Posted: 19 Oct 2017 05:25 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)
เยี่ยมยุทธ สุทธิฉายา สัมภาษณ์และเรียบเรียง
เล่าการเมื องการปกครองของประเทศที่มีกษั ตริย์แต่ไม่ใช่รัฐเดี่ยว บทเรี ยนที่ไทยควรถอดจากการประท้วงอย่ างมีวุฒิภาวะและไม่ติดอาวุธ ดราม่าประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์เบนโฟกัสความต้องการด้ านเศรษฐกิจและสังคม มุมมองพลเมืองต่อสถาบั นพระมหากษัตริย์สเปน นัยของเทรนด์เอกราชผ่านประชามติ ในยุคโซเชียลมีเดีย
ขอบคุณภาพต้นฉบับจาก iLaw
ผ่านมาจะสามสัปดาห์แล้วหลังแคว้ นกาตาลุญญาจัดทำประชามติว่ าจะแยกตัวออกจากราชอาณาจั กรสเปนหรือไม่ และหนึ่งสัปดาห์หลังประธานาธิ บดีแคว้น การ์เลส ปุกเดมอนด์และเหล่าผู้นำแคว้ นลงนามในคำประกาศเอกราช แต่ยังยั้งมือประกาศเลื่อนการบั งคับใช้ออกไปอีกเพื่อเปิดให้รั ฐบาลกลางสเปนทำการเจรจา ในขณะที่รัฐบาลสเปนก็ถื ออำนาจการรวบอำนาจการปกครองของแ คว้นให้มาอยู่กับรั ฐบาลกลางในกรณีที่รัฐบาลท้องถิ่ นไม่สามารถทำหน้าที่ที่ต้ องทำได้ตามอำนาจในมาตราที่ 155 แห่งรัฐธรรมนูญสเปน
ท่ามกลางสถานการณ์ที่แหลมคมนี้ ยังถูกทำให้ระอุขึ้นอีกเมื่ อทางการสเปนจับตัวฆอร์ดี กุยซาร์ท และฆอร์ดี ซานเชซ สองแกนนำเคลื่ อนไหวประกาศเอกราชในข้อหายุ ยงปลุกปั่น ทำให้พลเมืองออกมาชุมนุมอย่างสั นติบนท้องถนนหน้าอาคารรั ฐบาลในเมืองบาร์เซโลนาเพื่อเรี ยกร้องให้ปล่อยตัวแกนนำทั้งสอง และล่าสุดยังมีข่าวว่ารั ฐบาลสเปนเตรียมตัวที่จะใช้ อำนาจตามมาตรา 155 ในวันเสาร์ที่จะถึง หลังปุกเดมอนด์ยังไม่ยืนยันว่ าจะหยุดประกาศเอกราชในวันนี้ซึ่ งเป็นเส้นตายที่รัฐบาลมาดริดขี ดเอาไว้ การยื้อยุดฉุดกระชากกันระหว่ างรัฐบาลกลางกับแคว้นกาตาลุ ญญายังคงมองหาตอนจบไม่ เจอจนจะเรียกได้ว่าเป็นหนังชีวิ ตที่ต้องดูกันยาวๆ
ประชาไทคุยกับ ผศ.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในฐานะผู้ ที่กำลังศึกษาปริ ญญาเอกสาขากฎหมายและการเมือง ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบาร์เซโลนาเพื่ อทำความเข้าใจภาพรวมการเมื องการปกครองสเปน การเมืองเรื่องแคว้น ทัศนคติของชาวสเปนต่อสถาบั นพระมหากษัตริย์ สิ่งที่ควรให้ความสนใจ และที่สำคัญคือบทเรียนที่ คนไทยควรถอดออกมาจากการเผชิญหน้ า มากไปกว่าการเสพดราม่าเรื่ องประวัติศาสตร์บาดแผล ชาติพันธุ์ และทีมมนุษย์ต่างดาวอย่างบาร์ เซโลนาจะไปรุกรานลีกไหน
ประชาไท: กาตาลุญญาเป็นบทเรี ยนอะไรให้กับเมืองไทยได้บ้าง
