Posted: 19 Oct 2017 04:16 AM PDT  (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)

คำต่อคำ: เปิดคำวินิจฉัยของพิศล พิรุณ ผู้พิพากษาเสียงข้างน้อย(8:1) คดียิ่งลักษณ์จำนำข้าว มีความเห็นยกฟ้อง เนื่องจากเห็นว่าการไม่ระงับโครงการจำนำข้าว ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และ พ.ร.บ.ประกอบ รธน. ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 123/1


แฟ้มภาพ

19 ต.ค. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 18 ต.ค. มติชนออนไลน์ ได้เผยแพร่ คำวินิจฉัยของ พิศล พิรุณ ผู้พิพากษาเสียงข้างน้อยในคดีหมายเลขดำที่ อม.22/2558 คดีหมายเลขแดงที่ อม.211/2560 ซึ่งอัยการสูงสุดเป็นโจทก์ฟ้อง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และ ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 123/1 จากกรณีไม่สั่งระงับยับยั้งโครงการรับจำนำข้าว

ทั้งนี้คดีดังกล่าวได้ศาลแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้อ่านคำพิพากษาไปเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2560 โดยมีมติ 8:1 พิพากษาให้ ให้จำคุก 5 ปี ยิ่งลักษณ์ ในคดีโครงการรับจำนำข้าว โดยมีความผิดในเรื่องระบายข้าว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการรับจำนำข้าว สำหรับคำวินิจฉัยของผู้พิพากษาเสียงข้างน้อยมีรายละเอียดทั้งหมด 13 หน้า ดังนี้

เรื่อง ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่รการ ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 23 สิงหาคม พุทธศักราช 2554 ถึงวันที่ 6 พฤษภาคม 2557 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรักษาการนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และเป็นเจ้าหนักงานตามกฎหมายมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 11 ในการกำกับ ดูแลและบังคับบัญชาให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกประเภทในฝ่ายบริหารปฏิบัติการให้เป็นไปตามนโยบายที่ฝ่ายบริหารกำหนดและรับผิดชอบนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่จำเลยแถลงต่อรัฐสภา ซึ่งมีนโยบายเร่งด่วนคือ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างแท้จริง กับยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุนด้วยโครงการรับจำนำข้าว อันมีจำเลยเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ(กขช.) ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2554 ที่จำเลยแถลงต่อรัฐสภา ถึงวันที่ พฤษภาคม 2557 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยปฏิบัติและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้หนึ่งผู้ใด ปฏิบัติและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต กล่าวคือ เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2554 คณะกรรมการนโยบายข้าวซึ่งมีจำเลยเป็นประธานกรรมการได้เสนอโครงการรับจำนำข้าวเปลือกให้คณะรัฐมนตรีทราบและเพื่อขออนุมัติงบประมาณอันมีสาระเงื่อนไขโดยย่อคือเป็นการรับจำนำข้าวเปลือกที่เกษตรกรปลูกเองในปีการผลิต 2554/55 ไม่จำกัดจำนวนความชื้นไม่เกิน 25 เปอร์เซ็นต์ ในราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 20,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 100 เปอร์เซ็นต์ ตันละ 15,000 บาท เกษตรกรที่นำข้าวเปลือกมาจำนำต้องมีหนังสือรับรอบจากกรมส่งเสริมการเกษตรว่าเป็นผู้ปลูกข้าวจริง การรับจำนำ องค์การคลังสินค้า (อคส.) องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อตก.) จะเป็นผู้รับสมัครโรงสี