Kasemsun Rawvilai

จากอาชีพเรือจ้างสู่นักต่อเลโก้มืออาชีพ

วันอังคารที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปเข้าชั้นเรียนกับไอนาที่โรงเรียน ถือว่าเป็นความโชคดีที่โรงเรียนเปิดโอกาสให้เราพ่อแม่ได้เข้าไปเห็นเด็กๆใช้ชีวิตประจำวันกันอย่างไร เข้าใจปัญหาที่น่าท้าทายที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ที่สำคัญเลยก็คือมันเป็นการเพิ่มความเคารพนับถือที่ครูเหล่านั้นรับมือกับเด็กๆที่เติบโตมาในสิ่งแวดล้อมที่มีเสรีภาพสูง เรียกได้ว่าอยากพูดอะไรคิดอย่างไร ได้อย่างมีชั้นเชิง

สวีเดนเป็นประเทศที่มีผลลัพธ์ทางด้านวิชาการที่เรียกว่า PISA ต่ำที่สุดในประเทศแถบนอร์ดิค และติดหนึ่งในยี่สิบประเทศแรกในปี 2016 ทำให้ภาครัฐเอาจริงเอาจังมากขึ้นกับระบบวิชาการที่ยังไม่เข้มข้น แต่สิ่งหนึ่งเลยที่ผมได้ประสบด้วยตนเอง สิ่งหนึ่งที่โดดเด่นในระบบการเรียนการสอนของที่นี่คือ สอนให้เด็กไม่หยุดจินตนาการ และเหนือสิ่งอื่นใดเลยคือการสอนให้เด็กรู้ซึ้งถึงฐานรากของคำว่าประชาธิปไตยในภาคปฏิบัติ

โรงเรียนไอนาเป็นในระดับโรงเรียนประถมศึกษาที่ถือว่าขนาดย่อม ที่มีทั้งหมดหกระดับ และแต่ละระดับมีสามห้องเรียน และแต่ละห้องเรียนมีเด็กไม่เกิด 22คน และรวมๆทั้งโรงเรียนก็มีราวๆสามร้อยคน ระบบการคัดเลือกเด็กของโรงเรียนรัฐคือเอาเด็กใกล้บ้าน เด็กๆประมาณเกินครึ่งเดินทางมาโรงเรียนเองไม่ว่าจะเดินมารึว่าปั่นจักรยานมา

จริงๆมีเรื่องประทับใจมากมายในวันนั้นแต่ขอยกมาแค่หกหัวข้อเท่านั้น


จากระบบปิรามิดสู่ความสัมพันธ์ในแนวระนาบ—>ก่อนเด็กๆจะเข้าห้องเรียน คุณครูประจำชั้น Robyn โรบิน ยืนอยู่หน้าห้องและปล่อยให้เด็กๆยืนต่อแถวเข้าทีละคน และโรบินก็จับมือทักทายและบอกอรุณสวัสดิ์กับเด็กๆที่ละคนๆ ฟังดูเหมือนไม่แปลกอะไร แต่ถ้าบอกว่า นี่คือหัวใจหลักของประชาธิปไตยหล่ะคงยิ่งสงสัยไปกันใหญ่ แต่ถ้าบอกว่าการจับมือคือความเท่าเทียมกัน คือความเสมอภาคระหว่างครูกับเด็ก การที่คุณครูเห็นทุกคนมีตัวตนและนั่นเป็นแรงกระตุ้นให้เด็กอยากมีส่วนร่วมในสังคมเล็กๆของพวกเขาแห่งนี้ การมีตัวตนของพวกเขาทำให้เขาเกิดความมั่นใจในตัวเองและรู้จักเคารพตัวเองและผู้อื่นเรียกได้ว่าเป็นเริ่มต้นของวันที่ดีมาก ครูๆบอกว่าเสรีภาพมากเท่าเทียมกันมากก็เป็นปัญหาได้ เด็กไม่ค่อยเชื่อฟัง การบีบบังคับเป็นข้อห้าม ทำให้ครูต้องแก้ปัญหาแบมีเหตุมีผลมากขึ้น ผมเองก็กลับบอกไปว่าแต่ผลสุดท้ายแล้วในระยะยาวเด็กๆพวกนี้ก็จะเข้าใจว่าอะไรควรไม่ควร ดีไม่ดีด้วยตัวเขาเองไม่ต้องมีใครคอยชี้คอยบอกคอยบังคับ เสรีภาพเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมที่อยากพัฒนา