ทศพล: ถ้าเป็นกาตาลุญญาเมื่อ 4 ปีที่แล้วจะเป็นประโยชน์มากๆ คือมันมีลักษณะของความมีวุฒิ ภาวะของคนในสังคมว่า เรื่องที่แหลมคมมากๆ ขนาดถึงขั้นแบ่งแยกดินแดน แต่สิ่งที่เกิดคือเขาสามารถพู ดได้ในที่สาธารณะ เอามากองกันได้เลยว่า ถ้าแยกแล้วจะยังไง ถ้ายังอยู่ร่วมกันดียังไง มีกี่ทางเลือกในการเดิ นไปในอนาคต ไม่ใช่ว่าพอแค่ตั้งต้นจะพูด ทุกคนก็บอกว่าอย่าพูด คืออย่าพูดมันไม่ดี เพราะเราตั้งต้นด้วยการไม่ยอมรั บอนาคตแล้ว เราจะรอให้วันหนึ่งมันวิกฤติแล้ วค่อยมาคิดซึ่งมันไม่ทัน กระบวนการทางการเมืองที่ต้ องรองรับการเปลี่ยนแปลงมันต้ องวางแผน คุณจะสร้างองค์กรอะไร เรื่องการเงินจะทำยังไง แบ่งอำนาจจะทำยังไง ถ้าไม่มีการพูดในที่สาธารณะมั นเตรียมไม่ทัน การที่เขาเปิดพื้นที่ให้พูดยอ่ างเสรีมันดีมาก แต่ถามว่าผ่านไป 4 ปี มันเริ่มเป็นเกมการเมือง ซึ่งการเมืองเขาก็อาจจะเก๋ากว่ าเราด้วยซ้ำ ตอนนี้มันเป็นประเด็นแหลมคมแต่ พูดกันตรงๆ ไม่ได้เสียแล้ว มีความพยายามทั้งของรั ฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่ นในการเล่นเกมสองแบบ รัฐบาลกลางก็พยายามสืบให้รู้ให้ หมด ไม่ว่าจะเป็นการดักฟังเอย การบุกเข้าสำนักงานหรือสภาเอย จะไปปิดอินเทอร์เน็ต ที่กาตาลุญญาเขาจะมีการจดทะเบี ยนเน็ตเป็น .cat ก็ถูกปิดไป มันเริ่มเป็นเกมของการคุกคามกั นจากรัฐบาลกลาง ซึ่งเป็นบทเรียนได้ว่าไม่ ควรทำอย่างนี้ เพราะมันจะเกิดการโต้กลับจากรั ฐบาลท้องถิ่นหรือประชาชนท้องถิ่ นด้วยการเล่นเกมการตกเป็นเหยื่อ ซึ่งมีความชอบธรรมในระดับหนึ่ งเพราะอ้างได้ว่าถูกละเมิดสิทธิ มนุษยชน ความเป็นส่วนตัว การจับกุมโดยไม่มีหมายหรือสกั ดเสรีภาพในการแสดงออก ทำให้มีองค์การระหว่ างประเทศสามารถมีจุดยืนในเรื่ องนี้ได้ แม้แต่ผู้ตรวจการสิทธิเสรี ภาพในการแสดงออกก็มีถ้อยแถลงว่า สิ่งที่รัฐบาลกลางสเปนทำอยู่มั นละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือการจับกุม ควบคุมมวลชน การจลาจลก็มีการใช้ความรุ นแรงเกินกว่าเหตุ การละเมิดสิทธิมนุษยชนมันทำให้ ประเด็นภายในกลายเป็นประเด็ นระหว่างประเทศ
อีกบทเรียนหนึ่งคือการไม่ติ ดอาวุธ ไม่ว่าการชุมนุมของคนนิยมสเปน หรือการชุมนุมคนนิยมกาตาลันไม่ มีคนติดอาวุธ ไม่มีความพยายามสร้างสถานการณ์ รุนแรง ความรุนแรงที่มีชัดเจนก็มีแค่ จากตำรวจปราบฝูงชนจากรั ฐบาลสเปนที่ใช้กระสุนยาง ทำให้คนบาดเจ็บหลายร้อยคนมันชั ดเจนว่าประชาชนไม่ได้เพิ่ มความรุนแรงเข้าไปให้มีการสู ญเสียเลือดเนื้อ แกนนำหรือผู้ผลักดันการชุมนุ มไม่ได้ทำให้สถานการณ์มันล่ อแหลมหรือเกิดการสูญเสียเพื่ อเอาชนะทางการเมือง
โครงสร้างการปกครองพื้ นฐานสเปนเป็นอย่างไร
