Posted: 27 Oct 2017 04:14 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)
นัชชา ตันติิวิทยาพิทักษ์ สัมภาษณ์และเรียบเรียง
23 ต.ค. นิทรรศการ BLACK Country ซึ่งจัดแสดงที่ Thong Lor Art Space Bangkok โดย พิสิฎฐ์กุล ควรแถลง ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจขอความร่วมมือให้ปิดงาน และถูกยึดชิ้นงานจำนวนหนึ่ง เนื่องจากมีความล่อแหลมตามความเห็นของตำรวจ
ทั้งนี้ 15 มิ.ย. ที่ผ่านมา มีกรณีเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจบุกแกลเลอรี 2 แห่ง คือ Cartel Artspace และ Ver Gallery ซึ่งขณะนั้นกำลังแสดงงาน "ไร้มลทิน : Whitewash" โดย หฤษฏ์ ศรีขาว เจ้าหน้าที่ได้ปลดรูปทั้งหมด 3 ชิ้น และ Cartel Artspace ซึ่งขณะนั้นกำลังแสดงงาน “The Shards Would Shatter At Touch. สุขสลาย” โดย ธาดา เฮงทรัพย์กูล ต่อมาภายหลังธาดาจึงได้ตัดสินใจเก็บงานของตัวเองก่อนที่ทหารจะมาอีกทีในช่วงบ่าย
เสรีภาพทางการแสดงความคิดเห็นของประเทศไทยนั้นถูกจำกัดอย่างเห็นได้ชัดในหลายกรณีตั้งแต่รัฐประหารในปี 57 กิจกรรมสาธารณะถูกปิดกั้นโดย คสช. ออกประกาศฉบับที่ 7/2557 ห้ามการชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน และการนำข้อหา "ปลุกปั่นยั่วยุ" ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และ พ.ร.บ.ความสะอาดฯ มาใช้ ไอลอว์ได้เขียนรายงานสรุปสถานการณ์เรื่องเสรีภาพการชุมนุม การแสดงออกและการตั้งข้อหาก่อนและหลังรัฐประหารปี 57 (อ่านต่อได้ที่นี่)
การขยายอำนาจการควบคุมตรวจสอบมายังโลกของศิลปะอาจแสดงให้เห็นถึงความพยายามของรัฐในการควบคุมปิดกั้นจนไม่อาจเหลือพื้นที่ใดในการแสดงออก แม้กระทั่งพื้นที่แห่งการพลิกแพลงและการสร้างสรรค์ก็ตาม
ประชาไท ชวนคุยกับ พิสิฎฐ์กุล ควรแถลง ถึงเหตุการณ์ถูกสั่งปิดงานในวันนั้น ประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา ทำไมจึงต้องทำงานศิลปะที่มีแนวคิดทางการเมือง และทำไมศิลปะในความหมายของเขาจึงไม่ใช่เพียงการ “ตั้งคำถาม” แต่ต้องรวมถึงการพยายาม “หาทางออก” ด้วย
พิสิฎฐ์กุล ควรแถลง
รายละเอียดในวันที่โดนปิดงาน
งานแสดงมี 3 วัน ทั้งหมด 72 ชั่วโมง ผ่านมา 2 คืนแล้ว เราก็นั่งคุยกัน เออดีแฮะ ไม่มีอะไรเลย เขาคงไม่มาแล้วมั้ง สักพักก็มาเลย 2 คน เป็นในเครื่องแบบ ตอนแรกคิดว่าคงมีคนไปแจ้งเรื่องเสียงดัง เพราะเขาดูไม่ได้มุ่งไปที่ประเด็นการเมือง ถ่ายรูปงานเสร็จเขาก็ไป
