Posted: 18 May 2018 01:47 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
กองทุนเพื่อการพัฒนาด้านการเกษตรระหว่างประเทศของสหประชาชาติ (IFAD) ระบุแรงงานต่างชาติจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกส่งเงินกลับบ้านเกิดถึงประมาณ 256 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 8.2 ล้านล้านบาท) เมื่อปี 2560 ที่ผ่านมา
19 พ.ค. 2561 กองทุนเพื่อการพัฒนาด้านการเกษตรระหว่างประเทศของสหประชาชาติ (IFAD) เปิดเผยรายงาน RemitSCOPE - Remittance markets and opportunities – Asia and the Pacific เมื่อต้นเดือน พ.ค. 2561 ที่ผ่านมา ระบุว่าแรงงานต่างชาติจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกส่งเงินกลับบ้านเกิดประมาณ 256 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 8.2 ล้านล้านบาท) เมื่อปี 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นสัดส่วนร้อยละ 53 ของแรงงานต่างชาติทั้งโลก และในรอบ 10 ปีที่ผ่านมานี้แรงงานต่างชาติจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกส่งเงินกลับบ้านเกิดเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 4.87 ตั้งแต่ปี 2551 (ค.ศ. 2008)
ในรายงานของ IFAD ยังระบุว่าปัจจุบันเอเชียแปซิฟิกคือจุดหมายปลายทางของเงินที่ส่งกลับบ้านที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก โดยแรงงานที่เดินทางไปทำงานในประเทศอื่นนั้นส่วนใหญ่อยู่ในภาคการก่อสร้าง การดูแลเด็ก คนชราและผู้ป่วย รวมทั้งทำงานภายในบ้าน ซึ่งแรงงานจากเอเชียแปซิฟิกมักเดินทางไปทำงานที่ประเทศเจริญแล้วในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน ภูมิภาคตะวันออกกลาง สหรัฐฯ และยุโรป มากที่สุดตั้งแต่งานระดับล่างไปจนถึงระดับกลาง ซึ่งประเทศในแถบเอเชียด้วยกันที่เป็นเป้าหมายของแรงงานจากชาติยากจนกว่าในแถบเอเชียได้แก่ ฮ่องกง, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไทย
โดยในปี 2560 ‘ฮ่องกง’ เป็นประเทศปลายทางที่แรงงานต่างชาติไปทำงานแล้วส่งเงินกลับสู่บ้านเกิดสูงสุดประมาณ 17,121 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามมาด้วยออสเตรเลีย 16,888 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ญี่ปุ่น 9,138 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มาเลเซีย 6,187 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สิงคโปร์ 6,176 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเกาหลีใต้ 5,989 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ส่วนประเทศที่ได้รับเงินส่งกลับบ้านมากที่สุด คือ ‘อินเดีย’ ประมาณ 68,968 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, จีน 63,860 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ฟิลิปปินส์ 32,808 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปากีสถาน 19,665 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เวียดนาม 13,781 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และบังกลาเทศ 13,469 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเงินส่งกลับบ้านเกิดของแรงงานต่างชาติเหล่านี้ได้ช่วยครอบครัวต่างๆ ในแถบเอเชียแปซิฟิกประมาณ 320 ล้านครอบครัว
ในรายงานของ IFAD ยังระบุว่าแรงงานต่างชาติประมาณ 80 ล้านคน จะส่งเงินกลับบ้านโดยเฉลี่ย 8-10 ครั้งต่อปี ซึ่งแต่ละคนต้องเสียค่าธรรมเนียมในการโอนเงินข้ามประเทศประมาณร้อยละ 7 ของมูลค่าเงินทั้งหมดที่ส่งกลับ หลายครั้งเป็นการส่งแบบไม่ผ่านบัญชีธนาคารซึ่งค่าธรรมเนียมนี้ลดลงจากระดับร้อยละ 20-25 เมื่อ 10 ปีที่แล้ว แต่กระนั้นก็ยังคงอยู่ในระดับสูงอยู่
ทั้งนี้ IFAD เรียกร้องให้มีการช่วยเหลือและสนับสนุนทั้งทางด้านการเงินและเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ค่าธรรมเนียมนี้ลดต่ำลง
ที่มาเรียบเรียงจาก
RemitSCOPE - Remittance markets and opportunities – Asia and the Pacific (ifad.org, 7/5/2018)