ก่อนอื่นรัฐธรรมนูญสเปนที่ใช้ปั จจุบันรากฐานมาจากการล่ มสลายของระบอบเผด็จการฟรั งโกในปี 1975 สาระสำคัญและยากที่สุดคือประเด็ นนี้ เขาใช้เวลาปี 1977-1978 เพื่อคุยกันในเรื่ องการออกแบบการปกครองส่วนท้องถิ่ นหรือการปกครองตนเองอย่างไร มีตัวแทนแคว้นต่างๆ มาเจรจากันนานมาก แต่ผลสุดท้ายกลายเป็นการให้พื้ นที่การตีความและรณรงค์ ทางการเมืองมาก่อนตัวกฎหมายที่ เป็นรัฐธรรมนูญจริงๆ คือไม่ได้เขียนชัดว่าจะต้ องออกแบบอย่างนี้ๆ ถ้าเราเป็นคนไทยจะจินตนาการกลั บกันเลย ของเราจะรวมกันอยู่ที่ศูนย์กลาง ออกมาจากกรุงเทพฯ แล้วค่อยร่างกฎหมายพระราชบัญญั ติ (พ.ร.บ.) แล้วค่อยสร้างอะไรที่เป็นท้องถิ่ น แต่ของเขาจะกลับกัน รัฐธรรมนูญบอกว่าแคว้นต่างๆ หรือเขตปกครองตนเองในระดับท้ องถิ่น ให้ไปสร้างธรรมนูญสำหรับท้องถิ่ นที่จะบอกว่าคุณจะมี อำนาจปกครองตนเองอย่างไรบ้างเท่ าที่ไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ คือไม่ได้ออกแบบให้แต่ให้คุ ณไปออกแบบเองเท่าที่ไม่ขัดกับรั ฐธรรมนูญ ความยากมันอยู่ตรงนี้ และเป็นสาเหตุว่ าทำไมเขาทำประชามติกันบ่อยๆ ในระดับท้องถิ่นเพราะมันมี ความเชื่อมโยงอยู่สองระดับ ในรัฐธรรมนูญบอกว่า เรื่องสำคัญๆ แคว้นสามารถทำประชามติเพื่ อบอกว่าเราต้องการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงโครงสร้างการปกครองท้ องถิ่น ถ้าคะแนนท่วมท้นหรือมีเห็นชั ดเจนว่ามีความต้องการอย่างนั้น ก็ไปสู่ขั้นต่อไปคือการร่ างธรรมนูญท้องถิ่น เมื่อร่างเนื้อหาได้แล้วก็ ทำประชามติรับรอง แต่ยังไม่จบแค่นี้ ตัวธรรมนูญท้องถิ่นที่อาจจะเป็ นระบบการปกครองท้องถิ่น ระบบการออกกฎหมาย การจัดเก็บรายได้ ออกแบบบริการสาธารณะ มันต้องถูกตรวจสอบโดยรั ฐบาลกลางหรือรัฐบาลแห่งชาติอี กรอบว่าจะขัดรัฐธรรมนูญกลางหรื อเปล่า เลยเกิดปัญหาที่กาตาลุญญ่ามีอยู่ ตอนนี้เพราะคนก็ไปยื่นว่ าการทำประชามติขัดกับรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญก็ตีความว่าขัด ระบบตรวจสอบก็จะเป็นศาลรั ฐธรรมนูญและเข้ารั ฐสภากลางของสเปนเพื่อบังคับใช้ หรือลงนามรับรอง แต่คนที่ตั้งต้นคือเป็นท้องถิ่น
แต่ละแคว้นต่างกั นไปเพราะกฎหมายไม่เหมือนกันใช่ ไหม
ใช่ เลยเป็นประเด็นที่ถกเถี ยงทางกฎหมายการปกครอง กฎหมายมหาชนและการเมื องสเปนมากว่าเราควรจะปรับปรุงรู ปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ ละแคว้นให้มาสมมาตรทุกแคว้นไหม ไม่ใช่ว่าจะทำอะไรก็ออกกฎหมายกั นมาเอง เลยเป็นปัญหาว่ากาตาลุญญ่ าจะแยกดินแดน มีรัฐธรรมนูญที่มีรายละเอี ยดเยอะ เพิ่มอำนาจท้องถิ่น ลดอำนาจแทรกแซงจากรัฐบาลกลางเป็ นประเด็นที่แหลมคมและรั ฐบาลกลางก็กังวลมาก เพราะว่าถ้าสุดท้ายกาตาลุญญาไม่ ถึงกับแยกดินแดน สมมติว่าต่อรองจนเป็นธรรมนู ญปกครองตนเองที่ให้อำนาจท้องถิ่ นเยอะและจำกัดอำนาจส่วนกลางก็ จะเป็นต้นแบบให้แคว้นอื่นเลี ยนแบบหรือเปล่า ที่เขากังวลก็เช่นแคว้นบาสก์หรื อกาลิเซีย กลัวว่าแคว้นดังกล่ าวจะเอาตามหรือเปล่า
เท่าที่ฟังมาเหมือนเป็นสหพันธรั ฐมากกว่ารัฐเดี่ยว
