เวลาเอ่ยถึงนักเตะที่ยิ่งใหญ่
แต่ไม่เคยได้ชูถ้วยฟุตบอลโลก “คิงโยฮัน” หรือ “นักเตะเทวดา” โยฮัน ครัฟฟ์ มักเป็นชื่อแรกที่หลายคนนึกถึง โลกฟุตบอลได้ยินข่าวของเขาอี
กครั้งด้วยเรื่องราวของการต่อสู
้กับมะเร็งที่เขาประกาศว่า “อยู่ในช่วงพักครึ่งและมีสกอร์
นำสองประตู” ในการต่อสู้กับโรคมะเร็ง น่าเสียดายที่ครัฟฟ์พ่ายแพ้ต่
อโรคมะเร็งและเสียชีวิตในวันนี้ (24 มีนาคม ค.ศ. 2016) ในโอกาสนี้ ผู้เขียนจึงทำการเขียนถึงชีวิ
ตของอย่างสังเขป เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่
อเขา ถึงแม้ไม่ได้ดูเขาเล่นอย่างสดๆ แต่ผู้เขียนก็เติบโตกับการดูฟุ
ตบอลภายใต้มรดกหลายประการของเขา
ในความเห็นของผู้เขียน โยฮัน ครัฟฟ์ ไม่ได้เป็นเพียงแค่นักเตะที่เล่
นได้ฉลาดและสง่างามที่สุดคนหนึ่
งในประวัติศาสตร์วงการลูกหนัง แต่เขายังเป็นผู้จัดการทีมและผู
้ทรงภูมิในวงการฟุตบอลที่เปรี
ยบเสมือนเสาหลักของการเล่นฟุ
ตบอลอย่างมีชีวิตชีวา (pro-active) และมักแสดงความเห็นต่อการเล่นฟุ
ตบอลที่เป็นไปอย่าง “น่าเกลียด” ได้อย่างแสบสัน และมีความเห็นที่ค่อนข้
างกวนประสาทบ่อยครั้ง เช่นเขาให้ความเห็นต่อการเล่นที
่เน้นโชว์ลีลาอย่างพร่ำเพรือว่า ควรไปอยู่ในละครสัตว์ มากกว่าสนามฟุตบอล หรือการเล่นบอลที่ทำได้ยากที่สุ
ดคือการเล่นที่เรียบง่ายที่สุด
ครัฟฟ์เป็นชาวอัมเตอร์ดั
มโดยกำเนิด เขาลืมตาดูโลกในปี ค.ศ. 1947 หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้
นสุดในสองปี ชีวิตในวัยเด็กของเขาก็ดำเนิ
นไปเฉกเช่นกับนักเตะระดั
บตำนานหลายคน คือดำเนินชีวิตอย่างลำบากต้องต่
อสู้และฝ่าฝันกับอุปสรรคในชีวิต เนื่องจากเขาเสียพ่อไปตั้งแต่
เด็ก และพึ่งพิงแม่ที่ทำงานเป็
นคนงานของสโมสรอาแจกซ์ อัมเตอร์ดัม เท่านั้น แต่ชีวิตในวัยเด็กที่
ลำบากและการเริ่มต้นเตะลูกหนั
งในถนนบ่มเพาะความเป็นนักสู้
และสัญชาติญาณระดับเทพให้เขา และในเงื่อนไขที่แม่ทำงานให้กั
บสโมสรฟุตบอลทำให้ฝีเท้
าของเขาไปเตะตา วิค บัคคิงแฮม ผู้จัดการทีมชาวอังกฤษที่เติ
บโตจากจารีตการเล่นบอลที่เน้
นการผ่านบอลสั้น ไม่ใช่เรื่องเกินความคาดหมายนั
กที่เขาได้รับโอกาสลงสนามนั
ดแรกให้ทีมเมื่ออายุเพียงแค่สิ
บเจ็ดปี แต่เขาก็ได้กล่าวว่าหากเขามาเกิ