หรือตลาดกลางเพื่อเข้าร่วมโครงการรับฝากข้าวเปลือกที่นำมาจำนำแล้วให้ออกใบประทวนให้เกษตรกรนำไปจำนำแก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ซึ่งต้องจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้จำนำภายใน 3 วันทำการ เมื่อรับจำนำแล้วโรงสีหรือตลาดกลางที่รับฝากข้าวเปลือกต้องสีแปรรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสารเก็บไว้ในโกดังรอการระบายตามหลักเกณฑ์ต่อไป คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2554 วันที่ 7 ตุลาคม ปีเดียวกันหน่วยงานราชการก็รับเรื่องจำนำข้าวเปลืองตามโครงการ แต่ก่อนเริ่โครงการมีหลายหน่วยงานท้วงติงจำเลยแล้วคือ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2554 สำนักการตรวจเงินแผ่นดิน(ส.ต.ง) มีหนังสือด่วยที่สุดแจ้งให้ทราบว่าโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2548/49 และ2549/50 ที่ดำเนินไปก่อนแล้วมีปัญหาและเกิดความเสียหาย วันที่ 7 ตุลาคม 2554 ซึ่งเป็นวันเริ่มโครงการ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) มีหนังสือด่วนมาก ขอให้ทบทวนโครงการโดยแนบรายงานวิจัย “โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต” ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยมาเพื่อประกอบการพิจารณาพร้อมความเห็นควรยกเลิกโครงการแต่ใช้การประกันความเสี่ยงด้านราคาแทน เพราะโครงการรับจำนำข้าวเป็นการแทรกแซงตลาดข้าว รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายมาในการเก็บรักษาข้าวเปลือกที่รับจำนำ หากระบายไม่ทันข้าวก็จะเสื่อมสภาพ ทั้งมีปัญหาการทุจริตทุกขั้นตอน และวันที่ 27 เดือนเดียวกัน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ยังมีหนังสือชี้ให้เห็นปัญหาของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ในอดีตพร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไขอย่างละเอียด แต่จำเลยไม่ระงับโครงการ กลับดำเนินการต่อไปอีกห้าฤดูการผลิตจนถึงปี 2557 คือโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปีการผลิต 2555 โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56 (ครั้งที่1) โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56 (ครั้งที่2) และโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57 (ครั้งที่1) ซึ่งระหว่างดำเนินการมีหลายหน่วยงานทักท้วงว่า โครงการรับจำนำข้าวเปลือกประสบปัญหาและก่อให้เกิดความเสียหายอย่างต่อเนื่อง เช่น สำนักงานป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) มีหนังสือลงวันที่ 30 เมษายน 2555 แจ้งให้จำเลยทราบว่ามีการทุจริตเชิงนโยบายในโครงการรับจำนำข้าวอย่างมากพร้อมเสนอแนวทางป้องกันการทุจริต สำนักงบประมาณ มีหนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2555 ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพร้อมความเห็นว่า คระรัฐมนตรีควรรับฟังข้อเสนอแนะของสำนักงานป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ว่าด้วยการป้องกันการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวเปลือก กระทรวงการคลังก็มีหนังสือ ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2555 ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สนับสนุนว่าควรมีวิธีป้องกันการทุจริตตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) แนะนำ และวันที่ 3 ตุลาคม ปีเดียวกัน ก็มีหนังสือด่วยที่สุด เตือนให้จำเลยทราบอีกว่าโครงการรับจำนำข้าวเปลือกในปี 2547 มีผลขาดทุนถึง 207,006.44 ล้านบาท และยังไม่สามารถปิดโครงการได้ ขอให้รัฐบาลประเมินผลกระทบของโครงการรับจำนำข้าวเปลือกที่กำลังดำเนินการอยู่ นอกจากนั้นในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรหลายวาระก็มีการอภิปรายถึงการทุจริตและความเสียหายที่เกิดขึ้นจากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกอย่างกว้างขวาง