ก็เขาเป็นสหพันธรัฐ ผมก็ตกใจกับความเข้าใจผิ ดในงานบทความของหลายคนที่บอกว่ าสเปนเป็นรัฐเดี่ยว ห้ามแบ่งแยก คือสเปนเป็นราชอาณาจักรก็จริ งแต่ว่าตอนปี 1978 สเปนถูกออกแบบมาในลักษณะกึ่ งสหพันธรัฐ อย่าไปดูฝรั่งเศส อังกฤษ มันจะไปคล้ายสหรัฐฯ มากกว่า
เป็นความเข้าใจที่อาจจะผิ ดพลาดกันแต่มันก็เข้าใจได้ เพราะเวลาเราเรียนรัฐศาสตร์ วิชากฎหมาย การปกครองเบื้องต้นเราจะคิดกั นว่าถ้าเมื่อไหร่เป็ นระบบราชอาณาจักร มีกษัตริย์มันจะเป็นรัฐเดี่ยว แต่จริงๆ ระบอบกษัตริย์สเปนก็หายไปในช่ วงเผด็จการทหารฟรังโก
ซ้ายไปขวา: นายพลฟรานซิสโก ฟรังโก เจ้าชายฆวน คาร์ลอส แรกเริ่มเดิมทีฟรังโกหมายมั่นปั้ นมือให้ฆวน คาร์ลอสสืบทอดอำนาจต่อจากตน (ที่มา: Gettyimage/Hulton Royal Collection)
แคว้นกาตาลุญญามีอิสรภาพอะไรบ้ าง
ทำได้สองอย่าง หนึ่งอำนาจในทางนิติบัญญัติ สอง อำนาจบริหารปกครอง ที่ทำไม่ได้คืออำนาจในการตัดสิ นคดีความทางกฎหมาย ก็ไล่ลำดับไป ส่วนเรื่องที่เป็นปัญหาที่ กาตาลุญญ่าต้องการคือการจัดเก็ บภาษีที่ถูกกฎหมายที่ออกมาเมื่ อปี 2011 ช่วงที่มีวิกฤติการเงิน ทำให้มีกฎหมายเรื่องภาษี และการเงินของสเปนออกมาเพื่ อจำกัดหรือลดอำนาจของรัฐบาลท้ องถิ่น ทำให้รัฐบาลกลางมีอำนาจในการจั ดเก็บภาษี ควบคุมวินัยทางการเงิน การใช้จ่ายงบประมาณ ซึ่งมันไปลดอำนาจของรัฐบาลท้ องถิ่น ซึ่งผมมองว่าจริงๆ แล้วมันคือแก่นที่ทำให้กาตาลุ ญญ่ารู้สึกอึดอัดและไม่อยากอยู่ กับสเปน การชูธงเรื่องชาตินิยม ประวัติศาสตร์การตกเป็นเหยื่ อของสเปนผมว่ามันเป็นสีสันเพื่ อรวมคนมาสู่ท้องถนน แต่ชนชั้นนำ นายทุนที่เขามียุทธศาสตร์ ในการแบ่งแยกดินแดนหรือลดนาจรั ฐบาลกลาง เพิ่มอำนาจรัฐบาลท้องถิ่ นเขามองเรื่องอิ สรภาพในทางการเงินและการคลัง
แล้วก่อนหน้านี้กาตาลุญญามีอิ สรภาพมากเท่าไหร่
มีมากกว่านี้แต่ไม่ถึงร้อยเปอร์ เซ็นต์ ผมมองว่าเป็นแทคติคที่เล่นกั นอยู่แล้วในเรื่องรัฐบาลกลางกั บรัฐบาลท้องถิ่น คนสเปนในแคว้นกาตาลุญญาก็บอกว่ าเขาก็เล่นอย่างนี้้ ตลอดเพราะอยากได้ภาษีเพิ่ม เขาก็ออกมาตำหนิแคว้นหนึ่งที่ เป็นกรณีปัญหาว่าทำไมกาตาลุ ญญาอยากได้อิสรภาพทางการเงิน คือแคว้นบาสก์ เขาได้บทบัญญัติเพิ่มเติมในรั ฐธรรมนูญให้มีอิสรภาพการจัดเก็ บภาษีและงบประมาณสูงมาก เพราะเป็นแคว้นลักษณะฝ่ายซ้าย คือมีสังคมนิยมสวัสดิการ คนที่อยู่ที่นั่นจะรู้เลยว่าถ้ าตกงานได้นู่นนี่นั่น สาเหตุเพราะว่าเขามีระบบจัดเก็ บภาษีของเขาเอง ก็มีแคว้นบาสก์และนาวาร์ราที่ อยู่ติดกันใช้ระบบนี้ สาเหตุเป็นเพราะที่มาทางประวัติ ศาสตร์การเมืองของเขา แต่กาตาลุญญาไม่ได้
อะไรที่ทำให้แต่ละแคว้นมีอิ สรภาพไม่เท่ากัน
