CDSR ออก 5 ข้อเสนอต่อ ก.ม.คุ้มครองสิทธิในการสมรส-ครอบครัวของคนความหลากหลายทางเพศ

Posted: 17 May 2017 10:44 AM PDT  (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซท์ประชาไท)

5 ข้อเสนอต่อกฎหมายคุ้มครองสิทธิในการสมรสและครอบครัวของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ย้ำการขับเคลื่อนทางกฎหมายต้องยึดหลัก ความโปร่งใส ตรวจสอบได้กระบวนการที่เป็นประชาธิปไตยมีความสําคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าผลลัพธ์ที่เป็นตัวกฎหมาย 

17 พ.ค. 2560 เนื่องในวันสากลแห่งการยุติความเกลียดชังคนรักเพศเดียวกัน คนข้ามเพศ และคนรักสองเพศ IDAHOT2017 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มเพื่อประชาธิปไตยและความหลากหลายทางเพศ (The Coalition on Democracy and SOGIE Rights, CDSR) กลุ่มโรงน้ำชา (TEA Group) ห้องเรียนเพศวิถีและสิทธิมนุษยชน ร้านหนังสือบูคู (Buku Classroom) การเมืองหลังบ้าน (Backyard Politic) กลุ่มเยาวชนศีขรภูมิ (Srikhoraphum Youth) และกลุ่มแฟรี่เทล (FAIRY TELL) ออกข้อเสนอแนะเรื่องกฎหมายคุ้มครองสิทธิในการสมรสและครอบครัวของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ 5 ข้อ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. การเสนอร่าง การพิจารณากฎหมาย การประกาศใช้ตลอดจนการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย ต้องคํานึงถึงหลักความเสมอ ภาคต่อหน้ากฎหมาย (Equal before the law-ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนสากลข้อที่ 7) และหลักนิติสังคมรัฐ ซึ่งทุกคน เสมอภาคภายใต้กฎหมายและรัฐมีหน้าที่สร้างกฎหมายและให้หลักประกันว่าทุกคนจะมีสิทธิเสรีภาพอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม กฎหมายที่มีเนื้อหาและข้อยกเว้นที่เลือกปฏิบัติถือว่าขัดต่อหลักการสิทธิมนุษยชน และพันธะกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศ ไทยได้ให้สัตยาบัณไว้ กฎหมายคุ้มครองสิทธิในการสมรสและครอบครัวของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศต้องคุ้มครองตาม หลักการของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยไม่เลือกปฏิบัติและให้ความคุ้มครองบุตรของครอบครัวของบุคคลที่มีความหลากหลาย ทางเพศ

2. การเกิดขึ้นของกฎหมายคุ้มครองสิทธิในการสมรสและครอบครัวของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ควรเป็นส่วนหนึ่งของ การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนเจ้าของปัญหาและเครือข่ายภาคประชาสังคม ดังนั้น การขับเคลื่อนทางกฎหมายต้องยึดหลัก ความโปร่งใส ตรวจสอบได้กระบวนการที่เป็นประชาธิปไตยมีความสําคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าผลลัพธ์ที่เป็นตัวกฎหมาย ทั้ง ภาครัฐและเอกชนควรคํานึงถึงความสําเร็จในระยะยาว อันเกิดขึ้นได้จากกระบวนการที่โปร่งใส เป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย

3. การจัดทํากฎหมายคุ้มครองสิทธิในการสมรสและครอบครัวของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศอย่างเป็นผล ทั้งในแง่เนื้อหาของ ตัวบทกฎหมาย กลไกที่เกี่ยวข้อง และการดําเนินการ ต้องเป็นไปตามหลักการการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ผู้เป็นเจ้าของ ปัญหาอย่างแท้จริง เคารพเสียงของเจ้าของปัญหา เพื่อให้กฎหมายมีความครอบคลุมถึงทุกมิติของปัญหา และประชากรผู้ได้รับ ผลกระทบทุกกลุ่ม

4. จัดให้มีการศึกษาวิจัยฐานทัศนคติของคนในสังคม เพื่อนําไปสู่การสร้างความตระหนักและความเข้าใจอย่างจริงจัง ไม่ใช่เพียง การออกกฎหมายและนโยบายที่สังคมไม่เข้าใจและไม่สามารถนําไปปฏิบัติโดยปราศจากการตีตราและเลือกปฏิบัติพร้อมทั้ง ยกระดับการอภิปรายเรื่องการจัดทํากฎหมายสู่สาธารณะ เปิดรับความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง เพื่อเป็นฐานของการขับเคลื่อนให้ เกิดความเท่าเทียมทางเพศอย่างยั่งยืน

5. สถานการณ์งานศึกษาวิจัย และนโยบายเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งในสังคมโลกและระดับ อาเซียน ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายหลายฉบับในเวลาอันสั้น ดังนั้น ต้องศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายและนโยบาย เรื่องคุ้มครองสิทธิในการสมรสและครอบครัวของผู้มีความหลากหลายทางเพศอย่างทันสมัย

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.