สักพักก็มาอีก 2 คน คราวนี้เป็นนอกเครื่องแบบ เขาบอกว่ามาจากสันติบาล บอกว่านายเขาให้มาดู ช่วงนี้ห้ามจัดงานสังสรรค์ เราก็บอกว่าไม่ใช่งานสังสรรค์เป็นงานศิลปะ แล้วเขาก็เดินดูงาน เริ่มพูดเรื่องการเมือง แล้วคนหนึ่งเขาก็ไปเห็นในตารางงานว่ามี พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ
แล้วอีก 2 คนใหม่ก็เดินเข้ามา เป็นนอกเครื่องแบบเหมือนกัน มาขอตรวจ แล้วก็มาเดินสำรวจอีกรอบ เราก็เลยอธิบายให้ทั้ง 4 คนฟังด้วยกันเลยว่างานนี้มันเคยแสดงที่ญี่ปุ่นนะ มันพูดถึงรัฐบาลญี่ปุ่น ไม่ใช่รัฐบาลไทย เพราะงาน Black Country ให้ทุนโดยรัฐบาลญี่ปุ่น เคยไปแสดงที่โยโกฮาม่ามาก่อน เราก็รู้ว่าถ้าเขาขุดลึกขึ้นเรื่อยๆ มันก็จะยาว
แล้วตำรวจ 2 คนแรกก็เดินเข้ามาอีก บอกว่า เนี่ย นายเขาโทรมาอีกบอกให้ดูให้ละเอียด สันติบาลก็บอกไม่เป็นไรเดี๋ยวผมดูให้เอง สรุปแล้วก็คือไม่มีคนโทรแจ้งเรื่องเสียงดัง แต่ทั้งหมดเป็นนายสั่งมา ตำรวจกลุ่มที่ 3 บอกว่า เนี่ยวุ่นวายหมดเลยงานคุณ ทุกหน่วยโทรมาใหญ่เลย สรุปคือเป็นทหารโทรมาให้สารวัตรที่ทองหล่อตรวจสอบงานนี้ แล้วสารวัตรก็โทรมาสั่งกลุ่มนี้อีกที
ตำรวจกลุ่มที่ 3 ก็เดินลงไปชั้นล่าง หายไปประมาณครึ่งชั่วโมงเพราะงานมันเยอะมาก แล้วก็เดินขึ้นมาพร้อมงานของเราเต็มไปหมดเลย บอกว่า นี่มันคอนเซปต์อะไรเนี่ย ทำไมมี -วยประเทศเ-ี้ย เผด็จการ -ี ช้าง ในงานด้วย ทีแรกเขาจะไม่ปิด แต่พอเริ่มมียังงี้ปุ๊บ ก็เลยโทรไปเรียกสารวัตรมา สารวัตรก็มาอีก 2 คน
ตอนนี้มี 8 คนแล้วเนอะ
ใช่ 8 คน แต่ 2 คนแรกกลับไปแล้ว สันติบาลก็ขอกลับไปก่อน แต่ซื้อหนังสือของเราไป ดูแล้วน่าจะซื้อเป็นหลักฐาน แล้วก็เก็บรูปโปสเตอร์ที่เป็นรูปประยุทธ์ไปทั้งหมด
สารวัตร 2 คนก็เดินไปดูอีก แล้วก็บอกอันนี้ไม่ได้ อันนี้เอาออก จนเขาบอก พี่ขอปิดเถอะ เพราะดูแล้วมันไม่น่าจะจัดงานต่อได้แล้ว เพราะล่อแหลมเยอะ เราก็บอกว่าไม่มี ไม่เกี่ยวกับเรื่องนั้นเลย เขาบอกว่า น้องรีบปิดเถอะ เขาพยายามจะทำให้เรารู้สึกว่าเราต้องโดนอะไรมากๆ แล้วก็ยึดงานวาดไปสองชิ้น งานไม่มีอะไรเลย เป็นรูปชฎาอันหนึ่ง อีกอันเป็นรูปชายหญิง แล้วก็ยึดผ้ายันต์ (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน) ไป 8 ชิ้น
