Posted: 25 Oct 2017 10:27 AM PDT  (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)


กรมชลประทานรายงานสถานการณ์น้ำวันที่ 25 ต.ค. ระบุเขื่อนใหญ่ทั่วประเทศรับน้ำแล้ว 5.9 หมื่นล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 84% เทียบปีที่แล้วที่รับน้ำ 68% โดยยังรับน้ำได้อีก 1.2 หมื่นล้าน ลบ.ม. - น้ำท่วมแล้ว 8 ลุ่มน้ำ 24 จังหวัดทั่วประเทศ ลุ่มน้ำชีท่วม 2.9 แสนไร่ 8 จังหวัด ลุ่มน้ำมูล ท่วมอุบลราชธานี 2 อำเภอ บุรีรัมย์ 5 อำเภอ ส่วนลุ่มน้ำเจ้าพระยาท่วม 7 จังหวัด ลุ่มน้ำท่าจีน จ.สุพรรณบุรีท่วม 6 อำเภอ



(ภาพข่าว) พล.ร.อ. นริศ ประทุมสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะผู้บัญชาการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ พร้อมด้วยเจ้ากรมอู่ทหารเรือ อธิบดีกรมชลประทาน และคณะได้เดินทางไปตรวจการดำเนินการผลักดันน้ำของกองทัพเรือในแม่น้ำท่าจีนของพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อ 24 ต.ค. 2560 โดยมี นายประภัสสร์ มาลากาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร พร้อมส่วนราชการให้การต้อนรับ (ที่มา: สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสมุทรสาคร)

ฝ่ายประมวลวิเคราะห์และสถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยแพร่เอกสารสถานการณ์น้ำประจำวันที่ 25 ตุลาคม 2560 ตอนหนึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมและน้ำล้นตลิ่งทั่วประเทศดังนี้

สภาพน้ำในอ่างเก็บนํ้า

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง ปริมาตรน้ำในอ่างฯ 63,073 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 84 (ปริมาตรน้ำใช้การได้ 39,254 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 76) ปริมาตรน้ำในอ่างฯ เทียบกับปี 2559 (51,565 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 69) มากกว่าปี 2559 จำนวน 11,508 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯจำนวน 468.33 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบาย จำนวน 328.45ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 12,763 ล้าน ลบ.ม.

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ปริมาตรน้ำในอ่างฯ 59,092 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 84 (ปริมาตรน้ำใช้การได้ 35,566 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 75) ปริมาตรน้ำในอ่างฯ เทียบกับปี 2559 (48,146 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 68) มากกว่าปี 2559 จำนวน 10,946 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯจำนวน 300.31 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบายจำนวน 155.23 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 12,283 ล้าน ลบ.ม.

สถานการณ์น้ำท่วม
ลุ่มน้ำโขง

จังหวัดเลย พื้นที่น้ำท่วมรวม 1 อำเภอ ได้แก่ อ.ด่านซ้าย สาเหตุเกิดจากฝนตกหนักในวันที่ 23 ตุลาคม 2560 ทำให้น้ำจากลำน้ำหมันเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ ระดับน้ำสูงประมาณ 10-20 ซม. ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติภายในวันนี้
ลุ่มน้ำปิง

จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่น้ำท่วมรวม 2 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่วาง และ อ.แม่แจ่ม ซึ่งสาเหตุเกิดจากฝนตกหนักใน วันที่ 24 ตุลาคม 2560 ส่งผลให้ระดับน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ทางการเกษตร ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ
ลุ่มน้ำยม

จังหวัดพิจิตร ยังคงพื้นที่น้ำท่วมรวม 11 อำ เภอ ได้แก่ อ.ตะพานหิน อ.โพทะเล อ.วังทรายพูน อ.โพ ธิ์ประทับ ช้าง อ.สาม ง่าม อ .บึงนางราง อ .สากเหล็ก อ .บางมูลนาก อ. เมือง อ.ดงเจ ริญ แล ะ อ.วชิรบารมี โครงการชลประทานพิจิตรสนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่จำนวน 15 เครื่อง

จังหวัดสุโขทัย ยังคงมีพื้นที่น้ำท่วมรวม 9 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง อ.บ้านด่านลานหอย อ.สวรรคโลก อ.คีรีมาศ อ.กงไกรลาศ อ.ศรีนคร อ.ศรีสำโรง อ.ทุ่งเสลี่ยม และ อ.ศรีสัชนาลัย โครงการชลประทานสุโขทัยติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 10 เครื่อง ปัจจุบันระดับนํ้ายังทรงตัว
ลุ่มน้ำชี

พื้นที่น้ำท่วมรวม 292,785 ไร่ แยกเป็นรายจังหวัดได้ดังนี้

จังหวัดยโสธร พื้นที่น้ำท่วมลุ่มต่ำ ทางการเกษตรในพื้นที่ 4 อำ เภอ ได้แก่ อ.ค้อวัง อ.คำ เขื่อนแก้ว อ.มหาชนะชัย และ อ.เมือง เนื่องจากน้ำเอ่อล้นตลิ่งจากแม่น้ำชีเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรประมาณ 113,762 ไร่