เป็นความน่าสนใจของประวัติ ศาสตร์การเมืองและรัฐธรรมนู ญสเปนว่า ในรัฐธรรมนูญสเปนจะมีบทบัญญัติ เพิ่มเติมบทหนึ่งโดยอ้างประวัติ ศาสตร์การเมืองจำนวนมากที่ระบุ ว่า ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ ทำให้สองแคว้นดังกล่าวได้สิทธิ์ นี้ไป เรื่องประวัติศาสตร์การเมืองที่ เกี่ยวข้องต้องย้อนไปตั้งแต่ ศตวรรษที่ 19 เลย เรื่องจำพวกการปฏิวัติฝ่ายซ้าย จะเห็นว่าบาสก์และกาตาลุญญาเป็ นสองแคว้นที่ปฏิวัติอุ ตสาหกรรมสำเร็จ มีชนชั้นกลางมีชนชั้นแรงงาน มีนายทุน มีโรงงาน สถานประกอบการ มีปัจจัยครบ สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคื อสหภาพเพื่อเคลื่อนไหวทางการเมื องให้มีรัฐสวัสดิการ เป็นสังคมนิยม แต่กาตาลุญญาไม่ได้ทำไปในทิ ศทางที่บาสก์ทำก็เลยแตกต่างกั นตรงนี้
อยากให้อธิบายเรื่องก้ าวกระโดดทางเศรษฐกิจในปี 1960-1970 ของกาตาลุญญาที่อาจารย์เคยบอกว่ าเกี่ยวกับการแยกตัวกับอัตลั กษณ์ความเป็นกาตาลัน
เป็นผลสืบเนื่องหลังจากที่ นายพลฟรังโกชนะ 1936-1939 ฟรังโกเป็นฝ่ายฟาสซิสต์ ได้รับการสนับสนุนจากนาซีหรือฮิ ตเลอร์ การทำสงครามก็อยู่ฝ่ายฮิตเลอร์ ตอนนั้นที่กาตาลุญญาโดนบอมบ์ เขาก็บอกว่าระเบิดที่เอามาบอมบ์ คือระเบิดจากนาซี ใช้กาตาลุญญาเป็นที่ทดลองอาวุ ธก่อนที่จะเข้าสงครามโลกครั้งที่ สอง ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไม่มีกั บประเทศอื่น หรือกลุ่มการเมืองอื่นที่เป็นฝ่ ายซ้ายและฝ่ายประชาธิปไตยอยู่ แล้ว แต่พอฟาสซิสต์แพ้มันก็เหมือนคุ ณอยู่ตัวคนเดียวในยุโรป เขาปิดล้อมตัวเอง คือเหมือนปิดประเทศ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับคนอื่ นก็น้อย โดยเฉพาะกาตาลุญญาที่มีศั กยภาพในการสร้างความสัมพันธ์ ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศก็ถู กปิดล้อม โดนควบคุมอย่างหนัก มันทำให้เกิดภาวะอดอยาก ข้าวยากหมากแพง
ถามว่าทำไมมันก้าวกระโดด มันก็เหมือนกับตอนจีนปิ ดประเทศหลังมีการปฏิวัติ พอมาถึงจุดหนึ่งเขาก็ตระหนักว่ าไม่สามารถปฏิเสธระบบตลาดโลกหรื อการเชื่อมโยงกับสหภาพยุโรปได้ เขาก็ค่อยๆ เปิด ช่วง 1950 มาก็เปิด แล้วมาสุกงอมในปี 1970-1980 อย่างที่บอกว่ากาตาลุญญามี ความพร้อมและความต้องการอยู่แล้ วในการเชื่อมตลาดภายในเข้าสู่ ตลาดระหว่างประเทศกับภูมิภาคยุ โรปและเมดิเตอร์เรเนียน ทำให้พื้นที่นี้บูมกว่าที่อื่ นในสเปนที่อาจจะพึ่งพิงการเกษตร เลี้ยงสัตว์ งานฝีมือ แต่ก็ไม่ใช่พร้อมที่จะทำอุ ตสาหกรรมหรือการพาณิชย์ ทำให้บาร์เซโลนาและกาตาลุ ญญาโตไวมาก พอโตไวมากมันก็ดูดแรงงานหรื อคนที่อยากเปลี่ยนแปลงชีวิตตั วเองมาเยอะมาก เรียกว่าเกิด Great Immigration มีคนเข้ามามากมาย
