Posted: 28 Oct 2017 02:17 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)

ทางสายรองของกรมทางหลวงชนบท ยังประสบอุทกภัยครอบคลุม 17 จังหวัด มีภาวะน้ำท่วมสูง ข้อมูลสะสมตั้งแต่ 1 ก.ค. -27 ต.ค. 2560 ถนนของ ทช. ประสบอุทกภัย 47 จังหวัด ได้รับผลกระทบ 341 สายทาง, เข้าสู่ภาวะปกติ 288 สายทาง คงเหลือที่ได้รับผลกระทบ 53 สายทาง

28 ต.ค. 2560 กรมทางหลวงชนบท โดยสำนักบำรุงทาง รายงานสถานการณ์ถนนในการกำกับดูแลของ ทช.ปัจจุบันพบว่า ปัจจุบัน ประสบอุทกภัย 17 จังหวัด โดยมีสายทางได้รับผลกระทบ 53 สายทางรวม 65 แห่งเป็นพื้นที่ประสบอุทกภัย แต่เส้นทางผ่านได้ 37 สายทาง (48 แห่ง), ผ่านไม่ได้ 16 สายทาง (17 แห่ง) จำนวนดังกล่าวมีภาวะน้ำท่วมสูง 16 สายทาง (17 แห่ง) ได้แก่ ทางหลวงชนบทสาย นว.3041 แยกทางหลวงหมายเลข 117-บ้านหัวถนน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์,ทางหลวงชนบทสาย นว.3102 แยกทางหลวงหมายเลข 117-บ้านเนิน เก้าเลี้ยว,ชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์

ทางหลวงชนบทสาย นว.016 สะพานนิมมานรดี อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์,ทางหลวงชนบทสาย นว.3099 แยกทางหลวงหมายเลข 333-บ้านยางขาว พยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์,ทางหลวงชนบทสาย อน.5002 เทศบาลเมืองอุทัยธานี-บ้านหาดทนง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี,ทางหลวงชนบทสาย สพ.2004 แยกทางหลวงหมายเลข 33-บ้านสุด อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี,ทางหลวงชนบทสาย 3001 แยกทางหลวงหมายเลข 347 -บ้านโคก อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา,ทางหลวงชนบทสาย 4016 แยกทางหลวงหมายเลข 3263 -บ้านป้อม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

-ทางหลวงชนบทสาย 4038 แยกทางหลวงหมายเลข 3412 -บ้านสวนถั่ว อำเภอบางบาล,เสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา,ทางหลวงชนบทสาย 5034 แยก ทช.อย.3006 -บ้านทองดอน อำเภอลาดบัวหลวง,เสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา,ทางหลวงชนบทสาย มค.3062 แยกทางหลวงหมายเลข 208-บ้านหนองผือ โกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม,ทางหลวงชนบทสาย ขก.2063 แยกทางหลวงชนบทสาย 12-บ้านท่าเรือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น,ทางหลวงชนบทสาย ขก.2079 แยกทางหลวง – บ้านหนองแสง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น

ทางหลวงชนบทสาย ขก.1004 แยกทางหลวงหมายเลข 2-บ้านโนนดงมัน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น,ทางหลวงชนบทสาย ขก.1027 แยกทางหลวงหมายเลข 2-บ้านโคกท่า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น,ทางหลวงชนบทสาย นภ.6011 บ้านโนนสัง-บ้านโนนยาว อำเภอโนนสัง จ.หนองบัวลำภู

ขณะที่ข้อมูลสะสมตั้งแต่ วันที่ 1 ก.ค. – 27 ต.ค. 2560 ถนนของ ทช. ประสบอุทกภัย 47 จังหวัด ได้รับผลกระทบ 341 สายทาง,เข้าสู่ภาวะปกติ 288 สายทาง คงเหลือที่ได้รับผลกระทบ 53 สายทาง

ทั้งนี้ ได้ดำเนินการติดตั้งป้ายเตือนประชาชนในการสัญจรด้วยความระมัดระวังแล้ว และดำเนินการซ่อมแซมเบื้องต้นเพื่อให้ใช้เส้นทางสัญจรไปมาได้ชั่วคราว ได้แก่ หมวดบำรุงทางหลวงชนบทแม่สะเรียง ได้นำเครื่องจักรพร้อมเจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการเปิดทางหลวงชนบทสาย มส.4003 แยกทางหลวงหมายเลข 1194-บ้านหม้อเหล้า ช่วง กม.ที่ 8+200 จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรได้

ชลประทานเตือนอย่าเชื่อข่าวลือน้ำท่วมลุ่มน้ำท่าจีน

นายทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึงข่าวลือใน Social Media ว่า มีการออกหนังสือแจ้งเตือนจากภาครัฐให้ประชาชนในลุ่มน้ำท่าจีนเก็บข้าวของหนีน้ำท่วมเนื่องจากมีการแบ่งน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา มาทางฝั่งตะวันตก เพื่อออกทะเลทางฝั่งตกและมีการส่งต่อข้อความว่า หน่วยงานรัฐเตือนระวังระดับน้ำ และให้ขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงเพราะน้ำจะท่วม

รองอธิบดีกรมชลประทานกล่าวว่า เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน โดยทางจังหวัดมีการออกหนังสือแจ้งเตือนจริง แต่เป็นการแจ้งเตือนตามปกติเมื่อระดับน้ำในแม่น้ำ และคลองอาจสูงใกล้เคียงความจุของลำน้ำ อาจมีผลกระทบเฉพาะชุมชนที่ลุ่มต่ำ หรือที่รุกล้ำในเขตลำน้ำเท่านั้น

โดยขณะนี้กรมชลประทานและกองทัพเรือได้ใช้เครื่องผลักดันน้ำและเรื่อผลักดันน้ำตลอดลำน้ำท่าจีนจนถึงปากอ่าวที่สมุทรสาครเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มน้ำท่าจีนแล้ว

ปภ.รายงานสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 17 จังหวัด

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า สถานการณ์อุทกภัย น้ำไหลหลาก และน้ำเอ่อล้นตลิ่ง จากอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่น และการระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา ตั้งแต่วันที่ 10-28 ตุลาคม 2560 ทำให้เกิดน้ำไหลหลากและน้ำเอ่อล้นตลิ่งในพื้นที่ 23 จังหวัด รวม 78 อำเภอ 473 ตำบล 2,785 หมู่บ้าน 42 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 125,372 ครัวเรือน 325,212 คน ผู้เสียชีวิต 10 ราย ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ใน 17 จังหวัด รวม 60 อำเภอ 403 ตำบล 2,409 หมู่บ้าน 112,827 ครัวเรือน 296,318 คน อพยพ 20 ครัวเรือน

นายชยพล กล่าวว่า แยกเป็น ลุ่มน้ำยม 1 จังหวัด ได้แก่ จ.สุโขทัย น้ำท่วมพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคีรีมาศ อำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสำโรง และอำเภอกงไกรลาศ รวม 5 ตำบล 11 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 92 ครัวเรือน 221 คน ผู้เสียชีวิต 1 ราย ลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำน่าน 1 จังหวัด ได้แก่ จ.พิจิตร น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามง่าม อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอบึงนาราง อำเภอโพทะเล อำเภอเมืองพิจิตร อำเภอตะพานหิน อำเภอวังทรายพูน และอำเภอบางมูลนาก รวม 38 ตำบล 241 หมู่บ้าน 3 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 11,168 ครัวเรือน 27,920 คน ผู้เสียชีวิต 2 ราย