เมื่อมีการปิดบัญชี ปรากฎว่าคณะกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวเปลือกซึ่งจำเลยเป็นผู้แต่งตั้งได้รายงานเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2555 ให้จำเลยทราบว่าโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี2554/55 มีผลขาดทุนสุทธิ 32,301 ล้าน พร้อมให้ข้อสังเกตหลายประการว่า การรับจำนำข้าวเปลือกสูงกว่าราคาตลาดเป็นการแทรกแซงและต่อการขาดทุนอย่างมาก ควรกำหนดราคาจำนำใกล้เคียงกับต้นทุนการผลิต การรับจำนำโดยไม่จำกัดปริมาณและแหล่งผลิตทำให้เกษตรกรเพิ่มการผลิตข้าวโดยไม่คำนึงถึงคุณภาพ และมีการนำเข้าข้าวเปลือกจากต่างประเทศมาสอมสิทธิ์เพื่อร่วมโครงการ โรงสีหรือผู้รับส่งออกข้าวที่ไม่ได้ร่วมโครงการไม่สามารถหาข้าวได้เพียงพอซึ่งเท่ากับรัฐเป็นผู้ค้าข้าวเอง เมื่อรับจำนำราคาสูง การส่งออกก็ต้องมีราคาสูงทำให้ข้าวไทยมีราคาสูงก่าราคาข้าวของประเทศอื่นในตลาดโลก จำต้องหาทางแก้ไขเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันกับประเทศผู้ค้ารายอื่น จำเลยรับทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว แต่ยังดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปีการผลิต 2555 และข้าวเปลือกข้าวปี ปีการผลิต 2555/56 ต่อไป ระหว่างดำเนินการต่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้มีหนังสือเตือนเป็นระยะว่า โครงการรับจำนำข้าวเปลือกมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายสูงและพบการทุจริตทุกขั้นตอน ขอให้พิจารณาทบทวนและยุติโครงการฯในการปิดบัญชีคราวต่อมา เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2556 คณะอนุกรรมการปิดบัญชีฯ รายงานว่า ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2556 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปีการผลิต 2555 และโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 255/56 (ครั้งที่ 1) มีผลขาดทุนสะสม 332,372.32 ล้านบาท นอกจากผลขาดทุนดังกล่าว โครงการรับจำนำข้าวเปลือกยังส่งผลเสียหายอีกหายประการ เช่น มีการทุจริตทุกขั้นตอนตั้งแต่การขึ้นทะเบียนตลอดจนการระบายข้าว ระบบการค้าข้าวเสียหาย รัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายมากในการเก็บรักษาข้าวเปลืกที่รับจำนำ การระบายข้าวและการจ่ายเงินให้เกษตรกรล่าช้า ทำให้รัฐขาดเงินลงทุนหมุนเวียนความเสียหายดังกล่าวเกิดในช่วงที่จำเลยเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมนโยบายของรัฐให้ดำเนินการไปอย่างรัดกุมและเหมาะสม แต่จำเลยกลับไม่ระมัดระวังในการบริหารราชการแผ่นดิน ไม่ป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เกษตรกร งบประมาณแผ่นดิน กระทรวงการคลัง ประเทศชาติและประชาชน อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่กระทรวงการคลัง ประเทศชาติ ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชน ทั้งการทุจริตในโครงการเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ทำธุรกิจการค้าข้าวซึ่งจำเลยทราบการทุจิตอย่างดี แต่หลีกเหลี่ยงไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริง ส่อให้เห็นว่าจำเลยรู้เห็นหรือได้รับผลประโยชน์กับการทุจริตด้วยอันเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต เหตุเกิดที่แขวงดุสิต เขตดุลิต กรุงเทพมหานคร ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ตำบลบางกระดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหสัดปทุมธานี ตำบลโพตลาดแก้ว อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ตำบลหอไกร อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร และอีกหลายพื้นที่ที่มีการรับจำนำข้าวและระบายข้าวเกี่ยวพันกัน ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2502 มาตรา 13 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 4, 123/1 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 มาตรา 65