ดในยุคปัจจุบัน เขาคงโดนเตะออกจากระบบเยาวชน เพราะระบบการคัดเลือกในปัจจุบั
นเน้นการวัดผลผ่านสถิติ เช่นวิ่งได้เร็วเท่าไหร่ หรือเตะได้ไกลเท่าไหร่ เพราะความฉลาดและวิสัยทัศน์
ของเขาไม่สามารถวัดด้วยสถิติได้
ความยิ่งใหญ่ของครัฟฟ์ในฐานะนั
กเตะเริ่มได้รั
บการจดจำในฐานะหนึ่งในแกนนำในที
มอาแจกซ์ชุดคว้าถ้วยยุโรปสามสมั
ยติดต่อกัน (ค.ศ. 1971-3) และการนำชาติที่เคยไร้ลำดับชั้
นด้านฟุตบอลอย่างฮอลแลนด์ผ่
านเข้าถึงรอบชิงฟุตบอลโลกที่
เยอรมนีตะวันตกในปี ค.ศ. 1974 ได้ โดยปราบสามชาติมหาฟุตบอลแห่
งอเมริกาใต้อันได้แก่ บราซิล อาร์เจนติน่า และอุรุกวัย ลงเสียราบคาบ ผลงานอันยิ่งใหญ่ของเขาในที
มสโมสรและทีมชาติล้วนอยู่ภายใต้
การคุมทีมของ “ท่านนายพล” รินุต มิเชล
[1] ผู้เป็นริเริ่มระบบการเล่นที่
เรียกกันว่า “โททัลฟุตบอล (Total Football)” อันเป็นระบบที่สามารถเขี
ยนในกระดาษในรูปของ 4-3-3 แต่อยู่บนพื้นฐานของการสลั
บตำแหน่งของผู้เล่น การขยายและลดพื้นที่ (ดังที่ครัฟฟ์มักกล่าวเสมอว่า เมื่อเป็นฝ่ายรุกขยายพื้นที่ให้
กว้างที่สุด และเมื่อต้องตั้งรับบีบพื้นที่
ให้แคบที่สุด) การเพรสซิ่งอย่างหนักหน่วง รวมไปถึงปรัชญาที่ว่าผู้รั
กษาประตูคือผู้เริ่มต้นเกมรุก และกองหน้าคือผู้เริ่มต้นเกมรับ
โจนาธาน วิลสัน นักวิจารณ์ลูกหนังชื่อดังได้กล่
าวไว้ว่า ระบบโททัลฟุตบอล ไม่ได้เป็นผลสำเร็จจากความอั
จฉริยะของมิเชล ครัฟฟ์ และพวกพ้องเท่านั้น แต่ยังเป็นผลจากการพั
ฒนาโภชนาการและระบบการดูแลร่
างกายที่ทำให้นักฟุตบอลมี
สมรรถนะที่ดีขึ้น และการขยายตัวของแนวคิดปรั
ชญาแบบโครงสร้างนิยมที่มองสั
งคมหรือสรรพสิ่งที่มีความเป็
นองค์รวมและเชื่อมต่อกัน ระบบโททัลฟุตบอลได้สร้
างแรงกระเพื่อนให้กับวงการฟุ
ตบอลยุโรปและอเมริกาใต้ ในด้านหนึ่ง วงการฟุตบอลอิตาเลียนได้
ทำการผสมผสานการเล่นโททัลฟุ
ตบอลเข้ากับมรดกการตั้งรั
บแบบคาเตนัตโช่ เช่นเอนโซ่ แบร์ชอต ผู้พาอิตาลีคว้าแชมป์โลกสมัยที่
สาม หรือยกระดับการเล่นเพรสซิ่งให้
ก้าวร้าวไปอีกระดับ ดังกรณีของอารริโค่ ซาคคี่ ในการคุมทีมเอซี มิลาน ในอีกด้านหนึ่ง ทีมในอเมริกาใต้เริ่มหันมาพั
ฒนาการเล่นเพื่อมาต่อสู้กับโททั
ลฟุตบอล เช่นการปรับสปีดการเล่นให้