แล้วเราก็ต้องไปทำบันทึกประจำวันที่สน. ระหว่างที่อยู่ในห้องสืบสวนก็มีคนนั่งคุยกับเรา เขาก็พยายามตะล่อมให้เราพูดเรื่องการเมืองไทย แต่เราก็ไม่พูด บอกว่า ผมพูดเรื่องการเมืองต่างประเทศอย่างเดียว เขาก็บอก อ้าวน้อง งานศิลปะทำไมไม่พูดเรื่องการเมืองไทย ไปพูดเรื่องคนอื่นมันจะได้หรือเนี่ย จะดีหรือ แล้วก็พูดเรื่องใต้ดิน บอกว่า เนี่ยเขามีเคลื่อนไหวใต้ดินกันเยอะจะตาย น้องมาเขียนดงเขียนด่ามันไม่เห็นจะศิวิไลซ์เลย ทำไมไม่ทำใต้ดิน เขาพยายามจะให้เราตอบอะไรสักอย่าง เราก็ปฏิเสธตลอด
พอเสร็จก็กลับมา คนแถวนั้นก็บอกว่า เนี่ย รู้ไหมมีทหารตามมาอีก 4 คน แล้วเขาก็มาถ่ายรูปรอบๆ แล้วก็มีคนโทรมาเรื่อยๆ แบบ อยากรู้ประวัติ อยากรู้ชื่อจริง เออ ทำไมเขาไม่คุยกันบ้าง (หัวเราะ) เพราะตอนไปสน. เราก็ให้บัตรประชาชน อะไรไปหมดแล้ว
แล้วเขาก็บอกว่ามีงานที่ไหนอีกไหม ถ้ามีก็ปิดได้เลย เพราะปิดที่นี่แล้ว เดี๋ยวที่อื่นก็ตามไป เราเลยโทรหาแกลเลอรีที่อื่นให้ช่วยเก็บงานเราให้ ความจริงมีงานวันที่ 28 นี้ แล้วก็วันที่ 4 เดือนหน้าด้วย ก็ต้องปิดหมดเลย
เราหวังว่าเขาอาจจะไม่ทำอะไร เพราะเขาก็บอกว่าสิ้นเดือนค่อยมาเอางานคืน
พอรู้ไหมว่าทำไมงานนี้ไปเข้าตาเขา ตัวงาน คอนเซปต์ หรือภาพรวมทั้งหมด
มันเป็นภาพรวมทั้งหมดด้วยแหละ เขาบอกว่า นายเห็นโปสเตอร์แล้วก็รู้สึกไม่สบายใจ แต่ถ้าเห็นโปสเตอร์เขาก็อาจจะมาตั้งแต่วันแรกแล้วไง หรืออาจจะเพิ่งมาเห็น อย่างงานนี้เป็น complexity มาก ทุกอย่างเกิดขึ้นพร้อมกัน มีทั้งรูป สื่อวิดีโอ ไปจนถึงผ้ายันต์ เสียง และเพลง
แค่โปสเตอร์ก็โดนแล้วหรือ
อืม โปสเตอร์ไม่มีอะไรเลยนะ
โปสเตอร์งาน BLACK Country
แล้วทำไมสถานที่ถึงยอมให้แสดงงาน
จริงๆ เราไม่ได้แสดงมา 5 ปีแล้ว และเราวางแผนงานนี้ตั้งแต่ปีที่แล้ว เราติดต่อสถานที่เขาตั้งแต่ปีที่แล้ว และไม่ใช่พื้นที่ที่เป็นแกลเลอรีขายงานขนาดนั้น แต่หลังจากนี้คงไม่มีแกลเลอรีไหนให้เราแสดงอีกแล้ว ก่อนหน้านี้เขาก็ขยาดๆ อยู่แล้ว ว่างานมึงจะมาทำอะไรให้แกลเลอรีกูไหม แล้วมันก็มาเป็นแบบนี้
แต่ก่อนหน้านี้ไม่เคยโดนปิด
เพราะงานเราไม่ค่อยได้โชว์ที่ไทย งานทั้งหมดจะแสดงที่ต่างประเทศ เราเริ่มแสดงงานตอนปี 55 งานแรกคือที่ Cartel Artspace เป็นรูปสักที่เราสักเกี่ยวกับชีวิตเรา แล้วก็มีเพลงที่เราชอบตอนนั้น ชื่อเพลง wake up ของ Arcade Fire แล้วในปีนั้นพอทำงานอีกชิ้นหนึ่งเราก็โดนโซเชี่ยลแซงชั่น
คิดจะทำงานไม่เกี่ยวกับการเมืองไหม