จำเลยให้การปฏิเสธว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง จำเลยไม่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 เพราคำว่า “เจ้าพนักงาน” หรือ “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ต้องเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยตรง หรือได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่โดยตรง แต่จำเลยในฐานะนายกรัฐมนตรีเป็นเพียงผู้กำกับดูแลทั่วไปโครงการรับจำนำข้าวที่ดำเนินการในรูปแบบคณะรัฐมนตรีตามที่พรรคเพื่อไทยซึ่งจำเลยสังกัดได้หาเสียงไว้กับประชาชนและแถลงเป็นนโยบายต่อรัฐสภาก่อนเข้ามาบริหารประเทศ สำหรับตำแหน่งประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติที่จำเลยได้รับแต่งตั้ง จำเลยก็เป็นผู้กำกับดูแลทั่วไป ระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2556 ถึง 7 พฤษภาคม 2557 เป็นช่วงที่ยุบสภาซึ่งจำเลยเป็นเพียงนายกรัฐมนตรีรักษาการที่ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเท่าที่จำเป็น ดังนั้นในช่วงเวลาดังกล่าวจำเลยจึงไม่มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างไรก็ตาม จำเลยไม่มีอำนาจยับยั้งโครงการรับจำนำข้าวได้โดยลำพัง เพราะคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ย่อมมีผลผูกผันให้จำเลยและคณะรัฐมนตรีต้องยริหารงานตามแผนที่วางไว้ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 ซึ่งออกโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และดป็นไปตามรัฐธรรมนูญ หากจำเลยสั่งระงับโครงการย่อมเป็นการขัดต่อข้อกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ทั้งระหว่างดำเนินโครงการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) หรือสำนักงบประมาณ(สงป.) ก็ไม่เคยเสนอให้ยกเลิกโครงการอันเป็นนโยบายสาธารณะที่มีกำหนดวงเงินงบประมาณหมุนเวียนอย่างชัดเจนโดยผ่านขั้นตอนการก่อหนี้และค้ำประกันของกระทรวงการคลังตามกฎหมาย ตั้งแต่เริ่มโครงการรับจำนำข้าวเปลือกจนถึงมีการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะครั้งสุดท้ายของรัฐบาลจำเลย สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังไม่เกินร้อยละ 60 และภาระหนี้ต่องบประมาณ ก็ไม่เกินร้อยละ 15 ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดที่กำหนดไว้สำหรับกรอบความยั่งยืนทางการคลัง แสดงว่าโครงการรับจำนำข้าวเปลือกไม่ได้ทำให้ความมั่นคงทางการคลัง หรือการบริหารงบประมาณของประเทศต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ในการดำเนินโครงการ ได้แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเป็น 2 ระดับ คือ ระดับนโยบายอันมีคณะรัฐมนตรีและคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติเป็นผู้ดูแล กับระดับปฏิบัติการซึ่งมีคณะอนุกรรมการรวม 12 คณะเป็นผู้รับผิดชอบ จำเลยไม่มีหน้าที่หรือความรับผิดชอบโดยตรงในแต่ละขั้นตอน ทั้งโครงการรับจำนำข้าวเปลือกก็มีมานานแล้ว รัฐบาลจำเลยเพียงนำมาปรับปรุงในบางอย่าง เช่น ราคารับจำนำข้าวเปลือก หรือปริมาณข้าวเปลือกที่จะรับจำนำเท่านั้น แม้โครงการฯ จะกำหนดว่ารับจำนำข้าวทุกเทล็ด แต่ยังมีข้าวจำนวนมากที่ไม่รับจำนวน ฤดูการผลิต 2555/56 ซึ่งผลิตข้าวเปลือกได้ 38 ล้านตัน ก็มีข้าวเปลือกเข้าโครงการเพียง 22 ล้านตัน แสดงว่าในทางปฏิบัติมิได้มีการจำนำข้าวทุกเมล็ดจริงและกลไกตลาดยังคงดำเนินไปตามปกติ มิได้ถูกแทรกแซงโดยโครงการรับจำนำข้าวเปลือกตามที่โจทก์กล่าวอ้าง สำหรับข้อเสนอแนะของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(ส.