iLaw

ต้องชัดเจนและคุ้มครองสิทธิ ดูบทเรียนจากต่างประเทศเพื่อพัฒนากฎหมาย 'ละเมิดอำนาจศาล'

กฎหมายละเมิดอำนาจศาลมีความพิเศษ เพราะแม้จะมีโทษทางอาญาคือโทษจำคุกและโทษปรับ แต่กลับถูกบัญญัติไว้ในประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง ทำให้ผู้ถูกดำเนินคดีนี้ไม่ได้รับการประกันสิทธิเฉกเช่นผู้ถูกดำเนินคดีอาญา และอาจถูกลงโทษซ้ำจากการกระทำครั้งเดียว ในกรณีที่การกระทำอันเป็นการละเมิดอำนาจศาล เข้าข่ายความผิดทางอาญาด้วย นอกจากนี้กฎหมายก็บัญญัติไว้เพียงกว้างๆว่าให้ศาลออกข้อกำหนดว่าการกระทำใดเข้าข่ายเป็นการกระทำที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยในบริเวณและเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล จึงมีความคลุมเครืออยู่มากการกระทำใดบ้างที่เป็นความผิด

จากสภาวการณ์ทางการเมืองที่รัฐใช้กฎหมายและศาลเป็นเครื่องมือ จัดการกับผู้เห็นต่าง การให้คุณให้โทษของศาลจึงอาจทำให้คนบางกลุ่มไม่พอใจจนออกมาแสดงสัญลักษณ์หรือประท้วงศาล จึงมีความเป็นไปได้มากว่าในอนาคตความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลอาจถูกนำมาใช้มากขึ้น ไอลอว์จึงสนทนากับผศ.ดร.เอื้ออารีย์ อิ้งจะนิล จากคณะนิติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นหนึ่งในคณะทำงานวิจัยเรื่อง "หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในกรณีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล" เพื่อหาคำตอบว่า

กฎหมายละเมิดอำนาจศาลของไทยที่ใช้ในปัจจุบันมีปัญหาอะไรและ ในต่างประเทศมีแบบอย่างที่ดี ที่การคุ้มครองกระบวนการยุติธรรมโดยกฎหมายละเมิดอำนาจศาล ไม่ไปกดทับสิทธิของผู้ถูกดำเนินคดีหรือเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งพอจะนำมาใช้เป็นแนวทางในการปฏิรูปกฎหมายละเมิดอำนาจศาลของไทยอยู่บ้างหรือไม่ และอยากจะชวนผู้อ่านคิดต่อไปว่า หากกิจกรรมที่เกิดขึ้นหน้าศาลจังหวัดขอนแก่นไปเกิดขึ้นที่หน้าศาลในประเทศสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส หรือเยอรมันซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ในงานวิจัยชิ้นนี้ จะมีการดำเนินคดีละเมิดอำนาจศาลเกิดขึ้นหรือไม่

ตอนที่สี่ของบทความชุด #Roadtokhonkaen ชิ้นนี้จะพาผู้อ่านทุกท่านไปทำความรู้จักกับความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ในบริบทของต่างประเทศว่ามีแนวทางในการถ่วงดุลการใช้อำนาจของศาลอย่างและมีมาตรการอะไรในการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกดำเนินคดีบ้าง

อ่าน ต้องชัดเจนและคุ้มครองสิทธิ ดูบทเรียนจากต่างประเทศเพื่อพัฒนากฎหมาย 'ละเมิดอำนาจศาล' https://freedom.ilaw.or.th/contempt%20of%20court

อ่านแล้วถูกใจอย่าลืมแชร์บทความพร้อมติด #Roadtokhonkaen นะ

Source : iLaw

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.