กองทุนเพื่อการพัฒนาด้านการเกษตรระหว่างประเทศของสหประชาชาติ (IFAD) ระบุแรงงานต่างชาติจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกส่งเงินกลับบ้านเกิดถึงประมาณ 256 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 8.2 ล้านล้านบาท) เมื่อปี 2560 ที่ผ่านมา
19 พ.ค. 2561 กองทุนเพื่อการพัฒนาด้านการเกษตรระหว่างประเทศของสหประชาชาติ (IFAD) เปิดเผยรายงาน RemitSCOPE - Remittance markets and opportunities – Asia and the Pacific เมื่อต้นเดือน พ.ค. 2561 ที่ผ่านมา ระบุว่าแรงงานต่างชาติจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกส่งเงินกลับบ้านเกิดประมาณ 256 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 8.2 ล้านล้านบาท) เมื่อปี 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นสัดส่วนร้อยละ 53 ของแรงงานต่างชาติทั้งโลก และในรอบ 10 ปีที่ผ่านมานี้แรงงานต่างชาติจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกส่งเงินกลับบ้านเกิดเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 4.87 ตั้งแต่ปี 2551 (ค.ศ. 2008)
ในรายงานของ IFAD ยังระบุว่าปัจจุบันเอเชียแปซิฟิกคือจุดหมายปลายทางของเงินที่ส่งกลับบ้านที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก โดยแรงงานที่เดินทางไปทำงานในประเทศอื่นนั้นส่วนใหญ่อยู่ในภาคการก่อสร้าง การดูแลเด็ก คนชราและผู้ป่วย รวมทั้งทำงานภายในบ้าน ซึ่งแรงงานจากเอเชียแปซิฟิกมักเดินทางไปทำงานที่ประเทศเจริญแล้วในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน ภูมิภาคตะวันออกกลาง สหรัฐฯ และยุโรป มากที่สุดตั้งแต่งานระดับล่างไปจนถึงระดับกลาง ซึ่งประเทศในแถบเอเชียด้วยกันที่เป็นเป้าหมายของแรงงานจากชาติยากจนกว่าในแถบเอเชียได้แก่ ฮ่องกง, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไทย
โดยในปี 2560 ‘ฮ่องกง’ เป็นประเทศปลายทางที่แรงงานต่างชาติไปทำงานแล้วส่งเงินกลับสู่บ้านเกิดสูงสุดประมาณ 17,121 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามมาด้วยออสเตรเลีย 16,888 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ญี่ปุ่น 9,138 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มาเลเซีย 6,187 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สิงคโปร์ 6,176 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเกาหลีใต้ 5,989 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ส่วนประเทศที่ได้รับเงินส่งกลับบ้านมากที่สุด คือ ‘อินเดีย’ ประมาณ 68,968 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, จีน 63,860 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ฟิลิปปินส์ 32,808 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปากีสถาน 19,665 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เวียดนาม 13,781 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และบังกลาเทศ 13,469 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเงินส่งกลับบ้านเกิดของแรงงานต่างชาติเหล่านี้ได้ช่วยครอบครัวต่างๆ ในแถบเอเชียแปซิฟิกประมาณ 320 ล้านครอบครัว
ในรายงานของ IFAD ยังระบุว่าแรงงานต่างชาติประมาณ 80 ล้านคน จะส่งเงินกลับบ้านโดยเฉลี่ย 8-10 ครั้งต่อปี ซึ่งแต่ละคนต้องเสียค่าธรรมเนียมในการโอนเงินข้ามประเทศประมาณร้อยละ 7 ของมูลค่าเงินทั้งหมดที่ส่งกลับ หลายครั้งเป็นการส่งแบบไม่ผ่านบัญชีธนาคารซึ่งค่าธรรมเนียมนี้ลดลงจากระดับร้อยละ 20-25 เมื่อ 10 ปีที่แล้ว แต่กระนั้นก็ยังคงอยู่ในระดับสูงอยู่
ทั้งนี้ IFAD เรียกร้องให้มีการช่วยเหลือและสนับสนุนทั้งทางด้านการเงินและเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ค่าธรรมเนียมนี้ลดต่ำลง
ที่มาเรียบเรียงจาก
RemitSCOPE - Remittance markets and opportunities – Asia and the Pacific (ifad.org, 7/5/2018)
แสดงความคิดเห็น