ต.ง.) ฉบับลงวันที่ 24 สิงหาคม 2554 เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายโครงการรับจำนำข้าวเปลือกและข้อเสนอแนะของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) นั้น จำเลยและคณะรัฐมนตรีให้ความสำคัญและนำมาปรับใช้กับแผนการดำเนินการตั้งแต่ต้น ส่วนหนังสือทักม้วงของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2554 ที่ขอให้รัฐบาลยกเลิกโครงการรับจำนำข้าวเปลือกแต่ให้ใช้นโยบายประกันความเสี่ยงด้านราคาแทนนั้น หนังสือดังกล่าวมาถึงสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11ตุลาคม 2554 หลังจากคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแผนบริหารราชการแผ่นดินที่มีโครงการรับจำนำข้าวเปลือกเป็นส่วนหนึ่งไปแล้ว 4 วัน การแถลงนโยบายต่อรัฐสภาและได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในแผนการบริหารราชการแผ่นดินดังกล่าว มีผลผูกพันให้จำเลยและรัฐบาลต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ จำเลยจึงไม่อาจยกเลิกโครงการรับจำนำข้าวเปลือกตามที่ ป.ป.ช. แนพนำได้นอกจากนั้นการศึกษาของพรรคเพื่อไทยต่อโครงการประกันความเสี่ยงด้านราคาตามที่ ป.ป.ช. แนะนำนั้นพบว่ามีข้อบกพร่องหลายประการและไม่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในภาพรวมอย่าแท้จริง แต่โครงการรับจำนำข้าวเปลือกจะเป็นประโยชน์แก่เกษตรกรมากกว่า จึงดำเนินโครงการต่อไปโดยนำข้อเสนอแนะของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) มาปรับปรุงและวางมาตรการป้องกันการทุจริตในทุกขั้นตอน สำหรับการประเมินโครงการฯ จะพิจารณาเพียงรายจ่ายของรัฐที่ใช้ดำเนินโครงการฯ อย่างเดียวไม่ได้ ต้องพิจารณาผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและการคลังของประเทศในวงกว้างหรือพิจารณาถึงผลลัพธ์ทางบัญชีประชาชาติด้วย ซึ่งจากข้อมูลการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจในวงกว้างของสำนักงานเศรษฐกิจหมภาค สำนักเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง พบว่าโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ฤดูกาลผลิต 2554/55 และ 2555/56 ส่งผลให้เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเป็น 304,000 ล้านบาท และ 315,000 ล้านบาท ตามลำดับ รายได้ประชากรเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 2.7 ในแต่ละปี มีเม็ดเงินไหลเวียนจากเกษตรกรไปสู่หน่วยงานเศรษฐกิจอื่นๆ อันเป็นผลให้การจัดเก็บภาษีของรัฐมีมูลค่าสูงขึ้น เงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และระดับเงินสำรองระหว่างประเทศก็มีมากกว่า 505 ล้านล้านบาท ซึ่งถือว่ามั่นคง ดังนั้นตัวเลขแสงผลขาดทุนนโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. และโจทก์นำมาอ้างจึงไม่ใช่ผลประเมินที่ถูกต้อง เพราะไม่ได้ประเมินผลประโยชน์ที่สังคมได้รับในด้านอื่นอันไม่ใช่ตัวเงินรวมเข้าด้วย อีกทั้งโครงการรับจำนำเข้าเปลือกเป็นภารกิจภาครัฐที่ไม่มุ่งแสวงกำไร แต่เป็นการดพเนินการเพื่อผระโยชน์ของประชาชน ฉะนั้นการวัดความคุ้มค่าของโครงการเฉพาะด้านตัวเงินเพียงอย่างเดียวจึงไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินโครงการที่โจทก์อ้างว่าขาดทุนสะสม 332,372.32 ล้านบาท ก็เป็นเพียงการขาดทุนทางบัญชีไม่ใช่ตัวเลขขาดทุนที่แท้จริง เพราะจนถึงวันที่โจทก์ฟ้อง การระบายข้าวในโครงการฯ ยังไม่แล้วเสร็จและยังไม่มีการปิดบัญชีเสร็จสิ้นโครงการฯ อย่างแท้จริง ทั้งการประเนและวิเคราะห์โครงการฯ ของอนุกรรมการปิดบัญชีตามที่โจทก์อ้างก็ยังมีข้อบกพร่องหลายประกายไม่มีการวิเคาระห์เปรียบเทียบถึงประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการเลย จำเลยจึงไม่ปฏิบัติตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีดังกล่าว ในส่วนการควบคุมโครงการจำเลยใส่ใจต่อปัญหาทุจริตของผู้ปฏิบัติตามโครงการฯ อย่างมาก มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ จับกุมผู้กระทำความผิดอย่างเคร่งครัด ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่ไม่ชอบเพราะไม่บรรยายฟ้องให้ชัดเจนว่า จำเลยทำให้เกิดความเสียหายต่อการเงิน การคลังของประเทศอย่างไรหรือการทุจริตในโครงการเกิดขึ้นที่ใดและเมื่อใด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะคณะกรรมการ ป.ป.ช. และอัยการสูงสุดใช้ดุลพินิจโดยมีอคติ ไม่เที่ยงธรรมตามหลักนิติธรรม และคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่จะพิจารณาพิพากษา ขอให้ยกฟ้อง

ทางไต่สวนข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามที่คู่ความไม่โต้เถียงกันส่า จำเลยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 4 สิงหาคม 2554 ถึงวันที่ 9 ธันวาคม 2556 จากนั้นรักษาการนตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อถึวันที่ 6 พฤษภาคม 2557 เพราะมีการยุบสภา พ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2557 โดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ก่อนรับตำแหน่ง จำเลยสังกัดพรรคเพื่อไทยซึ่งชนะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 หลังจากมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้จำเลยเป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 5 สิงหาคม 2554 แล้ว วันที่ 23 เดือนเดียวกัน จำเลยในฐานะยานกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินต่อรัฐสภาโดยมีโครงการรับจำนำข้าวเปลือกเป็นหนึ่งในนโยบายที่แถลง รุ่งขึ้นวันที่ 24 สิงหาคม 2554 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีหนังสือด่วนที่สุดมาถึงจำเลย แจ้งให้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ของโครงการรับจำนำข้าวเปลือกซึ่งดำเนินการมาก่อนในช่วงปีการผลิต 2548 ถึง 2550 ว่ามีปัญหามาก ขอให้จำเลยตระหนักและนำข้อมูลที่เสนอไปพิจารณาเพื่อปรับปรุงโครงการฯ วันที่ 9 กันยายน 2554 คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ(กขช.) ซึ่งมีจำเลยเป็นประธานร่วมกันประชุมพิจารณากำหนดรายละเอียดของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก เข่น กำหนดปริมาณข้าวเปลือกที่จะรับจำนำ กำนดระยะเวลา วิธีการและเงื่อนไขในการรับจำนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติโครการ หลังจากคณะรัฐมนตรอนุมัติโครงการในวันที่ 13 เดือนเดียวกัน วันที่ 7 ตุลาคม 2554 ก็ได้เริ่มโครงการซึ่งวันดังกล่าวสำนักงานป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) มีหนังสือแสดงความไม่เห็นด้วยกับโครงการฯ ไปยังจำเลยโดยแนบรายงานวิจัยเรื่อง “โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต” ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ประกอบพร้อมเสนอความเห็นว่าควรยกเลิกโครงการรับจำนำข้าวเปลือก แล้วนำระบบประกันความเสี่ยงด้านราคาข้าวมาใช้แทน หลังจากเริ่มโครงการรับจำนำข้าวไปไม่นาน มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์โครงการรับจำนำข้าวอย่างมากทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย สำหรับหน่วยงานของรัฐ เช่น สำนักงานป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) สำนักงบประมาณและกระทรวงการคลัง มีความเห็นทำนองเดียวกันว่าไม่เห็นด้วยกับโครงการฯ ต่างมีหนังสือถึงคณะรัฐมนตรีชี้แจงให้ทราบว่าเกิดทุจริตในขั้นตอนดำเนินการอย่างมาก ทั้งเสนอตัวเลขความเสียหายของโครงการรับจำนำข้าวเปลือกในปีก่อนตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งเป็นช่วงก่อนรัฐบาลจำเลยว่ามีสูงถึงหนึ่งแสนล้านบาท และยังไม่สามารถปิดโครงการฯได้ ขอให้รัฐบาลจำเลยตระหนักถึงความเสียหาย และผลกระทบต่องบประมาณของรัฐด้วย ปรากฎว่าในการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวเปลือกสำหรับข้าวเปลือกข้าวปี ปี 2554/55 โดยคณะอนุกรรมการปิดบัญชีฯที่จำเลยในฐานะประธานกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติแต่งตั้ง มีผลการดำเนินการขาดทุนประมาณ 32,301 ล้านบาท ข้าวเปลือกนาปรังปี 2555 และข้าวเปลือกนาปรังปี 2555/56 ที่รับจำนำต่อเนื่อวมามีผลขาดทุนประมาณสองแสนล้านบาท ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2556 เมื่อสิ้นสุดโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2555/56 (ครั้งที่ 1) มีตัวเลขขาดทุนสะสมประมาณสามแสนล้านบาท ถึงวันที่จำเลยต้องรักษาตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและต่อมากระทั่งพ้นจากตำแหน่งโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญตัวเลขการขาดทุนยังไม่ได้รับการแก้ไขไปในทางที่ดีขึ้น มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฟ้องว่า การบริหารจัดการโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาลจำเลยในฐานะนายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ(กขช.) เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่ และการที่จำเลยไม่สั่งระงับโครงการฯ หลังจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) หรือฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการเห็นว่าผลการดำเนินโครงการฯ ประสบกับารขาดทุนนั้นเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่ โดยโจทก์ระบุกฎหมายที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดมาสองฉบับ คือ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ในหมวดความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ข้าราชการ และความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 123/1 ซึ่งบัญญัติว่า “เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดปฏิบัติหน้าหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อห้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษ....” สำหรับมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ก็บัญญัติในทำเดียวกันว่า “ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก้ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษ...” เห็นว่า จากถ้อยคำในตัวบทสองมาตราที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษดังกล่าว การกระทำผิดที่จะเป็นความผิดตามกฎหมายทั้งสองมาตรานั้น นอกจากผู้กระทำต้องเป็นเจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐและต้องมีเจตนาปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบแล้ว ผู้กระทำผิดยังต้องมีมูลเหตุชักจูงใจหรือมีเจตนาพิเศษ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือต้อเป็นการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตด้วย กล่าวคือ ลำพังการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัตหน้าที่โดยมิชอบเพียงอย่างเดียวนั้น ยังไม่ถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมายสองกฎหมายสองมาตราดักล่าว หากจะเป็นความผิดข้อเท็จจริงต้องฟังให้ได้ว่า ผู้กระทำความผิดมีมูลเหตุชักจูงใจ หรือมีเจตนาพิเศษเพื่อที่จะให้ผู้หนึ่งผู้ใดได้รับความเสียหายด้วย