Posted: 23 Oct 2017 12:28 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)

สัมมนาวิชาการ “มานุษยวิทยา ล้านนาคดี และประวัติศาสตร์นิพนธ์ คนสามัญ อานันท์ 70 ปี” ระหว่างวันที่ 20 - 21 เดือนกันยายน พ.ศ. 2560 ห้องประชุม 1 อาคารรวมวิจัยและบัณฑิตศึกษา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดโดย สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถานอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร

ช่วงบ่ายวันที่ 20 ก.ย. เป็นการนำเสนอกลุ่มบทความ "มรดกล้านนาและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม" ดำเนินรายการโดย ดร.อาชว์บารมี มณีตระกูลทอง สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ทั้งนี้การเปลี่ยนอดีตพื้นที่ความขัดแย้งให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวพร้อมไปกับการมีส่วนร่วมของชุมชน ติดตามได้จากการนำเสนอของ วศิน ปัญญาวุธตระกูล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งนำเสนอหัวข้อ "การจัดการชุมชนท่องเที่ยวบนพื้นที่สูง กรณีศึกษาภูลมโลและพื้นที่เชื่อมโยงอย่างยั่งยืน"

ส่วนการนำเสนอต่อมา กรวรรณ สังขกร ศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พูดถึงการวิจัยเพื่อเชื่อมโยงและพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมกับการท่องเที่ยว แนวทางการพัฒนาศักยภาพของชุมชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สถานการณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สภาพการแข่งขันทางการตลาด และพฤติกรรมนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ภาคเหนือ โดยนำเสนองานวิจัยหัวข้อ "มรดกล้านนาและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม"

นอกจากนี้อานันท์ กาญจนพันธุ์ ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย โดยตอนหนึ่งกล่าวว่าการท่องเที่ยว นอกจากการมีส่วนร่วมจากทุกกลุ่มแล้ว ต้อง 4 มิติได้แก่ จิตวิญญาณ อัตลักษณ์ สิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิต ถ้าไม่มี 4 มิตินี้การท่องเที่ยวก็จะไม่น่าสนใจ โดยยกตัวอย่างการจัดการท่องเที่ยวช่วงเทศกาลออกหว่าหรือออกพรรษาของ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน อีกด้วย


แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.