เราสนใจเกี่ยวกับการเมืองเพราะเราคิดว่ามันน่าจะพูดได้ไง เราไม่คิดว่ามันผิดบาปอะไร อย่างตอนนั้นเราไปวาดรูปที่หอศิลป์ ทุกคนโดนไล่หมดเพราะมาประท้วง แต่เราเป็นคนเดียวที่ไม่โดนไล่ เราคิดว่าศิลปะมันมี Gap (ช่องว่าง) บางอย่างที่ทำให้เราสามารถเล่นกับอะไรแบบนี้ได้
พอศิลปะมันเริ่มถูกจับตาปุ๊บ เราก็รู้สึกว่าเขาเองก็ปรับตัวในการตีวงให้กว้างขึ้น คนอาจจะคิดว่าศิลปะมันไม่เกี่ยวกับการเมือง มีศิลปินจำนวนมากคิดว่าศิลปะไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับการเมือง แต่สำหรับเรามันหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพูดถึงเรื่องนี้ มีคนที่หลีกเลี่ยงได้ แต่เราทำไม่ได้
แต่ก่อนเราไม่ได้ทำเรื่องการเมือง แต่เราสนใจประวัติศาสตร์ เราเล่นกับความเป็นประวัติศาสตร์ แต่ก่อนเราทำงานสวยๆ อย่างงานดรอว์อิ่ง เราไม่สนใจการเมืองเลย จนถึงปี 53 เพราะเหตุการณ์เดือนพฤษภา เราก็เริ่มเปลี่ยน เราเริ่มตั้งคำถามกับความเป็นคุณค่าบางอย่าง เราเริ่มสนใจในแง่การเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ
เริ่มมีงานที่ตั้งคำถามกับมัน ตั้งคำถามกับความเป็นสื่อ ทั้งที่จริงๆ มันมี fact เต็มไปหมดที่พูดถึงเหตุการณ์การฆ่ากัน แต่คนก็มองว่า ต่อให้สื่อจะพูดอะไรก็ตาม เขาก็จะคิดแบบนั้น มีทัศนคติในการมองแบบเขา แบบ take side ตลอดเวลา เราเลยทำเป็นหนังสือการ์ตูน ซึ่งแทบไม่เกี่ยวกับข่าวการเมือง แล้วเราก็ให้คนมาชมงานเป็นคนเขียนเนื้อหาขึ้นมาเอง เพราะในตอนนั้นคนไม่ได้สนใจ fact อีกต่อไป ไม่ได้สนความจริงหรือตรรกะ แต่คนสนว่ากูคิดยังไง เสื้อเหลืองคิดว่าเสื้อแดงเหี้ย หรือเสื้อแดงก็จะคิดว่าเสื้อเหลืองเหี้ย เราก็เริ่มทำแนวการเมืองตั้งแต่ตอน 53 แล้วก็เพิ่มเลเวลขึ้นเรื่อยๆ
งานเราไม่ได้เขียนอธิบายเลย เพราะเขียนอธิบายอะไรไม่ได้เลย
หลังจากนี้จะยังทำงานได้ไหม
ที่ไทยคงไม่มีหวังแล้วล่ะ คงไม่รู้จะแสดงยังไงแล้วที่ไทย
จะลงทุนแบบไอ้เว่ยเว่ยไหม ที่ยอมถูกรัฐจับแล้วเอาประสบการณ์ที่โดนจับมาทำเป็นผลงาน
เราไม่อยากเป็นไอ้เว่ยเว่ย เพราะมันเป็น Art World ประเทศจีนเป็นประเทศใหญ่ด้วย ก็ต้องการศิลปะที่มันต้องพูดเรื่องการเมืองแบบนั้น ให้มันกระจายออกไปในวงกว้างได้ แต่ context (บริบท) แบบไทยมันไม่ได้ถูกพูดถึงวงกว้างแบบนั้น เราว่ามันไม่ได้จำเป็น ถ้ามันเป็นมันก็เป็นเอง ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นไปแบบนั้นแบบเดียว