แล้วถ้าคุณอยู่ในกาตาลุญญาหรื อมีเพื่อนที่นั่น มันก็เหมือนกรุงเทพฯ คือมันเกิดความเป็นเมือง ถ้าไปถามว่าใครเป็นคนกรุงเทพฯ ก็คงจะตอบยาก ที่นั่นก็เหมือนกัน ไปถามว่าใครเป็นคนบาร์เซโลน่า เกิดและโตมาเกินสองรุ่นก็เป็นปั ญหาแล้ว อาจจะเป็นพ่อแม่หรือตายายที่ย้ ายมาจากที่อื่น เราเลยไม่สามารถบอกได้ว่าคนเหล่ านี้มีความเป็นกาตาลั นเพราะเขาไมไ่ด้เกิดและเติบโตที่ นี่ หรือไม่ได้มีสำนึกว่ามีความเป็ นกาตาลันในสายเลือด
เทรนด์แยกประเทศแบบนี้ต่ างจากสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ สองที่จับปืนเรียกร้องเอกราช คิดว่ามีนัยสำคัญอะไรไหม
ถ้าสายที่ผมทำมาคือสายเทคโนโลยี สื่อสาร เขาบอกชัดเจนตั้งแต่เหตุการณ์ อาหรับสปริง ที่ความขัดแย้งมันลงสู่มวลชนหรื อประชาชนระดับปัจเจกเป็นเพราะว่ า ความขัดแย้งทางการเมืองไม่ใช่ เรื่องของชนชั้นนำ แกนนำ การเคลื่อนไหวของพรรคการเมืองอี กต่อไปแล้ว แต่มันเป็นปัจเจกที่เข้าไปเชื่ อมโยงกับระบบสื่อสารทางการเมื องผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค ในงานเขาเองในประเทศเขาบอกว่ าโซเชียลเน็ตเวิร์คนี่แหละที่ ทำให้คนลงสู่ท้องถนน คนก็เข้ามามีความฝัน โครงการที่จะเปลี่ยนประเทศหรื อแยกดินแดนผ่านการสื่ อสารทางการเมืองบนโซเชียลเน็ ตเวิร์ค แล้วก็ออกมาในรูปของประชามติ นี่คือสิ่งที่ชนชั้นนำทางการเมื องต้องการมาตลอด คือต้องการมวลชนที่มี ความปรารถนาอย่างรุนแรง อินกับการเมืองมากๆ ซึ่งโซเชียลเน็ตเวิร์คก็เป็ นเครื่องมืออยู่แล้ว แล้วก็มีนัยการเล่นอีกอย่างคื อใช้ความเป็นกาตาลัน ใช้ภาษากาตาลันเป็นสื่อกลาง แต่คนที่รู้ภาษากาตาลัน พูดและอ่านได้ไม่ใช่แค่คนกาตาลั นเท่านั้น มันคือคนที่มาจากที่อื่นแล้ วมาอยู่ที่แคว้นนี้
ทศพลที่เคยไปเรียนปริญญาเอกที่ บาร์เซโลนากล่าวถึงลั กษณะของภาษากาตาลันว่า ภาษากาตาลันค่อนข้างจะเหมื อนภาษาละตินโบราณบวกภาษาโปรตุกี ส ในขณะที่สเปนจะคล้ายภาษาอิตาลี บวกกับภาษาอาหรับ
มีเสียงวิจารณ์จำพวกที่ว่า “ให้เสรีภาพมากไปจนจะแยกแผ่นดิ นอยู่แล้ว” บ้างไหม
วิธีพูดแบบอนุรักษ์นิยมที่บอกว่ าให้เสรีภาพมากไปจนเกิ ดการทะเลาะน่าจะเป็ นวาทกรรมแบบประเทศไทยมากกว่า ยุโรปเขาเลยไปกว่านั้นมากแล้ว เขามีแต่ว่า คุณแสดงความเห็นรุนแรงอย่างนี้ แพสชั่นมากอย่างนี้ แล้วคุณไม่ยอมให้คนอื่นพูดในที่ สาธารณะมันไปตัดสิทธิ์คนอื่นหรื อเปล่า พาราดาม ของยุโรปกับประเทศที่พัฒนามันต่ างกัน ของเราอนุรักษ์นิยมมีอิทธิ พลในการพูด แต่ของเขาเสรีนิยมมี อำนาจในการพูด พูดเยอะจนคนส่วนน้อยรู้สึกว่ าไม่ได้พูด กลายเป็นพูดอยู่ด้านเดียวด้ วยอารมณ์รุนแรง คุกคามความเป็นส่วนตัวหรือจุดยื นของเรามากจนคิดว่าเป็นฟาสซิสต์ หรือเปล่าวะ มาปิดปากเรา เขาจะพูดอย่างนี้มากกว่า
ก่อนจะมาจุดนี้สื่อสารกันมาอย่ างไร น่าสนใจเพราะบ้านเราดูยังไปไม่ ถึงขนาดนั้น