จังหวัดร้อยเอ็ด ยังคงมีพื้นที่น้ำท่วมลุ่มต่ำทางการเกษตรในพื้นที่ 1 อำเภอ ได้แก่ อ.พนมไพร เนื่องจากน้ำเอ่อล้นตลิ่งจากแม่น้ำชีเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรประมาณ 15,362 ไร่

จังหวัดชัยภูมิ ยังคงมีพื้นที่น้ำท่วม 5 อำเภอ ได้แก่ อ.จัตุรัส อ.บ้านเขว้า อ.คอนสวรรค์ อ.เนินสง่า และ อ.เมือง ปัจจุบันมีน้ำไหลเอ่อล้นตลิ่งของแม่น้ำชีทั้งสองฝั่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและพื้นที่ชุมชน มีพื้นที่ได้รับผลกระทบประมาณ 21,511 ไร่ ปัจจุบันระดับน้ำเริ่มลดลง

จังหวัดศรีสะเกษ ยังคงมีน้ำท่วมพื้นที่การเกษตรใน 1 อำเภอ ได้แก่ อ.กันทรารมย์ เนื่องจากน้ำเอ่อล้นตลิ่งรวมพื้นที่น้ำท่วมประมาณ 18,969 ไร่

จังหวัดมหาสารคาม ยังคงมีน้ำ ท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำ 4 อำ เภอ ได้แก่ อ.โกสุมพิสัย อ.กันทรวิชัย และ อ.เมือง และ อ.เชียงยืน ระดับน้ำทรงตัว โครงการชลประทานจังหวัดมหาสารคามได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่จำนวน 30 เครื่อง เครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 8 เครื่อง และเครื่องจักรเพื่อเสริมคันกั้นน้ำ

จังหวัดอุบลราชธานี พื้นที่น้ำท่วม 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง และ อ.เขื่องใน รวมพื้นที่น้ำท่วมประมาณ 68,400 ไร่ ปัจจุบันระดับน้ำลดลง

จังหวัดขอนแก่น ยังคงมีพื้นที่น้ำท่วมรวม 16 อำ เภอ ได้แก่ อ.เมืองขอนแก่น อ.แวงใหญ่ อ.แวงน้อย อ.โคกโพธิ์ชัย อ.ชนบท อ.น้ำพอง อ.บ้านแฮด อ.บ้านไผ่ อ.พระยืน อ.มัญจาคีรี อ.หนองเรือ อ.อุบลรัตน์ อ.ชุมแพ อ.ภูผาม่าน อ.ภูเวียง และ อ.หนองนาคำ รวมพื้นที่นํ้าท่วม 71,409 ไร่ สถานีสูบน้ำที่ ปตร.D8 ในเขตส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวาย เดินเครื่องสูบน้ำจำนวน 18 เครื่อง

จังหวัดกาฬสินธุ์ ยังคงมีพื้นที่น้ำท่วมขังรวม 3 อำเภอ ได้แก่ อ.ร่องคำ อ.ฆ้องชัย และ อ.กมลาไสย โครงการชลประทานกาฬสินธุ์ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 8 เครื่อง

จังหวัดหนองบัวลำภู พื้นที่น้ำท่วมนอกคันกั้นน้ำ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.โนนสัง และ อ.ศรีบุญเรือง รวมพื้นที่น้ำท่วมในเบื้องต้นประมาณ 4,000 ไร่ ปัจจุบันระดับน้ำและพื้นที่ได้รับผลกระทบยังคงเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณการระบายน้ำของเขื่อนอุบลรัตน์น้อยกว่าปริมาณน้ำที่ไหลลงอ่าง
ลุ่มน้ำมูล

จังหวัดอุบลราชธานี ยังคงมีพื้นที่นํ้าท่วม 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง และ อ.วารินชำราบ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการเอ่อล้นตลิ่งของแม่น้ำมูล กรมชลประทานได้สนับสนุนเครื่องผลักดันน้ำจำนวน 12 เครื่อง ติดตั้งที่สะพานข้ามแม่น้ำมูล อ.พิบูลมังสาหาร เพื่อเร่งระบายน้ำในแม่น้ำมูลลงสู่แม่น้ำโขง ปัจจุบันระดับน้ำลดลง

จังหวัดบุรีรัมย์ พื้นที่น้ำท่วมรวม 5 อำเภอ ได้แก่ อ.สตึก อ.พุทไธสง อ.แดนดง อ.บ้านใหม่ไชยพจน์ และ อ.คูเมือง เนื่องจากปริมาณน้ำจากจังหวัดนครราชสีมาไหลมาสมทบกับแม่น้ำมูล ส่งผลให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจนเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำทางการเกษตร
ลุ่มน้ำน่าน