หรือมิฉะนั้นการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่นั้นก็ต้องเป็นไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นอันเป็นการกระทำ “โดยทุจริต” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (1) ซึ่งมูลเหตุชักจูงใจหรือเจตนาพิเศษทั้งสองกรณีดังกล่าว ผู้กระทำผิดต้องประสงค์ผลเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใดผู้หนึ่งโดยตรง หรือมุ่งแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยตรง มิใช่เพียงเล็งเห็นว่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือเล็งเห็นว่าน่าจะมีเหตุทุจริตเท่านั้น คดีนี้จากทางไต่สวน โจทก์นำสืบว่า โครงการรับจำนำข้าวมีการทุจริตทุกขั้นตอนโดยเฉพาะขั้นตอนการระบายข้าว แต่ปรากฎว่าไม่มีพยานหลักฐานใดพอที่จะบ่งชี้ว่าจำเลยได้รับผลประโยชน์จากการทุจริตในการระบายข้าวดังกล่าว แม้ได้ความจากคดีหมายเลขดำที่ อม.25/2558 หมายเลขดำที่ อม.1/2559 หมายเลขแดงที่ อม.178/2560 หมายเลขแดงที่ อม.179/2560 ว่ากลุ่มบริษัทสยามอินดิก้า จำกัด ซึ่งเป็นจำเลขที่ 1 ในคดีดังกล่าวได้รับประโยชน์ที่มิควรโดยชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการทุจริตจากขั้นตอนการระบายข้าว แต่ก็ไม่มีหลักฐานหรือข้อเท็จจริงใดที่พอจะชี้ให้เห็นว่าการทุจริตของบริษัทสยามอินดิก้า จำกัด นั้นจำเลยมีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย หรือเหตุที่จำเลยไม่ยับยั้งโครงการรับจำนำข้าวตามที่โจทก์ฟ้องเป็นเพราะจำเลยต้องการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทสยามอินดิก้า จำกัด ส่วนที่โจทก์นำสืบว่าเคยมีรูปของนายอภิชาติ จันทร์สกุลพร หรือเสี่ยเปี๋ยง ผู้ก่อตั้งบริษัทสยามอินดิก้า จำกัด ปรากฎอยู่มนภาพการเดินทางไปเยือนฮ่องกงของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร พี่ขายของจำเลยนั้น เห็นว่า แม้จะมีเหตุการณ์ตามภาพเช่นนั้นจริง ก็ไม่เป็นหลักฐานเพียงพอให้รับฟังได้ว่า จำเลยมีความสัมพันธ์กับนายอภิชาติถึงขั้นจะยอมเอื้อประโยชน์แก่บริษัทสยามอินดิก้า จำกัด ซึ่งมีนายอภิชาติเป็นผู้ก่อตั้ง เพราะจากทางไต่สวนไม่ปรากฎพยานหลักฐานที่ส่อแสดงว่าจำเลยมีความสัมพันธ์กับบริษัทสยามอินดิก้า จำกัด หรือนายอภิชาติ ดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจพเลยมีมูลเหตุชักจูงใจหรือเจตนาพิเศษเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอยด้วยกฎหมายให้แก่กลุ่มบริษัทสยามอินดิก้า จำกัด หรือนายอภิชาติ การลัเว้นไม่ยับยั้งโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของจำเลยตามฟ้อง จึงไม่ครบองค์องค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 หรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 123/1 ส่วนผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าว แม้ฟังว่าเสียหายมากดังที่โจทก์ฟ้อง หรือฟังว่าไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย แต่เป็นประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทโดยรวมดังที่จำเลยต่อสู้ ก็ไม่ใช่สาระสำคัญที่จะต้องนำมาพิจารณาว่าจำเลยได้กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ เพราะผลของโครงการไม่ใช่องค์ประกอบความผิดตามบทกฎหมายที่โจทก์ฟ้อและประสงค์ให้ลงโทษ จำเลยไม่ได้กระทำผิดตามฟ้อง กรณีไม่จำต้องพิเคราะห์ว่า การดำเนินโครงการหรือการไม่ยับยั้งโครงการฯของจำเลยเป็นการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่ และไม่จำต้องพิเคราะห์ข้อต่อสู้อื่นของจำเลย เช่นเรื่องอำนาจฟ้อง หรือเรื่องเขตอำนาจศาล เช่นกัน เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง

จึงวินิฉัยยกฟ้อง

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.