ผมคิดว่าเป็นบทเรี ยนของเขาจากสงครามโลกครั้งที่ สอง อะไรที่คาใจเขาที่สุด เป็นดินแดนที่เขาจะไม่เดินกลั บไปมากที่สุดคือความเป็นขวาจัด ซึ่งเอันนี้เชื่อมกับอี กปรากฏการณ์หนึ่งที่ คนไทยเวลาเข้าไปเสพเรื่องผู้ อพยพในยุโรปแล้วก็เชียร์ว่า นี่ไง เพราะผู้อพยพเข้าไปในยุ โรปมากเกินไปฝ่ายขวาเลยมาแรง ที่จริงในยุโรปมันเหมือนจะมา เป็นข่าวฮาเฮ แต่ก็ไม่เห็นใครชนะจริงจั งเพราะสิ่งที่เขารับไม่ได้ในยุ โรปที่สุดคือขวาจัด ซึ่งต่างจากเรา ของเรามีแต่ขวาจัดกับขวากลาง
จากประสบการณ์ที่เคยไปอยู่ คนที่นั่นมีทัศนคติต่อกษัตริย์ สเปนอย่างไร
ถ้าพูดตรงๆ ผมไม่เคยเห็นรูปหรือรูปปั้ นของอดีตกษัตริย์ ฆวน คาร์ลอสเลยตลอด 4 ปี กษัตริย์เฟลิเปไม่เคยเห็นรูป มากสุดเคยดูถ่ายทอดสวันชาติสเปน ก็มีริ้วขบวนของทหารกองเกียรติ ยศแล้วเห็นเขามาตรวจสวนสนาม เห็นจากทีวีช่องของประเทศ แต่ช่องท้องถิ่นก็ไม่ได้ถ่ายทอด มีมากกว่านั้นก็หนังสือพิมพ์เขี ยนการ์ตูนล้อเลียนตลอดเวลา แล้วก็ให้ข้อมูลว่า เปลืองหรือเปล่าที่ประเทศเรามี สถาบันพระมหากษัตริย์
เคยคุยกับคนที่นั่นไหม เรื่องความคิดความอ่านเกี่ยวกั บสถาบันพระมหากษัตริย์
มันเหมือนเขาก็พูดแบบสบายๆ ไม่ได้มีวิธีพูดระมัดระวั งแบบเรา ก็เล่าไปถึงเรื่องส่วนตัวบ้าง ถ้าพูดเรื่องสถาบันกษัตริย์ ประเด็นหนึ่งที่ชัดก็คือ มีคดีที่น้องสาวของกษัตริย์เฟลิ เป ที่สามีของเจ้าหญิงไปพัวพันกั บนักฟอกเงินในแคว้นกาตาลุญญา ทำให้เจ้าหญิงตกเป็นผู้ต้องสงสั ย ถูกกล่าวหาและฟ้องศาล เขาก็เล่นข่าวได้เต็มที่ว่า ไปยุ่งเกี่ยวกับมาเฟียหรือเปล่า เข้าไปรับรู้เกี่ยวกับเรื่ องการฟอกเงินหรือกิจกรรมผิ ดกฎหมาย เลี่ยงภาษีหรือเปล่า
แล้วธรรมนู ญการปกครองตนเองของแคว้นกาตาลุ ญญาที่ถูกปัดตกไปเมื่อปี 2006 เป็นมาอย่างไร
เรื่องนี้ถูกตั้งขึ้ นมาโดยกาตาลุญญา ซึ่งสิ่งที่กาตาลุญญาส่งขึ้ นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความมั นตกไป เพราะเขาตีความว่ามีหลายส่วนที่ ไปก้าวก่ายอำนาจของรัฐบาลกลาง เอกสารตัวนี้มันไปตีกรอบว่ารั ฐบาลกลางมีอำนาจอะไรได้บ้าง เขาก็บอกว่าแบบนี้ไม่ได้ มันล้ำเส้น ส่วนที่สอง อัตลักษณ์ของชาติ ถ้าประเทศไทยเราพูดเรื่องชาติ ศาสน์ กษัตริย์ แต่รัฐธรรมนูญสเปนมาตรา 2 เขียนไว้ว่า อัตลักษณ์ของชาติคือ Autonomy Unity Solidarity เขาบอกว่าการที่กาตาลุญญาเขี ยนว่ากาตาลุญญาคือชาติ ศาลรัฐธรรมนูญก็เลยตีความไม่ได้ ตั้งแต่บทเกริ่นแล้ว เพราะรัฐธรรมนูญของสเปนก็เขี ยนไว้แล้วว่าทั้งหมดต้องเป็นดิ นแดนของคนสเปนทั้งหมดอยู่อาศัย เคลื่อนย้ายถ่ายเทเดินทางได้อย่ างสะดวก แต่ประกาศความเป็นกาตาลั นมาแบบนี้ก็ทำให้ตกไปในส่วนนั้น แต่ก็ไม่ได้ปัดตกทั้งเล่ม ปัดตกแค่บางส่วน