เราสนใจศิลปะและการเมืองในฐานะที่มันพูดเรื่องระบบอื่นๆ สร้างโครงสร้างอื่นๆ ขึ้นมา เราสนใจศิลปะในแง่ของการจัดการมากกว่า ในแง่การครีเอทระบบอื่นๆ ขึ้นมา
เวลาทำงานศิลปะเราก็จะมองหาปัญหา แล้วก็พูดถึงปัญหานั้นให้มันเห็น แต่ศิลปะจะไม่แก้ปัญหาอะไรเลย แต่เราสนใจว่า เราจะมองหาปัญหา ทำให้เห็นปัญหา และแก้ปัญหานั้นด้วย โดยหาระบบอื่นมาแก้ปัญหา
เรามีโครงการอย่างเช่น Borrow Man ที่เราทำ เราพยายามสร้างกองทุนขึ้นมาเองเพื่อให้คนมีโอกาสได้เข้าถึงทุนนอกเหนือจากทุนของรัฐ หรือ money factory เป็นธนาคาร เอาเงินที่ทำกันเองมาใช้มาขายมาซื้อ มีพนัน เราพยายามจำลองระบบเงิน เราอยากเล่นกับระบบ
อย่างงานที่เพิ่งโดนปิด จริงๆ พยายามทำให้เป็นแบบ art expo คือ art expo ก็ถูกทำแบบ top down เหมือนกัน ส่วนใหญ่ก็จัดโดยรัฐ แต่เราก็พยายามลองดูว่าถ้าเราทำคนเดียวมันทำได้ไหม
*Black Country เป็นส่วนหนึ่งของ Super Art Expo ซึ่งวางไว้ว่าเป็นการจัดแสดงงานศิลปะติดต่อกัน 8 งาน 8 อาทิตย์ Black Country เป็นงานที่ 4 ซึ่งเมื่อโดนปิดแล้วทำให้งานอื่นไม่ได้แสดงอีกต่อไป
เราทำให้เห็นว่าจริงๆ แล้วศักยภาพของคนมันสามารถสร้างระบบขึ้นมาเองได้ โดยที่ไม่ต้องพึ่งรัฐด้วยซ้ำไป แต่มีคนเกลียดเราเยอะไงเรื่องของเรื่อง ผลตอบรับมันเลยอาจไม่ดีเท่าไหร่
เราสนใจศิลปะที่มันเข้าไปเล่นกับคน เข้าไปอยู่ในวิถีชีวิต หาทางออก ไม่ใช่แค่ตั้งคำถาม ไม่ใช่แค่การบอกว่าศิลปะนี้แสดงแนวความคิดแบบนี้ เราไม่ค่อยเชื่อ เพราะมันมีหลักวิชาการ มีคนที่เขียนเรื่องนี้เต็มไปหมดแล้ว แต่มันไม่มีคนที่ทำให้เห็นว่า มันใช้แบบไหน ปฏิบัติแบบไหน มีระบบแบบอื่นไหม
เล่าโครงการ Borrow Man ให้ฟังหน่อย
Borrow Man มันเกิดจากว่า เราไปต่างประเทศบ่อย เราเห็นนู้นนี้ แล้วก็เห็นว่าการให้ทุนของรัฐ การให้ทุนเกี่ยวกับศิลปะมันก็มีข้อจำกัดหลายด้าน อย่างเช่น ตั้งแต่การเลือกคน agenda ที่เขาให้ในทุนแต่ละอย่าง หรือแม้แต่การสร้างเงื่อนไขว่าทุนนี้ทำอะไรได้บ้าง
ซึ่งการทำแบบนี้มันค่อนข้างจำกัดอยู่เฉพาะคนเฉพาะกลุ่ม มันไม่กระจายไปสู่คนกลุ่มอื่น ด้วยเงื่อนไขที่รัฐก็ต้องการยอดปีระมิดอย่างเดียว คือ พวกคนหัวกะทิ คนที่ได้รางวัลเยอะๆ มา และรัฐส่วนใหญ่ที่มีเงินก็จะเป็นแบบให้ทุนหนึ่งปี พอปีหนึ่งก็ต้องหาทุนใหม่ ซึ่งหมายความว่ามันไม่ได้ทำให้ระบบมันยั่งยืน และมันก็จะเป็นปัญหานี้เป็นลูปไปตลอด เป็น top down ตลอด เราอยากสร้างทุนที่มันเป็น bottom up ให้เกิดเงินขึ้น ให้ทุนคนพวกนี้ได้