จังหวัดพิษณุโลก ยังคงมีพื้นที่น้ำท่วม 1 อำเภอ ได้แก่ อ.บางระกำ เมื่อ 17 ตุลาคม 2560 สาเหตุจากเกิดฝนตกหนักและน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วม บริเวณฝั่งขวาแม่น้ำยมเนื่องจากเป็นจุดรับน้ำจากสุโขทัย มีน้ำเอ่อล้นตลิ่งและยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โครงการชลประทานพิษณุโลกได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำในพื้นที่
ลุ่มน้ำเจ้าพระยา

จังหวัดนครสวรรค์ ยังคงมีพื้นที่น้ำท่วมรวม 9 อำ เภอ ได้แก่ อ.ชุมแสง อ.พยุหะคีรี อ.โกรกพระ อ.ลาดยาว อ.ตาคลี อ.เมือง อ.ท่าตะโก อ.เก้าเลี้ยว และ อ.บรรพตพิสัย โครงการชลประทานนครสวรรค์ได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบนํ้าจำนวน 13 เครื่อง แนวโน้มระดับน้ำเพิ่มขึ้น

จังหวัดชัยนาท ยังคงมีพื้นที่น้ำท่วมนอกคันกั้นน้ำ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.มโนรมย์ อ.เมือง อ.สรรพยา อ.หันคา และ อ.วัดสิงห์ โครงการชลประทานชัยนาทได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 9 เครื่องใน อ.สรรพยา ปัจจุบันระดับน้ำยังคงสูงขึ้น ส่วน อ.สรรพยา ปัจจุบันระดับน้ำยังเพิ่มสูงขึ้น

จังหวัดสิงห์บุรี พื้นที่น้ำท่วมนอกคันกั้นน้ำ 4 อำเภอ 19 ตำบล ได้แก่ อ.เมือง อ.อินทร์บุรี อ.พรหมบุรี และ อ.ท่าช้าง ลักษณะน้ำเอ่อล้นตลิ่ง ปัจจุบันระดับน้ำมีแนวโน้มทรงตัว โครงการชลประทานสิงห์บุรีได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 28 เครื่อง

จังหวัดลพบุรี ยังคงมีพื้นที่น้ำท่วมขัง 1 อำเภอ ได้แก่ อ.บ้านหมี่ ปริมาณมวลน้ำจากพื้นที่สูงไหลลงมาที่ลุ่มต่ำฝั่งซ้ายคลองชัยนาท-ป่าสัก ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลงเฉลี่ยวันละประมาณ 3 ซม. ปัจจุบันระดับน้ำลดลงเล็กน้อย

จังหวัดอ่างทอง ยังคงมีพื้นที่นํ้าท่วมนอกคันกั้นน้ำ 5 อำเภอ 27 ตำบล ได้แก่ อ.เมือง อ.ไชโย อ.ป่าโมก อ.วิเศษชัยชาญ และ อ.โพธิ์ทอง ซึ่ง อ.ป่าโมก ระดับน้ำมีแนวโน้มทรงตัว โครงการชลประทานอ่างทองได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 1 เครื่อง ที่ อ. เมือง และกำลังดำเนินการประสานขอเครื่องสูบน้ำเพิ่ม

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังคงมีพื้นที่น้ำท่วมนอกคันกั้นน้ำ 9 อำเภอ ได้แก่ อ.บางบาล อ.บางไทร อ.ผักไห่ อ.เมือง อ.เสนา อ.บางปะหัน อ.มหาราช อ.บางปะอิน และ อ.บางซ้าย ระดับน้ำมีแนวโน้มสูงขึ้นเล็กน้อย โครงการชลประทานจังหวัดได้สนับสนุนรถสูบน้ำจำนวน 4 คัน และเครื่องสูบน้ำจำนวน 87 เครื่อง

จังหวัดอุทัยธานี มีพื้นที่น้ำท่วมรวม 3 อำเภอ ได้แก่ อ.สว่างอารมณ์ อ.ทัพทัน และ อ.เมือง พื้นที่น้ำท่วมรวม 14,322 ไร่ โครงการชลประทานอุทัยธานีได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำบริเวณ อ.เมือง จำนวน 4 เครื่อง ปัจจุบันระดับน้ำยังทรงตัว
ลุ่มน้ำท่าจีน

จังหวัดสุพรรณบุรี ยังคงมีพื้นที่น้ำ ท่วมรวม 6 อำเภอ ได้แก่ อ.เดิมบางนางบวช อ.สามชุก อ.เมือง อ.บางปลาม้า อ.สองพี่น้อง และ อ.อู่ทอง รวมพื้นที่น้ำท่วมประมาณ 97,956 ไร่ โครงการชลประทานสุพรรณบุรีได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 10 เครื่อง ปัจจุบันระดับยังคงสูงขึ้น

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.