ฉบับ 2010 เริ่มเดินประท้วง ถ้าเอามาวางแล้วมันชัดเจนคือเป็ นเรื่องตังค์ เพราะ 2010 เริ่มคุยแล้วว่าจะจำกัดอำนาจเรื่ องการเงิน แล้วพอปี 2011 กฎหมายจากรัฐบาลกลางก็ออกมาเพื่ อจำกัดอำนาจทางการเงินของแคว้น ที่ผมอยากฝากจริงๆ คือ วิเคราะห์สถานการณ์ต้องมองให้ ทะลุให้เห็นว่าแก่นจริงๆ คืออะไรความต้องการที่แท้จริ งของเขาคืออะไร ผมว่าที่สุดแล้วการที่กาตาลุ ญญาผลักแรงขนาดนี้ ตามทฤษฎีการต่อรองมันก็บอกอยู่ เขาเรียกว่าการปลดอาวุธแล้วติ ดกลับคืนมา (Disarm-Rearm) คือคุณใส่ข้อต้องการเข้าไปมากๆ ให้เขาต่อรองลงมาในจุดที่คุณต้ องการ เหมือนซื้อของแล้วบอกผ่าน เพราะสิ่งที่เขาน่าจะต้องการคื อไปถึงจุดเดียวกับแคว้นบาสก์ คือมีอิสรภาพในทางการเงิ นและงบประมาณที่มากกว่าเดิม
คิดว่าคนที่ตามข่าวในไทยหลุ ดโฟกัสอะไรไหม
ผมมองว่าเราเป็นเรื่องดราม่ ามากไป เป็นเรื่องประวัติศาสตร์ความพ่ ายแพ้ ถูกกระทำ ต้องเห็นใจคนกาตาลัน แต่ตอนอยู่ที่นั่น ภาวะดราม่าแบบนั้นก็ไม่ใช่ เขาก็คุยกันแบบเป็นเหตุผล ยุทธศาสตร์ เขาคุยกันแบบทุกคนมีกลยุทธ์ มียุทธศาสตร์ตลอด อ่านเกมกันตลอด ใช่ มันมีอารมณ์ มีคนมาบนท้องถนน แต่ถามว่า เป้าหมายทางการเมืองหรือกลยุทธ์ ที่เขาเลือกใช้ต่างๆ น่าจะถอดออกมาให้เห็นชัดมากกว่า
วาระที่น่าติดตามคือ ตามรัฐธรรมนูญสเปนมีมาตรา 155 ที่บอกว่าถ้ารัฐบาลท้องถิ่นไม่ สามารถรักษากฎหมาย บังคับใช้กฎหมายได้ รัฐบาลกลางสามารถยกเลิ กการปกครองตนเองของแคว้นได้ คือเข้ามาปกครองโดยตรง ขั้นตอนตามมาตตรา 155 มันไปแล้ว นายกฯ ทำหนังสือส่งให้ประธานบริ หารแคว้นกาตาลุญญาแล้ว ก็เหลือแค่ประธานาธิบดีแคว้ นจะทำอย่างไร จะเดินหน้าแบ่งแยกดินแดน หรือจะหยุดเพื่อรักษารัฐธรรมนู ญและกฎหมายอื่นๆ เพราะถ้าไม่หยุดก็จะไปสุ่ขั้ นตอนถัดไป คือนายกฯ จะนำเรื่องเข้าสู่วุฒิ สภาของสเปนรับรองอำนาจ การเพิกถอนความเป็นแคว้ นตนเองของกาตาลุญญา แล้วปกครองโดยตรงจากรัฐบาลกลาง ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้น
ฟังเหมือนรัฐประหารมากเลย
มันก็ไม่รัฐประหารเพราะมั นมาโดยผลของรัฐธรรมนูญ ไม่เหมือนมาตรา 7 ของเราที่บอกกว้างๆ แต่ของเขาระบุขั้นตอนชัดเจนว่ าต้องทำอะไร ไม่มีภาวะสุญญากาศแม้แต่น้อย
ข้อมูลเพิ่มเติม
Spain to impose direct rule on Catalonia as deadline passes, The Guardian, October 19, 2017
Spain High Court jails Catalan separatist leaders pending investigation, The Guardian, October 17, 2017
หมายเหตุ: ประชาไทแก้ไขใจความประโยคจาก บทเรียนที่ คนไทยควรถอดจากการทำประชามติ เป็น บทเรียนที่ คนไทยควรถอดออกมาจากการเผชิญหน้ า เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2560 เวลา 22.58 น.
แสดงความคิดเห็น