รวดเร็วขึ้น อันปรากฏในทีมอาร์เจนติน่
าของเซซ่าร์ หลุยส์ เมนนอตติ เพราะระบบนี้เป็นไม้ตายที่
ปราบระบบการเล่นบอลอเมริกาใต้ที
่เน้นความสามารถเฉพาะตั
วและการทำเกมจากตรงกลาง อันเป็นผลจากการเปลี่ยนจากการคุ
มตัวต่อตัวเป้นการคุมพื้นที่แทน ครัฟฟ เคยกล่าวว่า หากฮอลแลนด์เปิดพื้นที่ให้เพลย์
เมคเกอร์อเมริกาใต้ แผงกองหลังก็เตรียมถูกฉีกขาดวิ่
นด้วยลูกจ่ายอันสร้างสรรค์
ยิ่งกว่านั้น ชีวิตนักเตะของครัฟฟ์ได้รั
บการยกระดับเป็นตำนานขึ้นไปอีก เมื่อเขาย้ายไปบาร์เซโลน่า และพาทีมคว้าทีมแชมป์ลีกครั้
งแรกในรอบหลายปีได้สำเร็จ และความสำเร็จในคาบสมุทรไอบีเรี
ยของเขาเกิดขึ้นภายใต้
บรรยากาศทางเมืองหลั
งการตายของนายพลฟรังโก เผด็จการที่กดขี่สเปนอย่
างยาวนาน ที่ผู้คนได้ปลดปล่อยความเก็
บกดทางการเมืองและอัตลักษณ์ โดยเฉพาะในแคว้นที่ถูกกดขี่อย่
างคาตาลันและบาสก์ การปาดหน้าทีมในเมืองหลวงอย่าง รีล แมดริด ซึ่งเป็นทีมที่ฟรังโกเป็นผู้อุ
ปถัมภ์ และยังจัดการระเบิดฟอร์มถล่
มไปถึงห้าประตู เปรียบเสมือนการแสดงความท้
าทายต่อการปกครองที่รวมศูนย์ และในขณะเดียวกัน การท้าทายยังเกิดในแคว้นบาสก์ที
่ผู้เล่นของทีมรีลโซเซียดัด และแอลเลติก บิลเลา ถือธงชาติบาสก์ลงสนาม เฉกเช่นเดียวกับในแดนกังหัมส้ม ความสำเร็จในบาร์เซโลน่าของครั
ฟฟ์อยู่ภายใต้การดูแลของมิเชล และการช่วยเหลือของมิสฟิวด์
ไดนาโมระดับตำนาน อย่างโยฮัน นีสเกนส์
หลังจากกลับจากการไปขุ
ดทองในสหรัฐอเมริกาในยุ
คของความรุ่งเรืองประเดี๋
ยวประด๋าวของซอคเกอร์ ครัฟฟ์จบชีวิตนักเตะของเขาที่บ้
านเกิดของตัวเองด้วยการกลั
บมาเล่นให้กับทีมอาแจกซ์ ก่อนจะดราม่าย้ายฟากไปร่วมที
มเฟเนยูรด์ แห่งเมืองรอสเธอร์ดัม อันเป็นคู่แข่งที่ร่วมโลกกันไม่
ได้ แต่ก่อนจะแขวนรองเท้า เขาได้พบนักเตะดาวรุ่งคนหนึ่
งนามว่า มาร์โก ฟาน บาสเท่น และขอเสื้อของนักเตะคนนั้นเก็
บไว้ เพราะคิดว่าเด็กหนุ่มคนนี้ต้
องเป็นศูนย์หน้าระดับโลก อย่างไรก็ตาม ครัฟฟ์ได้รับใช้ทีมชาติในการแข่
งขันรายการเดียวเท่านั้น เนื่องจากเขาปฏิเสธในการไปเข้
าร่วมฟุตบอลที่อาร์เจนติน่าในปี ค.ศ. 1978 ไม่ใช่เพราะเหตุผลเรื่องจุดยื
นทางการเมืองต่อต้านเผด็จการอย่
างที่หลายคนเข้าใจ แต่เพราะว่าครอบครัวถูกจับไปเป็