นายชยพล กล่าวอีกว่า ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 7 จังหวัด ได้แก่ จ.นครสวรรค์ น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอพยุหะคีรี อำเภอโกรกพระ อำเภอชุมแสง และอำเภอท่าตะโก รวม 48 ตำบล 474 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 19,787 ครัวเรือน 41,122 คน จ.อุทัยธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุทัยธานี และอำเภอทัพทัน รวม 7 ตำบล 35 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,788 ครัวเรือน 2,923 คน จ.สิงห์บุรี น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภออินทร์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี อำเภอพรหมบุรี และอำเภอท่าช้าง รวม 19 ตำบล 84 หมู่บ้าน 6 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6,295 ครัวเรือน 16,367 คน ผู้เสียชีวิต 1 ราย จ.ลพบุรี น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่อำเภอบ้านหมี่ รวม 9 ตำบล 60 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,643 ครัวเรือน 22,231 คน ผู้เสียชีวิต 1 ราย จ.อ่างทอง น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอป่าโมก อำเภอวิเศษชัยชาญ อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอโพธิ์ทอง และอำเภอไชโย รวม 30 ตำบล 92 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,595 ครัวเรือน 6,747 คน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 6,017 ไร่ จ.พระนครศรีอยุธยา น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางบาล อำเภอเสนา อำเภอบางปะอิน อำเภอผักไห่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางไทร และอำเภอบางปะหัน รวม 99 ตำบล 589 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 37,463 ครัวเรือน 97,403 คน จ.ปทุมธานี น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี และอำเภอสามโคก รวม 21 ตำบล 67 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,352 ครัวเรือน 11,315 คน

นายชยพล กล่าวว่า ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำท่าจีน 1 จังหวัด ได้แก่ จ.ชัยนาท น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอมโนรมย์ อำเภอสรรพยา อำเภอเมืองชัยนาท อำเภอวัดสิงห์ และอำเภอหันคา รวม 23 ตำบล 114 หมู่บ้าน 4 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,151 ครัวเรือน 10,377 คน ลุ่มน้ำท่าจีน 1 จังหวัด ได้แก่ จ.สุพรรณบุรี น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางปลาม้า อำเภอสองพี่น้อง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี และอำเภอเดิมบางนางบวช รวม 37 ตำบล ประชาชนได้รับผลกระทบ 12,523 ครัวเรือน 43,035 คน

นายชยพล กล่าวอีกว่า ลุ่มน้ำชี 5 จังหวัด ได้แก่ หนองบัวลำภู ผลกระทบจากน้ำเขื่อนอุบลรัตน์หนุนและไหลเข้าท่วมพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีบุญเรือง อำเภอโนนสัง และอำเภอเมืองหนองบัวลำภู รวม 23 ตำบล 162 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,164 ครัวเรือน 10,826 ครัวเรือน จ.ขอนแก่น น้ำท่วมพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภออุบลรัตน์ อำเภอน้ำพอง และอำเภอเมืองขอนแก่น รวม 20 ตำบล 157 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,610 ครัวเรือน 5,687 คน จ.มหาสารคาม น้ำท่วมพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอกันทรวิชัย และอำเภอเมืองมหาสารคาม รวม 19 ตำบล 122 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 516 ครัวเรือน 1,341 คน อพยพ 20 ครัวเรือน จ.กาฬสินธุ์ น้ำท่วมพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอฆ้องชัย และอำเภอกมลาไสย รวม 6 ตำบล 24 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 15 ครัวเรือน 39 คน จ.ร้อยเอ็ด น้ำท่วมพื้นที่อำเภอจังหาร รวม 3 ตำบล 7 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 159 ครัวเรือน 548 คน ลุ่มน้ำมูล 1 จังหวัด ได้แก่ จ.อุบลราชธานี น้ำท่วมพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี และอำเภอวารินชำราบ รวม 18 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 64 ครัวเรือน 906 คน

นายชยพล กล่าวด้วยว่า ปภ.ได้ประสานจังหวัด หน่วยทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มกำลัง โดยแจกจ่ายถุงยังชีพตามวงรอบอย่างต่อเนื่อง พร้อมประสานจังหวัดจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวตามแผนเผชิญเหตุ รวมถึงให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตระดมทรัพยากรและเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย ทั้งเต็นท์ที่พัก รถผลิตน้ำดื่ม รถไฟฟ้าส่องสว่าง รถบรรทุก รถสุขาเคลื่อนที่ เรือท้องแบน และเครื่องสูบน้ำ สนับสนุนการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตลอดจนประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ติดตั้งเครื่องสูบน้ำและเครื่องผลักดันน้ำเพิ่มเติม เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขังสู่ลำน้ำสายหลัก ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป


ที่มาข่าวเรียบเรียงจากสำนักข่าวไทย [1] [2] [3]

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.