Borrow Man มีเป้าหมายสามอย่าง คือ หนึ่ง หาวิธีการสร้างทุนใหม่ๆ สอง หาวิธีการให้ทุนแบบอื่นๆ สาม สร้างเครือข่ายของประเทศต่างๆ เราทดลองในครั้งแรกคือปีนี้ ก็คือการหาทุนโดยของานศิลปินมาประมูล ได้เงินมาเท่ากับที่เราต้องใช้เลย ทุนที่ให้ก็คือให้ไปยอกยาการ์ตา ที่อินโดนีเซีย ไปทำอะไรก็ได้ที่นั่น วิธีการให้ทุนคือ ทุกคนต้องมาเวิร์คชอปกัน 4 ครั้ง และการตัดสินคือให้ทุกคนตัดสินร่วมกันว่าใครควรได้ไป สุดท้ายแม่งได้ไปทุกคนเลย ก็เลยแบ่งเงินกัน ได้แค่ค่าเครื่องบิน แล้วเราก็โคกับต่างประเทศคืออินโดนีเซีย
จริงๆ เราไม่ได้แสดงมา 5 ปีแล้ว และเราวางแผนงานนี้ตั้งแต่ปีที่แล้ว เราติดต่อสถานที่เขาตั้งแต่ปีที่แล้ว และไม่ใช่พื้นที่ที่เป็นแกลเลอรีขายงานขนาดนั้น แต่หลังจากนี้คงไม่มีแกลเลอรีไหนให้เราแสดงอีกแล้ว ก่อนหน้านี้เขาก็ขยาดๆ อยู่แล้ว ว่างานมึงจะมาทำอะไรให้แกลเลอรีกูไหม แล้วมันก็มาเป็นแบบนี้
แต่ก่อนหน้านี้ไม่เคยโดนปิด
เพราะงานเราไม่ค่อยได้โชว์ที่ไทย งานทั้งหมดจะแสดงที่ต่างประเทศ เราเริ่มแสดงงานตอนปี 55 งานแรกคือที่ Cartel Artspace เป็นรูปสักที่เราสักเกี่ยวกับชีวิตเรา แล้วก็มีเพลงที่เราชอบตอนนั้น ชื่อเพลง wake up ของ Arcade Fire แล้วในปีนั้นพอทำงานอีกชิ้นหนึ่งเราก็โดนโซเชี่ยลแซงชั่น
คิดจะทำงานไม่เกี่ยวกับการเมืองไหม
เราสนใจเกี่ยวกับการเมืองเพราะเราคิดว่ามันน่าจะพูดได้ไง เราไม่คิดว่ามันผิดบาปอะไร อย่างตอนนั้นเราไปวาดรูปที่หอศิลป์ ทุกคนโดนไล่หมดเพราะมาประท้วง แต่เราเป็นคนเดียวที่ไม่โดนไล่ เราคิดว่าศิลปะมันมี Gap (ช่องว่าง) บางอย่างที่ทำให้เราสามารถเล่นกับอะไรแบบนี้ได้
พอศิลปะมันเริ่มถูกจับตาปุ๊บ เราก็รู้สึกว่าเขาเองก็ปรับตัวในการตีวงให้กว้างขึ้น คนอาจจะคิดว่าศิลปะมันไม่เกี่ยวกับการเมือง มีศิลปินจำนวนมากคิดว่าศิลปะไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับการเมือง แต่สำหรับเรามันหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพูดถึงเรื่องนี้ มีคนที่หลีกเลี่ยงได้ แต่เราทำไม่ได้