นตัวประกันก่อนการแข่งขันเริ่
มต้นหนึ่งปีหรือสองปี
ครัฟฟ์ใช้ชีวิตหลั
งจากแขวนรองเท้าของเขา ด้วยการเป็นผู้จัดการทีมของบาร์
เซโลน่า ที่สร้างดรีมทีมอันประกอบด้
วยเด็กท้องถิ่นอย่างกราดิโอล่า หรือเซร์กี้ บาร์ฆวน และนักเตะระดับเทพอย่างไมเคิล เลาดรู๊ป โรมาริโอ และสตอยคอฟ ที่สามารถพาสโมสรคว้าแชมป์ยู
โรเปี้ยนคัพครั้งแรกได้ ครัฟฟ์ยังได้จั
ดการวางรากฐานการเล่นที่ปัจจุบั
นรู้กันในนามติกี้ ตาก้า และการพัฒนาเยาวชนที่ศูนย์ลา มาเซีย อันโด่งดัง คงไม่ต้องบอกว่าสิ่งที่ครัฟฟสร้
างไว้ยิ่งใหญ่ขนาดไหน เพราะความสำเร็จของบารืซ่
าในรอบสิบปีหลัง เป็นมรดกของเขา และไม่ว่ามีตำแหน่งอย่างเป็
นทางการในสโมสรหรือไม่ ครัฟฟ์ยังเป็นผู้ทรงอิทธิ
พลในคาตาลันเสมอ การแต่งตั้งผู้จัดการทีมต้องได้
รับการรับรองจากเขา แน่นอนว่าแนวทางการพัฒนาฟุ
ตบอลในคาตาลันของเขาเป็นสื
บสานมรดกโททัลฟุตบอลที่อยู่พื้
นฐานของการเล่นบอลสั้น สลับตำแหน่ง และมีเซนส์ในการรักษาและใช้
ประโยชน์จากพื้นที่ฉลาด
กระนั้นก็ตาม ครัฟฟก็มีข้อเสียเฉกเช่นปุถุ
ชนทั่วไป เขามีนิสัยที่โอหัง เย่อหยิ่ง อวดดี สมกับสมญานามของเขา ดังเห็นได้จากช่วงรับตำแหน่งบริ
หารที่อาแจกซ์ที่สร้างความขั
ดแย้งกับคนไปทั่ว และได้แสดงความเห็นถึงผู้บริ
หารบางคนอย่างไม่เคารพ เช่นในกรณีของเซดอฟฟ์ ที่ครัฟฟ์ให้ความเห็นว่ามานั่
งตำแหน่งผู้บริหารได้ เพราะเป็นคนดำ
ในท้ายที่สุด ผู้เขียนในฐานะแฟนบอลคนหนึ่
งขอให้ความเห็นว่า ถึงแม้ความสำเร็จของครัฟฟ์เกิ
ดขึ้นจากเงื่อนไขและบุคคลที่
รายล้อมเขา แต่บุคลิคที่โดดเด่นและดุดั
นทำให้เขาเข้าสู่กระบวนการบุ
คลาธิษฐาน (personification) ของแนวคิดโททัลฟุตบอล ครัฟฟจึงไม่ได้เป็นแค่นักฟุ
ตบอลผู้ยิ่งใหญ่ แต่คือเสาหลักทางศี
ลธรรมและราษฎร์อาวุโสของสำนั
กการเล่นฟุตบอลแนวบุกสมัยใหม่ที
่ โจนาธาน วิลสัน ขนานว่า “Barcajax” การไม่ได้แชมป์ฟุ
ตบอลโลกของเขาไม่ได้ทำให้
เขาหายไปจากความทรงจำในโลกลู
กหนังอย่างแน่นอน เพราะเขาได้ทิ้งมรดกอันมีค่ากว่
าการได้เหรียญรางวัล มรดกนั้นคือการเล่นฟุตบอลอย่
างมีชีวิตชีวา เพื่อความอิ่มเอมของผู้ชม ซึ่งเป็นปรัชญาที่เขายืนยั
นตลอดชีวิตของเขา
แสดงความคิดเห็น