This Oct. 12, 2017, photo provided by the California Coastal Commission/UC Davis shows a pile of scrap tires after they were pulled out of the water off Balboa Peninsula in Newport Beach, Calif. Divers are removing hundreds of old tires, plastic jugs and other junk that were dumped off the Southern California coast nearly 30 years ago in hopes of creating an artificial reef that would serve as a home to fish and mussels. (California Coastal Commission/UC Davis via AP)

คณะกรรมการชายฝั่งทะเลเเคลิฟอร์เนีย (California Coastal Commission) ประกาศว่า การเก็บขยะจากทะเลครั้งนี้เริ่มต้นเมื่อราวกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ที่นอกชายฝั่งของ Newport Beach

Dayna Bochco ประธานคณะกรรมการดังกล่าว ชี้ในแถลงการณ์ว่า สมควรเเก่เวลาเเล้วที่ต้องจัดเก็บขยะเหล่านี้ การทิ้งขยะพลาสติกเเละขยะอื่นๆ ลงในทะเลไม่ใช่วิธีกอบกู้ระบบนิเวศในท้องทะเล

ประมาณว่ามีขยะพลาสติกน้ำหนักราว 18,000 ล้านปอนด์ถูกทิ้้งลงทะเลแห่งต่างๆ ทั่วโลกทุกปี เเละจำเป็นมากที่คนเราต้องช่วยกันเก็บกู้ขยะเหล่านี้ออกจากท้องทะเล

ทางคณะกรรมการชายฝั่งทะเลเเคลิฟอร์เนีย กล่าวว่า ในปี 1988 นาย Rodolphe Streichenberger ได้สร้างเเนวปะการังเทียมเป็นโครงการทดลอง โดยเเนวปะการังเทียมที่เขาสร้างขึ้นคลุมพื้นที่หลายเอเคอร์ใต้ทะเล เเละใช้ยางรถยนต์เก่า 1,500 ชิ้น เหยือกน้ำพลาสติก 2,000 เหยือกที่คลุมด้วยตาข่าย ท่อพีวีซี 100 ท่อนเเละวัสดุชนิดอื่นๆ อีกหลายประเภทรวมทั้งแห โฟมเเละท่อนเหล็ก

นาย Streichenberger เชื่อว่า แนวปะการังเทียมที่เขาสร้างขึ้นจะช่วยกระตุ้นให้สาหร่ายทะเลสีน้ำตาลเติบโต กลายเป็นเเหล่งที่อยู่ของหอยเเมลงภู่เพื่อเก็บไปขาย และจะกลายเป็นเเหล่งที่อยู่ของสัตว์ทะเลทดแทนที่เสียหายไปเพราะมลพิษเเละการพัฒนา

นาย Streichenberger กล่าวกับหนังสือพิม์ Los Angeles Times ในปี 1996 ว่าวัสดุต่างๆ ที่ใช้ไม่เป็นอันตราย จะไม่มีผลกระทบใดๆ เเละจะมีผลดีต่อปลา เพราะปลาจะมีที่แหล่งอาศัยใหม่

แต่คณะกรรมการชายฝั่งทะเลเเคลิฟอร์เนียชี้ว่า การวิจัยของนาย Streichenberger ผิดพลาดอย่างมาก

ทีมนักวิจัยของรัฐแคลิฟอร์เนียพบว่า ยางรถยนต์มีสารเคมีที่เป็นพิษเเละเป็นวัสดุที่น้ำหนักไม่มากพอที่จะลงไปอยู่ใต้พื้นทะเล เเละเตือนว่าเชือกและตาข่ายอาจกลายเป็นกับดักแก่ปลากับสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม

Jack Ainsworth ผู้อำนวยการบริหารของคณะกรรมการ กล่าวว่าไ ม่น่าเชื่อว่าเคยมีคนที่คิดว่าการสร้างเเนวปะการังเทียมจากวัสดุเหล่านี้เป็นความคิดที่ดี มาถึงตอนนี้ เรารู้ดีว่าพลาสติกเป็นพิษเเก่ทะเล เพราะสร้างมลพิษกับห่วงโซ่อาหารในทุกระดับ

นอกจากนี้ นาย Streichenberger ยังไม่ได้ขอในอนุญาตจากคณะกรรมการนี้ในการสร้างเเนวปะการังเทียมอีกด้วย ทางคณะกรรมการได้ปฏิเสธไม่ต่อใบอนุญาตดำเนินการเเก่สมาคมของเขาในปี 1997และสั่งปิดสมาคมในที่สุด

นาย Streichenberger และสมาคม Marine Forests Society ที่ตอนนี้ได้ปิดตัวไปแล้ว ได้ฟ้องร้องต่อศาลเพื่อคัดค้านอำนาจของคณะกรรมการ เเละในปี 2005 ศาลสูงสุดของเเคลิฟอร์เนียกลับคำตัดสินของศาลอุทรณ์ เเละตัดสินให้คณะกรรมการชายฝั่งทะเลแคลิฟอร์เนียชนะคดี

นาย Streichenberger ได้เสียชีวิตในปีต่อมาตอนอายุ 77 ปี ในช่วงหลายปีต่อจากนั้น ทางคณะกรรมการชายฝั่งทะเลแคลิฟอร์เนียเเละกระทรวงปลาเเละสัตว์ป่าเเห่งสหรัฐฯ คอยเฝ้าตรวจดูเเนวปะการังเทียม นาย Streichenberger ได้สร้างขึ้น

ทางคณะกรรมการชี้ว่า ทีมนักประดาน้ำที่ลงไปตรวจดูเเนวปะการังใต้ทะเลพบว่าไม่มีระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์อย่างที่คิด พวกเขาพบว่ายางรถยนต์เเละขยะอื่นๆ กระจัดกระจายอยู่ใต้พื้นทะเลเนื่องจากถูกกระเเสน้ำพัดและไม่เป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์ทะเลแต่อย่างใด

Kirsten Gilardi รองผู้อำนวยการที่ภาควิชาศูนย์สุขภาพสัตว์ป่า มหาวิทยาลัยเเคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเดวิส ที่มีส่วนร่วมในการเก็บขยะจากเเนวปะการังเทียม กล่าวว่า ไม่พบสาหร่ายทะเลสีน้ำตาลเติบโตในจุดดังกล่าวเลย แต่พบปลาไม่กี่ชนิดอาศัยอยู่เท่านั้น ไม่มีความหลากหลายทางระบบนิเวศน์ และความหนาเเน่นของประชากรสัตว์ทะเลอย่างที่พบตามแนวปะการังหินธรรมชาตินอกชายฝั่งเเคลิฟอร์เนียทางใต้

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทางคณะกรรมการชายฝั่งทะเลเเคลิฟอร์เนียสามารถหาเงินทุนมาจ่ายค่าทำความสะอาดขยะจากเเนวปะการังเทียมนี้จากการเก็บค่าธรรมเนียมโครงการใต้น้ำอีกโครงการหนึ่งที่ Hermosa Beach

เเละตั้งเเต่นั้นมา ทีมนักประดาน้ำได้เก็บกู้ยางรถยนต์จากใต้ทะเลถึงวันละ 100 ชิ้น

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

http://rferl.c.goolara.net/Click.aspx?id=166098351208318772

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.