แต่ก่อนเราไม่ได้ทำเรื่องการเมือง แต่เราสนใจประวัติศาสตร์ เราเล่นกับความเป็นประวัติศาสตร์ แต่ก่อนเราทำงานสวยๆ อย่างงานดรอว์อิ่ง เราไม่สนใจการเมืองเลย จนถึงปี 53 เพราะเหตุการณ์เดือนพฤษภา เราก็เริ่มเปลี่ยน เราเริ่มตั้งคำถามกับความเป็นคุณค่าบางอย่าง เราเริ่มสนใจในแง่การเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ
เริ่มมีงานที่ตั้งคำถามกับมัน ตั้งคำถามกับความเป็นสื่อ ทั้งที่จริงๆ มันมี fact เต็มไปหมดที่พูดถึงเหตุการณ์การฆ่ากัน แต่คนก็มองว่า ต่อให้สื่อจะพูดอะไรก็ตาม เขาก็จะคิดแบบนั้น มีทัศนคติในการมองแบบเขา แบบ take side ตลอดเวลา เราเลยทำเป็นหนังสือการ์ตูน ซึ่งแทบไม่เกี่ยวกับข่าวการเมือง แล้วเราก็ให้คนมาชมงานเป็นคนเขียนเนื้อหาขึ้นมาเอง เพราะในตอนนั้นคนไม่ได้สนใจ fact อีกต่อไป ไม่ได้สนความจริงหรือตรรกะ แต่คนสนว่ากูคิดยังไง เสื้อเหลืองคิดว่าเสื้อแดงเหี้ย หรือเสื้อแดงก็จะคิดว่าเสื้อเหลืองเหี้ย เราก็เริ่มทำแนวการเมืองตั้งแต่ตอน 53 แล้วก็เพิ่มเลเวลขึ้นเรื่อยๆ
งานเราไม่ได้เขียนอธิบายเลย เพราะเขียนอธิบายอะไรไม่ได้เลย
หลังจากนี้จะยังทำงานได้ไหม
ที่ไทยคงไม่มีหวังแล้วล่ะ คงไม่รู้จะแสดงยังไงแล้วที่ไทย
จะลงทุนแบบไอ้เว่ยเว่ยไหม ที่ยอมถูกรัฐจับแล้วเอาประสบการณ์ที่โดนจับมาทำเป็นผลงาน
เราไม่อยากเป็นไอ้เว่ยเว่ย เพราะมันเป็น Art World ประเทศจีนเป็นประเทศใหญ่ด้วย ก็ต้องการศิลปะที่มันต้องพูดเรื่องการเมืองแบบนั้น ให้มันกระจายออกไปในวงกว้างได้ แต่ context (บริบท) แบบไทยมันไม่ได้ถูกพูดถึงวงกว้างแบบนั้น เราว่ามันไม่ได้จำเป็น ถ้ามันเป็นมันก็เป็นเอง ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นไปแบบนั้นแบบเดียว
เราสนใจศิลปะและการเมืองในฐานะที่มันพูดเรื่องระบบอื่นๆ สร้างโครงสร้างอื่นๆ ขึ้นมา เราสนใจศิลปะในแง่ของการจัดการมากกว่า ในแง่การครีเอทระบบอื่นๆ ขึ้นมา
เวลาทำงานศิลปะเราก็จะมองหาปัญหา แล้วก็พูดถึงปัญหานั้นให้มันเห็น แต่ศิลปะจะไม่แก้ปัญหาอะไรเลย แต่เราสนใจว่า เราจะมองหาปัญหา ทำให้เห็นปัญหา และแก้ปัญหานั้นด้วย โดยหาระบบอื่นมาแก้ปัญหา
เรามีโครงการอย่างเช่น Borrow Man ที่เราทำ เราพยายามสร้างกองทุนขึ้นมาเองเพื่อให้คนมีโอกาสได้เข้าถึงทุนนอกเหนือจากทุนของรัฐ หรือ money factory เป็นธนาคาร เอาเงินที่ทำกันเองมาใช้มาขายมาซื้อ มีพนัน เราพยายามจำลองระบบเงิน เราอยากเล่นกับระบบ
