เคยเห็นวิดิโอ หรือคลิป ที่มีวัตถุเคลื่อนไหวไปอย่างรวดเร็วภายในเวลาเพียงไม่กี่วินาทีไหม เช่น ภาพดอกไม้บาน ภาพพระอาทิตย์ขึ้น จนพระอาทิตย์ตก ภาพต้นไม้กำลังเจริญเติบโต หรือการเคลื่อนที่ของดาว เป็นต้น
นั้นแหละคือ time lapse เป็นการถ่ายภาพในช่วงเวลาหนึ่งๆ ใช้เทคนิคเหมือนการถ่ายทำภาพยนตร์แบบเร่งความเร็ว สามารถย่นระยะเวลาจาก ปี เดือน วัน ชั่วโมง มาเหลือเพียงนาที หรือไม่กี่วินาทีเท่านั้น
อุปกรณ์
- กล้อง DSLR
- ขาตั้งกล้อง
- TIMER REMOTE CONTROLLER
- Program ทำภาพ Time lapse เช่น Quick time pro
หลักการคิดคำนวณ
สมมติว่าถ่ายการบานของดอกไม้ชนิดหนึ่ง ใช้เวลา 1 ชั่วโมง ตั้งแต่หุบจนบานเป็นดอกไม้สวยงาม การบันทึกภาพ Time-lapse ใช้ระยะเวลาระหว่างเฟรม 10 วินาที (คิดเป็น 6 เฟรมต่อนาที) ได้จำนวนเฟรมใน 1 ชั่วโมง ทั้งสิ้น เท่ากับ 6 x 60 = 360 เฟรม เมื่อนำมาฉายที่ความเร็ว 25 เฟรมต่อวินาที จึงได้วีดีโอ Time-lapse ที่มีความยาวแค่ 14.4 วินาที เท่านั้น (360/25=14.4) สรุปคือ มีการเร่งความเร็วในการบานของดอกไม้ 250 เท่า (3600 วินาที / 14.4 วินาที)
การบันทึกภาพ
- กล้องต้องสามารถตั้งเวลาถ่ายภาพได้แบบ Interval Timer หรือเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริม เช่น รีโมทคอนโทรล หรือ program คอมพิวเตอร์ที่ตั้งเวลาตัวกล้อง
ผ่านสาย USB เช่น EOS Utility
- เซต Timer remote controller เข้ากับตัวกล้อง ตั้งค่าต่างๆ ที่ Interval และ Exposure count.
ใช้ขาตั้งกล้อง เพื่อให้ภาพในเฟรมที่ไม่เคลื่อนไหว จะหยุดนิ่งอยู่ที่เดิม มีเพียงแค่วัตถุที่เรา
อยากเห็นความเปลี่ยนแปลง
- เรื่มบันทึกภาพ
- เข้าโปรแกรมทำ time lapse
ปล. การทำ Time lapse การตั้งค่ากล้อง ไม่ควรใช้โหมด Auto white balance,
auto ISO, auto focus และ auto exposure
เพราะ การใช้ auto white balance อาจทำให้โทนสีของภาพเปลี่ยนไป
การใช้ auto ISO อาจทำให้ค่าความไวแสงต่างกัน ,การใช้ auto focus ในกรณีแสงน้อย
อาจทำให้กล้องทำการวัดระยะผิดพลาด , การใช้ auto exposure เปลี่ยนไปตามสภาพแสง
อาจทำให้ความสว่างของภาพต่างกัน
Credit : ข้อมูล fotofile
แสดงความคิดเห็น