน
เครือข่ายกู๊ดอิเล็กทรอนิกส์ฯ ชี้ว่า ผลกระทบจากคำสั่งของนายจ้างถือเป็นการกลั่นแกล้งพนักงาน ให้ไม่สามารถทนทำงานต่อไปได้ เป็นการละเมิดกฎหมายแรงงาน สิทธิมนุษยชน และมีเจตนาทำลายสหภาพแรงงานอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ พนักงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานทั้ง 9 คนได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก เนื่องจากรายได้ลดลงและไม่สามารถดูแลลูกและครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามฉุกเฉิน รวมทั้งมีภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ในจำนวนพนักงาน 9 คนมีพนักงานหญิง 1 คนที่ต้องเดินทางไปทำงานร่วมกับพนักงานชาย 8 คน ต้องเสาะหาที่พักเพียงลำพัง ซึ่งถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานหญิง ทั้งยังเป็นการกดขี่ทางเพศอย่างรุนแรง
แสดงความคิดเห็น