ครูไม่ได้เป็นจุดศูนย์กลางอีกต่อไป—> หน้าชั้นเรียนก็เหมือเวทีคอนเสิร์ตเหมือนละครเวที ครูเป็นเหมือนพิธีกรรายการโทรทัศน์ที่เชิญแขกมาพูด โรบินจะเริ่มจากการให้เด็กออกมาเขียนว่าวันนี้วันอะไร ใครมีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องความเรียบร้อย เด็กๆเค้าจัดการกันเอง ครูเป็นเหมือนคนคอยบอกสคริปต์เท่านั้น แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นผู้ควบคุมบรรยากาศในห้องเรียน ครูเป็นเหมือนไวทยากรที่อนุญาตให้เด็กแต่ละคนพูดเมื่อเขายกมือ ทำให้เหมือนบทเพลงลื่นไหลไปได้อย่างไม่ติดขัด

คาบเรียนแสนสั้น—>เราเองที่เติบโตมากับคาบเรียนที่ยาว 1 ชั่วโมงพอมาเจอแบบนี้ก็ปรับตัวแทบไม่ทัน แต่ละคาบนั่นก็ราวๆ30-40นาทีตรงกับที่งานวิจัยบอกว่าธรรมชาติของมนุษย์นั้นไม่สามารถมีสมาธิได้เกิน 40นาทีเกินกว่านั้นสมาธิจะค่อยๆลดลง เริ่มต้นวิชากับการเล่นเกมส์ที่แทรกการเรียนรู้ไปเกินครึ่ง และจบด้วยการที่เด็กๆทำแบบฝึกหัดกันเอง และตอนนี้แหล่ะที่เด็กๆเลือกที่ทำแบบฝึกหัดเอง ไม่จำเป็นต้องเป็นแค่ในห้องเรียน เด็กๆก็จะช่วยกันเอง สรุปแล้วรู้สึกว่ามันสั้นมากสำหรับเราแต่สำกรับเด็กๆมันพอดี และเค้าไม่มีอคติกับสิ่งที่เค้าเรียนตรงกันข้ามสนุกไปกับมัน เค้าก็ไม่ได้เรียนวิชาการอะไรมากสำหรับเด็กชั้นประถมสอง วิชาภาษาอังกฤษ สวีเดนและสังคมขั้นพื้นฐาน