อย่างงานที่เพิ่งโดนปิด จริงๆ พยายามทำให้เป็นแบบ art expo คือ art expo ก็ถูกทำแบบ top down เหมือนกัน ส่วนใหญ่ก็จัดโดยรัฐ แต่เราก็พยายามลองดูว่าถ้าเราทำคนเดียวมันทำได้ไหม
*Black Country เป็นส่วนหนึ่งของ Super Art Expo ซึ่งวางไว้ว่าเป็นการจัดแสดงงานศิลปะติดต่อกัน 8 งาน 8 อาทิตย์ Black Country เป็นงานที่ 4 ซึ่งเมื่อโดนปิดแล้วทำให้งานอื่นไม่ได้แสดงอีกต่อไป
เราทำให้เห็นว่าจริงๆ แล้วศักยภาพของคนมันสามารถสร้างระบบขึ้นมาเองได้ โดยที่ไม่ต้องพึ่งรัฐด้วยซ้ำไป แต่มีคนเกลียดเราเยอะไงเรื่องของเรื่อง ผลตอบรับมันเลยอาจไม่ดีเท่าไหร่
เราสนใจศิลปะที่มันเข้าไปเล่นกับคน เข้าไปอยู่ในวิถีชีวิต หาทางออก ไม่ใช่แค่ตั้งคำถาม ไม่ใช่แค่การบอกว่าศิลปะนี้แสดงแนวความคิดแบบนี้ เราไม่ค่อยเชื่อ เพราะมันมีหลักวิชาการ มีคนที่เขียนเรื่องนี้เต็มไปหมดแล้ว แต่มันไม่มีคนที่ทำให้เห็นว่า มันใช้แบบไหน ปฏิบัติแบบไหน มีระบบแบบอื่นไหม
เล่าโครงการ Borrow Man ให้ฟังหน่อย
Borrow Man มันเกิดจากว่า เราไปต่างประเทศบ่อย เราเห็นนู้นนี้ แล้วก็เห็นว่าการให้ทุนของรัฐ การให้ทุนเกี่ยวกับศิลปะมันก็มีข้อจำกัดหลายด้าน อย่างเช่น ตั้งแต่การเลือกคน agenda ที่เขาให้ในทุนแต่ละอย่าง หรือแม้แต่การสร้างเงื่อนไขว่าทุนนี้ทำอะไรได้บ้าง
ซึ่งการทำแบบนี้มันค่อนข้างจำกัดอยู่เฉพาะคนเฉพาะกลุ่ม มันไม่กระจายไปสู่คนกลุ่มอื่น ด้วยเงื่อนไขที่รัฐก็ต้องการยอดปีระมิดอย่างเดียว คือ พวกคนหัวกะทิ คนที่ได้รางวัลเยอะๆ มา และรัฐส่วนใหญ่ที่มีเงินก็จะเป็นแบบให้ทุนหนึ่งปี พอปีหนึ่งก็ต้องหาทุนใหม่ ซึ่งหมายความว่ามันไม่ได้ทำให้ระบบมันยั่งยืน และมันก็จะเป็นปัญหานี้เป็นลูปไปตลอด เป็น top down ตลอด เราอยากสร้างทุนที่มันเป็น bottom up ให้เกิดเงินขึ้น ให้ทุนคนพวกนี้ได้
Borrow Man มีเป้าหมายสามอย่าง คือ หนึ่ง หาวิธีการสร้างทุนใหม่ๆ สอง หาวิธีการให้ทุนแบบอื่นๆ สาม สร้างเครือข่ายของประเทศต่างๆ เราทดลองในครั้งแรกคือปีนี้ ก็คือการหาทุนโดยของานศิลปินมาประมูล ได้เงินมาเท่ากับที่เราต้องใช้เลย ทุนที่ให้ก็คือให้ไปยอกยาการ์ตา ที่อินโดนีเซีย ไปทำอะไรก็ได้ที่นั่น วิธีการให้ทุนคือ ทุกคนต้องมาเวิร์คชอปกัน 4 ครั้ง และการตัดสินคือให้ทุกคนตัดสินร่วมกันว่าใครควรได้ไป สุดท้ายแม่งได้ไปทุกคนเลย ก็เลยแบ่งเงินกัน ได้แค่ค่าเครื่องบิน แล้วเราก็โคกับต่างประเทศคืออินโดนีเซีย
แสดงความคิดเห็น