ประชาธิปไตยจากตัวหนังสือสู่ความเป็นจริง—>นอกจากทุกคนจะรู้สึกว่าตัวเองมีตัวตน มีคนได้ยินสิ่งที่เราพูดแล้ว เท่านั้นยังไม่พอ สถาบันการศึกษาของที่นี่พยายามสนับสนุนให้เด็กเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสังคมเล็กๆของพวกเขาร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นคำถามเล็กๆน้อยๆที่ถูกยกขึ้นในห้องเรียนและแต่ละคนก็ออกความเห็นหรือแม้กระทั่งครูชี้ถามว่าเธอล่ะคิดยังไง สังคมแบบประชาธิปไตยจะไปรอดและยั่งยืนได้ถ้าทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม มีเรื่องที่น่าประทับของวันคือ พ่อเป็นคนที่โตที่สุด เด็กๆผู้หญิงเลยอยากให้พ่ออยู่ฝ่ายผู้ร้าย และให้เด็กผู้ชายอยู่ฝ่ายตำรวจ วิ่งไล่จับกันระหว่างพักเที่ยง แรกๆเด็กผู้ชายก็เออออด้วยแต่พอตอนหลังๆรู้สึกว่าไม่ยุติธรรมเลยอยากให้เราเปลี่ยนข้าง กลายเป็นว่าเด็กๆหาจุดที่ลงตัวด้วยกันไม่ได้ ผู้พ่อเลยขอปลีกตัวออกมา เด็กๆก็ยังคงถกกันต่อ จนเข้าชั้นเรียนตอนบ่าย เด็กผู้หญิงหลายคนผิดหวังกับการที่ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถร่วมมือกันได้ก็เลยบอกโรบิน โรบินเลยพูดหน้าชั้นเรียนว่าได้ยินว่าวันนี้พวกเธอเล่นกันและมีปัญหากันเล็กๆน้อยๆ อาจจะเป็นเพราะว่ามันไม่มีกฎระเบียบ เรามาสร้างกฎด้วยกันนะและแต่ละคนเสนอแนะมา จนไปๆมาๆจบลงด้วยการที่ไม่แบ่งแยกชายหญิง แต่กับปนๆกันระหว่างเพศกลายเป็นว่าไม่มีใครเหนือกว่าใคร เสมอภาคทั้งสองทีม และที่สำคัญคือมีกฎกติกาชัดเจน และเด็กๆพอใจมาก โรงเรียนไม่ใช่แค่เรื่องในชั้นเรียน ไม่ใช่แค่ที่สนามเด็กเล่นหรือโถงทางเดินเท่านั้น แต่โรงเรียนคือหมายถึงบ้านและอนาคตของเด็กๆที่จะอยู่สังคม จิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญของสังคม ของประเทศชาติ ของโลกต่อไป

ไร้การแข่งขัน—>การประเมินการเรียนของเด็กมีแค่ผ่านกับไม่ผ่านและผลการเรียนก็ไม่มีใครรู้นอกจากพ่อแม่ ครูและก็เด็ก แม้กระทั่งการเรียนศิลปะก็ไม่ได้พูดถึงความงามแต่พูดถึงเรื่องการถ่ายทอดความคิดความรู้สึกของพวกเขา พวกเขามีเสรีภาพในการเลือกสิ่งที่ชอบและที่ถนัด

ความประทับใจสุดท้ายคือการอ่าน—>จะมีช่วงพัก 15-20 นาทีก่อนอาหารกลางวันและกลังพักเที่ยงอีก15 นาทีให้เด็กอ่านกนังสือตามอัธยาศัย เด็กๆนั่งอ่านกันเงียบๆเลือกกนังสือที่ตัวเองชอบ ครูบอกว่าเป็นการเด็กเครื่องเริ่มเย็นลงหลังที่วิ่งเล่นกันช่วงพักเที่ยง ทำให้เด็กเริ่มดึงสมาธิกลับมาและในทางเดียวกันก็สอนให้เด็กๆรักการอ่าน เด็กๆสนุกกับหนังสือ มีจินตนาการอย่างท่วมท้น

บทบาทของครูไม่ใช่เรือจ้างอีกต่อไป ที่ชีวิตนักเรียนและอนาคตของพวกเขาขึ้นอยู่กับครู ที่ครูคอยพายเรือส่งเด็กข้ามไปยังอีกฟาก แต่ในปัจจุบันครูคือคนที่คอยสนับสนุนเด็กๆ คอยเปิดโอกาสให้เด็กๆมีส่วนร่วมในการสร้างบ้านหลังที่สองของพวกเขาร่วมกัน และเหนือสิ่งอื่นใดเด็กๆต่างหากที่เป็นคนสร้างอนาคตของพวกเขาเอง และเลือกทางเดินเอง

ลิงค์นี้สร้างแรงบันดาลใจให้เด็กๆอย่างมาก ณ เวลานี้

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.